เศรษฐกิจประเทศเม็กซิโกเป็นเศรษฐกิจอันดับที่ 11 ของโลก มีประชากรจำนวน 113 ล้านคน รายได้ประชาชาติประมาณ 1.56 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ รายได้ต่อหัว 13,800 เหรียญฯ ต่อคน การขยายตัวของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ อัตราร้อยละ 5.4 และ 3.8 ในปี ค.ศ. 2010 และปี 2011 ตามลำดับ เม็กซิโกมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคละตินอเมริกา รองจากประเทศบราซิล และมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา อันเป็นผลมาจากการเป็นภาคีความตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือหรือนาฟต้า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 เป็นต้นมา เม็กซิโกจึงมีการส่งออกและการนำเข้าจากสหรัฐฯ และแคนาดาในสัดส่วนที่สูง ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเม็กซิโก ได้แก่ การส่งออกน้ำมัน การผลิตและส่งออกรถยนต์ การท่องเที่ยว รวมทั้งการผลิตสินค้าอุปโภคในหลายระดับ แต่เนื่องจากเม็กซิโกมีพื้นที่การเพาะปลูกจำกัด และภาคเกษตรของเม็กซิโกขาดประสิทธิภาพ บริษัทผู้ผลิต-ส่งออกและจำหน่ายสินค้าอาหารที่สำคัญของสหรัฐฯ และแคนาดา ล้วนมีโครงสร้างการผลิต-การลงทุน-การจัดจำหน่ายที่เชื่อมโยงกับบริษัทต่างๆ ในเม็กซิโกอย่างใกล้ชิด จึงมีการนำเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าอาหารจากสหรัฐฯ และแคนาดาหลายอย่างในปริมาณสูง เช่น ข้าวโพด มะเขือเทศ เนื้อสัตว์ ธัญพืช และอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น ทั้งนี้ เม็กซิโกเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารอันดับที่ 13 ของโลก
ตลาดสินค้าอาหารในเม็กซิโกยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวในอัตราที่สูงในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากการเศรษฐกิจของเม็กซิโกยังมีโอกาสการขยายตัวได้อีกมาก รวมทั้งการพัฒนารายได้ของประชากร การพัฒนาโครงสร้างการกระจายสินค้าอาหารในร้านค้าประเภทซุปเปอร์มาร์เก็ต โกรเซอรรี่ และเครือข่ายแฟรไชค์คอนวีเนียนซ์สตอร์ ล้วนเป็นตัวกระตุ้นการบริโภคสินค้าอาหารในลักษณะที่มีความหลากหลายมากขึ้น
สถาบันวิจัยตลาด Business Monitor International ได้คาดคะเนว่า แนวโน้มตลาดสินค้าอาหารของเม็กซิโกจากปี ค.ศ. 2011 ถึง 2015 จะมีอัตราการขยายตัวของการบริโภคอาหารต่อหัวของชาวเม็กซิกันในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี การขยายตัวของความต้องการเครื่องดื่มประเภทแอกอฮอล์ ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี การขยายตัวความต้องการของน้ำอัดลมในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี และการขยายตัวของยอดขายสินค้าอาหารในร้านโกรเซอรี่ในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี
ภาวะความต้องการสำหรับข้าว ข้าวโพด และธัญญพืช
เม็กซิโกมีความต้องบริโภคข้าวประมาณ 8 แสนถึง 1 ล้านตันต่อปี แต่มีความสามารถผลิตได้เพียง ประมาณ 3 แสนตันต่อปี จึงต้องนำเข้าในส่วนที่ขาดความต้องการ โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นสำคัญ ในปีการผลิต 2011 เม็กซิโกมีผลผลิตข้าวน้อยมาก ประมาณ 157,000 ตัน เนื่องจากบริษัทโรงสีข้าวสำคัญรายหนึ่งของเม็กซิโกได้ล้มละลายเลิกกิจการไป ทำให้ผู้ผลิตข้าวไม่สามารถขอเงินกู้เพื่อทำการเพาะปลูก ในปี 2011 ม็กซิโกได้มีการนำเข้าข้าว 9.46 แสนตัน มูลค่า 377 ล้านเหรียญฯ เป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นสำคัญในสัดส่วนร้อยละ 95 แหล่งนำเข้าข้าวอื่นๆ ของเม็กซิโก ได้แก่ อุรุกัว ปากีสถาน อิตาลี ไทย อาร์เจนตินา จีน และอินเดีย เม็กซิโกได้มีการนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา ในปี ค.ศ. 2011 เม็กซิโกได้นำเข้าข้าวจากไทยปริมาณ 204,628 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2010 ในสัดส่วนร้อยละ 8.7
ส่วนผลผลิตข้าวโพด ซึ่งเป็นอาหารหลักของเม็กซิโก ได้มีผลผลิตที่น้อยลงในปี 2011 เนื่องจากภาวะอากาศแห้งแล้ง ผลผลิตของปี 2011 มีประมาณ 18.4 ล้านตัน และคาดว่าในปี 2012 เม็กซิโกจะมีความต้องการนำเข้าข้าวโพดเพิ่มขึ้นเป็น 10.5 ล้านตัน เม็กซิโกได้นำเข้าข้าวโพด 9.4 ล้านตัน มูลค่า 2.9 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2011 เป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 88 ซึ่งได้ลดลงจากปีก่อน โดยได้มีการนำเข้าจากแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้นในสัดส่วนร้อยละ 11 ปริมาณการนำเข้าข้าวโพดจากแอฟริกาใต้ 9.4 แสนตัน มูลค่า 330 ล้านเหรียญสหรัฐ
ถั่วแห้งเป็นอาหารหลักที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของเม็กซิโก โดยผลผลิตของถั่วแห้งในปี 2011 มีปริมาณ 1.12 ล้านตัน การผลิตค่อนข้างจะเพียงพอกับความต้องการบริโภคภายใน โดยจะมีการนำเข้าจากสหรัฐฯ ในส่วนที่ขาดแคลนประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณความต้องการรวม เพื่อเป็นอุปทานสำรองและเพื่อการปรับระดับราคา
เม็กซิโกเป็นผู้ผลิตข้าวฟ่างอันดับสี่ของโลก แต่ในขณะเดียวกันเป็นผู้นำเข้าข้าวฟ่างจากสหรัฐฯ เป็นอันดับแรก ผลผลิตข้าวฟ่างของเม็กซิโกในปี 2011 ได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศแห้งเช่นกัน และคาดว่าจะมีปริมาณการผลิต 6.1 ล้านตัน ในปี 2011 เม็กซิโกได้นำเข้าข้าวฟ่างปริมาณ 2.4 ล้านตัน มูลค่า 688 ล้านเหรียญฯ
อาหารประเภทเนื้อสัตว์
เม็กซิโกเป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์อันดับ 8 ของโลก ในปี 2011 มีมูลค่าการส่งออกเนื้อสัตว์รวมประมาณ 957 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกเนื้อหมูสดหรือแช่แข็ง 323 ล้านเหรียญฯ เนื้อวัวสดหรือแช่นเย็น 320 ล้านเหรียญฯ และเนื้อวัวแช่แข็ง 212 ล้านเหรียญฯ ตลาดการส่งออกเนื้อสัตว์ที่ของสำคัญของเม็กซิโก ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐฯ รัสเซีย เกาหลี และยุโรปเป็นสำคัญ
ภูมิประเทศของเม็กซิโกมีความเหมาะสมแก่การเลี้ยงปศุสัตว์ โดยครึ่งหนึ่งของพื้นที่ของเม็กซิโกเป็นพื้นที่ๆ ใช้สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ นั่นคือ 156 ล้านเฮกเตอร์ ในปี ค.ศ. 2007 เม็กซิโกมีโควัวประมาณ 23 ล้านหัว แกะ 7 ล้านหัว แพะ 4 ล้าน และม้า 2 ล้านตัว
ชาวเม็กซิกันมีอัตราการบริโภคเนื้อสัตว์ต่อหัวจำแนกได้ดังนี้ การบริโภคเนื้อวัวต่อหัว (per capita consumption) 17 กิโลกรัม การบริโภคเนื้อหมูต่อหัว 15 กิโลกรัม การบริโภคเนื้อไก่ต่อหัว 31 กิโลกรัม สำนักงานสถิติแห่งชาติเม็กซิโกได้รายงานว่า ชาวเม็กซิกันจะใช้รายได้เพื่อการซื้ออาหารประมาณร้อยละ 34 ของรายได้ จากส่วนของค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารนั้น จะมีสัดส่วนการซื้อเนื้อไก่ร้อยละ 28 และร้อยละ 15 เพื่อซื้อเนื้อสำเร็จรูปประเภทต่างๆ เช่น แฮน ใส้กรอก ฯลฯ
การเลี้ยงหมูและการผลิตเนื้อหมูและผลิตภัฑ์จากเนื้อหมูในประเทศเม็กซิโก ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา เนื่องจากได้มีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนากิจกรรมในภาคการเลี้ยงหมูและการผลิตเนื้อหมู ความตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ได้มีผลส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงทางการตลาดในอุตสาหกรรมหมูของสหรัฐฯ และเม็กซิโกมากขึ้น ประเทศเม็กซิโกมีความสามารถผลิตเนื้อหมูได้ประมาณ 1 ล้านเมตริกตันต่อปี แต่ยังคงต้องมีการนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐฯ เนื่องจากมีปริมาณการการบริโภคประมาณ 1.5 ล้านเมตริกตันต่อปี
อาหารทะเล
กิจการการประมงของเม็กซิโกนับว่ามีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่ามวลรวมประชาชาติ (GDP) โดยคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.8 ของผลผลิตแห่งชาติเท่านั้น และคาดว่ามีแรงงานในภาคการประมงนี้ราว 268,727 คน จำนวนเรือประมง เรือประมงประมาณ 106,428 ลำ เม็กซิโกมีการจับสัตว์น้ำได้ราว 1.5 ล้านเมตริกตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการจับตามธรรมชาติ และร้อยละ 10 มาจากการเพาะเลี้ยง ในการจับจากธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นการจับมาจากมหาสุมทรฝั่งแปซิฟิก คิดเป็นร้อยละ 78 ซึ่งจะพบปลาซาร์ดีนชุกชุม เฉพาะในบริเวณอ่าวแคลิฟอร์เนีย ส่วนในน่านน้ำอ่าวเม็กซิโกจะสามารถจับสัตว์น้ำได้ถึง 500,000 เมตริกตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 33 ของการจับสัตว์น้ำทั้งหมด โดยปลาที่จับได้ในบริเวณนี้ ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลา anchovetas และกุ้ง อนึ่ง สำหรับทางฝั่งแอตแลนติกแถบอ่าวเม็กซิโกนั้น จะไม่ค่อยมีแหล่งจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ เนื่องจากมีปัญหาการแย่งชิงน่านน้ำกับบริษัทขุดเจาะน้ำมัน ทั้งนี้รัฐบาลเม็กซิโกพยายามสนับสนุนการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยใช้พื้นที่ทางเหนือแถบรัฐ Tamaulipas ที่ติดกับรัฐ Texas
คนเม็กซิโกบริโภคอาหารสัตว์น้ำราว 10 - 14 กิโลกรัมต่อคนต่อปี โดยส่วนใหญ่จะนิยมบริโภคเนื้อวัว และหมูมากกว่าราว 39.4 กิโลกรัมต่อคนต่อปี อย่างไรก็ตามปลาที่คนเม็กซิกันนิยมบริโภคได้แก่ ปลานิล กุ้ง และปลาหมึก
ในปี 2011 เม็กซิโกได้ส่งออกอาหารทะเลมูลค่ารวม 944 ล้านเหรียญสหรัฐ ร้อยละ 44 เป็นการส่งออกอาหารทะเลประเภทที่มีเปลื่อกแข็งมูลค่า 414 ล้านเหรียญฯ ร้อยละ 16 เป็นปลาแช่แข็งมูลค่า 155 ล้านเหรียญ ร้อยละ 13 เป็นปลาสด มูลค่า 119 ล้านเหรียญฯ และร้อยละ 21 เป็นอาหารทะเลประเภทอื่นๆ มูลค่า 206 ล้านเหรียญฯ เป็นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 55 และยุโรปและเอเชียรองลงมา ส่วนการนำเข้าอาหารทะเลมีน้อยกว่าการส่งออก ในปี 2011 เม็กซิโกได้มีการนำเข้าอาหารทะเลรวม 482 ล้านเหรียญฯ เป็นการนำเข้าเนื้อปลาเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 57 มูลค่า 276 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นการนำเข้าจากจีนร้อยละ 43 มูลค่า 117 ล้านเหรียญฯ และจากเวียดนามร้อยละ 37 มูลค่า 102 ล้านเหรียญฯ
โภคภัณฑ์สำคัญ: น้ำตาลและกาแฟ
เม็กซิโกเป็นประเทศผู้ที่มีสิทธิส่งออกน้ำตาลไปยังสหรัฐฯ ที่ไม่มีข้อจำกัดด้านโควต้า และได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีนำเข้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรี NAFTA จึงเป็นแหล่งนำเข้าน้ำตาลสำคัญแหล่งหนึ่งสำหรับสหรัฐฯ เม็กซิโกมีความสามารถในการเพาะปลูกอ้อยเพื่อการผลิตน้ำตาลในปริมาณระหว่าง 60-70 ตันต่อเฮ็กเตอร์ ซึ่งจัดเป็นผู้มีสมรรถภาพในการผลิตน้ำตาลอันดับ 13 ของโลก และในปี 2011 มีผลผลิตน้ำตาลประมาณ 5.65 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับความต้องการของตลาดภายในประเทศ ที่มีการบริโภคน้ำตาลจากอ้อยประมาณ 5 ล้านตัน และความต้องการน้ำตาลสังเคราะห์อีก 800,000 ล้านตัน เม็กซิโกมีการส่งออกน้ำตาลประมาณ 400,000 ล้านตัน และนำเข้าน้ำตาลเพื่อป้อนอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกในโครงการ INMEX จำนวน 200,000 ล้านตัน อุตสาหกรรมน้ำตาลของเม็กซิโกมีการจ้างงานโดยตรงประมาณ 440,000 คน และสร้างานโดยทางอ้อมได้อีกประมาณ 2.5 ล้านคน แต่รายได้จากภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลมีสัดส่วนต่อรายประชาชาติเพียงร้อยละ 0.06
กาแฟ: ในปี ค.ศ. 011 เม็กซิโกส่งออกกาแฟ (รหัส HS 0901)โดยรวมมูลค่า 692 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 117,838 ตัน เป็นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 67 มูลค่า 461 ล้านเหรียญฯ รองลงมาได้แก่ การส่งออกไปยังประเทศเบลเยี่ยมมูลค่า 40 ล้านเหรียญฯ
ผักและผลไม้
ประเทศเม็กซิโกเป็นผู้ผลิตสับปะรดสดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ในปริมาณ 540,000 ตันต่อปี ในพื้นที่การเพาะปลูก 10,500 เฮ็กเตอร์ต่อปี ในปี 2537 ได้มีการนำเข้าสับปะรดประมาณมากที่สุด 18, 320 ตัน แต่ได้ลดลงระหว่างปี 2539 ถึง 2543 ปริมาณนำเข้าระหว่าง 533-806 ตัน และได้เพิ่มขึ้นในปี 2543 เป็น 1,367 ตัน มูลค่าเกือบล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในระหว่างปี คศ. 1960-1980 รัฐบาลของเม็กซิโกได้พยายามส่งเสริมการขยายการปลูกผลไม้ในเชิงพาณิชย์หลากหลายชนิด เพื่อทดแทนการปลูกกาแฟที่มีราคาตกต่ำ โดยการรณรงค์การเพาะปลูกลิ้นจี่ maracuyá และ macademia พื้นที่การเพาะปลูกลิ้นจี่มีประมาณ 1.82 ล้านตารางเมตร ปัจจุบันเป็นการปลูกเพื่อการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เป็นสำคัญและมีแนวโน้มการเติบโตได้อีกมาก
สัปปะรดกระป๋อง
ประเทศเม็กซิโกเป็นผู้ผลิตสับปะรดสดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ในปริมาณ 540,000 ตันต่อปี ในพื้นที่การเพาะปลูก 10,500 เฮ็กเตอร์ต่อปี ซึ่งมีสัดส่วนเพื่อการบริโภคภายประเทศในลักษณะผลไม้สดร้อยละ 70 อีกร้อยละ 23-25 เป็นเพื่อการผลิตน้ำสับปะรด และร้อยละ 5-7 เพี่อการส่งออกในลักษณะผลไม้สดไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
ตลาดเครื่องดื่มและการบรรจุขวด: ตลาดการขายเครื่องดื่มในเม็กซิโกเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และได้มีคาดคะเนว่าปริมาณการบริโภคน้ำขวดในเม็กซิโกในปี ค.ศ. 2013 จะมีปริมาณ 67.5 พันล้านลิตร มูลค่าของตลาดประมาณ 50 ล้านเหรียญฯ เครื่องดื่มที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่ น้ำเปล่าบรรจุขวดและรองลงมาได้แก่เบียร์ ช่องทางการขายที่สำคัญได้แก่ ร้านขายปลีกเครื่องดื่มในลักษณะเป็น convenience store ที่มีกว่า 700,000 แห่งทั่วประเทศ และบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการครองครองตลาดดังกล่าวได้แก่ กลุ่ม FEMSA และกลุ่ม Modelo ซึ่งครองตลาดรวมกันได้ร้อยละ 90 ของตลาดเครื่องดื่มทั้งหมด
ตลาดสินค้าอาหารสำเร็จรูป
การพัฒนาการกระจายสินค้าอาหาร และภาวะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจได้เป็นปัจจัยหันความสนใจของแม่บ้านชาวเม็กซิกัน ให้มานิยมการซื้ออาหารสำเร็จรูปราคาถูกมากขึ้น การซื้ออาหารกระป๋อง เช่น ถั่วบรรจุกระป๋อง และปลาทูน่ากระป๋อง ให้ความสะดวกสบายและประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำอาหาร แม้กระทั่ง ผักและผลไม้กระป๋องก็มีสัดส่วนของตลาดที่สำคัญ แต่ตลาดสินค้าอาหารกระป๋องเป็นตลาดที่ผู้ผลิตภายในประเทศครองตลาด และมีการแข่งขันสูง ไม่มีบริษัทใดครองตำแหน่งตลาดได้เกิดร้อยละ 15 โดยเม็กซิโกมีบริษัทผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปที่สำคัญประมาณ 6 บริษัท บริษัทที่สำคัญที่สุดได้แก่ บริษัท Grupo Herdez S.A. de C.V. ส่วนสินค้าอาหารกระป๋องนำเข้าจะมีมาจากสเปน เป็นจำพวกอาหารที่ใช้ในเทศกาล เช่น มะกอกกระป๋อง ปลาค้อด ปลาซาลมอน ปลาหมึกกระป๋อง เป็นต้น ผู้นำเข้าอาหารกระป๋องจากต่างประเทศที่สำคัญรายหนึ่ง คือ บริษัท Del Monte
Table 1. Mexico : Sales Volume of
Processed Food Categories, in 1000 MT.
Processed
Food Category
|
Quantity
in 1000 MT
|
Bakery
|
14,927.48
|
Canned/Preserved Food
|
522.69
|
Chilled Processed Food
|
142.41
|
Confectionery
|
373.27
|
Dried Processed Food
|
946.53
|
Frozen Processed Food
|
136.25
|
Ice Cream (Million liters)
|
100.27
|
Meal Replacement
|
7.38
|
Noodles
|
119.11
|
Oils and Fats
|
877.99
|
Pasta
|
297.30
|
Ready Meals
|
32.93
|
Sauces, Dressings & Condiments
|
948.30
|
Snack Bars
|
33.35
|
Soup
|
34.35
|
Spreads
|
120.15
|
Sweet and Savory Snacks
|
373.54
|
Meal Solutions
|
1,870.35
|
Source: Euromonitor
No comments:
Post a Comment