Google Website Translator

Saturday, February 26, 2011

Country Profile: Guatemala 2011

ข้อมูลเศรษฐกิจประเทศกัวเตมาลา


กัวเตมาลาเป็นประเทศในอเมริกากลาง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ มีชายฝั่งติดกับทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน พรมแดนด้านตะวันออกจรดเม็กซิโก ตะวันออกเฉียงเหนือจรดเบลีซ และตะวันตกเฉียงใต้จรดฮอนดูรัสและเอลซัลวาดอร์

1.2 ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐกัวเตมาลา (ภาษาสเปน: República de Guatemala)

1.3 เมืองหลวง กรุงกัวเตมาลา (ประชากรราว 2.9 ล้านคน)

1.4 ขนาดพื้นที่ 108,889 ตารางกิโลเมตร

1.5 ประชากร 13.8 ล้านคน

1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมัน นิ้กเกิล ป่าไม้ ประมง พลังงานไฟฟ้า

1.7 ประวัติศาสตร์

กัวเตมาลามีพื้นฐานอารยธรรมมาจากอาณาจักรมายาที่รุ่งเรืองเป็นเวลาพันปีก่อนที่สเปนมายึดครอง กัวเตมาลาอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศสเปนระหว่างปี ค.ศ. 1524-1821 และได้รับเอกราชจากประเทศสเปนในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1821 ระหว่างปี ค.ศ. 1839-1944 กัวเตมาลาอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำเผด็จการทางทหาร จนกระทั่งปี ค.ศ.1945 รัฐบาลฝ่ายสังคมนิยมได้รับการเลือกตั้งและพยายามปรับโครงการทางสังคมและประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1945 รัฐบาลสังคมนิยมดังกล่าวได้ถูกล้มล้างโดยกลุ่มกบฏทหารฝ่ายขวา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน CIA ของสหรัฐฯ โดยนอกจากล้มล้างรัฐบาลและจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการทหารใหม่แล้ว ยังได้ทำการกวาดล้างกลุ่มพรรคคอมมิวนิตส์และกลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรง ส่งผลให้กลุ่มฝ่ายซ้ายดังกล่าวหลบหนีไปอยู่ตามชนบทที่ยากจนและจัดตั้งเป็นกลุ่มกบฏกองโจรฝ่ายซ้ายเพื่อต่อสู้กับรัฐบาล ตั้งแต่นั้นมาเป็นเวลา 36 ปี กัวเตมาลาต้องอยู่ในสภาวะสงครามการเมือง จนกระทั่งการเจรจาสงบศึกในปี ค.ศ. 1996

เชื้อชาติ เมสติโซ (ผิวขาวผสมอินเดียน) ร้อยละ 55 อเมริกัน-อินเดียน ร้อยละ 43 คอเคเชียน และอื่นๆ ร้อยละ 2
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ภาษา ภาษาสเปน และภาษาท้องถิ่น Kekchi, Cakchique, Guiche และ Nam

1.10 ระบอบการปกครอง สาธารณรัฐประชาธิปไตย

รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้เมื่อ 14 มกราคม ค.ศ. 1986 ประมุขของประเทศ ประธานาธิบดี นาย Álvaro Colom Caballeros (ดำรงตำแหน่งเมื่อ 14 มกราคม ค.ศ. 2008) ประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียว จำนวน 158 ที่นั่ง และมีวาระ 4 ปี พื้นที่การปกครองมี 22 จังหวัด

1.11 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ

มีเส้นทางถนนจำนวน 14,095 กิโลเมตร ทางรถไฟจำนวน 332 กิโลเมตร และทางน้ำ 990 กิโลเมตร ซึ่งเพียง 260 กิโลเมตรสามรถใช้เดินเรือได้ทั้งปี สนามบินมี 372 แห่ง โดยมีสนามบินระหว่างประเทศชื่อ La Aurora Internation Airport อยู่ที่กรุงกัวเตมาลา มีสายการบินเอกชนเล็ก ๆ 3 ราย คือ TAG AVCOM (Aviateca) และ RACSA มีระบบท่อส่งน้ำมัน 480 กิโลเมตร ท่าเรือที่สำคัญได้แก่ Puerto Quetzal และ Santo Tomas de Castilla2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป

2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศกัวเตมาลา

ประเทศกัวเตมาลาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด และมีขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอเมริกากลาง โดยในปี ค.ศ. 2010 มีรายได้ต่อหัวประมาณ 4,871 เหรียญสหรัฐ ผลผลิตแห่งชาติของกัวเตมาลามีสัดส่วนเทียบเป็นหนึ่งส่วนสี่ของผลผลิตรวมของกลุ่มตลาดกลางอเมริกากลาง (CACM) อย่างไรก็ตาม กัวเตมาลายังคงต้องรักษาการขยายตัวของเศรษฐกิจให้ต่อเนื่องเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกระจายรายได้ที่เหลื่อมล้ำอย่างมาก ทั้งนี้ กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรของกัวเตมาลาอยู่ในระดับยากจน และร้อยละ 15 อยู่ในระดับความยากจนขีดสุด การขาดการศึกษาที่เพียงพอในประชากรส่วนใหญ่เป็นปัญหาสำคัญ และทำให้กัวเตมาลาขาดแรงงานที่มีฝีมือ โครงสร้างของเศรษฐกิจยังคงพึ่งรายได้จากเงินส่งกลับจากแแรงงานในต่างประเทศเป็นสำคัญ เทียบได้เป็นสองส่วนสามของมูลค่าการส่งออก หรือร้อยละ 10 ของผลผลิตแห่งชาติ นอกจากนี้ หนึ่งส่วนสามของการผลิตเพื่อการส่งออกยังคงเป็นการผลิตในลักษณะ maquiladora นั่นคือ นำเข้าวัตถุดิบจากหสหรัฐเพื่อรับสิทธิประโยชน์เพื่อการส่งออกกลับไปยังสหรัฐ

