Google Website Translator

Monday, April 18, 2011

Country Profile: Honduras 2011

ข้อมูลเศรษฐกิจฮอนดูรัส


เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคอเมริกากลาง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้คือ ทิศตะวันตกติดต่อกับกัวเตมาลา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับเอลซัลวาดอร์ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับนิการากัว ทิศใต้จรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศเหนือจรดอ่าวฮอนดูรัสและทะเลแคริบเบียน และอยู่ห่างจากเบลีซ 75 กิโลเมตร ตามชายฝั่งอ่าวฮอนดูรัส

1.2 ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐฮอนดูรัส (ภาษาสเปน: Republica de Honduras)

1.3 เมืองหลวง/เมืองท่า/เมืองเศรษฐกิจสำคัญ
Tegucigalpa (เมืองหลวง) เสื้อผ้าและสิ่งทอ น้ำตาล ยาสูบ ไม้แปรรูป กระดาษ เซรามิกส์ ซีเมนต์ แก้ว พลาสติก การกลึงเหล็ก ยางรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องจักรเกษตร เชื่อมฝั่งแอตแลนติกทางท่าเรือน้ำลึก Cortes เชื่อมฝั่งแปซิฟิกผ่านท่า San Lorenzo

San Pedro Sula ใหญ่เป็นอันดับสอง เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเบา เช่น การแปรรูปกาแฟ เนื้อ น้ำตาล ยาสูบ และสินค้าจากป่าไม้ เชื่อมฝั่งแอตแลนติกทางท่าเรือน้ำลึก Cortes

Puerto Cortes (เมืองท่าสำคัญ) ท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญที่สุดของอเมริกากลาง เชื่อมฝั่งแอตแลนติก

La Cieba ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของฮอนดูรัส และเป็นเมืองท่าอันดับ 2 เป็นแหล่งท่องเที่ยวและมีสินค้าเกษตร (กล้วย และสัปปะรด) เป็นกิจกรรมเศรษฐกิจที่สำคัญ เชื่อมทะเลแอตแลนติก
1.4 ขนาดพื้นที่ 112,492 ตารางกิโลเมตร

1.5 ประชากร 7.2 ล้านคน

1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ การทำไม้แปรรูป ทองคำ เงิน ทองแดง ตะกัว สังกะสี เหล็ก ถ่านหิน และการทำประมง

1.7 ประวัติศาสตร์ อารยธรรมดั้งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอารยธรรมมายา มีชื่อว่า กลุ่ม Xukpi โดยมีเมืองสำคัญเก่าแก่ชื่อว่า Copan มีความรุ่งเรืองระหว่างคริสตศตวรรษที่ 5 ถึง 9 ในการเดินทางมาสำรวจทวีปอเมริกาครั้งสุดท้ายของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เมื่อปี คศ. 1502 ได้ขึ้นบกที่เมือง Trujillo ชายฝั่งของฮอนดูรัส ซึ่งกลายเป็นที่ตั้งของหัวเมืองอาณาจักรสเปน ประเทศฮอนดูรัสได้เอกราชจากประเทศสเปนเมื่อปี คศ. 1821

เชื้อชาติ ร้อยละ 90 สืบเชื้อสายมาจากการผสมผสานระหว่างคนพื้นเมืองและชาวสเปน คนพื้นเมืองดั้งเดิมล้วนมีร้อยละ 7 คนผิวดำร้อยละ 2 และคนผิวขาว ร้อยละ 1

ศาสนา คริสต์โรมันคาทอลิก

ภาษา ภาษาราชการเป็นภาษาสเปน แต่มีภาษาท้องถิ่นที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการอีก 2 ภาษา
1.8 ระบอบการปกครอง

สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประเทศฮอนดูรัสได้เอกราชจากประเทศสเปนเมื่อวันที่ 15 กันยายน คศ. 1821 ปัจจุบันมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขรัฐและประมุขรัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ นาย Porfirio Lobo Sosa ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 มกราคม คศ. 2010 ฝ่ายนิติบัญญัติ มีสภาเดี่ยว คือ รัฐสภาแห่งชาติ การเมืองมีระบบหลายพรรคการเมือง (multi-party system) มีเขตการปกครองทั้งหมด 18 เขต

1.9 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ

มีเส้นทางถนนจำนวน14,239 กิโลเมตร ทางรถไฟ 75 กิโลเมตร สนามบิน 104 แห่ง สนามบินระหว่างประเทศ คือ Golosón International Airport ที่เมือง La Cieba สายการบินสำคัญคือ สายการบิน Isleña Airlines ทางเดินเรือขนาดเล็กทางน้ำ 465 กิโลเมตร ท่าเรือสำคัญ 2 แห่ง มีท่าเรือ 4 แห่ง และเรือเดินทะเลที่จดทะเบียนไว้ในประเทศฮอนดูรัส 104 ลำ ซึ่งเป็นของฮอนดูรัสเพียงลำเดียวกัน นอกนั้นเป็นของประเทศสิงคโปร์ (12) เกาหลีใต้ (6) บาเรน (5) ญี่ปุ่น (4) กรีซ (4) จีน (2) ไตว้หวัน (2) อียิปต์ (2) เลบานอน (2) มอนเตเนโกร (2) ฮ่องกง (1) แคนาดา (1) อิสราเอล (1) เม็กซิโก (1) ปานามา (1) แทเซเนีย (1) และเวียดนาม (1)
2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจของประเทศฮอนดูรัส

ฮอนดูรัสเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวน้อยที่สุดในกลุ่มอเมริกากลางรองจากประเทศนิคารากัว ร้อยละ 60 ของประชากรอยู่ในระดับความยากจน อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจยังไม่ถึงระดับที่ยกฐานะของคนเหล่านี้ได้ในระยะสั้นการพัฒนาเศรษฐกิจได้เติบโตมาจากการส่งออกกล้วยและกาแฟเป็นสำคัญ ต่อมาได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตเสื้อผ้า และการผลิตสายไฟภายในรถยนต์ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของฮอนดูรัสยังพึ่งพาตลาดการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพียงผู้เดียวเป็นส่วนใหญ่ โดยหนึ่งส่วนสามของรายได้ประชาชาติมาจากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และอีกร้อยละ 20 มาจากการรับโอนเงินจากสหรัฐฯ รวมทั้งต้นกำเนิดการลงทุนจากต่างประเทศมาจากสหรัฐถึงร้อยละ 70 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด

สรุปข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจประเทศฮอนดูรัส

2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

ในปี คศ. 2010 ฮอนดูรัสมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศฮอนดูรัส

ภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด มีสัดส่วนของผลผลิตแห่งชาติเป็นร้อยละ 60.8 รองลงมาได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 26.9 และภาคเกษตรร้อยละ 12.4

3. ข้อมูลค้าการลงทุนทั่วไปของประเทสฮอนดูรัส
3.1 สินค้าส่งออก/สินค้านำเข้าหลักของประเทศออนดูรัส

ในปี คศ. 2010 ฮอนดูรัสได้มีการส่งออกมูลค่ารวม 5.879 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี คศ. 2009 ร้อยละ 15.5 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญคือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป กาแฟ กุ้ง สายไฟฟ้า ซีการ์ กล้วย ทองคำ น้ำมันปาล์ม ผลไม้ กุ้งก้ามกราม และไม้แปรรูป และมีประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญ อันได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 59.6 เอลซัลวาดอร์ร้อยละ 5.6 กัวเตมาลาร้อยละ 5.3 เม็กซิโก ร้อยบะ 4.2 และประเทศเยอรมัน ร้อยบะ 4

