Google Website Translator

Tuesday, September 30, 2008

Auto Industry in Mexico: Investment Opportunities for Thai Spare Parts

อุตสาหกรรมรถยนต์ของเม็กซิโก โอกาสการลงทุนสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย

ในปี 2007 ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกมีมูลค่า 71.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในทวีปยุโรปมียอดขาย 22.9 ล้านเหรียญ ในภูมิภาคเอเชีย มียอดขาย 21.4 ล้านเหรียญ ในสหรัฐฯ และแคนาดามียอดขายรวม 19.4 ล้านเหรียญ ในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา มียอดขายรถยนต์มูลค่า 4.4 ล้านเหรียญ ในภาคตะวันออกกลาง ยอดขายรวม 2.4 ล้านเหรียญ และในทวีปแอฟริกา 1.4 ล้านเหรียญ

ตลาดการขายรถยนต์ในภูมิภาคอเมริกาเหนือและญี่ปุ่นได้ชลอตัวลง ในขณะที่ตลาดในอเมริกาใต้และทวีปเอเชียได้ขยายตัวอย่างเข้มแข็ง ตลาดที่ขยายตัวมากที่สุดได้แก่ ตลาดรถยนต์ของประเทศรัสเซีย บราซิล และจีน

ประเทศเม็กซิโก ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 9 ของโลก และมีความสามารถผลิตได้ประมาณ 2 ล้านหน่วยต่อปี และมีการคาดคะเนว่าในปี 2011 เม็กซิโกจะมีความสามารถเพิ้มการผลิตได้เป็นผู้ผลิตอันดับ 5 ของโลก และแข่งขันกับผู้ผลิตสำคัญ ๆ เช่น สหรัฐฯ จีน อินเดีย และโสลวาเกีย

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจเม็กซิโก โดยมีส่วนแบ่งของการส่งออกทั้งหมดร้อยละ 19 มีสัดส่วนในผลผลิตรวมแห่งชาติร้อยละ 24 และจ้างแรงงานทั้งหมด 1.9 ล้านคน

วารสาร Mexico Now ได้รายงานว่า ยอดขายรถยนต์ในตลาดเม็กซิโก ในปี 2003 มีจำนวน 973,000 คัน คำนวนจากยอดนำเข้า 598,000 คัน รวมกับจำนวนรถที่ผลิตและขายได้ภายในประเทศอีก 375,000 คัน โดยมีจำนวนรถยนต์ในท้องถนน 11 ล้านคัน

อุตสาหกรรมรถยนต์ของเม็กซิโก ได้เติบโตอย่างรวดเร็วสืบเนื่องจากความตกลงเขตการค้าเสรี NAFTA และโดยที่ประเทศเม็กซิโกมีชายแดนติดกับสหรัฐฯ ผู้ผลิตสหรัฐฯ จึงย้ายฐานการผลิตลงมาที่ประเทศเม็กซิโกเพิ่มขึ้น เพื่อลดต้นทุนด้านแรงงาน โดยแรงงานในเม็กซิโกรับค่าแรงรวมสวัสดิการแล้ว ระหว่าง 8 ถึง 10 เหรียญต่อชั่วโมง ซึ่งถูกมาเมื่อเทียบกับค่าแรงของสหรัฐฯ ซึ่งต้องจ่ายค่าแรงงให้กับแรงงานของสหภาพในอัตราชั่วโมงละ 60 เหรียญ นอกจากนี้ แล้วยังมีบริษัทเม็กซิกันที่มีความสามารถป้อนวัตถุดิบชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ นับวันเพิ่มขึ้น

ในขณะนี้ ประเทศเม็กซิโกได้ลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีเพิ่มขึ้น โดยมีความตกลงอำนวยการค้าร่วมกับสหภาพยุโรป ความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา รวมทั้งความตกลงการค้าพิเศษกับประเทศญี่ปุ่น นั่นหมายความว่า ผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศยุโรปและญี่ปุ่นสามารถเปิดโรงงานในประเทศเม็กซิโก และนำเข้าชิ้นส่วนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ โดยยกเว้นภาษีนำเข้า รวมทั้งสามารถส่งออกรถที่ผลิตในเม็กซิโกกลับไปยังยุโรป ญี่ปุ่น รวททั้งสหรัฐฯ โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตในประเทศเม็กซิโก มีการส่งออกไปยังผู้ผลิตรถยนต์ใน 32 ประเทศซึ่งมีผู้บริโภครวม 680 ล้าน บริษัท Toyota มีโรงงานการประกอบรถยนต์ที่รัฐ Baja California และบริษัท Wolgswagen มีโรงงานที่รัฐ Puebla เพื่อผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ


ภาพแสดงแหล่งอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศเม็กซิโก

จากวารสาร Mexico Now

ระหว่าปี 1994 และ 2001 ประเทศเม็กซิโกได้รองรับเงินลงทุนใหม่จากต่างประเทศมากกว่าหมื่นพันล้านเหรียญฯ เป็นการลงทุนระยะยาวในการสร้างโรงงาน และการลงทุนซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรใหม่ อันเป็นผลให้โรงงานในเขตภาคเหนือและภายกลางของเม็กซโก เป็นโรงงานผลิตรถยนต์ที่ทันสมัยที่สุดในระดับอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก เป็นการยกระดับภาคอุสาหกรรมรถยนต์โดยรวม และส่งผลให้มีการพัฒนาในระดับภูมิภาค โดยได้มีการเกินกลุ่ม (specialized cluster) กิจกรรมเฉพาะสนับสนุนการผลิตรถยนต์ ในพื้นที่รอบข้างโรงงานผลิตรถยนต์รายใหญ่ ๆ การมี supply chain ที่เข้มแข็ง และการขยายธรุกิจรองรับในแนวนอน (vertical integration)

จากปี 1997 อุตสาหกรรมรถยนต์ของเม็กซิโกได้เน้นการผลิตรถขนาดเล็ก subcompact เช่น ในศูนย์การผลิตของยี่ห้อ Volkswagen ในรัฐ Puebla ซึ่งผลิต beetle รุ่นใหม่เพื่อการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรป

จากปี 1999 บริษัทนิสสัน ได้เริ่มการผลิตรถนิสสันรุ่น Sentra ที่โรงงานในรัฐ Aguascalientes เพื่อการส่งออกไปยังตลาดในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และในปีเดียงกันนี้ บริษัท Daimler-Chrysler จะย้ายฐานการผลิตรถรุ่น PT Cruiser เพื่อการส่งออกไปยังกว่า 60 ประเทศ ที่รัฐ Toluca โดยให้มีกำลังการผลิตได้ สามแสนคันต่อปี
สำหรับการผลิตในรัฐฯ Aguascaliente มีกลุ่มผู้ลงทุนจากยุโรปที่มุ่งการพัฒนาศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความต้องการผู้ป้อนชิ้นส่วนวัตถุดิบในพื้นที่ใกล้เตียง

ที่รัฐ Jalisco ซึ่งมีอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เข้มแข็งที่สุดในประเทศ โดยมีผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนกว่า 60 ราย

รัฐ Cohuila มีสัดส่วนการผลิตรถยนต์ร้อยละ 26 ของการผลิตทั้งประเทศ ประมาณ 480,000 คัน ได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศในระหว่างปี 2006-2008 เป็นจำนวน 3,744 ล้านเหรียญฯ นอกจากนี้ ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา รัฐ Cohuila ได้เป็นเจ้าภาพงานแสดงสินค้าของผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วน Expo Industria Automotriz

บริษัท Ford ได้ลงทุนเพิ่มจำนวน 1.2 พ้นล้านเหรียญฯ เพื่อการยกระดับการผลิตทีโรงงานในรัฐ Hermosillo และในปี 2088 ได้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 500 คน นอกจากนี้ บริษัท Ford ยังได้ร่วมทุนในสัดส่วนร้อยละ 20 กับบริษัท Nemak ผู้ผลิตเครื่องยนต์และชิ้นส่วนโดยอลูมินัม ที่รัฐ Monterrey

บริษัท Toyota มีฐานการผลิตที่รัฐ Baja California และในปี 2008 บริษัทในเครื่อของ Toyota อันได้แก่ Hino ได้ลงทุนที่รัฐ Guanajuato ในระยะแรกจำนวน 9 ล้านสหรัฐฯ และจ้างงานเพิ่มอีก 40 ตำแหน่ง เพื่อการผลิตรถบรรทุก โดยมีแผนการลงทุนทั้งหมด 100 ล้านเหรียญฯ ในระยะ 5 ปี ข้างหน้า โดยโรงงานดังกล่าวจะมีกำลังการผลิตรถบรรทุกรุ่น Hino 500 ทั้งหมด 1,200 คันต่อปี

