องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อของประเทศสมาชิกฯ ว่า ได้มีอัตราเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเป็นร้อยละ 2.1 ในเดือนมีนาคม 2533 จากร้อยละ 1.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากภาวะราคาของพลังงานที่ได้ถีบตัวสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 11.3 แต่หากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหาร แสดงอัตราที่ได้ค่อย ๆ เริ่มลดลงตั้งแต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในเดือนสิงหาคม ปี 2552 ในอัตราร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นตัวแสดงได้ว่าภาวะเศรษฐกิจของโลกโดยรวมได้เริ่มการฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์การเงินปี 2551
สำหรับประเทศเม็กซิโกนั้น ได้แสดงอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงสุดในบรรดาสมาชิก OECD ในอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3.6 เป็นอันดับสูงสุดที่สี่ รองจากประเทศไอซแลนด์ร้อยละ 7.5 ตุรกีร้อยละ 6.5 ฮังการีร้อยละ 5.6 และโปแลนด์ร้อยละ 3.7 โดยอัตราเงินเฟ้อของเม็กซิโกได้มีสาเหตุสำคัญจากราคาพลังงานและอาหารที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ
ธนาคารกลางแห่งเม็กซิโกได้รายงานว่า ดัชนีราคาสินค้าบริโภคในเดือนมีนาคม 2553 ได้ถีบตัวสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 7 เดือนก่อนหน้านั้น เป็นอัตราร้อยละ 5.06 ซึ่งอาจจะมีผลเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางเม็กซิโก ต้องประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นในไตรมาสต่อไป ราคาสินค้าบริโภคในเม็กซิโกได้มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 16 รวมทั้งการเพิ่มภาษีรายได้ และการกำหนดราคาพลังงานที่เพิ่มเมื่อเดือนมกราคม 2553 รัฐบาลเม็กซิโกมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการเหล่านี้ เนื่องจากภาวะวิกฤตการณ์การเงิน และการผลิตน้ำมันที่น้อยลง ทำให้รัฐบาลขาดแคลนรายได้ และมีผลให้ต้องตัดงบประมาณเมื่อปีที่ผ่านมา
นักวิเคราะห์จากธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างรัฐอเมริกัน (Inter-American Development Bank) ได้ให้ความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจของเม็กซิโกได้แสดงตัวว่า เริ่มการฟื้นตัวอย่างค่อนข้างชัดเจน และเศรษฐกิจเม็กซิโกในปี 2553 จะมีการขยายตัวในอัตราร้อยละ 3 ถึง 3.5 และการขยายตัวในอัตราดังกล่าว ย่อมพยากรณ์ได้ว่า จะต้องใช้เวลาอีกสองปี กว่าผลผลิตแห่งชาติของเม็กซิโก จะฟื้นตัวคืนได้ในระดับเท่าเทียมกับที่เคยผลิตได้ในปี 2550 ทั้งนี้เศรษฐกิจของเม็กซิโก จะฟื้นตัวในอัตราที่ช้ากว่าประเทศในภูมิภาคละตินอเมริกาอื่น ๆ เนื่องจากมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจการค้า ที่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากที่สุด
เมื่อเดือนเมษายน 2552 ดัชนีราคาของเม็กซิโกได้แสดงอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 4.95 ผลักดันให้ประธานาธิบดีแคเดรอนของเม็กซิโก ประกาศมาตรการชั่วคราว เพื่อควบคุมราคาสินค้าอาหารเป็นครั้งแรกในรอบ10 ปีทีผ่านมา โดยกำหนดราคาสินค้าอาหารทั้งหมด 50 รายการ และนอกจากนี้แล้ว ยังได้ประกาศมาตรการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอาหาร 4 รายการ อันได้แก่ ข้าโพด ข้าวสาลี sorghum และนมผง เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารจำเป็น
เม็กซิโกเคยประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อสูงเกินการควบคุมในช่วงระหว่างปี คศ. 1980-1990 (ร้อยละ 159 ในปีคศ. 1987) เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจหดตัวถึงร้อยละ 7 ไม่สามารถชำระหนี้ระหว่างประเทศ และการลดค่าเงินเปโซ เป็นเหตุให้ต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และสหรัฐฯ ด้วยประสบการวิกฤตการณ์การเงินครั้งนั้น ผู้บริหารของเม็กซิโก มีความระมัดระวังในการบริหารงบประมาณของรัฐบาลมากขึ้น และได้นำมาตรการการเงินมาใช้เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
ปัญหาราคาสินค้าอาหารของเม็กซิโก เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับภาวะเงินเฟ้อของเม็กซิโก และการที่เม็กซิโกมีนโยบายทางเศรษฐกิจ ที่สนับสนุนการค้าเสรีลักษณะ neoliberal ที่สนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น การเข้าร่วมเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ และแคนาดา เป็นเหตุให้ภาคเกษตรไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร และโดยที่เม็กซิโกมีจำนวนประชากรสูง ผลิตภัณต์สินค้าเกษตรจึงไม่เพียงพอกับความต้องการภายใน โดยเฉพาะข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต tortilla ซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเม็กซิกันโดยเฉพาะในกล่มผู้มีรายได้น้อย นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลเม็กซิโก ไม่มีโครงการการสะสมธัญพืชหรืออาหารจำเป็น เมื่อเกิดการขาดแคลน จึงต้องพึ่งใช้กลไกทางตลาดแก้ไขปัญหา ในช่วงที่เกิดภาวะขาดแคลนอาหารชั่วคราวในปี 2552 กลุ่มองค์กรเอกชนบางกลุ่มได้กล่าวหาว่า ได้มีการเก็งกำไรเกิดขึนในระหว่างพ่อค้าข้าวโพดและพ่อค้า tortilla และมีกลุ่มธุรกิจด้านการเกษตรใหญ่ ๆ ซึ่งมีโครงสร้างในทางตลาดค่อนข้างเป็นการผูกขาด ได้รวมตัวกันตกลงราคากันเอง เพื่อเอาเปรียบผู้บริโภคจากภาวะขาดแคลน
มาตรการการควบคุมราคาสินค้า จึงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่เหมาะสม และอาจจะสร้างแรงกดดันให้ภาวเงินเฟ้อสูงขึ้นได้ในระยะยาวต่อไป
ปัญหาราคาสินค้าอาหารของเม็กซิโก เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับภาวะเงินเฟ้อของเม็กซิโก และการที่เม็กซิโกมีนโยบายทางเศรษฐกิจ ที่สนับสนุนการค้าเสรีลักษณะ neoliberal ที่สนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น การเข้าร่วมเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ และแคนาดา เป็นเหตุให้ภาคเกษตรไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร และโดยที่เม็กซิโกมีจำนวนประชากรสูง ผลิตภัณต์สินค้าเกษตรจึงไม่เพียงพอกับความต้องการภายใน โดยเฉพาะข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต tortilla ซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเม็กซิกันโดยเฉพาะในกล่มผู้มีรายได้น้อย นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลเม็กซิโก ไม่มีโครงการการสะสมธัญพืชหรืออาหารจำเป็น เมื่อเกิดการขาดแคลน จึงต้องพึ่งใช้กลไกทางตลาดแก้ไขปัญหา ในช่วงที่เกิดภาวะขาดแคลนอาหารชั่วคราวในปี 2552 กลุ่มองค์กรเอกชนบางกลุ่มได้กล่าวหาว่า ได้มีการเก็งกำไรเกิดขึนในระหว่างพ่อค้าข้าวโพดและพ่อค้า tortilla และมีกลุ่มธุรกิจด้านการเกษตรใหญ่ ๆ ซึ่งมีโครงสร้างในทางตลาดค่อนข้างเป็นการผูกขาด ได้รวมตัวกันตกลงราคากันเอง เพื่อเอาเปรียบผู้บริโภคจากภาวะขาดแคลน
มาตรการการควบคุมราคาสินค้า จึงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่เหมาะสม และอาจจะสร้างแรงกดดันให้ภาวเงินเฟ้อสูงขึ้นได้ในระยะยาวต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม:
No comments:
Post a Comment