Google Website Translator

Wednesday, December 3, 2008

Carlos Slim's Business Empire

เครือธรุกิจของนายคาร์ลอส สลิม

นายคาร์ลอส สลิม (Carlos Slim Helu ) เจ้าของกลุ่ม Grupo Carso และ Carso Global Telecom มีมูลค่าทรัพย์สินที่ประมาณ 67 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนิตยสาร Forbes จัดอันดับให้เป็นเศรษฐีอันดับสองของโลก โดยมีมูลค่าทรัพย์สินแข่งขันกับ Bill Gates และ Warren Buffet

นายคาร์ลอส สลิม เป็นบุตรชายคนที่สามของนายฮูเลี่ยน สลิม ซึ่งอพยพมาที่เม็กซิโกเมื่อปี 1902 จากประเทศเลบานอน นายฮูเลี่ยนได้สร้างธุรกิจห้างสรรพสินค้าและอสังหริมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จ และได้ถ่ายทอดคุณค่าของความภาคเพียรและอุตสาหะให้แก่นายคาร์ลอส ซึ่งเริ่มปูพื้นฐานของธุรกิจกลุ่มคาร์โซ เมื่อปี 1965 โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับการก่อสร้าง และได้ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วสู่การซื้อขายที่ดินและธุรกิจด้านการค้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ หลากหลายประเภท

ในภาคอุตสาหกรรม กล่มคาร์โซ ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง พลังงาน อิเลคโตรนิกส์ รถยนต์ และการสือสาร ภายใต้บริษัท Condumex และมีการผลิตและขายบุหรี่ภายใต้บริษัท Cigatam ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนกับบริษัท Phillip Morris ของสหรัฐฯ

ในภาคก่อสร้าง กลุ่มคาร์โซมีบริษัท Pc Constructores เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารสำหรับธุรกิจในกลุ่มและให้แก่โครงการที่ประมูลได้จากภาครัฐ บริษัท Swecomex เป็นผู้ผลิตเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับบ่อเจาะน้ำมันในทะเล บริษัท CICSA ดำเนินการติดตั้งท่อและศูนย์วิทยุ บริษัท CILSA เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา โดยเน้น โครงการสร้างถนนและโรงบำบัดน้ำ และล่าสุดมีบริษัท Urvitech ดำเนินการโครงการการเคหะ

ในด้านการขายปลีก กลุ่มคาร์โซ มีบริษัท Grupo Sanborns ดูแลทรัพย์สินของศูนย์การค้า Loreto และ Cuicuilco บริษัท Sanborn Hermanos ที่ดูแลร้านอาหารและการขายปลีกยี่ห้อ Sanborns บริษัท Administracion Integral de Alimientos ดูแลร้านอาหารยี่ห้อ Dennys บริษัท Promotora Musical ที่ดูแลร้านขายปลีก Mixup บริษัท Sears Roebuck de Mexico บริหารห้างสรรพสินค้า Sears และ Dorian´s

สำหรับธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเป็นธุรกิจของนายคาร์ลอส สลิมที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด เนื่องจากเป็นบริษัทที่ครองตลาดของโทรศัพย์ตามบ้านเรือนในเม็กซิโก อันได้แก่บริษัท Telmex การบริการด้านมือถือ Telcel และบริการโทรศัพย์และมือถือในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา 17 ประเทศภายใต้บริษัท America Movil กิจกรรมด้านโทรคมนาคมทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของกลุ่ม Carso Global Telecom

นอกจากนี้แล้ว นายคาร์ลอส สลิมมีบริษัทให้บริการการเงิน ซึ่งให้บริการธนาคาร การประกัน กองทุนบำนาญ และเครดิตรถยนต์ นั่นคือบริษัท Grupo Financiero Inbursa

อาณาจักรธุรกิจของนายคาร์ลอส สลิม กลุ่ม Carso มีรายได้ต่อปี มูลค่าประมาณ 76.2 พันล้านเหรียญ ยอดกำไรสำหรับไตรมาสแรกปี 2008 มูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันในปี 2007 โดยรายได้หลักจากบริการโทรศัพย์ของ Telmex ได้ลดลงเนื่องจากมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น และลูกค้าเดิมหันไปใช้โทรศัพย์มือถือมากกว่าสายในบ้าน กลุ่มคาร์โญจ้างงานโดยตรงประมาณ 220,000 คน

วิกฤตการณ์การเงินปี 2008 โดยเฉพาะการลดค่าเงินเปโซได้มีผลกระทบต่อมูลค่าประเมินของกลุ่มคาร์โซ ได้สูญเสียมูลค่าไปประมาณ 22 พันล้านเหรียญ ในขณะเดียวกัน ได้เป็นโอกาสการขยายธุรกิจ โดยกลุ่ม Financiero Inbursa ได้ซื้อหุ้นของหนังสือพิมพ์ New York Times (6.4%), ห้างสรรพสินค้า Saks Avenue (25 ล้านหุ้น สัดส่วนประมาณร้อยละ 18) บริษัทสำรวจเจาะน้ำมัน Bronco Drilling ของสหรัฐฯ (2.2 ล้านหุ้น สัดส่วนร้อยละ 7.6 )และกลุ่มการเงิน Citigroup (26 ล้านหุ้น มีสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 1)

ข้อมุลเพิ่มเติม:
บทความหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจเกี่ยวกับนายคาร์ลอส สลิม

Sunday, November 23, 2008

Size matters

Size matters, บทความเกี่ียวกับขนาดของตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลกเทียบกับตลาดต่างๆ ในเอเชีย

Friday, November 21, 2008

Mexican companies lose on derivatives

ธรุกิจสำคัญของเม็กซิโกประสบปัญหาการเงินเนื่องจากสัญญาตราสารอนุพันธ์ (derivative) ที่ผูกกับอัตราแลกเปลี่ยน

กรณีเครือธุรกิจขายปลีก บริษัท Controladora Comercial Mexicana: มูลค่าหนี้้ตราสารอนุพันธ์ประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2008 ตลาดหลักทรัพย์เม็กซิโก (BMV) ได้ประกาศระงับการซื้อขายหุ้น ของบริษัท Controladora Comercial Mexicana เจ้าของเครือข่ายซุปเปอร์มาร์เก็ตสำคัญของเม็กซิโก เนื่องจากการเทขายหุ้นของบริษัทฯ อันเป็นผลให้ราคาหุ้นลดเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่า หลังจากบริษัทได้แจ้งข่าวหนี้เงินสกุลดอลลาร์ที่ได้ขยายตัวอย่างฉับพลันหลังจากค่าเงินเปโซตก อันเป็นผลให้บริษัทฯ ต้องขอสถานะล้มละลาย ต่อศาลแพ่งในเม็กซิโก เพื่อขอรับการป้องกันการไล่หนี้จากเจ้าหนี้ นั่นคือ บริษัทที่เป็นคู่ค้าสัญญาตราสารอนุพันธ์ ซึ่งมีบริษัท JP Morgan, Barclays Plc, Golman Sach Groups Inc, และ Merill Lynch จากสหรัฐฯ และบริษัทการเงิน Santander และ Banamex ของเม็กซิโก โดยบริษัทการเงินของสหรัฐฯ ทั้งหมดได้ยื่นฟ้องบริษัท Comercial Mexicana ว่าได้ผิดสัญญาตราสารอนุพันธ์

บริษัท Comercial Mexicana ได้แจ้งว่าสัญญาตราสารอนุพันธ์ที่ผูกกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากมูลค่าของหนี้สินที่มีอยู่ในเงินสกุลดอลลาร์ ได้มีผลทำให้บริษัทฯ มีหนี้เพิ่มอย่างฉับพลันจำนวนประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจากบริษัทฯ ได้ผูกสัญญาตราสารอนุพันธ์ไว้กับอัตราแลกเปลี่ยนเงินเปโซที่ประมาณ 11 เปโซต่อเหรียญ แต่ในขณะนี้ ค่าเงินเปโซได้ตกไปที่ประมาณ 13 เปโซต่อเหรียญ

ศาลเม็กซิโกได้ปฏิเสธการอนุมัติสถานะล้มละลายแก่บรษัท Comercial Mexicana เป็น 2 ครั้งในเดือนตุลาคม แต่บริษัทฯ ยืนยันยื่นขออีกเป็นครั้งที่สามเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน และล่าสุดองค์กรรัฐบาลของเม็กซิโก อันได้แก่ สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา (Nacional Financiera-Nafin) ได้ให้ความช่วยเหลือด้วยการอนุมัติวงเงินกู้จำนวน 3 พันล้านเปโซ เป็นเงินหมุนเวียนเพื่อการจ่าย supplier

อย่างไรก็ตาม บริษัท Comercial Mexicana ยังต้องแก้ปัญหาหนี้ที่เกิดขึ้นจากสัญญาตราสารอนุพันธ์จำนวน 1 พันล้านเหรียญฯ โดยบริษัทฯ ได้ว่าจ้างให้บริษัท Credit Suisse Mexico เป็นผู้ดำเนินการการปรับโครงสร้่างหนี้ โดยบริษัทฯ ได้ให้ข่าวว่าจะไม่ขายหรือรวมบริษัท (sold or merged) เนื่อจากบริษัท Comercial Mexicana จะสามารถระดมเงินเพื่อจ่ายหนี้ได้จากการขายอสังหริมทรัพย์ที่มีอยู่ ซึ่งมีมูลค่ารวมอยู่ประมาณ 3 พันล้านเหรียญฯ

บริษัท Controladora Comercial Mexicana ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1944 ปัจจุบันมีลูกจ้างจำนวน 40,480 คน โดยมีเครือข่ายจำหน่ายสินค้าในยี่ห้อต่าง ๆ เช่น Comercial Mexicana, City Market, Mega, Bodega CM, Sumesa และ Alprecio ทั้งหมด 214 แห่ง รวมทั้งร้านอาหารยี่ห้อ California อีก 71 แห่ง และมีหุ้นร่วมทุนกับบริษัท Costco ของสหรัฐฯ เป็นเจ้าของยี่ห้อ Costco ในเม็กซิโก ยอดขายรวมของธุรกิจในเครือของกลุ่ม Controladora Comercial Mexicana มีมูลค่า 52.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยยอดขายสำหรับไตรมาศ 3 ปี 2008 มีมูลค่า 13.9 พันล้านเหรียญฯ

กรณีผู้ผลิตแก้ว บริษัท Vitro: มูลค่าหนี้ตราสารอนุพันธ์ประมาณ 267 ล้านเหรียญ
บริษัท Vitro เป็นผู้ผลิตขวดแก้วที่ใหญ่ที่สุดในเม็กซิโก ก่อตั้งเมื่อปี 1900 โดยมีศูนย์กลางการผลิตที่รัฐ Monterrey มียอดขายในปี 2007 มูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีลูกจ้างจำนวน 24,442 คน มีฐานการผลิตใน 10 ประเทศ และตลาดส่งออกมากกว่า 50 ประเทศ

ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2008 บริษัท Vitro ได้ซื้อตราสารอนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากราคาแก๊ซเพิ่ม ค่าเงินเปโซ และอัตราดอกเบี้ย แต่เนื่องจากราคาแก๊ซได้ลดลงแทนที่จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ ต้องเสียค่าต่างเรียก (margin call) จำนวน 267 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีผลกระทบต่อการหมุนเวียนเงินสดเพื่อการดำเนินกิจกรรม และได้ส่งผลให้ราคาหุ้นและราคาพันธบัตรซึ่งบริษัท Vitro เสนอขายในตลาดหลักทรพัย์ที่เม็กซิโกและนิวยอร์คตกต่ำจนเป็นเหตุให้ Standard & Poor's ลดระดับหุ้นบริษัท Vitro เป็นระดับ B ซึ่งเป็นระดับต่ำกว่าหุ้นที่ได้รับการแนะนำน่าลงทุน 4 ระดับ
ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2008 บริษัท Vitro ได้ประกาศ การนำอสิงหริมทรัพย์เข้ากองทุนเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน กับธนาคาร Bancomext เพื่อเปิดวงเงินกู้เสริมเงินทุนหมุนเวียน และนอกจากนี้ ยังได้รับอนุมัติเงินกู้จำนวน 100 ล้านเหรียญฯ จากธนาคารเพื่อการพัฒนา(Nafin) โดยกลุ่มการเงิน Blackstone เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการแก้สัญญาตราสารอนุพันธ์และการปรับโครงสร้างการเงิน

กรณีผู้ผลิตและจำหน่ายแป้งสาลี และทอร์ติยา บริษัท Gruma: สูญเสีย 291 พันล้านเหรียญ
บริษัท Gruma ได้ดำเนินกิจการผลิตแป้งสาลีและทอร์ติยาซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเม็กซิกันมาตั้งแต่ปี 1949 ในปัจจุบันมีโรงงานทั้งหมด 88 แห่ง ลูกจ้างจำนวน 17,000 คน จำหน่ายแป้งสาลี ทอร์ติยา และผลิตภัณ์ข้าวโพดในตลาดต่างประเทศมากกว่า 50 ประเทศ โดยในปี 2006 ได้มียอดขายรวมมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2008 ตลาดหลักทรัพย์เม็กซิโก (BMV) ได้หยุดพักการซื้อขายหุ้นบริษัท Gruma เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แต่ราคาหุ้นของบริษัทฯ ได้ตกงมากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเปิดการซื้อขาย โดยบริษัทฯ ได้แจ้งว่าฐานะอนุพันธ์มีมูลค่าติดลบอยู่จำนวน 788 พันล้านเหรียญฯ เป็นผลให้ผลการดำเนินการในไตรมาสสามมียอดขาดทุนจำนวน 1.76 พันล้านเปโซ แต่คู่สัญญาอนุพันธ์ได้ยื่นกำหนดเรียก margin call ไปจนถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน โดยบรษัทฯ ต้องจ่ายจำนวนที่ติดไว้ตามสัญญา หรือจ่ายเงินต่อสัญญาเพิ่มอีก 276 ล้านเหรียญสหรัญฯ

กรณีผู้ผลิตกระดาษ บรษัท Durango แจ้งสถานะล้มละลาย
บริษัท Corporacion Durango ได้ยื่นขอสถานะล้มละลายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 7ตุลาคม 2008 เพื่อขอการป้องกันจากเจ้าหนี้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีทั้งหมด 1.7 พันล้านเหรียญ โดยมีพันธะค่าดอกเบี้ยเงินกู้จำนวน 26.5 ล้านเหรียญฯ ซึ่งไม่สามารถจ่ายเจ้าหนี้ได้ เนื่องจากภาวะค่าไฟฟ้าและน้ำมันสูงขึ้น ค่าเงินเปโซตก ได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น รวมกับตลาดที่หดตัวเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจหดตัวและการแข็งขันที่เพิ่มขึ้น

ทนายความของบริษัท Durango ได้ให้ข่าวว่า บริษัทฯเคยขอสถานะล้มละลายในปี 2004 เพื่อปรับโครงสร้างหนี้มาแล้วหนึ่งครั้ง และคาดว่าการปรับหนี้ครั้งนี้ คงไม่ประสบปัญหามากเนื่องจากบริษัทฯ สามารถขายกิจการ ย่อยบางแห่งที่มีอยู่ในสหรัฐฯ

บริษัท Durango ได้เริ่มกิจกรรมการผลิตกระดาษสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม เมื่อปี 1982 มีโรงงานผลิตกระดาษที่สหรัฐฯ เม็กซิโก และในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เป็นผู้ผลิตกระดาษอุตสาหกรรมที่สำคัญในทวีปอเมริกา

บริษัท Compania Minera Autlan จ่าย 40 ล้านเพื่อยกเกสัญญาอนุพันธ์ดอลลาร์ และแก๊ซ
บริษัท Autlan เป็นผู้ผลิตแร่ manganese สำคัญในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ได้แจ้งข่าวให้ตลาดหลักทรัพย์เม็กซิโกว่า ได้จ่ายค่ายกเลิกสัญญาอนุพันธ์ที่ผูกไว้กับอัตราแลกเปลี่ยนและราคาแก๊ซเป็นจำนวน 40 ล้านเหรียญฯ ซึ่งจะมีผลทำให้กำไรบริษัทฯ ในไตรมาส 4 แสดงผลขาดทุนจำนวน 25 ล้านเหรียญฯ

ตามรายงานข่าว "Rescata el Gobierno a empresas, da crédito a Comercial Mexicana por 3 mil mdp" ได้แจ้งรายชื่อบริษัทอื่น ๆ ที่ได้ประสบปัญหาการเงินเนื่องจากค่าเงินเปโซตก และได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา ได้แก่ บริษัท Cemex, COPPAL, Arrendadora Banregio, Soriana และ Arrendadora Unifir

แหล่งข่าว: The News, Bloomberg, OEM, Businessweek, Google Finance, และหน้าเวปของบริษัทต่าง ๆ ตามที่ได้ใส่ link ไว้

ข่าวอื่น ๆ เกี่ยวกับค่าเสียหายที่เกิดจากตราสารอนุพันธ์:
http://www.businessworld.in/index.php/Markets-Finance/As-Derivative-Deals.html
http://www.forbes.com/reuters/feeds/reuters/2008/10/22/2008-10-22T185442Z_01_N22377215_RTRIDST_0_MEXICO-DERIVATIVES.html

