Google Website Translator

Wednesday, June 24, 2009

Mexico's recession: mid-year review, 2009

สรุปภาวะเศรษฐกิจเม็กซิโกครึ่งปี 2009

ดัชนีเศรษฐกิจต่าง ๆ จากสิ้นปี 2008 และต้นปี 2009 ได้เริ่มแสดงภาพว่า ภาวะเศรษฐกิจของเม็กซิโกได้เขยิบเข้าสู่ภาวะหดตัวอย่างแน่นอน โดยในไตรมาสแรกของปี 2009 ผลรวมประชาชาติมีอัตราลดลงร้อยละ 8.2 มากกว่าการหดตัวของประเทศละตินอเมริกาอื่น ๆ เป็นสี่เท่า

ธนาคารกลางเม็กซิโกได้ปรับการคาดคะเนเกี่ยวภาวะของเศรษฐกิจโดยรวมสำหรับปี 2009 ทั้งปีใหม่ นั่นคือ คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวทั้งปีประมาณร้อยละ 5.8 ซึ่งเป็นอัตราการหดตัวของเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดตั้งแต่เม็กซิโกประสบวิกฤตการณ์การเงิน tequila crisis โดยในปี 1995 ภาวะเศรษฐกิจหดตัวสูงสุดที่อัตราร้อยละ 6 และหน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจต่าง ๆ ลงความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจของเม็กซิโกคงจะไม่สามารถฟื้นตัวได้จนกว่าไตรมาสที่สองของปี 2010

ปัจจัยที่ได้มีผลดึงให้ภาวะเศรษฐกิจของเม็กซิโกแย่ลง สืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ ในปี 2007-2008 ซึ่งส่งผลกระทบมากที่สุดต่อการส่งออกของเม็กซิโกที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 90 การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในปี 2008 ได้ลดลงร้อยละ 36 ปัจจัยอีกประการหนึ่งได้แก่ ค่าเงินที่ลดลงเกือบหนึ่งส่วนสามของมูลค่าช่วยปลายปี 2008 จากอัตราที่เคยแลกได้ 11-12 เปโซต่อเหรียญ เป็น 15 เปโซต่อเหรียญในช่วงที่ต่ำที่สุด ปัจจุบันได้คงระดับได้ที่ประมาณ 13 เปโซต่อเหรียญ เนื่องจาก IMF ได้อนุญาติให้เม็กซิโกสามารถขอกู้เงินฉุกเฉินในวงเงิน 40 พันล้านเหรียญฯ และสหรัฐฯ ได้ยื่นความร่วมมือความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตรา swap อีก 30 พันล้านเหรียญฯ

การส่งเงินกลับจากต่างประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศ และการท่องเที่ยวซึ่งล้วนเป็นรายได้สำคัญของประเทศ ต้องลดลงอย่างเห็นได้ชัดตลอดปี 2009 รวมทั้งผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัด N1H1 ยังต้องแสดงผลซึ่งจะเห็นผลเป็นตัวเลขในรายเศรษฐกิจไตรมาสที่สองหรือสาม

ค่าเงินที่ลดลงทำให้ราคาน้ำมันนำเข้าสูงขึ้น และมีแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ ธนาคารกลางเม็กซิโกได้ประกาศลดอัตราดคอกเบี้ยลง 5 ครั้งในปี 2009 และในเดือนมิถุนายน ได้ลดลงเหลือร้อยละ 4.75 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดที่เคยปรากฏในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางเม็กซิโกคาดว่าอัตราเงินเฟ้อโดยรวมของปี 2009 จะมีอัตราประมาณร้อยละ 4 ทั้งปี โดยธนาคารฯ มีเป้าหมายให้อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือร้อยละ 3 ในปี 2010

รายงานเศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 2009 แสดงให้เห็นว่ามาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลของประธานาธิบดีคาลเดรอนที่ได้เริ่มเมื่อปี 2008 ไม่เพียงพอที่จะส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่คาดหวังไว้ และรัฐบาลเม็กซิโกมีข้อจำกัดในการขอกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เนื่องจากรายได้ของรัฐบาลไม่ได้แสดงผลขยายตัว การเก็บภาษีได้แค่ร้อยละ 10 ของผลผลิตชาติ

ข้อมูลเพิ่มเติม:
"Deeper Plunge", The Economist, May 27
"Mexico Budget Gap Fuels Debt Sales, Ratings Concern" by Valerie Rota, Bloomberg, June 22.
http://www.forbes.com/feeds/ap/2009/06/19/ap6564930.html
"IMF Aid Boosts Mexico's Credibility", Forbes, 04/03/09.
"IMF Approves $47 Billion Credit Line for Mexico", imf.org.
Summary of OECD outlook for Mexican Economy