ตลาดซัพพลายด้าน OEM และส่วนประกอบ มีโอกาสสำหรับ ส่วนประกอบของรถยนต์ดัดแปลง ระบบป้องกันการสั่นสะเทือน ชิ้นส่วน stamping อุปกร์อิเลคตรอนนิกส์ เครื่องมือและอุปกรณ์เฉพาะด้าน

ตลาดชิ้นส่วนและส่วนประกอบรถนยต์ มีความสำคัญมาก การผลิตมูลค่า 20 พันล้านเหรียญ การส่งออกชิ้นส่วนสำคัญ มี ผู้supply ชิ้นส่วนรถยนต์ ประมาณ 1000 บริษัท สองส่วนสามเป็นต่างชาติ อีกส่วนสามเป็นเม็กซิกัน

ชิ้นส่วนรถยนต์สำหรับการบริการหลังการขาย เป็นตลาดสำคัญที่มีโอกาสการขยายตัวสูง มีสินค้าที่มีความต้องการสูงได้แก่ ชิ้นส่วนสำหรับซ่อมแซมส่วนเสียหาที่เกิดจากการชนปะทะ อุปกรณ์ที่ช่วยลดสารเป็นพิษในระบบท่อไอเสีย พวมาลัย ระบบเสียง ระบบนำทาง GPS ส่วนประกอบอื่น ๆ และเครื่องประดับรถยนต์

เม็กซิโกได้ผ่อนผันกฏระเบียบเกี่ยวการนำเข้ารถนั่งส่วนบุคคลที่ใช้แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับการปรับปรุงซ่อมฉซมเพิ่มขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในหสรหัฐ ย่อมมีผลต่อยอดขายและยอดการส่งออกรถยนต์ในระยะสั้น แต่ต้นทุนการผลิตที่ต่ำว่าและความใกล้ชิดกับตลาดที่สำคัญเช่น สหรัฐฯ ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้โอกาสการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ของเม็กซิโกในระยะยาวยังดีอยู่


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
Mexico's carmakers in a ditch บทความจาก Business Week
Website สำคัญ:
INA สมาคามอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เม็กซิโก
AMIA สมาคมอุตสาหกรรมผู้ผลิตรถยนต์เม็กซิโก
Anpact สมาคมผู้ผลิตรถบรรทุกและรถไถ
Mexico Now

Friday, September 26, 2008

Slower Growth for Mexican's economy

ปรับปรุงเป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจเม็กซิโก

ธนาคารกลางของเม็กซิโก (Banxinco)ได้ปรับตัวเลขอัตราค่าเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2008 เป็นอัตราร้อยละ 5.61 สูงกว่าอัตราที่คาดเอาไว้ 5.07 เมื่อต้นเดือนสิงหาคม สืบเนื่องจากผลการสำรวจราคาตามท้องตลาดที่บ่งชี้ว่า ราคาไฟฟ้า น้ำมัน อาหารหลักบางรายการได้แก่ ไข่ เนื้อ ได้เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมาก แต่แนวโน้มการเพิ่มของราคาสินค้าเริ่มอ่อนตัวลง เป็นผลให้ธนาคารแห่งชาติเม็กซิโก คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 8.25 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ได้เพิ่มขึ้นมาแล้ว 3 ครั้งในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อการควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่ประสบมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว  ทั้งนี้ คาดว่าจะไม่มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกใน 3 เดือนหลังของปี 2008 โดยธนาคารกลางของเม็กซโกมีความเห็นในเชิงบวกว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาจฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และจะช่วยดึงให้เศรษฐกินของเม็กซิโกดีขึ้นได้ ธนาคารกลางเม็กซิโกอาจค่อย ๆ เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ในต้นปีหน้า

