รายงานสถานการณ์ข้าวในเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง ค.ศ. 2012
1. ภูมิหลังเกี่ยวกับข้อกำหนดสุขอนามัยพืชที่ควบคุมการนำเข้าข้าวไทยในเม็กซิโก และอเมริกากลาง
ข้าวไทยประสบปัญหาการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยพืชควบคุมการนำเข้า ในเม็กซิโกและอเมริกากลาง ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นสมาชิกขององค์กรสุขอนามัยเกษตรกรรม
OIRSA (Organismo Internacional Regional de Sanidad Agropecuaria) ซึ่งได้แจ้งภัยของโรคพืชต่างๆ สำหรับข้าวจากภูมิภาคเอชียตะวันเฉียงใต้ โดยเฉพาะโรคด้วงข้าวประเภท Khapra Beetle (Trogoderma Khapra) ซึ่งได้ค้นพบจากผลการตรวข้าวที่ส่งออกจากเวียดนาม จึงได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกองค์กรฯ ห้ามนำเข้าข้าวจากภูมิภาคเอชียตะวันเฉียงใต้ ต่อมาถึงแม้ว่าองค์กร OIRSA ได้พิจารณาทบทวนผลการศึกษาสภาวะของโรงด้วงในเวียดนามใหม่ และได้แจ้งว่าโรคดังกล่าวไม่เป็นภัยจากข้าวที่นำเข้าจากภูมิภาคเอชียตะวันเฉียงใต้แล้วก็ตาม ประเทศเหล่านี้ยังคงรักษากฏระเบียบด้านสุขอนามัยพืชที่ห้ามการนำเข้าข้าวจากภูมิภาคเอชียตะวันเฉียงใต้ จนกระทั่งปี ค.ศ. 2006 เม็กซิโกได้ปรับเปลี่ยนกฏระเบียบสุขอนามัยพืช NOM-028-FITO-1995 อนุมัติการนำเข้าข้าวที่สีแล้วจากไทย โดยกำหนดให้มีการรมควันโดยสารเคมี Methyl Bromide สองรอบก่อนการส่งออก พร้อมกับให้มีการรับรองการรมควัน โดยหน่วยงานผู้ตรวจสอบสุขอนามัยพืชประเทศต้นกำเนิดสินค้า และกำหนดท่าเรือรับสินค้าขาเข้า ซึ่งจะทำการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบสุขอนามัยพืชสำหรับข้าวที่นำเข้าอีกรอบหนึ่ง โดยสงวนสิทธิ์การทำลายสินค้านำเข้า หากพบว่าข้าวที่นำเข้าไม่มีคุณสมบัติด้านสุขอนามัยพืชที่ครบตามข้อกำหนด
อีกประเทศหนึ่งในกลุ่มดังกล่าว ที่ได้ปรับเปลี่ยนข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืช สำหรับการนำเข้าข้าวจากไทย ได้แก่ ประเทศปานามา ซึ่งได้เปลี่ยนกฏระเบียบฯ ในปี ค.ศ. 2008 (AUPSA - 432 – 2007) โดยยกเลิกการห้ามนำเข้าข้าวจากไทย และมีข้อกำหนดใหม่ให้ผู้นำเข้าข้าวจากไทยต้องแจ้งเกี่ยวกับนำเข้าข้าวจากไทยภายใน 48 ชั่วโมงเมื่อสินค้าถึงท่าเรือนำเข้า โดยสินค้าข้าวที่นำเข้าดังกล่าว จะต้องมีเอกสารรับรองด้านสุขอนามัยจากประเทศต้นกำเนิด รับรองว่าสินค้าข้าวดังกล่าว ปลอดโรค 4 ประเภทที่ต้องห้ามในปานามา คือ Cadra Cautella, Corcyra Cephalonica, Oryzaephilus Sp., Chilo Sp., และ Trogoderma Granarium และให้สินค้าข้าวที่นำเข้ามีตรารับรอง “การปฏิบัติทางเกษตรกรรมและการผลิตที่ดี” (Good Agricultural Practice - GAP) มีการบรรจุห่อสินค้าที่ในลักษณะที่ครบข้อมูล การปิดผนึกสินค้าเป็นไปในลักษณะที่ไม่สามารถดัดแปลงเปลี่ยนสินค้า โดยมีการปิดผนึกโดังสินค้าให้สามารถทำการเปิดผนึกได้โดยหน่วยงานตรวจสอบสินค้าปานามาเท่านั้น และโกดังหรือคอนแทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง
2. การบริโภคข้าวและแนวโน้มการนำเข้าข้าวไทยในเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง
หากพิจารณาค่าเฉลี่ยการบริโภคข้าวต่อหัวของประชากรเม็กซิโก คิวบา และกลุ่มประเทศอเมริกากลางในประวัติศาสตร์แล้ว จะพบว่า ปริมาณการบริโภคข้าวในภูมิภาคดังกล่าว มีปริมาณน้อย กว่าค่าเฉลี่ยการบริโภคข้าวต่อหัวระหว่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณประมาณ 61 กิโลกัรมต่อหัวต่อปี (ยกเว้นคิวบา ซึ่งมีอัตราการบริโภคข้าวต่อหัวสูงที่สุด 78.7 กิโลกรัมต่อหัวต่อปี) จึงดูเหมือนจะมีโอกาสสำหรับการนำเข้าข้าวจากไทยน้อย แต่หากพิจารณาสถิติการนำเข้าข้าวเปรียบเทียบทั่วโลกขององค์การอาหารโลกในปี ค.ศ. 2009 พบว่า เม็กซิโกและกลุ่มประเทศอเมริกากลางเป็นผู้นำเข้าข้าวที่จัดอยู่ในอันดับผู้นำเข้าข้าวสำคัญยี่สิบประเทศของโลก ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากสภาวะสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของการเพาะปลูกข้าวภายในประเทศในภูมิภาคดังกล่าว
RANK
|
COUNTRY
|
QUANTITY (TONNES)
|
VALUE (1000 $)
|
UNIT VALUE ($/TON)
|
1
|
Mexico
|
739209
|
288316
|
390
|
2
|
Honduras
|
126118
|
46001
|
365
|
3
|
Costa Rica
|
110065
|
41194
|
374
|
4
|
Nicaragua
|
101524
|
42248
|
416
|
5
|
Brazil
|
82146
|
24813
|
302
|
6
|
Guatemala
|
72730
|
27931
|
384
|
7
|
Saudi Arabia
|
72301
|
69946
|
967
|
8
|
El Salvador
|
67890
|
26702
|
393
|
18
|
Panama
|
17344
|
6385
|
368
|
19
|
Cuba
|
12621
|
7726
|
612
|
Consumption per capita in Central
America (Kg.)
|
Country
|
2002
|
2003
|
2004
|
2005
|
2006
|
2007
|
Costa Rica
|
54.96
|
55.12
|
55.29
|
55.47
|
54.45
|
51.48
|
El Salvador
|
13.25
|
13.81
|
14.36
|
14.10
|
14.20
|
12.50
|
Guatemala
|
6.81
|
5.59
|
6.40
|
6.59
|
6.79
|
6.44
|
Honduras
|
14.45
|
14.41
|
14.09
|
14.57
|
14.39
|
14.33
|
Mexico
|
6.87
|
7.01
|
7.15
|
7.24
|
7.33
|
7.20
|
Nicaragua
|
51.55
|
54.88
|
58.07
|
56.50
|
56.85
|
55.08
|
Panama
|
60.38
|
59.94
|
59.49
|
59.10
|
58.39
|
57.09
|
Cuba
|
77.48
|
86.50
|
96.46
|
73.91
|
70.26
|
78.79
|
Source: USDA, FAO 2007
|
ประเทศเม็กซิโกได้มีการนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา ในปี ค.ศ. 2011 เม็กซิโกได้นำเข้าข้าวจากไทยปริมาณ 204,628 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2010 ในสัดส่วนร้อยละ 8.7
ประเทศคิวบาได้มีการนำเข้าข้าวจากไทยจากปี ค.ศ. 1998 ในปริมาณที่มากกว่าการนำเข้าข้าวจากไทยของประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลางอื่นๆ แต่ปริมาณการนำเข้าไม่ค่อยจะสม่ำเสมอ ในปี 2006 คิวบาได้นำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณ 26,250,000 กิโลกรัม โดยไม่มีการนำเข้าในสามปีต่อมา จนกระทั่งปี 2010 ได้มีการนำเข้าปริมาณ 500,000 กิโลกรัม คิวบาไม่มีข้อกำหนดการห้ามนำเข้าข้าวจากไทย ยกเว้นข้อกำหนดการนำเข้าผ่านองค์การการนำเข้าของรัฐบาลคิวบา ซึ่งมักจะขอเครคิตระยะยาว 1 ปี การนำเข้าข้าวไทยของคิวบาในอดีตได้จัดทำผ่านตัวแทนรายที่สาม ไม่ได้เป็นการนำเข้าโดยตรงจากไทย ทำให้คิวบามีอำนาจต่อรองจำกัด รัฐบาลของคิวบาจึงมีท่าทีเปิดต่อการติดต่อนำเข้าผ่านผู้ส่งออกโดยตรงจากไทย ที่มีสำนักงานตัวแทนในภูมิภาคละตินอเมริกาเพื่อความสะดวกในการติดต่อในเรื่องเวลาและภาษา