Wednesday, June 10, 2009

Breadmaker Grupo Bimbo

บริษัทผู้ผลิตขนมปังเม็กซิกัน กลุ่มบิมโบ (Grupo Bimbo)

กลุ่มบิมโบ เป็นผู้ผลิตขนมปังที่ใหญ่ที่สุดของเม็กซิโก และผู้นำตลาดขนมปังในเม็กซิโกและกลุ่มละตินอเมริกา โดยมีเครือข่ายการขายในทุกประเทศในกลุ่มละตินรวมทั้งประเทศเสปน ได้ก่อตั้งเมื่อปีคศ. 1945 โดยนาย Lorenzo Servitje นาย Jose T. Mata และนาย Jaime Jorba

ปัจจุบันกลุ่มบิมโบเป็นยักษย์ใหญ่แห่งผู้ผลิตอาหารระดับอุตสาหกรรมอันดับ 4 ของโลก รองจากบริษัท Unilever, Sara Lee, Kraft Foods และ Nestle และกรรมการผู้บริษัทกลุ่มบิมโบ ได้ประกาศเป้าหมายการขยายตัวเพื่อเป็นผู้ผลิตขนมปังที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2010 โดยจะเจาะเข้าสู่ตลาดประเทศจีนเพื่อเพิ่มยอดขายโลก ยอดขายในปี 2006 มีมูลค่า 5.26 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2007 ประมาณ 7.7 พันล้านเหรียญฯ

กลุ่มบิมโบ ทำการอบขนมปังในระดับอุตสาหกรรม โดยมีสินค้าขนมปังประมาณ 5,000 ประเภท มียี่ห้อในเครือมากกว่า 100 ยี่ห้อ และมีการประกอบสร้างเครื่องจักรสำหรับโรงงานอบขนมปัง และเครื่องจักรบรรจุห่อถุงพลาสติดของตนเอง

ในปี 2008 บิมโบได้ซื้อกิจการของกลุ่มบริษัท George Weston ของแคนาดา ในราคา 2.4 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นผู้ถือยี่ห้อ Arnold, Boboli, Brownberry และ Thomas มีโรงงาน 22 แห่ง จ้างงาน 8,000 คน และเส้นทางการขนส่งขนมปัง 4,000 สาย และในปีที่ผ่าน ๆ มา ได้ซื้อกิจการในประเทศละตินอเมริกาอื่น ๆ และในประเทศจีนเพื่อลดการพึ่งตลาดเม็กซิโกเพียงแห่งเดียว ทั้งนี้ยอดขายในตลาดเม็กซิโกมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 67 ของยอดขายในปี 2008 และยอดขายจากตลาดในสหรัฐฯ อีกร้อยละ 22

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://biz.yahoo.com/ic/95/95052.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Grupo_Bimbo

http://www.bloomberg.co.jp/apps/news?pid=conewsstory&refer=conews&tkr=BIMBOA%3AMM&sid=a1Txt69Vz6Ng

Wednesday, June 3, 2009

Mexichem considers expansions overseas

กฏหมายป้องกันการผูกขาดผลักดันให้บริษัทพลาสติก Mexichem หันไปขยายกิจการในต่างประเทศแทน

บริษัท Mexichem SAB เป็นผู้ผลิตท่อ PVC ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา (ยอดขายในปี 2008 มีมูลค่า 30.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ได้พจิารณาว่าจะหยุดการขยายตัวภายในประเทศเม็กซิโก เนื่องจากศาลเพ่งได้ใช้อำนาจของกฏหมายป้องการผูกขาดห้ามให้บริษัท Mexichem ซื้อกิจการอื่นเพิ่มเติม เป็นเหตุให้ฝ่ายวางแผนกลยุทธของบริษัทแถลงข่าวว่าจะหันไปซื้อกิจการเกี่ยวกับพลาสติกในต่างประเทศแทน

เมื่อเดือนเมษายน 2008 บริษัท Mexichem ได้เจรจาการซื้อบริษัท Policyd SA และ Plasticos Rex SA จากกลุ่ม Cydsa ในมูลค่าประมาณ $125 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ศาลเพ่งเม็กซิโกไม่อนุมัติการซื้อขายโดยเห็นว่าเป็นการรวมอำนาจธุรกิจของกิจการพลาสติกในมือของบริษัทเดียวมากเกินไป โดยบริษัท Mexichem ได้ซื้อกิจการอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมพลาสติกทั้งหมด 15 แห่งแล้ว ตั้งแต่ปี 2007 โดยเกือบครึ่งหนื่งเป็นกิจการที่ได้ซื้อในประเทศเม็กซิโก

บริษัท Policyd เป็นผู้ผลิตเมล็ดเรซิน polyvinyl chloride หรือ PVC อันดับสองของประเทศ Policyd และบริษัท Plasticos Rex เป็นผู้ขายท่องพีวีซีอันดับสองหรือสามของประเทศ

ผลการดำเนินการของบริษัท Mexichem ได้แสดงกำไรลดลงร้อยละ 9.3 ในไตรมาสแรกของปี 2009 โดยมีมูลค่ากำไร 400.4 ล้าน pesos (30 ล้านหรียญสหรัฐฯ) เนื่องจากค่าเงินเปโซที่ลดลงเกีอบร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา

แหล่งข่าว Bloomberg News, June 2

Tuesday, June 2, 2009

Opportunities for Thai Trade and Investment: Plastic Industry in Mexico

อุตสาหกรรมพลาสติดในเม็กซิโก

ประเทศเม็กซิโกเป็นผู้บริโภคสินค้าพลาสติกจัดเป็นอันดับที่สองในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา และอันดับที่ 14 ของโลก ปริมาณการบริโภคประมาณสามล้านตันต่อปี หรือจำนวนการบริโภคต่อรายได้ประชาชาติปริมาณ 40 กิโลกรัมต่อปี

สถิติเม็กซิโกได้บันทึกสถิตบริษัทผลิตภัณฒ์พลาสติกจำนวน 4,500 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็ก และประมาณร้อยละ 4 เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งนี้ กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ผลิตผลิตภัณฒ์พลาสติกมีที่ตั้งโรงงานในเขตรัฐเม็กซิโกและเมืองเม็กซิโกซิตี้ โดยมีอีกส่วนน้อยส่วนหนึ่งมีที่ตั้งกระจุกตัวอยู่ที่รัฐ Nuevo Leon และรัฐ Jalisco

อุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศเม็กซิโก มีการจ้างแรงงานจำนวนประมาณ 181,000 ตำแหน่งโดยตรง และประมาณ 700,000 ตำแหน่งต่อเนื่อง โดยโรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฒ์พลาสติกขนาดใหญ่เป็นผู้จ้างรายใหญ่และจ้างงานกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าวข้างต้น

ในกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฒ์ทั้งหมด สามารถแบ่งสัดส่วนของวัสดุบรรจุภัฒน์ ดังนี้ ร้อยละ 60 เป็นขวดและสิ่งบรรจุภัณฒ์ที่เป็นพลาสติก ร้อยละ 27 เป็นผลิตภัณฒ์บรรจุจากเหล็ก ร้อยละ 10 เป็นสินค้าบรรจุภัณฒ์จากกระดาษ และร้อยละ 4 เป็นขวดแก้ว

ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมพลาสติกของเม็กซิโกเป็นอุตสหการรมที่ใหญ่พอประมาณและได้พัฒนามาแล้วประมาณ 50ปี แต่ผู้ผลิตผลิตภัณฒ์พลาสติกในเม็กซิโกมีความจำเป็นต้องยกระดับเทคโนโลยี เครื่องจักร อุปกรณ์ การฝึกแรงงาน และการวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกกรรมพลาสิติกแห่งแม็กซิโก (ANIPAC) ได้รายงานว่า อุตสาหกรรมพลาสติกของเม็กซิโก เคยขยายตัวได้ร้อยละ10 ก่อนปี 1990 แต่ในช่วงหลังนี้ขยายตัวได้แค่ร้อยละ 3-4) ฉะนี้น จึงคาดว่า ในระยะสิบปีข้างหน้า จะต้องมีการลงทุนเพื่อปรับปรุงพัฒนาการผลิตประมาณ 7-8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ถึงแม้ว่าเม็กซิโกจะมีการผลิตวัตถุดิบต่อเนื่องจากน้ำมัน แต่ขาดเท็คโนโลยีในการแปรสภาพวตถุเหล่านี้ จึงต้องส่งออกผลิตภัณฒ์กึ่งแปรรูปเพื่อทำการแปรรูปในสหรัฐฯ และนำเข้าผลิตภัณฒ์แปรรูปในราคาแพง

วัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้าพลาสติกส่วนใหญ่ที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าประมาณ 5 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2004 ได้แก่ plate, sheet, polyesther, epoxide, olefin, primary, tubing, piping, hoses และเครื่องจักรซึ่งเดิมนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่ อันได้แก่ injection molding machinery, blow molding machinery, extruders, vacuum molding machinery, equipment for rubber work – plastic และชิ้นส่วน ในปุจจุบันเริ่มมีการนำเข้าจากยุโรปมากขึ้น

งานแสดงสินค้าสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก ได้แก่

General Industrial Packaging Materials
http://www.expopack.com.mx/
และ

Plastimagen
Plastic show – machinery, equipment and raw materials.
http://www.plastimagen.com.mx/

หน่วยงานติดต่อสำคัญ ได้แก่

National Association of Plastic Industrialists (ANIPAC)
http://www.anipac.com.mx/

อ่านรายงานเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cipad.org/files/files/mexico_2006.pdf