รัฐมนตรีคลังของเม็กซิโก นาย Carstens ได้กล่าวว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเม็กซิโกได้ปรับลงจากอัตราร้อยละ 2.8 (ซึ่งลดลงจากอัตราร้อยละ 3 เมื่อต้นปี) เป็นอัตราร้อยละ 2.4 โดยให้เหตุผลว่าสืบเนื่องมาจากการนำเข้าของสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก  และคาดว่าการขายตัวของเศรษฐกิจในปี 2009 จะมีอัตราร้อยละ 3 ลดลงจากอัตราที่คาดคะเนไว้ร้อยละ 4
เครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่แสดงให้เห็นว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจเม็กซิโกอ่อนตัวลงได้แก่
  • การผลิตน้ำมันที่ลดลงร้อยละ 3.8 และการส่งออกที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 8.6
  • การผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงติดต่อกันมาแล้ว 3 เดือน
  • การสร้างตำแหน่งงานใหม่ที่ไม่บรรลุเป้าหมายที่คาดไว้ 700,000 ตำแหน่ง โดยคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในปี 2007 ต่ำกว่า 500,000 และคาดว่าในปี 2009 จะมีการจ้างงานเพิ่มเพียง 350,000 ตำแหน่ง
  • การส่งเงินกลับจากต่างประเทศโดยแรงงานเม็กซิกันที่ไปทำงานในสหรัฐฯ ได้ลดลง เนื่องจากค่าเงินของเม็กซิโกที่เพิ่มขึ้น และการจ้างแรงงานสัญจรต่างชาติที่ลดลงในสหรัฐฯ ทั้งนี้ การส่งเงินกลับจากต่างประเทศ เป็นหมวดเงินตราต่างประเทศไหลเข้าอันดับสองในบัญชี capital flow ของเม็กซิโก
  • ภาคก่อสร้างที่อ่อนตัวลงในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากต้นทุนของเหล็กที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการซื้อบ้านเรือนที่ลดลง
แห่ลงข้อมูล: The News (05/23/08, 09/2,10,11,18,25/08) และ The Economist (09/23/08)

Wednesday, September 17, 2008

Baja California gas plant may loose gas supplies to PTT Pcl Thailand

นาย Djoko Harsono รองกรรมการฝ่ายการเงินและการตลาด ของหน่วยงานควบคุมการค้าน้ำมันและแก๊ซของอินโดนีเซีย (BPMigas) ได้ให้ข่าวว่า บริษัท BP Plc. ซึ่งกำลังขยายการผลิตแก๊ซในอินโดนีเซีย กำลังพิจารณาการจำหน่ายแก๊ซ จำนวน 500,000 เมตริกตัน ให้กับการปิโตรเลียมประเทศไทย (PTT Plc.) หรืออาจจะขายแก๊ซจำนวนดังกล่าว ซึ่งเดิมได้มีเป้าหมายว่าจะขายให้กับโรงกลั่นแก๊ซที่ Baja California ของบริษัท Sempra ให้กับประเทศไทย หรือบริษัทผลิตปุ่ยในอินโดนีเซียแทน เนื่องจากทั้งสองบริษัทดังกล่าวได้เสนอราคาซื้อที่สูงกว่าราคาของบริษัท Sempra

ทั้งนี้ ประเทศอินโดนีเซียกำลังพิจารณาการขยายการผลิตแก๊ซ เนื่องจากแหล่งเดิมที่มีอยู่กำลังหมดอายุและไม่ได้มีการขุดเจาะเพิ่ม หรือลงทุนการขยายความสามารถในการกลั่นแก็ซเพิ่ม

แหล่งข่าว The News, 08/12/08

Mexico and Chile Stock Exchanges Opens Cross Border Trading

ตลาดหลักทรัพย์เม็กซิโกและชิลีร่วมพัฒนาการขายหุ้นระหว่างตลาดทั้งสอง

ตลาดหลักทรัพย์ชิลีและเม็กซิโก ได้ลงนามความตกลงร่วมเมื่อเดือนมิถุนายน 2008 เพื่ออำนวยให้บริษัทตัวแทนการขายหุ้นในตลาดทั้งสองสามารถซื้อขายหุ้นระหว่างทั้งสองตลาด โดยคาดว่าจะมีการออกหุ้น IPO ประมาณเดือนตุลาคม ให้นักลงทุนในชิลีสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทเหมืองแร่ของเม็กซิโก Grupo Mexico

นาย Guillermo Prieto ประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เม็กซิโก (BMV) ได้ไปเยือนประเทศชิลี และได้ให้ข่าวเกี่ยวการลงนามความตกลงเพื่อเอี้ออำนวนการซื้อขายระหว่างตลาดทั้งสอง (Framework Agreement for Cross-Border Trading Arrangement)

ตลาดหลักทรัพย์ของเม็กซิโกและชิลีเป็นตลาดอันดับสองและสามในภูมิภาคละตินอเมริกา (รองจากตลาดหลักทรัพย์บราซิล) โดยมีมูลค่าการซื้อขายหุ้นต่อวันในระดับ 530 ล้านเหรียญ และ 175 ล้านเหรียญ ต่อวัน ตามลำดับ

แหล่งข่าวจาก Bloomberg:

Latin Cross-Border Stock Trade, IPOs May Start in '08
Central American Equity Exchange May Start Next Year

Mexico and Canada Trade and Investment

ภาวะการค้าและการลงทุนระหว่างเม็กซิโกและแคนาดา

กระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโก ได้ประกาศตัวเลขการค้าระหว่างเม็กซิโกและแคนาดา ในรอบ 7 เดือนของปี 2008 ว่า การค้าทวิภาคีระหว่างเม็กซิโกและแคนาดามีมูลค่า 10.47 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 จากระยะเวลาเดียวงกันในปี 2007 และเป็นมูลค่าที่มากกว่ามูลค่าการค้าในปี 1993 (1.5 พั้นล้านเหรียญฯ) มากถึง 6 เท่า

การค้าที่เพิ่มขิ้นระหว่างเม็กซิโกและแคนาดา มีผลสืบเนื่องจากการเข้าร่วมความตกลงเขตการค้าเสรี NAFTA ทั้งนี้ การค้าระหว่างทั้งสองประเทศได้เพิ้มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 13.8 ต่อปี ตั้งแต่ปี 1993
และการค้าระหว่างคู่ค้าภายใต้ NAFTA 3 ประเทศ ในเดือนพฤษภาคมปี 2008 ได้เพิ้มขึ้นในอัตราร้อยละ 12.2 มูลค่ารวม 402.47 พ้นล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในเดือนพฤษภาคม 2008 ประเทศเม็กซิโกได้เปรียบดุลการค้ากับแคนาดาจำนวน 2.72 พ้นล้านเหรียญฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้ลดลงมูลค่า 362 ล้านเหรียญฯ โดยกระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโกกล่าว่า เป็นผลสื่บเนื่องจากการนำเข้าสินค้าสำหรับภาคการผลิตเครื่องบิน (aeronautics) เพิ่มขึ้นจากแคนาดา ตั้งแต่เดือนมกราคม 2008

ในเดือนพฤษภาคม 2008 เม็กซิโกเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของแคนาดา รองจาก สหรัฐฯ อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น และแคนาดาส่งออกไปยังเม็กซิโกจำนวน 3.87 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งมีอัตราการค้าเพิ่มจากปีที่เข้าร่วม NAFTA นั่นคือปี 1993 ร้อยละ 839 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 จากช่วงเดียวกันในปี 2007 ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของการส่งออกจากแคนาดาไปยังเม็กซิโก ได้เติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 16.1 จากปี 1993 ถึงปี 2007

หมวดการส่งออกสำคัญจากแคนาดาไปยังเม็กซิโกได้แก่ aeronautics เคมีภัฑ์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และสินค้าเกษตรกรรม (wheat)

สำหรับการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังแคนาดา ในเดือนพฤษภาคม 2008 มีมูลค่า 6.60 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งมีอัตราเพิ่มจากปี 1993 ร้อยละ 504 และมากกว่าการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังแคนาดาในเดือนเดียวกันปี 2007 ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังแคนาดาตึ้งแต่ปี 1993 มีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 12.7 ต่อปี

หมวดการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังแคนาดาที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอิเล็คตรอนิกส์ (โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์) ชิ้นส่วนรถยนต์ แร่ทอง และยาสูบ

แหล่งข่าว: nafta-mexico.org

Saturday, September 13, 2008

Demand low for CEMEX in US

บริษัท CEMEX ประกาศผลกำไรลดลง

เนื่องจากการคาดคะเนว่า  ความต้องการปูนซเมนต์ในตลากภายในประเทศ และตลาดสำคัญฯ เช่น สหรัฐฯ สเปน และอังกฤษ จะลดลง สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์อสังหริมทรัพย์ในสหรัฐฯ จะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลงในตลาดเหล่านี้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2008 บริษัท CEMEX ได้ประกาศผลกำไรลดลงเป็นครั้งที่ 2 จากผลกำไร 5.3 พันล้านเหรียญฯ ที่ได้ประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน เป็นผลกำไร ประมาณ 4.6 พันล้านเหรียญ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ผลกำไรลดลง ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยงินกู้ที่สูงขึ้น การสูญเสียจากเครื่องมือการเงิน ค่าเงินยูโรที่ลดลง รวมทั้งการที่รัฐฐาลเวเนเซอูลายึดสาขาของบริษัท CEMEX

ในขณะเดียวกัน ราคาหุ้นของบริษัทก่อสร้างใหญ๋ ๆ ของเม็กซิโก เช่น Desarrolladora Homex, Corporacion Geo, Urbi Desarrolllos Urbanos และ Consorcio ARA ได้ลดลงทั้งหมด เนื่องบริษัท Credit Suisse ได้ลดระดับการดำเนินกิจการของบริษัทเหล่านี้ จาก "nuetral" เป็น "underperform" เนื่องจากคาดว่าบริษัทเหล่านี้ จะประสบปัญหาเงินทุนหมุนเวียนฝืดตัว 

ข่าว Bloomberg เกี่ยวกับ CEMEX และการก่อสร้าง: 
Cemex Drops Most in 6 Months After Cutting Forecast
Mexico Homebuilders Fall After Interest Rate Increase
ICA Foils Carlos Slim in $250 Billion Building Battle

Wednesday, September 3, 2008

Innovative and Eco-Friendly Textiles in Central America

การพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง

ในปี 2007 กลุ่มประเทศละตินอเมริกากลาง ที่มีเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ที่เรียกว่า CAFTA-DR ได้มีมูลค่าการส่งออกสิ่งทอรวม 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเท่ากับ 3.6 พันล้านตารางเมตร ซึ่งในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ประเทศฮอนดูรัสถือว่าเป็นผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอที่สำคัญ รองลงมาได้แก่ ประเทศเอลซาวาดอร์ ตามด้วยประเทศกัวเตมาลา ซึ่งส่งออกได้ 1.45 พันล้านเหรียญในปี 2007 และอันดับสี่ได้แก่ ประเทศนิคารากัว ซึ่งส่งออกได้ 967 ล้านเหรียญ และสุดท้าย ประเทศคอสตาริกา ซึ่งส่งออกได้ 423 ล้านเหรียญ

ความตกลง CAFTA-DR (ซึ่งทุกประเทศในกลุ่มอเมริกากลางได้ลงนาม ในปี 2003 ยกเว้นประเทศคอสตาริกา) ได้มีผลช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการผลิตสิ่งทอให้แก่กลุ่มประเทศอมริกากลาง โดยสามารถนำเข้าวัตถุดิบจากสหรัฐฯ มาใช้ ความตกลงดังกล่าวได้มีผลทำให้การผลิตในประเทศเหล่านี้ เปรียบเท่ากับการผลิตในพื้นที่สหรัฐฯ แต่ได้รับข้อได้เปรียบของต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า และค่าขนส่งไม่แพง รวมทั้งระยะเวลาการส่งมอบสินค้าเพียงไม่กี่วัน ล้วนเป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้บริษัทข้ามชาติด้านสิ่งทอใหญ่ๆ มาเปิดโรงงานผลิตในประเทศอเมริกากลาง เช่น บริษัท Hanes ซึ่งสร้างโรงงานถักถุงน่องในประเทศเอลซาวาดอร์ และบริษัท Cone Denim ผู้ส่งผ้ายีนให้กับ Levi ได้ลงทุนจำนวน 100 ล้านเหรียญสำหรับการสร้างโรงงานทอผ้าใหม่ในประเทศนิคารากัว

การลงทุนของบริษัทชั้นนำด้านสิ่งทอต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้มีผลข้างเคียงที่ดี คือใด้มีการนำเทคโนโลยีชั้นนำมาใช้ในการผลิต และมีการพัฒนามาตรฐานการป้องกันสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการขยายการผลิต ทั้งนี้  อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสูง และการบำบัดน้ำเสียเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึง

ตัวอย่างของการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทข้ามชาติสิ่งทอในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้แก่

