ในจำนวนชาวอเมริกันที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในต่างประเทศทั้งหมดที่มี ประมาณ 5.25 ล้านคน คาดว่ามีชาวอเมริกันในวัยเกษียน หรือผู้ที่ต้องการแสวงหาวิถีชีวิตทางเลือกใหม่ ย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่ในประเทศเม็กซิโก จำนวนประมาณ 1 ล้านคน นอกจากนี้แล้ว คาดว่ามีชาวแคเนเดี่ยนอีก 2 ล้านคน ที่เลือกใช้วันเกษียณในต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่ง และมีแนวโน้มว่า จำนวนชาวอเมริกันและแคนาดารุ่น Baby Boomers ประมาณ 100 ล้านคนกำลังถึงวัยเกษียนในช่วงระยะดังกล่าว มีความสนใจลงทุนในที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนการครองชีพช่วงปั้นปลายชีวิต
เมืองที่เคยดึงดูดชาวอเมริกันไปสร้างบ้านพักบั้นปลายชีวิต หรือเป็นบ้านพักสำรอง ได้แก่ เมือง San Miguel de Allende (มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ประมาณ 12,000 คน) รัฐ Guanajuato หรือแถบบริเวณ Lake Chapala (มีชุมชนอเมริกันอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คน) และตามเมืองต่าง ๆ ในแถบชายแดนสหรัฐฯ-เม็กซิโก เช่น เมือง Laredo หรือในพื้นที่ ๆ มีเขตพื้นที่อุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ในรัฐ Guadalajara เป็นต้น
เมืองที่เคยดึงดูดชาวอเมริกันไปสร้างบ้านพักบั้นปลายชีวิต หรือเป็นบ้านพักสำรอง ได้แก่ เมือง San Miguel de Allende (มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ประมาณ 12,000 คน) รัฐ Guanajuato หรือแถบบริเวณ Lake Chapala (มีชุมชนอเมริกันอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คน) และตามเมืองต่าง ๆ ในแถบชายแดนสหรัฐฯ-เม็กซิโก เช่น เมือง Laredo หรือในพื้นที่ ๆ มีเขตพื้นที่อุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ในรัฐ Guadalajara เป็นต้น
ในช่วงหลังเมื่อไม่นานมานี้ ชาวอเมริกันหรือต่างชาติจำนวนหนึ่ง มีความสนใจตั้งถิ่นฐานใหม่ ในพื้นที่ ๆ ไม่เคยมีชาวต่างชาติอยู่มาก่อน เช่น เมืองเมริดา (Merida) เมืองหลวงของรัฐยูคาตัน (Yucatan) ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉัยงใต้ของเม็กซิโก โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้พิจารณาพื้นที่ใหม่ ๆ เช่น เมริดา คือ ค่าครองชีพที่ต่ำกว่า วัฒนธรรมของคนพื้นเมืองที่มีความเป็นมิตรและให้ความรู้สึกอบอุ่นกว่าในสหรัฐฯ บริการที่อุดหนุนการรวมตัวของชุมชน เช่น โรงเรียน โบสถ์ แม้กระทั่งห้องสมุดที่ให้บริการเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้ง นโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เอื้ออำนวยให้สามารถเบิกใช้ medicare ในเม็กซิโกได้ ปัจจัยที่สนับสนุนอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่ชาวอเมริกันและต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ได้รวมตัวกันสร้างเว็ปไซด์ที่ให้ข้อมูลที่แตกฉานหลากหลายด้านเกี่ยวกับ วิธีปรับตัวกับถิ่นที่อยู่ใหม่ การเข้าใจวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น ข้อแนะนำเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการใช้ชีวิตประจำวันในต่างแดน การแสดงตัวอย่างหรือสัมภาษณ์ประสบการณ์ของผู้ที่ย้ายถิ่นฐานรายอื่น ๆ ดังเช่น yucatanliving.com, mexconnect.com, mexicolive.com, mexexperience.com และ solutionsabroad.com
ผู้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองเมริดา เช่น นาย Bill Engle ที่เพิ่งซื้อและกำลังบูรณะบ้านเก่าสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคมศตวรรษที่ 18 ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Christian Science Monitor เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2533 แสดงความคิดเห็นว่า ความรุนแรงที่ได้เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลเม็กซิโกได้ประกาศสงครามเพื่อปราบปรามกลุ่มผู้ค้ายาเสพติด ซึ่งทำให้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ในพื้นที่พ่อค้ายาเสพติดควบคุม เช่น ที่เมือง Juarez พื้นที่ต่าง ๆ ใน รัฐ Sinaloa รัฐ Tamaulipas รัฐ Michoacan และรัฐ Estado de Mexico และปรากฏข่าวการฆ่าประหารตำรวจ ทหาร และพ่อค้ายาเสพติด จำนวนมากอยู่เป็นประจำในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา ไม่ได้สร้างควาท้อถอย หรือความหวาดกลัว ในการย้ายถิ่นฐานไปอยู่เม็กซิโก และในเขตพื้นที่บางแห่ง เช่น ที่เมืองเมริดา กลับมีความรู้สึกที่ปลอดภัยกว่าการใช้ชีวิต อยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ในประเทศอเมริกาเสียอีก
