สถานการณ์ข้าวภายในประเทศเม็กซิโก
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 สภาผู้ผลิตข้าวแห่งเม็กซิโก (
Consejo Mexicano del Arroz) ได้แจ้งข่าวผลผลิตข้าวภายในประเทศเม็กซิโกประจำปี 2554 คาดการณ์ผลผลิตจำนวน 340,000 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ร้อยละ 17 แต่ยังคงเทียบได้เพียงประมาณร้อยละ 30 ของปริมาณความต้องการข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศเม็กซิโก ที่มีปริมาณความต้องการรวมประมาณปีละ 800,000 ตัน - 1 ล้านตันต่อปี
พื้นที่การเพาะปลูกข้าวที่สำคัญของเม็กซิโกอยู่ในรัฐตอนกลางของเม็กซิโกของทั้งสองฝั่งมหาสมุทร ฝั่งแปซิฟิกได้แก่ รัฐ Michoacan Nayarit Colima Sinaloa และ Jalisco ฝั่งแอทแลนติกได้แก่รัฐ Veracruz Campeche Tamaulipas และ Campeche การนำเข้าข้าวจากสหรัฐฯ ได้มีจุดเริ่มต้นจากโรงสีข้าวในรัฐ Sinaloa ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ส่งออกข้าวสหรัฐ และประเภทของข้าวที่เป็นที่รู้จักสำหรับผู้บริโภคเม็กซิกัน แยกเป็นสองประเภทคือ ประเภท Sinaloa Long Grain และประเภท Morelos Short Grain โดยข้าวประเภท long grain มักจะเป็นข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ราคาของข้าว long grain ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ และปากีสถานมีราคาที่ต่ำกว่าราคาข้าวที่ผลิตภายในประเทศถึงร้อยละ 20 ส่งผลให้ตลาดของข้าวประเภท Morelos ที่ผลิตภายในประเทศเป็นที่นิยมน้อยลง รัฐบาลของเม็กซิโกได้เริ่มการรณรงค์ด้านโภชนาการและสุขภาพเมื่อต้นปี 2543 เพื่อส่งเสริมให้ชาวเม็กซิกันหันมาทานข้าวที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น ได้มีผลเพิ่มอัตราการบริโภคข้าวต่อหัวโดยทั่วไป จากคนละ 5.8 กิโล เป็น 6.5 กิโลต่อปีในระหว่างปี 2542-2544
ประเทศเม็กซิโกนำเข้าข้าวจากสหรัฐฯ เป็นหลัก ประมาณร้อยละ 99 นอกจากสหรัฐฯ แล้วจะมีการนำเข้าจากประเทศอื่นๆ ในปริมาณที่น้อยมากได้แก่ จากอุรุกวัย ไทย และอิตาลี เป็นต้น ประเภทของข้าวที่นำเข้าเป็นข้าวที่ยังมิได้สีในอัตราส่วนร้อยละ 75.94 กึ่งสีและสำเร็จรูปในอัตราร้อยละ 23.37 และข้าวหักและข้าวสีอื่นในอัตราร้อยละ 0.68
ในปี 2553 เม็กซิโกได้นำเข้าข้าวโดยรวมมูลค่า 320 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณ 842,410 ตัน) โดยเป็นมูลค่าที่ลดลงจากปี 2552 ในอัตราร้อยละ 7.3 จากมูลค่า 345 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ปริมาณ 821,769 ตัน) โดยนำเข้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 318.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราส่วนร้อยละ 99.57 และนำเข้าจากแหล่งอื่น โดยนำเข้าจากประเทศอุรุกวัยมูลค่า 0.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (1,560 ตัน) นำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 3 มูลค่า 239,000 เหรียญสหรัฐฯ (222 ตัน) และนำเข้าจากอิตาลีเป็นอันดับ 4 มูลค่า 163,000 เหรียญสหรัฐฯ (84.5 ตัน)
