คอสตาริกา เป็นประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง มีอาณาเขตจรดประเทศนิการากัว ทางทิศเหนือ จรดประเทศปานามา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และจรดทะเลแคริบเบียนทางทิศตะวันออก
1.2 ชื่อเป็นทางการ Costa Rica
1.3 เมืองสำคัญ
- San Jose (เมืองหลวง) บริการการเงิน การค้าและการท่องเที่ยว อีเลคทรอนนิกส์
- Puerto Limon และ Caldera เมืองท่า
- Cartago สินค้าเกษตร บริการและการค้า การศึกษา
- Alajuela สนามบิน
1.5 ประชากร 4.5 ล้านคน
1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานไฟฟ้า
1.7 ประวัติศาสตร์ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ค้นพบคอสตาริกาในปี คศ. 1502 โดยได้รับการต้อนรับจากคนพื้นเมืองอย่างเป็นมิตร ได้รับเอกราชจากสเปนในปี คศ. 1821
เชื้อชาติ คนผิวขาวและผสมที่เรียกว่า mestizo ร้อยละ 94 คนผิวดำร้อยละ 3% คนพื้นเมืองดั้งเดิม ร้อยละ1 คนจีนร้อยละ 1
ศาสนา คริสต์คาตอลิกส์ภาษา เป็นภาษาสเปน
1.8 ระบอบการปกครอง สาธารณรัฐประชาธิปไตย
รูปแบบการปกครอง สาธารณรัฐ ประธานาธิบดี นาย Oscar ARIAS Sanchez (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2549) มีวาระ 4 ปี ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบรัฐสภาเดียว มีสมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง 57 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ฝ่ายตุลาการ ศาลสูงสุดของประเทศ (Supreme Court) มาจากการเลือกตั้งโดย สมาชิกสภานิติบัญญัติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไป กุมภาพันธ์ 2548 พรรคการเมืองสำคัญ Social Christian Unity Party (PUSC) (พรรครัฐบาล) Democrat Party National Liberation Party National Patriot Party
การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2549 ทำให้พรรค Citizen Action Party ซึ่งเป็นพรรคนิยมซ้าย สามารถเข้าไปมีบทบาทเป็นพรรคฝ่ายค้านเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของคอสตาริกา โดยในอดีตนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 คอสตาริกาถูกปกครองโดยพรรคการเมือง 2 พรรคได้แก่ พรรค PLN และพรรค PUSC ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลชุดก่อน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงกระแสความนิยมของชาวคอสตาริกาที่มีต่อพรรคที่มีอุดมการณ์สังคมนิยมที่เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับประเทศอื่นในลาตินอเมริกา เช่น ชิลี และโบลิเวีย
ประธานาธิบดี Arias ประกาศจะให้สัตยาบันความตกลงการค้าเสรีสหรัฐฯ – อเมริกากลาง (US-CAFTA) และดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ การแปรรูปกิจการโทรคมนาคมและพลังงาน รวมทั้งได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราความยากจนของประชาชนคอสตาริกาลงอย่างน้อยร้อยละ 1 ต่อปี ปรับปรุงระบบการศึกษาและกำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับจนถึงอายุ 17 ปี ให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างประเทศตามระบบเศรษฐกิจที่เน้นการส่งออก และขยายการจัดทำความตกลงเสรีทางการค้า อาทิ การเจรจา FTA ระหว่างกลุ่มประเทศอเมริกากลางและ EU และการเจรจา FTA กับปานามา (ปานามาเป็นตลาดสำคัญสำหรับสินค้าอาหารและเวชภัณฑ์)
1.11 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ
มีเส้นทางการเดินทางแบบถนน 35,330 กิโลเมตร ทางรถไฟ 278 กิโลเมตร ทางน้ำ 730 กิโลเมตรที่ใช้เดินเรือได้เฉพาะเรือขนาดเล็ก สนามบิน 151 แห่ง มีท่อส่งแก๊ซและน้ำมัน 796 กิโลเมตร ท่าเรือสำคัญ 2 แห่ง
2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศคอสตาริกา
ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคอสตาริกาประจำเดือนธันวาคม 2553 ชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตต่ำ และเป็นไปในแนวทางเดียวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตัวลดลงเรื่อยๆ ตลอดปีที่ผ่านมา เมื่อเดือนธันวาคม 2553 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงอีก 2.3% จากเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ไปอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี มีบางภาคเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวได้ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ ซึ่งขยายตัว 9.10% รวมทั้งอุตสาหกรรมการขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งขยายตัว 6.42% ส่วนภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่ภาคธุรกิจก่อสร้าง การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคการเหมืองแร่ และเหมืองหินมีอัตราการเจริญเติบโตที่ติดลบ
2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
