Google Website Translator

Tuesday, October 27, 2009

InterAmerian Development Bank lends 2 Million for development in Panama

กลุ่มธุรกิจชื่อ The City of Knowledge ประเทศปานามา ได้ลงนามความตกลงกับธนาคาร InterAmerican Development Bank(MIF - IDB) เพื่อกู้เงินจำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อปรับปรุงบรรยาการการประกอบธุรกิจในประเทศปานามา โดยการกำหนดแผนงานเพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่

โครงการพัฒนาบรรยากาศการประกอบธุรกิจดังกล่าว มีปัจจัยสำคัญ คือ การฝึกบุคลลากร และการจ้างผู้เชี่ยวชาญใหม่ ในหมาวิทยาลัย วิทยาลัยธุรกิจ องค์กรธุรกิจและสหภาพแรงงาน เพื่อให้มีความสามารถในการวิเคราะห์โครงการลงทุนที่เหมะสม ( financiallly sustainable) และเพื่อพัฒนาให้สถาบันเหล่านี้ มีความสามารถในการเพาะบ่มธุรกิจใหม่ โดยการเชื่อมโยงสถาบันเหล่านี้กับสถาบันอื่น ๆ ในต่างประเทศที่มีประสบการณ์ในการเพาะบ่มธุรกิจหใหม่ รวมทั้งเพื่อให้มีช่องทางสำหรับตลาดการส่งออก การสร้างเครือข่ายผู้ลงทุน (angel investor) การจัดงานสัมนนาเพื่อระดมความคิดเห็น และจับคู่นักลงทุน การคิดวางกำหนดนโยบายที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ เพื่อคัดเลือกโครงการลงทุนที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงสุด การริเริ่มตลาดทุนทางเลือก และการจัดตั้งกองทุนทุนริเริ่ม (seed capital co-investment fund)

แหล่งข่าว:

Rice production in Central America: Approaching sustainability

การผลิตข้าวในประเทศอเมริกากลาง

ประเทศในกลุ่มอเมริกากลางมีความสามารถในการผลิตข้าวได้จำนวนน้อย (ประมาณ 496,000 ตันในปี 2006) และผลผลิตมักจะมีความผันผวนเนื่องจากภาวะอากาศ เช่น พายุฝน หรือภาวะอากาศแห้งแล้ง อีกทั้งภาวะคลาดโลกที่ราคาข้าวสูงขี้นในปีที่ผ่านมา ได้ผลักดันให้รัฐบาลของกลุ่มประเทศอเมริกากลางให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการผลิตข้าวในภูมิภาคอเมริกากลางให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในกลุ่ม

ประเทศปานามาและนิคารากัว เป็นประเทศผู้ผลิตข้าวมากที่สุดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง นั่นคือ ประมาณร้อยละ 70 ของการผลิตทั่วภูมิภาค และผู้ผลิตสำคัญรองลงมาได้แก่ ประเทศคอสตาริกา ประเทศปานามาสามารถผลิตข้าวได้ใกล้เคียงกับความต้องการภายในประเทศ แต่นิคารากัวยังขาดความสามารถในการผลิตอีกร้อยละ 40 เพื่อตออบสนองความต้องการภายใน

ปานามาประสบผลสำเร็จในการลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าว พร้อมกับได้มีมาตรการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต ที่สนับสนุนการขยายพื้นที่การเพาะปลูกในปีที่ผ่าน ๆ มา โดยมีการคาดว่าพื้นที่การเพาะปลูกจะคงตัวที่ประมาณ  75,000 เฮกเตอร์ เพื่อผลผลิตที่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ  ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตข้าวของจังหวัด Chiriqui ซึ่งเป็นพื้นที่การปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุด ได้รับทุนช่วยเหลือจำนวน 3 ล้านเหรียญฯ เพื่อการสร้างโรงสีและโกดังเก็บข้าวใหม่ ที่มีกำลังการสีข้าวได้ 200 quintals (ประมาณ 20 ตัน) ต่อชั่วโมง จะช่วยเหลือให้ชาวนามีอำนาจต่อรองด้านราคากับผู้ขายปลีกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ผลิตข้าว Chiriqui ได้แถลงข่าวเมื่อเดือนกันยายน 2009 ว่าไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้เต็มพื้นที่เป้าหมาย เป็นเหตุให้มีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศประมาณ 3-4 ล้าน quintals (3,000 ตัน)