Tuesday, November 18, 2008

Auto sales drop, but exports increase

การส่งออกของรถยนต์จากเม็กซิโกเพิ่มขึ้น

นาย Eduardo de Solis นายกสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งเม็กซิโก (AMIA) ได้รายงานว่า สถิติการส่งออกรถยนต์ประจำเดือนตุลาคม 2008 รวมทั้งหมด 167,497 คัน เป็นมูลค่าเพิ่มร้อยละ 15.5 เมื่อเที่ยบกับยอดการส่งออกเดือนเดียวกันเมื่อปี 2007 โดยเป็นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ 116,944 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเที่ยบกับเดือนตุลาคมปี 2007 ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป 21,165 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศละตินอเมริกา 11,955 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30

ทั้งนี้การผลิตสำหรับเดือนตุลาคมได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8  นั่นคือ 214,589 คัน โดยมีค่าเงินเปโซที่อ่อนตัวลงเป็นปัจจัยช่วย นาย Solaris ได้เพิ่มเติมว่า การส่งออกที่เพิ่มไปยังตลาดสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เป็นการแสดงให้เห็นผลสำเร็จของแผนการส่งเสริมการกระจายตลาดจากการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ เพียงตลาดเดียวในสองสามปีที่ผ่านมา

สำหรับหภาวะการจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศได้ลดลง เนื่องจากภาวะสินเชื่อที่หดตัวและค่าเงินที่ต่ำลงล้วนเป็นปัจจัยทำให้ผู้ซื้อชาวเม็กซิกันชลอการซื้อรถยนต์  ยอดขายรถยนต์ในเม็กซิโกในเดือนตุลาคม 2008 ลดลงร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกันช่วงเดียวกันเมื่อปี 2007  ผู้จำหน่ายรายใหญ่สองอันดับแรก ซึ่งมีส่วนแบ่งการครอลตลาดร่วมกันร้อยละ 33 ได้แก่ บริษัท Ford และ Gneral Motors ได้รายงานว่า ยอดขายลดลงร้อยละ 15 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ  ยอดขายที่ลดลงดังกล่าวเป็นแนวโน้มที่ได้มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 เดือนแล้ว

สมาคมผู้แทนจำหน่ายรถยนต์เม็กซิกัน คาดว่ายอดขายรถยนต์ภายในประเทศสำหรับปี 2008 จะมียอดประมาณ 1.06 ล้านคัน  และได้ออกแถลงการณ์ขอให้รัฐบาลเม็กซิโกดำเนินมาตรการป้องกันการนำเข้ารถยนต์ใช้แล้วในปี 2009 เพื่อบรรเทาภาวะตลาดภายในประเทศที่อ่อนตัวลง

แหล่งข่าว: The News, 12/12/08
สมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งเม็กซิโก: AMIA
สมาคมผู้แทนจำหน่ายรถยนต์เม็กซิกัน: AMDA

Wednesday, November 12, 2008

Remittances jump on weak peso

มูลค่าเงินส่งกลับของคนงานเม็กซิกันในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเนื่องจากค่าเงินเปโซลดลง

ปรากฏการณ์เงินโอนกลันที่สูงที่สุดในโลก
ปรากฎการณ์คนงานเม็กซิกันข้ามชายแดนไปหางานในสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สืบเนื่องจากการที่เม็กซิโกและสหรัฐฯ มีชายแดนร่วมกันประมาณ 3,360 กิโลเมตร สหรัฐอเมริกามีคนต่างด้าวที่มีถิ่นฐานเดิมจากเม็กซิโกเป็นกลุ่มคนต่างด้าวในสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดประมารณ 6 ล้านคน และมีแรงงานที่ไม่มีเอกสารอย่างเป็นทางการอีกประมาณ 6 ล้านคน

มูลค่าเงินโอนกลับประมาณสองหมื่นล้านเหรียญฯ ต่อปี
ประเทศเม็กซิโกเป็นประเทศที่รับเงินโอนกลับจากแรงงานในต่างประเทศมากที่สุดในโลกมาเป็นเวลาหลายปี โดยในปี 2001 เริ่มมีเงินโอนกลับจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2003 มีเงินโอนกลับจากแรงงานเม็กซิกันในสหรัฐฯ 18.1 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2004 เงินโอนกลับจำนวน 24.7 พันล้านเหรียญฯ และในปี 2007 จำนวน 23.97 พันล้านเหรียญฯ

เงินโอนกลับจากต่างประเทศดังกล่าวเป็นรายได้ในเงินตราต่างประเทศที่สำคัญเป็นอันดับสองหรือสามของประเทศเม็กซิโก รองจากรายได้จากการส่งออกน้ำมัน และมูลค่ารวมของการส่งออกโดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก (maquiladora) ทั้งหมด และมากกว่าเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าประเทศในแต่ละปี

เงินโอนกลับช่วยพยุงเศรษฐกิจโดยย้อมทางวัฏจักรธุรกิจ
ความสำคัญของเงินโอนกลับจากแรงงานเม็กซิกันในสหรัฐฯ เป็นเอกลักษณ์พิเศษของเศรษฐกิจเม็กซิโก และได้มีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบ ข้อดีข้อเสียของเงินโอนกลับดังกล่าว โดยหน่วยงานของรัฐบาลเม็กซิกันและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง สรุปใจความสำคัญได้ว่า เงินโอนกลับดังกล่าวได้มีส่วนช่วยเหลือ เป็นตัวพยุงเศรษฐกิจของเม็กซิโกที่สำคัญ โดยเงินโอนกลับมักจะมีความเคลื่อนไหวที่สวนทางกับวัฏจักรธุรกิจ นั่นคือ เมื่อกิจกรรมธุรกิจลดลงการส่งเงินกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลในท้องถิ่นของรัฐที่รองรับเงินโอนกลับจำนวนมาก โดยเฉพาะรัฐที่มีรายได้ต่ำจากภาคใต้ของเม็กซิโก ได้เริ่มนโยบายส่งเสริมให้เงินโอนกลับช่วยเพิ่มการพัฒนาการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หรือการก่อตั้งธุรกิจขนาดย่อมในระดับท้องถิ่น โดยรัฐเหล่านี้มีแผนการให้เงินสมทบเงินทุนเป็นสองเท่าของจำนวนเงินโอนกลับที่นำไปลงทุนในกิจกรรมดังกล่าว

วิกฤตการณ์การเงินในสหรัฐฯ ปี 2008
ธนาคารชาติเม็กซิโก ได้เริ่มจับตาดูความเคลื่อนไหวของเงินโอนกลับจากแรงงานในสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดตั้งแต่ปลายปี 2007 เมื่อมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยและเริ่มมีแนวโน้มการส่งคนงานเม็กซิกันกลับมากขึ้น (โดยเฉพาะจากภาคก่อสร้างซึ่งเป็นภาคที่จ้างแรงงานเม็กซิกันมากที่สุด และเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ sub-prime morgage มากที่สุด)

ในเดือนสิงหาคม 2008 ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าเงินของเม็กซิโกแข็งตัวที่สุด ในอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 9 เปโซต่อเหรียญฯ ธนาคารกลางเม็กซิโกเริ่มวิตกกังวลว่าแนวโน้มการโอนเงินกลับจะลดลงมาก โดยในเดือนสิงหาคม 2008 เงินโอนกับได้แสดงมูลค่าลดลงร้อยลุ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 12 ปี

อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคม 2008 ตัวเลขมูลค่าเงินโอนกลับเริ่มแสดงผลในทางบวกเนื่องจากค่าเงินเปโซที่อ่อนตัวลงประมาณร้อยละ 20 โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ประมาณ 13 เปโซต่อเหรียญฯ เป็นผลให้ธนาคาร BBVA Bancomer แจ้งมูลค่าเงินโอนกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 58 เมื่อเที่ยบกับเดือนก่อน ธนาคารกลางเม็กซิโกได้เปิดเผยว่าตัวเลขเงินโอนกลับจากสหรัฐฯ ในช่วงเดือนตุลาคม 2008 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 เมื่อเที่ยบกับเดือนตุลาคมปี 2007 และการวิจัยจากธนาคารในเมือง San Diego ได้รายงานว่าคนงานเม็กซิกันได้ส่งเงินกลับมากขึ้นเป็นสามเท่าตัว ปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมการโอนกลับมากขึ้นได้แก่การลดลงของค่าธรรมเนียมการโอนเงินกลับ

ข่าวอ้างอิง: The News. 29/11/08
หน้าเวิปที่เกี่ยวข้อง:
http://www.remittances.eu/
Federal Bank of Dallas report on Mexican remittances
Morgan Stanley's report: "The end of Abundant remittances?"
http://www.migrationinformation.org/
"Survery of Mexican Migrants", www.pewhispanic.org/files/reports/42.pdf
"Migration Facts", www.migrationpolicy.org/pubs/FS19_MexicanRemittancesEnglish_091207.pdf
Word Bank's www.siteresources.worldbank.org/.../US-Mexico_Remittance_Corridor_WP.pdf

Asian growth reports

Bloomberg's Asian growth reports

Monday, November 10, 2008

Mabe, Mexican appliance giant pushes into Costa Rica

บริษัท Mabe ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน ซื้อบริษัท Atlas ของประเทศคอสตาริกา
บริษัท Mabe ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรื่อนสำคัญสำหรับตลาดเม็กซิโก ได้ก่อตั้งเมื่อปี 1945 ปัจจุบัน มีโรงงาน 15 แห่ง และจ้างงาน 23,000 คน มียอดขายปีละ 15 ล้านหน่วย มูลค่าประมาณปีละ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีตลาดส่งออกไปยังแคนาดาผ่านบริษัท Kenmore และบริษัท Camco ซึ่งเป็นเครือข่ายของ GE ในประเทศแคนาดา ซึ่งบริษัท Mabe ถือหุ้นในบริษัททั้งสองดังกล่าว และมีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ผ่านบริษัท GE ซึ่งถือหุ้นในบริษัท Mabe ร้อยละ 48

เมื่อต้นปี 2008 บริษัท Mabe ได้ซื้อบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของคอสตาริกาคือ บริษัท Atlas Electrica  ในราคา 72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ทั้งนี้ บริษัท Atlas แห่งคอสตาริกาได้ก่อตั้งเมื่อปี 1961 เป็นผู้ผลิตตู้เย็นเตาอบ ไมโคเวฟ และเครื่องปรับอากาศ  โดยครองตลาดในคอสตาริกาได้ครึ่งหนึ่งของตลาด และมีโรงงานหนึ่งแห่ง ที่เมือง Heredia จ้างงาน 1,350 คน

บริษัท Atlas ขายเครื่องใฃ่ไฟฟ้ายี่ห้อ Atlas และ Centron และเป็นตัวแทนจำหน่ายอื่น ๆ ในตลาดกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้ก่ยี่ห้อ Westinghouse Kelvinator Nedoca Frigidaire และ Blue Point  การเข้าซื้อบริษัท Atlas โดยบริษัท Mabe จะคงกาผลิตและการยี่ห้อ Altlas และ Centron เอาไว้เนื่องจากเป็นยี่ห้อที่ตลาดรู้จักดี โดยจะขยายการขายยี่ห้อ Mabe และ GE ในตลาดอเมริกากลาง

แหล่งข่าว  วารสาร Central America Today ฉบับ June/July 2008
ข้อมูล wikipedia เกี่ยวกับบริษัท Mabe
หน้าเวป ของบริษัท Mabe

Tuesday, October 28, 2008

Investments in alternative energy in Mexico

การลงทุนด้านพลังานทางเลือก

บริษัท Q-Cell

เมือเดือนมิถุนายน 2008 บริษัท Q-Cell แห่งประเทศเยอรมัน ได้ประกาศแผนการลงทุด้านพลังงานสำคัญในโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตแผ่นไฟล์มแปลงพลังแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้า ที่เมือง Mexicali รัฐ Baja California เงินลงทุนจำนวน 3.5 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งจะมีระยะเวลาการสร้างและขยายโรงงานระหว่าง 3 ถึง 5 ปี โดยคาดว่าจะมีการจ้างงานสืบเนื่องประมาณ4,500 ตำแหน่งโดย และการจ้างงานในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอีกประมาณ 13,000 ตำแหน่ง

เทคโนโลยีที่บริษัท Q-Cell พัฒนาเป็นเทคโนโลยีแผ่นไฟล์มบาง (thin film technology) ซึ่งกำลังก้าวเป็นส่วนสำคัญของตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ โดยในปัจจุบัน บริษัท Q-Cell มีสัดส่วนแบ่งการครองตลาดอยู่ร้อยละ 10 ของตลาดแผงผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์

โครงการลงทุนของบริษัท Q-Cell เป็นแผนการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดที่ได้ประกาศในรอบปี 2008 ทั้งนี้ โครงการลงทุนใหญ่อีก 2 โครงการได้แก่ โครงการลงทุนของบริษัท Ford จำนวน 2.4 พันล้านเหรียญฯ และโครงการลงทุนของบริษัท Bombardier จำนวน 250 ล้านเหรียญฯ

รองประธานบริษัท Q-Cell นาย Leo Van der Holst ได้กล่าวว่า บริษัท Q-Cell มีเป้าหมายการผลิตเพื่อป้อนตลาดสหรัฐฯ เม็กซิโก และลาตินอเมริกา

ประธานาธบดีเม็กซิโก นายคาลเดรอนได้แสดงความยินดีต้อนรับการลงทุนดังกล่าวและได้กล่าวว่ารัฐบาลเม็กซิโกจะสนับสนุนการลงทุนในพลังงานททางเลือกโดยมาตรการด้านภาษี และการสนับสนุนผู้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ให้สามารถขายพลังงานส่วนเกินให้กับการไฟฟ้าของเม็กซิโกได้

แหล่งข่าว: The News (06/06/08, 06/11/08) และ "Q-Cells largest producers in 2007"
หน้าเวปที่เกี่ยวข้อง:
การไฟฟ้าของเม็กซิโก (CFE) Comision Federal de Electricidad,
Fideicomiso para el Ahorra de Energia Electrica
Asociacion Nacional para Energia Solar และ
บทความเกี่ยวกับประสิทธิภาพพลังงานในเม็กซิโก Energy Efficiency

กองทุนสนับสนุนที่อยู่อาศัยคนงาน ให้เงินกู้แก่เจ้าของบ้านเรือนเพื่อการติตั้งหม้อต้มน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์

กองทุนสนับสนุนที่อยู่อาศัยคนงาน (Infonavit) มีโครงการเพิ่มเติมเงินกู้สำหรับผู้ซื้อบ้านใหม่จำนวนหลังละประมาณ 15,000 เปโซ สำหรับการติดตั้งหม้อต้มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อช่วยประหยังค่าพลังงาน โดยกองทุนฯ มีเป้าหมายที่จะให้เงินกู้เพื่อพลังงานดังกล่าวทั้งหมด 50,000 รายในสิ้นปี 2008 และเพิ่มเป็น 200,000 รายต่อปีในปีถัดไป

บริษัท GISSA (Grupo Industrial Saltillo) ได้ประกาศว่าจะเพิ่มการผลิตหม้อต้มน้ำพลังแสงอาทิตย์ยี่ห้อ Solei เป็น 100,000 หน่วยต่อปี เพื่อรองรับนโยบายดังกล่าวข้างต้น

ข่าว The News 08/26/08

บริษัท Energias de Portugal สนใจลงทุนในการผลิตพลังงานจากลมในเม็กซิโก

บริษัทพลังงานของประเทศโปรตุเกส ซึ่งกลายเป็นผู้ผลิตพลังงานจากลมอันดับ 4 ของโลกเมื่อปี 2007 หลังจากการซื้อบริษัท Horizon Wind Energy ของรัฐ Texus ได้ออกหุ้นเพื่อระดุมทุนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2008 จำนวนหุ้น 225 ล้านหุ้น มูลค่าประมาณ 8 พันล้านเหรียญยูโร เพื่อขยายพื้นที่การผลิตพลังงานงานจากลมในประเทศโปแลดนด์และสหรัฐฯ และได้ประกาศว่า บริษัท EDP มีความสนใจขยายการลงทุนในประเทศแคนาดาและเม็กซิโกต่อไป

บริษัท Gamesa ของประเทศเสปน ขายเครื่องปั่นไฟสำหรับแปลงพลังงานจกาลมให้กับบริษัท Iberdrola Renovables เพื่อป้อนพลังงานจากลมให้กับประเทศเม็กซิโกและสาธารณรัฐดอมินิกัน โดยในประเทศเม็กซิโก ได้ผลิตพลังาน ได้ 29.813 ล้าน khW ซึ่งมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 11 ของพลังงานทั้งหมดในเม็กซิโก โดย Iberdrola ได้ลงทุนจำวน 288 ล้านยูโรในประเทศเม็กซิโกในปี 2007

ข่าว The News (05/22/08, 06/19/08)

Wednesday, October 22, 2008

Mexico imports $5 billion from Italy

ประเทศอิตาลีเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศยุโรป (รองจากประเทศเยอรมัน) โดยมีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 5 พันล้านเหรียญฯ เป็นสินค้าในจำพวกเครื่องจักร สิ่งก่อสร้าง และสินค้า fashion and design

การส่งออกของอิตาลีได้ขยายตัวในอัตราร้อยละ 20 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยการส่งออกเครื่องจักอุตสาหกรรม เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญสุด มูลค่าการส่งออกประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญฯ

นาย Andrea Ferrari ผู้อำนวยการสถาบันการค้าของอิตาลี ได้กล่าวว่ามีบริษัทของอิตาลีที่ดำเนินกิจการในเม็กซิโกประมาณพันกว่าแห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมขนาดกลางและดำเนินธุรกิจอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น การให้บริการสำหรับรถยนต์ยี่ห้อ Ferrari บริษัทที่มีการลงทุนขนาดใหญ่โดยมีโรงงานในเขต Monterrey และ San Luis Potosi ได้แก บริษัท Barrilla ซึ่งเป็นผู้ผลิตเส้นพาสต้า และบริษัท Zoppas ผู้ผลิตอุปกรณ์ใช้ในบ้านเรือน

นาย Andrea ได้กล่าวว่าการผู้ส่งออกจากอิตาลียังไม่ค่อยมีความคุ้นเคยกับตลาดของเม็กซิโก และผู้นำเข้าของเม็กซิโกจะทำการนำเข้าสินค้าของอิตาลีผ่านผู้ส่งออกสหรัฐฯ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดระหว่างทั้งสองประเทศซึ่งมีโอกาสการขยายตัวได้อีกมาก โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่มีคุณภาพสูง

แหล่งข้อมูล: The News (10/13/08)

Packaged food market growing 25%

อาหารสำเร็จรูปประเภทบรรจุห่อ เช่น นมถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์นมไร้แล้คตอส ชา เครื่องดื่มสุขภาพ ของทานเล่น อาหารสุขภาพ เป็นกลุ่มอาหารที่มียอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงโดยรวมร้อยละ 25

ในปี 2008 คาดว่าจะมียอดขายสำหรับอาหารบรรจุห่อ ทั้งปีจะมีมูลค่าประมาณ 43 พันล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ร้อยละ 16 และคาดว่า ตลาดของอาหารบรรจุห่อในเม็กซิโก จะมีมูลค่าประมาณ 65 พันล้านเหรียญฯ ภายในปี 2013
รายงานข่าวจาก The News (10/02/08) รายละเอียดของงานวิจัยตลาดจัดหาได้เพิ่มเติมจาก Euromonitor International

Monday, October 20, 2008

Private heathcare gaining ground in Central America

ประเทศกลุ่มอเมริกากลางส่งเสริมการท่องเที่ยวบริการสุขภาพ

รัฐบาลเอลซาวาดอร์ คอสตาริกา ฮอนดูรัส และกัวเตมาลา ได้เริ่มสนับสนุนการให้บริการด้านการแพทย์และสุขภาพให้แก่นักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ และประชาชนของกลุ่มประเทศเหล่านี้ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ให้มีความสนใจเดินทางเข้าประเทศเหล่านี้ เพื่อการใช้บริการด้านสุขภาพ  โดยโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งได้พัฒนาการให้บริการในระดับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ  และให้ความสะดวกและค่าบริการที่มีราคาที่แข่งขัน

ยกตัวอย่างเช่น โรงพยายาล CIMA ในเมือง San Jose ประเทศคอสตาริกามีคนไข้หนึ่งในสามซึ่งเป็นชาวต่างชาติจากสหรัฐฯ แคนาดา และยุโรป  ปัจจัยสำคัญที่ช่วยดึงดูดคนไข้กลุ่มนี้มาใช้บริการในคอสตาริกา เป็นเพราะการเชื่อมโยงกับบริษัทประกันสุขภาพสำคัญๆ ของประเทศเหล่านั้น  และบริษัทประกันของละตินอเมริกาได้แนะนำให้ลูกค้าใช้บริการของโรงพยาบาลฯ  นอกจากนี้แล้ว นายแพทย์ในคอสตาริกามักทำงานทั้งในโรงพยาบาลของรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน คนไข้ในระดับผู้มีรายได้สูงจึงนิยมไปใช้บริการที่สะดวกกว่าในโรงพยาบาลเอกชน  โดยประมาณร้อยละ 25 ของประชากรคอสตาริกาและฮอนดูรัสนิยมใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน

ในบางแห่ง โรงพยาบาลของกลุ่มประเทศอเมริกากลาง มีความร่วมมือพิศษแลกเปลี่ยนการฝึกหัดแพทย์และพยาบาล กับโรงพยาบาลในสหรัฐฯ และได้รับความช่วยเหลือหรือการลงทุนในการซื้อเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยที่สุด

สำหรับประเทศฮอนดูรัส ได้เน้นการให้บริการด้านศัลยกรรมตกแต่ง และการผ่าตัดทั่วไป โดยค้นไข้ในสหรัฐฯ สามารถส่งประวัติสุขภาพ ผลตรวจสอบและคำถามต่างๆ ผ่านอีเมล์ไปยังแพทย์ในฮอนดูรัส เป็นการเอื้ออำนวยการโอนฝากไข้ระหว่างสหรัฐฯ และฮอนดูรัส  การเติบโตของภาคโรงพยาบาลในฮอนดูรัสส่วนหนึ่งมาจากการส่งเงินกลับประเทศของชาวฮอนดูรัสที่อพยพไปอยู่หรือทำงานในสหรัฐฯ เป็นผลช่วยให้โรงพยาบาลเอกชนเติบโดถึงสามเท่าตัวในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา

องค์การอานามัยโลก (WHO) ได้จัดอันดับการให้บริการด้านการแพทย์และสุขภาพของคอสตาริกา เป็นอันดับที่ 36 ของโลก สูงกว่าคุณภาพการให้บริการด้านการแพทย์และสุขภาพของสหรัฐฯ

แหล่งอ้างอิง: วารสาร Central America Today ฉบับ June/July 2008

หน้าเวปที่เกี่ยวข้อง:
Cima Hospital, San Jose, Costa Rica.
Centro Medico de Guatemala
Hospital de Diagnostico, El Salvador
CEMESA, Honduras
Clinica Biblica, Costa Rica
บทความเกี่ยวกับบริการสุขภาพในเอลซาวาดอร์ (ภาษาเสปน)

Meat export freezes

อุตสาหกรรมการผลิกและส่งออกเนื้อสัตว์ชลอการขยายตัว ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ตลาดส่งออกมีปัญหา

สภาเนื้อสัตว์แห่งเม็กซิโก Consejo Mexicano de la Carne -CMC ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2008 ว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมผู้ผลิตเนื้อสัตว์ของเม็กซิโกได้ชะลอตัวลง เนื่องจากราคาอาหารเลี้ยงสัตว์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก ทั้งนี้ อาหารเลี้ยงสัตว์มีสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่งของต้นทุนการผลิตเนื้อสัตว์โดยรวม นอกจากนี้แล้ว การส่งออกไปยังสหรัฐฯ เริ่มมีปัญหา เนื่องจากผู้นำเข้าสหรัฐฯ มีความสงสัยในมาตรฐานการผลิตของเม็กซิโก

ต้นทุนราคาอาหารเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นโดยคาดว่าค่าขนส่งข้าวโพดจะเพิ่มขึ้นจากตันละ 15 เหรียญ เป็น 30 เหรียญฯ ต่อตัน ในปลายปี 2008 เนื่องจากราคาค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ประเทศเม็กซิโกนำเข้าข้าวโพดเพื่ออาหารสัตว์จากต่างประเทศทั้งหมด

ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ของเม็กซิโกมีความสามารถผลิตได้ประมาณปีละ 1.6 ล้านตัน เพื่อการบริโภคภายในประเทศ และมีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ประมาณปีละ 20,000 ตัน

เมื่อวันที่ 4 กันยายน ผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ไปยังสหรัฐฯ จำนวน 9 ราย จากผู้ส่งออกทั้งหมด 38 ราย ได้งดการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจคุณภาพอาหารเข้าตรวจโรงงานอย่างเข้มงวด


แหล่งข้อมูล: The News (10/15/08) และ usatoday.com
งานวิจัยเกี่ยงกับอุตสาหกรรมเนื้อหมูของเม็กซิโก:
The Changing Structure of Pork Trade, Production and Processing in Mexico

Mexico phases out anti-dumping taxes for Chinese imports

เม็กซิโกยกเลิกภาษีป้องกันการทุ่มตลาดสินค้านำเข้าจากจีนบางรายการ

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม คศ. 2008 กระทรวงการต่างประเทศเม็กซิโกได้ประกาศอย่างเป็นทางการ การมีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 ตุลาคม คศ. 2008 การยกเลิกมาตรการการป้องกันการทุ่มตลาดสำหรับสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศจีน ที่ประเทศเม็กซิโกได้กำหนดมาตรการป้องกันการทุ่นตลาดเพื่อปกป้องกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการที่ประเทศจีนได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก เมื่อปี 2001 จำนวนทั้งสิ้น 953 รายการ

ทั้งนี้ หมวดสินค้า 749 รายการเป็นการยกเลิกการเก็บภาษีพิเศษโดยสิ้นเชิง ให้มีการเก็บภาษีตามอัตราภาษีปกติ และสำหรับสินค้าอีก 204 รายการ ให้มีมาตรการปรับลดหย่อนภาษีเป็นระยะ โดยมีกำหนดระยะการปรับลดให้สิ้นสุดภายในวันที่ 11 ธันวาคม คศ. 2011 สำหรับกลุ่มสินค้าที่รัฐบาลเม็กซิโกถือว่ามีความอ่อนไหวพิเศษ เช่น กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน หม้อแปลง ลิ้นปิดเปิดสำหรับเครื่องยนต์ บาหลาด ไฟเช็ค และดินสอ

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโกยังมิได้ประกาศกฏกระทรวงฯ เพื่อการยกเลิกมาตรการการป้องกันการทุ่นตลาดจากประเทศจีนจำนวน 953 รายการดังกล่าว และยังต้องมีการออกประกาศอย่างเป็นทางการ แจ้งรายละเดียดของความตกลงพิเศษที่ได้ลงนามไว้กับจีนเมื่อเดือนมิถุนายน คศ. 2008 รวมทั้งการประกาศกฏระเบียบชั่วคราวสำหรับมาตรการปรับลดหย่อนภาษีเป็นระยะ และยังต้องมีการประกาศยกเลิกมาตรการด้านศุลกากร 15 ประการ ที่เป็นขั้นตอนการดำเนินการของหน่วยงานศุลกากรที่ใช้ในการพิจารณาว่า สินค้าจีนที่นำเข้านั้นมีราคานำเข้าที่ไม่ได้รับการอุดหนุนและเป็นธรรม

ตัวอย่างภาษีป้องกันการทุ่มตลาดที่จะยกเลิกไป ได้แก่ สำหรับสินค้ารองเท้า ซึ่งเดิมมีภาษีป้องกันการทุ่มตลาดระหว่างร้อยละ 232 ถึง 1105 จะปรับลดลงเหลือเพียงร้อยละ 100

สำหรับด้ายปั่นและด้ายสำหรับถักทอ เดิมมีภาษีป้องกันร้อยละ 501 แต่การเจรจากับรัฐบาลจีนให้ลดลงเหลือร้อยละ 78 ภายในปี 2011 แต่จะเริ่มลดลงโดยทันทีเป็นภาษีร้อยละ 110 แล้วค่อย ๆ ปรับลดลงใน 3 ปีข้างหน้า

สำหรับดินสอเดิมมีภาษีป้องกันร้อยละ 451 ลดลงเป็นร้อยละ 350 จักรยานเดิมมีภาษีร้อยละ 144 ลดลงเป็นร้อยละ 80 เครื่องมืออุปกรณ์ ลดจากร้อยละ 312 เป็นร้อยละ 100 ของเล่น จากร้อยละ 351 เป็นร้อยละ 100 เครื่องใช้ไฟฟ้า จากภาษีร้อยละ 129 ลดเหลือร้อยละ 80

ภายหลังวันที่ 11 ธันวาคม คศ. 2011 สินค้านำเข้าจากประเทศจีนจะได้รับการปรับลดภาษี ให้เหลืออัตราภาษีตามปกติ สำหรับสินค้าที่มาจากประเทศที่ไม่ได้มีความตลกลงการค้าเสรีกับเม็กซิโก นั่นคือ ร้อยละ 35 สำหรับสินค้า จักรยาน ล็อค เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ของเล่น เครื่องไฟฟ้า สารเคมี รองเท้า เทียนไข ลิ้นปิดเปิด ไฟเช็ค ดินสอ บาหลาด และเครื่องยนต์

Monday, October 13, 2008

Contagion from US financial crisis: Mexican pesos loses value by 18%, Bolsa falls by 20%, Banxico will cut interest rates by 2.25%

ผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ ต่อเศรษฐกิจเม็กซิโก

ค่าเงินเปโซ
ประธานาธิบดีเม็กซิโกนายคาลเดรอน ได้ประกาศแผนกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจเพื่อรับมือผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ เมื่อวันพฤหัสที่ 9 ตุลาคม 2008 โดยประกาศว่า ธนาคารกลางเม็กซิโกจะขายเงินสกุลดอลลาร์ที่รัฐบาลถือเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อรักษาระดับค่าเงินเปโซไม่ให้ตกต่ำเกินควร และได้ประกาศว่าในปี 2009 ธนาคารกลางจะทยอยลดอัตราคอกเบี้ยที่ได้เพิ่มขึ้นในปี 2008 เพื่อต่อสู้ภาวะเงินเฟ้อ ให้ทยอยลดลงจนลดได้ร้อยละ 2.25 ในปี 2009

รัฐบาลเม็กซิโกจะจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการลงทุนด้านการท่องเที่ยว พลังงาน และการก่อสร้างจำนวนประมาณ 65.1 พันล้านเปโซ และมาตรการอื่น ๆ ที่รัฐบาลเม็กซิโกจะดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่การเพิ่มการลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มอีกหนึ่งแห่ง การเพิ่มการลงทุนในการศึกษา และการสนับสนุนการเงินให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

สามวันภายหลังจากได้ประกาศนโยบาย ธนาคารกลางเม็กซิโกได้ประมูลขายเงินสกุลดอลลาร์ทั้งสิ้นประมาณร้อยละ 10 ของทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นจำนวน 8.9 พันล้านเหรียญฯ โดยในวันที่ 10 ตุลาคม เพียงวันเดียวได้สูญเสียเงินสกุลดอลลาร์จำนวน 6.4 พันล้านเหรียญฯ ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินเปโซได้ลดลงจากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 11 เปโซต่อเหรียญสหรัฐฯ ตกไปถึง 14 เปโซกว่าต่อเหรียญฯ แต่ในวันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม ค่าเงินเปโซได้แข็งขึ้นที่อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 13 เปโซต่อหนึ่งเหรียญสหรัฐฯ

คาดว่าเศรษฐกิจเม็กซิโก ปี 2009 จะเติบโตเพียงร้อยละ 1.7
หน่วยวิจัยของธนาคารกลางเม็กซิโกได้ปรับตัวเลขคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจเม็กซิโกอีกครั้ง โดยคาดว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะเติบโตเพียงร้อยละ 1.7 ลดลงจากอัตราร้อยละ 2.4 ที่เพิ่งปรับลดลงเป็นครั้งที่ 2 ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญเพิ่มเติม ได้แก่ ราคาน้ำมันโลกที่ลดลงต่ำกว่าเบเรลละ 80 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นราคาที่รัฐบาลเม็กซิโกได้ใช้อ้างอิงเพื่อประมาณการณ์งบประมาณค่าใช้จ่ายของรัฐบาลสำหรับปี 2009 แต่ปรากฏว่าวิกฤตการณ์การเงินสหรัฐฯ ได้มีผลผลักดันให้ราคาน้ำมันลดลง และโดยที่ร้อยละ 40 ของงบประมาณรัฐบาลมาจากรายได้จากการขายน้ำมัน เป็นผลให้รัฐบาลต้องตัดงบประมาณลงหลายพันล้านเปโซ ทั้งนี้ สำหรับทุกหนึ่งเหรียญสหรัฐฯ ของราคาน้ำมันโลกที่ลดลง จะส่งผลให้งบประมาณของเม็กซิโกหายไปประมาณหมื่นพันล้านเปโซ (งบประมาณรัฐบาลในปี 2006 เท่ากับ 209 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)

อีกปัจจัยหนึ่งที่จะมีผลกระทบสำคัญต่อเศรษฐกิจปี 2009 ได้แก่ เงินส่งกลับจากต่างประเทศที่ลดลง โดยในเดือนสิงหาคม ธนาคารกลางเม็กซิโกได้เปิดเผยตัวเลขว่า การส่งเงินกลับจากต่างประเทศในเดือนสิงหาคม 2008 ลดลงร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ทั้งนี้ ในปี 2007 แรงงานเม็กซิกันในสหรัฐฯ ได้ส่งเงินกลับเม็กซิโกทั้งหมดในปีนั้น จำนวน 27,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นเงินตราต่างประเทศไหลเข้าอันดับสองรองจากการขายน้ำมัน

ตลาดหลักทรัพย์ BMV
ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์แห่งเม็กซิโก (Bolsa Valores de Mexico-BMV) ได้ตกลงประมาณร้อยละ 20 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา และได้มีการพักการซื้อขายหุ้นชั่วคราวของบริษัทที่ซื้อขายในตลาดฯ 30 บริษัท โดยคณะกรรมการบริหารตลาดฯ ได้สั่งให้บริษัทจำนวนนี้ แจ้งผลการดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินหรือหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้ บริษัทสำคัญ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทผู้ผลิตกระดาษที่ใหญ่ที่สุดของเม็กซิโก บริษัท Durango และบริษัท Comercial Mexicana ซึ่งเป็นเจ้าของเครือข่ายซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วเม็กซิโก ได้แจ้งสถานะการขอภาวะล้มละลาย เนื่องจากไม่สามารถชำระอัตราดอกเบี้ยของหนี้ที่มีอยู่ในเงินสกุลดอลลาร์เป็นจำนวนหลายล้านเหรียญสหรัฐฯ

Tuesday, September 30, 2008

Auto Industry in Mexico: Investment Opportunities for Thai Spare Parts

อุตสาหกรรมรถยนต์ของเม็กซิโก โอกาสการลงทุนสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย

ในปี 2007 ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกมีมูลค่า 71.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในทวีปยุโรปมียอดขาย 22.9 ล้านเหรียญ ในภูมิภาคเอเชีย มียอดขาย 21.4 ล้านเหรียญ ในสหรัฐฯ และแคนาดามียอดขายรวม 19.4 ล้านเหรียญ ในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา มียอดขายรถยนต์มูลค่า 4.4 ล้านเหรียญ ในภาคตะวันออกกลาง ยอดขายรวม 2.4 ล้านเหรียญ และในทวีปแอฟริกา 1.4 ล้านเหรียญ

ตลาดการขายรถยนต์ในภูมิภาคอเมริกาเหนือและญี่ปุ่นได้ชลอตัวลง ในขณะที่ตลาดในอเมริกาใต้และทวีปเอเชียได้ขยายตัวอย่างเข้มแข็ง ตลาดที่ขยายตัวมากที่สุดได้แก่ ตลาดรถยนต์ของประเทศรัสเซีย บราซิล และจีน

ประเทศเม็กซิโก ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 9 ของโลก และมีความสามารถผลิตได้ประมาณ 2 ล้านหน่วยต่อปี และมีการคาดคะเนว่าในปี 2011 เม็กซิโกจะมีความสามารถเพิ้มการผลิตได้เป็นผู้ผลิตอันดับ 5 ของโลก และแข่งขันกับผู้ผลิตสำคัญ ๆ เช่น สหรัฐฯ จีน อินเดีย และโสลวาเกีย

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจเม็กซิโก โดยมีส่วนแบ่งของการส่งออกทั้งหมดร้อยละ 19 มีสัดส่วนในผลผลิตรวมแห่งชาติร้อยละ 24 และจ้างแรงงานทั้งหมด 1.9 ล้านคน

วารสาร Mexico Now ได้รายงานว่า ยอดขายรถยนต์ในตลาดเม็กซิโก ในปี 2003 มีจำนวน 973,000 คัน คำนวนจากยอดนำเข้า 598,000 คัน รวมกับจำนวนรถที่ผลิตและขายได้ภายในประเทศอีก 375,000 คัน โดยมีจำนวนรถยนต์ในท้องถนน 11 ล้านคัน

อุตสาหกรรมรถยนต์ของเม็กซิโก ได้เติบโตอย่างรวดเร็วสืบเนื่องจากความตกลงเขตการค้าเสรี NAFTA และโดยที่ประเทศเม็กซิโกมีชายแดนติดกับสหรัฐฯ ผู้ผลิตสหรัฐฯ จึงย้ายฐานการผลิตลงมาที่ประเทศเม็กซิโกเพิ่มขึ้น เพื่อลดต้นทุนด้านแรงงาน โดยแรงงานในเม็กซิโกรับค่าแรงรวมสวัสดิการแล้ว ระหว่าง 8 ถึง 10 เหรียญต่อชั่วโมง ซึ่งถูกมาเมื่อเทียบกับค่าแรงของสหรัฐฯ ซึ่งต้องจ่ายค่าแรงงให้กับแรงงานของสหภาพในอัตราชั่วโมงละ 60 เหรียญ นอกจากนี้ แล้วยังมีบริษัทเม็กซิกันที่มีความสามารถป้อนวัตถุดิบชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ นับวันเพิ่มขึ้น

ในขณะนี้ ประเทศเม็กซิโกได้ลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีเพิ่มขึ้น โดยมีความตกลงอำนวยการค้าร่วมกับสหภาพยุโรป ความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา รวมทั้งความตกลงการค้าพิเศษกับประเทศญี่ปุ่น นั่นหมายความว่า ผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศยุโรปและญี่ปุ่นสามารถเปิดโรงงานในประเทศเม็กซิโก และนำเข้าชิ้นส่วนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ โดยยกเว้นภาษีนำเข้า รวมทั้งสามารถส่งออกรถที่ผลิตในเม็กซิโกกลับไปยังยุโรป ญี่ปุ่น รวททั้งสหรัฐฯ โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

ชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตในประเทศเม็กซิโก มีการส่งออกไปยังผู้ผลิตรถยนต์ใน 32 ประเทศซึ่งมีผู้บริโภครวม 680 ล้าน บริษัท Toyota มีโรงงานการประกอบรถยนต์ที่รัฐ Baja California และบริษัท Wolgswagen มีโรงงานที่รัฐ Puebla เพื่อผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ


ภาพแสดงแหล่งอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศเม็กซิโก

จากวารสาร Mexico Now

ระหว่าปี 1994 และ 2001 ประเทศเม็กซิโกได้รองรับเงินลงทุนใหม่จากต่างประเทศมากกว่าหมื่นพันล้านเหรียญฯ เป็นการลงทุนระยะยาวในการสร้างโรงงาน และการลงทุนซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรใหม่ อันเป็นผลให้โรงงานในเขตภาคเหนือและภายกลางของเม็กซโก เป็นโรงงานผลิตรถยนต์ที่ทันสมัยที่สุดในระดับอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก เป็นการยกระดับภาคอุสาหกรรมรถยนต์โดยรวม และส่งผลให้มีการพัฒนาในระดับภูมิภาค โดยได้มีการเกินกลุ่ม (specialized cluster) กิจกรรมเฉพาะสนับสนุนการผลิตรถยนต์ ในพื้นที่รอบข้างโรงงานผลิตรถยนต์รายใหญ่ ๆ การมี supply chain ที่เข้มแข็ง และการขยายธรุกิจรองรับในแนวนอน (vertical integration)

จากปี 1997 อุตสาหกรรมรถยนต์ของเม็กซิโกได้เน้นการผลิตรถขนาดเล็ก subcompact เช่น ในศูนย์การผลิตของยี่ห้อ Volkswagen ในรัฐ Puebla ซึ่งผลิต beetle รุ่นใหม่เพื่อการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และยุโรป

จากปี 1999 บริษัทนิสสัน ได้เริ่มการผลิตรถนิสสันรุ่น Sentra ที่โรงงานในรัฐ Aguascalientes เพื่อการส่งออกไปยังตลาดในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และในปีเดียงกันนี้ บริษัท Daimler-Chrysler จะย้ายฐานการผลิตรถรุ่น PT Cruiser เพื่อการส่งออกไปยังกว่า 60 ประเทศ ที่รัฐ Toluca โดยให้มีกำลังการผลิตได้ สามแสนคันต่อปี
สำหรับการผลิตในรัฐฯ Aguascaliente มีกลุ่มผู้ลงทุนจากยุโรปที่มุ่งการพัฒนาศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความต้องการผู้ป้อนชิ้นส่วนวัตถุดิบในพื้นที่ใกล้เตียง

ที่รัฐ Jalisco ซึ่งมีอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เข้มแข็งที่สุดในประเทศ โดยมีผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนกว่า 60 ราย

รัฐ Cohuila มีสัดส่วนการผลิตรถยนต์ร้อยละ 26 ของการผลิตทั้งประเทศ ประมาณ 480,000 คัน ได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศในระหว่างปี 2006-2008 เป็นจำนวน 3,744 ล้านเหรียญฯ นอกจากนี้ ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา รัฐ Cohuila ได้เป็นเจ้าภาพงานแสดงสินค้าของผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วน Expo Industria Automotriz

บริษัท Ford ได้ลงทุนเพิ่มจำนวน 1.2 พ้นล้านเหรียญฯ เพื่อการยกระดับการผลิตทีโรงงานในรัฐ Hermosillo และในปี 2088 ได้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 500 คน นอกจากนี้ บริษัท Ford ยังได้ร่วมทุนในสัดส่วนร้อยละ 20 กับบริษัท Nemak ผู้ผลิตเครื่องยนต์และชิ้นส่วนโดยอลูมินัม ที่รัฐ Monterrey

บริษัท Toyota มีฐานการผลิตที่รัฐ Baja California และในปี 2008 บริษัทในเครื่อของ Toyota อันได้แก่ Hino ได้ลงทุนที่รัฐ Guanajuato ในระยะแรกจำนวน 9 ล้านสหรัฐฯ และจ้างงานเพิ่มอีก 40 ตำแหน่ง เพื่อการผลิตรถบรรทุก โดยมีแผนการลงทุนทั้งหมด 100 ล้านเหรียญฯ ในระยะ 5 ปี ข้างหน้า โดยโรงงานดังกล่าวจะมีกำลังการผลิตรถบรรทุกรุ่น Hino 500 ทั้งหมด 1,200 คันต่อปี

ตลาดซัพพลายด้าน OEM และส่วนประกอบ มีโอกาสสำหรับ ส่วนประกอบของรถยนต์ดัดแปลง ระบบป้องกันการสั่นสะเทือน ชิ้นส่วน stamping อุปกร์อิเลคตรอนนิกส์ เครื่องมือและอุปกรณ์เฉพาะด้าน

ตลาดชิ้นส่วนและส่วนประกอบรถนยต์ มีความสำคัญมาก การผลิตมูลค่า 20 พันล้านเหรียญ การส่งออกชิ้นส่วนสำคัญ มี ผู้supply ชิ้นส่วนรถยนต์ ประมาณ 1000 บริษัท สองส่วนสามเป็นต่างชาติ อีกส่วนสามเป็นเม็กซิกัน

ชิ้นส่วนรถยนต์สำหรับการบริการหลังการขาย เป็นตลาดสำคัญที่มีโอกาสการขยายตัวสูง มีสินค้าที่มีความต้องการสูงได้แก่ ชิ้นส่วนสำหรับซ่อมแซมส่วนเสียหาที่เกิดจากการชนปะทะ อุปกรณ์ที่ช่วยลดสารเป็นพิษในระบบท่อไอเสีย พวมาลัย ระบบเสียง ระบบนำทาง GPS ส่วนประกอบอื่น ๆ และเครื่องประดับรถยนต์

เม็กซิโกได้ผ่อนผันกฏระเบียบเกี่ยวการนำเข้ารถนั่งส่วนบุคคลที่ใช้แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับการปรับปรุงซ่อมฉซมเพิ่มขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในหสรหัฐ ย่อมมีผลต่อยอดขายและยอดการส่งออกรถยนต์ในระยะสั้น แต่ต้นทุนการผลิตที่ต่ำว่าและความใกล้ชิดกับตลาดที่สำคัญเช่น สหรัฐฯ ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้โอกาสการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ของเม็กซิโกในระยะยาวยังดีอยู่


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
Mexico's carmakers in a ditch บทความจาก Business Week
Website สำคัญ:
INA สมาคามอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เม็กซิโก
AMIA สมาคมอุตสาหกรรมผู้ผลิตรถยนต์เม็กซิโก
Anpact สมาคมผู้ผลิตรถบรรทุกและรถไถ
Mexico Now

Friday, September 26, 2008

Slower Growth for Mexican's economy

ปรับปรุงเป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจเม็กซิโก

ธนาคารกลางของเม็กซิโก (Banxinco)ได้ปรับตัวเลขอัตราค่าเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2008 เป็นอัตราร้อยละ 5.61 สูงกว่าอัตราที่คาดเอาไว้ 5.07 เมื่อต้นเดือนสิงหาคม สืบเนื่องจากผลการสำรวจราคาตามท้องตลาดที่บ่งชี้ว่า ราคาไฟฟ้า น้ำมัน อาหารหลักบางรายการได้แก่ ไข่ เนื้อ ได้เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมาก แต่แนวโน้มการเพิ่มของราคาสินค้าเริ่มอ่อนตัวลง เป็นผลให้ธนาคารแห่งชาติเม็กซิโก คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 8.25 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ได้เพิ่มขึ้นมาแล้ว 3 ครั้งในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อการควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่ประสบมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว  ทั้งนี้ คาดว่าจะไม่มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกใน 3 เดือนหลังของปี 2008 โดยธนาคารกลางของเม็กซโกมีความเห็นในเชิงบวกว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาจฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และจะช่วยดึงให้เศรษฐกินของเม็กซิโกดีขึ้นได้ ธนาคารกลางเม็กซิโกอาจค่อย ๆ เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลงได้ในต้นปีหน้า

รัฐมนตรีคลังของเม็กซิโก นาย Carstens ได้กล่าวว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเม็กซิโกได้ปรับลงจากอัตราร้อยละ 2.8 (ซึ่งลดลงจากอัตราร้อยละ 3 เมื่อต้นปี) เป็นอัตราร้อยละ 2.4 โดยให้เหตุผลว่าสืบเนื่องมาจากการนำเข้าของสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก  และคาดว่าการขายตัวของเศรษฐกิจในปี 2009 จะมีอัตราร้อยละ 3 ลดลงจากอัตราที่คาดคะเนไว้ร้อยละ 4
เครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจที่แสดงให้เห็นว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจเม็กซิโกอ่อนตัวลงได้แก่
  • การผลิตน้ำมันที่ลดลงร้อยละ 3.8 และการส่งออกที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 8.6
  • การผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงติดต่อกันมาแล้ว 3 เดือน
  • การสร้างตำแหน่งงานใหม่ที่ไม่บรรลุเป้าหมายที่คาดไว้ 700,000 ตำแหน่ง โดยคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในปี 2007 ต่ำกว่า 500,000 และคาดว่าในปี 2009 จะมีการจ้างงานเพิ่มเพียง 350,000 ตำแหน่ง
  • การส่งเงินกลับจากต่างประเทศโดยแรงงานเม็กซิกันที่ไปทำงานในสหรัฐฯ ได้ลดลง เนื่องจากค่าเงินของเม็กซิโกที่เพิ่มขึ้น และการจ้างแรงงานสัญจรต่างชาติที่ลดลงในสหรัฐฯ ทั้งนี้ การส่งเงินกลับจากต่างประเทศ เป็นหมวดเงินตราต่างประเทศไหลเข้าอันดับสองในบัญชี capital flow ของเม็กซิโก
  • ภาคก่อสร้างที่อ่อนตัวลงในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากต้นทุนของเหล็กที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการซื้อบ้านเรือนที่ลดลง
แห่ลงข้อมูล: The News (05/23/08, 09/2,10,11,18,25/08) และ The Economist (09/23/08)

Wednesday, September 17, 2008

Baja California gas plant may loose gas supplies to PTT Pcl Thailand

นาย Djoko Harsono รองกรรมการฝ่ายการเงินและการตลาด ของหน่วยงานควบคุมการค้าน้ำมันและแก๊ซของอินโดนีเซีย (BPMigas) ได้ให้ข่าวว่า บริษัท BP Plc. ซึ่งกำลังขยายการผลิตแก๊ซในอินโดนีเซีย กำลังพิจารณาการจำหน่ายแก๊ซ จำนวน 500,000 เมตริกตัน ให้กับการปิโตรเลียมประเทศไทย (PTT Plc.) หรืออาจจะขายแก๊ซจำนวนดังกล่าว ซึ่งเดิมได้มีเป้าหมายว่าจะขายให้กับโรงกลั่นแก๊ซที่ Baja California ของบริษัท Sempra ให้กับประเทศไทย หรือบริษัทผลิตปุ่ยในอินโดนีเซียแทน เนื่องจากทั้งสองบริษัทดังกล่าวได้เสนอราคาซื้อที่สูงกว่าราคาของบริษัท Sempra

ทั้งนี้ ประเทศอินโดนีเซียกำลังพิจารณาการขยายการผลิตแก๊ซ เนื่องจากแหล่งเดิมที่มีอยู่กำลังหมดอายุและไม่ได้มีการขุดเจาะเพิ่ม หรือลงทุนการขยายความสามารถในการกลั่นแก็ซเพิ่ม

แหล่งข่าว The News, 08/12/08

Mexico and Chile Stock Exchanges Opens Cross Border Trading

ตลาดหลักทรัพย์เม็กซิโกและชิลีร่วมพัฒนาการขายหุ้นระหว่างตลาดทั้งสอง

ตลาดหลักทรัพย์ชิลีและเม็กซิโก ได้ลงนามความตกลงร่วมเมื่อเดือนมิถุนายน 2008 เพื่ออำนวยให้บริษัทตัวแทนการขายหุ้นในตลาดทั้งสองสามารถซื้อขายหุ้นระหว่างทั้งสองตลาด โดยคาดว่าจะมีการออกหุ้น IPO ประมาณเดือนตุลาคม ให้นักลงทุนในชิลีสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทเหมืองแร่ของเม็กซิโก Grupo Mexico

นาย Guillermo Prieto ประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เม็กซิโก (BMV) ได้ไปเยือนประเทศชิลี และได้ให้ข่าวเกี่ยวการลงนามความตกลงเพื่อเอี้ออำนวนการซื้อขายระหว่างตลาดทั้งสอง (Framework Agreement for Cross-Border Trading Arrangement)

ตลาดหลักทรัพย์ของเม็กซิโกและชิลีเป็นตลาดอันดับสองและสามในภูมิภาคละตินอเมริกา (รองจากตลาดหลักทรัพย์บราซิล) โดยมีมูลค่าการซื้อขายหุ้นต่อวันในระดับ 530 ล้านเหรียญ และ 175 ล้านเหรียญ ต่อวัน ตามลำดับ

แหล่งข่าวจาก Bloomberg:

Latin Cross-Border Stock Trade, IPOs May Start in '08
Central American Equity Exchange May Start Next Year

Mexico and Canada Trade and Investment

ภาวะการค้าและการลงทุนระหว่างเม็กซิโกและแคนาดา

กระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโก ได้ประกาศตัวเลขการค้าระหว่างเม็กซิโกและแคนาดา ในรอบ 7 เดือนของปี 2008 ว่า การค้าทวิภาคีระหว่างเม็กซิโกและแคนาดามีมูลค่า 10.47 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 จากระยะเวลาเดียวงกันในปี 2007 และเป็นมูลค่าที่มากกว่ามูลค่าการค้าในปี 1993 (1.5 พั้นล้านเหรียญฯ) มากถึง 6 เท่า

การค้าที่เพิ่มขิ้นระหว่างเม็กซิโกและแคนาดา มีผลสืบเนื่องจากการเข้าร่วมความตกลงเขตการค้าเสรี NAFTA ทั้งนี้ การค้าระหว่างทั้งสองประเทศได้เพิ้มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 13.8 ต่อปี ตั้งแต่ปี 1993
และการค้าระหว่างคู่ค้าภายใต้ NAFTA 3 ประเทศ ในเดือนพฤษภาคมปี 2008 ได้เพิ้มขึ้นในอัตราร้อยละ 12.2 มูลค่ารวม 402.47 พ้นล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในเดือนพฤษภาคม 2008 ประเทศเม็กซิโกได้เปรียบดุลการค้ากับแคนาดาจำนวน 2.72 พ้นล้านเหรียญฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้ลดลงมูลค่า 362 ล้านเหรียญฯ โดยกระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโกกล่าว่า เป็นผลสื่บเนื่องจากการนำเข้าสินค้าสำหรับภาคการผลิตเครื่องบิน (aeronautics) เพิ่มขึ้นจากแคนาดา ตั้งแต่เดือนมกราคม 2008

ในเดือนพฤษภาคม 2008 เม็กซิโกเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของแคนาดา รองจาก สหรัฐฯ อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น และแคนาดาส่งออกไปยังเม็กซิโกจำนวน 3.87 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งมีอัตราการค้าเพิ่มจากปีที่เข้าร่วม NAFTA นั่นคือปี 1993 ร้อยละ 839 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 จากช่วงเดียวกันในปี 2007 ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของการส่งออกจากแคนาดาไปยังเม็กซิโก ได้เติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 16.1 จากปี 1993 ถึงปี 2007

หมวดการส่งออกสำคัญจากแคนาดาไปยังเม็กซิโกได้แก่ aeronautics เคมีภัฑ์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และสินค้าเกษตรกรรม (wheat)

สำหรับการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังแคนาดา ในเดือนพฤษภาคม 2008 มีมูลค่า 6.60 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งมีอัตราเพิ่มจากปี 1993 ร้อยละ 504 และมากกว่าการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังแคนาดาในเดือนเดียวกันปี 2007 ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวของการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังแคนาดาตึ้งแต่ปี 1993 มีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 12.7 ต่อปี

หมวดการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังแคนาดาที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอิเล็คตรอนิกส์ (โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์) ชิ้นส่วนรถยนต์ แร่ทอง และยาสูบ

แหล่งข่าว: nafta-mexico.org

Saturday, September 13, 2008

Demand low for CEMEX in US

บริษัท CEMEX ประกาศผลกำไรลดลง

เนื่องจากการคาดคะเนว่า  ความต้องการปูนซเมนต์ในตลากภายในประเทศ และตลาดสำคัญฯ เช่น สหรัฐฯ สเปน และอังกฤษ จะลดลง สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์อสังหริมทรัพย์ในสหรัฐฯ จะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลงในตลาดเหล่านี้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2008 บริษัท CEMEX ได้ประกาศผลกำไรลดลงเป็นครั้งที่ 2 จากผลกำไร 5.3 พันล้านเหรียญฯ ที่ได้ประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน เป็นผลกำไร ประมาณ 4.6 พันล้านเหรียญ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ผลกำไรลดลง ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยงินกู้ที่สูงขึ้น การสูญเสียจากเครื่องมือการเงิน ค่าเงินยูโรที่ลดลง รวมทั้งการที่รัฐฐาลเวเนเซอูลายึดสาขาของบริษัท CEMEX

ในขณะเดียวกัน ราคาหุ้นของบริษัทก่อสร้างใหญ๋ ๆ ของเม็กซิโก เช่น Desarrolladora Homex, Corporacion Geo, Urbi Desarrolllos Urbanos และ Consorcio ARA ได้ลดลงทั้งหมด เนื่องบริษัท Credit Suisse ได้ลดระดับการดำเนินกิจการของบริษัทเหล่านี้ จาก "nuetral" เป็น "underperform" เนื่องจากคาดว่าบริษัทเหล่านี้ จะประสบปัญหาเงินทุนหมุนเวียนฝืดตัว 

ข่าว Bloomberg เกี่ยวกับ CEMEX และการก่อสร้าง: 
Cemex Drops Most in 6 Months After Cutting Forecast
Mexico Homebuilders Fall After Interest Rate Increase
ICA Foils Carlos Slim in $250 Billion Building Battle

Wednesday, September 3, 2008

Innovative and Eco-Friendly Textiles in Central America

การพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง

ในปี 2007 กลุ่มประเทศละตินอเมริกากลาง ที่มีเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ที่เรียกว่า CAFTA-DR ได้มีมูลค่าการส่งออกสิ่งทอรวม 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเท่ากับ 3.6 พันล้านตารางเมตร ซึ่งในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ประเทศฮอนดูรัสถือว่าเป็นผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอที่สำคัญ รองลงมาได้แก่ ประเทศเอลซาวาดอร์ ตามด้วยประเทศกัวเตมาลา ซึ่งส่งออกได้ 1.45 พันล้านเหรียญในปี 2007 และอันดับสี่ได้แก่ ประเทศนิคารากัว ซึ่งส่งออกได้ 967 ล้านเหรียญ และสุดท้าย ประเทศคอสตาริกา ซึ่งส่งออกได้ 423 ล้านเหรียญ

ความตกลง CAFTA-DR (ซึ่งทุกประเทศในกลุ่มอเมริกากลางได้ลงนาม ในปี 2003 ยกเว้นประเทศคอสตาริกา) ได้มีผลช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการผลิตสิ่งทอให้แก่กลุ่มประเทศอมริกากลาง โดยสามารถนำเข้าวัตถุดิบจากสหรัฐฯ มาใช้ ความตกลงดังกล่าวได้มีผลทำให้การผลิตในประเทศเหล่านี้ เปรียบเท่ากับการผลิตในพื้นที่สหรัฐฯ แต่ได้รับข้อได้เปรียบของต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า และค่าขนส่งไม่แพง รวมทั้งระยะเวลาการส่งมอบสินค้าเพียงไม่กี่วัน ล้วนเป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้บริษัทข้ามชาติด้านสิ่งทอใหญ่ๆ มาเปิดโรงงานผลิตในประเทศอเมริกากลาง เช่น บริษัท Hanes ซึ่งสร้างโรงงานถักถุงน่องในประเทศเอลซาวาดอร์ และบริษัท Cone Denim ผู้ส่งผ้ายีนให้กับ Levi ได้ลงทุนจำนวน 100 ล้านเหรียญสำหรับการสร้างโรงงานทอผ้าใหม่ในประเทศนิคารากัว

การลงทุนของบริษัทชั้นนำด้านสิ่งทอต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้มีผลข้างเคียงที่ดี คือใด้มีการนำเทคโนโลยีชั้นนำมาใช้ในการผลิต และมีการพัฒนามาตรฐานการป้องกันสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการขยายการผลิต ทั้งนี้  อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสูง และการบำบัดน้ำเสียเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึง

ตัวอย่างของการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทข้ามชาติสิ่งทอในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้แก่

บริษัท Lovable ซึ่งได้ลงทุนในประเทศฮอนดูรัส เป็นบริษัทสิ่งทอที่มีประวัติการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งทอตั้งแต่ปี 1964 เป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรายใหญ่สุดของอเมริกากลาง และเป็นผู้ส่งสิ่งทอไปยังตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดัน 8 โดยมูลค่าการส่งออกในปี 2007 มีมูลค่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ  บริษัท Lovable ได้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดมาช่วยในการออกแบบเสื้อผ้า ทำให้สามารถผลิตในขนาดต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เทคโนโลยีการตัดผ้า ทำให้ลดผ้าเสียลง รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีในการผลิตชุดชั้นนที่ไม่มีตะเข็บ และการใช้เครื่องจักรป้อนเศษผ้าหลากหลายสีเข้าทอรวมเข้าเป็นแผ่นผ้าลักษณะหลอดผืนเดียว นอกจากนี้แล้ว บริษัท Lovable ยังได้นำเทคโนโลยีการแยกสารเจือปนจากน้ำจากประเทศอิตาลี มาใช้ในการควบคุมน้ำเสีย  เทคโนโลยีแนวหน้าทั้งหมดนี้  ล้วนแต่มีผลช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลกำไรให้กับบริษัทฯ  และในปี 2007 ได้มียอดขายสำหรับสินค้าชุดชั้นในเพิ่มขึ้นร้อยละ 30

บริษัท Gildan Activewear จากเมืองมอนเตรียล ประเทศแคนาดา ผู้ผลิตถุงเท้า เป็นบริษัทที่ครองอันดับสองด้าน corporate governance ในแคนาดา ได้ลงทุนปรับปรุงบ่อถ่ายน้ำเสีย ในประเทศเอลซาวาดอร์

บริษัท Industrias Duraflex ผู้ผลิตวัตถุดิบต่าง ๆ ให้กับบริษัท Hanes ได้ลงทุนในปี 2007 ขยายโรงงาน 2 แห่งเพื่อรองรับแผนการขยายของบริษัทแม่ และเพื่อเตรียมรับการย้ายฐานการผลิตออกจากสหรัฐฯ ให้มีโรงงานที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากขึ้น ในประเทศนิคารากัว

บริษัท Cone Denim ของกลุ่ม ITG ได้ลงทุนสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชั้นนำ  ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่ก้าวหน้าที่สุดในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การลงทุนดังกล่าว  มีความสำคัญช่วยยกระดับเครื่องชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศนิคารากัว จากอันดับ 127 เป็นอันดับ 116 

ระบบการควบคุมการผลิตสิ่งทอของบริษัท Cone Denim มีเครื่องวัดคุณภาพการผลิตอัตโนมัติที่ตรวจดูได้ในระบบดคอมพิวเตอร์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะหยุดการผลิตโดยอนุมัติ เมื่อเครื่องวัดได้ว่าคุณภาพการทอผ้าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และยังสามารถเปลี่ยนกระป๋องสีย้อม หรือวัสดุพื้นฐานอื่น ๆ ได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องพึ่งแรงงาน  การลงทุนในเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าดังกล่าว ช่วยลดต้นทุนการผลิต  และทำให้บริษัทฯ มีความได้เปรียบในการแข็งขันมากขึ้น

บริษัท Cone Denim ใช้เทคโนโลยีสารอินทรีย์และเคมีก่อนและหลังการผลิต  และได้ออกแบบโรงงานใช้แสงธรรมชาติลดการใช้ไฟฟ้าในตัวอาคาร มีระบบรองรับน้ำฝนจากหลังคาเพื่อช่วยในการรักษาระดับน้ำในบ่อบำบัดน้ำ มีการหมุนเวียนการใช้วัสดุ และลดสารเจือปนโดยการใช้แป้งข้าวโพดและมันแทนแร่ต่าง ๆ โดยมีการเน้นการใช้สารธรรมชาติในการผลิต

บรษัท Core Denim ได้นำเข้าเครื่องจักรจากประเทศหลากหลายประเทศ เช่น เยอรมัน อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ และจ้านงานทั้งสิ้น 850 คน บริษัทฯ ได้ประกาศว่า การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเป็นเป้าหมายสำคัญของบริษัทฯ

แหล่งข้อมูล: Central America Today ฉบับเดือนมิถุนายน 2008
HondurasApparelCluster2007(pdf)

Wednesday, August 27, 2008

Ford invests $2.4 billion

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2008 บริษัท Ford Motor ได้ประกาศแผนการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทฯ ในเม็กซิโก จำนวน 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อปรับโรงงานที่เมือง Cuautitlan รัฐเม็กซิโก ซึ่งเดิมผลิตรถบรรทุก F-series pickup ให้ปรับการผลิตภายในสองปี เพื่อผลิตรถนั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กรุ่น Ford Fiesta เพื่อการจำหน่ายทั่วตลาดอเมริกาเหนือ

การปรับปรุงการผลิตไปสู่รถขนาดเล็ก เป็นผลสืบเนื่องมาจากยอดขายรถบรรทุกที่ลดลงในระยะที่ผ่านมา ทำให้บริษัท Ford ขาดทุนจำนวน 15.3 พันล้านเหรียญฯ ในสองปีที่ผ่านมา

โครงการลงทุนดังกล่าว จะมีการจ้างเงินใหม่เพิ่มจำนวน 4,500 ตำแหน่ง ทั้งนี้ สหภาพแรงงานผู้ผลิตรถยนต์เม็กซิกัน ได้ตกลงลดค่าจ้างแรงงาน ให้มี 2 ระดับ โดยแรงงานใหม่ยินยอมรับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตรา 2 เหรียญต่อชั่วโมง อัตราค่าแรงโดยปกติของภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ มีอัตรา 4.5 เหรียญต่อชั่วโมง การตัดสินใจลดอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ มีผลเพิ่มความได้เปรียบด้านต้นทุนของเม็กซิโก ให้มีค่าแรงเทียบเท่ากับจีน ซึ่งเมื่อผู้ลงทุนพิจารณาประกอบกับ ปัจจัยด้านบวกของอุตสาหกรรมรถยนต์เม็กซิกัน เช่น ความใกล้ชิดกับตลาด และโครงสร้างของอุตสาหกรรมรองรับเพื่อการส่งออกที่สมบูรณ์แล้ว เป็นแรงจูงใจสำคัญ ที่สนับสนุนให้บริษัท Ford มีความมั่นใจที่จะขยายการลงทุนในเม็กซิโก

นอกจากนี้ บริษัท Ford จะร่วมลงทุนกับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน Getrag ที่รัฐ Guanajuato เพื่อสร้างโรงงาน transmission โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนเม็กซิกัน จะลงทุนจำนวน 600 ล้านเหรียญฯ

Wednesday, August 20, 2008

Mexico imports Chinese cars, FAW

บริษัทผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์สาธารณรัฐประชาชนจีน First Automobile Works (FAW) จะนำเข้ารถยนต์บุคคล จำนวน 10,000 คัน ในปี 2009 เป็นสองเท่าของจำนวนรถยนต์นำเข้าจากจีนในปี 2008

บริษัท FAW ได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Elektra ของกลุ่ม Salinas เพื่อเปิดโรงงานการผลิตรถยนต์ยี่ห้อ FAW ที่รัฐ Michoacan เมื่อปลายปี 2007  การลงทุนร่วมเพื่อการผลิตภายในประเทศ เปิดทางให้บริษัท FAW สามารถนำเข้ารถยนต์จากประเทศจีน โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้ารถยนต์ที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 40

รถยนต์ยี่ห้อ FAW ที่ขายในตลาดเม็กซิโก มีอยู่ 8 รุ่น เป็นรถนั่งส่วนบุคคล ราคาระหว่าง 7,000-12,000 เหรียญฯ จัดจำหน่ายในเครือข่ายของร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน Elektra ซึ่งให้บริการด้านการเงินแก่ลูกค้ากลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ
หน้าเวปขายรถยนต์: Elektra-transportes.com

Source: The News, 08/20/08

Monday, August 18, 2008

Central American Free Trade Areas

สถานะความตกลงเขตการค้าเสรีของกลุ่มประเทศอเมริกากลาง

1) ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างเม็กซิโก และประเทศอเมริกากลาง
เป็นความตกลงเขตการค้าเสรีแรก ที่กลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้เริ่มเจรจาและลงนามเป็นผลสำเร็จ โดยประเทศคอสตาริกา ได้ลงนามเมื่อปี 1994 นิคารากัวได้ลงนามเมื่อปี 1997 และ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และเอลซาวาดอร์ เมื่อปี 2000 เป็นความตกลงทวิภาคีทั้งหมด โดยแต่ละประเทศ มีการกำหนดรายการสินค้า ที่มีผลได้รับสิทธิ หรือที่ยกเว้นการได้รับสิทธิแยกออกไปแตกต่างกัน

2) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างสหรรัฐอเมริกา สาธารณรัฐดอมินิกัน และประเทศอเมริกากลาง (CAFTA-DR)
สหรัฐฯ ผลักดันการเจรจา CAFTA-DR และเร่งการอนุมัติของสภาสหรัฐฯ แบบ fast track เป็นผลให้ความตกลงดังกล่าวผ่านกระบวนการ ภายปีเดียว เมื่อปี 2003  ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว กับทุกประเทศในกลุ่มอเมริกากลาง ยกเว้น คอสตาริกา
ข้อมูล CAFTA จาก wola.org

3) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างปานามา และประเทศอเมริกากลาง
มีผลบังคับใช้กับ เอลซาวาดอร์ ฮอนดูรัส และ คอสตาริกา แต่อยู่ระหว่างเจรจากับประเทศกัวเตมาลา และนิคารากัว โดยมี PTA บังคับอยู่

4) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างสาธารณรัฐชิลี และประเทศอเมริกากลาง
มีผลบังคับใช้กับ เอลซาวาดอร์ และ คอสตาริกา ส่วนประเทศอื่นในอเมริกากลาง อยู่ระหว่างการเจรจา

5) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างแคนาดา และประเทศอเมริกากลาง
มีผลบังคับใช้เฉพาะกับคอสตาริกา โดยประเทศอื่นๆ อยู่ระหว่างการเจรจา
ข้อมูลความตกลงฯ จากรัฐบาลแคนาดา

6) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศอเมริกากลาง
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย George Bush ได้ประกาศนโยบาบว่าจะเจรราความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง เมื่อปี 2002 แต่ไม่ได้มีผลคืบหน้าตามความคาดหวัง ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้พยายามผลักดันให้เกิดกลุ่มการค้าเสรี (trade bloc) ภายใต้ Free Trade Area of the America (FTAA) ซึ่งจะรวมประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา 34 ประเทศให้เป็นตลาดเดียว แต่ได้รับการต่อต้านจากประเทศในอเมริกาใต้
White House news release, 2002

7) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างกลุ่มแคริเบียน (CARICOM) และประเทศอเมริกากลาง
ได้เริ่มการเจรจา เมื่อปี 2007 โดยกลุ่มประเทศ CARICOM ได้ลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีกับคอสตาริกา เมื่อปี 2002  ต่อมา ได้ขยายให้ประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอเมริกากลาง เร่มการเจรจาในระดับทวิภาคี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเขตการค้าเสรีระหว่าง CARICOM และอเมริกากลาง
ข่าวความตกลงฯ จาก acs-aec.org

8) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างไต้หวัน และประเทศอเมริกากลาง
มีผลบังคับใช้กับประเทศกัวเตมาลา และนิคารากัว และได้ลงนามแล้วกับ เอลซาวาดอร์และฮอนดูรัส ข่าว bnet

9) ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างโคลัมเบีย และประเทศอเมริกากลาง
มีการลงนามแล้วกับ 3 ประเทศ ได้แก่ กัวเตมาลา เอซาวาดอร์ และฮอนดูรัส

10) ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป และประเทศอเมริกากลาง
เมื่อปี 1993 สหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้ลงนามในความตกลง Framework Cooperation Agreement โดยตั้งเป้าหมายให้มีเขตการค้าเสรีระหว่างสองภูมิภาค  และได้มีการเจรจาต่อเนื่องมาทุกปี จนได้มีการก่อตั้ง Ad hoc committee เมื่อต้นปี 2007 โดยคาดว่าจะมีการลงนามในความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสองภูมิภาค ประมาณสิ้นปี 2008 ทั้งนี้ สหภาพยุโรป ได้ตั้งเงื่อนไขสำคัญว่า ประเทศกลุ่มอเมริกากลางต้องพัฒนาปรับปรุงระบบศุลกากรระหว่างประเทศในกลุ่ม ให้เป็น custom union
ข้อมูลเกี่ยวงกับความตกลงฯ จาก sice.oas.org

รายชื่อ Website ของกระทรวงเศรษฐกิจประเทศอเมริกากลาง ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับ FTA

ประเทศคอสตาริกา http://www.meic.go.cr/
ประเทศเอลซาวาดอร์ http://www.minec.gob.sv/
ประเทศกัวเตมาลา http://www.mineco.gob.gt/
ประเทศฮ้อนดูรัส http://www.sic.gob.hn/
ประเทศนิคารากัว http://www.mific.gob.nic/
ประเทศปานามา http://www.mef.gob.pa/

Central American Customs Union (UAC)

ความคืบหน้าการรวมกลุ่มศุลกากรอเมริกากลาง

กลุ่มประเทศอเมริกากลางได้ริเริ่ม การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี 1907 โดยการก่อตั้ง Central American Court of Justice ซึ่งถูกยุบลงเมื่อปี 1917 และต่อมาเมื่อปี 1962 ได้มีการก่อตั้ง องค์กรรัฐอเมริกากลาง (ODECA) แต่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศภายในกลุ่ม ทำให้ไม่มีความคืบหน้า จนกระทั่งปัญหาการเมืองภายในและระหว่างประเทศได้คลี่คลายลง และในปี 1991 ได้มีการก่อตั้ง Sistema para la Integración Centroamericana (SICA)

เมื่อเดือนตุลาคม ปี 1993 รัฐบาลกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้มีการลงนาม Protocol of Guatemala แสดงความผูกมัดผู้ร่วมลงนามในการรวมกลุ่มศุลกากร โดยประเทศกัวเตมาลา และเอลซาวาดอร์ กำหนดรูปแบบการปรับโครงสร้าง (framework agreement) ในปี 2000 ตามด้วย ประเทศนิการากัว ฮอนดูรัส และคอสตาริกา ในปี 2002

ในปี 2004 รัฐมนตรีเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้มีการประชุมสภาเศรษฐกิจร่วม และได้ลงนามความตกลง General Framework for the Negotiation of a Custom Union in Central America และได้มีการพมพ์ Manual for Customs Procedures ซึ่งประเทศ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซาวาดอร์ และนิคารากัว ได้เริ่มใช้เป็นแนวทางการดำเนินภาษี

ข้อกำหนดด้านศุลกากรดังกล่าวได้มีการปรับปรุงในปี 2006 และสำนักเลขาธิการเศรษฐกิจร่วมอเมริกากลาง (Sieca) ได้ประกาศว่า กลุ่มประเทศอเมริกากลางมีพิกัดภาษีร่วม (harmonized tariff) ถึงร้อยละ 96 แล้ว ทั้งนี้ การรวมเศรษฐกิจด้านศุลกากร มีเป้าหมายบรรลุเป็นเขตการค้าเสรีภายใน 10 ปีข้างหน้า

ความคืบหน้าของเขตศุลกากรร่วมที่เห็นได้ชัด ได้แก่
  • การรวมที่ทำการท่าศุลกากร โดยเจ้าหน้าศุลกากรมทั้งสองประเทศใช้สำนักงานร่วมกัน ที่ท่า Port Acajutla/Port Cutuco ที่ชายแดนเอลซาวาดอร์ และกัวเตมาลา ท่า Puerto Cortes ที่ชายแดนฮอนดูรัสและเอลซาวาดอร์ และท่า Penas Blancas ที่ชายแดนนิคารากัว เอลซาวาดอร์ และ กัวเตมาลา 
  • ประเทศกัวเตมาลา และคอสตาริกา มีการใช้ระบบอิเลคตรอนนิกส์ intelligent stamp สำหรับการติดตามสินค้านำเข้า ซึ่งในที่สุด ระบบ IT ของทุกประเทศอเมริกากลางต้องปรับใช้ระบบเดียวกัน
  • ระบบการเดินเอกสารศุลากากร (merchandizing clearance) ได้ลดลงจาก 2 วัน เป็น 15 นาที
ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้จัดลำดับ logistics performance index ให้กลุ่มประเทศอเมริกากลาง คือ ปานามาอันดับ 54 เอลซาวาดอร์ดันดับ 66 คอสตาริกาอันดับ 72 กัวเตมาลาอัดับ 75 ฮอนดูรัสอันดับ 80 และนิคารากัวอันดับ 122 จากอันดับทั้งหมด 150 ประเทศ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:

สำนักเลขาธิการเศรษฐกิจร่วมอเมริกากลาง (SIECA)
รายงานความคืบหน้า Central American Customs Union

Thursday, August 14, 2008

Corn, sugar: production and prices

ราคาผลผลิตข้าวโพดมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการคาดคะเนผลผลติสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง

USDA ได้ประกาศเพิ่มพยากรณ์ผลผลิตข้าวโพดสหรัฐฯ เป็น 155 bushels per acre ซึ่งเป็นตัวเลขผลผลิตที่ค่อนข้างสูง  เนื่องจากภาวะภัยธรรมชาติน้ำท่วมไม่ได้ส่งผลเสียหายต่อต้นข้าวโพดเท่าที่คาดไว้  จะส่งผลให้ราคาข้าวโพดไม่เพิ่มขึ้นตามที่ตลาดคาดคะเนไว้  ซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับผู้นำเข้าข้าวโพดของเม็กซิโก

ทั้งนี้ เม็กซิโกนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐฯ มากถึงร้อยละ 90 ของปริมาณที่บริโภคภายในประเทศ

ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา เม็กซิโกได้นำเข้าข้างโพดปริมาณ 4.4 ล้านตัน

ราคาข้าวโพดทรงตัวหรือต่ำลง จะมีผลช่วยลดแรงกดดันภาวะเงินเฟ้อที่เม็กซิโกพยายามควบคุมไว้ได้เล็กน้อย


ผลผลิตน้ำตาลของเม็กซิโกจะมีปริมาณลดลง

เม็กซิโกเป็นผู้ผลิตน้ำตาลอันดับ 6 ของโลก โดยมีพื้นที่การเพาะปลูกอ้อย 750,000 hectares มีแรงงานเกษตรสำหรับการเก็ยเกี่ยวอ้อย 175,000 คน และแรงงานในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำตาลอีก 275,000 คน

นาย Carlos Blackaller นายกสมาคมผู้เพาะปลูกอ้อยแห่งชาติ ของเม็กซิโก ได้ให้ข่าวว่า ผลผลิตน้ำตาลที่จะออกสู่ท้องตลาดในปีหน้า คาดว่าจะมีประมาณที่ลดลงร้อยละ 3 โดยมีผลผลิตจำนวน 5.35 ล้านตัน ลดจากจำนวนที่คาดคะเนไว้ก่อน 5.52 ล้านตัน เนื่องจากภาวะอากาศแล้ง และการลดการใช้ปู๋ยที่มีราคาสูงขึ้น ร้อยละ 46 โดยปัจจุบัน ปุ๋ยที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกอ้อยมีราคา 7,000 เปโซต่อตัน  ราคาน้ำตาลที่ขายในท้องตลาดปัจจุบัน 200 เปโซต่อถุง 50 กรัม จึงไม่คุ้มทุนต่อผู้เพาะปลูกอ้อย

ผู้ผลิตอ้อย มีความคาดหวัง ว่าจะเพิ่มผลผลิตในปีต่อไปได้ ทั้งนี้เพราะ รัฐบาลเม็กซิโกได้ประกาศนโยบายสนับสนุนการผลิต ethanol จากพืชที่มีกำลังการผลิตเกินความต้องการของตลาด เช่น อ้อย

รัฐบาลเม็กซิโกได้ประกาศเป้าหมายการผลิต ethanol ให้สามารถผลิตได้ปริมาณ 200 ล้านลิตร ในปี 2010

ราคาน้ำตาลโลกในตลาดซื้อขายธัญญพืช Liffe ที่ลอนดอน เพิ่มขึ้นร้อยละ 104 ปิดที่ราคา 394.10 เหรียญต่อตัน เนื่องจากผลผลิตทั่วโลกต่ำกว่าปีอื่น ๆ อันเป็นผลให้ปริมาณคงคลังน้ำตาลลดลง

Tuesday, August 12, 2008

Mexican taco franchise expands in China

El Fogoncito ร้านอาหารเม็กซิกันขาย Taco เครือข่ายแฟรไชส์ ได้ให้ข่าวเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมว่า จะเปิดร้าน สาขาที่ 2 ประเทศจีน ในย่านเจียงลูซึ่งใกล้ตลาดผ้าใหมในปักิ่ง โดยการลงทุนเพิ่มอีก 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นาย Carlos Roberts ประธานบริษัทฯ ได้ให้ความเห็นว่า งานโอสิมปิกในจีน จะมีผลกระตุ้นการขายอาหารในร้าน เนื่องจากนักท่องเที่ยวลาตินจะไปเที่ยวประเทศจีนมากขึ้น และแสวงหาอาหารที่คุ้นเคย นอกจากนี้แล้ว ผู้บริโภคจีนเริ่มคุ้นเคยกับ taco มากขึ้น จนกลายเป็นอาหารที่นิยม และในหนึ่งปีที่ได้เปิดกิจกรรม ได้มีลูกค้าประจำรายวัน ประมาณ 250 คนต่อวัน

ร้านอาหาร El Fogoncito ก่อตั้งในเม็กซิโกเมื่อ ปี 1968 และมีสาขา 8 แห่ง ในเม็กซิโก อีก 5 แห่งในอเมริกากลาง


รายงานข่าวจาก The News และมีบล็อกรายงานเกี่ยวกับอาหารในร้าน ใน jakeludington.com

Mexico's textile exports losing US market share to Vietnam/China

การส่งออกสิ่งทอเม็กซิโก เสียส่วนแบ่งการครองตลาดในสหรัฐฯ

เม็กซิโกเคยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งสำหรับสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม ในตลาดสหรัฐฯ เมื่อปี 2002 แต่จากปี 2003 เป็นต้นมา ประเทศเม็กซิโกได้เสียตำแหน่งดังกล่าวให้กับประเทศจีน เนื่องจากจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO และไม่ถูกจำกัดการส่งออกโดยระบบโควต้าเดิม

คณะกรรมาธิการการค้าต่างประเทศของสหรัฐฯ (US International Trade Commisssion) ได้รายงานตัวเลขสถิติการนำเข้าสิ่งทอของสหรัฐฯ สำหรับปี 2007 โดยรายงานว่า ตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มสหรัฐฯ เริ่มแสดงแนวโน้มที่ชัดเจน ในการหันไปหาการนำเข้าสิ่งทอ จากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น แทนที่จะนำเข้าจากแหล่งเดิม นั่นคือ จากประเทศเพื่อนบ้าน เม็กซิโก แคริเบียน และลาตินอเมริกา

ทั้งนี้ เม็กซิโกได้สูญเสียส่วนแบ่งการครองตลาด ลดลงเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.7 ในปี 2007 จากร้อยละ 6.6 ในปี 2006 เพราะไม่สามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศเอเชีในต้นทุนการผลิตสูง และค่าแรงงานสูง และได้สูญเสียตลาดอย่างเห็นได้ชัด ในรายการ knit and woven shirts and bottoms




การส่งออกสิ่งทอเวียดนาม

เวียดนามได้พิ่มสัดส่วนการครองตลาดสิ่งทอสหรัฐฯ เป็นร้อยละ 2.8 ใน ปี 2007 เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 2.0 ในปี 2006 เป็นผู้ส่งออกเครื่องนุ่มห่มและสิ่งทอเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดับ 9 โดยผลักไต้หวันตกไปเป็นอันดับ 10

การส่งออกสิ่งทอเวียดนาม เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำมัน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอเวียดนามได้รับแรงผลักดันจากการยกเลิกโควต้า เมื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO ในปี 2007 และนักธุรกิจเวียดนามมีความคาดหวังว่า อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามจะสามารถแข็งขัยได้มากขึ้น เนื่องจากการขยายการลงทุนลักษณะ vertical integration โดยการเพิ่มการผลิตเส้นใยภายในประเทศ

การส่งออกสิ่งทอจีน

สำหรับประเทศจีน ได้เพิ่มสัดส่วนการครองตลาดในสหรัฐฯ เป็นร้อยละ 40 จากร้อยละ 35.7

เมื่อต้นปี 2008 ผู้ส่งออกจีน มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐฯ เนื่องจากการสั่งซื้อจากสหรัฐฯ ลดลง และมีผลทำให้โรงงานสิ่งทอจีนหลายแห่งต้องหยุดพักการผลิต อันเป็นผลให้รัฐบาลจีนประกาศมาตรการคืนภาษีให้แก่ส่งออกสิ่งทอ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

แหล่งข่าว: The News, 12/08/08.
USITC report: The Year in Trade 2007

Wednesday, August 6, 2008

Salmonella found in Mexican Serrano

ผู้ตรวจอาหารสหรัฐฯ ค้นพบเชื้อ Salmonella ในแปลงเพาะปลูกพริก Serrano ในเม็กซิโก

เมื่อเดือนเมษายน 2008 ได้มีผู้ล้มป่วยด้วยการติดเชื้อ Salmonella Saintpaul ในสหรัฐฯ จำนวน 1,319 คน และมีผู้เสียชีวิตบางราย ที่อาจมีผลสืบเนื่องจากการติดเชื้อดังกล่าว องค์กรควบคุมมาตรฐานอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้ออกประกาศเตือนผู้บริโภคให้ระวังการรับประทานมะเขือเทศสด เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้การว่า ได้รับประทานมะเขือเทศสด แต่เมื่อได้มีการสำรวจตรวจสอบแปลงเพาะปลูกมะเขือเทศ ทั่วสหรัฐฯ และในแปลงของผู้ส่งออกรายใหญ่ของเม็กซิโก ปรากฏว่าไม่พบเชื้อดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นแปลงในสหรัฐฯ หรือเม็กซิโก หลังจากการค้นหา เป็นเวลานานถึง 2 เดือน จนแระทั่งเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2008 ผู้ตรวจอาหารสหรัฐฯ ได้ประกาศว่า ค้นพบเชื้อดังกล่าวข้างต้น ในแหล่งน้ำและในพื้นดินของแปลงเพาะปลูกพริก serrano ในรัฐ Tamaulipas ที่ติดกับชายแดนสหรัฐฯ ซึ่งเป็นของผู้ส่งออกพริกผ่านรัฐ Nuevo Leon รายหนึ่ง ตัวแทนของกระทรวงเกษตรของเม็กซิโกได้ประท้วงเกี่ยวกับวิธีการเก็บตัวอย่างน้ำและดินว่า ไม่ถูกต้องตามวิธีวิทยาศาตร์

การประกาศเตือนผู้บริโภคเกี่ยวกับมะเขือเทศ ได้มีผลเสียหายต่อผู้ค้าขายและผลิตมะเขือเทศทั้งในสหรัฐฯ และเม็กซิโก โดยมีการประเมินค่าเสียหายประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ผู้ส่งออกมะเขือเทศของเม็กซิโกได้ร้องเรียนว่า มีค่าเสียรวมประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพราะต้องโละทิ้งผลผลิตมะเขือนเทศทั้งฤดู เพราะได้มีการงดการสั่งซื้อจากเม็กซิโกอันเป็นผลของคำประกาศที่ผิดของรัฐบาลสหรัฐฯ

รัฐบาลสหรัฐฯ ได้รับคำประท้วงเกี่ยวกับวิธีการค้นหาแหล่งการติดเชื้อ และการประกาศไม่ให้ประชาชนบริโภคมะเขือเทศซึ่ง ในที่สุดไม่ได้เป็นต้นตอของเชื้อ ว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่มีประสิทธิภาพและได้สร้างความเสียหายต่อการค้ามะเขือเทศอย่างมากมาย โดยคาดว่าจะมีการฟ้องร้องเรียกคืนค่าเสียหายต่อไป และคาดว่า จะมีการปรับปรุงโครงสร้างการค้าหาแหล่งการติดเชื้อจากอาหาร ซึ่งคงจะมีผลกระทบต่อผู้ส่งออกอาหารสดจากประเทศต่าง ๆ ที่ประสงค์จะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ทั้งนี้ สามารถติตตาม ผลการพิจารณาเกี่ยวกับเชื้อ salmonella จากเม็กซิโกได้ ที่ http://www.cdc.gov/salmonella/saintpaul/ และ http://www.fda.gov/oc/opacom/hottopics/tomatoes.html

Thursday, July 31, 2008

China-Mexico Economic and Trade Cooperation

เม็กซิโกเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้ากับจีน

ประธานาธิบดีเม็กซิโก นาย Felipe Calderon ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 8-11 กรกฏาคม 2008 และได้มีการลงนามในความตกลง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการค้า ทั้งหมด 6 ฉะบับ ตาม รายงานจากทำเนียบประธานาธิบดี

ความตกลงที่ได้ลงนาม ได้แก่
  1. ความตกลงทั่วไป ภายใต้ความร่วมมือทวิภาคี ครั้งที่ 3 (Minutes of the Third Meeting of the Permanent Binational Commission)
  2. ความตกลงส่งผู้ต้องหาข้ามประเทศ (Extradition Treaty)
  3. ความตกลงเกี่ยวกับมาตรฐานการค้าเนื้อหมู (Protocol on Inspection, Quarantine and Veterinary Health Requirements for Pork Exports and Imports) ซึ่งคาดว่า จะมีผลช่วยให้เม็กซิโก สามารถส่งออกเนื้อหมู ไปยังประเทศจีนได้มากขึ้น
  4. ความร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคนิคด้านสวัสดิการสังคม (Technical Cooperation Agreement on Social Welfare between the Chinese Ministry of Civil Affairs and the Mexican Secretary of Social Development)
  5. ความร่วมมือ การลดภาวะยากจน (2008-2010 Cooperation Program, between the Chinese State Council Poverty Relief Office and Mexico's SEDESOL
  6. ความร่วมมือปกป้องการลงทุนทวิภาคี (Agreement on Reciprocal Promotion and Protection for Investments) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศจีน เพิ่มการลงทุนระหว่างทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ ประธานาธิบดีเม็กซิโก ได้กล่าวต้อนรับการลงทุนจากประเทศจีน และประสงค์ให้การลงทุนจากจีนเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ระหว่างปี 1999-2007 ประเทศจีนได้มีการลงทุนในเม็กซิโกจำนวนรวมเพียง 66 ล้านเหรียญ ทั้ง ๆ ที่การลงทุนในต่างประเทศของจีน ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะดังกล่าว โดยการลงทุนของจีนในสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น จาก 36 ล้านเหรียญ ในปี 2006 เป็น 9.8 พันล้านเหรียญ ในปี 2007

บริษัท Bimbo ผู้ผลิตขนมปังรายใหญ่ที่สุดในเม็กซิโก ซึ่งมีเครือข่ายทั่วกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ได้แสดงความสนใจ ที่จะไปลงทุนในประเทศจีน

นอกจากนี้แล้ว เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2008 กระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโก ได้ ให้ข่าวว่า รัฐบาลเม็กซิโก ได้ตกลง จะค่อย ๆ ลดภาษี countervailing tax สำหรับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้า มี่นำเข้าจากประเทศจีน ในระยะ 3 ปีข้างหน้า เพื่อป้องกันผลกระทบ จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน และเป็นการชักจูง ให้ผู้ทำการค้านำเข้าเสื้อผ้า และรองเท้าในตลาดมืด หันมาเข้าตลาดปกติมากขึ้น เป็นการช่วยเหลือให้ รัฐบาลสามารถเก็บภาษีอย่างปกติได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้า จ้างแรงงานเม็กซิกัน อยู่ประมาณ 500,000 คน

Friday, July 25, 2008

Mexico's Textile Industry (Part 1)

อุตสาหกรรมสิ่งทอเม็กซิโก มีประวัติอันยาวนาน ตั้งแต่ยุคอารยธรรม Aztec ก่อนการค้นพบทวีปอเมริกาโดย Christopher Columbus โดยคนพื้นเมืองในดินแดนเก่าของเม็กซิโก มีการใช้ผ้าฝ้ายดิบเป็นเครื่องนุ่งห่ม

เมื่อราชอาณาจักรเสปนได้ยึดครองเม็กซิโก ในศตวรรษที่ 16 ผู้บริหารการค้าการผลิตชาวเสปน ได้ทำการเพาะปลูกฝ้าย เป็นแปลงใหญ่ ในระบบการผลิตแบบ hacienda และเริ่มมีการทอผ้าฝ้ายแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน ในเขตพื้นที่ใกล้ชิดกับแหล่งเพาะปลูกฝ้าย ซึ่งได้แก่ เขต Vera Cruz และ Torreon โดยมีการขยายไปสูฃาย่ฝั่งทะเลแปซิฟิก

เจ้าของกิจกกรมการผลิตฝ้ายและสิ่งทอ เป็นชาวเสปน และฝรั่งเศศ มีการขยายการผลิตอย่างต่อเนื่องจนถึงศตวรรษที่ 19 แรงงานในกิจกรรมสิ่งทอ ได้รวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน ในปี 1800

ในปี 1821 ได้มีการลงนามความตกลงการค้าเสรี ทำให้มีการนำเข้าสิ่งทอที่มีราคาถูกจากอังกฤษ มากจนการผลิตภายในประเทศล้มเลิกไปเป็นจำนวนมาก ในปี 1843 มีโรงงานทอผ้าทั้งหมด 55 แห่ง ในเม็กซิโก และรัฐบาลเม็กซิโกได้สร้างระบบรถไฟ ซึ่งเอื้ออำนวยให้สามารถขนฝ้ายดิบจาก Texas และ New Orleans ไปป้อนโรงงานทอผ้าที่ Veracruz และ Puebla

การปฏิวัติเมื่อปี 1910 ได้มีผลนักลงทุนต่างชาิติปิดโรงทอผ้า ขนทุนกลับประเทศสเปนและฝรั่งเศษ ต่อมาใน 1930 ได้มีทุนใหม่จากผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน จากประเทศเลบานอนและซีเรีย มาก่อตั้งฐานการค้าและการผลิตสิ่งทอในรัฐ Puebla โดยมีครองครัว Zaga เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมสิ่งทอสมัยใหม่ นำเข้าเครื่องจักรทอทันสมัยจากสหรัฐฯ และลักษณะ ตลาดที่ปิดและไม่มีการแข่งขันมากนักในยุคสงครามโลก มีผลช่วยให้ตลาดสิ่งทอภายในประเทศทั้งหมด อยู่ในมือของครอบครัวอุตสาหกรรมสิ่งทอเพียง 3 ครอบครัว คือครอบครัว Zaga Kalach และ Parras

หลังจากนั้น ในยุคทศวรรษ 60 เริ่มมีการแข็งขันจากผ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น และ ตุ้นทุนภายในประเทศอยู่ในระดับที่สูง เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนา หรือการลงทุนเพียงพอในด้านวัตถุดิบ

อุตสาหกรรมสิ่งทอในเม็กซิโก ได้รับแรงอัดฉีดอีกครั่งหนึ่ง ในยุคความตกลงการค้า NAFTA ซึ่งเม็กซิโกได้ลงนามกับสหรัฐฯ ในปี 1994 ต้นทุนการนำเข้าวัตถุดินและเครื่องจักรลดลงอย่างมาก และได้รับการอัดฉีดด้านเงินทุนจากนักลงทุนสหรัฐฯ ที่เข้่าร่วมโครงการสิทธิประโยชน์ maquiladora มีผลให้เม็กซิโกเป็นส่งออกสิ่งทอไปยังสหรัฐฯ อันดับหนึ่ง จากปี 1996 จนถึงปี 2001

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากเม็กซิโกไปยัง สหรัฐฯ มีมูลค่า 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใน 1994 และได้เติบโตอย่างต่อเนื่อจนเพิ่มเป็น 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน 2003


ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอเม็กซิโก ที่อาจเป็นประโยชน์:

Promexico (Bancomex) 's sector reports
Market Report of Textile Industy by Embassy of India Mexico
Abstract of market research by infomat.com
Bnet's article: Mexico's Balancing Act: NAFTA, New Markets and Major Investments - Textile industry growth initiatives
Article by thecottonschool.com: The Mexican Textile Industry: Evolution or Revolution

Wednesday, July 23, 2008

ค่าเงินเม็กซิโกเพิ่มขึ้น




The News วันพุทธที่ 2 ก.ค. 2008, "Peso up to strongest since 2002" (ภาพเอกสารแสดงข้างเคียง)ได้รายงานว่า ค่าเงินเม็กซิโกเพิ่มขื้น เนื่องจากตลาดเงินตราระหว่างประเทศ คาดว่า ธนาคารกลางเม็กซิโก จะประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ย CETES (Certificado de Tesorerian) เพิ่มขึ้นเป็นรอบที่สามตั้งแต่เดือนคุลาคมปีที่ผ่านมา เป็นร้อยละ 8.25 เพื่อการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ แต่ในขณะเดียวกันได้มีผลดึงดูดการลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นในประเภทหลักทรัพย์รายได้ประจำ (fixed income securities)

Saturday, July 19, 2008

CEMEX

Cemex บริษัทเม็กซิกันผู้ผลิตปูนระดับโลก

บริษัท CEMEX เป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าก่อสร้างรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนอันดับ 3 ของโลก (รองจาก Lafarge ของฝรั่งเศส และ Holcim ของสวิสเซอร์แลนต์)

ความสามารถในการผลิตปูนทั่วโลกของ CEMEX เท่ากับ 94 ล้านเมตริกตัน ความสามารถในการผลิตคอนครีดพร้อมใช้ (ready-mix concrete) 74 ล้านคูบิกเมตร และผลิตภัฒน์ข้างเคียงอีก 166 ล้านเมตริกตัน รายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทมาจากยอดขายซึ่งบริษัทผูกขาดในประเทศเม็กซิโก ยอดขายรวมของบริษัทฯ ในปี คศ. 2007 คาดว่ามีมูลค่าประมาณ 21.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

CEMEX มีศุนย์กลางการบริหารอยู่ที่เมือง Monterry (แหล่งรวามอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญ ๆ ทางเหนือของเม็กซิโก) โดยมีเครือข่ายการผลิตทั่วโลกรวม 50 ประเทศ ในภูมิภาคอเมริกาเหนือและใต้ แคริเบียน ยุโรป เอเชียและแอฟริกา และมีโรงงานผลิตปูนในประเทศไทย 1 แห่งที่สระบุรี (โดย CEMEX ได้ซื้อบริษัทสระบุรีซีเมนต์ จากอิตัลไทยเมื่อปี คศ. 2001 มูลค่าประมาณ 73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ความสามารถในการผลิตปูน 7.2 แสนเมตริกกันต่อปี ขณะนี้ใช้ความสามารถในการผลิตเต็มกำลัง) และยังมีโรงงานผลิตปูนและแหล่ง quarry ในมาเลเซียและฟิลิปปินส์อีกด้วย

บริษัท CEMEX ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี คศ. 1906 โดยปู่ของนาย Lorenzo Zambrano ผู้บริหารสูงสุดคนปัจจัน โดยการรวมโรงงานการผลิตสองแห่งในรัฐ Monterrey ต่อมาในยุคสมัยทศวรรษช่วง คศ. 60 ได้ขยายกิจการโดยการซื้อกิจการของผู้ผลิตซีเมนต์รายย่อยตามรัฐต่าง ๆ ในเม็กซิโก และในปี 1976 ได้นำบริษัทฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์เม็กซิโก เพื่อระดมทุนซื้อโรงงานผลิตปูนรายใหญ่สามแห่งของรัฐ Guadalajara เป็นปีที่ CEMEX กลายเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเม็กซิโก ในปี 1986 ได้เริ่มขยายกิจการไปต่างประเทศโดยการซื้อบริษัทผลิตปูนไปในกลุ่มประเทศ latin อื่น ๆ รวมทั้งประเทศเสปน

ในปี 2006 บริษัท CEMEX ได้เริ่มการเจรจาเพื่อซื้อบริษัท Rinker ของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกปูนไปยังตลาดสหรัฐฯ และประสบผลสำเร็จในต้นปี 2008 โดยตกลงมูลคค่าการซื้อขายประมาณ 17 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การบริหารหนี้ การผลิตและการตลาดในสองสามปีข้างหน้า จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการขยายตัวของบริษัท CEMEX ต่อไป

นอกจากนี้แล้ว เมือต้นปี คศ. 2008 นาย Hugo Chavez ประธานะบดีเวเนซูเอลา ได้ประกาศยึดบริษัทซีเมนต์ในประเทศเวเนซุเอลา ซี่ง CEMEX เป็นผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่ง โดยครอบครองตลาดเป็นครึ่งหนึ่งของตลาดปูนในเวเนซูเอลา บริษัท CEMEX ประเทศเวเนซูเอลา มีความสามารถในการผลิตเท่ากับ 4.6 ล้านเมตริกตัน เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกโดยส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้ ผู้วิเคราะห์ตลาดคาดว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลร้ายต่อบริษัทฯ เท่าที่ควร เนื่องจากบริษัท CEMEX เวเนซูเอลา มีสัดส่วนต่อรายได้รวมของบริษัทเพียงประมาณร้อยละ 4

ในรายงานภาวะการเงินภาคแรกของบริษัทฯ ได้ประกาศว่าสามารถลดต้นค่าใช้จ่ายการเงินได้ถึง 400 ล้านเหรียญ เนื่องจากดอกเบี้ยลดลง จากการซื้อบริษัท Rinker ทั้งนี้ บริษัทจะให้ความสำคัญในการลดหนี้เป็นอันดับแรก

ประเด็นน่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย

การที่ CEMEX ได้ลงทุนในประเทศไทย อาจช่วยให้ผู้ผลิตปูนในประเทศไทยได้รับข้อมูลและได้มีส่วนร่วมในเทคโนโลยีในการผลิตปูนที่ประสิทธภาพมากขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมไทย บริษัท CEMEX ไม่ได้มองแค่ตลาดภายในประเทศตลาดเดีย แต่มีแผนการจะขยายตลาดไปยังตลาดอื่น ๆ ใน ภูมิภาค เช่น ญี่ปุ่นและจีน ซึ่งเมื่อบริษัทฯ พร้อมจะไปในทิศทางนั้นแล้วก็จะเป็นเสมือนการขยายตลาดปูนของไทยไปต่างประเทศ นอกจากนี้แล้ว บริษัท CEMEX มีชื่อว่าเป็นบริษัทที่สนใจร่วมช่วยพัฒนาสังคม ซึ่งภาคประชาชนอาจจะหาช่องทางของรับเงินช่วยเหลือพัฒนาโครงการสังคมต่าง ๆ ได้ คู่แข่งต่างชาติที่สำคัญของ CEMEX ได้แก่บริษัทปูนของฝรั่งเศส การที่มีผู้ลงทุนต่างชาติรายอื่นในอุตสาหกรรมที่มีลักษณะผูกขาดเช่นปูนซีเมนต์น่าจะเป็นผลดีแก่ประเทศไทย

Friday, July 18, 2008

ขั้นตอนการเปิดธุรกิจในเม็กซิโก

ก่อนการขอจดทะเบียน:

- ขอวีซ่านธุรกิจจากสถานทูตเม็กซิโก 99.00 เหรียญสหรัฐฯ ปกติสามารถขอรับได้ใน 24 ชั่วโมง

- ขอหนังสือ Power of Attorney จากสถานทูต รับรองว่าเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนบริษัทไทยที่ประสงค์ดำเนินุรกิจในเม็กซิโก

การจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท

- ขออนุญาติจัดตั้งบริษัทต่างชาติกับกระทรวงการต่างประเทศเม็กซิโก หากมีคุณสมบัติตามโครงการ SARE (Rapid Business Start-up System) สามารถทำการขออนุญาตทาง internet เสียค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียม 555 เปโซ รับคำตอบภายใน 48 ชั่วโมง
- แจ้งการขอตั้งบริษัทกับบริษัททนายความ Public Notary ค่าใช้จ่ายประมาณ 500 เหรียญสหรัฐฯ

ประเภทการดำเนินธุรกิจ:

o S.A. (Sociedad Anonima) ประเภทบริษัทจำกัด ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 50,000 เปโซ หรือ
o S. de R.L. de C.V., (Sociedad de Responsabilidad Limitada) ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 3,000 เปโซ คล้ายห้างหุ้นส่วนจำกัด มีผู้ถือหุ้นร่วมสูงสุดไม่เกิน 50 หุ้นส่วน
o ทั้งสองประเภทธุรกิจจะต้องแจ้ง by-laws กับ Notario Publico

เมื่อได้รับอนุมัติชื่อบริษัทแล้ว:

- ขอขึ้นทะเบียนผู้เสียภาษีกับกระทรวงการคลัง (Hacienda) ภายใน 15 วัน โดยการติดต่อสำนักงานสรรพากรในท้องที่ หรือผ่าน internet ได้ ที่ http://www.sat.gob.mx/nuevo.html

ภาษี:

o ภาษีรายได้บุคคลหัก ณ ที่ จ่าย ร้อยละ 35
o ภาษีกำไรธุรกิจ ร้อยละ 35 หรือ ภาษีทรัพย์สิน ร้อยละ 2
o ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 15

- ในกรณีย์เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการเงิน ต้องจดทะเบียนและได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการ จากกระทรวงการคลัง

- ในกรณีย์ประสงค์จะนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ ต้องขออนุมัติจากกระทรวงการคลัง

เกี่ยวกับการใช้พื้นที่และสิ่งแวดล้อม:

- ขอจดทะเบียนกับ Public Commercial and Property Register และขออนญาติการใช้ที่ดิน ในเขตท้องที่ที่บริษัทตั้ง การอนุมัติใช้เวลาการดำเนินการประมาณ 20-30 วัน

- ต้องแจ้งกระทรวงสาธารณสุข ภายใน 10 วันที่ได้หมายเลขผู้เสียภาษี พร้อมการขออนุมัติรับบริการน้ำดื่ม มีผลบังคับใช้หลัง 20 วัน

- จดทะเบียนการติดตั้งป้ายชื่อธุรกิจ ภายใน 22 วัน

- จดทะเบียนแหล่งน้ำเสียและการปล่อยน้ำเสีย ประมาณ 10 วัน

- ต้องแจ้งการขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า และบริษัท PEMEX หากมีการใช้พลังงานในระดับที่สูงมาก

-ในกรณีย ์ธุรกิจมีการกำจัดของเสีย ที่มีผลต่อมลภาวะ ต้องของใบอนญาตเพิ่มเติม จากกระทรวงสิ่งแวดล้อม ภายในหนึ่งเดือน ที่ได้รับหมายเลขผู้เสียภาษี

- โครงการลงทุนด้านอุตสาหกรรมทุกประเภท ต้องได้รับการประเมินเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม Operation License จาก State Ecological Commisssion

เมื่อเริ่มจ้างลูกจ้าง:

- การขึ้นทะเบียนลูกจ้างกับ Seguro Social ประกันความปลอดภัยพนักงาน ภายใน 5 วัน ที่ได้ทำสัญญาว่าจ้างกับลูกจ้าง ไดรับการอนุมิตประมาณ 15 วัน เงินหักค่าสวัสดิการ ประมาณร้อยละ 22 ของเงินเดือน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินโบนัสคริสมัส เท่ากับค่าจ้าง 15 วัน ค่าตอบแทนในกรณีถูกไล่ออก เท่ากับ 90 วันสำหรับปีแรก บวก 20 วันสำหรับแต่ละปีที่ทำงาน

- ขึ้นทะเบียนกับ Payroll Taxroll

- Mixed Training and Education Commision แจ้งเกี่ยวกับ โครงการอบรมพนักงาน กับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ

- ขึ้นทะเบียนกับ Health and Safety Commision

การแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการเก็บข้อมูลรัฐ:

- จดทะเบียนกับการลงทุนต่างชาติภายใน 30 วันหลังจากได้รับหมายเลขผู้เสียภาษี

- ขึ้นทะเบียนกับ Mexican Business System (SIEM) ค่าใช้จ่ายประมาณ 100-670 เปโซ

- แจ้งตัวเลขสถิติกับ สถาบันสถิติ INEGI

รายการ website ของรัฐบาลเม็กซิโกที่เกี่ยวข้อง:

Opening New Business in Mexico

ProMexico, Trade Directory of Mexico, Hacienda, Seguro Social, INEGI, SRE, SE

website อื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

Understand Mexico, Mexico Law, mexconnect, Sme Toolkit

Thursday, July 17, 2008

สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการส่งออกของประเทศเม็กซิโก

1) Maquiladora
ประเทศเม็กซิโกได้เริ่มนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อการส่งเสิรมการส่งออก ภายใต้โครงการมาคิลาด้อรา (Maquilador) ตั้งแต่ช่วงทศวรรษปี คศ. 1950

ผู้ขอใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้โครงการมาคิลาด้อราเป็นนักลงทุนจากต่างชาติ ส่วนใหญ่จากสหรัฐฯ

อุตสาหกรรมภายใต้มาคิลาด้อราได้เริ่มขยายตัวในทศวรรษต่อ ๆ มา จนกลายเป็นแหล่งเงินตราต่างประเทศอันดับสองรองจากน้ำมันในช่วงปี 1980

จากปี 1973 เป็นต้นมา การส่งออกของอุตสาหกรรมมาคิลาด้อรา มีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการส่งออกทั้งหมด ระหว่างปี 1995 ถึง 2000 การขยายตัวของกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้โครงการดังกล่าว ได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว เทียบเท่ากับการเปิดกิจกรรมที่ใช้สิทธิประโยชน์ฯ หนึ่งแห่งต่อวัน

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผลผลิตของอุตสาหกรรมภายใต้โครงการฯ มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 25 ของผลผลิตรวมแห่งชาติ (GDP) และจ้างงานร้อยละ 17 ของแรงงานประเทศ (ราว ๆ ล้านกว่าคน) แต่ผลกำไรของกิจกรรมเหล่านี้ี้ มักจะถูกส่งกลับไปยังประเทศผู้ลงทุน เช่น สหรัฐฯ จึงไม่ได้มีผลช่วยการพัฒนาเศรษฐกิจโดยตรงของประเทศเม็กซิโกเท่าที่ควร

หลังจาก ปี 2000 เป็นต้นมา การแข่งขันจากต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า จากประเทศจีนและกลุ่มประเทศอเริกากลาง ได้มีผลทำให้อุตสาหกรรมการส่งออกภายใต้โครงการมาคิลาด็อราเริ่มอ่อนตัวลง

ผู้มีสิทธิขอรับสิทธิประโยชน์มาคิลาด้อรา มี 4 ประเภทคือ
    1. ผู้ได้รับจ้างให้ทำการผลิตเพื่อการส่งออก (sub-contract)
    2. ผู้ลงทุนต่างชาติเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบและเครื่องจักรการผลิต และผู้ผลิตฝ่ายเม็กซิกัน เป็นผู้บริหารและจัดหาแรงงาน (shelter program)
    3.เป็นการลงทุนร่วมระหว่างผู้นำเข้าฝ่ายต่างชาติิกับบริษัทเม็กชิกัน ที่ดำเนินการเดินเรื่องด้านกฏหมาย และเอื้ออำนวยการผลิตภายในประเทศ (joint venture)
    4. บริษัทต่างชาติเป็นผู้ลงทุนเต็มรูปแบบ (sole proprietor)
การขอใฃ้สิทธิ

ผู้ขอใช้สิทธิต้องยื่นของใบอนุญาติประกอบกิจกรรมมาคิลาด้อรา กับกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม (Secreterian de Comercio y Fomento Industrial/SECOFI)ซึ่งเป็นผู้ประสานต่อกับกรมศุลกากร เพื่อให้อนุญาติการนำเข้าตามรายการที่ขอ (วัตถุดิบ เครื่องจักร วัสดุที่ใช้การบรรจุ) ระยะเวลาที่ปัจจัยเหล่านี้ จะอยู่ภายในประเทศได้ก่อนการส่งออก อัตราส่วนที่สามารถถือว่าเป็นส่วนที่ศูนย์เสียไปในการผลิต และท่านำเข้าและส่งออกที่อนุญาตให้ผ่าน ทั้งนี้ บริษัทผู้ส่งออกต้องใช้บริการของตัวแทนศุลกากรอิสระที่ได้รับอนุมัติ หรือจ้างเป็นพนักงานในบริษัทเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร

บริษัทผู้ขอใช้สิทภายใต้โครงการมาคิดอร้า ฺสามารถนำเข้าเงินทุนใหม่ (working capital/operating expenses) เป็นรายเดือนจากแหล่งทุนต่างประเทศ ต้องแจ้งรายได้และเสียภาษีรายได้(28%) ภาษีหลักทรัพย์(1.5%) (ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกจ่ายระหว่างภาษีหนึ่งในสองดังกล่าวที่มูลค่าสูงกว่า)และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(15%) สำหรับสินค้าทีซื้อภายในประเทศ แต่สามารถขอคืนภาษีได้ และสุดท้ายต้องแจ้งภาษีแรงงานอีกด้วย

ภาษีนำเข้าที่สามารถขอยกเว้นได้

อนึ่ง การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเนื่องจากพิกัด 800, 806.20, 806.30, และ 807 อนุญาติให้นำเข้าสินค้า (re-entry) ที่ได้มีแหล่งกำเนิดจากสหรัฐฯ โดยปลอดภาษี ทั้งนี้มาตรา 9802.00.60 9802.00.40 ภายใต้ Harmonized System ของสหรัฐฯ ระบุให้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสัดส่วนที่มีการผลิตในต่างประเทศ แต่ภายใต้ระบบ GSP(Generalized System of Preference) ของสหรัฐฯ ถือว่าหากสัดส่วนที่ผลิตจากเม็กซิโกเกินร้อย 35 สามารถนำเข้าโดยปลอดภาษี

เขตพื้นที่

อุตสาหกรรมมาคิลาด้อราส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่อยู่ตามชายแดนเม็กซิโก-สหรัฐฯ ซึ่งได้แก่เมือง Tijuan, Tecate, Mexcali, San Luis Rio Colorado, Nogales, Agua Prieta, Ciudad Juarez, Cuidad Acuna, Piedras Negras, Matamoros, Ciudad Tamaulipas นอกจากนี้ เมืองอื่น ๆ ที่ห่างออกไปเล็กน้อยราว 2-3 ชั่วโมงได้แก่ Ensenada, Hermosillo, Ciudad Chihuahua, และ Monterrey

ภาคอุตสาหกรรม

ภาคอุตสาหกรรมที่ได้เติบโตเนื่องจากโครงการสิทธิประโยชน์มาคิลาด้อรา ได้แก่ อุตสาหกรรมยุคแรกคือ ยานยนต์ อิเล็คตรอนนิกส์ เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตใหม่ คือ การผลิตเครื่องบิน ศูนย์ค้นคว้าและวิจัย ลอจิสติก การอำนวยธุรกิจ และการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์

2) PITEX

การให้สิทธิประโยชน์ภายใต้โครงการ PITEX (Program for Temporary Imports to Promote Exports) ได้เริ่มใช้ในปี 1990 เพื่อให้สิทธิประโยชน์นักลงทุนภายในประเทศ สามารถทำการผลิตให้มีความแข่งขันในระดับเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ให้สิทธิมาคิลาด้อรา โรงงานเม็กซิกันที่มีการส่งออกเกินกว่าร้อยละ 10 ของยอดขายสามารถนำเข้าวัตถุดิบได้โดยยกเว้นภาษีนำเข้า แต่ต้องมีการส่งออกภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากมีการส่งออกมากกว่าร้อยละ 30 สามารถนำเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตเข้ามาโดยปลอดภาษี

3) IMMEX

รัฐบาลกลางแห่งเม็กซิโกได้ประกาศกฏระเบียบใหม่เพื่อรวมโครงการสิทธิประโยชน์เพื่อการส่งออก ให้อยู่ภายใต้รายการเดียวซึ่งเรียกว่า IMMEX (Maquiladora Manufacturing Industry and Export Services) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน คศ. 2006 เป็นการลดขั้นตอนการในการขออนุญาตจาก 29 รายการ เหลือ 16 รายการ บริษัทผู้ขอใช้สิทธิต้องใช้สิทธิภายใต้โครงการสิทธิของ IMMEX เพียงโครงการเดียว แต่สามารถมีรูปต่าง ๆ ได้ แก่ Umbrella Maquila, industrial, services, shelter, certified third party entities ทั้งนี้ ต้องมีการส่งออกรายปีมากกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือส่งออกอย่างน้องร้อยละ 10 ของ annual invoice และต้องมี Advance Electronic Signature สำหรับบริษัทที่ใช้สิทธิตามโครงการ Mauiladora และ PITEX จะได้รับการหมายเลข IMMEX จากกระทรวงเศรษฐกิจ และสามารถใช้สิทฺประโยชน์เดิมได้ถึง 1 กรกฏาคม คศ. 2007

4) เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ระหว่าง Maquiladora, PITEX และ IMMEX

ผู้ผลิตเม็กซิกันที่ใช้โครงการสิทธิประโยชน์ของ PITEX มีข้อได้เปรียบ คือสามารถขายสินค้าภายในประเทศเม็กซิโกได้โดยไม่มีข้อจำกัด ในขณะที่ผู้ใช้สิทธิ Mauiladora ไม่สามารถขายสินค้าภายประเทศได้ในระยะแรก ในขณะที่ผู้ใช้สิทธิ Maquiladora ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ

การให้สิทธิภายใต้โครงการ IMMEX เพียงโครงการเดียว เป็นการช่วยลดขั้นตอนการขออนุญาต เนื่องจากหลายบริษัท เปลี่ยนการขอให้สิทธิกลับไปกลับมา และในแง่การรวบรวมสถติและติดตามภาวะอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ INEGI (Instituto Nacional de Extadistica, Geografia y Informacion)
จะยกเลิกการรายงานตัวเลข Maquiladora โดยจะรายงานตัวเลข IMMEX แทน ซึ่งอาจส่งผลเสียเล็กน้อยสำหรับผู้รวบรวมภาวะอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค ซึ่งตัวเลข Maquiladora แยกรายการย่อยตามภูมิภาค ในช่วงปรับตัวเลขจะขาดข้อมูลดังกล่าวไป 12 เดือน และตัวเลขใหม่จะไม่สามารถให้ภาพย้อนหลังจนกว่าจะมีการเก็บสิถติอีกหลายปี

โครงการสิทธิประโยชน์ IMMEX ได้ประกาศเป็น Decree และยังไม่ได้ออกเป็นกฏหมาย Custom Law ฉะนั้น กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยงข้อง ซึ่งได้แก่ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม กระทรวงเศรษฐกิจ กรมศุสกากร ยังสามารถกำหนดขั้นตอนภายในอีกตามใจชอบ นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลของประธานาธิบดี Calderon ยังจะมีการปรับปรุงโครงสร้างภาษี (fiscal reform) เพิ่มเติม ซึ่งจะปรับภาษีของการประกอบธุรกิจ ให้มีอัตรารวมตัวเดียวสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท ซึ่งเรียกว่า CETU ฉะนั้นข้อได้เปรียบด้านภาษีบางส่วนของ Maquiladora จะหมดไปอันเป็นผลให้ต้องเสียภาษีรายได้สูงขึ้น