Google Website Translator

Wednesday, March 18, 2009

Cancellation of Cross Border Trucking Pilot between US and Mexico leads to trade dispute

รัฐบาลเม็กซิโกประกาศมาตรการภาษีโต้ตอบสำหรับสินค้าเกษตรส่งออกของสหรัฐฯ เนื่องจากการยกเลิกโครงการนำร่องให้รถบรรทุกเม็กซิกันข้ามชายแดนสหรัฐฯ
จากปี 2001 เป็นต้นมา เม็กซิโกได้คัดค้านการที่สหรัฐฯ กีดกันไม่ให้รถบรรทุกเม็กซิกันสามารถขับข้ามชายแดนเกิน 25 ไมล์ โดยให้เหตุผลว่าขัดกับหลักการของเขตการค้าเสรี NAFTA เป็นผลให้ประธานาธบดี Bush ริเริ่มโครงการนำร่องให้รถบรรทุกเม็กซิกันสามารถขับข้ามชายแดนได้และเดินทางได้อยางเสรีทั่วสหรัฐฯ และได้มีผลปฏิบัติมาแล้วหนึ่งปีครึ่ง โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ขับรถบรรทุกและสภาหอการค้าของอเมริกัน โดยได้มีบริษัทขนส่งเม็กซิกันที่ได้รับประโยชน์ร่วมร้อยบริษัทฯ รถบรรทุกจำนวน 500 คัน และในหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา ได้มีการเดินรถบรรทุกไปกลับอย่างเสรีระหว่างเม็กซิโกและสหรัฐฯ แล้ว 45,000 เที่ยว

โครงการนำร่องดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยถูกตัดออกไปจากงบประมาณการเงินประจำปี 2009 ของนาย Obama ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ

โครงการนำร่องดังกว่าว ได้รัการต่อต้านสหภาพแรงงานของผู้ขับรับบรรทุกฝ่ายสหรัฐฯ โดยอ้างเหตุผลเรื่องมาตรฐานการฝึกการขับรถบรรทุกและนโยบายการประกันรถบรรทุกของเม็กซิโกไม่ได้มาตรฐานและเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยบนท้องถนนของสหรัฐฯ

ประธานาธิบีเม็กซิโก นาย Calderon ได้กล่าวต่อกลุ่มนักธุรกิจสภาหอการค้าอเมริกันที่เม็กซิโกในวันพุทธ ที่ 18 มีนาคม แสดงข้อกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการกีดกันกาค้าที่อาจเกิดขึ้นสืบเนื่องจากวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ
ฝ่ายเม็กซิโกมองเห็นว่า การห้ามมิให้รถบรรทุกเม็กซิกันข้างชายแดนได้อย่างเสรี เป็นการกีดกันการค้า โดยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2009 รัฐมนตรีเศรษฐกิจเม็กซิโก นาย Gerardo Ruiz ได้ประกาศการเริ่มใช้มาตรการโต้ตอบทางภาษี ขึ้นภาษีสินค้าเกษตรนำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราระหว่างร้อยละ 10 ถึง 45 สำหรับรายการสินค้าเกษตรรวม 90 รายการ รวมผักผลไม้ ไวน์ และน้ำผลไม้ ซึ่งนำเข้าจาก 40 รัฐของอเมริกา มูลค่าประมาณ 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีข้อยกเว้นเฉพาะสำหรับรายการอาหารหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี และผลิตภัณท์เนื้อ เริ่มบังตับวันพฤหัสที่ 19 มีนาคม 2009
เม็กซิโกเป็นตลาดส่งออกสำคัญของสหรัฐฯ โดยมีมูลค่าประมาณ 368 พันล้านเหรียญต่อปี
ข้อพิพาททางการค้าที่กำลังก่อตัวครั้งนี้ อาจจะเป็นสิ่งที่ประธานาธดีสหรัฐฯ นาย Obama คาดไม่ถึง แต่อาจจะเป็นการสะท้อนท่าทีของ Obama ที่ได้แสดงความคิดเห็นในการรณรงค์เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ต้องการให้มีการเจรจาแก้ไขความตกลงเขตการค้าเสรี NAFTA อย่างไรก็ตาม การตอบรับมาตรการดังกล่าวในขั้นแรก ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการปรับปรุงโครงการอนุญาติให้รถบรรทุกเม็กซิกันได้มีมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Barrack Obama มีกำหนดการเยือนเม็กซิโกระหว่างวันที่ 16-17 เมษายน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ นาง Hillary Clinton จะเดินทางมาเยือนก่อนระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม ประเด็นที่คาดว่านาง Clinton จะยกขึ้นพูดระหว่างการเยือนจะเน้นเกี่ยวกับความมั่นคงร่วมระหว่างสองประเทศภายใต้ Merida Initiative และผลกระทบของสงครามการปราบปรามยาเสพติดในเม็กซิโก
รายงานข่าวที่เกี่ยวข้อง:
  1. จาก Financial Times, "Mexico to impose sanctions on US exports "
  2. จาก Reuters, "Mexico slaps tariffs on US good in truck fued"