ประเทศนิคารากัว มีพื้นที่การเพาะปลูกประมาณ 20,000-30,000 parcels ในปีที่ผ่าน ๆ มาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลใต้หวันเพื่อการพัฒนาพันธุ์ข้าว


ผลผลิตข้าวในคอสตาริกาในปี 2009 ได้รับผลกกระทบจากภาวะอากาศแห้งแล้งและรวมทั้งการไม่ปล่อยเงินกู้ให้แก่เกษตรกรเนื่องจากภาวะวิกฤตการณ์การเงิน ได้ส่งผลให้พื้นที่การเพาะปลูกในปี 2009 ลดลงร้อยละ 22 เป็นพื้นที่การเพาะปลูก 45,000 เฮกเตอร์ จากเดิมที่เคยปลูกได้ 54,000 เฮกเตอร์ ในปีก่อน ๆ ประเมินมูลค่าความเสียหายจากการสูญเสียผลผลิตประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหาร รัฐบาลคอสตาริกาจึ่งได้สั่งข้าวนำเข้าจากสหรัฐฯ เมือเดือนกันยายน 2009 จำนวน 45,000 ตัน และได้จองการสั่งซื้อในเดือนกุมภาพันธุ์ อีกจำนวน 10,000 ตัน

แหล่งข้อมูล:

Costa Rica Forced to Import Rice
10,000 more hectares of rice to be planted in Costa Rica
$3 Million for Rice Mill
Latin American Fund for Irrigated Rice

Thursday, October 8, 2009

10 Major Maritime Ports of Mexico

ท่าเรือที่สำคัญ 10 แห่งของเม็กซิโก

รัฐบาลกลางเม็กซิโกเป็นผู้บริหารการให้สัมปทานแก่ผู้ดำเนินการท่าเรือทั้งหมดทั่วประเทศที่มี 97 แห่ง โดยกระทรวงการคมนาคมและสื่อสารเม็กซิโกเป็นผู้บริหารท่าเรือเอง 16 แห่ง องค์กรท่าเรืออื่นๆ ได้แก่ FONATUR ซื่งบริหารท่าเรืออยู่ 2 แห่ง การบริหารท่าเรือในระดับรัฐท้องถิ่นมีอยู่ 5 แห่ง และมีท่าเรือหนึ่งท่าที่เป็นของเอกชนร้อยเปอร์เซนต์

ท่าเรือสำคัญ ที่สำคัญๆ ของเม็กซิโกได้แก่ ท่า Ensenada, Guaymas, Topolobampo, Mazatlán, Puerto Vallarta, Manzanillo, Lázaro Cárdenas, Salina Cruz, Puerto Chiapas, Coatzacoalcos, Dos Bocas, Progreso, Veracruz, Tuxpan, Tampico และท่า Altamira โดยความสำคัญของท่าเรือเหล่านี้ คือการมีระบบบริหาร (Integral Port Administrations) ที่ผสมงานบริหารระหว่างหน่วยงานระดับชาติ หน่วยงานของรัฐ และระหว่างองค์กรรัฐบาลและเอกชน


ท่าเรือ Ensenada

ตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโก ในรัฐ Baja California และห่างจากชายแดนสหรัฐฯ เพียง 110 กิโลเมตร โดยมีการเชื่อมโยงโดยถนนทางด่วนหลายสาย มีความสัมพันธ์กับท่าเรืออื่น ๆ 64 แห่ง ใน 28 ประเทศ  แหล่งการส่งออกและการนำเข้าสำคัญจากกลุ่มประเทศเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไต้หวัน ในกลุ่มละติน ได้แก่ คอสตาริกา ฮอนดูรัส ชีลี และยุโรป คือ ฝรั่งเศส อิตาลี และเสปน ประเทศแอฟริกา ได้แก่ มอร็อกโก และอัลจีเรีย

ท่าเรือดังกล่าว เป็นท่าที่เก่าแก่ และได้เริ่มให้บริการท่าตั้งแต่ปี 1877 ในปัจจันได้ขยายการให้บริการรวมถึงเขตอุตสาหกรรม โดยมีโรงงานตั้งอยู่จำนวน 1,400 แห่ง กิจกรรมของท่าฯ ได้แก่ การบริการขนถ่ายคอนเทเนอร์ การขนส่งแร่ และการออกสินค้าขนส่งปกติ การซ่อมเรือ การบริการแก่เรือประมง เรือ cruise และเรือย่อย ๆ ขอผู้ตกเป็ดเป็นกีฬา

ท่าเรือ Veracruz

เป็นท่าเรือในฝั่งตะวันออก ในอ่าวเม็กซิโก มีประวัติที่เก่าแก่เช่นกัน ได้เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 1864 มีพื้นที่ประมาณ 800 เฮกตาร์ มีสถานีเทียบท่าทั้งหมด 19 ท่า โดยมี 9 ท่าที่ให้บริการสำหรับคอนเทนเนอร์ ขนรถยนต์ ถ่ายสินค้าขนส่งเป็นของเหลว แร่ธาตุ และสินค้าเกษตร นอกจากนี้แล้ว มีท่าเฉพาะสำหรับการเทียบท่าของเรือท่องเที่ยว และท่าของบริษัทน้ำมัน PEMEX โดยเฉพาะ

สินค้าที่นำเข้าที่ท่า Vera Cruz โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้ในประเทศ และบางส่วนมีการส่งออกต่อไปยังสหรัฐฯ ยุโรป และ แอฟริกาต่อ

ท่าเรือ Tampico

เป็นท่าสำคัญรองลงมาในฝั่งอ่าวเม็กซิโก ริมปากแม่น้ำ Panuco และมีการเชื่อมโยงทางรถไฟและไฮเวย์กับเขตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ มีพื้นที่เทียบท่า 2,417 เมตร มีท่าเฉพาะที่ธุรกิจเอกชนเป็นเจ้าของเอง 6 แห่ง และนอกจากการขนถ่านคอนเทเนอร์ แร่ และสินค้าเกษตร เป็นท่าที่มีความเชี่ยวชาญในการรับขนถ่านแร่เหล็กโดยเฉพาะ โดยในปี 2008 ได้ทำการขนถ่ายแร่เหล็กปริมาร 335,000 ตัน

ท่าเรือ Progresso

อยู่บนชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก ก่อตั้งเมื่อปี 1811 และเป็นท่าสำคัญของรัฐทางตอนใต้ คือรัฐ Yucatan มีความสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมประมง และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะสำหรับเรือ cruise ที่นำนักท่องเที่ยวมาชมแห่ลโบราณคดีของอารยธรรมมายา มีการเชื่อมโยงทางรถไฟและไฮเวย์กับภาคกลางของเม็กซิโก

ท่าเรือ Coatzacoalcos และท่าเรือ Salina Cruz

ท่าเรือ Coatzacoalcos เป็นท่าเรือฝั่งอ่าวเม็กซิโก ที่เชื่อมกับท่า Santa Cruz ฝั่งแปซิฟิก ซึ่งท่าทั้งสองมีการเชื่อมโยงทางบก โดยเส้นทางไฮเวย์ และเส้นทางรถไฟ ที่มีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตรข้ามช่องแคบ Tehuantepec Ithmus ซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งสำคัญก่อนการสร้างคลองเดินเรือ Panama Canal

ท่าเรือ Coatzacoalcos มีพื้นที่บนบกและในน้ำสำหรับการบริการรวม 352 เฮกเตอร์ เป็นพื้นที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมนำมัน ปิโตรเคมีและการเกษตร สินค้าที่ขนส่งผ่านท่าฯ ได้แก่ สารซัลเฟอร์ และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ แร่ธาตุ ปุ๋ย และน้ำตาล นอกจากนี้แล้ว การขนส่งน้ำมันและปิโตรเคมี ในท่า Pajaritos ซึ่งอยู่ข้างเคียงเป็นกิจกรรมที่จ้างเรือบริการจากท่า Coatzacoalcos

ส่วนท่าเรือ Salina Cruz ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของรัฐ Oaxaca ฝั่งแปซิฟิก และให้บริการขนส่งสินค้าสำหรับรัฐทางตอนใต้ของเม็กซิโก เช่น รัฐ Oaxaca Chiapas Tabasco Campeche Quintana Roo Yucatan Puebla และ Vera Cruz 