นอกจากนี้แล้ว กรมการส่งออกไทยมีรายงานการนำเข้าข้าวของปานามาจากไทยในปี ค.ศ. 2008 ในปริมาณ 42,232 กิโลกัรม และสถิติการนำเข้าของประเทศฮอนดูรัสและนิคารากัวได้แสดงการนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีข้อกำหนดด้านสุขอนามัยที่ห้ามการนำเข้าข้าวจากไทยจากปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา
Mexico Rice imports From Thailand
(2001 – 2011)
Kilograms
HS
|
Description
|
2001
|
2002
|
2003
|
2004
|
2005
|
2006
|
2007
|
2008
|
2009
|
2010
|
2011
|
100620
|
Brown,Husked
|
-
|
-
|
-
|
-
|
21,500
|
21,500
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
100630
|
Semi/Wholly Milled
|
79,672
|
22,000
|
64,000
|
40,500
|
150,230
|
143,340
|
82,456
|
242,844
|
117,844
|
222,357
|
204,628
|
100640
|
Broken
|
|
|
|
-
|
-
|
-
|
-
|
172,750
|
-
|
-
|
-
|
Source: Secretariat of Economy, Mexico
Cuba Rice imports from Thailand
(1998 – 2010)
Kilograms
HS
|
Description
|
1998
|
1999
|
2000
|
2004
|
2006
|
2010
|
100630
|
Semi/Wholly Milled
|
146,525,000
|
10,325,000
|
47,035
|
14,250,000
|
26,250,000
|
500,000
|
Source: Thai Customs
Department
Note: In the years not shown, the import quantity is equal to zero
Central America Rice imports from Thailand 1997 –
2011
Kilograms
COUNTRY
|
HS
CODE
|
YEAR
|
1997
- 2007
|
2008
|
2009
|
2010
|
2011
|
TOTAL
|
COSTA RICA
|
10.06.30
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
EL SALVADOR
|
10.06.30
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
GUATEMALA
|
10.06.30
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
HONDURAS
|
10.06.30
|
0
|
2356
|
0
|
0
|
406
|
2762
|
NICARAGUA
|
10.06.30
|
0
|
0
|
1
|
117
|
0
|
118
|
SOURCE: SIE (Sistema Estadìstico de Centroamérica) / Central America
Statistic System
SIECA (Secretarìa de Integración Económica Centroamericana) / Secretariat of
Central American Economic Integration
3. ภาษีการนำเข้าข้าวในเม็กซิโกและอเมริกากลาง
เม็กซิโกไม่มีการเก็บภาษีสำหรับการนำเข้าข้าว ยกเว้นข้าวแดง ที่เก็บภาษีร้อยละ 10 ส่วนประเทศอื่นๆ ในอเมริกากลาง มักจะมีการประกาศโควตาการนำเข้าข้าวพิเศษรายปี สำหรับการนำเข้าข้าวโดยการยกเว้นภาษี เพื่อตอบสนองความต้องการข้าวฉุกเฉิน ในกรณีที่ผลผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ แต่โดยทั่วไปแล้ว กำหนดภาษีการนำเข้าข้าวไว้ในอัตราต่าง ๆ ที่ค่อนข้างสูง ดังตารางต่อไปนี้
Central America Rice Import Duty
COUNTRY
|
HS
CODE
|
IMPORT
DUTY %
|
HS
CODE
|
IMPORT
DUTY %
|
HS
CODE
|
IMPORT
DUTY %
|
HS
CODE
|
IMPORT
DUTY %
|
HS
CODE
|
IMPORT
DUTY %
|
|
|
COSTA RICA
|
10.06.10.10
|
0
|
10.06.10.90
|
35
|
10.06.20.00
|
35
|
10.06.30.10
|
0
|
10.06.30.90
|
35
|
|
EL SALVADOR
|
10.06.10.10
|
0
|
10.06.10.90
|
40
|
10.06.20.00
|
40
|
10.06.30.10
|
40
|
10.06.30.90
|
40
|
|
GUATEMALA
|
10.06.10.10
|
23.7
|
10.06.10.90
|
23.7
|
10.06.20.00
|
23.7
|
10.06.30.10
|
23.7
|
10.06.30.90
|
23.7
|
|
HONDURAS
|
10.06.10.10
|
0
|
10.06.10.90
|
45
|
10.06.20.00
|
45
|
10.06.30.10
|
45
|
10.06.30.90
|
45
|
|
NICARAGUA
|
10.06.10.10
|
0
|
10.06.10.90
|
45
|
10.06.20.00
|
60
|
10.06.30.10
|
60
|
10.06.30.90
|
60
|
|
PANAMA
|
10.06.10.10
|
0
|
10.06.10.90
|
90
|
10.06.20.10
|
15
|
10.06.30.10
|
15
|
10.06.30.90
|
90
|
|
SOURCE: SIECA (Secretarìa
de Integración Económica Centroamericana) / Secretariat of Central American
Economic Integration
PANAMA Data from Panama National Customs Authority
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
4. สถานการณ์ข้าวปี 2012 ของปานามาและฮอนดูรัส
นักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวงการข้าวในประเทศปานามาและฮอนดูรัสได้คาดคะเนว่า ทั้งสองประเทศดังกล่าวมีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวในปี 2012 เนื่องจากสต็อคข้าวที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ
นาย Oscar McKay รองผู้อำนวยการสถาบันการตลาดภาคเกษตร (Institute of Agricultural Marketing -IMA) ประเทศปานามา ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว Prensa.com ว่า ข้าวคงคลังของปานามาที่มีอยู่ 2.7 แสนตัน เป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับความต้องการบริโภคภายในประเทศได้ถึงเดือนมิถุนายน 2012 และเนื่องจากผลผลิตข้าวภายในประเทศปานามาไม่เพียงพอกับความต้องการรวมประจำปี จึงคาดว่าจะต้องมีการอนุมัติโควต้าการนำเข้าข้าวในปริมาณประมาณ 1.5 แสนตันใกล้เคัยงกับปริมาณโควต้าที่ได้อนุมัติการนำเข้าในปี 2010 ทั้งนี้ในปี 2009 ปานามาได้นำเข้าข้าวเพื่อชดเชยผลผลิตที่ไม่เพียงพอในปริมาณ 2 แสนตัน
ต้นทุนการผลิตข้าวสำหรับชาวเกษตรกรปานามาได้เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 20 โดยต้นทุนการเพาะปลูกข้าวสำหรับพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6 ไร่กับ 1 งาน) มีมูลค่าประมาณ 2,050 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับราคาขายข้าวเพียว 20.25 เหีรยญฯ ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ในปี 2010 ได้มีการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่รวม 64,400 เฮกตาร์ โดยมีผลผลิต 1.2 ล้านบูเชล์ แต่ในปี 2011 ได้มีการเพาะปลูกลดลงเหลือเพียง 57,456 เฮกตาร์ รวมทั้งผลผลิตที่ลดลงเนื่องจากฝนตกหนักกว่าปกติ จึงคาดว่าข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดภายในปี 2011 จะมีปริมาณรวมประมาณ 5.6 ล้านบูเชล์ ในขณะที่การบริโภคข้าวของปานมามีประมาณ 7.5 ล้านบูเชล์
ปานามามีมีประชากรรวม 3 ล้านคน และปริมาณการบริโภคข้าวโดยเฉลี่ยของชาวปานามาต่อหัวในปัจจุบันเท่ากับ 70 กิโลกรัมต่อคน
สำหรับประเทศฮอนดูรัส กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าฮอนดูรัสได้ประเมินผลผลิตข้าวเปลือกสิ้นปี 2011 ปริมาณ 91,500 ตัน โดยราคาข้าวภายในประเทศฮอนดูรัสมีราคาประมาณ 18.36 เหรียญสหรัฐต่อคินตัล ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20 เหรียญต่อคินตัลภายในสองปีข้างหน้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าฮอนดูรัสคาดว่า ความต้องการบริโภคข้าวภายปีประเทศฮอนดูรัสสำหรับปี 2012 จะมีความต้องการประมาณ 3 แสนตัน และ กำลังพิจารณาโควต้าการนำเข้าข้าวเปลือกปริมาณหนึ่งแสนตัน โดยจะเป็นการนำเข้าภายใช้สิทธิพิเศษของความตกลง DR-CAFTA
5. ข้อสังเกตเกี่ยวโอกาสการนำเข้าข้าวไทยสำหรับเม็กซิโกและอเมริกากลาง
ข้าวเป็นสินค้าอาหารหลักที่มีความสำคัญในระดับที่แตกต่างกัน สำหรับผู้บริโภคในเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง โดยเม็กซิโกและกัวเตมาลามีค่าเฉลี่ยการบริโภคข้าวต่อหัวที่ต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศดังกล่าว เนื่องจากอาหารหลักของสองประเทศดังกล่าว คือตอร์ติยาที่ทำจากข้าวโพด แต่อย่างไรก็ตาม โดยที่ประชากรชาวเม็กซิกันมีจำนวนมากและผู้ผลิตข้าวภายในของเม็กซิโกมีความแข่งขันในการผลิตข้าวที่ต่ำ จึงมีความต้องการนำข้าวที่สูง แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นสำคัญ เนื่องจากราคาข้าวอเมริกันที่ถูก และข้าวอเมริกันมีลักษณะที่เหมาะสมกับวิธีการทำอาหารของชาวเม็กซิกัน ในขณะที่ข้าวไทยมีราคาสูงกว่ามาก และยังไม่เป็นรู้จักนิยมอย่างกว้าวขวาง ผู้ผลิตข้าวที่เป็นผู้แข่งขันสำคัญอีกรายหนึ่งในภูมิภาคดังกล่าวได้แก่ ประเทศโคลัมเบีย แต่ข้าวของโคลัมเบียเป็นข้าวลักษณะอเมริกัน และยังสู้ราคาของข้าวอเมริกันไม่ได้
หากผู้ส่งออกข้าวไทยมีแผนงานการตลาดที่รณรงค์เรื่องคุณสมบัติ และความสามารถในการส่งออกของข้าวไทย ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นสำหรับผู้บริโภคในภูมิภาคดังกล่าว และพัฒนาความแข่งขันในด้านต้นทุนลอจิสติกมากขึ้น จะมีโอกาสการขยายตลาดในภูมิภาคดังกล่าวสำหรับข้าวที่นำเข้าจากไทยได้มากขึ้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มการนำเข้าข้าวมากขึ้นในระยะปานกลาง
ประเด็นที่ผู้ส่งออกข้าวไทยควรพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ความสำคัญในการปฏิบัตตามข้อกำหนดอนามัยพืชอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการถูกสั่งทำลายสินค้า หรือความล่าช้าในการผ่านศุลกากรที่ท่าเรือนำเข้า รวมทั้งการคำณวนคาดการณ์ค่าใช้จ่ายค่าภาษี หรือการตรวจสอบข้อกำหนดและช่วงระยะเวลาของโควต้าการนำเข้าพิเศษ ผู้ส่งออกข้าวไทยควรให้ความระมัดระวังในการคัดเลือกผู้นำเข้าในพื้นที่ ให้เป็นผู้ที่มีความเข้าใจมีประสบการณ์ที่เชียวชาญเกี่ยวกับกฏระเบียบสุขอนามัย และการปฏิบัติด้านศุลกากรของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้