สำหรับการนำเข้าในปีเดียวกันนั้น ฮอนดูรัสได้มีมูลค่าการนำเข้ารวม 8.88 พันล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้น ร้อยละ 50 มีรายการสินค้านำเข้าสำคัญ คือ เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับการขนส่ง วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์เคมี เชื้อเพลิง และสินค้าอาหาร โดยมีประเทศคู่ค้านำเข้า อันได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 46.8 กัวเตมาลา 8.9 เอลซัลวาดอร์ ร้อยละ 7.1 เม็กซิโก ร้อยละ 5.5 และประเทศคอสตาริกา ร้อยละ 4.9

3.2 นโยบาย/มาตรการทางการค้า ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี

อัตราภาษีสำหรับสินค้านำเข้าโดยทั่วไปมีค่าเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 6 แต่สินค้าเกษตรจะมีภาษีเฉลี่ยประมาณร้อยละ 11.1 ฮอนดูรัสถือว่าเป็นประเทศที่มีมาตรการกีดกันการค้าไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศละตินอเมริกาและแคริเบียนอื่น ๆ ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 77 ในจำนวน 125 ประเทศ สำหรับดัชนี Trade Tariff Restrictiveness Index (TTRI) สำหรับความแข่งขันระหว่างประเทศ ได้รับจัดอันดับใน Global Competitive Index เป็นประทศที่ 91 ต่ำกว่าประเทศปานามา (53) คอสตาริกา (56) กัวเตมาลา (78) และเอลซัลวาดอร์ (82) แต่สูงกว่าประเทศนิคารากัว (112)

3.3 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ

ฮอนดูรัสได้เข้าเป็นภาคีองค์การค้าระหว่างประเทศในปี คศ. 1995 ความร่วมมือทางการค้าที่สำคัญมี่สุดสำหรับประเทศฮอนดูรัส ได้แก่ ความตกลงกับสหรัฐฯ ภายใต้กรอบของความตกลงเขตการค้าเสรีสาธารณรัฐดอมินิกันและอเมริกากลาง (DR-CAFTA) นอกจากนี้แล้ว ฮอนดูรัสยังเป็นภาคีของตลาดกลางของกลุ่มภูมิภาคอเมริกากลาง (CACM- Central American Common Market) กลุ่ม Central American Group of Four และ ACS- Association of Caribbean States

ในระดับทวิภาคี ฮอนดูรัสมีความตกลงเขตการค้าเสรีกับเม็กซิโก (ปี คศ. 2001) ปานามา และไต้หวัน (ปี คศ. 2007) และมีความตกลงให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับประเทศเวเนซูเอลา (ปี คศ. 1986)

ประเทศฮอนดูรัส ได้ทำความตกลงเอื้ออำนวยการลงทุนกับหลายประเทศ แต่ไม่มีข้อตกลงยกเว้นภาษีซ้อนกับประเทศใดทั้งสิ้น

4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับคอสตาริกา

ไทยและฮอนดูรัสสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม คศ.1985 โดยรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำฮอนดูรัสอีกตำแหน่งหนึ่ง และแต่งตั้งให้นาย Henry Bahr เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำฮอนดูรัส ในขณะที่รัฐบาลฮอนดูรัสได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตประจำญี่ปุ่นมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย และแต่งตั้งนายสุนทร อรุณานนท์ชัย เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย

4.2 มูลค่าการค้าของไทยกับฮอนดูรัส

ในปี คศ. 2010 การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับฮอนดูรัสมีมูลค่ารวม 72.312 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี คศ. 2009 ร้อยละ 99.7 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ปรียบดุลการค้า 69.694 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกไปยังฮอนดูรัสในปี คศ. 2010 มูลค่า 71.003 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี คศ. 2009 เทียบเท่ากับร้อยละ 107 การนำเข้าจากฮอนดูรัสในปี คศ. 2010 มีมูลค่า 1.309 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี คศ. 2009 ร้อยละ 35

4.3 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศฮอนดูรัสและสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากฮอนดูรัส

สินค้าที่ไทยส่งออกไปฮอนดูรัสคือ รถนยต์และรถบรรทุก สิ่งทอ และอาหารทะเล ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากฮอนดูรัส สายไฟ้ฟ้า เสื้อผ้าและสิ่งทอ และเศษเหล็ก-เศษทองแดง-เศษอาลูมิเนียม

4.4 สินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยสำหรับประเทศฮอนดูรัส

มีโอกาสการส่งออกสินค้าอาหาร และวัตถุดิบ เช่น น้ำตาล ยางพารา อาหารทะเล เครื่องจักรเกษตร รวมทั้งรถยนต์ และผลิตภัฒฑ์ไฟฟ้า ในจำนวนจำกัดเนื่องจากขนาดของตลาดไม่ใหญ่นัก

4.5 ปัญหา/อุปสรรค/ประเด็นทางการค้าและการลงทุนกับไทย

ระยะทางในการเดินทางขนส่งสินค้าที่ห่างไกล ขนาดของตลาดที่เล็ก และการสื่อสาร ติดฉลากเป็นภาษาสเปน เป็นอุปสรรคที่มีเหมือนกับการค้าขายกับกลุ่มประเทศละตินอเมริกาอื่น ๆ การมองตลาดของฮอนดูรัสจึงควรมองในลักษณะรวมของภูมิภาค นั่นคือ เพื่อให้มีการติดต่อการค้ากันบ้าง ไทยอาจจะพิจารณาการนำเข้าจากประเทศฮอนดูรัสเพิ่มเพื่อเป็นการช่วยเหลือในการพัฒนาของประเทศฮอนดูรัส และอาจจะมีโอกาสขยายความสัมพันธ์ทางการค้าโดยการเข้าร่วมการประมูลในงานก่อสร้างต่าง ๆ

4.6 การท่องเที่ยวในฮอนดูรัส

ในปี คศ. 2007 ได้มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปฮอนดูรัสประมาณ 1.2 ล้านคน นักท่องเที่ยวนิยมใช้เวลาท่องเที่ยวในฮอนดูรัสเฉลี่ย 9 วันต่อเที่ยว การท่องเที่ยวของฮอนดูรัสในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเมือง รวมทั้งผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ อย่างไร็ก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลฮอนดูรัสมุ่งเน้นการส่งเสริม โดยเล็งเห็นว่ามีโอกาสการขยายตัวได้สูง เพราะฮอนดูรัสมีแหล่งท่องเที่ยวในหลายรูปแบบ ทั้งด้านโบราณคดี ด้านธรรมชาติ ด้านกีฬาน้ำ และเรือสำราญ เป็นต้น ได้มีการประเมินว่า ภาคการท่องเที่ยวฮอนดูรัสต้องมีการลงทุนเพิ่มจำนวนห้องพักอีก 20,000 ห้องใน 10 ปีข้างหน้า บริษัทต่างชาติที่สนใจลงทุนในการท่องเที่ยวในฮอนดูรัสสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือ และสิทธิพิเศษกับหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนฮอนดูรัส นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลของฮอนดูรัสได้รับความช่วยเหลือด้านเงินกู้เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวจาก ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนา และรัฐบาลของญี่ปุ่น

5. SWOT Analysis

Strength: มีท่าเรือน้ำลึกฝั่งแอทแลนติกที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
Weakness: ขนาดของตลากเล็กและกำลงซื้อน้อย
Opportunities: โอกาสการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว
Threat: การเมืองหรืออุทกภัย

6. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/ รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าของประเทศนั้น

หอการค้าฮอนดูรัส
Edificio Torre Alianza I, 7 nivel,
Colonia Lomas del Guijarro Sur, Boulevard San Juan Bosco, Tegucigalpa
Teléfonos: 271-0094 / 0095 / 0096 Fax: 271-0097
amcham@amchamhonduras.org
www.amchamhonduras.org/

7. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยงานส่งเสริมการค้าของประเทศนั้นๆ

Embassy of the Republic of Honduras
No. 38 Kowa Bldg., 8th Fl., Room 802,
4-12-24 Nishi-Azabu, Minato-ku,
Tokyo 106-0031, Japan
Tel: (813) 3409-1150
Fax: (813) 3409-0305

No comments: