พายุหมุนฤดูร้อน Agatha และการระเบิดของภูเขาไฟ Pacaya ได้ทำลายฟาร์มพาะเลี้ยงกุ้งในกัวเตมาลาไปประมาณร้อยละ 75 ของการผลิตกุ้งของกัวเตมาลา และคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหนึ่งปีกว่าการผลิตกุ้งภายในประเทศจะฟื้นตัวได้ในระดับเดิม ซึ่งในระหว่างนี้ คาดว่าจะต้องมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศประมาณ 5,000 ปอนด์ต่อวัน
พายุหมุน Agatha ที่พัดผ่านกลุ่มประเทศอเมริกากลางเมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2553 ได้มีผลเกิดน้ำท่วมและสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนและภาคเกษตรอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตในกัวเตมาลา 165 คน ในเอลซาวาดอร์ 13 คน และในนิคารากัว 1 คน ได้มีการประเมินผลเสียหายต่อภาคเกษตรในประเทศที่ได้รับผลกระทบคือ เกิดความเสียหายต่อการผลิตในกัวเตมาลา พืชส่งออกเสียหายประมาณ 4.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลเสียหายต่อการผลิตกาแฟประมาณ 29 ล้านเหรียญฯ ความเสียหายสำหรับภาคเกษตรในเอลซาวาดอร์มีมูลค่าประมาณ 68.8 ล้านเหรียญฯ และความเสียหายสำหรับภาคเกษตรในคอสตาริกาประมาณ 6.25 ล้านเหรียญฯ
สำหรับประเทศกัวเตมาลานั้น เกิดการะเบิดของภูเขาไฟ Pacaya (ห่างจากเมืองหลวง 45 กม.) ในวันที่ 27 พฤษภาคม ซึ่งทำให้มีขี้เถ้าจากการระเบิดภูเขาไฟตกไปในบ่อเพาะเลี้ยงกุ้ง และยังถูกกระหน่ำโดยพายุหมุนในวันต่อๆ มา มีผลทำลายผลผลิตไปประมาณร้อยละ 75 และคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีก 1 ปีกว่าจะฟื้นตัวได้ สภาผู้ส่งออกกัวเตมาลาได้คำณวนเงินตราต่างประเทศที่ศูนย์เสียเนื่องการการส่งออกที่ลดลงและการนำเข้าทดแทนว่ามีมูลค่าประมาณ 11.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผู้จัดการฝ่ายการซื้อขายของบริษัท Walmart de Centroamerica ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ผลของพายุ Agatha ทำให้การค้ากุ้งต้องเปลี่ยนไปสู่การนำเข้าเป็นเกือบร้อยละ 80 ของจำนวนที่ขายได้ มูลค่าประมาณ 5 ล้านลิบราต่อวัน
ประเทศกัวเตมาลามีการส่งออกสินค้าประมงประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีผู้ส่งออกสำคัญประมาณ 25 กว่าราย และมีสินค้าส่งออกประเภทประมงหลากหลายประเภทประมาณ 20,000 รายการ
แหล่งข่าว: http://www.sigloxxi.com/pulso.php?id=16356
แหล่งข่าว: http://www.sigloxxi.com/pulso.php?id=16356
No comments:
Post a Comment