ท่าเรือ Salina Cruz ยังเป็นเขตพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมน้ำมันฝั่งแปซิฟิก และเป็นที่ตั้งของฐานทัพทะเลอันสำคัญของเม็กซิโกอีกด้วย

ท่าเรือ Topolobampo

เป็นท่าอุตสาหกรรมและพาณิชย์ในรัฐ Sinaloa ทางเหนือฝั้งแปซิฟิก ให้บริการแก่อุตสาหกรรมเกษตรเป็นสำคัญ โดยเกีอบครึ่งของสินค้าที่ส่งออกนำเข้า ได้แก่ ข้าวโพด สินค้าอื่น ๆ ที่ส่งออกจากท่านี้ ได้สินค้าประมง สินค้าเกษตรอื่น ๆ และแร่ธาตุ ท่าดังกล่าวมีการเชื่อมโยงโดยเส้นทางรถไฟสำคัญของระบบ Ferrocariles Mexicanos และรถไฟฟสาย Pacific Route เป็นท่าสำคัญสำหรับการเชื่อมโยงกับประเทศในแถบเอเชีย

ท่าเรือ Mazatlán

เป็นท่าที่ได้เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 1828 อยู่ในรัฐ Sinaloa เช่นกับแต่อยู่บนช่วงปลายทางใต้ของคาบสมุทร Baja California ให้บริการแก่รัฐต่างๆ ในภาคเหนือของเม็กซิโก และมีความสำคัญสำหรับการประมง สินค้าเกษตรที่ไม่มีน้ำหนักมาก เช่น มะเขือเทศ ถั่งลันเตา chickpeas และปลาทูน่า ในพื้นที่รอบ ๆ ได้พัฒนาเป็นศุนย์การบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าทะเลที่สำคัญ และในปีหลังๆ ท่าดังกล่าวได้เริ่มมีความสำคัญในการส่งออกรถยนต์ที่ผลิตในรัฐใกล้เคียง

ท่าเรือ Mazatlan เป็นท่าที่มีความสำคัญสำหรับการท่องเที่ยว เพราะมีอ่าวธรรมชาติที่มีชายหาด และเป็นที่พักเรือสำหรับเรือครูซที่เดินทางจาก Los Angeles ไปยัง Panama

ท่าเรือ Puerto Vallarta

ตั้งอยู่ในอ่าว Banderas รัฐ Jalisco เป็นท่าที่ให้ความสำคัญกับการบริการแก่ภาคการท่องเที่ยว สามารถให้บริการแก่เรือครูซพร้อมกันได้ถึง 3 ลำ มีโครงสร้างที่รวมท่าที่ผู้คนเดินชมทะเลได้ มีสวนสาธารณะ และพาติโอสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ  ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการต้อนรับเรือครูซมีความสำคญต่อเม็กซิโก โดยในปี 2006 ท่า Puerto Vallarta ได้รับเรือครูซจำนวน 235 ลำ ผู้โดยสารห้าแสนกว่าคน จากเรือครูซทั้งหมด 2,901 ลำ และผู้โดยสารรวมถึง 6 ล้านคน ที่เทียบท่าในเม็กซิโกในปีนั้น

ท่าเรือ Manzanillo

ตั้งอยู่ในเขตรัฐ Colima เป็นท่าเรือทางอุตสาหกรรมและการพาณิชย์มี่สำคัญที่สุดของเม็กซิโก เพราะเป็นจุดที่เชื่อมโยงกับเขต industrial corridor ของเม็กซิโก เพื่อการส่งออกและนำเข้าไปยังประเทศสหรัฐฯ แคนาดา ประเทศต่าง ๆ ในอเมริกาใต้ และประเทศอื่น ๆ ที่ขนส่งสินค้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีเส้นทางการเชื่อมโยงทางรถไฟและไฮเวย์กับรัฐ Aguascaliente Jalisco Guanajuato Nuevo Leon Coahuila และกรุงเม็กซิโก

บริษัทและศูนย์กลางอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ของเม็กซิโกที่มีพื้นที่การผลิตใกล้เคียง ได้แก่ บริษัท Peña Colorado แหล่งผลิตแร่เหล็กที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และบริษัท Tecoman ผู้ผลิตปูนซีเม็นต์อันดับสองของประเทศ รวมทั้งบริษัทประมงผู้จับปลาทูนาหลายแห่ง

ท่า Manzanillo มีพื้นที่รวม 437 เฮกเตอร์ มีท่าเทียบฝั่งทั้งหมด 17 ท่า มีพื้นที่โกดังสินค้า 14 เฮกเตอร์ รวมทั้งมีรางรถไฟสำหรับบริการในท่า 13.5 กิโลเมตร และทางด่วนภายในพื้นที่ของท่ารวม 5.4 กิโลเมตร  มีบริษัทเดินเรือระหว่างประเทศที่เทียยท่าเป็นประจำจำนวน 26 บริษัทจากแหล่งการส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งหมด 74 แห่ง

แหล่งข้อมูล:

Guanajuato Inland Port

ท่าเรือศุลกากรบกภายในประเทศ ที่รัฐ Guanajuato

Inland port หรือบางครั้งเรียกว่า dry port เป็นพัฒนาการของท่าศุลกากรใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อกระจายภาระการเดินพิธีศุลกากรสำหรับตู้บรรจุสินค้าประเภท container จากท่าเรือตามชายฝั่งทะเลที่นับวันจะมีพื้นที่จำกัด และมีโครงสร้างที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินการด้านศุลกากร ไปยังเขตศุลกากรพื้นที่พิเศษภายในประเทศ

ประเทศเม็กซิโกได้ตื่นตัวในการพัฒนา inland port สืบเนื่องมาจากโครงการความร่วมมือกับสหรัฐฯ และแคนาดาในการพัฒนา North American Supercorridor Project

Guanajuato Inland Port ได้เปิดการบริการเมื่อปี 2008 มีพื้นที่รวมทั้งหมดกว่า 1,000 hectares โดยมีการวางระบบแบบ intermodal node นั่นคือการเชิ่อมระหว่างระบบการขนส่งทางอากาศ ทางถนนและทางรถไฟที่เชื่อมกับท่าเรือสำคัญ Manzanillo โดยมีบริการศุลกากรออกสินค้าจากตู้คอนเทนเนอร์จากต่างประเทศในเขต free zone พื้นที่ 144 hectares ซึ่งติดกับท่าอากาศยานระหว่างประเทศ Guanajuato International Airport และเชื่อมโยงกับเขตอุตสาหกรรมพิเศษพื้นที่ 1,235 acres นอกจากนี้แล้ว ในพื้นที่เดียวกันยังมีเขตบริหารด้าน logistics และเขตการศึกษาที่มีมหาวิทยาลัยรองรับการฝึกบริการบุคคลากรให้แก่บริษัทต่าง ๆ ในพื้นที่

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง:
http://en.wikipedia.org/wiki/Inland_port
http://en.wikipedia.org/wiki/Dry_port
http://www.nascocorridor.com/naipn/pages/cent_mex/pages/infrastructure.html
http://www.puertointerior.com.mx/english/main.html
http://www.guanajuato.gob.mx/gto/

Tuesday, October 6, 2009

Mexico's Railway system

ระบบรถไฟของเม็กซิโก

ภาพแสดงเส้นทางรถไฟของเม็กซิโก



ประวัตของระบบรถไฟในเม็กซิโก

ประเทศเม็กซิโกได้เริ่มการก่อสร้างวางระบบรางรถไฟเมื่อปี 1837 เส้นทางรถไฟสายที่ใหญ่ที่สุดของเม็กซิโก ได้แก่ Ferrocarriles Nacionales Mexicanos - FNM  ก่อตั้งเมื่อปี 1909 เป็นองค์กรของรัฐบาล และมีการให้สัมปทานแก่ธุรกิจเอกชนเพื่อการบริหารต่อในหลายช่วงเส้นทางและการบริการต่างๆ ในปี 1992 มีผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟระหว่างเมืองเพียงร้อยละ 2 ของผู้ที่ใช้การเดินทางโดยรวม นั่นคือผู้โดยสารจำนวน 15 ล้านคน โดยผู้ที่เดินทางโดยรถไฟจำนวนนี้ ใช้ตู้ผู้โดยสารจำนวน 800 ตู้ ต่อมาในปี 1993 องค์กรรถไฟของเม็กซิโกได้แปรสภาพส่วนบริการแก่ผู้โดยสารให้ภาคเอกชนรับดำเนินการทั้งหมด และเมื่อปี 1994 ระยะทางเดินของรางตถไฟทั้งหมดมีเท่ากับ 20,425 กิโลเมตร

