Google Website Translator

Friday, February 11, 2011

Country Profile: Belize 2011

ข้อมูลเศรษฐกิจประเทศเบลิซ


ชื่อทางราชการ เบลีซ (Belize)
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์  อยู่ในภูมิภาคอเมริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับทะเลแคริบเบียน ทิศเหนือติดกับเม็กซิโก ทิศตะวันตกติดกับกัวเตมาลา
เนื้อที่ 22,965 ตารางกิโลเมตร
ภูมิอากาศ ร้อนชื้น อากาศร้อนและชื้นมาก ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกุมภาพันธ์
เมืองหลวง กรุงเบลโมแพน (BELMOPAN)
ประชากร 307,899 คน (ปี 2552)
ศาสนา โรมันคาทอลิก (ร้อยละ 49.6), โปรเตสแตนท์ (ร้อยละ 27), อื่นๆ (ร้อยละ 14) ไม่นับถือศาสนา (ร้อยละ 9.4)
ภาษาราชการ อังกฤษ
วันชาติ  21 กันยายน 1981 (ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร)
รูปแบบการปกครอง  ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
นายกรัฐมนตรี นาย Dean O. Barrow (ชนะเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2551)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Wilfred Elrington

ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ

ระบบคมนาคมของเบลีซมีเส้นทางถนนจำนวน 3,007 กิโลเมตร สนามบิน 45 แห่ง สนามบินระหว่างประเทศ คือ Philip S. W. Goldson International Airport ที่กรุงเบลีซ สายการบินของเบลีซ Tropic Air เป็นสายการบินเล็ก ๆ ที่มีเรือบิน 11 ลำ เบลีซมีเส้นเดินทาง ๆ น้ำ 825 กิโลเมตร มีท่าเรือ 2 แห่งที่กรุงเบลีซ และเมือง Creek City มีเรือเดินทะเลรวม 231 ลำ เป็นเรือบรรทุกสินค้า 146 ลำ bulk carrier 37 ลำ เรือบรรทุกสินค้าเย็น 27 ลำ เรือน้ำมัน 7 ลำ roll on/roll off 10 ลำbarge carrier 1 ลำ เรือโดยสาร 1 ลำ และเรือของต่างชาติอีก 171 ลำ ซึ่งเป็นของประเทศจีน 64 ลำ

ข้อมูลพื้นฐานของประเทศเบลีซ

การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญที่สุดที่ให้เงินตราต่างประเทศกับเศรษฐกิจที่มีขนาดเล็กอย่างเบลีซ ภาคเศรษฐกิจที่ให้รายได้สำคัญรองลงมาได้แก่ การส่งออกผลิตภัฑ์ทะเล ส้ม น้ำตาล กล้วยและเสื้อผ้า รัฐบาลของเบลีซได้ดำเนินมาตรการด้า-การเงินและการคลังเพื่อขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจเมื่อปี ค.ศ. 1998 อันเป็นผลให้ผลผลิตแห่งชาติขยายตัวของในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4 ในช่วงระหว่างปี 1999-2007 ในปี 2006 การขยายตัวของเศรษฐกิจเบลีซได้รับการกระตุ้นจากการค้นพบน้ำมันที่ช่วยให้รัฐบาลเบลีซปรับลดหนี้ระหว่างประเทศของภาครัฐ และช่วยให้มีสภาพคล่องด้านการเงินที่ดีขึ้น แต่ในปี 2009 เศรษฐกิจของเบลีซได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ ภัยอุทกภัย และราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลงในปีนั้น ทำให้เศรษฐกิจของเบลีซไม่มีกาาขยายตัวเลยในปีนั้น จนกระทั่งปี 2010 เศรษฐกิจของเบลีซจึงฟื้นฟูขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.5


เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

ประเทศเบลีซมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในปลายปี ค.ศ. 2010 ประมาณ 213.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

โครงสร้างการผลิตภายในประเทศเบลีซ

ภาคบริการมีสัดส่วนความสำคัญในผลผลิตแห่งชาติร้อยละ 54.1 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 16.9 และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 29

ข้อมูลด้านการลงทุนในประเทศเบลีซ

การลงทุนจากต่างประเทศในเบลีซได้เริ่มขยายตัวอย่างชัดเจนใจตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา โดยมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศได้กระโดดเพิ่มขึ้นจากประมาณปีละ 70 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เป็นปีละกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในช่วง 2004-2007 สำหรับในปี 2008 เบลีซได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดในมูลค่า 188 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในปี 2009 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤตการณ์เงินในสหรัฐฯ การลงทุนจากต่างประเทศในเบลีซได้ลดลงเป็น 94 ล้านเหรียญฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของเบลีซได้พัฒนาการให้สิทธิพิเศษและการอำนวยความสะดวกสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศหลายประการ ภาคเศรษฐกิจที่เป็นเป้าหมายรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ คือ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร (การผลิตน้ำตาล และการเลี้ยงผึ่ง) การท่องเที่ยว การเพาะเลี้ยงกุ้งและปลา การเพาะปลูกต้นไม้และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับป่าไม้ อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมการประกอบรถยนต์ และการประมงน้ำลึก

ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศเบลีซ

ในปี ค.ศ. 2010 เบลีซมีมูลค่าการส่งออกรวม 404 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากการส่งออกในปี 2009 ร้อยละ 5.8 คู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 30.7 อังกฤษ ร้อยละ 29.8 ไนจีเรีย ร้อยละ 4.9 และค็อทดิวอร์ ร้อยละ 4.5 สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ กาแฟ น้ำตาล กล้วย ส้ม เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ปลา น้ำเชื่อม ไม้ และน้ำมันดิบ

การนำเข้าในปี 2010 มีมูลค่า 740 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นร้อยละ 19 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 33.6 เม็กซิโก ร้อยละ 14.2 คิวบา ร้อยละ 8.5 กัวเตมาลา ร้อยละ 6.8 สเปน ร้อยละ 6 และจีน ร้อยละ 4.1 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง สินค้าอุตสาหกรรม เชื้อเพลิง สารเคมี สินค้าเภสัช อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ
นโยบาย/มาตรการทางการค้า ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี

รัฐบาลของเบลีซเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 12.5 นอกจากนี้แล้วยังมีการเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าบางประเภท และภาษีสำหรับสินค้าพิเศษซึ่งเก็บจากทั้งสินค้านำเข้าและสินค้าที่ผลิตภายในประเทศประมาณ 219 รายการ นอกจากนี้แล้ว ยังเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมอีกร้อยละ 2 สำหรับสินค้านำเข้าทุกประเภทนอกเหนือจากภาษีนำเข้าทั่วไป ความร่วมมือภายใต้กลุ่มประชาคมแคริบเบียนได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าสูงสุด สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมนำเข้าที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียกเว้นพิเศษ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 และภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าเกษตรที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียกเว้นพิเศษในอัตราไม่เกินร้อยละ 40 ระบบภาษีของเบลีซให้รหัส HS 8 หลัก และมีอัตราภาษี MFN เฉลี่ยร้อยละ 11

ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเบลิซ

ไทยและเบลิซสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 1999 โดยรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโกดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำเบลิซเพิ่มเติมอีกตำแหน่งหนึ่ง รัฐบาลเบลิซได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเมื่อปี 2003 โดยมีนาย David Allan Kirkwood Gibson ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตเบลิซ ประจำประเทศไทย แต่ต่อมา ในปี 2006 เบลิซได้ปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยด้วยเหตุผลด้านงบประมาณ
4.2 มูลค่าการค้าของไทยกับเบลีซ

ในปี 2010 การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับเบลีซมีมูลค่ารวม 4.24 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 40.8 โดยไทยเป็นฝ่ายเสียปรียบดุลการค้ามูลค่า 454,138 เหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกไปยังเบลีซในปี 2010 มูลค่า 1.895 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2009 ร้อยละ 6.4 การนำเข้าจากเบลีซในปี 2010 มีมูลค่า 2.349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2009 ร้อยละ 137

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเบลีซคือ รถยนต์และชิ้นส่วน อาหารประเภททะเลกระป๋อง เสื้อผ้า และสินค้าพลาสิตก ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเบลีซได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง รถยนต์สำหรับงานก่อสร้าง หนังสัตว์ และอุปกรณ์ไฟฟ้า

ลู่ทางการค้าและการลงทุน

มีโอกาสการค้าการลงทุนในด้านภาคการท่องเที่ยว ยังขาดร้านอาหารไทย และยังต้องการการลงทุนพัฒนาโรงแรมห้องพัก รวมทั้งการการค้าและการลงทุนเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น ในการสร้างถนนหนทางและการปรับปรุงพัฒนาท่าเรือที่มีเรือสำราญเข้าเทียบท่าในปริมาณมาก

การท่องเที่ยวในเบลีซ

การท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับเบลีซ และได้มีบทบาทในการจ้างงานในปี 2008 ในสัดส่วนร้อยละ 26 ของการจ้างงานทั่วประเทศ และสร้างรายได้ในสัดส่วนร้อยละ 26 ของผลผลิตแห่งชาติ เบลีซรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่อปีในปริมาณที่ใกล้เคียงกับประเทศแคริเบียนอื่น ๆ ในปี 2008 ได้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าเบลีซ 245,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 60 ) รองลงมามีนักท่องเที่ยวจากยุโรป ร้อยละ 14 จากละตินอเมริการ้อยละ 11 และจากแคนาดาร้อยละ 7 นอกจากนี้แล้ว มีนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านประเทศเบลีซโดยเรือสำราญในจำนวนระหว่าง 200,000- 800,000 คนต่อปี ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา ในปี 2008 ได้มีนักท่องเที่ยวเรือสำราญเดินทางผ่านเบลีซจำนวนประมาณ 600,000 คน

รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/ รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าของประเทศนั้น


Ministry of Foreign Affairs
NEMO Building,, P.O. Box 174, Belmopan City, Cayo District, Belize, Central America
Phone: 501-822-2322/2167
Fax: 501-822-2854
Email: belizemfa@btl.net

Ministry of Economic Development, Commerce and Industry, and Consumer Protection
Sir Edney Cain Building, Belmopan City
Belmopan: Tel: (501) 822-2526/822-2527/822-1495
Fax: (501) 822-3673
Email: econdev@btl.net

Belize Chamber of Commerce and Industry
P.O. Box 291, 4792 Coney Drive, 2nd Floor, Withfield Tower, Belize City, Belize
Tel: +501-223-5330
Fax: +501-223-5333
Email: bcci@belize.org
Website: http://www.belize.org/

No comments: