Google Website Translator

Wednesday, August 31, 2011

Mexican Motorbikes selling to Latin America

มอเตอร์ไซค์จากเม็กซิโกขยายตลาดไปยังสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคละตินอเมริกา


เมื่อปี 2008 บริษัท Elektra ของ Grupo Salinas แห่งเม็กซิโกได้เริ่มการประกอบมอเตอร์ไซค์ราคาย่อมเยายี่ห้อ Italika ในเม็กซิโกในปริมาณ 300,000 คันต่อปี โดยมีแผนการตลาดคือการขายผ่านเครือร้าน Elektra ที่ให้ลูกค้าผ่อนชำระซื้อสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านที่มี 1,100 แห่งในเม็กซิโก นอกจากนี้แล้ว ยังมีเครือข่ายของร้าน Elektra ในประเทศกัวเตมาลา ฮอนดูรัส เปรู อาร์เจนตินา และบราซิลอีกด้วย รวมทั้งการสั่งซื้อออนไลน์ ชิ้นส่วนที่ใช้ในการประกอบมอเตอร์ไซค์ Italika นำเข้ามาจากประเทศจีนโดยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า

ยอดขายมอเตอร์ไซค์ Italika ในตลาดเม็กซิโกมีปริมาณประมาณ 200,000 คัน คิดเป็นร้อยละ 55 ของตลาดมอเตอร์ไซค์ในเม็กซิโกโดยรวม มอเตอร์ไซค์ Italika มีรูปแบบทั้งหมด 15 รุ่น แบ่งประเภทอย่างคร่าว ๆ ได้ 4 แบบ คือ แบบประหยัด แบบใช้ในงาน แบบสปอร์ และแบบช็อปเปอร์ มีราคาต่ำกว่า 10,000 ถึงสูงสุดประมาณ 21,500 เปโซ มอเตอร์ไซค์ Italika ได้รับการวิจารณ์ว่ามีคุณภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ความได้เปรียบด้านราคา และการเจาะเข้าถึงตลาดได้โดยตรงผ่านร้านอีเล็คตรอนนิกส์ของ Elektra ที่ให้ความสะดวกในการขอกู้เงินเพื่อการผ่อนชำระซื้อ รวมทั้งการโฆษณาการขายผ่านเครือข่ายโทรทัศน์ Televisa และธนาคาร Azteca ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจ Grupo Salinas ทำให้ประสบความสำเร็จในด้านการตลาดเมื่อเทียบกับมอเตอร์ไซค์ยี่ห้ออื่นๆ ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ


ในปี 2011 บริษัท Italika จะมุ่งการเจาะเข้าตลาดของประเทศบราซิล โดยจะเน้นกลยุทธ์การขายผ่านเครือข่ายของ Walmart นอกเหนือจากเครือของร้านElektra ที่มีอยู่ 50 แห่งในบราซิล โดยการใช้รูปแบบการเสนอเครดิตที่สะดวกสะบายให้การลูกค้าผ่อนชำระ

ประเทศเม็กซิโกมีการนำเข้ามอเตอร์ไซค์ประมาณ 120,000 คันในปี 2009-2010 และในปี 2008 ได้มีการนำเข้าประมาณ 350,000 คัน โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญจากประเทศจีน บราซิล ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ


ยอดขายมอเตอร์ไซค์ในเม็กซิโกมีปริมาณรวมต่อปีประมาณหนึ่งแสนคัน แต่ตลาดภายในประเทศสำหรับปี 2009-2010 ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและมียอดขายลดลงเกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายปกติ โดยในปี 2010 มียอดขายรวมเพียง 66,195 คัน


ยี่ห้อของมอเตอร์ไซค์ที่เป็นที่ยอมรับในเม็กซิโก นอกจาก Italika ได่แก่ ยี่ห้อ BMW, Carabela, Harley-Davidson, Honda, Suzuki, Yamaha และ Bombardier BRP

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.economist.com/node/21526375
http://www.italika.com.mx/
http://www.elektra.com.mx/Elektra/Lineas.aspx?ICLAS=2702
http://www.amia.com.mx/motocicletas.html http://www.prnewswire.com/news-releases/motocicletas-italika-amplia-su-red-de-distribucion-para-incluir-tiendas-chedraui-y-distribuidores-propios-italika-124666968.html

Tuesday, August 30, 2011

Metalsa Autoparts Investment Project in Thailand

การลงทุนผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทยโดยบริษัท Metalsa S.A. de C.V.


บริษัท Metalsa S.A. de C.V. เป็นบริษัทเม็กซิกันที่ผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล รถบรรทุกเบา รถบรรทุกประเภท CUV-SUV และ LCV รวมทั้งรถบบรรทุกขนาดกลางและหนักและรถเมล์

บริษัท Metalsa มีฐานะเป็นซัพพลายเออร์ระดับโลกของโวล์โว มีโรงงานผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ในหลายประเทศ เช่น ที่ประเทศอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา เยอร์มัน อินเดีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และเวเนซูเอลา

ในปี 2011 บริษัท Metalsa มียอกขายมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตสำหรับรถบรรทุกเบา ได้แก่ light duty frames, space frames, cradles, body structures, suspension structures, fuel tanks และชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตสำหรับรถโดยสารขนาดใหญ่ และรถบรรทุกหนัก ได้แก่ medium & heavy trucks frames, bus frames, customized side rails & cross members

บริษัท Metalsa S.A. de C.V. เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจเม็กซิกันที่มีชื่อว่า Grupo Proeza ที่กิจกรรมด้านอื่น ๆ เช่น การผลิตน้ำผลไม้ การบริการด้านสารสนเทศ และการบริการด้านสุขภาพ ทั้งนี้ รายได้จากการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เป็นรายได้สำคัญของ Grupo Proeza โดยมีสัดส่วนของรายได้รวมเท่ากับร้อยละ 80 ตลาดที่สำคัญของบริษัทฯ ได้แก่ ตลาดอเมริกาเหนือหรือนาฟต้า ที่มีสัดส่วนความสำคัญเป็นร้อยละ 44 ของยอดขายรวมของบริษัทฯ โดยในปี 2007 มียอดขายในสหรัฐ 370,000 หน่วย และในปี 2009 มียอดขายเท่ากับ 230,000 หน่วย และคาดว่าในปี 2012 จะมียอดขายเท่ากับ 300,000 หน่วย การขยายตัวของยอดขายสำหรับภูมิภาคเหนือในปี 2010 มีอัตราการขยายตัวเท่ากับร้อยละ 10 มากกว่าที่ได้คาดไว้ที่ประมาณ 5-7 และคาดจะขยายตัวอย่างเข้มแข็งต่อไปในปี 2011 และ 2012

สำหรับธุรกิจด้านชิ้นส่วนรถยนต์นั้น ตลาดในประเทศบราซิลมีความสำคัญมากกว่าตลาดในสหรัฐฯ เป็นสัดส่วนร้อยละ 55 ของยอดขายรวม โดยบริษัท Metalsa มีโรงงานถึง 2 แห่งในประเทศบราซิล ที่ Campo Largo และที่ Orasco โดยชิ้นส่วนที่ผลิตในบราซิลได้แก่ siderails, frame assembly for commercial vehicles and pickup และ heavy truck assembly lines

จากพื้นฐานความสัมพันธ์เดิมที่บริษัท Metalsa มีกับบริษัทโวล์โว จึงมีความต้องการขยายฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไปยังภูมิภาคเอเชีย โดยผู้บริหารของบริษัท Metalsa ได้เดินทางไปเยือนประเทศไทยเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ของการเปิดโรงงานใหม่ในประเทศไทยเพื่อการผลิตชิ้นส่วนสำหรับรถบรรทุกขนาดหนักของโวล์โว และสำหรับรถบรรทุกขนาดกลาง หรือ 39 ตัน รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในประเทศไทย

นาย Juan Cortes ผู้จัดการฝ่ายการพัฒนาธุรกิจสำหรับภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และบราซิล ได้รายงานว่า บริษัท Metalsa ได้พิจารณาทั้งโอกาสการลงทุนในประเทศไทยและอินเดีย ซึ่งในประเทศอินเดียนั้น มีตลาดรองรับสินค้าของบริษัทฯ แต่ขาดเทคโนโลยีที่จะนำสินค้าของบรัษัทฯ ไปใช้ต่อ ในขณะที่ประเทศไทยเองก็ยังไม่มีเทคโนโลยีที่บริษัทฯ ประสงค์จะนำมาใช้ในการผลิต แต่มีโอกาสการเปิดตลาดใหม่ ประกอบการการยกเว้นภาษีการนำเข้าวัตถุดิบที่ประเทศไทยส่งเสริมสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นปัจจัยที่ดึงดูดความสนใจของบริษัทฯ

บริษัท Metalsa มีความต้องการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภท straight side rail, roll forming, plasma or laser cut, heat treatment, hole punching, paint offset, sequencing, ladder assembly, bolting, torque & weld, sequencing services และ bus modules assembly ซึ่งเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ที่บริษัทฯ ทำการผลิตอยู่แล้วในประเทศเม็กซิโก สหรัฐ บราซิล และอินเดีย

คาดว่าโรงงานที่จะเปิดในประเทศไทยจะสามารถผลิต 2,820 หน่วย ในปี 2013 จนขยายได้ถึง 13,620 หน่วยในปี 2016 ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าว จะต้องมีเขตพื้นที่ free zone เนื่องจากจะมีการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตเพื่อการส่งออก โดยจะมีการนำเข้าเหล็ก และชิ้นส่วนบางประเภท เช่น สี stamping components vase side rail และ steel coils จากประเทศอินเดีย โดยจากปี 2015 เป็นต้นไป โรงงานในประเทศไทยจะทำการผลิต full side rail ได้เอง

โครงการลงทุนของบริษัทฯ คาดว่าจะมีมูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสามารถแยกการลงทุนเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงแรก (22.3 ล้านเหรียญฯ ) จะเป็นการลงทุนเพื่อ
  • การซื้อที่ดิน 
  • การก่อสร้างอาคารโรงงาน 
  • การซื้อเครื่องจักร Soenen Punching Equipment 
  • Front & Rear Robotic Cut 
  • Rear Ramp Process 
  • Paint Line 
  • Off Set Stamping Press 
การลงทุนช่วงที่ 2 (7 ล้านเหรียญฯ) จะเป็นเดือนสิงหาคม 2011 เพื่อส่วนที่ติดตั้งระบบ Stamp Roll forming โดยคาดว่า โครงการลงทุนจะเริ่มดำเนินการได้จากการเริ่มการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2013

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

Monday, August 29, 2011

FDI Mexico, Inbound and Outbound

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเม็กซิโก

รัฐมนตรีเศรษฐกิจของเม็กซิโก นาย Bruno Ferrari ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2011 แจ้งว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเม็กซิโกสำหรับปี 2011 จะมีมูลค่าประมาณ 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ถึงร้อยละ 11 หรือเพิ่มขึ้นอีก 2 พันล้านเหรียญ โดยมีปัจจัยชักจูงการลงทุนจากต่างชาติ คือ ค่าแรงงานที่แข่งขันเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศละตินอเมริกาด้วยกัน รวมทั้งทำเลที่ตั้งที่ใกล้ชิดกับตลาดสหรัฐฯ ทั้งนี้ ต้นทุนการผลิตโดยรวมในเม็กซิโกต่ำกว่าต้นทุนการผลิตในสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 25 นอกจากนี้แล้ว เม็กซิโกยังมีความสามารถในการผลิตวิศวกรได้มากกว่าประเทศละตินอเมริกาอื่น ๆ อีกทั้งยังขยายเครือข่ายการค้าเสรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับหลาย ๆ ประเทศ

ในปีที่ผ่านมา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเม็กซิโกมีเป้าหมายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นสำคัญ โดยมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างชาติที่ได้ขยายลงทุนในเม็กซิโกในปีที่ผ่านมา ได้แก่ บริษัท Volkswagen AG (VOW), Nissan Motor, Mazda Motor และบริษัท General Motors โดยแต่ละบริษัทดังกล่าวมีมูลค่าการลงทุนเฉลี่ยสำหรับปี 2010 ประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ

นาย Bruno Ferrari ได้กล่าวว่า มีแนวโน้มที่จะมีโครงการลงทุนอื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงปลายปี 2011 ทั้งนี้ บริษัทฮอนดาได้ประกาศเมื่อต้นปี 2011 ว่า จะเริ่มต้นการลงทุนเพื่อสร้างโรงงานใหม่ มูลค่า 800 ล้านเหรียญฯ ในเมือง Celaya รัฐ Guanajuato ภายในปี 2014

ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ของเม็กซิโกได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ปี 2008-2009 เนื่องจากได้รับผลประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตมาหาต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ในปี 2010 จึงมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นเป็น 64.9 พันล้านเหรียญฯ เป็นครั้งแรกที่การส่งออกรถยนต์เป็นแหล่งเงินตราต่างประเทศที่มูลค่าเกินกว่ารายได้จากการส่งออกน้ำมัน การส่งเงินกลับจากต่างประเทศ และรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งมีมูลค่า 41.7, 21.3 และ 11.9 พันล้านเหรียญฯ ตามลำดับ

การโอนเงินส่งกลับจากต่างประเทศไปยังเม็กซิโกได้ขยายตัวในอัตราร้อยละ 4-5 ในช่วงห้าเดือนแรกของปี 2011 และคาดว่ามูลค่ารวมเงินทุนส่งกลับจากต่างประเทศในปี 2011 จะมีมูลค่ารวมใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา นั่นคือ ประมาณ 21.2-22 พันล้านเหรียญ

เศรษฐกิจของเม็กซิโกได้ขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.3 ในครึ่งปีแรกของปี 2011 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ได้ลดลงได้แก่ ภาคเกษตร และภาคเหมืองแร่ และคาดว่าอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยตลอดปี 2011 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 4-5 และคาดว่าการขยายตัวในปี 2012 จะมีแนวโน้มชละตัวลงมากกว่าอัตราดังกล่าวเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 3-4.5

นอกจากเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศแล้ว เม็กซิโกยังจะได้รับเงินลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นอีกประมาณ 20 พันล้าน จากต้นปี 2011 เป็นต้นมา พันธบัตรเงินเปโซกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากการคาดการณ์ว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาโดยทั่วไปจะควบคุมอัตราเงินเฟ้อในเม็กซิโก และอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะลดลงอีกด้วย ซึ่งย่อมทำให้พันธบัตรมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

แนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเม็กซิโก

World Investment Report 2011 ของ UNCTAD ได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศสำหรับภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริเบียนว่า ในปี 2010 ภูมิภาคดังกล่าวได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศโดยรวม 159 พันล้านเหรียญฯ รองจากการลงทุนโดยตรงในภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก-ตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ที่ได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมูลค่า 300 พันล้านเหรียญฯ และยังเป็นภูมิภาคที่เป็นต้นกำเนิดของเงินลงทุนโดยตรงไหลออกไปยังประเทศอื่นเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ

ประเทศบราซิลเป็นประเทศที่ได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากที่สุดในภูมิภาคละตินอเมริกา โดยได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมูลค่าประมาณ 43 พันล้านเหรียญฯ ตามด้วยกลุ่มประเทศอเมริกากลางที่ได้รับการลงทุนโดยตรงรวมมูลค่า 25 พันล้านเหรียญฯ และเม็กซิโกซึ่งได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมูลค่า 19 พันล้านเหรียญในปี 2010 ในขณะที่กลุ่มประเทศแคริเบียนได้รับเงินลงทุนฯ ลดลงเป็นมูลค่า 48 พันล้านเหรียญฯ การลงทุนโดยตรงในภูมิภาคละตินอเมริกาโดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในลักษณะ mergers & acquisitions และเป็นการลงทุนโดยตรงที่มีแหล่งทุนมาจากประเทศจีนและอินเดียเป็นสำคัญ

ปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดความสนใจในการลงทุนจากต่างประเทศในเม็กซิโก ได้แก่ ตลาดนาฟต้า ความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ค่อนข้างมั่นคง การปรับโครงสร้างด้านภาษี พลังงาน และโครงสร้างบำนาญ และการปรับปรุงด้านแรงงานและการศึกษา

ในปี 2008 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ไหลเข้าในเม็กซิโกมีมูลค่า 18.6 พันล้านเหรียญ โดยร้อยละ 41 ของยอดดังกล่าว เป็นการลงทุนโดยตรงจากสหรัฐฯ มูลค่า 8.9 พันล้านเหรียญ ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในลักษณะมาคิลาดอราด้านการผลิตและการประกอบชิ้นส่วน และมักกระจุกตัวในภาคเหนือของเม็กซิโก และรองลงมาได้แก่การลงทุนในด้านบริการการเงินและธนาคาร โดยมีเป้าหมายการลงทุนที่ให้ประโยชน์กับบริษัทในเม็กซิโกประมาณ 21,139 แห่ง การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเม็กซิโกมักจะเป็นแหล่งรายได้เงินตราต่างประเทศอันดับสามของประเทศ และมีมูลค่าประมาณ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา


เม็กซิโกมีความตกลงเพื่อส่งเสริมและปกป้องการลงทุนร่วม (APPRIs) กับ 27 ประเทศ และมีความตกลงการยกเว้นภาษีซ้อนกับ 34 ประเทศ

การลงทุนโดยตรงของเม็กซิโกในต่างประเทศ

ในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เม็กซิโกเป็นประเทศที่ลงทุนในต่างประเทศมากที่สุด ในปี 2010 ได้มีมูลค่าการลงทุนในประเทศอื่น 12.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 67 จากปี 2009 บริษัทเม็กซิกันสำคัญที่ลงทุนในต่างประเทศได้แก่ Grupo Televisa Mexico, Sigma Alimentos, Metalsa, Inmobiliaria Carso, Bimbo, Mexichem, Femsa, Gruma และ Cemex ได้ทำการลงทุนโดยตรงในสหรัฐฯ อเมริกาใต้ และยุโรป ในธุรกิจหลายด้าน เช่น การสื่อสาร การผลิตอาหาร การผลิตรถยนต์ และในภาคบริการเป็นต้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://stats.oecd.org/Index.aspx?DataSetCode=FDI_FLOW_INDUSTRY http://www.bloomberg.com/news/2011-08-22/mexico-raises-forecast-for-direct-investment-11-to-20-billion.html

Wednesday, August 24, 2011

Petrotemex vs. Indorama

บริษัท Petrotemex/DAK Americas ฟ้องร้องการละเมิดสิทธิบัตรการผลิต PET ของกลุ่ม Indorama

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2011 บริษัท Petrotemex ผู้ผลิตพลาสติก PET ในเม็กซิโก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจ Alfa ของเม็กซิโก ที่มีโรงงาน 3 แห่งในเม็กซิโก และอีก 4 แห่งในรัฐคอโรราโดเหนือและใต้ของสหรัฐฯ โดยใช้ชื่อในสหรัฐฯ เป็น DAK Americas ได้แจ้งข่าวการยื่นฟ้องต่อศาลในรัฐเดลาเวร์ สหรัฐฯ ฟ้องร้องการละเมิดสิทธิบัตรการผลิต PET ต่อบริษัท AlphaPet ที่ผลิต PET ในรัฐอาลาบามา สหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่ม Indorama Ventures ของไทย