FNM เป็นองค์กรที่ครอบครองและบริหารเส้นทางรถไฟประมาณร้อยละ 70 ของเม็กซิโกทั้งหมด และรับขนส่งบรรทุกสินค้าประมาณร้อยละ 80 ของสินค้าที่ขนถ่ายทางรถไฟ องค์กรรถไฟอื่นๆ รองลงมาซึ่งเป็นของรัฐเช่นกัน ได้แก่ Pacific Rail ซึ่งมีเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างเมือง Nogales และ Guadalajara สายสำคัญๆ อื่นๆ ได้แก่ เส้นทางจากเมือง Chihuahua ไปยังฝั่งแปซิฟิก เส้นทางจากรัฐ Sonora ไปยังรัฐ Baja California และสายตะวันออกเฉียงใต้ของ United Railroads

มีเส้นทางรถไฟที่ข้ามชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโกที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองชายแดนต่าง ๆ ในฝั่งเม็กซิโกกับเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ได้แก่ Ciudad Juárez, Laredo, Piedras Negras, Reynosa, Matamoros, Nogales, Naco และ Agua Prieta และในชายแดนตอนใต้ มีเส้นทางรถไฟที่วิ่งเข้าสู่ประเทศกัวเตมาลาเชื่อมเข้ากับระบบรถไฟข้างประเทศในหมู่ประเทศอเมริกากลาง

การบริหารระบบรถไฟของเม็กซิโกโดย FNM ขาดประสิทธิภาพอย่างร้ายแรงมาเป็นเวลาหลายปี โดยใน 1991 สภาพของหัวเครื่องจักรที่สามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี มีเพียงร้อยละ 68 ที่สามารถใช้การได้ และการบริการขนถ่ายสินค้าออกจากท่ารถไฟเป็นบริการที่ล่าช้ามาก โดยมีการส่งสินค้าตามกำหนดได้เพียงร้อย 20 ของสัญญาขนถ่าย จนเป็นเหตุให้ผู้รับบริการขนถ่ายสินค้าหันไปใช้การขนถ่ายโดยรถบรรทุกตามเส้นทางถนนแทน

ในปี 1992 FNM มีหัวเครื่องจักรแบบดีเซลทั้งหมด 1,575 เครื่อง ตู้ขนบรรทุกสิ้นค้า 42,240 ตู้ และมีรถบรรทุกสินค้าทางรางรถไฟที่เอกชนเป็นเจ้าของประมาณ 60,000 ตู้ ในปีเดียวกันนั้น FNM ได้ขนบรรทุกสินค้าทั้งหมด 49 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 12 ของการบรรุทกสินค้าทั้งหมด

ความล้มเหลวในการบริหาร FNM เป็นเหตุให้รัฐบาลเม็กซิโกเริ่มกระบวนการแปรสภาพการรถไฟฯ ขายส่วนธุรกิจต่าง ๆ ให้แก่ภาคเอกชนตั้งแต่ปี 2006 เพื่อปลดภาระหนี้ (liquidation) ปัจจุบันยังคงอยู่ระหว่างการขายส่วนบริการต่าง ๆ ออกไปอยู่

ในปี 1996 บริษัท Kansas City Southern (KCS) ได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Transportacion Maritima Mexicana (TMM) พัฒนาสัมปทานสาย Northeast Railroad ที่ข้ามชายแดนสหรัฐฯที่เมือง Laredo เชื่อมท่าเรือ Lázaro Cárdenas ฝั่งแปซิฟิก กับเมือง Monterrey และกรุงเม็กซิโกซิตี้

