ช่องทางตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพผสมเอธานอลจากน้ำตาลในบราซิล เม็กซิโก และอเมริกากลาง
- การผลิตเอธานอลในประเทศบราซิล
ประเทศบราซิล และสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตเอธานอลสำคัญของโลก โดยการผลิตเอธานอลของสองประเทศนี้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 90 ของการผลิตโลก โดยในปี 2552 บราซิลมีผลผลิตเอธานอลปริมาณ 24.9 พันล้านลิตร เทียบเท่ากับร้อยละ 34 ของปริมาณเอธานอลที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งหมดทั่วโลก และเป็นผู้ส่งออกเอธานอลสำหรับเชื้อเพลิงอันดับหนึ่งของโลก บราซิลส่งออกเพียงร้อยละ 20 ของผลผลิตทั้งหมด แต่การส่งออกเอธานอลของบราซิลมีสัดส่วนในตลาดโลกประมาณร้อยละ 60 เเละในปี 2550 การส่งออก เอธานอลของบราซิลเท่ากับ 1.4 พันล้านเหรียญฯ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
ประเทศอเมริกากลางบางประเทศนำเข้าเอธานอลจากบราซิลเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ เนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ความตกลง Caribbean Basin Initiative ซึ่งยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสำหรับเอธานอลที่นำเข้าจากประเทศอเมริกากลางและแคริเบียน ในปี 2550 สหรัฐฯ ได้นำเข้าเอธานอลภายใต้ระบบโควต้าดังกล่าว ปริมาณ 245 ล้านแกลอน
ประเทศบราซิลใช้พื้นที่เพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดเพื่อการผลิตอ้อย เท่ากับพื้นที่ 3.6 ล้านเฮกเตอร์ ประมาณครึ่งหนึ่งของผลผลิตอ้อย เป็นวัตถุดิบป้อนเข้าอุตสาหกรรมเอธานอล และกำลังการผลิตเอธานอลจากอ้อยเท่ากับ 7,500 ลิตรต่อเฮ็กเตอร์ ซึ่งมีความแข่งขัน เป็นสองเท่าของผลผลิต การใช้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดในสหรัฐอเมเริกา ซึ่งมีผลผลิตเท่ากับ 3,000 ลิตรต่อเฮ็กเตอร์
ประเทศบราซิลเป็นผู้บุกเบิกในการพัฒนาการใช้เอธานาอลเป็นเชื้อเพลิง โดยได้ริเริ่มมาตราการสนับสนุนการผลิตเอธานอลจากอ้อย ตั้งแต่ช่วงปี 2513 โดยในขั้นแรก ได้มีการบังคับการใช้ส่วนผสมเอธานอลในน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 20-25 อันเป็นผลบังคับให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในบราซิล ต้องทำการดัดแปลงเปลี่ยนแปลงระบบเครื่องยนต์ในรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก โดยในสิ้นปี 2551 มีรถยนต์ที่ให้เชื้อเพลิงผสมวิ่งในท้องถนนเท่ากับ 9.35 ล้านคัน และมอเตอร์ไซค์ที่ใช้เชื้อเพลิงผสมอีก 183,300 คัน ปัจจุบันได้มีการคลี่คลายมาตรการอุดหนุนและสนับสนุนโดยตรง และใช้มาตรการสนับสนุนทางอ้อมแทน เช่น การลดหย่อนภาษี สำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงผสมเอธานอล การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับการก่อสร้างโรงกลั่น และการตั้งศูนย์การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตน้ำตาลจากอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเอธนอลจากน้ำตาล เป็นต้น ในปัจจุบันรถยนต์ทุกคันในประเทศบราซิลใช้เชื้อเพลิงผสมทั้งหมด ได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ โดยมีรถที่ได้เชื้อจากเอธานอลเกีอบร้อยเปอร์เซ็นต์และไม่มีส่วนผสมน้ำมันเลยเรียกว่าเครื่องยนต์ E100 ส่วนรถยนต์ประเภท E85 ที่ใช้ส่วนผสมเอธานอล 15 เปอร์เซ็นต์ เริ่มเป็นที่นิยมแพร่กระจายไปถึงตลาดรถยนต์ในทวีปยุโรป
อุตสาหกรรมเอธานอลจากน้ำตาลของบราซิล มีประสิทธิภาพมากกว่า การผลิตเอธานอลจากข้าวโพดของสหรัฐฯ ต้นทุนการผลิตเอธานอลต่อลิตรของบราซิลเท่ากับ 22 เซ็นต์เมื่อเทียบกับ 30 เซ็นต์ของสหรัฐฯ ซึ่งแพงกว่าร้อยละ 30