บริษัท Lovable ซึ่งได้ลงทุนในประเทศฮอนดูรัส เป็นบริษัทสิ่งทอที่มีประวัติการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งทอตั้งแต่ปี 1964 เป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรายใหญ่สุดของอเมริกากลาง และเป็นผู้ส่งสิ่งทอไปยังตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดัน 8 โดยมูลค่าการส่งออกในปี 2007 มีมูลค่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ  บริษัท Lovable ได้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดมาช่วยในการออกแบบเสื้อผ้า ทำให้สามารถผลิตในขนาดต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เทคโนโลยีการตัดผ้า ทำให้ลดผ้าเสียลง รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีในการผลิตชุดชั้นนที่ไม่มีตะเข็บ และการใช้เครื่องจักรป้อนเศษผ้าหลากหลายสีเข้าทอรวมเข้าเป็นแผ่นผ้าลักษณะหลอดผืนเดียว นอกจากนี้แล้ว บริษัท Lovable ยังได้นำเทคโนโลยีการแยกสารเจือปนจากน้ำจากประเทศอิตาลี มาใช้ในการควบคุมน้ำเสีย  เทคโนโลยีแนวหน้าทั้งหมดนี้  ล้วนแต่มีผลช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลกำไรให้กับบริษัทฯ  และในปี 2007 ได้มียอดขายสำหรับสินค้าชุดชั้นในเพิ่มขึ้นร้อยละ 30

บริษัท Gildan Activewear จากเมืองมอนเตรียล ประเทศแคนาดา ผู้ผลิตถุงเท้า เป็นบริษัทที่ครองอันดับสองด้าน corporate governance ในแคนาดา ได้ลงทุนปรับปรุงบ่อถ่ายน้ำเสีย ในประเทศเอลซาวาดอร์

บริษัท Industrias Duraflex ผู้ผลิตวัตถุดิบต่าง ๆ ให้กับบริษัท Hanes ได้ลงทุนในปี 2007 ขยายโรงงาน 2 แห่งเพื่อรองรับแผนการขยายของบริษัทแม่ และเพื่อเตรียมรับการย้ายฐานการผลิตออกจากสหรัฐฯ ให้มีโรงงานที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากขึ้น ในประเทศนิคารากัว

บริษัท Cone Denim ของกลุ่ม ITG ได้ลงทุนสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชั้นนำ  ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่ก้าวหน้าที่สุดในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การลงทุนดังกล่าว  มีความสำคัญช่วยยกระดับเครื่องชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศนิคารากัว จากอันดับ 127 เป็นอันดับ 116 

ระบบการควบคุมการผลิตสิ่งทอของบริษัท Cone Denim มีเครื่องวัดคุณภาพการผลิตอัตโนมัติที่ตรวจดูได้ในระบบดคอมพิวเตอร์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะหยุดการผลิตโดยอนุมัติ เมื่อเครื่องวัดได้ว่าคุณภาพการทอผ้าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และยังสามารถเปลี่ยนกระป๋องสีย้อม หรือวัสดุพื้นฐานอื่น ๆ ได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องพึ่งแรงงาน  การลงทุนในเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าดังกล่าว ช่วยลดต้นทุนการผลิต  และทำให้บริษัทฯ มีความได้เปรียบในการแข็งขันมากขึ้น

บริษัท Cone Denim ใช้เทคโนโลยีสารอินทรีย์และเคมีก่อนและหลังการผลิต  และได้ออกแบบโรงงานใช้แสงธรรมชาติลดการใช้ไฟฟ้าในตัวอาคาร มีระบบรองรับน้ำฝนจากหลังคาเพื่อช่วยในการรักษาระดับน้ำในบ่อบำบัดน้ำ มีการหมุนเวียนการใช้วัสดุ และลดสารเจือปนโดยการใช้แป้งข้าวโพดและมันแทนแร่ต่าง ๆ โดยมีการเน้นการใช้สารธรรมชาติในการผลิต

บรษัท Core Denim ได้นำเข้าเครื่องจักรจากประเทศหลากหลายประเทศ เช่น เยอรมัน อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ และจ้านงานทั้งสิ้น 850 คน บริษัทฯ ได้ประกาศว่า การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเป็นเป้าหมายสำคัญของบริษัทฯ

แหล่งข้อมูล: Central America Today ฉบับเดือนมิถุนายน 2008
HondurasApparelCluster2007(pdf)