ในปี 1998 กลุ่ม Grupo Mexico ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่สำคัญของเม็กซิโกทีมีการลงทุนด้านเหมืองแร่เป็นสำคัญ ได้ร่วมลงทุนกับ Union Pacific Railroad โดยใช้ชื่อธุรกิจ Ferrocarril Mexicano (Ferromex) พัฒนาสัมปทานสาย Northwest Railroad ที่เชื่อมเส้นทางรถไฟระหว่างเมืองชายแดนสหรัฐฯ หลายแห่งกับท่าเรือ Manzanillo ฝั่งแปซิฟิกกับเมือง Guadalajara ถึงกรุงเม็กซิโกซิตี้

ในปี 2000 บริษัท Ferrosur เป็นผู้พัฒนาสัมปทานรถไฟสายใต้ระหว่างกรุงเม็กซิโกซิตีกับท่าเรือ Veracruz ฝั่งอ่าวเม็กซิโก แต่ต่อมาในปี 2005 Ferrosur ได้พยายามขายสัมปทานสายดังกล่าวให้แก่ Ferromex แต่ได้รับการคัดค้านจากกลุ่ม KCSM

เส้นทางรถไฟรอบๆ กรุงเม็กซิโก
บริษัท Ferrocarril y Terminal del Valle de México (Ferrovalle) เป็นผู้บริหารสัมปทานสายรถไฟขนส่งสินค้าสำคัญสามสายในเขตรอบเมืองเม็กซิโกซิตี้ ได้ก่อตั้งเมื่อปี 1998 โดยการแยกทรัพย์สินของ FNM มีผู้ถือหุ้นสามองค์กร ได้แก่ Ferromex, Ferrosur และ KCSM ระยะเส้นทางรวมประมาณ 844 กิโลเมตร มีการขนถ่ายรถตู้คอนเทเนอร์ประมาณ 2,400 คันต่อวัน

สายรถไฟสายย่อยๆ อื่นๆ ได้แก่
  • รถไฟสาย Linea Coahuila Durango (LFCD) มีเส้นทางรถไฟขนถ่ายสินค้าระยะทางประมาณ 1371กิโลเมตร ที่เชื่อมโยงระหว่างรัฐ Coahuila, Durango, Chihuahua และ Zacatecas
  • รถไฟสาย Carrizo Gorge de Mexico (Carrizo Gorge Railway subsidiary) มีการขนถ่ายผู้โดยสารข้ามชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโก ที่เชื่อมโยงกับระบบรถไฟของเมือง San Diego โดยมีต้นทางฝั่งเม็กซิโกที่เมือง Tijuanaและส่งผู้โดยสารเข้าระบบสหรัฐฯ ที่เมือง Plaster City รัฐ California 
  • รถไฟสาย Ferrocarril Transistmico เป็นเส้นทางที่วิ่งระหว่างรัฐ Veracruz และรัฐ Oaxaca 
  • และรถไฟสาย Ferrocarriles Peninsulares del Noroeste (Carrizo Gorge Railway) ที่วิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับเส้นทางรถไฟผู้โดยสาร มี
  • สาย Ferrocarril Suburbano de la Zona Metropolitana de México  ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟโดยสารที่วิ่งออกไปนอกเมือง ระยะทาง 27 กิโลเมตร จากสถานี Buena Vista ในกรุงเม็กซิโกไปยังชานเมืองทางเหนือ สิ้นสุดเส้นทางที่เมือง Cuautitlan
  • สาย Chihuahua al Pacífico เป็นรถไฟท่องเที่ยวเพื่อชมผา Copper Canyon ในทางเหนือของเม็กซิโก เป็นเส้นทางระยะ 673 กิโลเมตร ซึ่งใช้ระยะเวลาการเดินทางประมาณ 16 ฃั่วโมง ผ่านอุโมง 86 แห่ง และข้ามสะพานรถไฟ 37 แห่ง มีจุดพักระหว่างทาง 15 แห่ง มีต้นทางทีเมืองชายฝั่งแปซิฟิก Los Mochis รัฐ Sinaloa ไปยังเมือง Chihuahua รัฐ Chihuahua
  • และสาย Tequila Express เป็นรถไฟสายท่องเที่ยวไปยังเมือง Guadalajara เพื่อชมการทำเหล้า tequila สุดสายที่โรงกลั่นเหล้าที่เมือง Amatitán

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง:
http://en.wikipedia.org/wiki/Rail_transport_in_Mexico