กลุ่มธุรกิจ Alfa เป็นกลุ่มธรกิจที่ได้เติบโตมาจากผลิตเบียร์ในรัฐมอนเตอเรย์ประเทศเม็กซิโก เป็นกลุ่มธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเม็กซิโก ได้ขยายกิจการโดยวิธีการซื้อกิจการต่าง ๆ ในหลาย ๆ ด้านรวมทั้งการผลิตและบรรจุอาหาร การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และการสื่อสาร ในปี 1978 ได้ขยายไปสู่การผลิตพลาสติกประเภท polyester โดยการก่อตั้งบริษัท Petrotemex หรือ Alpek โดยการซื้อโรงงานจากธุรกิจเม็กซิกัน Petrocel และ TEMEX และต่อมาได้ขยายกิจการไปสู่ตลาดสหรัฐฯ โดยการซื้อโรงงาน DAK จากบริษัท Dupont ในปี 2001 นอกจากนี้แล้วยังมีโรงงานในประเทศอาร์เจนตินาและโคลัมเบียอีกด้วย ในปัจจุบันธุรกิจด้านพลาสติกของกลุ่ม Alfa มีโรงงานทั้งหมด 21 แห่งใน 4 ประเทศ จ้างงานประมาณ 4 พันคน มีกำลังการผลิตรวม 5.8 ล้านตันต่อปี รายได้ 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2010 Alpek เป็นธุรกิจที่สำคัญสำหรับกลุ่ม Alfa สร้างรายได้ให้กับกลุ่มฯ เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 44.5

บริษัท Petrotemex ในนามของ Alpek กลุ่ม Alfa ได้ยื่นฟ้องต่อศาลในรัฐเดลาเวร์เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2011 ฟ้องร้องบริษัท AlphaPet ว่าได้ละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการผลิต PET ซึ่งบริษัท DAK Americas มีสิทธิการใช้เพียงผู้เดียวตามสิทธิบัตรที่บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเอาไว้ในปี 2008 และ 2011 และได้ร้องขอให้บริษัท AlphaPet ยุติการละเมิดสิทธิรวมทั้งการจ่ายค่าเสียหายอันเป็นผลจากการละเมิดสิทธิดังกล่าว

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Wednesday, August 3, 2011

Investment update: Guatemala

ภาวะการลงทุนต่างประเทศในกัวเตมาลา

ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานจัดระดับเครดิตเรตติ้งต่าง ๆ ได้จัดระดับเรตติ้งของกัวเตมาลาไว้ที่ระดับที่คงที่ๆ BB+ โดยกล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของกัวเตมาลาคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเพิ่มรายได้ของรัฐจากการเก็บภาษีที่ยังเก็บได้ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ

ส่วนรายงาน Global Competitive Report ปี 2010-2011 ได้จัดอันดับประเทศกัวเตมาลาเป็นอันดับที่ 78 จาก 139 ประเทศ และให้คะแนนความแข่งขันสำหรับกัวเตมาลาเท่ากับ 4.04 โดยจัดให้กัวเตมาลาอยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจที่กำลังปรับตัวจาก factor driven economies สู่ระดับ efficiency driven economies และเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง กัวเตมาลามีระดับความแข่งขันเป็นอันดับ 3 รองจากปานามาและคอสตาริกา

รัฐบาลของกัวเตมาลาได้เร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา โดยการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของกัวเตมาลา (www.investinguatemala.org) และได้รับการลงทุนจากต่างประเทศในมูลค่าเฉลี่ย 631 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับปี ค.ศ. 2010 นั้น หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนกัวเตมาลาได้คาดการณ์ว่า กัวเตมาลาจะได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศมูลค่าประมาณ 608.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ รัฐบาลของกัวเตมาลามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการลงทุนในภาคลอจิสติก การสื่อสาร การท่องเที่ยว และการผลิตในอุตสาหกรรมอีเล็คตรอนนิกส์ รถยนต์ ผลิตภัณฑ์เพื่อการแพทย์ สินค้าพลาสติก ผลิตภัณธ์ยาง ผลิตภัณฑ์เคมี และอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า รวมทั้งการสำรวจขุดเจาะน้ำมัน

การลงทุนในโรงงานรีไซเคิ้ลกล่องบรรจุนมของบริษัท Tetra Pack ในกัวเตมาลา

บรษัท Tetra Pack ซึ่งทำการผลิตและบรรจุอาหารโดยเฉพาะในจำพวกนมและเครื่องดื่มของประเทศสวีเดน ได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Papelera Internacional ของกัวเตมาลา เป็นโรงงานที่ 4 ในภูมิภาคอเมริการกลาง จะเปิดโรงงานเพี่อทำการรีไซเคิ้ลกล่องบรรจุนมแบบกระดาษเคลื่อบ มูลค่าการลงทุน 500,000 เหรียญสหรัฐ ในเดือนตุลาคม 2011 ที่เมือง Río Hondo รัฐ Zacapa โรงงานดังกล่าวมีความสามารถผลิตกล่องบรรจุนมและเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ได้ประมาณ 200 ตันหรือ 6.3 ล้านกล่องต่อเดือน เป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้านมและเครื่องดื่นที่บรรจุแล้ว โดยบริษัท Tetrapak กัวเตมาลาจะเป็นศูนย์รับและส่งสินค้าออกสินค้านมและเครื่องดื่มสำหรับประเทศเอลซัลวาดอร์และฮอนดูรัส บริษัท Tetra Pack มีโรงงานบรรจุนมและเครื่องดื่มอื่น ๆ ในภูมิภาคอเมริกากลางอยู่ในประเทศปานามา คอสตาริกาและ สาธารณรัฐโดมินิกัน สำหรับศูนย์การผลิตสำหรับภูมิภาคละตินอเมริกาโดยรวมตั้งอยู่ที่ประเทศเม็กซิโกและบราซิล นอกจากนี้แล้ว บริษัท Tetra Pack ยังมีแผนงานการขยายการลงทุนในอนาคตในด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับภูมิภาคดังกล่าว โดยจะขยายกิจการไปสู่การเก็บและรีไซเคิ้ลขยะหรือภาชนะบรรจุอาหารประเภทต่าง ๆ


บริษัท Pacific Rubiales ปะเทศแคนาดา ลงทุนสำรวจขุดเจาะน้ำมันในกัวเตมาลา

เมื่อต้นปี 2011 บริษัทสำรวจน้ำมัน Pacific Rubiales ของประเทศแคนาดา ได้รับอนุมัตให้ทำการสำรวจขุดเจาะหาน้ำมันในเขตพื้นที่ Quetzal ในประเทศกัวเตมาลา โดยได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Flamingo Energy Investment Company และบริษัท Atlantic Petroleum โดยบริษัท Pacific Rubiales มีสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 55 และได้รับอนุมัติพื้นที่การสำรวจทั้งหมด 5 สัมปทาน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีน้ำมันที่จะขุดเจาะได้มากกว่า 4,000 ล้านบาเรล

กัวเตมาลาเป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศอเมริกากลางที่มีแหล่งน้ำมันภายในประเทศ โดยมีแหล่งน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้ว 83.07 ล้านเบเรลจากปริมาณสำรองประมาณการณ์ 540 ล้านเบเรล อย่างไรก็ตาม การนำเข้าน้ำมันเป็นสินค้านำเข้าที่สำคัญที่สุดของกัวเตมาลา โดยในปี 2010 กัวเตมาลาได้นำเข้าน้ำมันมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ และโคลัมเบียเป็นสำคัญ กัวเตมาลามีความต้องการใช้นำมันประมาณ 79,000 เบเรลต่อวัน ในขณะที่มีกำลังการผลิตน้ำมันประมาณ 13,530 เบเรลต่อวัน ทั้งนี้รัฐบาลของกัวเตมาลาต้องการส่งเสริมการลงทุนในการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันให้ถึงระดับ 100,000 เบเรลต่อวัน รวมทั้งการส่งเสริมการสำรวจขุดเจาะบ่อน้ำมันและการสร้างโรงกลั่นสำหรับภูมิภาคอเมริกากลาง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.reciclamos.org/reciclamos/?p=1380
http://www.beveragedaily.com/Processing-Packaging/Tetra-Pak-looks-to-turn-forestry-waste-into-plastic-packaging/?c=xktp2pe9cr5ulTiElZIWyA%3D%3D&
http://www.eluniversal.com.mx/finanzas/86066.html
http://www.pacificrubiales.com/operations/guatemala.html
http://insightcrime.org/insight-latest-news/item/1113-why-violence-could-boil-over-in-guatemala-elections
http://www.reuters.com/article/2010/06/01/guatemala-moodys-upgrade-idUSN0111569220100601
http://www.ahguatemala.com/general_information/energy
http://www.investinguatemala.org/index.php?option=com_content&task=view&id=47&Itemid=48&lang=english