Google Website Translator

Wednesday, May 25, 2011

PET market in Mexico and Indorama investment in Queretaro, Mexico

ตลาดพลาสติกโพลิเอทิลีน เทอร์ฟะธาเลต (PET) ในเม็กซิโก


กลุ่มวิจัย GBI ได้รายงานภาวะการผลิตพลาสติกประเภท PET ทั่วโลกในปี ค.ศ. 2009 ว่ามีปริมาณการผลิตรวม 15.3 ล้านตัน และอัตราการขยายตัวเฉลี่ยต่อปีของตลาดพลาสิตกประเภท PET เป็นอัตราประมาณร้อยละ 4.9 โดยภูมิภาคเอเชียเป็นตลาดที่มีการใช้พลาสติก PET มากที่สุดในปริมาณ 4.7 ล้านตันในปี 2009 ตามด้วยสหภาพยุโรป ส่วนสหรัฐอเมริกาและภูมิภาคลาตินอเมริกามีการบริโภคพลาสติก PET ในปริมาณ 3.1 และ 2 ล้านตันตามลำดับในปีเดียวกันนั้น

ตลาดสำหรับพลาสติกประเภทโพลิเอทิลีน เทอร์ฟะธาเลต (Polyethylene Terphtalate) หรือ PET ในประเทศเม็กซิโก เป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพลาสติกประเภท PET เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการผลิตขวดพลาสติกบรรจุน้ำอัดลม และน้ำดื่มประเภทต่าง ๆ ตลาดสำหรับน้ำดื่มและน้ำอัดลมบรรจุขวดในเม็กซิโกที่ตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดยชาวเม็กซิกันมีอัตราการบริโภคน้ำบรรจุขวดปริมาณ 160 ลิตรต่อคนต่อปี หรือปริมาณรวมทั้งประเทศ 1.8 หมื่นล้านลิตรต่อปี หรือประมาณ 50 ล้านขวดต่อวัน สภาอุตสาหกรรมเม็กซิโกได้ประมาณการณ์ว่า การผลิตขวดพลาสติกในเม็กซิโกมีปริมาณรวม 800 ล้านขวดต่อปี ในปริมาณดังกล่าวเพียงร้อยละ 20 เป็นขวดที่มาจากการรีไซเคิ้ล และขวดพลาสติกที่ทิ้งเป็นขยะเป็นหนึ่งส่วนสามของปริมาณขยะที่ชาวเม็กซิกันทิ้งทั้งหมด ปริมาณของขวดพลาสติกที่ถูกทิ้งในที่สาธารณะเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังได้รับการผลักดันจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนของเม็กซิโกให้มีการเพิ่มการรีไซเคิ้ลขวดพลาสติก PET

สภาอุตสาหกรรมแห่งเม็กซิโก (Confederación de Cámaras Industriales-CONCAMIN) ได้รายงานว่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูป (recycle) ขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วในประเทศเม็กซิโกได้ขยายตัวเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา และในปัจจุบันเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าประมาณ 3 ล้านเหรียญต่อปี ความต้องการใช้ขวดพลาสติก PET ภายในประเทศของเม็กซิโกมีประมาณ 413,000 ตันต่อปี ทั้งนี้ ความสามารถในการรีไซเคิ้ลขวด PET ดังกล่าวเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 15-20 ของขวดพลาสติกที่ที้งทั้งหมด ปริมาณของขวดพลาสติดที่ขว้างทิ้งมีปริมาณประมาณ 500,000 ตันต่อปี

การลงทุนของผู้ผลิตพลาสติก PET-บริษัท Indorama ในเม็กซิโก

บริษัท Indorama Ventures ซึ่งมีรากฐานการเติบโตในการผลิต PET ที่ประเทศไทย เป็นผู้ผลิตพลาสติก PET อันดับสองของโลก รองจากบริษัท M&G ของประเทศอิตาลี บริษัท Indorama Ventures มีโรงงานผลิต PET ทั่วโลก 23 แห่ง กำลังการผลิต PET รวม 1.65 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้แล้ว ยังมีการกำลังการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ 280,800 ตันต่อปี กำลังการผลิต PTA 1.59 ล้านตันต่อปี และกำลังการผลิตเส้นใยขนแกะอีก 5,900 ตันต่อปี

