ข้อมูลตลาดสินค้าสับปะรดสด น้ำสับปะรด และสับปะรดกระป๋องในเม็กซิโก
การบริโภคและการผลิต
ประเทศเม็กซิโกเป็นผู้ผลิตสับปะรดสดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ในปริมาณ 540,000 ตันต่อปี ในพื้นที่การเพาะปลูก 10,500 เฮ็กเตอร์ต่อปี ซึ่งมีสัดส่วนเพื่อการบริโภคภายประเทศในลักษณะผลไม้สดร้อยละ 70 อีกร้อยละ 23-25 เป็นเพื่อการผลิตน้ำสับปะรด และร้อยละ 5-7 เพี่อการส่งออกในลักษณะผลไม้สดไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
นอกจากปัญหาการควบคุมการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศแล้ว ภาคการผลิตสับปะรดในเม็กซิโกเป็นภาคการผลิตเกษตรที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากยังปัญหาไม่ได้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการผลิต ต้นทุนการผลิตสูง และเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดรายย่อยขาดการพัฒนาระบบส่งน้ำและพึ่งน้ำฝน ทั้งนี้ ในปี 2553 ผลผลิตมีปริมาณสูงเกินปกติ แต่ช่องทางการกระจายสินค้าไปสู่ตลาดขาดประสิทธิภาพ เป็นเหตุให้เกิดแรงกดดันทางการเมืองเพ่งเล็งสับปะรดที่นำเข้าจากต่างประเทศ และ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 รัฐบาลเม็กซิโกได้ ประกาศกำหนดราคาประกันของสับปะรด (HS 2008.20.01) ที่นำเข้าไว้ที่ราคา 0.701 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544 สาเหตุของการประกาศดังกล่าว เนื่องจากมีการประท้วงของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในเม็กซิโกเห็นว่า สับปะรดจากเอเชียมีราคาต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสับปะรดจากประเทศไทย ซึ่งประกาศดังกล่าวเป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมจากเดิมที่เพียงเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 23 และผู้นำเข้าต้องมีหนังสือรับรองสุขอนามัยจากกระทรวงสาธารณสุขเม็กซิโก ซึ่งข้อกำหนดทั้งสองนี้ได้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2541
การนำเข้า/การส่งออก
ในปี 2537 ได้มีการนำเข้าสับปะรดประมาณมากที่สุด 18, 320 ตัน แต่ได้ลดลงระหว่างปี 2539 ถึง 2543 ปริมาณนำเข้าระหว่าง 533-806 ตัน และได้เพิ่มขึ้นในปี 2543 เป็น 1,367 ตัน มูลค่าเกือบล้านเหรียญสหรัฐฯ
สับปะรดกระป๋องของไทยมีความได้เปรียบด้านการแข่งขันสูงเมื่อเทียบกับของเม็กซิโก โดยประเทศไทยมีความสามรถในการพัฒนาพันธุ์ กระบวนการผลิตและการส่งออกไปยังตลาดโลกที่ค่อนข้างชำนาญการ ผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋องอาจจะพิจารณาแผนการตลาด เพื่อเน้นการสั่งซื้อของห้างทรพัยสินค้า ร้านอาหารและโรงแรม หรืออาจจะพิจารณาการเข้ามาเปิดการผลิตในเม็กซิโก แนวทางการค้าระหว่างประเทศใต้ใต้ นำความรู้เกี่ยวกับการควบคุมช่วงการผลิต การบรรจุกระป๋อง หรือกล่องเน้น ตลาดสูง แปรส่วนเกินของการผลิตเป็น ส่งเข้าน้ำสับปะรดไปยังสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่กว่าสับปะรดกระป๋อง