สำหรับปี 2554 (ม.ค.–ก.ค.) เม็กซิโกได้นำเข้าข้าวเป็นมูลค่า 209.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัวร้อยละ 11.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดนำเข้าหลัก ในมูลค่า 204.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามด้วยการนำเข้าจากประเทศอุรุกวัย มูลค่า 4.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้เพิ่มขึ้นจากช่วง ม.ค.–ก.ค. ปี 2553 ถึงร้อยละ 342.8 รวมทั้งเพิ่มการนำเข้าข้าวจากปากีสถาน มูลค่า 476,799 เหรียญสหรัฐฯ เทียบเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 2,052 จากช่วง ม.ค.–ก.ค. ปี 2553 ในขณะที่นำเข้าจากไทยมูลค่า 122,485 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 32 จากช่วงเดียวกันของปี 2553
สาเหตุหลักที่มีการนำเข้าข้าวจากสหรัฐฯ ในปริมาณและมูลค่าสูงเนื่องมาจากเป็นนำเข้าข้าวที่ยังมิได้สี ทำให้อัตราภาษีนำเข้าถูกและเนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐฯ เพื่อให้มีการนำเข้าข้าวมาสีภายในประเทศ นอกจากนี้ประชากรของเม็กซิโกส่วนใหญ่ มิได้บริโภคข้าวเป็นหลัก แต่จะบริโภคข้าวโพดและผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดที่เรียกว่า ‘ตอติย่า’ เป็นอาหารหลัก มีการนำข้าวมาประกอบอาหารในลักษณะอาหารข้างเคียง ความคุ้นเคยกับข้าวประเภท long grain ของสหรัฐฯ ทำให้การนำเข้าข้าวของไทยมีจำกัดในเฉพาะกลุ่มคนที่คุ้นเคยกับอาหารไทย หรืออาหารเอเชีย คนเอเชียที่อาศัยออยู่ในประเทศเม็กซิโก และร้านอาหารไทยที่มีอยู่จำนวนน้อยในประเทศ
เม็กซิโกได้สั่งซื้อข้าวจากประเทศไทยมาโดยตลอด แต่จะนำเข้าในปริมาณน้อย โดยมักจะเป็นการนำเข้าข้าวไทยจากสหรัฐฯ เนื่องจากมีร้านอาหารไทยในเม็กซิโกไม่เกิน 10 ร้านที่ต้องใช้ข้าวไทยเพื่อจัดทำอาหาร โดยร้านอาหารเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะนำเข้าข้าวมาด้วยตัวเองในปริมาณน้อย หรือหาตัวแทนจำหน่ายข้าวจากตัวแทนจำหน่ายในเม็กซิโก โดยนำเข้ามาจากประเทศสหรัฐฯ อีกต่อหนึ่ง
เม็กซิโกมีการส่งออกข้าวเล็กน้อย โดยในปี 2553 ได้มีการส่งออกเป็นมูลค่ารวม 3.49 ล้านตัน ปริมาณประมาณ 5,535 ตัน เป็นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และคิวบา เป็นสำคัญ
ราคาขายปลีกของข้าวในประเทศเม็กซิโก
ราคาขายปลีกของข้าวที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า สำหรับข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ หรือข้าวที่มีการสีภายในประเทศ จะจัดจำหน่ายอยู่ในอัตราราคาประมาณ 12-25 เปโซ ต่อ 1 กิโลกรัม ในขณะที่ข้าวหอมมะลิของไทยมักจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าอาหารพิเศษ (gourmet) หรืออาหารจากต่างประเทศ จะตั้งราคาอยู่ประมาณ 40-60 เปโซ ต่อ 1กิโลกรัม (อัตราแลกเปลี่ยน 2.33 บาท = 1 เปโซ ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2554)
ระเบียบการนำเข้าข้าว
เมื่อเดือนเมษายน 2551 กระทรวงเศรษฐกิจเม็กซิโกได้ประกาศการยกเลิกอัตราภาษีนำเข้าข้าว และได้ยกเลิกโควต้าชั่วคราวสำหรับการนำเข้าข้าวมาในประเทศเม็กซิโก อันเนื่องจากสถานการณ์การขาดแคลนข้าวในโลกที่ผ่านมา โดยเฉพาะการยกเลิกอัตราค่าภาษีนำเข้าจากร้อย 10 สำหรับข้าวเปลือก และร้อยละ 20 สำหรับข้าวขาว
มาตรฐานสินค้าตามกฎระเบียบการนำเข้าเลขที่ NOM-028-FITO-1995 ของเม็กซิโก มีสาระสำคัญพอสรุปได้ ดังนี้
1.) เฉพาะสินค้าข้าวที่สีแล้ว (Polished Rice) ที่ส่งออกจากไทยไปยังประเทศเม็กซิโกจะต้องมีการ Fumigate จำนวน 2 ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกก่อนบรรจุข้าวลงถุง และครั้งที่สองเมื่อบรรจุลงถุงแล้ว โดยจะต้องมีใบรับรองออกโดยภาครัฐที่เกี่ยวข้องของไทย (กรมวิชาการเกษตร) เท่านั้น โดยระบุว่าได้มีการ Fumigate ทั้ง 2 ครั้งจริง ทั้งนี้ให้ระบุรายละเอียดในข้อที่ 8 ของแบบฟอร์ม Phytosanitary Certificate ของกรมวิชาการเกษตร
2.) สารเคมีที่ใช้ในการอบ Fumigate สามารถใช้สาร Methyl Bromide โดยให้มีระดับปริมาณการใช้สารฯ ให้สอดคล้องกับระยะเวลาการอบ อุณหภูมิระหว่างที่อบและความเข้มข้นของสาร Methyl Bromide
ทั้งนี้โดยให้ใส่ข้อมูลระยะเวลาอบ และอุณหภูมิระหว่างที่อบไว้ให้ครบถ้วนในข้อที่ 13 ของแบบ ฟอร์ม Phytosanitary Certificate ของกรมวิชาการเกษตร และให้ระบุความเข้มข้นของสาร Methyl Bromide เป็นมาตรา Metric ไว้ในข้อที่ 14 ของแบบฟอร์ม Phytosanitary Certificate ของกรมวิชาการเกษตร
3.) ด่านศุลกากรทางการเม็กซิโกตามที่ระบุใน NOM-028-FITO-1995 ที่อนุญาตให้ผ่านพิธีการนำเข้าข้าวจากไทย กำหนดให้ผ่านด่านศุลกากรตามท่าเรือต่อไปนี้ Tuxpan, Veracruz, Manzannillo และ Puerto de Altamira เท่านั้น
ระเบียบดังกล่าวมีความเคร่งครัด เนื่องจากประเทศเม็กซิโกถือว่าสินค้าข้างเป็นพืชผลที่อาจมีแมลงที่อาจมีทำลายพืชผลที่เป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ของประเทสศุง หากพบแมลงเพียงตัวอย่างเดียวจะมีคำสั่งให้ทำลายปริมาณการส่งออกของ shipment ทั้งหมด มิได้อนุญาตให้มีการส่งออกกลับไปยังต้นทาง และได้มีกรกณีตัวอย่างการนำเข้าจากไทยที่มิได้ดำเนินการตามระเบียของเม็กซิโกมาแล้ว จึงจำเป็นที่ผู้ส่งออกไทยต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ถูกต้อง
ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายข้าวของประเทศเม็กซิโก:
1. CAMPBELLS DE MEXICO SA DE CV
Mrs. Jaqueline Santoyo
Km. 291.5 Carr. Mexico – Cd. Juarez
38260 Villagrán, Gto.
Jaqueline_santoyo@campbellsoup.com
www.campbells.com.mx
Tel: +52 (461) 618 5400 Ext. 5423
Fax: +52 (461) 618 5410
2. CENTENNIAL SA DE CV
Mr. Sergio García Pineda
Av. Del Cristo 101
Col. Xocoyahualco
Tlalnepantla, Mex 54080
compra@cen.casasaba.com
www.centennial.com.mx
Tel: +52 5374 0433 Ext. 2511
Fax: +52 5374 0433 ext. 2615
3. EMPACADOS SA DE CV
Mr. Raul Miranda
Los Angeles Ote 2200-C
Col. Mariano Escobedo
Monterrey N.L 64510
rmiranda@empacados.com
compras@empacados.com
www.empacados.com
Tel: +52(81)12 53 3222 Ext. 1006, 1007
Fax: +52(81) 12 53 3225
4. KELLOGG DE MEXICO
Km. 1 Carr. Campo Militar
Col. San Antonio de la Punta
Querétaro, Qro. 76135
Javier.ysunka@kellogg.com
www.kellogg.com.mx
Tel: +52(442) 211 1300 Ext. 1439
Fax: +52(442) 215 3020
5. MEXICANA DE VIVERES MSV SA DE CV
Mr. Martin Samano
Central de Abastos Bod F-46
Mexico D.F. 09040
masaveja@prodigy.net.mx
Tel +52(55)5694 0758
Fax: +52(55)5694 2746
5. MICHEL ONTIVEROS PABLO IGNACIO
Mr. Alejandro Rivera
Cam. Escuela de Agricultura 7620
Col. La Venta del Astillero
Zapopan jal. 45220
rivera@michel.com.mx
www.michel.com.mx
Tel: +52(33)36 82 04 40, 3682 0184 Ext. 243
Fax: +52(33)35 85 5579
6. PRODUCTOS VERDE VALLE
Mr. Manuel Flores Alvarez
Vallarta 5683, sector Juárez
Col. Santa María del Pueblito
Zapopan Jal. 45010
manuelfa@verdevalle.com.mx
gerardoot@verdevalle.com.mx
www.verde-valle.com.mx
Tel: +52(33)3540 2200 Ext. 2252, 2254