สถาบันจัดระดับความน่าเชื่อถือ Fitch Ratings ได้ยืนยันการจัดระดับความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ต่างประเทศของเม็กซิโกในระดับ BBB แนวโน้มมั่นคง เมื่่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2012 โดยกล่าวว่าเม็กซิโกมีพื้นฐานด้านเศรษฐกิจโดยทั่วไปที่มั่นคง ปัจจัยความเสี่ยงภายนอกต่ำเนื่องจากมีกองทุนสำรองระหว่างประเทศที่พอเพียง ระดับหนี้ต่างประเทศพอประมาณที่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของผลผลิตแห่งชาติ และภาคธนาคารที่มีสถานะมั่นคงพอสมควร
ปัจจัยในทางบวกของเศรษฐกิจเม็กซิโก ได้แก่ ภาวะการส่งออกของเม็กซิโกที่มีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากมีส่วนแบ่งการครองตลาดในตลาดสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น อันสืบเนื่องมาจากค่าเงินเปโซที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินของสหรัฐฯ รวมทั้งต้นทุนการผลิตในเม็กซิโกที่เริ่มมีความแข่งขันเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตของจีน ในขณะที่ภาวะอุปสงค์ตลาดภายในของเม็กซิโกได้มีการขยายตัว สถาบันจัดระดับความน่าเชื่อถือ Fitch คาดว่า เศรษฐกิจของเม็กซิโกจะมีการขยายตัวปี 2012 ในอัตราร้อยละ 3 โดยระดับอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับเป้าหมายของธนาคารกลางแห่งเม็กซิโกที่ ร้อยละ 3 บวกลบ 1
ผลกระทบที่อาจส่งผลในทางลบ ได้แก่ ภาวะิวิกฤตการณ์การเงินของสหภาพยุโรปไม่คลี่คลาย หรือหากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร
ปัจจัยที่อาจจะเสริมสร้างภาวะความมั่นคงของเศรษฐกิจของเม็กซิโก ได้แก่ การปรับโครงสร้างเพื่อเร่งการเติบโตของเศรษฐกิจซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย การลดความรุนแรงหรือการเพิ่มความมั่นคงภายในประเทศ และการขยายฐานการเก็บภาษี
สถาบันจัดระดับความน่าเชื่อถือ Fitch ไม่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ภายหลังการเลือกตั้งในกลางปี 2012 จะมีผลเกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายมากนัก ยกเว้นหากว่าจะมีการเพิ่มการกู้เิงินเพิ่มหนี้
ค่าเงินเปโซ
ค่าเงินเปโซของเม็กซิโกได้มีแนวโน้มลดลงในปลายปีที่ผ่านมา โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนต่ำที่สุดที่ 13.9725 เปโซต่อเหรียญฯ ในช่วงเดือนกันยายน 2011 ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินของยุโรปจึงมีแรงขายเงินสกุลเปโซที่นักลงทุนต่างชาติได้เริ่มถือเพื่อการกกระจายความเสี่ยง รัฐมนตรีการคลังของเม็กซิโกได้กล่าวว่า ค่าเงินที่อ่่อนตัวลงในช่วงปลายปี 2011 ไม่ได้มีผลจากพื้นฐานของเศรษฐกิจของเม็กซิโกที่อ่อนตัวลง การบริหารการเงินของเม็กซิโกยังคงมีสถานะที่ดี และคาดว่า ค่าเงินของเม็กซิโกจะฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับ 13 เหรียญ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2012
ธนาคารกลางของเม็กซิโกได้รักษาระดับอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานไว้ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ๆ ประมาณร้อยละ 4.5 ในช่วงสองปีทีผ่านมา ซึ่งเป็นปัจจัยชักจูงให้นักลงทุนต่างชาติมีความสนใจถือเงินเปโซเพื่อ กระจายความเสี่ยงจากภาวะดอลล่าร์อ่อนตัว นอกจากนี้แล้ว การที่ระดับราคาสินค้าภายในเม็กซิโกมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวขึ้นลงเพื่อสะท้อนอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนตัวลง เป็นกลไกที่ช่วยดูดซับแรงกดดันของระดับอัตราเงินเฟ้อ
Source: Index Mundi
การส่งเงินกลับจากต่างประเทศฟื้นตัว
ธนาคารกลางแห่งเม็กซิโกได้แจ้งมูลค่ารวมเงินส่งกลับจากต่างประเทศของปี 2011 จำนวน 2.3 หมื่นล้านเหรียญฯ เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากเงินส่งกลับฯ ปี 2010 ร้อยละ 8 เนื่องจากการฟื้นฟูของการจ้างงานในรัฐแคลิฟอร์เนีย รวมทั้งค่าเงินเม็กซิโกที่อ่อนตัวลง ซึ่งชักจูงให้แรงงานเม็กซิกันในสหรัฐฯ มีความต้องการส่งเงินกลับ ทั้งนี้ คาดว่ามีแรงงานเม็กซิกันในสหรัฐประมาณ 11 ล้านคน เงินส่งกลับเฉลี่ยคนละประมาณ 700 เหรียญฯ ต่อเดือน
แหล่งข้อมูล:
http://www.marketwatch.com/story/fitch-affirms-mexicos-fcy-idr-at-bbb-outlook-stable-2012-01-11
http://www.latimes.com/business/la-fi-mexico-remittances-20120112,0,6700884.story?track=rss&utm_source=feedburner&utm_medium=
http://online.wsj.com/article/BT-CO-20120113-709769.html
http://www.inforefuge.com/mexico-economy-fdi-trade
http://www.marketwatch.com/story/fitch-affirms-mexicos-fcy-idr-at-bbb-outlook-stable-2012-01-11
http://www.latimes.com/business/la-fi-mexico-remittances-20120112,0,6700884.story?track=rss&utm_source=feedburner&utm_medium=
http://online.wsj.com/article/BT-CO-20120113-709769.html
http://www.inforefuge.com/mexico-economy-fdi-trade
No comments:
Post a Comment