Wednesday, March 11, 2009

Citigroup and Banamex

ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเงินสหรัฐฯ กลุ่ม Citigroup และธนาคาร Banamex ของเม็กซิโก

ในช่วงที่ประเทศเม็กซิโกประสบวิกฤตการณ์การเงินเนื่องจากการลดค่าเงินเปโซเมื่อปี 1994 (มูลค่าเงินเปโซลดลงประมาณร้อยละ 50) รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินร่วมกับ IMF แก่เม็กซโก โดยให้เงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างการเงินจำนวนประมาณ 50 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณร้อยละ 10 ของ GDP เม็กซิโก อนึ่ง เงินกู้จำนวนนี้ ถูกใช้คืนหมดในปี 1997) โดยมีเงื่อนไขความช่วยเหลือให้มีการเปิดเสรีภาคการเงิน ให้ธนาคารต่างชาติสามารถเข้าซื้อธนาคารของเม็กซิโกที่ประสบปัญหาการเงิน อันเป็นผลให้ธนาคารต่างชาติเข้ามาครอบครองภาคการเงินของเม็กซิโกเป็นส่วนใหญ่ แทบจะไม่เหลือธนาคารใหญ่ที่มีสถานะเป็นเม็กซิกันเต็มอัตรา

ธนาคารสำคัญ ๆ ของเม็กซิโกที่ตกเป็นของต่างชาติได้แก่ Banamex ซึ่งถูกขายให้กับกลุ่ม Citigroup ของสหรัฐฯ ในปี 2001 ในราคา 12.5 พันล้านเหรียญฯ เป็นการรวมธุรกิจ (merger) ระหว่างบริษัทอเมริกันและเม็กซิกันที่ใหญ่ที่สุดในประวัติการณ์ธุรกิจเอกชนของสองประเทศ ธนาคาร Bital ถูกซื้อไปโดย HSBC ของอังกฤษ ในปี 2002 ในราคา 1.1 พันล้านเหรียญฯ ธนาคาร Inverlat รวมตัวกับ Scotiabank ของแคนาดา และ Bancomer รวมตัวกับ BBVA ของสเปน

Banamex เป็นธนาคารอันดับสองของประเทศเม็กซิโก รองจาก Bancomer ก่อตั้งเมื่อปี 1884 โดยการรวมตัวของธนาคาร Banco Nacional Mexicano and Banco Mercantil Mexicano ได้เริ่มกิจการโดยการรับฝากเงินตามสาขาต่าง ๆ ต่อมาในปี 1926 ได้ขยายบริการการเงินโดยการจัดหาทุนให้กับธุรกิจต่าง ๆ และได้เปิดสาขาในต่างประเทศเป็นแห่งแรก ที่นครนิวยอร์ค Banamex เป็นผู้ริเริ่มบริการการเงินทันสมัยให้แก่เม็กซิโกหลายอย่าง เช่น บริการตู้ถอนเงินอัตโนมัติ และการออกบัตรเครดิต

ในปี 1982 ประธานาธบดี Portillo ได้ประกาศลดค่าเงินเปโซ (ในขณะช่วงนั้ง เม็กซิโกมีอัตราแลกเปลี่ยนตามกำหนดของธนาคารแห่งชาติ fixed exchange rate regime) และได้สั่งยึดธนาคารทุกแห่ง เป็นผลให้ Banamex ดำเนินกิจการเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมผู้ให้เครดิตแห่งชาติเป็นเวลา 9 ปี ในปี 1991 ประธานาธบิดี Zedillo ได้แปรสภาพให้ธนาคารต่าง ๆ เป็นของเอกชนอีกครั้ง และบริษัทหลักทรัพย์ Accival ซึ่งนำโดยนาย Roberto Hernández Ramírez ได้ซื้อธนาคาร Banamex เป็นกลุ่ม Grupo Finaciero Banamex-Accival