เงื่อนไขและกฏระเบียบการค้า
ผู้นำเข้าต้องขอใบอนุญาติการนำเข้าจากกระทรวงเศรษฐกิจ และต้องขอหนังสือรับรองสุขอาณามัยจากกระทรวงสาธารณสุขเม็กซิโก
สืบเนื่องจากภาวะการแข่งขันจากสินค้าไทย ผู้ผลิตรัฐวาฮาก้า ได้ขอให้รัฐบาลออกกฏระเบียบกำหนดให้ผู้นำเข้าจากประเทศเอเชียต้องแสดงใบอนุญาติการนำเข้าเดิมเป็นเงื่อนไขการอนุมัติการนำเข้าอีกขั้นตอนหนึ่ง
ภาษีนำเข้า: MFN Rate: 45% Advalorem
ประเทศที่รับการยกเว้นภาษีนำเข้าตามความตกลงเขตการค้าเสรีที่มีกับเม็กซิโก สำหรับสับปะรดสดและสับปะรดแปรรูป ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา ชิลี โบลิเวีย และคอสตาริกา และสหภาพยุโรป (ยกเว้น สวิสเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และไลเค็นสไตน์) ส่วนประเทศโคลัมเบียและเวนูซูเอลา ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสับปะรดกระป๋อง แต่ต้องเสียภาษีนำเข้าสับปะรดสด ร้อยละ 1.4
กลุ่มประเทศอเมริกากลาง อันได้แก่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และ เอลซาวาดอร์ เสียภาษีนำเข้าร้อย ละ 11.1 ส่วน นิคารากัว เสียร้อยละ 8.0/6.0
กลุ่มประเทศสมาชิกสิทธิพิเศษ ALADI เสียภาษีในอัตราต่างกัน โดยพารากวัย ร้อยละ 23.4 เอควาดอร์ ร้อยละ 27 คูบา ร้อยละ 32.4 อุรุกวัย ร้อยละ 32.4 อาร์เจนตินา ร้อยละ 36 และบราซิลร้อยละ 36
ราคาของสับปะรดสดภายในประเทศมีความผันผวนตามฤดูหรือภาวะการผลิตสูง โดยในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนจะเป็นช่วงผลผลิตขาดแ คลน ทำให้ราคาในช่วงสองเดือนนี้มีราคาสูงที่สุดระหว่างปี
มีการแบ่งประเภทสับปะรดสามประเภทในเม็กซิโก คือ เกรดเอ ซึ่งมีน้ำหนักต่อลูกประมาณ 2.5 กิโลหรือมากกว่า เป็นประเภทที่นิยมบริโภคภายในประเทศ เกรดบี มีน้ำหนักระหว่าง 1.8-2.5 กิโลต่อลูกเป็นเกรดที่ส่งป้อนโรงงานแปรรูปสับปะรด และเกรดซี ซึ่งมีน้ำหนักระหว่าง 1.5-1.8 กิโล ซึ่งแต่ก่อนสับปะรดที่ส่งออกเป็นสับปะรดที่ไม่มีคุณภาพเป็นส่วนเหลือ แต่ปัจจุบันมีผู้ผลิตทำการเพาะปลูกในขนาดน้ำหนักดังกล่าว เพราะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในต่างประเทศ
พื้นที่การผลิตสับปะรดที่สำคัญในเม็กซิโกได้แก่ รัฐ Veracruz, Oaxaca และ Tabasco มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 74, 12 และ 10 ตามลำดับ มีผู้ทำการเพาะปลูก 2500 รายทำการเพาะปลูกระหว่าง 2-5 เฮ็กเตอร์ต่อราย และมีผู้ที่มีพื้นที่การเพาะปลูกระหว่าง 25-300 เฮ็กเตอร์ประมาณ 100 รายและบริษัทเอกชนอีก 5 บริษัท
การควบคุมการผลิตยังขาดการประสานงานกับความต้องการของตลาด โดยมักมีปริมาณผลผลิตเกินความต้องการในช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฏาคม ในขณะที่ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนจะขาดผลผลิต และในช่วงตุลาคม-พฤษภาคมมีปริมาณผลผลิตตอบสนองความต้องการได้พอประมาณ