- สหรัฐฯ ผู้บริโภคเอธานอลอันดับหนึ่งของโลก
สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตเอธานอลสำหรับเชื้อเพลิงอันดับหนึ่งของโลก โดยในปี 2552 มีผลผลิตปริมาณ 10.75 พันล้านแกลอน เที่ยบเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 55 ของการผลิตเอธานอลเชื้อเพลิงของโลก แต่ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ เป็นผู้บริโภคเอธานอลมากที่สุดในโลกเช่นกัน มีการใช้เอธานอลผสมเชื้อเพลิงในตลาดพลังงานของสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 3 ส่วนใหญ่เป็นเอธานอลที่ผลิตมาจากข้าวโพด เมื่อต้นปี 2553 สหรัฐฯ มีกำลังการผลิตเอธานอลเท่ากับ 14.46 พันล้านแกลอน มีการเปิดโรงงานผลิตใหม่ 16 แห่ง โดยดโรงงานใหม่เหล่านี้ มีกำลังการผลิตเพิ่มรวม 1.4 พันล้านแกลอน อันมีผลให้ปัจจุบันมีโรงงานผลิตเอธานอลในสหรัฐฯ เท่ากับ 189 โรงงานกระจายพื้นที่ใน 29 รัฐ องค์กรพลังงาน EIA คาดว่า ความต้องการบริโภคเอธานอลเชื้อเพลิงจะขยายไปถึง 11.2 พันล้านแกลอนภายในปี 2555
สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าเอธานอล 54 เซ็นต์ต่อแกลอน
- แผนการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในภูมิภาคละตินอเมริกา
ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาใต้และกลางหลายประเทศ ได้ริเริ่ม หรือกำลังวางแผนการผลิตพลังงานชีวภาพแห่งชาติประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ประเทศอาร์เจรตินา คอสตาริกา โคลัมเบีย เอลซาวาดอร์ ฮอนดูรัส จาไมคา เม็กซิโก นิคารากัว ปารากวัย เปรู อุรุกวัย และเวเนซูเอลา เป็นต้น
ประเทศโคลัมเบีย ถือว่าเป็นประเทศ ที่มีแผนงานเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพที่ก้าวหน้าที่สุด หลังจากประเทศบราซิล โคลัมเบียได้กำหนดบังคับให้ใช้ส่วนผสมเอธานอลในน้ำมันในอัตราร้อยละ 10 เมื่อปี 2548 และมีเป้าหมายที่จะบรรลุอัตราส่วนผสมร้อยละ 25 ในปี 2553 ส่วนน้ำมันดีเซลทั้งหมดต้องใช้ส่วนผสมเอธานอลร้อยละ 5 ในบางภูมิภาคตั้งแต่ปี 2551
ประเทศเม็กซิโก ได้กำหนดแผนงานการเพิ่มการผลิตเอธานอลจากอ้อยตั้งแต่ปี 2550 โดยได้ออกกฏหมายการส่งเสริมการใช้เอธานอลผสมน้ำมัน โดยมีเป้าหมายบังคับการใช้ส่วนผสมเอธานอลในน้ำมันในอัตราร้อยละ 10 ในปี 2555 ในเมืองใหญ่สำคัญ ๆ อันได้แก่ Guadalajara, Monterrey และ Mexico City ซึ่งต้องพัฒนาความสามารถในการผลิตเอธานอลได้ 412,000 คิวบิกเมตรต่อปี รัฐบาลเม็กซิโกได้สนับสนุนโครงการลงทุนทดลองการผลิตเอธานอลจากอ้อยในรัฐ Vera Cruz, Oaxaca, Puebla, Morelos, San Luis Potosi, Jalisco, Michoacan, Colima และ Nayarit
ประเทศกัวเตมาลา ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลสำคัญในภูมิภาคละตินฯ ได้ออกกฏหมายเพื่อการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับพลังงานทดแทน เพื่อการยกเว้นภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเครื่องจักรที่นำเข้าเพื่อการผลิตพลังงานทดแทน และยกเว้นการเสียภาษีรายได้ 10 ปี สำหรับผู้ลงทุนด้านพลังงานทดแทน ทั้งนี้ กัวเตาลามุ่งหวัง ที่จะเป็นผู้ส่งออกเอธานอลสำคัญของภูมิภาคอเมริกากลาง
ประเทศฮอนดูรัส ได้ส่งเสริมให้มีการเพิ่มการผลิตน้ำตาลเพื่อป้อนโรงงานผลิตเอธานอล 2 แห่งที่มีอยู่
ประเทสคอสตาริกาได้กำหนดเป้าหมาย การทดแทนการนำเข้าน้ำมันให้ได้ร้อยละ 7 โดยการเพิ่มการใช้เอธานอลผสม
ประเทศเอลซาวาดอร์ ใช้สิทธิพิเศษเพื่อทำการผลิตเอธานอลเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในปริมาณ 1.3 ล้านแกลอนต่อปี