ในช่วง 4 ปี ต่อมา ธนาคารต่าง ๆ ในเม็กซิโกได้ขยายการให้บริการเงินกู้ในภาคเอกชนอย่างรวดเร็ว โดยธนาคารที่ได้แปรสภาพเป็นเอกชนใหม่ ขาดประสบการณ์หรือวัฒนธรรมเกี่ยวกับการให้บริการเงิน รวมทั้งขาดการควบคุมโดยทางการอย่างเพียงพอ เป็นผลให้สถานะการเงินของธนาคารแต่ละแห่งมีสภาพอ่อนแอ นั่นคือ คุณภาพของหนี้ต่ำ อัตราส่วนทุนต่ำ และเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการชำระหนี้ต่างประเทศ เป็นผลให้รัฐบาลต้องลดค่าเงิน และให้ความช่วยเหลือกับสถานบันการเงินเหล่านี้

ในปี 1997 กลุ่ม Banamex ได้เริ่มให้บริการบัญชีเงินออมเพื่อบำนาญ (Afore) ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ของรัฐบาลให้เอกชนสามารถเข้าดำเนินการในส่วนนี้

Banamex มีสาขาทั่วประเทศเม็กซิโกทั้งหมด 1,233 สาขา มีตู้ให้บริการเงินอัฒโนมัติ จำนวน 4,492 แห่ง จ้างพนักงานธนาคารทั้งหมด 28,759 คน มีบัญชีลูกค้า จำนวน 2.6 ล้านบัญชี และมีอัตราส่วนของทรัพย์สินเท่ากับร้อยละ 20.52 ของทรัพย์สินทั้งหมดในระบบธนาครของเม็กซิโก

กลุ่ม Citigroup เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ที่ล้มเหลวเนื่องจากปัญหาหนี้สูญจาก subprime mortgage ในปี 2008 และต้องขอรับความช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ตัดสินในเข้ายึดครองหุ้นส่วนของธนาคาร Citi เป็นอัตราส่วนร้อยละ 39 อันเป็นผลให้เกิดแรงกดดันในรัฐสภาเม็กซิโก วิพากษ์วิจารณ์ว่า Citigroup ควรจะขายส่วนของกิจการที่เป็นธนาคาร Banamex ในเม็กซิโก โดยรัฐธรรนูญของเม็กซิโกไม่อนุญาตให้รัฐบาลต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของกิจการด้านการเงินในเม็กซโก แต่ในขณะนี้ มูลค่าทรัพย์สินในส่วนของ Banamex มีมากกว่าส่วนของ Citigroup คงเป็นสิ่งที่ผู้บริหาร Citigroup เดิมไม่ประสงค์ แต่มีแนวโน้มว่าอาจมีนโยบายเปลี่ยนไปเมื่อตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ เข้ามามีส่วนในการบริหาร

หน้าเวปของ Banamex (ภาษาอังกฤษ) http://www.banamex.com/eng/esem/index.html

ข่าวเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ:
http://www.incakolanews.blogspot.com/2009/03/citigroup-and-banamex-theres-fight.html

Monday, March 9, 2009

Mexico's foreign reserve and value of the peso

ค่าเงินเปโซและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา อัตราแลกเปลี่ยนของเงินเปโซเม็กซิกันซื้อขายที่ระหว่าง 10 ถึง 11 เปโซ ต่อหนึ่งเหรียญสหรัฐฯ โดยไม่ได้หลุดออกจากช่วงอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว จนถึงเดือนสิงหาคม 2008 ค่าเงินเปโซมีค่าสูงขึ้นที่อัตราประมาณ 9 เปโซต่อหนึ่งเหรียญฯ

ในวงวัฏจักรเศรษฐกิจของเม็กซิโก เป็นสิ่งที่คาดหวังได้ว่าทุก 6 ปี จะมีการปรับค่าเงินเปโซ โดยเฉพาะเมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ แต่ยุคของประธานาธบดี Zedillo และ Fox เป็นช่วงที่ค่าเงินเปโซเริ่มมีค่าที่ทรงตัวได้อย่างมั่นคง

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาดังกล่าวเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของเม็กซโกมีการขยายตัวอย่างสม่ำเสมอ โดยได้มีการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินที่เข้มงวด ต่างเป็นปัจจัยช่วยรักษาค่าเงินเปโซ อีกทั้ง นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ภายใต้โครงการ maquiladora และความตกลงเขตการค้าเสรี NAFTA รวมกับมูลค่าการส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และมูลค่าเงินโอนกลับจากแรงงานเม็กซิกันในสหรัฐฯ ได้เพิ่มเงินดอลล่าร์ไหลเข้า เสริมสร้างให้เม็กซิโกมีเงินทุนต่างประเทศสำรองสูงเป็นประวัติในระดับ 80 พันล้านเหรียญ

(ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินสำรองระหว่างประเทศของเม็กซิโก: foreign reserve of mexico)

วิกฤตการณ์การเงินโลกที่แสดงตัวอย่างเด่นชัดในเดือนตุลาคม 2008 ได้บั่นทอนค่าเงินของเม็กซิโก ค่าเงินที่แข็งตัวในเดือนสิงหาคม เกิดจากพ่อค้านักธุรกิจที่มีข้อผูกมัดหนี้สิน ขาดความมั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ ได้ระดมซื้อเงินดอลลาร์เพื่อป้องกันความเสี่ยง แต่กลับส่งผลในทางตรงข้าม คือความเสี่ยงเพิ่ม โดยอัตราแลกเปลี่ยนได้เริ่มถดถ่อยอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าธนาคารได้พยายามประมูลซื้อดอลล่าร์ ถึง 4 ครั้ง ค่าเงินตกต่ำไปถึงระดับ 14 เปโซต่อเหรียญ และในเดือนธันวาคม 2008 อยู่ระหว่าง 12-13 เปโซต่อเหรียญ

ความผันผวนของค่าเงินเปโซเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราว หรือเป็นการปรับค่าเงินที่จะไม่กลับไปสู่อัตราเดิม

นักวิเคราะห์การเงินบางรายคิดว่าเป็นการผันผวนชั่วคราว และคาดว่าค่าเงินเปโซจะกลับคืนไปสู่ระดับอัตราแลกเปลี่ยนเดิมในประมาณเดือนกุมภาพันธ์ปี 2009 แต่วารสาร Mexico Now คาดว่าค่าเงินเปโซในระดับใหม่นี้ เป็นการปรับตัวที่ค่อนข้างแน่ชัดถาวร โดยอัตราแลกเปลี่ยนคงจะเข้าสู่ภาวะปกติได้ที่ระดับระหว่าง 11.25 ถึง 12.25 เปโซต่อเหรียญฯ ซึ่งเป็นการปรับไปสู่ระดับใหม่ (correction) ในสัดส่วนร้อยละ 10 เพิ่มจากช่วงแลกเปลี่ยนเก่า 10 ถึง 11 เปโซต่อเหรียญ

วารสาร Mexico Now ให้เหตุผล 3 ประการนั่นคือ
  1. ภาวะเครดิตหดตัวทั่วโลก จะมีผลให้สถาบันการเงินต่างชาติลดการถือตราสารการเงินที่มีค่าเป็นเงินเปโซ
  2. เงินตราต่างประเทศไหลเข้าจะลดลงเนื่องจากมูลค่าการส่งออกน้ำมันลดลง (โดยปัจจัยค่าน้ำมันลดลง และไม่สามารถเพิ่มการผลิต) การส่งออกและการท่องเที่ยวคาดว่าจะลดลง เงินไหลกลับจากแรงงานในสหรัฐฯ จะลดลง
  3. ค่าเงินเปโซที่ผ่านมาเป็นค่าเงินฟองสบู่ เนื่องจากเงินไหลเข้าต่างชาติผิดปกติ ค่าเงินเฟ้อสูงกว่าอัตราทางการที่รัฐบาลประกาศ
แหล่งข้อมูล: Mexico Now ฉบับ Nov-Dec 2008

ข้อมูลเพิ่มเติม:
ติดตามค่าอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันได้ที่ http://www.xe.com/
และเพื่อหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ผ่านมา เช็คได้ที่ fxhistory ของ http://www.oanda.com/ หรือกับธนาคารแห่งชาติเม็กซิโก Banxico

Wednesday, March 4, 2009

Lists of Banks in Mexico

รายชื่อธนาคารในประเทศเม็กซิโก
  • ธนาคารชาติเม็กซิโก ใช้ชื่อย่อว่า Banxico

รายชื่อธนาคารในเม็กซิโกที่มีสถานะเป็นธนาคารท้องถิ่น (เจ้าของธนาคารเป็นชาวเม็กซิกัน)

  • Banorte (wiki, webpage)
  • Banco Inbursa (wiki, webpage)
  • Ixe Banco (wiki, webpage)
  • Banco Azteca (wiki, webpage)
  • Banca Mifel
  • Banco Ahorro Famsa
  • Banco Compartamos
  • Banco Autofin
  • Banco Amigo
  • Banca Afirme
  • Banco Multiva
  • Bansi S.A.
  • Bancoppel
  • Banco Monex
  • Banco del Bajio
  • Banco Interacciones
  • Banco Invex
  • Banco Ve X +
  • Banregio
  • Banco Facil (Chedraui)
ธนาคารในประเทศเม็กซิโกที่มีสถานะเป็นธนาคารต่างชาติ

  • BBVA Bancomer (BBVA)
  • Banamex (Citibank)
  • Banco Santander (Mexico), เดิมชื่อ Banco Santander Serfin
  • Banco Volkswagen Mexico
  • Banco Wal*Mart de Mexico Adelante
  • HSBC Mexico, SA (HSBC)
  • Mitsubishi Bank
  • Prudential Bank
  • Scotiabank Inverlat (Scotiabank)
รายชื่อธนาคารในเม็กซิโกที่มีสถานะเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา

  • Bancomext, SNC (ธนาคารเพื่อการส่งออก กำลังเปลี่ยนโครงสร้างและชื่อเป็น Pro Mexico)
  • Banjercito, SNC (ธนาคารของภาคทหาร)
  • Banobras, SNC (Subnational and project finance)
  • Bansefi, SNC
  • Nafin, SNC
  • SHF, SNC (เงินกู้อาคารสงเคราะห์)
  • Financiera Rural (ธนาคารเพื่อการเกษตร)
รายชื่อธนาคารที่ได้ล้มเลิกกิจการไปแล้ว

  • Banca Confia (ล้มละลาย); ถูกซื้อโดย Citibank และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ Banamex
  • Banca Cremi (ถูกซื้อโดย Banco Unión)
  • Banca Promex (เดิมชื่อ Banco de Zamora)
  • Banca Serfin (รวมกิจการกับ Banco Santander Mexicano และเป็นส่วนหนึ่งของ Banco Santander Serfin)
  • Banco Central Mexicano (ล้มละลาย)
  • Banco de Londres, México y Sudamerica (เป็นธนาคารแรกของเม็กซิโก ต่อมาเป็น Banca Serfin)
  • Banco del Atlántico (ถูกซื้อโดย BITAL ต่อมา BITAL ถูกซื้อโดย HSBC)
  • Banco del Centro (ถูกซื้อโดย Banorte)
  • Banco del Sureste
  • Banco Hipotecario
  • Banco Internacional (ถูกซื้อโดย Prime ต่อมาเป็น BITAL)
  • Banco Mexicano Somex (ถูกซื้อโดย Invermexico ต่อมาเป็น Banco Mexicano)
  • Banco Mexicano (ถูกซื้อโดย Banco Santander และต่อมาเป็น Banco Santander Mexicano และเป็นส่วนหนึ่งของ Banco Santander ประเทศเสปน)
  • Banco Mercantil Mexicano (รวมกิจการกับ Banco Nacional Mexicano เพื่อก่อตั้ง Banco Nacional de México ในปี 1884)
  • Banco Nacional Mexicano (รวมกิจการกับ Banco Mercantil Mexicano เพื่อก่อตั้ง Banco Nacional de México ในปี 1884)
  • Banco Sofimex
  • Banco Unión (ล้มลาย ถูกซื้อโดย Banorte)
  • Bancreser (เปลี่ยนชื่อเป็น Bancrecer)
  • Banpaís
  • Banpeco
  • Banoro
  • Banrural
  • BBVA Probursa (รวมกิจการกับ Bancomer ต่อมาเป็น BBVA Bancomer)
  • BCH
  • BITAL (ถูกครอบครองโดย HSBC)
  • Crédito Méxicano
  • Comermex (ถูกซื้อโดย Inverlat และต่อมาเป็น Comermex Inverlat)
  • Multibanco Mercantil de México
  • Multibanco Mercantil Probursa (ต่อมาเป็น BBVA Probursa)