Google Website Translator

Wednesday, June 23, 2010

Opportunities for Thai Trade & Investment: Textile and Garments in Mexico

อุตสาหกรรมสิ่งทอในเม็กซิโก

ภาวะการผลิต

การค้าสิ่งทอโลกในปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีแนวโน้มที่จะมีการขยายตัวต่อไป โดยผู้วิจัยด้านการตลาดคาดว่า ช่วงระหว่างปี 2545-2553 ได้มีการขยายตัวการค้าสิ่งทอโลกในอัตราร้อยละ 25 ประเทศที่มีความสำคัญที่สุดในการผลิตและส่งออกสิ่งทอ ได้แก่ ประเทศจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งของตลาดโลกประมาณร้อยละ 46 รองลงมาได้แก่ ประเทศอินเดีย ซึ่งมีส่วนแบ่งในการค้าโลกร้อยละ 20 ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ที่กำลังมีการขยายการผลิตอย่างรวดเร็ว ได้แก่ ประเทศปากีสถาน เวียดนาม เขมร บางกลาเทศ และตุรกี

ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสิ่งทอของเม็กซิโกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็มีช่วงที่ไม่สามารถปรับทันต่อสภาวะการแข่งขันเช่นกัน ทั้งนี้ การขยายตัวอย่างรวดเร็วได้มีสาเหตุสำคัญมาจากการเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ตั้งแต่ปี 2537 โดยการส่งออกสินค้าสิ่งทอ (ผ้าผืน เส้นด้ายและเสื้อผ้าสำเร็จรูป- H.S. code 52 – 63) ไปตลาดสหรัฐฯ ในปี 2538 มีมูลค่า 3,562 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 6,931 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2549 หรือประมาณร้อยละ 94

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกสิ่งทอของเม็กซิโก ได้แก่ การแข่งขันจากประเทศจีน และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง รวมทั้งผลกระทบของวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ

ในปี 2544 ประเทศจีนได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลกและสามารถส่งออกสิ่งทอไปยังสหรัฐฯได้ จึงแย่งส่วนแบ่งการครองตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในสหรัฐฯ ไปจากเม็กซิโก ทำให้สินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากเม็กซิโกลดความสำคัญลง ในปี 2550 ประเทศจีนมีสัดส่วนการครองตลาดสิ่งทอฯ ในสหรัฐฯ ร้อยละ 36 ในขณะที่สัดส่วนของเม็กซิโกลดลงร้อยละ 7 ปัจจุบันเม็กซิโกเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าสิ่งทอฯ สำหรับสหรัฐฯ เป็นอันดับสี่

ต่อมาในปี 2547 สหรัฐฯ ได้ทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ประเทศเหล่านี้มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเม็กซิโก และยังมีความสามารถผลิตสินค้าสิ่งทอได้อย่างมีคุณภาพ เนื่องจากการลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นการลงทุนใหม่ และได้นำเครื่องจักรและกระบวนการผลิตที่ทันสมัยกว่ามาใช้ได้ทันที อันเป็นผลให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ หันไปสั่งสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากประเทศอเมริกากลางเพิ่มขึ้น

วิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ ในปี 2551 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเม็กซิโกมากกว่าประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐฯ โดยภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ของเม็กซิโกเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ผู้ดำเนินกิจการด้านสิ่งทอฯ ต้องปิดกิจการและเลิกจ้างคนงานเป็นจำนวนมาก มีการประเมินว่าการส่งออกสิ่งทอฯ ของเม็กซิโกได้ลดลงประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ระหว่างปี 2551 ถึงปี 2552

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตสินค้าสิ่งทอของเม็กซิโกยังคงมีความหวังว่า ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอจะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ หากเม็กซิโกเน้นการเสนอขายสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่มีความหลากหลายมากขึ้น และเสนอบริการส่งสินค้าที่ทันต่อเวลาในระยะเวลาที่น้อยกว่าประเทศอื่น ๆ รวมทั้งความใกล้ชิดกับตลาดของสหรัฐฯ ที่ทำให้นักธุรกิจเม็กซิกันมีความคุ้นเคยกับสภาวะและรสนิยมตลาดสหรัฐฯ จะเป็นจุดแข็งในการขายสินค้าสิ่งทอจากเม็กซิโก นอกจากนี้แล้ว ผู้ผลิตเม็กซิกันได้เริ่มตื่นตัวต่อการแข่งขันจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ามากขึ้น และกำลังปรับปรุงเรียนรู้กระบวนกากรผลิตและการขายใหม่ๆ โดยในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาได้มีการลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่กว่า 2 พันล้านเหรียญฯ

ตลาดส่งออกที่มีสำคัญสำหรับสินค้าสิ่งทอจากเม็กซิโก รองจากสหรัฐฯ ได้แก่ แคนาดา โคลัมเบีย และจีน นอกจากนี้แล้ว ตลาดภายในประเทศของเม็กซิโกเองก็เป็นตลาดที่สำคัญมากและยังมีโอกาสการขยายตัวอีก่อนข้างสูง ทั้งนี้ บริษัท Walmart ได้เปิดสาขาใหม่ในเม็กซิโกในปี 2552 ทั้งหมด 174 สาขา และบริษัท Cherokee Group, Gap Inc และ Inditex ต่างได้ขยายกิจการในปีที่ผ่านมา

ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอของเม็กซิโกมีการจ้างแรงงานโดยตรง 130,000 คน และภาคเครื่องนุ่งห่มจ้างแรงงานโดยตรงอีก 400,000 คน

การบริโภคและตลาดภายในประเทศ

บริษัทวิจัยตลาดสิ่งทอ Trendex Mexico ได้รายงานว่า ในปี 2551 ตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูปภายในของเม็กซิโกมีมูลค่าประมาณ 21 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสามารถแบ่งเป็น 9.3 พันล้านเหรียญฯ สำหรับเสื้อผ้าชาย 8.3 พันล้านเหรียญฯ สำหรับเสื้อผ้าหญิง 3 พันล้านเหรียญฯ สำหรับเสื้อผ้าเด็ก และ 400 ล้านเหรียญฯ สำหรับเสื้อผ้าเด็กธารก ทั้งนี้ การใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวสำหรับการซื้อเสื้อผ้า มีมูลค่าประมาณ 195.20 เหรียญฯ ต่อหัวต่อปี โดยจะมีการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากห้างสรรพสินค้า ประมาณร้อยละ 25 จากซุปเปอร์มาร์เก็ตร้อยละ 16 จากร้านบูติกร้อยละ 21 และจากแผงลอยตามตลาด อีกร้อยละ 33 ทั้งนี้ ตลาดการขายเสื้อผ้าตามแผงลอย มีมูลค่าการขายเกือบเท่ากับตลาดในห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขายเสื้อผ้าสำเร็จราคาถูกจากประเทศจีนที่ลักลอยเข้ามาโดยพ่อค้าแม่ค้าอิสระอย่างหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้า

ตลาดเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเม็กซิโกเป็นตลาดที่มีคู่แข่งหลายราย โดยมีบริษัทสำคัญ 11 รายที่ครองตลาดรวมกันมีสัดส่วนในตลาดร้อยละ 37 โดยในปี 2008 บริษัท Suburbia มีส่วนแบ่งการครองตลาดในเม็กซิโกร้อยละ 8.9 บริษัท Liverpool/Fabricas ร้อยละ 7.5 บริษัท Bodega Aurrera ร้อยละ 3.5 บริษัท Coppel ร้อยละ 3.5 Walmart de Mexico ร้อยละ 3.4 และ Zara ร้อยละ 2.4

การนำเข้า

การนำเข้าสิ่งทอรายการที่สำคัญที่สุดของเม็กซิโกได้แก่ เสื้อผ้าถักทอ ในปี 2552 ได้มีการนำเข้าเสื้อถักทอมูลค่า 982 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลดจากปี 2551 ร้อยละ 16 สินค้าสิ่งทอสำคัญรองลงมาได้แก่ ผ้าฝ้ายและเส้นด้ายฝ้าย มีมูลค่าการนำเข้าในปี 2552 เท่ากับ 978 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อมาสินค้าสิ่งทออันดับสามได้แก่ เลื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าในปี 2552 เท่ากับ 965 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นปริมาณการนำเข้าที่ลดลงจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 18

เม็กซิโกนำเข้าผ้าและเส้นด้ายฝ้าย จากสหรัฐฯ เป็นสำคัญ เนื่องจากการผลิตที่จะส่งออกไปยังสหรัฐฯ สามารถขอยกเว้นการเสียภาษีนำเข้าภายใต้โครงการสิทธิพิเศษมาคิดอร่า แหล่งนำเข้าสำหรับผ้าและเส้นด้ายฝ้ายรองลงมาได้แก่ ประเทศจีน และกัวเตมาลา

การส่งออก

รายการสินค้าสิ่งทอส่งออกที่สำคัญที่สุดของเม็กซิโกได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปประเภทถักและทอ (HS 61, 62, 63) โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมสามรายการดังกล่าว ในปี 2552 เท่ากับ 4,729 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นปริมาณที่ลดลงจากปีก่อนเช่นกัน แสดงผลกระทบของวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ อย่างชัดเจน ตลาดส่งออกสินค้าสิ่งทอที่สำคัญของเม็กซิโก ได้แก่ สหรัฐฯ และแคนาดา

ทั้งนี้ ในต้นปี 2553 เริ่มจะเห็นการฟื้นฟูในการส่งออกสิ่งทอไปยังสหรัฐฯ โดยในเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ แสดงการนำเข้ารายการสิ่งทอ HS 61, 62 และ 63 เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6, 5 และ 12 ตามลำดับ

