ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าประเทศเม็กซิโกโดยทั่วไป
ประเทศสหรัฐเม็กซิโก ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนตอนใต้ของประเทศ ติดกับประเทศสาธารณรัฐกัวเตมาลาและประเทศเบลิซ พื้นที่ของประเทศขนาบไปด้วยภูเขาทั้ง 2 ด้านโดยฝั่งตะวันตกมีเทือกเขา Sierra Madre Occidental และฝั่งตะวันออกมีเทือกเขา Sierra Madre Oriental ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบสูงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่ประเทศ ลักษณะพื้นที่ประเทศแบ่งได้เป็นดังนี้ ร้อยละ 20 เหมาะแก่การเพาะปลูก ร้อยละ 38 เป็นทุ่งหญ้าเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 28 เป็นป่าไม้ และพื้นที่ที่เหลือเป็นที่อยู่อาศัย ความยาวของประเทศจากเหนือจรดใต้ประมาณ 3,017 กิโลเมตร
1.1 ชื่อเป็นทางการ สหรัฐเม็กซิโก (Estados Unidos Mexicanos)
1.2 เมืองหลวง กรุงเม็กซิโกซิตี้ (Mexico City)
1.3 ขนาดพื้นที่ 1.9 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลก ประมาณ 4 เท่าของประเทศไทย
1.4 ประชากร 108 ล้านคน
1.5 ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน เงิน ทองแดง ทองคำ ตะกั่ว สังกะสี ก๊าซธรรมชาติ และป่าไม้
1.6 ประวัติศาสตร์
ประเทศเม็กซิโกแต่เดิมปกครองโดยชนเผ่าพื้นเมืองอารยธรรมเมโซอเมริกา เช่น กลุ่มอารยธรรมมายาที่มีอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และต่อมามีชนเผ่แเอสเท็กได้มีความรุ่งเรืองอยู่ทางตอนกลางของประเทศเม็กซิโก
ในปี ค.ศ. 1521 เม็กซิโกได้ถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรสเปนในช่วงที่แสวงหาอาณานิคม และสเปนเรียกอาณานิคมนี้ว่า New Spain และได้มีการแต่ตั้งพระราชรองเป็นผู้ปกครองอาณาเขต สเปนได้ยึดครองเม็กซิโกยาวนานถึง 300 ปี จนประชาชนได้เริ่มลุกขึ้นต่อสู้เพื่ออิสรภาพในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1810 และได้รับการยอมรับอิสรภาพจากสเปนในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1821 หลังจากที่ได้รับเอกราชจากสเปนแล้ว เม็กซิโกได้ทำสงครามกับสหรัฐอเมริกาและได้เสียดินแดนจำนวนมากให้กับสหรัฐฯ ต่อมาช่วงปี ค.ศ.1861 เม็กซิโกประสบภาวะหนี้สิน จึงประกาศพักชำระหนี้ ทำให้ฝรั่งเศสประเทศเจ้าหนี้สำคัญ ไม่พอใจและส่งกองทหารเข้ามายึดครองเม็กซิโก และได้แต่งตั้งให้ Archduke Ferdinand Maximillian ราชวงศ์ Hapsburg เป็นจักรพรรดิปกครองเม็กซิโก ในปี ค.ศ. 1867 เม็กซิโกได้รับเอกราชคืนจากฝรั่งเศส และหลังจากนั้น ได้มีการปฏิวัติกันเพื่อต่อต้านผู้ปกครองที่ยึดอำนาจเผด็จการหลายครั้ง จนสามารถจัดให้มีการเลืองตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
1.7 เชื้อชาติ ประชากรเชื้อสายเมสติโซ (ซึ่งเป็นเชื้อสายเลือดผสมคนพื้นเมืองกับผู้อพยพจากสเปน) ประมาณร้อยละ 60 คนพื้นเมือง ร้อยละ 30 คนเชื้อสายจากยุโรป ร้อยละ 6 และที่เหลือเป็นชาวเอเชียและแอฟริกาที่อพยพย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยมาอยู่ที่เม็กซิโก
1.8 ศาสนา โรมันคาทอลิก ร้อยละ 89 และโปรเตสแตนท์ ร้อยละ 6 โดยเม็กซิโกได้รับอิทธิพลทางศาสนาจากสเปน อย่างไรก็ตามความเชื่อโบราณก็ยังฝั่งรากอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีของคนเม็กซิกัน
1.9 ภาษา คนเม็กซิโกมีภาษาท้องถิ่นที่ใช้หลายภาษาราว 60 ภาษา แต่มีภาษาทางราชการเป็นภาษาสเปน
1.10 ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ โดยแบ่งเป็น 31 มลรัฐและ 1 เขตปกครอง มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุก 6 ปี และมีระบบสภา 2 สภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฏร แต่ละมลรัฐมีการเลือกผู้ว่ารัฐของตนเอง
1.11 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ เม็กซิโกมีชายแดนติดกับประเทศสหรัฐอเมริกายาว 3,152 กิโลเมตร มีแม่น้ำสำคัญคือ Rio Lerma ลักษณะของประเทศจากตอนเหนือจรดใต้มีระยะทางห่างไกล ทำให้เม็กซิโกต้องการระบบขนส่งต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเดินทางและขนถ่ายสินค้าทั้งทางรถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน และเรือ
2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศเม็กซิโก
ประเทศเม็กซิโกเป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจ OECD และเป็นเศรษฐกิจอันอับที่ 11 ของโลก (ระหว่างอิตาลีและเกาหลีใต้) ผลผลิตแห่งชาติรวม 1,661 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (เกือบ 3 เท่าของผลผลิตรวมของไทย) เม็กซิโกเป็นผู้ผลิตน้ำมันที่สำคัญเป็นอันดับ 7 ของโลก ในปริมาณประมาณ 3 ล้านเบเรลต่อวัน การส่งออกน้ำมันเป็นอันดับ 15 ของโลก ในปริมาณประมาณ 1.5 ล้านเบเรลต่อวัน รายได้เงินตราต่างประเทศที่สำคัญมาจากการส่งออกน้ำมัน (ประมาณ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2011) การส่งออกรถนยต์ (2.6 หมื่นล้านเหรียญฯ) การส่งเงินกลับจากต่างประเทศ (2.23 หมื่นล้านเหรียญฯ) และการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ (1.3 หมื่นล้านเหรียญฯ)
เม็กซิโกฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2009 ได้ค่อนข้างรวดเร็ว โดยในปี 2010 เศรษฐกิจของเม็กซิโกได้ขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.4 และในปี 2011 ในอัตราร้อยละ 3.8 โดยการส่งออก (โดยเฉพาะรถยนต์) ไปยังสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น และการกระจายการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ เป็นสาเหตุของการฟื้นตัวที่สำคัญ สำหรับปี 2012 นี้ คาดว่าเศรษฐกิจของเม็กซิโกจะมีการขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.6
รัฐบาลชุดปัจจุบันของประธานาธิบดีคาลเดรอน ได้ดำเนินนโยบายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเศรษฐกิจเม็กซิโก โดยดำเนินการปฏิรูปนโยบายด้านพลังงานในปี ค.ศ. 2008 และปฏิรูปนโยบายด้านการเงินในปี 2009 ได้เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรับปรุงระบบเงินสะสมบำนาญ รวมทั้งได้มีการชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศ เร่งการลงทุนโดยรัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการปรับปรุงระบบการศึกษา
ประเด็นปัญหาใหญ่ในช่วงการครองตำแหน่งประธานาธิบดีคาลเดรอนที่เป็นจุดลบสำคัญ คือการต่อสู้เพื่อปราบปรามยาเสพติดที่นับวันได้เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น และไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการขยายอำนาจในพื้นที่ทั่วประเทศของกลุ่มเจ้าพ่อค้ายาเสพติดต่างๆ
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีวาระใหม่ โดยนักวิเคราะห์การเมืองหลายฝ่ายได้คาดว่า พรรค PRI (Partido Revolucionario Nacional) ซึ่งเป็นผู้ที่กุมอำนาจในเม็กซิโกมาแต่เดิมร่วม 70 กว่าปี ก่อนที่พรรค PAN จะชนะการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งได้สองสมัยที่ผ่านมา จะชนะการเลือกตั้งรอบใหม่นี้ เนื่องจากผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรค PRI นาย Peña Nieto ได้รับความนิยมมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้ารับดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเม็กซิโกคนใหม่ จะต้องดำเนินการปฎิรูปด้านพลังงานและโครงสร้างเศรษฐกิจต่อไป เนื่องจากเม็กซิโกยังคงพึ่งรายได้จากการส่งออกน้ำมันมากเกินไป ในขณะที่แหล่งน้ำมันของเม็กซิโกเริ่มมีผลผลิตน้อยลง อนาคตของเศรษฐกิจเม็กซิโกต้องมีการขยายฐานรายได้ให้มั่นคงมากขึ้น
2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
ในปี 2010 เม็กซิโกมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวน 116.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศ
สัดส่วนความสำคัญของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในผลผลิตมวลรวมประชาชาติของเม็กซิโก มาจากภาคการบริโภคในสัดส่วนร้อยละ 26.5 ภาคธุรกิจบริการร้อยละ 20 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 17.8 ภาคการเงินและประกันภัยร้อยละ 12.8 ภาคการขนส่งร้อยละ 10.3 ภาคการก่อสร้างร้อยละ 5.4 ภาคการเกษตรร้อยละ 3.8 และภาคเหมืองแร่ร้อยละ 1.4
สัดส่วนความสำคัญของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในผลผลิตมวลรวมประชาชาติของเม็กซิโก มาจากภาคการบริโภคในสัดส่วนร้อยละ 26.5 ภาคธุรกิจบริการร้อยละ 20 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 17.8 ภาคการเงินและประกันภัยร้อยละ 12.8 ภาคการขนส่งร้อยละ 10.3 ภาคการก่อสร้างร้อยละ 5.4 ภาคการเกษตรร้อยละ 3.8 และภาคเหมืองแร่ร้อยละ 1.4
2.4 ข้อมูลด้านการลงทุนในประเทศ
การลงทุนจากต่างประเทศในเม็กซิโกเม็กซิโกระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1999-2009 มีความผันผวนขึ้นๆ ลงๆ โดยเม็กซิโกประสบภาวะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ 2 ช่วง อย่างไรก็ตาม ปี ค.ศ. 2001 และ 2007 เป็นปีที่เม็กซิโกได้รับเงินลงทุนต่างประเทศไหลเข้ามากที่สุด ในมูลค่าเกือบ 3 หมื่นล้าน และ 2.7 หมื่นล้านเหรียญตามลำดับ ส่วนปีที่ได้รับการลงทุนต่ำสุด นั่นคือ น้อยกว่าปีละ 2 หมื่นล้านเหรียญ คือปี ค.ศ. 1999, 2000, 2003, 2006 และ 2009
รายงานเศรษฐกิจของข่าวกรองสหรัฐฯ (CIA Factbook) ได้รายงานมูลค่าการลงทุนต่างประเทศรวมในเม็กซิโกในสิ้นปี ค.ศ 2011 ว่า มีมูลค่ารวม 321,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จัดเป็นอันดับเงินลงทุนต่างประเทศสะสมภายในประเทศอันดับที่ 17 ของโลก โดยเม็กซิโกได้รับเงินลงทุนต่างประเทศในปี 2010 รวมมูลค่า 17.7 พันล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 เล็กน้อย
การลงทุนจากต่างประเทศส่วนใหญ่ ประมาณ 86.78 % เป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคบริการการเงิน และการค้า และมีแหล่งการลงทุนมาจากสหรัฐประมาณ 57.5% และจากสหภาพยุโรป 34.1% (สเปนและเนเธอร์แลนด์)
ประเทศเม็กซิโกมีโครงการส่งเสริมการลงทุนแยกเป็น 2 โครงการ ได้แก่
- โครงการ Maquila เพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อการส่งออก โดยหากผู้ลงทุนผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกคิดเป็นเพียง 10% ของผลผลิตของโรงงานก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ โดยเมื่อเข้าโครงการแล้วผู้ลงทุนไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และเครื่องจักรเหมือนเป็น Bonded warehouse
- โครงการ PROSEC เป็นการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรม 22 สาขาเพื่อให้เม็กซิโกสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ โดยโรงงานสามารถนำเข้าวัตถุดิบในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราภาษีนำเข้าปกติได้จำนวนกว่า 16,000 รายการ
- ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เม็กซิโกได้พยายามส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศทั้งโดยการเปิดเสรีทางการค้า การลงนามความตกลงด้านภาษีซ้อน และการปกป้องด้านการลงทุนกับต่างประเทศ ซึ่งเม็กซิโกได้เปิดให้มีการลงทุนโดยเสรีในเกือบทุกแขนง ยกเว้นบางอุตสาหกรรม และบางธุรกิจบริการที่เป็นสมบัติของรัฐ อาทิ
- กิจการที่สงวนไว้สำหรับรัฐบาล อาทิ Petroleum, Petrochemical, Electricity, Nuclear Energy, Radioactive, Postal Service, Control for ports and airport
- กิจการที่จำกัดสำหรับคนเม็กซิกันเท่านั้น อาทิ Gasoline Retailing, Tourist Transport Service, Television, Radio, Development Bank
- กิจการที่จำกัดสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติไม่เกิน 49% อาทิ Domestic Air Transportation, Air Taxi Service, Insurance Companies, General Deposit Warehouse, Financial Leasing Company, Manufacturer of Fire Arms, Printing Newspaper, Fresh Water Fishing, Sea Water Fishing, Port Service, Shipping Company, Private Education, Construction of Pipe line for Petroleum
- อนึ่งในด้านการถือครองที่ดิน ต่างชาติมีสิทธิในการถือครองที่ดินได้ ยกเว้นไว้เฉพาะพื้นที่ในรัศมี 100 กม. จากพรมแดน และรัศมี 50 กม. จากพื้นที่ที่ติดกับชายทะเล จะไม่อนุญาตให้ต่างชาติถือครอง
3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของเม็กซิโก
3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศเม็กซิโก
ประเทศเม็กซิโกได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตกต่ำหลายครั้งในปี คศ. 1980,1994 และ 2008 ทั้งนี้เนื่องจากพึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบ และการส่งออกไปยังสหรัฐฯเป็นตลาดสำคัญเพียงตลาดเดียว ทำให้เม็กซิโกต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายมาเปิดประเทศมากขึ้น เพื่อหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยกำหนดนโยบายเปิดประเทศ ได้แก่
- เม็กซิโกได้เข้าร่วม GATT ในปี 1986
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อาทิ การขนส่ง การคมนาคม ฯลฯ
- การทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ทำให้ประเทศเม็กซิโกมีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด โดยมีการทำความตกลงการค้าเสรีจำนวน 12 ฉบับครอบคลุม 43 ประเทศ ได้แก่ ชิลี NAFTA สหภาพยุโรป เวเนซูเอล่า โคลัมเบีย คอสตาริก้า โบลีเวีย นิการากัว อิสลาเอล กลุ่ม EFTA กลุ่ม North Triangle (กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส) อุรุกวัย และญี่ปุ่น
- การเข้าร่วมทำความตกลงเป็นสมาชิกในระดับพหุภาคี อาทิ WTO , APEC, OECD, FTAA
3.2 สินค้าส่งออก/สินค้านำเข้าหลักของประเทศเม็กซิโก
3.3 ประเทศคู่ค้าสำคัญด้านการนำเข้า/ส่งออก
สินค้าส่งออกที่สำคัญของเม็กซิโก ได้แก่ น้ำมันดิบ การส่งออกในปี ค.ศ. 2011 มูลค่า 49,249 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบได้เป็นร้อยละ 12 ของการส่งออก รองลงมาได้แก่ รถยนต์ มูลค่า 26,844 ล้านเหรียญฯ ตามด้วยโทรทัศน์ ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เส้นลวด ทอง ฯลฯ
ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันที่กลั่นแล้ว ชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า ข้าวโพด และยา
3.3 ประเทศคู่ค้าสำคัญด้านการนำเข้า/ส่งออก
เม็กซิโกมีมูลค่าการส่งออกในปี ค.ศ. 2011 รวม 349,567 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ร้อยละ 17.21โดยมีการส่งออกสำคัญไปยังสหรัฐฯ มูลค่า 274,712 ล้านเหรียญฯ สัดส่วนร้อยละ 78.59 ของการส่งออกรวม รองลงมาเป็นการส่งออกไปยังแคนาดา มูลค่า 10,673 ล้านเหรียญฯ สัดส่วนร้อยละ 3.65 และจีน มูลค่า 5,965 ล้านเหรียญฯ สัดส่วนร้อยละ 0.97
เป็นที่น่าสังเกตว่า เม็กซิโกได้มีการส่งออกไปยังประเทศโคลัมเบียเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 49.72 โดยมีมูลค่าการส่งออกใกล้เคียงกับการส่งออกไปยังประเทศจีน นอกจากนี้แล้ว ยังมีการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในปริมาณที่น่าสนใจ ซึ่งได้แก่ การส่งออกเพิ่มขึ้นไปยังประเทศอินเดีย ที่ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.31 บราซิล ร้อยละ 29 อังกฤษ ร้อยละ 24 และเยอรมันร้อยละ 21.5 เป็นต้น
การใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศเม็กซิโกซึ่งสามารถแยกได้เป็น 12 มาตรการมาเพื่อทราบ ได้แก่
3.5 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ
4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย
4.2 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศเม็กซิโก และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากประเทศเม็กซิโก
ในปี ค.ศ. 2011 การส่งออกจากไทยไปยังเม็กซิโกมีมูลค่า 1,277 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ร้อยละ 32.06 สินค้าส่งออกสาคัญของไทยไปยังเม็กซิโกสิบรายการแรก ได้แก่ เครื่องคิดเลข รถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและชิ้นส่วน หัวเทียนสำหรับรถยนต์ เครื่องแฟกซ์และโทรศัพท์ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้าสาเร็จรูป วิทยุและโทรทัศน์ อุปกรณ์ไฟฟ้า และแผงวงจรอีเล็กตรอนนิกส์
ในปี ค.ศ. 2011ไทยนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกมูลค่า 605 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากจากปี 2010 ร้อยละ 51.84 สินค้านำเข้าที่สาคัญสิบรายการแรก ได้แก่ เครื่องประดับอัญมณีรวมทั้งเงินและทองคำแท่ง เครื่องไฟฟ้าและส่วนประกอบ ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน อาหารทะเลสดและแช่แข็ง อุปกรณ์สำหรับทดสอบทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ และผลิตภัณฑ์สารเคมี
3.4 นโยบาย/มาตรการทางการค้า ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี
เม็กซิโกเก็บภาษีรายได้บุคคลหัก ณ ที่ จ่าย ร้อยละ 35 ภาษีกำไรธุรกิจ ร้อยละ 35 หรือ ภาษีทรัพย์สิน ร้อยละ 2 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 16 สำหรับภาษีการนำเข้ามีแตกต่างไปหลายอัตรา ต้องทำการตรวจสอบภาษีนำเข้าเป็นรายสินค้าเฉพาะกับกระทรวงเศรษฐกิจของเม็กซิโก
ตลาดเม็กซิโกถือเป็นตลาดใหม่สำหรับประเทศไทย ในช่วง ม.ค. – พ.ย. 2550 ที่ผ่านมาการขยายตัวการส่งออกของไทยมายังตลาดเม็กซิโกสูงขึ้น 40% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามประเทศเม็กซิโกนับว่าเป็นประเทศที่มีมาตรการกีดกันการนำเข้าที่มิใช่ภาษีที่ค่อนข้างมาก ก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
ที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโกได้รับเรื่องร้องเรียนเป็นระยะจากผู้นำเข้าเม็กซิโกและผู้ส่งออกไทยในกรณีที่สินค้าส่งไปถึงท่าเรือเม็กซิโกแล้วไม่สามารถผ่านพิธีการศุลกากรในหลายกรณี อาทิ เอกสารไม่ครบถ้วน ไม่มีเอกสารสำคัญประกอบการนำเข้า ข้อมูลในเอกสารไม่ถูกต้องตรงตามประเภทสินค้า สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้นำเข้าต้องจ่ายค่าโกดังสินค้าเพิ่มเติม และบางครั้งต้องส่งสินค้ากลับไปยังประเทศไทย ซึ่งเป็นผลเสียหายต่อผู้ส่งออกไทย และเป็นผลในด้านลบต่อผู้นำเข้าไม่กล้าจะนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยอีก แนวทางที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาที่น่าจะทำได้ดีที่สุดคือการให้ความรู้แก่ผู้ส่งออกให้มีความเข้าใจในระบบและระเบียบการนำเข้าของเม็กซิโกในเบื้องต้น และคอยเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบของเม็กซิโก โดยสอบถามจากผู้นำเข้า และสามารถสอบถามจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโกที่จะช่วยแนะนำได้อีกทางหนึ่ง
การใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศเม็กซิโกซึ่งสามารถแยกได้เป็น 12 มาตรการมาเพื่อทราบ ได้แก่
- มาตรการการจดทะเบียนผู้นำเข้าสินค้า (Padron de Importadores)
- มาตรการด้านมาตรฐานสินค้า
- มาตรการด้านสุขอนามัย
- มาตรการแหล่งกำเนิดสินค้า
- มาตรการสินค้าห้ามนำเข้า
- มาตรการสินค้าควบคุม
- มาตรการโควต้านำเข้า
- มาตรการด้านเอกสารการนำเข้า
- มาตรการราคาประเมินสินค้าขั้นต่ำ
- มาตรการการนำเข้าตัวอย่างสินค้า
- มาตรการป้ายสลากสินค้า
- มาตรการขั้นตอนการผ่านพิธีการศุลกากร
3.5 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ
เม็กซิโกมีการทำความตกลงการค้าเสรีจำนวน 12 ฉบับครอบคลุม 43 ประเทศ ได้แก่ ความตกลงเขตการค้าเสรีเป็นกลุ่ม คือ เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป เขตการค้าเสรีกับกลุ่ม EFTA (ไอซแลนด์ ลีค์เต็นสไรน์ นอร์เวย์และสวิสเซอร์แลนด์) กลุ่ม North Triangle (กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส) ความตกลงเขตการค้าเสรีรายประเทศ มีประเทศชิลี เวเนซูเอล่า โคลัมเบีย คอสตาริก้า โบลีเวีย นิการากัว อิสลาเอล อุรุกวัย และญี่ปุ่น ขณะนี้อยุ่ระหว่างการเจรจาเขตการค้าเสรีกับประเทศเปรู แต่โดยหลักการแล้วในปัจจุบันกระทรวงเศรษฐกิจของเม็กซิโกได้แจ้งท่าที ไม่ประสงค์จะเจราจาความตกลงเขตการค้าเสรีเพิ่มเติมไปมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย
ไทยและเม็กซิโกมีมูลค่าการค้าระหว่างกันในปี 2553 มูลค่า 1,366 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 45 โดยการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 967 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนาเข้า 399 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับเม็กซิโกมูลค่า 568 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในปี ค.ศ. 2011 การส่งออกจากไทยไปยังเม็กซิโกมีมูลค่า 1,277 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ร้อยละ 32.06 สินค้าส่งออกสาคัญของไทยไปยังเม็กซิโกสิบรายการแรก ได้แก่ เครื่องคิดเลข รถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและชิ้นส่วน หัวเทียนสำหรับรถยนต์ เครื่องแฟกซ์และโทรศัพท์ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้าสาเร็จรูป วิทยุและโทรทัศน์ อุปกรณ์ไฟฟ้า และแผงวงจรอีเล็กตรอนนิกส์
ในปี ค.ศ. 2011ไทยนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกมูลค่า 605 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากจากปี 2010 ร้อยละ 51.84 สินค้านำเข้าที่สาคัญสิบรายการแรก ได้แก่ เครื่องประดับอัญมณีรวมทั้งเงินและทองคำแท่ง เครื่องไฟฟ้าและส่วนประกอบ ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน อาหารทะเลสดและแช่แข็ง อุปกรณ์สำหรับทดสอบทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ และผลิตภัณฑ์สารเคมี