เศรษฐกิจของกัวเตมาลาในปี 2009 ได้รับผลกระทบจากสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐ ส่งผลต่อมูลค่าเงินส่งกลับจากต่างประเทศลดลงถึงร้อยละ 9 ผลของภาวะวิกฤตเศรษฐกิจยังคงแสดงตัวในปี 2010 อันเป็นผลให้เศรษฐกิจของกัวเตมาลาขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 1

สรุปข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจกัวเตมาลา


2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

กัวเตมาลามีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในปลายปี ค.ศ. 2010 ประมาณ 5.709 พันล้านเหรียญสหรัฐ

2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศกัวเตมาลา

ภาคบริการมีสัดส่วนความสำคัญในผลผลิตแห่งชาติร้อยละ 62.3 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 24.4 และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 13.3 สินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ กาแฟ น้ำตาล และกล้วย ส่วนอุตสาหกรรมที่มีความนสำคัญได้แก่ เหมืองถ่านหิน การขุดเจาะน้ำมัน การประกอบเครื่องจักร รถยนต์ อุปกรณ์การขนส่งและเรือ อุปกรณ์สื่อสาร การผลิตอาวุธ การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งทอ รองเท้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป การผลิตสารเคมี ปุ๋ย และซีเมนต์ ส่วนกิจการด้านการบริการทีสำคัญ ได้แก่ การท่องเที่ยว และอสังหริมทรัพย์

2.4 ข้อมูลด้านการลงทุนในประเทศ

หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของกัวเตมาลา ได้คาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2010 กัวเตมาลาได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศมูลค่าประมาณ 608.9 ล้านเหรียญสหรัฐ รัฐบาลของกัวเตมาลามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการลงทุนในภาคลอจิสติก การสื่อสาร การท่องเที่ยว และการผลิตในอุตสาหกรรมอีเล็คตรอนนิกส์ รถยนต์ ผลิตภัณฑ์เพื่อการแพทย์ สินค้าพลาสติก ผลิตภัณธ์ยาง ผลิตภัณฑ์เคมี และอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า รวมทั้งการสำรวจขุดเจาะน้ำมัน

3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของกัวเตมาลา
3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศกัวเตมาลา

ในปี ค.ศ. 2010 กัวเตมาลามีมูลค่าการส่งออกรวม 8.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากการส่งออกในปี 2009 ร้อยละ 17.5 คู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 40.4 เอลซัลวาดอร์ ร้อยละ 11.2 ฮอนดูรัส ร้อยละ 8.5 และเม็กซิโก ร้อยละ 5.9 สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ กาแฟ น้ำตาล น้ำมัน เสื้อผ้าสำเร็จรูป กล้วย ผักและผลไม้ และคาร์ดามอน

การนำเข้าในปี 2010 มีมูลค่า 13.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นร้อยละ 20 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 36.5 เม็กซิโก ร้อยละ 10.5 จีน ร้อยละ 5.9 และเอลซัลวาดอร์ ร้อยละ 5.1 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง วัสดุก่อสร้าง ข้าวและถั่ว ปุ๋ย และไฟฟ้า

3.2 นโยบาย/มาตรการทางการค้า ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี

อัตราภาษี MFN ของกัวเตมาลาทีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.9 สำหรับสินค้าเกษตรมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 9.9 ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 12 มีมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีน้อยมาก ไม่มีข้อจำกัดสำหรับการนำเข้า เช่น โควตา หรือใบอนุญาตนำเข้า แต่มีข้อกำหนดด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับการนำเข้าสินค้าบางประเภท

3.3 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ

กัวเตมาลาได้เข้าร่วมองค์การค้าโลกในปี ค.ศ. 1995 เป็นสมาชิกกลุ่มศุลกากร Central American Common Market-CACM เมื่อปี ค.ศ. 1960 มีความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีกับกลุ่ม DR-CAFTA ตั้งแต่ปี 2004 กลุ่ม Colombia-North Triangle (โคลัมเบีย เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส) ตั้งแต่ปี 2007 กลุ่ม Mexico-North Triangle ตั้งแต่ปี 2000 กลุ่มภูมิภาคอเมริกากลางกับชิลี ตั้งแต่ปี 1999 และกลุ่มภูมิภาคอเมริกากลางกับปานามา ตั้งแต่ปี 2002 ในระดับทวิภาคี กัวเตมาลามีความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศไต้หวัน ตั้งแต่ปี 2005 นอกจากนี้แล้ว ยีงมีความตกลงให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับประเทศเวเนซูเอลา จากปี 1985