ช่องทางการตลาด

สินค้าเส้นด้ายและผ้าผืนจะมีช่องทางการขายผ่านผู้นำเข้าไปยังผู้ค้าส่งหรือโรงงาน การขยายตลาดโดยผ่านช่องทางการแต่งตั้ง Local Distributor หรือผ่าน Bonded Warehouse เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาดำเนินการ ในการแสวงหาลูกค้าที่เป็นโรงงานผลิตขั้นปลายให้ได้มากขึ้น ทั้งนี้หากจะแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ ผู้ที่เป็นตัวแทนหรือ Distributor เหล่านี้จะสามารถช่วยดูแลลูกค้าทั้งก่อนและหลังการจำหน่ายสินค้า และสามารถบริหารจัดการในการจัดส่งสินค้าได้ตามกำหนดแบบ Just – in – time นอกจากนี้ยังจะช่วยในการประชาสัมพันธ์สินค้าโดยการเข้าไปร่วมงานแสดงสินค้าแทนผู้ส่งออกได้ด้วย อย่างไรก็ตามในการจัดหาตัวแทนดังกล่าวผู้ส่งออกไม่ควรให้มีผลกระทบทำให้ต้นทุนราคาสินค้าสูงขึ้นมาก เพราะจะทำให้ลูกค้าที่เป็นโรงงานปฏิเสธการติดต่อผ่านตัวแทนเพื่อตัดคนกลาง ทั้งนี้ผู้ค้าส่งผ้าผืนของเม็กซิโกส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในเมืองสำคัญทางการค้า อาทิ กรุงเม็กซิโก เมืองกัวดาลาฮาร่า และเมืองมอนเตอเร
การค้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปขายผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่

  • ผ่านผู้นำเข้าทั่วไปซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ค้าส่ง ผู้ค้าเหล่านี้จะนำสินค้าไปเสนอขายให้กับห้างสรรพสินค้า ห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าเฉพาะต่างๆ ผู้นำเข้าบางรายจะมีโรงงานในเครือและนำเข้าสินค้าบางส่วนที่ตนไม่สามารถผลิตได้เข้ามาจำหน่าย บางรายไม่มีโรงงานแต่มีตรายี่ห้อสินค้าของตนเอง ผู้นำเข้าเหล่านี้มักให้ความสำคัญด้านราคาเป็นหลัก ดังนั้นผู้ส่งออกจากจีนจึงมักจะได้เปรียบในการขายให้กับผู้นำเข้าประเภทนี้ แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มผู้นำเข้าที่มีตรายี่ห้อสินค้าของตนเองจะให้ความสำคัญกับด้านคุณภาพสินค้า ดังนั้นผู้นำเข้ากลุ่มนี้จะเป็นโอกาสในการเข้าไปเจาะตลาดของผู้ส่งออกไทย

  • ผ่านห้างสรรพสินค้าและห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต อาทิ ห้างสรรพสินค้า Liverpool ห้างสรรพสินค้า SEAR และห้างสรรพสินค้า Palacio De Hierro รวมทั้งห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต อาทิ Soriana, Gigante, Comercial Mexicana, Wal-mart Mexico ห้างเหล่านี้มักจะใช้ International Buying Agent อาทิ Li-Fung หรือ Collins เป็นผู้จัดซื้อสินค้า และจะซื้อจากผู้นำเข้ารายย่อยที่มาเสนอขายกับฝ่ายจัดซื้อของห้าง ดังนั้นการที่ผู้ส่งออกจะเข้าไปเสนอขายโดยตรงจะค่อนข้างนัดหมายยาก และห้างเหล่านี้ต้องการบริการหลังการขาย เนื่องจากเป็นห้างใหญ่และมักจะมีอำนาจต่อรองมากกว่าผู้ขาย  

  • ผ่านร้านค้าเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งมีจำหน่ายสินค้าที่เป็น High Fashion และมีราคาแพง โดยทั่วไปร้านค้าเหล่านี้จะมีสาขาจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ อาทิ ร้าน LOB, ร้าน Zara, ร้าน Julio, ร้าน C&A ซึ่งร้านเหล่านี้มักมีโรงงานของตนเอง และจะซื้อบางส่วนจากแหล่งอื่นๆ ด้วย โดยบางรายจะมี Buying Agent ในเอเชียแล้ว ดังนั้นผู้ส่งออกจะต้องติดต่อผ่าน Buying Agent ของบริษัทเหล่านี้
ภาษีนำเข้า

อัตราภาษีนำเข้าของประเทศเม็กซิโกเก็บจากราคา CIF โดยมีอัตราโดยเฉลี่ย ดังนี้
  • H.S. code 52 (ด้ายฝ้าย และผ้าทอจากฝ้าย) ภาษีนำเข้า 15% ต่อ Kg/m2
  • H.S. code 54 (เส้นใยยาวประดิษฐ์ และผ้าทอจากใยประดิษฐ์) ภาษีนำเข้า 15% ต่อ Kg/m2
  • H.S. code 55 (เส้นใยสั้นประดิษฐ์) ภาษีนำเข้า15% ต่อ Kg/m2
  • H.S. code 56 (ผ้าสักลาดและผ้าที่ไม่ได้ทอ) ภาษีนำเข้า 15% ต่อ Kg
  • H.S. code 58 (ผ้าทอเป็นปุย ผ้าลูกไม้) ภาษีนำเข้า 35% ต่อ Kg
  • H.S. code 60 (ผ้าถัก) ภาษีนำเข้า10% ต่อ Kg  
  • H.S. code 61 (เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากผ้าถัก) ภาษีนำเข้า 35% ต่อชิ้น
  • H.S. code 62 (เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากผ้าทอ) ภาษีนำเข้า 35% ต่อชิ้น
  • H.S. code 63 (เคหะสิ่งทอ) ภาษีนำเข้า 35% ต่อชิ้นคู่/Kg
เม็กซิโกนำเข้าจากไทย

ในปี 2552 เม็กซิโกนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากไทยดังต่อไปนี้

(มูลค่า: เหรียญสหรัฐฯ)                               2551               2552

HS 52 (ด้ายฝ้าย และผ้าทอจากฝ้าย)     6,008,513     4,905,605
HS 54 (เส้นใยยาวประดิษฐ์ และผ้าทอจากใยประดิษฐ์)     7,700,812     14,506,420
HS 55 (เส้นใยสั้นประดิษฐ์)     4,003,706     3,191,169
HS 56 (ผ้าสักลาดและผ้าที่ไม่ได้ทอ)     3,295,678     2,795,174
HS 58 (สิ่งทออุตสาหกรรม)     1,728,310     639,982
HS 61 (เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากผ้าถัก)     19,328,402     17,141,387
HS 62 (เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากผ้าทอ)     12,215,224     9,321,501
HS 63 (เคหะสิ่งทอ)     1,588,689     1,546,252
HS 64 (รองเท้า)     13,456,764     14,343,365

เม็กซิโกส่งออกมาไทย

ในปี 2552 เม็กซิโกส่งออกสินค้าเส้นด้ายและผ้าผืนมาไทยในหมวด HS 52 (ผ้าและเส้นใยฝ้าย) เป็นส่วนใหญ่ มูลค่า 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการส่งออกสินค้าสิ่งทอมายังประเทศไทยในหมวดสินค้า 51 (ผ้าและเส้นใยขนแกะ) 59 (สิ่งทออุตสาหกรรม) และหมวด 62 (เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอ) มูลค่า 890,778 เหรียญสหรัฐฯ 1,069,840 เหรียญสหรัฐฯ และ 813,364 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

กิจกรรมส่งเสริมการส่งออก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก ได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้า Intermoda 2009 ระหว่างวันที่20-23 มกราคม 2552 ณ ศูนย์แสดงสินค้าเอ๊กโป ที่รัฐกัวดาวาฮาร่า ซึ่งมีผู้เข้าชมงานแสดงฯ จำนวน 19,500 คน สำนักงานฯ ได้ไปจัดคูหาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านการค้าและอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืนของไทย เน้นรูปแบบการตกแต่งคูหาเพื่อเผยแพร่งานแสดงสินค้า BIFF & BIL 2009 โดยมีการเผยแพร่ข้อมูลแก่นักธุรกิจที่สนใจตลอดจนผู้สื่อข่าวท้องถิ่น เผยแพร่ข้อมูลการค้าและงานแสดงสินค้าที่สนใจอื่นๆ และจัดฉาย CD เกี่ยวกับงานแสดงสินค้า BIFF & BIL 2009

คูหา Information Stand ของไทยในงานแสดงสินค้า Intermoda 2009 นับว่า ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานพอสมควร ทั้งนี้ มีผู้ที่แสดงความสนใจสอบถามข้อมูลจากคูหาไทยรวม 127 ราย แยกเป็นผู้นำเข้า 37 ราย ภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิต 43 ราย ผู้จัดจำหน่าย ตัวแทนกระจายสินค้า และผู้ค้าปลีกจำนวน 47 ราย แยกตามประเภทสินค้าที่ผู้สอบถามแสดงความสนใจได้ ดังนี้ สนใจสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปสำหรับสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีจำนวน 54 รายสินค้าผ้าผืน 27 ราย สินค้าเสื้อผ้าเด็ก 12 ราย สินค้าเสื้อผ้าระดับ High Fashion 5 ราย และสินค้าอื่นๆ หรือกิจกรรมอื่นๆ อีก 29 ราย

รายชื่อผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเม็กซิโก

1. Walmart de Mexico http://www.walmartmexico.com.mx/
2. Sam’s Club http://www.sams.com.mx/
3. Suburbia http://www.suburbia.com.mx/
4. Bodega Aurrera http://www.walmartmexico.com.mx/
5. Organizacion Soriana http://www.soriana.com.mx/
6. Grupo Marti http://www.marti.com.mx/
7. Comerical Mexicana http://www.comerci.com.mx/
8. Bodega C.M. http://www.comerci.com.mx/
9. Superama http://www.superama.com.mx/
10. Costco Mexico http://www.costco.com.mx/
11. Grupo Coppel http://www.coppel.com/
12. Sears http://www.sears.com.mx/
13. Palacio de Hierro http://www.elpalaciodehierro.com.mx/
14. Puerto de Liverpool http://www.liverpool.com.mx/
15. Inditex Mexico http://www.inditex.com/

สมาคมที่เกี่ยวข้อง:

Camara Nacional de la Industria Textil (CANAINTEX) http://www.canaintex.org.mx/
Asociacion Nacional de Tiendas de Autoservicio y Departamentales http://www.antad.net/

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
http://www2.ops3.moc.go.th/
http://www.trendexmexico.com/index.html
http://www.just-style.com/management-briefing/mexico-clothing-and-textile-sector-rides-boom-and-bust_id108052.aspx?d=1

Monday, June 21, 2010

Korea and Singapore invests in copper mining in Panama

เกาหลีและสิงคโปร์ลงทุนเพื่อการผลิตทองแดงในปานามา

centralamerica.com ได้รายงานเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553 ว่า บริษัท Ellington Investments Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มลงทุน Temasek Holdings ของสิงคโปร์ ได้ลงทุนร่วมกับกลุ่มเหมืองแร่ INMET จากประเทศแคนาดา ในโครงการสำรวจขุดเหมืองแร่ทองแดงในประเทศปานามา โครงการลงทุนดังกล่าวมีมูลค่าโดยรวม 3.5 พันล้านเหรียญฯ โดยบริษัท Ellington ได้ดำเนินการชำระเงินลงทุนในโครงการฯ เป็นสัดส่วนร้อยละ 14 จำนวนเงินทุน 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ครบแล้ว โครงการลงทุนดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มมีผลผลิตทองแดงได้ในปี 2014 และคาดว่าจะมีผลทำให้ประเทศปานามาเป็นผู้ผลิตทองแดงอันดับต้น ๆ ของโลกได้อีกแหล่งหนึ่ง

เมื่อปี 2552 บริษัท INMET ได้เริ่มการเจรจากับบริษัท LS-Nikko ของประเทศเกาหลี ซึ่งได้แสดงความสนใจที่จะลงทุนกับ INMET เช่นกัน โดยได้แจ้งความสนใจถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 20 แต่ฝ่ายเกาหลีไม่สามารถทำการตกลงกับ INMET ได้เกี่ยวกับโครงสร้างรูปแบบการถือหุ้น ทั้งนี้ ประเทศเกาหลีให้ความสำคัญกับการลงทุนดังกล่าวนี้อย่างมาก โดยประธานาธิบดีของเกาหลีใต้มีกำหนดการเดินทางไปเยือนปานามาอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2553 และคาดว่า จะมีการยกประเด็นการร่วมลงทุนในโครงการแร่ทองแดงดังกล่าว โดยประเด็นปัญหาอุปสรรคของการลงทุนสำคัญคือ กฏหมายของปานามาที่ไม่อนุมัติให้รัฐบาลต่างชาติร่วมลงทุนในด้านเหมืองแร่ ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศผู้บริโภคทองแดงเป็นอันดับ 6 ของโลก

พื้นที่ ๆ บริษัท INMET ครอบครองสัมปทานการทำเหมืองทองแดง อยู่บริเวณกลุ่มเทีอกเขา Nguodo Tain ซึ่งแปลได้ว่า เขาแดงจากภาษาพื้นเมืองของชาวเขาที่เคยอยู่ในพื้นที่นี้มาแด่โบราณ พื้นที่ดังกล่าวได้เคยมีการทำเหมืองมาแล้วในช่วงระหว่างปี 2521-2528 โดยบริษัท Rio Tinto ของอังกฤษเป็นผู้ดำเนินโครงการ แต่ราคาทองแดงโลกได้ตกต่ำผนวกกับแรงกดดันต่อต้านการทำเหมืองของคนพื้นเมืองได้มีผลให้เหมืองเก่านี้ต้องปิดไป

การสำรวจในเบื้องต้นของบริษัท INMET ได้มีผลคาดคะเนว่า แร่ทองแดงสำรองในปานามามีปริมาณ 20 พันล้านปอนด์ ซึ่งเท่ากับเป็นแหล่งแร่ทองแดงสำรองอันดับ 5 ของโลก นอกจากนี้แล้ว ปานามายังมีแหล่งทองคำ ที่ได้รับการพัฒนาและเริ่มให้ผลผลิตแล้ว คาดการณ์ปริมาณสำรองที่ 5 ล้านออนซ์ โดยมีมูลค่าการผลิตในปี 2552 เท่ากับ 16 ล้านเหรียญฯ และได้มีการส่งออกทองคำปริมาณ 1.6 ล้านตัน

แหล่งข้อมูล:

http://www.marketwatch.com/story/inmet-announces-closing-of-private-placement-of-500-million-of-subscription-receipts-to-wholly-owned-subsidiary-of-temasek-holdings-2010-04-23?reflink=MW_news_stmp

สถานะภาวะการผลิตและการค้าทองแดงโลก

แร่ทองแดงนับวันจะมีความสำคัญและมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตวัสดุการสื่อไฟฟ้าและความร้อนในอุปกรณ์การสื่อสารและโทรคมนาคม ในสินค้าด้านอีเล็กตรอนนิกส์ สำหรับชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ รถไฟ เรือและเครื่องบิน ในการผลิตเครื่องจักรและในการสร้างเครื่องจักร โรงงาน และถังบรรจุระดับอุตสาหกรรม ในท่อส่งน้ำและแก๊ซ ในการก่อสร้าง เช่น หลังคา และท่อระบายน้ำ ในส่วนผสมอาหารสัตว์ และปุ๋ยบำรุงพืช เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในงานศิลปกรรม เช่น รูปปั้น และในสินค้าอุปโภคบริโภคโดยทั่วไป

แร่งทองแดงเป็น วัตถุที่มีการสูญเสียสภาพทางเคมีน้อยมากเมื่อนำไปใช้ในการผลิตต่างๆ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการหมุนเวียนแปรสภาพทองแดงเก่ามาใช้ได้อีก (recycle) เป็นจำนวนมาก ในปี 2550 ร้อยละ 30 ของทองแดงที่บริโภค มาจากการนำทองแดงเก่าไปหมุนเวียนผลิตเป็นทองแดงใหม่ โดยทวีปยุโรปเป็นผู้นำในหมุนเวียการใช้ทองแดงมากที่สุด

รายงาน World Copper Factbook 2009 ได้รายงานว่า การใช้ทองแดงในปี 2551 มีปริมาณรวมเท่ากับ 23,947 ตัน โดยผู้ที่ใช้ทองแดงมากที่สุดในโลกได้แก่ ประเทศจีน ปริมาณ 6,937 ตัน ส่วนผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกได้แก่ ประเทศชิลี ราคาทองแดงในปัจจุบันเป็นราคาที่สูงสุดในประวัติ ที่ประมาณ 7,000 เหรียญฯ ต่อตัน

ประเทศเม็กซิโกเป็นผู้ผลิตทองแดงในระดับกลาง และมีแหล่งการผลิตทองแดงในรัฐทางเหนือ อันได้แก่ รัฐ Sonora และรัฐ Zacatecas การทำเหมืองแร่เป็นภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของเม็กซิโก โดยมีกลุ่มการลงทุนหลายกลุ่ม เช่น Grupo Mexico, Industrial Minera, Fresnillo, Peñoles และกลุ่ม Empresas Friscos บริษัทเหล่านี้มีการทำเหมืองแร่หลาย ๆ ประเภท เช่น การผลิตทองและเงิน รวมในกิจการเดียวกัน รวมทั้งมีการทำเหมืองและการผลิตแร่เหล่านี้ในประเทศอื่น ๆ อีกด้วย

ในปี 2552 เม็กซิโกผลิตแร่ทองแดงได้ 247,000 เมตริกตัน และมีการแปรสภาพอีก 295,000 เมตริกตัน เป็นปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศซึ่งมีปริมาณ 325,000 เมตริกตันในปีเดียวกันนั้น นอกจากนี้แล้ว เม็กซิโกยังเป็นสมาชิกของกลุ่มศึกษาทองแดงระหว่างประเทศ (ICSG) ประเทศหนึ่งด้วย

แหล่งข้อมูล: สามารถดาวน์โลด์รายงาน World Copper Factbook 2009 ได้จากเวปไซค์ http://www.icsg.org/

การนำเข้าผลิตภัณฑ์ทองแดงของไทย และโอกาสการพัฒนา

เป็นที่สังเกตว่าประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าแร่ทองแดงสำคัญประเทศหนึ่ง โดยปริมาณการนำเข้าของไทยในปี 2552 ปริมาณ 240,000 เมตริกตัน เท่ากับร้อยละ 4 ของการนำเข้ารวมของโลก

กระบวนการพัฒนาของประเทศจะส่งผลให้ปริมาณการบริโภคทองแดงเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ การสำรวจหาแหล่งทองแดงภายในประเทศ เพื่อการผลิตแร่ในสภาพวัตถุดิบ รวมทั้งการลงทุนในการแปรสภาพ (refine) และการหหมุนเวียนการแปรสภาพแร่ที่ใช้แล้ให้มาเป็นแร่ทองแดงที่ใช้ได้ใหม่ (recycle) หรือการไปลงทุนในต่างประเทศจึงประเด็นที่ต้องพิจารณาในอนาคตอันใกล้นี้ ดังเช่น ที่ประเทศเกาหลีและสิงคโปร์ได้เริ่มดำเนินการแล้ว

Central American textiles face cotton fabric and yarn shortage

อุตสาหกรรมสิ่งทอในกลุ่มประเทศอเมริกากลางขาดแคลนวัตถุดิบ
วิกฤตการณ์การเงินในสหรัฐฯ ช่วงปี 2551-2552 ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะการผลิตและการสงออกสิ่งทอสำหรับกลุ่มประเทศอเมริกากลาง โดยการผลิตผ้าผืนได้ลดลดร้อยละ 16.5 ในไตรมาสแรกและได้ลดลงอีกร้อยละ 0.5 ในไตรมาสสองของปี 2552 โดยภาวะการผลิตในไตรมาสที่สามได้กระเตื้องขึ้น แต่ปรากฎว่า โรงงานผู้ผลิตผ้าผืนหลายแหล่ง ได้ลดกำลงการผลิต เลิกจ้างคนงานไปถึงร้อยละ 25 และไม่ได้เตรียมการเพื่อรับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วพอ เป็นผลให้เกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ และราคาวัตถุดิบ เช่น ด้ายและผ้าผืนจากฝ้ายมีราคาถีบตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 5-15 ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังโรงงานผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งปรากฏว่า ความต้องการเสื้อยืดและเสื้อโปโลได้เพิ่มขึ้นเกินคาด เป็นเหตุให้ผู้ผลิตภายในกลุ่มอเมริกากลางไม่สามารถขยายการผลิตได้ทันเพราะขาดแคลนวัตถุดิบ เจ้าของโรงงานในประเทศกัวเตมาลา และเอลซาวาดอร์ ได้ให้ข่าวว่า แม้กระทั่งการสั่งซื้อวัตถุดิบจากประเทศผู้ผลิตต้นต่อ เช่น ประเทศจีน อินเดีย บางคลาเทศ และเม็กซิโก ก็เป็นปัญหาเนื่องจากประเทศเหล่านี้ ได้จำกัดการส่งออกเพื่อป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศของตน

ประเทศที่รับมือต่อการขยายของความต้องการอย่างรวดเร็วในขณะนี้ได้ได้แก่ นิคารากัว โดยสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2552 ได้ร้อยละ 12 มูลค่าการส่งออก 220.6 ล้านเหรียญฯ ตลาดการส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐฯ (ร้อยละ 30) และอันดับสองได้แก่ เวเนซูเอลา (ร้อยละ 10)

กลุ่มประเทศอเมริกากลางเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอที่สำคัญสำหรับตลาดสหรัฐฯ แต่ประเทศจีนได้เบียดเบียนส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ เป็นผลให้กลุ่มประเทศอเมริกลางมีส่วนแบ่งการครองตลาดเพียงร้อยละ 8.7 ในขณะที่ประเทศจีนมีสัดส่วนการครองตลาดประมาณร้อยละ 38 จากเดิมเมื่อ 8 ปีที่แล้ว กลุ่มประเทศอเมริกากลางสามารถส่งออกเสื้อผ้าไปยังสหรัฐฯ ได้ในสัดส่วนการครองตลาดที่เท่าเทียมกันกับประเทศจีน ทั้งนี้ กลุ่มประเทศอเมริกากลางยังมีความหวังว่า ภาวะการขาดแคลนแรงงานในประเทศจีน จะช่วยให้ประเทศอเมริกากลางมีความได้เปรียบกลับคืนมาได้บ้าง
แหล่งข้อมูล:
http://www.centralamericadata.com/en/article/main/Textile_Companies_Short_on_Raw_Materials?u=465f3b3f505627f8b673d343a36dd5dc&s=n&e=3&mid=1544
http://www.just-style.com/management-briefing/latin-american-textile-sector-weathers-economic-storm_id108016.aspx
http://www.just-style.com/news/nicaragua-honduras-see-maquila-expansions_id108005.aspx

Wednesday, June 9, 2010

Americans in Mexico

ชาวอเมริกันไม่หวั่นสงครามปราบยาเสพติด ย้ายถิ่นฐานไปอยู่เม็กซิโกมากขึ้น

ในจำนวนชาวอเมริกันที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในต่างประเทศทั้งหมดที่มี ประมาณ 5.25 ล้านคน คาดว่ามีชาวอเมริกันในวัยเกษียน หรือผู้ที่ต้องการแสวงหาวิถีชีวิตทางเลือกใหม่ ย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่ในประเทศเม็กซิโก จำนวนประมาณ 1 ล้านคน นอกจากนี้แล้ว คาดว่ามีชาวแคเนเดี่ยนอีก 2 ล้านคน ที่เลือกใช้วันเกษียณในต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่ง และมีแนวโน้มว่า จำนวนชาวอเมริกันและแคนาดารุ่น Baby Boomers ประมาณ 100 ล้านคนกำลังถึงวัยเกษียนในช่วงระยะดังกล่าว มีความสนใจลงทุนในที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนการครองชีพช่วงปั้นปลายชีวิต

เมืองที่เคยดึงดูดชาวอเมริกันไปสร้างบ้านพักบั้นปลายชีวิต หรือเป็นบ้านพักสำรอง ได้แก่ เมือง San Miguel de Allende  (มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ประมาณ 12,000 คน) รัฐ Guanajuato หรือแถบบริเวณ Lake Chapala (มีชุมชนอเมริกันอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คน) และตามเมืองต่าง ๆ ในแถบชายแดนสหรัฐฯ-เม็กซิโก เช่น เมือง Laredo หรือในพื้นที่ ๆ มีเขตพื้นที่อุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ในรัฐ Guadalajara เป็นต้น

ในช่วงหลังเมื่อไม่นานมานี้ ชาวอเมริกันหรือต่างชาติจำนวนหนึ่ง มีความสนใจตั้งถิ่นฐานใหม่ ในพื้นที่ ๆ ไม่เคยมีชาวต่างชาติอยู่มาก่อน เช่น เมืองเมริดา (Merida) เมืองหลวงของรัฐยูคาตัน (Yucatan) ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉัยงใต้ของเม็กซิโก โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้พิจารณาพื้นที่ใหม่ ๆ เช่น เมริดา คือ ค่าครองชีพที่ต่ำกว่า วัฒนธรรมของคนพื้นเมืองที่มีความเป็นมิตรและให้ความรู้สึกอบอุ่นกว่าในสหรัฐฯ บริการที่อุดหนุนการรวมตัวของชุมชน เช่น โรงเรียน โบสถ์ แม้กระทั่งห้องสมุดที่ให้บริการเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้ง นโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เอื้ออำนวยให้สามารถเบิกใช้ medicare ในเม็กซิโกได้ ปัจจัยที่สนับสนุนอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่ชาวอเมริกันและต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ได้รวมตัวกันสร้างเว็ปไซด์ที่ให้ข้อมูลที่แตกฉานหลากหลายด้านเกี่ยวกับ วิธีปรับตัวกับถิ่นที่อยู่ใหม่ การเข้าใจวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น ข้อแนะนำเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการใช้ชีวิตประจำวันในต่างแดน การแสดงตัวอย่างหรือสัมภาษณ์ประสบการณ์ของผู้ที่ย้ายถิ่นฐานรายอื่น ๆ ดังเช่น yucatanliving.com, mexconnect.com, mexicolive.com, mexexperience.com และ solutionsabroad.com

ผู้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองเมริดา เช่น นาย Bill Engle ที่เพิ่งซื้อและกำลังบูรณะบ้านเก่าสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคมศตวรรษที่ 18 ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Christian Science Monitor เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2533 แสดงความคิดเห็นว่า ความรุนแรงที่ได้เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลเม็กซิโกได้ประกาศสงครามเพื่อปราบปรามกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด ซึ่งทำให้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ในพื้นที่พ่อค้ายาเสพติดควบคุม เช่น ที่เมือง Juarez พื้นที่ต่าง ๆ ใน รัฐ Sinaloa รัฐ Tamaulipas รัฐ Michoacan และรัฐ Estado de Mexico และปรากฏข่าวการฆ่าประหารตำรวจ ทหาร และพ่อค้ายาเสพติด จำนวนมากอยู่เป็นประจำในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา ไม่ได้สร้างควาท้อถอย หรือความหวาดกลัว ในการย้ายถิ่นฐานไปอยู่เม็กซิโก และในเขตพื้นที่บางแห่ง เช่น ที่เมืองเมริดา กลับมีความรู้สึกที่ปลอดภัยกว่าการใช้ชีวิต อยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ในประเทศอเมริกาเสียอีก

ส่วนหนังสือพิมพ์ The New York Times ได้รายงานเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 เปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาสำหรับผู้ที่สนใจใช้วัยเกษียณในประเทศเหล่านี้ อยู่ที่ประมาณ 1,200-2,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน และค่ารักษาพยาบาลต่ำกว่าหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายในสหรัฐฯ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญการแนะนำเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศในวัยเกษียณ ได้กล่าวว่า ประเทศที่น่าสนใจได้เปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจและการเมือง เดิมเคยได้แนะนำประเทศไอร์แลนด์ ไทย และคอสตาริกา แต่ภาวะต่าง ๆ ในประเทศเหล่านี้ได้เปลี่ยนไป เช่น ต้นทุนค่าครองชีพในไอร์แลนด์สูงขึ้น มีความรู้สึกต่อต้านชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นในประเทศไทย และอาชกรรมในคอสตาริกาได้เพิ่มขึ้น แนวโน้มประเทศที่น่าอยู่ในวัยเกษียณในปัจจุบันได้กลายเป็นประเทศละตินอเมริกา นอกจากละตินอเมริกา แหล่งที่อยู่อาศัยวัยเกษียณที่ได้รับความสนใจมากในขณะนี้ได้แก่ ฝรั่งเศส โครเอเชีย และมาเลเซีย

รายงานข่าวการเงินของ Yahoo ได้แจ้งรายการเมืองที่น่าอยู่ 8 แห่ง สำหรับผู้ที่สนใจใช้วัยเกษียณในประเทศอื่น ซึ่งรวมเมืองเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในเมืองที่น่าสนใจ โดยแจ้งข้อได้เปรียบว่า เป็นสถานที่ ๆ นิยมสำหรับการท่องเที่ยวด้านการรักษาพยาบาล ที่ให้บริการด้านสุขภาพในคุณภาพสูงแต่ราคาย่อมเยา และได้กล่าวว่า ชาวต่างชาติสามารถซื้อคอนโด หรืออพาร์ทเม็นต์ได้แต่ไม่สามารถซ้อที่ดินได้

แหล่งข้อมูล:
New York Times, May 18, 2010: “American who seek out retirement homes overseas
Christian Science Monitor, June 4, 2100: “Mexico drug war doesn’t stop Americans from moving south of the border
Yahoo Finance News, “8 Great places to retire you’ve never heard of