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2011 ผู้จัดการใหม่ของบริษัท Indorama ได้เข้ารับตำแหน่งการบริหารโรงงาน Spartanburg ที่กลุ่ม Indorama ได้ซื้อจากกลุ่ม INVISTA ในรัฐ Querétaro ประเทศเม็กซิโก การลงทุนของกลุ่ม Indorama ในเม็กซิโกครั้งแรกนี้มีมูลค่าการลงทุน 420 ล้านเหรียญสหรัฐ โรงงานดังกล่าวมีกำลังการผลิต 535 kMT ต่อปี และจ้างพนักงานรวม 510 คน การลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมกำลังการผลิตเพี่อสนองความต้องการในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งกลุ่ม Indorama มีโรงงานผลิต PET อยู่แล้ว 2 แห่ง อันได้แก่ โรงงาน StarPET ที่เมือง Asheboro รัฐ North Carolina และโรงงาน AlphaPET ที่เมือง Decatur รัฐ Alabama นอกจากนี้แล้ว การลงทุนดังกล่าวยังเป็นการเปิดตัวเข้าสู่ตลาดใหม่ นั่นคือตลาดการผลิตขวด PET ในประเทศเม็กซิโก

ข้อมูลบริษัท IVL Holding S.de.R.L.de.C.V.

ที่อยู่สำนักงานบริหาร:
Av. Prol. Paseo de la Reforma No. 1001, Torre A 2° Piso, Col. Desarrollo Santa Fe. 01109, México City, Mexico.

ที่อยู่โรงงาน:
Acceso IV No. 202, Parque Industrial Benito Juárez. 76120 Queretaro, México.
Tel: +52 55 9177 5714

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
http://www.sma.df.gob.mx/rsolidos/04/01clave.pdf
http://www.invista.com/en/news/pr_indorama-purchase.html
http://www.reciclamos.org/reciclamos/?p=1688
http://www.milenio.com/node/698524

Mexico approves new sugar import quota for 2011

เม็กซิโกประกาศโควต้าการนำเข้าน้ำตาลสำหรับปี 2011

กระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโกได้ประกาศโควต้าการนำเข้าน้ำตาลสำหรับปี ค.ศ. 2011 เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม กำหนดปริมาณน้ำตาลที่จะอนุมัติให้นำเข้าเม็กซิโกจากไตรมาสที่สองถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2011 เป็นจำนวน 150,000 ตัน ซึ่งเป็นโควต้าการนำเข้าที่ลดลงจากที่ได้อนุมัติเมื่อปีที่ผ่านมา (250,000 ตัน) เนื่องจากคาดหวังว่า กำลังการผลิตน้ำตาลโดยเกษตรกรเม็กซิกันจะเพิ่มขึ้นในปีนี้ ครึ่งหนึ่งของปริมาณโควต้าดังกล่าวจะเป็นส่วนของการรับประมูลโดยรัฐบาลเม็กซิโก และอีกครึ่งหนึ่งของปริมาณโควต้าเป็นส่วนที่อุตสาหกรรมอาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบสำคัญสามารถสั่งนำเข้า

การอนุมัติโควต้าการนำเข้าน้ำตาลดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนผลผลิตที่ขาดแคลน และเพื่อลดแรงกดันของราคาของน้ำตาลภายในประเทศที่ได้เริ่มแสดงแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2011 ราคาน้ำตาลในตลาดในพฤษภาคม 2011 ในเม็กซิโกอยู่ระหว่าง 540-570 เปโซต่อกระสอบละ 50 กิโล

เม็กซิโกเป็นผู้ผลิตน้ำตาลอันดับ 6 ของโลกรองจากประเทศบราซิล อินเดีย สหรัฐ จีน สหภาพยุโรป และออสเตรเลีย มีกำลังการผลิตน้ำตาลได้ประมาณ 5.8 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับความต้องการของตลาดภายใน ที่มีการบริโภคน้ำตาลจากอ้อยประมาณ 5 ล้านตัน และความต้องการน้ำตาลสังเคราะห์อีก 800,000 ล้านตัน เม็กซิโกมีการส่งออกน้ำตาลประมาณ 400,000 ล้านตัน

ภมิหลังเก่า:  http://nui-tradeinvestthai-mexico.blogspot.com/2010/03/blog-post.html

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
http://www.elfinanciero.com.mx/index.php/economia/25853
http://www.eluniversal.com.mx/notas/714514.html
http://www.reuters.com/article/2010/02/07/mexico-sugar-idUSN0716673520100207

Monday, May 23, 2011

Country Profile: Nicaragua 2011

ข้อมูลเศรษฐกิจประเทศนิการากัว

นิการากัวเป็นประเทศมีพื้นที่มากที่สุดในอเมริกากลาง แต่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศฮอนดูรัส ทางใต้จรดประเทศคอสตาริกา ชายฝั่งตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนชายฝั่งตะวันออกจรดทะเลแคริบเบียน


1.2 ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐนิการากัว (ภาษาสเปน: República de Nicaragua)
1.3 เมืองหลวง กรุงมานากัว (Managua) มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน
1.4 ขนาดพื้นที่ 130,370 ตารางกิโลเมตร (ใกล้เคียงกับขนาดของประเทศกรีซ)
1.5 ประชากร 5.67 ล้านคน
1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ ทองคำ เงิน ทองแดง ทังเสตน ตะกั่ว สังกะสี ป่าไม้ และประมง
1.7 ประวัติศาสตร์ สาธารณรัฐนิการากัวได้ประกาศอิสระภาพจากราชอาณาจักรสเปนในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1821 แต่ได้รับการยอมรับในวันที่ 25 กรกฏาคม ค.ศ. 1850

เชื้อชาติ เมสติโซ (ผิวขาวผสมอินเดียน) ร้อยละ 69 ผิวขาว ร้อยละ 17 ผิวดำร้อยละ 9 และอเมริกัน-อินเดียน ร้อยละ 5
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 58.5 คริสต์นิกายอื่นๆ ร้อยละ 24 และมีชาวพุทธอยู่ร้อยละ 0.1
ภาษา ภาษาราชการคือภาษาสเปน มีภาษาพื้นบ้านคือ Creole Miskito Sumo และ Rama

1.8 ระบอบการปกครอง

นิการากัวมีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐและผู้นำรัฐบาล นาย Daniel ORTEGA Saavedra ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ.2007 วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ฝ่ายนิติบัญญัติมีสภาเดี่ยว ตำแหน่งผู้แทนสภา 92 ตำแหน่ง ระบบการเมืองเป็นระบบพรรคการเมืองหลายพรรค (multi-party) และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 จังหวัด (departamentos) กับ 2 เขตปกครองตนเอง

1.9 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ

มีเส้นทางถนนจำนวน 19,137 กิโลเมตร สนามบิน 143 แห่ง สนามบินระหว่างประเทศ คือ Augusto C. Sandino International Airport ที่กรุงมานากัว มีความสามารถรับผู้โดยสารได้ 1.1 ล้านคนต่อปี สายการบินสำคัญคือ สายการบิน Nicaragüense de Aviación (NICA) เส้นทางน้ำ 2,220 กิโลเมตร มีทะเลสาปใหญ่ 2 แห่ง คือ ทะเลสาปมานากัว และทะเลสาปนิการากัว มีท่าเรือทั้งหมด 7 แห่ง แต่ท่าเรือที่สำคัญคือท่าเรือ Bluefields ฝั่งทะเลแคริเบียน และท่าเรือ Corinto ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากนีแล้ว ยังมีระบบท่อส่งน้ำมันความยาว 54 กิโลเมตร

2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศนิการากัว

นิการากัวเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในภูมิภาคอเมริกากลาง มีอัตราการว่างงานและความยากจนสูง เนื่องจากตกอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการเป็นระยะเวลาร่วม 30 กว่าปี ตามด้วยปัญหาการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองในระยะต่อมา การเข้าร่วมเขตการค้าเสรีคาฟต้ากับสหรัฐในปี ค.ศ. 2006 ได้ช่วยกระตุ้นการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมบางกลุ่ม โดยเฉพาะสิ่งทอและเสื้อผ้า แต่รัฐบาลของประธานาธิบดี Ortega ซึ่งมีความคิดเห็นโน้มเอียงไปทางฝ่ายซ้าย และมีความใกล้ชิดกับนาย Chavez ของประเทศเวเนซูเอลา ได้เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำและส่งเสริมการร่วมทุนกับรัฐวิสาหกิจจากเวเนซูเอลา ทำให้บรรยากาศการลงทุนเสื่อมสภาพลง ชาวนิการากัวได้ย้ายถิ่นฐานหนีปัญหาการเมืองและสภาวะความยากจนเป็นล้านคน นิการากัวจึงพึ่งการส่งเงินกลับจากแรงงานในต่างประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของผลผลิตแห่งชาติ ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญของนิการากัวคือภาระหนี้ระหว่างประเทศสูงซึ่งทำให้งบดุลขาดดุลมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2004 ได้รับความช่วยเหลือในการปรับลดหนี้และเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของ IMF นิการากัวได้เริ่มฟื้นฟูจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ และคาดว่าจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 3 ในปี ค.ศ. 2011

สรุปข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจนิการากัว

2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

นิการากัวมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในปลายปี ค.ศ. 2010 ประมาณ 1.58 พันล้านเหรียญสหรัฐ

2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศนิการากัว

ภาคบริการมีสัดส่วนความสำคัญในผลผลิตแห่งชาติร้อยละ 56 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 26.5 และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 17.6 สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ กาแฟ ฝ้ายและกล้วย กิจกรรมด้านเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ การก่อสร้าง เหมืองแร่ ประมง และการพาณิชย์ ส่วนการท่องเที่ยวได้เติบโตเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2007 เป็นภาคเศรษฐกิจที่ให้รายได้ต่างประเทศอันดับสองรองจากการรับเงินโอนกลับจากต่างประเทศ

2.4 ข้อมูลด้านการลงทุน

การลงทุนจากภาคเอกชนได้มีสภาพขึ้นลงกับภาวะการเมือง ในปี ค.ศ. 1999 ได้มีเงินลงทุนจากต่างชาติเข้าประเทศนิการากัวจำนวน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ได้ลดลงเป็นเพียง 100 ล้านเหรียญฯ ในปี 2001 การเร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศภายใต้โครงการปรับโครงสร้างของ IMF รวมกับการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2002 ได้ช่วยเพิ่มมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศเป็น 508 ล้านเหรียญฯ ในปี 2010

3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของนิการากัว
3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศนิการากัว

ในปี ค.ศ. 2010 นิการากัวมีมูลค่าการส่งออกรวม 8.47 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากการส่งออกในปี 2009 ร้อยละ 17 คู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 61.9 เอลซัลวาดอร์ ร้อยละ 7.7 และคอสตาริกา ร้อยละ 3.7 สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ กาแฟ เนื้อวัว กุ้งและกุ้งกาม ยาสูบ น้ำตาล ทองคำ ถั่ว สิ่งทอและเสื้อผ้า

การนำเข้าในปี 2010 มีมูลค่า 12.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นร้อยละ 9.8 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 22.6 เวเนซูเอลา ร้อยละ 12.3 เม็กซิโก ร้อยละ 9 คอสตาริกา ร้อยละ 8.7 จีน ร้อยละ 7.2 กัวเตมาลา ร้อยละ 7 และเอลซัลวาดอร์ ร้อยละ 5.6 โดยมีสินค้านำเข้าสำคัญคือ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องจักรและอุปกรณ์ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์น้ำมัน

3.2 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ

นิการากัวได้เข้าร่วมองค์การค้าโลกในปี ค.ศ. 1995 เป็นสมาชิกกลุ่มศุลกากร Central American Common Market-CACM เมื่อปี ค.ศ. 1960 มีความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีกับสหรัฐฯ ภายใต้กรอบของกลุ่ม DR-CAFTA ตั้งแต่ปี 2004 และความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มอเมริกากลางกับปานามา ตั้งแต่ปี 2002 สำหรับในระดับทวิภาคี นิการากัวได้ลงนามในความตกลงการค้าเสรีกับเม็กซิโกในปี 1997 สาธารณรัฐโดมินิกันในปี 1998 และไต้หวันในปี 2006 นอกจากนี้แล้ว ยังมีความตกลงให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับประเทศโคลัมเบียตั้งแต่ปี 1984 และเวเนซูเอลาตั้งแต่ปี 1986

4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างนิการากัวกับไทย

มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2518 โดยรัฐบาลไทยมอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำนิการากัวอีกตำแหน่งหนึ่ง ในขณะที่นิการากัวได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตประจำญี่ปุ่น มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย และแต่งตั้งนายอาณัฐชัย รัตตกุล เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์นิการากัวประจำประเทศไทย เมื่อปี 1994

ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญระหว่างวันที่ 20-25 มีนาคม 2000 เป็นเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดยประธานาธิบดีของนิการากัว นาย Arnoldo Aleman Lacayo

4.2 มูลค่าการค้าของไทยกับนิการากัว

ในปี ค.ศ. 2010 การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับนิการากัวมีมูลค่ารวม 31.326 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 74.5 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ปรียบดุลการค้า 30.712 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกไปยังนิการากัวในปี 2010 มูลค่า 31.019 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 เทียบเท่ากับเพิ่มขึ้นร้อยละ 75 การนำเข้าจากนิการากัวในปี 2010 มีมูลค่า 306,847 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2009 ร้อยละ 49

4.3 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศนิการากัว และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากนิการากัว

สินค้าที่ไทยส่งออกไปนิการากัว คือ รถยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอและสินค้าตกแต่งเสื้อผ้า สินค้าอาหารทะเล เครื่องซักผ้า/อบผ้า เคมีภัณฑ์ สินค้ายาง และชิ้นส่วนเครื่องจักร ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากนิการากัว ได้แก่ หนังสัตว์ เสื้อยืด เสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื้อ ผักผลไม้ มอเตอร์ไซค์และชิ้นส่วน กาแฟ ยาและผลิตภัณฑ์เภสัช และเส้นลวด

4.4 สินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยสำหรับประเทศนิการากัว

ยังมีโอกาสในการขยายปริมาณสินค้าที่ส่งออกเดิม ซึ่งได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอและสินค้าตกแต่งเสื้อผ้า สินค้าอาหารทะเล เครื่องซักผ้า/อบผ้า เคมีภัณฑ์ สินค้ายาง และชิ้นส่วนเครื่องจักร

4.5 ลู่ทางการค้าและการลงทุน

บริษัทที่ทำการผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าไทยที่กำลังแสวงหาฐานการผลิตต้นทุนค่าแรงงานต่ำ อาจจะพิจารณาย้ายฐานการผลิตสิ่งทอในส่วนที่มีเป้าหมายการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ไปยังประเทศนิการากัว ทั้งนี้ ค่าแรงงานขั้นต่ำของนิการากัวมีมูลค่าประมาณ 1,392 คอร์โดบา หรือประมาณ 63 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ซึ่งเป็นค่าแรงงานที่ถูกที่สุดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง เทียบกับค่าแรงของฮอนดูรัสประมาณ 5,500 เล็มปิรี หรือ 291 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ค่าแรงงานในคอสตาริกา 217 เหรียญสหรัฐต่อเดือน และค่าแรงงานในเอลซัลวาดอร์ประมาณ 187 เหรียญต่อเดือน ค่าแรงงานในนิการากัวเป็นอัตราค่าแรงที่ต่ำกว่าค่าแรงของเวียดนามซึ่งเท่ากับ 72 เหรียญต่อเดือน

(อ้างอิงข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_minimum_wages_by_country และhttp://www.centralamericadata.com/en/article/home/Textiles_Leave_Honduras_for_Nicaragua)

4.6 การท่องเที่ยวในนิการากัว

การท่องเที่ยวในนิการากัวได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2005 ได้มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวนิการากัวจำนวน 803,933 คน เพิ่มจากจำนวน 579,165 คนในปี 2002 ในปีเดียวกันนั้น นิการากัวได้มีรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่า 240 พันล้านเหรียญสหรัฐ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากสหรัฐฯ ยุโรป และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ในปี 2010 ได้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังนิการากัวประมาณ 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 8.7 และได้มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2011 จะมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปนิการากัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 หรือเป็นจำนวนรวม 1.1 ล้านคน นิการากัวมีจำนวนห้องพักรวมประมาณ 9,000 ห้อง อัตราการเข้าพัก ประมาณร้อยละ 80 และกลุ่มโรงแรมของเสปน NH Hoteles ได้แสดงความสนใจที่จะลงทุนสร้างโรงแรมห้องพักเพิ่มในนิการากัว

5. SWOT Analysis

Strength:  ตลาดจะขยายตัวได้ในระยะยาว ค่าแรงงานต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศอมเริกากลาง

Weakness:  ห่างไกลจากประเทศไทย  ตลาดภายในประเทศไม่ใหญ่ ระดับรายได้ต่ำ และมีความยากจนอยู่มาก โครงสร้างพื้นฐานยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก

Opportunities: เป็นประตูหลังเพื่อทำการผลิตต้นทุนต่ำเพื่อการส่งออกไปยังสหรัฐฯ

Threat: มีภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว พายุฮูริกัน และน้ำท่วมเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว

6. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/ รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าของประเทศนั้น

6.1 หน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุน:
ProNicaragua
Km 4 ½ Carretera a Masayu, Edificio Cesar, Managua, Nicaragua. C.A.
Tel.: + (505) 2270-6400
Fax: + (505) 2278-733
Website: info@pronicaragua.org

6.2 หอการค้าแหน่งนิการากัว
CACONIC (Cámara de Comercio de Nicaragua)
Rotonda Güegüense 400 metros al Sur 20 varas al este,
Tel: +(505) 2268-3505, Fax: +(505) 2268-3600
E-mail:comercio@caconic.org.ni , comunicacion@caconic.org.ni
Website: www.caconic.org.ni

7. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยงานส่งเสริมการค้าของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย

Embassy of Nicaragua
Kowa Bldy 38, Rm 9034 - 12-24, Nishi - Azabu, Minato-Ku Tokyo 106, Japan
Tel: 00813 - 34990400. Fax: 00813 – 34993800
E-mail: nicjapan@gol.com

Monday, May 16, 2011

Spa Industry of Mexico

ธุรกิจสปาในประเทศเม็กซิโก

เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมานายกสมาคมสปาลาตินอเมริกาในเม็กซิโก (Asociacion Latinoamericana de Spa, A.C.) ได้รายงานว่าธรุกิจสปาในเม็กซิโกได้ขยายตัวในอัตราร้อยละ 25 ใน 4 ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนธุรกิจที่ได้จดทะเบียนบริการสปาประมาณ 1,525 แห่ง ซึ่งทำให้เม็กซิโกแซงหน้าประเทศไทยในการเป็นแหล่งสปาที่มากที่สุดในโลก

หนึ่งส่วนสามของสปาในประเทศเม็กซิโกจะอยู่ในกรุงเม็กซิโก บริการที่เป็นที่นิยมสำหรับสปาในเมืองได้แก่ การนวดตัว การบำบัด aromatherapy การลดความอ้วน และบริการต่าง ๆ ที่ช่วยชลอความชรา ร้อยละ 86 ของบริการสปาในเม็กซิโกจะเป็นบริการในโรงแรม ร้อยละ 7 จะเป็นสปาที่ให้บริการในพื้นที่ๆ จัดขึ้นเพื่อบริการสปาโดยเฉพาะซึ่งส่วนใหญ่จะรวมตัวอยู่ในพื้นที่การท่องเที่ยวที่สำคัญที่ชายฝั่งแคริเบียนแถบ Riviera Maya และ Cancun อีกร้อยละ 7 จัดเป็นบริการสปาแบบ holistic นอกจากนี้แล้ว ยังมีสปาที่ให้บริการบ่อน้ำร้อนธรรมชาติที่สำคัญ 5 แห่ง

กระทรวงการท่องเที่ยวของเม็กซิโกได้ประมาณการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่นิยมเดินทางมาเม็กซิโกเพื่อรับบริการด้านสปาประมาณ 10 ล้านคน

การเติบโตอย่างรวดเร็วของบริการสปาในเม็กซิโกได้ผลักดันให้รัฐบาลของเม็กซิโกออกกฎหมายควบคุมมาตรฐานของผู้ให้บริการสปา โดยได้กำหนดกฎระเบียบมาตรฐานในปี 2004 (NMX-TT-009-IMNC-2004 Spas - Requisitos básicos de la calidad en el servicio e instalaciones) จำนวนสปาที่จัดอยู่ภายใต้มาตรฐานดังกล่าว มีเพียง 212 แห่ง โดยมีแหล่งที่ตั้งแสดงในตารางดังต่อไปนี้

Monterrey 2
Guadalajara 4
Mexico City 13
Manzanillo 4
Huatulco 6
Mazatlan 8
Acapulco 12
Los Cabos 25
Vallarta 28
Riviera Maya 110

งานแสดงสินค้าสปาในเม็กซิโก

สมาคมสปาลาตินอเมริกา (Asociacion Latinoamericana de Spa, A.C.) จะจัดงานแสดงสินค้า Expo Spa ที่ศูนย์แสดงสินค้า World Trade Center ที่กรุงเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2011 เป็นงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับธุรกิจ

สปาในเม็กซิโกที่สำคัญ ซึ่งสมาคมลาตินอเมริกาได้จัดขึ้นทุกๆ ปีมาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว งานแสดงสินค้า Expo Spa มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 25,000 คน เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าสำหรับธุรกิจสปา เจ้าของ นักลงทุง และผู้จัดการด้านธุรกิจสปา คลินิคเสริมสวย โรงแรม โรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ฝึกการบำบัดในบริการสปา รวมทั้งสถาบันเอกชนและรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง โดยร้อยละ 15 ของผู้เข้าร่วมงานได้เดินทางมาจากประเทศอเมริกากลางและอเมริกาใต้ และร้อยละ 8 จากประเทศอื่น ๆ

ติดต่อรายละเอียดเกี่ยวกับงานแสดง Expo Spa ได้ที่

Asociacion Latinoamericana de Spa, A.C.
Protasio Tagle No. 47H, Col. San Miguel Chapultepec, Mexico 11850
Tel: 01 (55) 5277 1776
Email: altspa@yahoo.com.mx
Webpage: http://www.expospa.com.mx/spa/
รายชื่อสปาที่มีชื่อเสียงในเม็กซิโก

1. Maroma Resort and Spa, Riviera Maya (http://www.maromahotel.com/)
2. One & Only, Palmilla, Los Cabos (http://palmilla.oneandonlyresorts.com/)
3. Spa Esperanza, Cabo San Lucas (http://www.esperanzaresort.com/spa/ฉ
4. Away spa, Starwood Hotel, Polanco (http://www.starwoodhotels.com/whotels/property/overview/index.html?propertyID=1444ฮ
5. El Santuario, Valle de Bravo (http://www.elsantuario.com/ฉ
6. Spa Willow, Fairmont Hotel, Acapulco (http://www.fairmont.com/acapulco)
7. Mision del Sol, Cuernavaca (http://www.misiondelsol.com.mx/)
8. Apuane Spa, Four Seasons Punta Mita, Puerto Vallarta, Nayarit
(http://www.fourseasons.com/puntamita/spa/)
9. Spa Doña Urraca, Querétaro
(http://donaurraca.com.mx/principal.asp)
10. Sense, Rosewood Mayakoba Hotel, Cancun
(http://www.rosewoodmayakoba.com/en/spa.cfm)
11. Royal Spa Zimapán, Hidalgo
Hotel Royal Spa Carretera México–Laredo Km 205, Col. San Pedro, CP 42330, Zimapán, Hidalgo, México  Tel. (759)728-2061
12. Xquenda Huatulco Spa, Oaxaca (http://www.huatulcospa.com/ )

สปาไทยในเม็กซิโก

1. Banyan Tree, Cabo Marques, Acapulco
http://www.banyantree.com/en/cabomarques/overview

2. Banyan Tree Mayakoba, Riviera Maya, Cancun
http://www.banyantree.com/en/mayakoba/overview

รายชื่อบริษัทสปาที่สนใจนำเข้าสินค้าสปาจากประเทศไทย:

1. ASOCIACIÓN LATINOAMERICANA DE SPA, Protasaio Tagle No. 47 H, Col. San Miguel Chapultepec, Mexico D.F., CP 11850. Tel: (+ 52 55) 5277 1776.

2. KANTI, Tel: 4599 4593. http://www.kanti.com.mx/

3. BELLEZA PERMANENTE, Leibnitz No. 166, Anzures, México, D.F., CP: 11590. Tel: (55) 5250 2676. http://www.bellezapermanente.com.mx/

4. HOTEL MISION DEL SOL, Ave. Gral Diego Diaz Gonzalez No. 31, Col. Parres, Cuernavaca, Morelia, Mexico, CP 62550. Tel: (-52 777) 321 0999 x188, 150,277. http://www.misiondelsol.com.mx/

5. HYDRIUM, Ave. Baja California 38-A, Col Roma Sur, Mexico D.F., CP 06760. Tel: (52) 5264 3686. www.miguettmexico.com/miguett

6. LABORATORIOS JABOTIERE, Aniceto Ortega, 620 Col. del Valle, Del. Benito Juárez México DF CP.03100. Tel: 5575 9351. http://www.jabotiere.com.mx/

7. MUSICALMA, Tel: 5251-4678. ต้องการสินค้าบำบัดด้านดนตรี

8. PRODUCTOS DEL ANGEL, Avenida Central 279, Col Prohogar, México D.F., C.P 02600 Tel: (55) 3619 3126. http://www.productosdelangel.com.mx/

แหล่งข่าวอ้างอิง:
http://www.mundoejecutivo.com.mx/negocios-finanzas/industrias/spas-alimentan-turismo-mexicano.html
http://www.jornada.unam.mx/2007/05/04/index.php?section=sociedad&article=050n1soc
http://journalmex.wordpress.com/2010/04/27/mexico-lider-en-spas-de-calidad-mundial/
http://www.globalspasummit.org/2008/postsummit/files/pdf/latin.america.FINAL.pdf
http://www.spa.com.mx/