วิกฤตการณ์ทางการเมืองประเทศฮอนดูรัส
วิกฤตการณ์ทางการเมืองของประเทศฮอนดูรัส ที่เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมืองในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และอาจเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นในความมั่นคงของการเจริญเติบโดทางเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ทั้งนี้ การปะทะกำลังกันระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนนาย Zelaya กับฝ่ายที่คัดค้าน อาจจะขยายเป็นสงครามกลางเมืองได้อย่างง่ายดายและย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องเลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
รัฐบาลของนาย Zelaya เดิมมีกำหนดจะหมดวาระในเดือนตุลาคม 2009 แต่นาย Zeleya ได้พยายามที่จะให้มีการลงประชามติเพี่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อต่ออายุการดำรงตำแหน่งประธานาธบิดี ซึ่งศาลสูงของประเทศได้ลงมติว่า ขัดกับรัฐธรรมนูญ และเมื่อนาย Zelaya ได้ยืนยันให้มีประชามติ กลุ่มผู้นำทางทหารของฮอนดูรัสจึงบุกทำเนียบจับส่งประธานาธิบดี Munuel Zelaya ออกนอกประเทศและได้สั่งห้ามไม่ให้เดินทางกลับประเทศ
ประเทศต่างๆ ได้ประนามว่า การกระทำดังกล่าว เป็นเสมือนการรัฐประหาร และนาย Zelaya ควรได้กลับประเทศฮอนดูรัสเพื่อดำรงตำแหน่งให้ครบวาระ องค์กรสหประชาชาติได้ลงประชามติเมื่อวันอังคาร ที่ 30 มิถุนายน ประนามการปฏิบัติดังกล่าว และต่อมานาย Zelaya ได้เดินทางไปเยี่ยมประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ เพื่อขอการสนับสนุนฐานะของตน ประเทศที่ได้แสดงการประท้วงอย่างชัดเจนได้แก่ สหรัฐฯ ซึ่งได้ยกเลิกความช่วยเหลือทางทหาร และประเทศสเปนและฝรั่งเศส ซึ่ได้ถอนทูตออกจากประเทศฮอนดูรัส
ประธานาธิบดีของคอสต้าริกา นาย Óscar Arias ได้พยายามไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างสองฝ่าย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และการประชุมผู้นำ Tuxtla Summit ของสามประเทศ เม็กซิโก คอสต้าริกา และกัวเตมาลา ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนให้นาย Zelaya ได้กลับประเทศ
วิกฤตการณ์ทางการเมืองดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนด้านการท่องเที่ยวในฮอนดูรัสโดยทันที เป็นเหตุให้เงินลงทุนในภาคนี้หยุดชะงัก มีการถอนทุน โดยนักธุรกิจต่างกลัวว่าจะมีการลดค่าเงิน แต่ก็มีกลุ่มนักธุรกิจที่แสดงท่าทีสนับสนุนรัฐบาลที่ได้แต่งตั้งขึ้นชั่วคราว ว่าเป็นการป้องกันอิสระภาพของประเทศ โดยกล่าวว่ากลุ่มธุรกิจต่าง ๆ สามารถทน การ sanction จากต่างประเทศได้ถึง 3-4 เดือน ให้ถึงวาะการเลือกตั้งใหม่ในเดือนตุลาคม
No comments:
Post a Comment