ส่วนหนังสือพิมพ์ The New York Times ได้รายงานเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 เปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาสำหรับผู้ที่สนใจใช้วัยเกษียณในประเทศเหล่านี้ อยู่ที่ประมาณ 1,200-2,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน และค่ารักษาพยาบาลต่ำกว่าหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายในสหรัฐฯ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญการแนะนำเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศในวัยเกษียณ ได้กล่าวว่า ประเทศที่น่าสนใจได้เปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจและการเมือง เดิมเคยได้แนะนำประเทศไอร์แลนด์ ไทย และคอสตาริกา แต่ภาวะต่าง ๆ ในประเทศเหล่านี้ได้เปลี่ยนไป เช่น ต้นทุนค่าครองชีพในไอร์แลนด์สูงขึ้น มีความรู้สึกต่อต้านชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นในประเทศไทย และอาชกรรมในคอสตาริกาได้เพิ่มขึ้น แนวโน้มประเทศที่น่าอยู่ในวัยเกษียณในปัจจุบันได้กลายเป็นประเทศละตินอเมริกา นอกจากละตินอเมริกา แหล่งที่อยู่อาศัยวัยเกษียณที่ได้รับความสนใจมากในขณะนี้ได้แก่ ฝรั่งเศส โครเอเชีย และมาเลเซีย
รายงานข่าวการเงินของ Yahoo ได้แจ้งรายการเมืองที่น่าอยู่ 8 แห่ง สำหรับผู้ที่สนใจใช้วัยเกษียณในประเทศอื่น ซึ่งรวมเมืองเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในเมืองที่น่าสนใจ โดยแจ้งข้อได้เปรียบว่า เป็นสถานที่ ๆ นิยมสำหรับการท่องเที่ยวด้านการรักษาพยาบาล ที่ให้บริการด้านสุขภาพในคุณภาพสูงแต่ราคาย่อมเยา และได้กล่าวว่า ชาวต่างชาติสามารถซื้อคอนโด หรืออพาร์ทเม็นต์ได้แต่ไม่สามารถซ้อที่ดินได้
แหล่งข้อมูล:
New York Times, May 18, 2010: “American who seek out retirement homes overseas”
Christian Science Monitor, June 4, 2100: “Mexico drug war doesn’t stop Americans from moving south of the border”
Yahoo Finance News, “8 Great places to retire you’ve never heard of”
ส่วนหนังสือพิมพ์ The New York Times ได้รายงานเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 เปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาสำหรับผู้ที่สนใจใช้วัยเกษียณในประเทศเหล่านี้ อยู่ที่ประมาณ 1,200-2,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน และค่ารักษาพยาบาลต่ำกว่าหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายในสหรัฐฯ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญการแนะนำเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศในวัยเกษียณ ได้กล่าวว่า ประเทศที่น่าสนใจได้เปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจและการเมือง เดิมเคยได้แนะนำประเทศไอร์แลนด์ ไทย และคอสตาริกา แต่ภาวะต่าง ๆ ในประเทศเหล่านี้ได้เปลี่ยนไป เช่น ต้นทุนค่าครองชีพในไอร์แลนด์สูงขึ้น มีความรู้สึกต่อต้านชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นในประเทศไทย และอาชกรรมในคอสตาริกาได้เพิ่มขึ้น แนวโน้มประเทศที่น่าอยู่ในวัยเกษียณในปัจจุบันได้กลายเป็นประเทศละตินอเมริกา นอกจากละตินอเมริกา แหล่งที่อยู่อาศัยวัยเกษียณที่ได้รับความสนใจมากในขณะนี้ได้แก่ ฝรั่งเศส โครเอเชีย และมาเลเซีย
รายงานข่าวการเงินของ Yahoo ได้แจ้งรายการเมืองที่น่าอยู่ 8 แห่ง สำหรับผู้ที่สนใจใช้วัยเกษียณในประเทศอื่น ซึ่งรวมเมืองเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในเมืองที่น่าสนใจ โดยแจ้งข้อได้เปรียบว่า เป็นสถานที่ ๆ นิยมสำหรับการท่องเที่ยวด้านการรักษาพยาบาล ที่ให้บริการด้านสุขภาพในคุณภาพสูงแต่ราคาย่อมเยา และได้กล่าวว่า ชาวต่างชาติสามารถซื้อคอนโด หรืออพาร์ทเม็นต์ได้แต่ไม่สามารถซ้อที่ดินได้
แหล่งข้อมูล:
New York Times, May 18, 2010: “American who seek out retirement homes overseas”
Christian Science Monitor, June 4, 2100: “Mexico drug war doesn’t stop Americans from moving south of the border”
Yahoo Finance News, “8 Great places to retire you’ve never heard of”
No comments:
Post a Comment