ภาวะการผลิต ส่งออก และบริโภคน้ำมันในเม็กซิโก
ประเทศเม็กซิโกเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันอันดับที่ 7 ของโลก (2008) และเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบอันดับ 10 โดยมีการส่งออกในปี คศ. 2006 ปริมาณ 1.68 ล้านบาเรลต่อวัน และปริมาณการผลิตจำนวน 3.7 ล้านบาเรลต่อวัน
เม็กซโกมีแหล่งน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้ว 15.5 พันล้านบาเรล ซึ่งเกือบร้อยละ 90 เป็นการผลิตน้ำมันดิบ โดยมีความสามารถกลั่นน้ำมันภายในประเทศได้เพียง 1.6 ล้านบาเรลต่อวัน ในขณะที่การบริโภคน้ำมันภายในประเทศเกือบ 2 ล้านบาเรลต่อวัน (สรุปข้อมูลภาคพลังงานของเม็กซิโก
แหล่งน้ำมันใหญ่ที่สุดของเม็กซิโก ชื่อว่า Cantarell เริ่มให้ผลผลิตที่ลดลง โดยคาดว่าจะลดลงร้อยละ 20 ในปี 2008 จากเคยผลิตได้วันละ 1.5 ล้านบาเรล ลดลงเป็นวันละ 1.2 ล้านบารเล เนื่องจากบ่อใกล้จะหมดอายุ
การส่งออกน้ำมันของประเทศเม็กซิโก ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา โดยเม็กซิโกเป็นแหล่งนำเข้าน้ำมันอันดับที่สามของสหรัฐฯ อัตราร้อยละ 14.9 รองจากแคนาดา และซาอุดิอาราเบีย
ภูมิหลังบริษัท PEMEXบริษัท Petroleos Mexicanos
(PEMEX) เป็นรัฐวิสาหกิจและบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเพียงผู้เดียวในประเทศเม็กซิโก โดยวารสาร Fortune 500 จัดอันดับให้ PEMEX เป็นบริษัทสำคัญอันดับที่ 34 ของโลก และเป็นบริษัทน้ำมันที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 10 ของโลก บริษัท PEMEX มีประวัติการก่อตั้งสืบเนื่องมาจากการยึดแหล่งการสำรวจและผลิตน้ำมันจากบริษัทเอกชนต่างชาติ (nationalization) เมื่อปี 1938
ถึงแม้ว่า บริษัท PEMEX จะมีรายได้มากถึง 198 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ประมาณสองส่วนสามของรายได้ของบริษัทฯ ต้องจ่ายเป็นภาษีและ royalties แก่รัฐบาลเม็กซิกัน ทำให้ PEMEX ขาดแคลนเงินทุนเพียงพอเพื่อขยายการลงทุนในการสำรวจขุดเจาะหาแหล่งน้ำมันใหม่ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเป็นผู้กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ และในปัจจุบันบริษัทฯ มีหนี้เงินกู้จำนวน 42.5พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
คณะบิรหารของบริษัท PEMEX ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ซึ่งเปลี่ยนวาระทุก 6 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้บริหารที่มาจากภาครัฐบาล และตัวแทนสหภาพแรงงาน ไม่ได้เป็นนักลงทุนหรือนักบริหารที่มีประสบการณ์ด้านน้ำมันมืออาชีพ รายได้จากการส่งออกน้ำมันของบริษัท จึงเป็นแห่ลงรายได้สำคัญของรัฐบาล ถึงร้อยละ 7 (ในช่วงปี 1960 มีส่วนเป็นรายได้ของรัฐถึงร้อยละ 60)
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ PEMEX ไม่มีความคล่องตัวในการบิรหารคือ สหภาพแรงงานที่มีอิทธิพลและได้รับผลประโยชน์สูง ทั้งนี้ บริษัทฯ มีลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพฯ ทั้งหมดประมาณ 150,000 คน
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2008 เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีของ PEMEX นาย Jesus Reyes Heroles กรรการผู้จักการใหญ่ ได้ให้ข่าวว่า PEMEX มีความจำเป็นต้องปรัปปรุงโครงสร้างกฎระเบียบที่ควบคุมการดำเนินการในระดับพื้นฐาน โดยจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่รัฐบาลบริหารน้ำมันและผลผลิตน้ำมัน ทั้งนี้ บริษัทฯ จะต้องมีการปรับปรุงด้านการบัญชีให้มีความโปร่งใส และป้องกันคอรรัปชั่นมากขึ้น ต้องเอื้ออำนวยให้บริษัทอื่นๆ ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้นในแหล่งสำรวจต่างๆ และต้องปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณให้มีสัดส่วนที่เป็นไปตามเกณฑ์การลงทุนในระดับที่แข่งขันได้กับต่างชาติ โดยไม่ให้ส่งผลกระทบในทางลบต่องบประมาณของรัฐบาล
ข้อเสนอของรัฐบาล Calderon เพื่อการแก่ไขกฏหมายให้ชาวต่างชาติสามารถลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2008 นาย Felipe Calderon ประธานาธิบดีของเม็กซิโก ได้ยื่นข้อเสนอขอแก้ไขกฎหมายต่อรัฐสภา โดยใช้ชื่อว่าเป็นข้อเสนอการปรับโครงสร้างพลังงาน (Energy Reform) แต่ความเป็นจริง เป็นแค่การขอแก้กฏหมาย เพื่ออนุญาติให้นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนในการสำรวจขุดเจาะหาแหล่งน้ำมันใหม่ในเขตทะเลน้ำลึก ซึ่งได้รับการต่อต้านอย่างเข้มแข็งจาก นาย Lopez Obrador แห่งพรรค PRD (Partido de la Revolucion Democratica)
ข้อเสนอของประธานาธิบดี Calderon มีประเด็นที่แจ้งต่อสภา 6 ประการกล่าวคือ
• ได้เสนอว่า PEMEX ควรจะสามารถดำเนินการด้านเงินและขั้นตอนการประกอบการเป็นอิสระจากภาครัฐบาล
• ให้มีการปรับปรุงกฏระเบียบเกี่ยวกับการบริหารในการจัดทำข้อตกลงร่วมกับคู่สัญญาและการจัดซื้อ
• ให้ PEMEX จ้างบริษัทที่มีความสามารถเฉพาะเพื่อการสร้างโรงกลั่นน้ำมันใหม่
• ให้มีการปรับปรุงด้านการเปิดชี้แจงบัญชี
• ให้มีการออกพันธบัตรประชาชน (citizen bond) ที่จะแบ่งผลกำไรของ PEMEX ให้กับประชาชน
• ให้ปรับปรุงความสามารถของหน่วยงานต่างๆ ที่ควบคุมดูแลภาคพลังงาน
พรรคฝ่ายรัฐบาล หรือ PAN (Partido Action National) ได้พยายามผลักดันให้สภารับข้อเสนอการปรับโครงสร้างพลังงานอย่างเร่งรับ (fast track) โดยให้มีการลงคะแนนมติก่อนสภาจะหมดสมัยในสิ้นเดือนเมษายน แต่ พรรค PRD ได้ระดมกลุ่มประชาชนเป็นหมื่นคนไปประท้วงในลานศาลากลางใหญ่ของเมืองหลวง (Zocalo) หลายรอบ และสุดท้ายได้มีการยึดสภาโดยผู้แทนพรรคฝ่ายค้านสองพรรค คือ พรรค PRD และพรรค PRI (Partido Revolucionario Institucional) อันเป็นผลให้การอภิปรายในสภา ต้องหยุดชะงักลงเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
ในที่สุดได้มีการต่อรองให้มีการยืดระยะเวลาการพิจารณาเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาคพลังงานให้มีภาพกว้างไปกว่าการอนุญาติให้ชาวต่างชาติมาลงทุนในการสำรวจขุดเจาะตามข้อเสนอของประธานาธิบดี Calderon โดยให้มีการเปิดเผยอภิปรายพิเศษจนถึงเดือน กรกฎาคม คศ. 2008 ให้ประชาชนได้รับฟังอย่างเปิดเผย (การอภิปรายต้องถ่ายทอดสดในโทรทัศน์)โดยจะแบ่งการอภิปรายทั้งหมด 23 หัวข้อ
สรุปท่าทีของพรรคทั้งสามต่อการปรับปรุงภาคพลังงานดังนี้PAN: - PEMEX และน้ำมันดินเป็นของประชาชนเม็กซิกัน และไม่ได้เสนอการปรับให้ PEMEX เป็นบริษัทเอกชน
- พรรคไม่ได้กำหนดเงื่อนไขการขุดสำรวจ และไม่ได้ผูกมัดผลกำไรของอุตสาหกรรมน้ำมัน
- ต้องการให้ PEMEX มีการพัฒนาให้ทันสมัยและให้มีการปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมัน 3 แห่ง
PRI: - คัดค้านแผนการ privatization ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม แต่ขอให้มีการปรัปปรุงที่ ครอบคลุม (integrated)
-ให้มีการเพิ่มปริมาณน้ำมันสำรอง และให้ PEMEX มีเอกเทศน์ด้านการเงิน
- ให้ PEMEX ปลดหนี้ที่ค้างอยู่ และให้มีการวิเคระห์ปรับปรุงการจัดสรรผลกำไร
PRD: - คัดค้านการ privatize และเรียกร้องให้มีการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีการเติบโต
- คัดค้านการจ้างต่อการสำรวจ รัฐควรจะควบคุมแหล่งน้ำมันสำคัญ
- เสนอถอนอำนาจการกำหนดนโยบายน้ำมันจากกระทรวงการคลัง
ข้อสังเกต:พรรคฝ่ายรัฐบาล หรือ PAN (Partido Action National) ซึ่งมีคะแนนเสียงส่วนน้อยในสภา ไม่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ในการเสนอแก้ไขกฎหมายให้ชาวต่างชาติสามารถลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมัน โดยมองข้ามประเด็นความสำคัญของความภาคภูมิใจที่ชาวเม็กซิโกส่วนใหญ่มีเกี่ยวกับการได้ครอบครองการผลิตน้ำมันของตนเอง และไม่ได้มีการให้ข้อมูลที่เพียงพอ หรือในบางส่วนเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความจำเป็นในการสำรวจหาแห่งน้ำมันเพิ่มเติม อันเป็นผลให้ฝ่ายค้านสามารถใช้ข้อมูลที่ขาดแคลนไป เป็นเหตุผลปลุกระดมให้ประชาชนคัดค้านข้อเสนอของประธานาธิบดี เช่น การที่เม็กซิโกยังมีแหล่งน้ำมันจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้พิสูจน์และสามารถขุดสำรวจได้ง่ายกว่าในเขตทะเลน้ำลึก และการที่ข้อเสนอขอแก้กฏหมายของ นาย Felipe Calderon เป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจงไม่ได้มองภาพรวมของอุตสาหกรรมน้ำมัน เป็นต้น
สำหรับประเทศไทย ที่อาจมีความสนใจที่จะเป็นผู้ลงทุนรายย่อย ในการสำรวจขุดเจาะหาแห่ลงน้ำมัน หรือลงทุนในอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน หรืออุตสาหกรรมต่อเนื่อง petrochemical หรือ จะเป็นการให้บริการขนถ่ายน้ำมัน ก็ตาม ในความเป็นจริง บริษัท PEMEX ได้มีการ subcontract ให้บริษัทต่างชาติรรับช่วงทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ หลายรายอยู่แล้ว จึงมีช่องทางที่สามารถเข้ามาแหล่งวัตถุดิบอันสำคัญ โดยการลงทุนรับช่วงในส่วนใดส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวซึ่งไทยมีข้อได้เปรียบอยู่บ้าง เช่น ด้านแก๊ซ หรือข้อพิจารณาอีกส่วน หนึ่ง ก็คือ การทำความตกลงระหว่างประเทศขอซื้อน้ำมัน โดยให้เหตุผลกับเม็กซิโก ว่าควรกระจายตลาดการส่งออกไปยังประเทศอื่น (ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลอเมริกามีแนวโน้มค่อนข้างสูงในการลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ) นอกจากนี้แล้ว ในภาวะวิกฤคิการณ์ราคาอาหารโลกสูงขึ้น อันเป็นผลให้ประเทศผู้นำเข้าอาหารหลายประเทศเริ่มมีความเดือดร้อนมากขึ้น ประเทศไทย อาจจะเสนอการแลกเปลี่ยนอาหารเพื่อซื้อน้ำมันกับประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน เช่น เม็กซโก และเวเนซูเอลา เป็นต้น