ในปี 2553 คอสตาริกามีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณ 4.584 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศคอสตาริกา
ภาคบริการมีความสำคัญเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.8 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 22.9 และภาคเกษตรร้อยละ 6.3 สินค้าเกษตรสำคัญได้แก่ กล้วย (คอสตาริกาเป็นผู้ส่งออกกล้วยมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากเอกวาดอร์) กาแฟ เมล็ดโกโก้ ข้าว และถั่ว สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญคือ สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ เคมีภัณฑ์และสินค้าพลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าบริการสำคัญคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ทำรายได้เข้าประเทศกว่า ร้อยละ 60)
2.4 ข้อมูลด้านการลงทุนในประเทศคอสตาริกา
มุลค่าการลงทุนจากต่างประเทศในคอตาริกาในปี 2553 เท่ากับ 13.92 พ้นล้านเหรียญฯ
3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของคอสตาริกา
3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศคอสตาริกา
ในปี 2553 คอสตาริกามีการส่งออกมูลค่า 10.1 พันล้านเหรียญฯ และการนำเข้า 13.32 พ้นล้านเหรียญฯ ประเทศคู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 35.61 เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 12.82 จีนร้อยละ 11.81 และเม็กซิโก ร้อยละ 4.2 สินค้าส่งออกสำคัญคือ กล้วย สัปปะรด กาแฟ เมลอน พืชตกแต่ง น้ำตาล เนื้อวัว อาหารทะเล สินค้าอีเล็คตรอนิกส์ สินค้าเภสัช คู่ค้าการนำเข้าได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 44.72 เม็กซิโก ร้อยละ 7.65 เวเนซุเอล่า ร้อยละ 5.56 จีนร้อยละ 5.15 และญี่ปุ่นร้อยละ 4.36 นำเข้าที่สำคัญคือ วัตถุดิน สินค้าบริโภค สินค้าทุน น้ำมัน และสิ่งก่อสร้าง
3.2 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ
คอสตาริกาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบ Organization of the American States (OAS) และความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันประเทศซึ่งคอสตาริกาได้ยกเลิกกองกำลังทหาร ตั้งแต่ปี 2492 นอกจากนี้แล้ว คอสตาริกายังให้ความสำคัญกับการต่อต้านการค้ายาเสพติด โดยเป็นประเทศแรกในอเมริกากลางที่ลงนามใน Maritime Counter-Narcotics Agreement กับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อต่อต้านการลักลอบขนส่งยาเสพติดในน่านน้ำคอสตาริกา
ความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีที่คอสตาริกาเป็นภาคีร่วมมี
1. CAFTA-DR (ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และสาธารณรัฐคอมินิกัน กับสหรัฐอเมริกา) ลงนามเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 มีผลบังคับในคอสราริกาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 ทั้งนี้ กลุ่มประเทศอเมริกากลางเป็นตลาดส่งออกอันดับสามในกลุ่มละตินอเมริกาสำหรับสหรัฐฯ หลังจากเม็กซิโกและบราซิล การส่งออกจากสหรัฐฯ ไปยังกลุ่มประเทศ CAFTA-DR มีมูลค่า 26.3 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2551
2. ความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีกับกลุ่มประเทศคาริเบียน (CARICOM) ลงนามเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 มีผลบังคับในคอสตาริกาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 โดยมีเงื่อนไขความตกลง 4 ระดับซึ่งเจรจากันระหว่างแต่ละประเทศอีกต่างหาก ได้แก่ การเปิดเสรีอัตโนมัติ การลดภาษีใน 4 ปี ข้อยกเว้นเป็นรายสินค้า และข้อยกเว้นสำหรับสินค้าเกษตรตามฤดูกาล
สำหรับความตกลงเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคี คอสตาริกาได้ลงนามความตกลงไว้ 5 ประเทศ คือ กับเม็กซิโก (มีผลบังคับตั้งแต่ปี 2538) แคนาดา (2544) ชิลี (2545) สาธารณรัฐดอมินิกัน (2538) และปานามา (2551) และได้เริ่มกระบวนการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีกับ ประเทศจีน เมื่อปี 2550 และกับสหภาพยุโรป (AACUE) เมื่อปี 2549
ความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ICC/CBI (Carribean Basin Initiative-1983), GSP-Europe และ ALCA/FTAA (Free Trade Areas of the Americas-1994)
4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับคอสตาริกา
ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับคอสตาริกา เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2516 โดยแต่งตั้งให้ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก (นายระวี หงส์ประภาส) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำคอสตาริกาอีกตำแหน่งหนึ่ง และแต่งตั้งนาย Juan Carlos Morales เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำคอสตาริกา แต่ต่อมา เมื่อรัฐบาลมีดำริเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา จึงมีการปรับเขตอาณาสถานอกอัครราชทูตในลาตินอเมริกา โดยได้ปรับให้คอสตาริกาอยู่ในความดูแลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก
ประเทศคอสตาริกาได้เปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2541 โดยมี ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์
ความตกลงที่ไทยมีกับคอสตาริกาได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราซึ่งกันและกันสำหรับหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ (หนังสือเดินทางพิเศษ) ลงนามเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2548
4.2 มูลค่าการค้าของไทยกับคอสตาริกา
ในปี 2553 การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับคอสตาริกามีมูลค่ารวม 126.942 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 84 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ปรียบดุลการค้า 25.978 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกไปยังคอสตาริกาในปี 2553 มูลค่า 76.47 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 เทียบเท่ากับเพิ่มขึ้นร้อยละ 113 การนำเข้าจากคอสตาริกาในปี 2553 มีมูลค่า 50.472 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 52.5
4.3 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศคอสตริกา และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากคอสตาริกา
สินค้าที่ไทยส่งออกไปคอสตาริกา คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องซักผ้าและเครื่องซักผ้าแห้งและส่วนประกอบ, ผลิตภัณฑ์ยาง, เครื่องคอมพิวเตอร์, เม็ดพลาสติก, อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป, ผักกระป๋องและแปรรูป
ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากคอสตาริกา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า, เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ, เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์, กระจก, แก้วและผลิตภัณฑ์, พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช, สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
4.4 ปัญหา/อุปสรรค/ประเด็นทางการค้าและการลงทุนกับไทย
-ระยะเวลาสำหรับการเดินทางเพื่อติดต่อการค้าใช้เวลามากและต่อเครื่องหลายต่อ ทำให้ต้นทุนการติดต่อหรือขนส่งสูง
-การติดฉลากสินค้านำเข้าเป็นภาษาสเปน
-การใช้ภาษาสเปนในการติดต่อสื่อสาร
-ขาดความตกลงคุ้มครองการลงทุนและความตกลงยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน - แปลข้อมูลขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ส่งออก จัดการอบรมสัมมนา
- ผู้ส่งออกควรจ้างล่ามสำหรับการติดต่อการค้า
- การส่งเสริมการเรียนภาษาสเปนในสถานบันการศึกษาไทย
- การแลกเปลี่ยนการเยือนและเจรจาในระดับสูงเพื่อเร่งการทำความตกลงฯ
4.5 ลู่ทางการค้าและการลงทุน
คอสตาริกามีความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนที่ใกล้ชิดกับประเทศจีนและไต้หวัน จึงมีทัศนติที่เปิดรับต่อการทำการค้ากับไทย การที่คอสตาริกายังต้องมีการพัฒนาอีกมากจึงมีโอกาสทำการค้าได้เพิ่มขึ้น ความไม่มั่นคงด้านอาหารของคอสตาริกาเนื่องจากประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง เป็นโอกาสที่ดีสำหรับการส่งออกสินค้าอาหาร ทั้งโภคภัณฑ์พื้นฐาน และสินค้ากระป๋องและแปรรูป การเสนอความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีในภาคเกษตร ขนส่ง หรือโครงสร้างพื้นฐาน ที่ไทยมีความเชี่ยวชาญอาจจะช่วยเป็นการปูทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ส่งเสริมให้เพิ่มการค้าระหว่างทั้งสองประเทศได้
5. SWOT Analysis
Strength
-เป็นทำเลที่ดีสำหรับเป็นศูนย์กลางการส่งออกต่อไปยังประเทศในภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกาใต้
-ระบบการค้าเสรีและส่งเสริมการส่งออก
Weakness
-ห่างไกลจากประเทศไทย-ตลาดภายในประเทศไม่ใหญ่
Opportunities
-มีความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนที่ใกล้ชิดกับประเทศจีนและไต้หวันจึงมีทัศนติที่เปิดรับต่อการทำการค้ากับไทย
Threat
-ยังต้องมีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก-ภัยธรรมชาติ เช่น พายุไต้ฝุ่น และแผ่นดินไหว
6. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ
Camara de Comericio de Costa Rica
Barrio Tournón, del Centro Comercial el Pueblo, 125 metros Noroeste.
Goicochea, San José, Costa Rica 1114-1000
Tel: (506) 2221-0005 (506) 2221-0124
Fax: (506) 2223-1157 (506) 2256-9680
Website: http://www.camara-comercio.com/
Email: camara@camara-comercio.com