4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัวเตมาลากับไทย

กัวเตมาลาเป็นประเทศแรกในภูมิภาคลาตินอเมริกากลางที่เปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยเมื่อปลายปี ค.ศ. 1988 โดยมีนาย Luis Alberto Henry Sanchez เป็นเอกอัครราชทูตกัวเตมาลาคนแรกในประเทศไทย แต่ต่อมาได้ปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยลงเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 1990 ด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศกัวเตมาลาอีกตำแหน่งหนึ่ง และแต่งตั้งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของไทยประจำกัวเตมาลา (Mr. Louis Leonowens) ส่วนกัวเตมาลาแต่งตั้งให้เอกอัครราชทูตกัวเตมาลาประจำญี่ปุ่น มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศ

4.2 มูลค่าการค้าของไทยกับกัวเตมาลา

ในปี ค.ศ. 2010 การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับกัวเตมาลามีมูลค่ารวม 105.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 71 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ปรียบดุลการค้า 99.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกไปยังกัวเตมาลาในปี 2010 มูลค่า 102.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 71.6 การนำเข้าจากกัวเตมาลาในปี 2010 มีมูลค่า 3.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 57

4.3 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศกัวเตมาลา และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากกัวเตมาลา

สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังประเทศกัวเตมาลา 10 อันดับแรกในปี ค.ศ. 2010 คือ รถยนต์และชิ้นส่วน ผ้าลูกไม้และปัก ผลิตภัณฑ์ยาง ด้าย อาหารทะเลแปรรูป เครื่องจักรและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เคมี เมล็ดพลาสติก ตู้เย็นและชิ้นส่วน และสิ่งทอ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากกัวเตมาลา ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เศษเหล็ก ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เสื้อผ้า กาแฟ-ชา-เครื่องเทศ ผ้า สิ่งทอ ชิ้นส่วนรถยนต์ ผักและผลิตภัณฑ์

4.4 ข้อตกลง/ความร่วมมือทางการค้ากับประเทศไทย

ไทยและกัวเตมาลามีความสัมพันธ์ที่ราบรื่น ไม่มีปัญหาขัดแย้ง แต่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ใกล้ชิดเท่าที่ควร โดยเมื่อปี ค.ศ. 2007 เป็นปีครบรอบความสัมพันธ์ 50 ปี ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงล่าสุดของฝ่ายไทย คือเมื่อวันที่ 15 – 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 รัฐมนตรีช่วยประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) ในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนกัวเตมาลาอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นการเยือนระดับสูงครั้งแรกของไทยนับตั้งได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน สำหรับฝ่ายกัวเตมาลา แม้ว่าจะยังไม่มีการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ แต่นาย Oscar Jose Rafael BERGER Perdomo อดีตประธานาธิบดีกัวเตมาลาได้เดินทางเยือนไทยเป็นการส่วนตัว ระหว่างวันที่ 23 – 26 มิ.ย. 2007 ซึ่งเป็นการฉลองครบรอบการแต่งงานกับภรรยา และได้เดินทางไปเยือนจังหวัดภูเก็ตด้วยในปี 2009

4.5 การท่องเที่ยวในกัวเตมาลา

ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแหล่งเงินรายได้ของกัวเตมาลาเป็นอันดับ 2 โดยในช่วงไตรมาสของ ปี ค.ศ. 2009 เงินรายได้จากภาคการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 หรือประมาณ 323 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด H1N1 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังกัวเตมาลา นอกจากนี้ ปัญหาอาชญากรรมและความไม่ปลอดภัยในกัวเตมาลา ยังคงเป็นปัจจัยที่ลดปริมาณนักท่องเที่ยวของกัวเตมาลาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ในแต่ละปีกัวเตมาลามีนักท่องเที่ยวประมาณ 2 ล้านคน

5. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/ รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าของประเทศนั้น

5.1.  กระทรวงการต่างประเทศกัวเตมาลา
2a Av. 4-17 zona 10, Ciudad de Guatemala
Código Postal: 01010
Teléfono: (502)2410-0000
http://www.minex.gob.gt/

5.2. องค์กรการส่งเสริมการลงทุนแห่งกัวเตมาลา
10a calle 3-17 Z. 10, Edificio Aseguradora General, 4to Nivel
Phone: (502) 2421.2484
http://www.investinguatemala.org/

5.3. หอการค้ากัวเตมาลา
10 Calle 3-80, Zona 1. 01001, Guatemala, C.A.
Tel: +(502) 2417-2700
http://www.negociosenguatemala.com/

6. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยงานส่งเสริมการค้าของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย

6.1. สถานเอกอัครราชทูตกัวเตมาลา ประเทศญี่ปุ่น
Kowa Nr. 38 Bldg. Rm. 905, Nishi-Azabu
106, Minato-Ku, Tokyo, Japan
Phone: +81-3-34001830
Fax: +81-3-34001820

No comments: