Google Website Translator

Tuesday, December 15, 2009

Guatemala opens oil concessions

ประเทศกัวเตมาลาเปิดประมูลสัญญาการสำรวจและผลิตน้ำมัน

รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่แห่งประเทศกัวเตมาลา นายคาร์ลอส มีนี (Carlos Meany) ได้ประกาศว่า เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันของกัวเตมาลา จะมีการเปิดประมูลให้ภาคเอกชนต่างชาติ ทำการขุดเจาะและผลิตน้ำมันและแก๊ซ ได้ 12 แห่ง โดยจะมีการประมูลกลุ่มละ 3 แหล่งในต้นปี 2553

ในปี 2552 บริษัท Petrolera del Istmo ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่ม MQuest International Inc ของอเมริกา เป็นผู้ยื่นขอประมูลเพียงผู้เดียว และได้ชนะการประมูลรับการขุดเจาะไปสามแหล่ง คือ Rubelsanto, Chinajá, Caribe และ Tierra Blanca ทั้งนี้แหล่งน้ำมัน Rubelsanto มีความสามารถผลิตได้วันละ 700 เบเรลต่อวัน เคยผลิตได้วันละ 3,000 เบเรลต่อวัน

ปัจจุบันประเทศกัวเตมาลามีความสามารถในการผลิตน้ำมันได้วันละ 14,500 เบเรลต่อวัน และมีการบริโภคน้ำมันวันละ 72,000 เบเรลต่อวัน ต้องการเพิ่มผลผลิตให้ได้วันละ 80,000 เบเรลต่อวัน การผลิตในปี 2552 ได้ลดลงจากปี 2551 ประมาณร้อยละ 3 ซึ่งได้ลดจากปี 2550 ร้อยละ 7 กัวเตมาลามีปริมาณน้ำมันสำรองที่ได้รับการสำรวจแล้ว 83 ล้านเบเรล และมีปริมาณแก๊ซสำรอง 109 พันล้านคูบิกฟุต

ประเทศที่ได้เดินทางไปดูภาวะการผลิตในกัวเตมาลาได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหรัฐเอมิริต อียิปต์ โคลัมเบีย และบราซิล

Mexico hedges oil exports at $57 per barell

เม็กซิโกใช้ตราสารการเงิน ประกันราคาขั้นต่ำน้ำมันส่งออกที่ 57 เหรียญสรหัฐฯต่อเเบเรล

เมื่อวันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2552 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเม็กซิโก ได้ประกาศว่า รัฐบาลเม็กซิโกได้ทำความตกลงกับสถาบันการเงินกลุ่มหนึ่ง เพื่อประกันราคาขั้นต่ำ (hedge) สำหรับน้ำมันส่งออกปี 2553 เป็นลักษณะให้สิทธิในการขายประเภท put option ในราคาขั้นต่ำเบเรลละ 57 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับปริมาณน้ำมันส่งออก 230 ล้านเบเรล หรือประมาณวันละ 630,000 เบเรล ซึ่งเป็นปริมาณน้อยกว่าปริมาณที่ได้รับการประกันในปี 2552 รวมร้อยล้านเบเรล และได้กำหนดราคาน้ำมันเเฉลี่ยสำหรับปี 2553 เพื่อการคำณวนรายได้จากภาษีน้ำมันเพื่องบประมาณปี 2553 เป็นเบเรลละ 59 เหรียญ

การใช้เครื่องมือทางการเงินดังกล่าว ได้ป้องกันรายได้จากการส่งออกน้ำมันของเม็กซิโกสำหรับปี 2552 ในภาวะที่ราคาน้ำมันโลกปั่นป่วน และได้สร้างรายได้จากตราสารทางการเงินดังกล่าวให้กับเม็กซิโกในปี 2552 มูลค่า 5.089 พันล้านเหรียญฯ เนื่องจากรัฐบาลได้ทำความตกลงประกันราคาน้ำมันส่งออกขั้นต่ำ กับธนาคาร Deutsche Bank, Barclays, Golman Sachs และ Morgan Stanley ปี 2552 ไว้ที่ เบเรลละ 70 เหรียญ ตามราคาน้ำมันที่ได้ถีบตัวสูงขึ้นในปี 2551 และเมื่อราคาน้ำมันโลกตกในต้นปี 2552 ถึงเบเรลละ 40 เหรียญ จึงเป็นผลให้เม็กซิโกได้รับค่าชดเชยความเสี่ยงจากธนาคารสี่แห่งดังกล่าวข้างต้น ในจำนวน 5.08 พันล้านเหรียญฯ เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา

การใช้ตราสารการเงินประกันราคาส่งออกน้ำมันของเม็กซิโก เป็นมาตราการประกันความเสี่ยงเพื่อป้องกันรายได้ของรัฐบาล และเป็นมาตรการที่แปลกสำหรับประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ทั้งนี้ มีประเทศผู้ส่งออกน้ำมันน้อยราย ที่พยายามคาดการณ์และกำหนดราคาน้ำมันส่งออกโดยประมาณ แต่เนื่องจากรายได้ของรัฐบาลเม็กซิโกมีสัดส่วนกว่าหนึ่งในสามที่มาจากภาษีที่เก็บจากการส่งออกน้ำมัน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเม็กซิโกจึงได้หันมาใช้มาตราการดังกล่าว ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จ

การประกาศใช้มาตรการดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบเล็กน้อยต่อตลาดการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า (oil futures market) เนื่องจากช่วงต่างที่ค่อนข้างมากระหว่างราคาขั้นต่ำที่สัญญาได้กำหนดกับราคาน้ำมันโลกในปัจจุบัน แต่ผลกระทบจริงอาจเกิดขึ้นประมาณปลายปี 2553 เมื่อถึงเวลาครบกำหนดของสัญญา

Thursday, December 10, 2009

Dubai World and Devaluation of Vietnamese Dong on Mexican economy

ประเมินผลกระทบของการเลื่อนกำหนดการจ่ายผลประโยชน์ของพันธบัตร Dubai World และการลดค่าเงินดองเวียดนาม ต่อเศรษฐกิจเม็กซิโก

1. ผลกระทบของ Dubai World

ตัวแทนของสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนต่างประเทศของเม็กซิโก (Promexico) ได้เดินทางไดเยือนรัฐดูไบเมื่อเดือนพฤศภาคม 2552 โดยได้รายงานว่า เม็กซิโกเป็นคู่ค้ากับดูไบอันดับที่ 64 โดยในปี 2551 มีมูลค่าการค้า 23 ล้านเหรียญสหรัฐอาหรัฐฯ และมีบริษัทเม็กซิกันที่มีกิจการในรัฐดูไบ 22 แห่ง หอการค้าดูไบได้เชิญชวนให้มีการเปิดเส้นทางการบินโดยตรงจากเม็กซิโกไปยังดูไบ

ต่อมาในเดือนตุลาคม 2552 รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิริต ได้เยือนเม็กซิโกอย่างเป็นทางการ และได้เข้าพบกับประธานาธิบดีแคเดรอนของเม็กซิโก โดยทั้งสองฝ่ายได้แสดงความสนใจที่จะขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการทุน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอาหรับฯ ได้เชิญชวนเม็กซิโกเข้าร่วมเป็นสมาชิก และร่วมการประชุม International Renewable Energy Authority (Irena) ในเดือนมกราคม 2553 นอกจากนี้แล้ว ได้ชักชวนให้เม็กซิโกสนับสนุนการใช้บริการท่าเรือของ Dubai World Port

ไม่ปรากฎข้อมูลว่า ภาคการเงินของเม็กซิโกได้ลงทุนในพันธบัตรของดูไบ จึงไม่เกิดผลกระบต่อภาคการเงินเม็กซิโกอย่างชัดเจน เพียงแค่ค่าเงินของเม็กซิโกและตลาดหลักทรัพย์ของเม็กซิโกได้อ่อนตัวลงเล็กน้อยในวันที่บริษัทดูไบเวิล์ดได้ประกาศข่าวขอยื่นระยะเวลาการจ่ายผลประโยชน์กองทุนออกไป หากดูไบเวิล์ดไม่สามารถเจรจาการผ่อนปรนหนี้ออกไปได้ใน 6 เดือนข้างหน้า อาจจะมีผลกระทบทางอ้อมในระยะยาวจากความอ่อนแอของระบบการเงินโลกโดยรวม โดยธนาคารต่างชาติที่มีเครือข่ายสำคัญในเม็กซิโก ซึ่งได้แก่ ธนาคาร HSBC ของอังกฤษซึ่งเป็นธนาคารอันดับ 5 ในสหรัฐอาหรับเอมิริต เป็นธนาคารที่มีสาขามากที่สุดในเม็กซิโก และธนาคาร Citigroup ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นธนาคารอันดับที่ 14 ของรัฐดูไบ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับธนาคาร Banamex ของเม็กซิโก อาจจะได้รับผลกระทบต่อการดำเนินการในทางอ้อมบ้าง แต่สาขาเม็กซิโกของธนาคารทั้งสองดังกล่าวเป็นสาขาที่เข้มแข็ง เนื่องจากสามารถระดมทุนและค่าบริการจากผู้ฝากเงินภายในประเทศได้ในอัตราที่สูงกว่าสาขาใหญ่ในสหรัฐฯ หรืออังกฤษ จึงคาดว่าผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเม็กซิโกมีน้อยมาก

2. ผลกระทบของการลดค่าเงินดองเวียดนาม

การลดค่าเงินดองจะมีผลส่งเสริมการส่งออกจากเวียดนามโดยทั่วไป เนื่องจากมีผลลดราคาสินค้าส่งออกของเวียดนาม สำหรับการส่งออกของเวียดนามไปยังเม็กซิโก ในปี 2551 มีมูลค่าการค้ารวม 683.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โดยมูลค่าการนำเข้าของเม็กซิโกจากเวียดนามเท่ากับ 614. 47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังเวียดนามเท่ากับ 68.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ตัวเลขการค้าบ่งชี้ว่า เม็กซิโกจะสามารถส่งออกไปยังเวียดนามได้มากขึ้นในปี 2552 โดยมูล่าการส่งออกจากเดือนมกราคมถึงสิงหาคมปีนี้ มีมูลค่า 80.85 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 59 ในขณะที่ยอดนำเข้าจากเวียดนามช่วง มค.- สค. เท่ากับ 376.14 ล้านเหรียญฯ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการนำเข้าปีก่อนเพียงเล็กน้อย

สินค้าที่เวียดนามส่งออกไปยังเม็กซิโกที่แข็งขันกับสินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ รองเท้า เสื้อผ้าประเภทถักทอ เฟอร์นิเจอร์ และของเด็กเล่น ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปยังเม็กซิโกมีมูลค่าเป็นสามเท่าของการส่งออกของเวียดนาม นั่นคือ มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเม็กซิโกในปี 2551 มีมูลค่ารวมเท่ากับ 2,343.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การนำเข้าของเม็กซิโกจากไทยเท่ากับ 2,214.69 ล้านเหรียญฯ และการส่งออกของเม็กซิโกไปยังประเทศไทยเท่ากับ 129.30 ล้านเหรียญฯ

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของเม็กซิโกที่ซบเซาในปี 2552 ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการ์ณการเงินของสหรัฐฯ คาดว่าการส่งออกของไทยไปยังเม็กซิโก อาจจะลดลงหรือมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย รวมทั้งการลดค่าเงินดอง อาจจะมีผลให้ผู้นำเข้าหันไปนำเข้าจากเวียดนามในหมวดสินค้าที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าของเม็กซิโกจากไทยสำหรับช่วง มค.- สค. ปี 2552 มีมูลค่า 1,174.26 ล้านเหรียญฯ และการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังประเทศไทยในช่วงเดียวกันเท่ากับ 66.93 ล้านเหรียญฯ

Lazaro Cardenas Deep Seaport and the KSC International Intermodal Corridor

ท่าเรือ Lazaro Cardenas กับ KSC International Intermodal Corridor

ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส (Lazaro Cardenas) เป็นท่าเรือน้ำลึกฝั่งแปซิฟิก รูปแบบ multi-modal ที่รับบริการขนถ่ายคอนเทเนอร์ สินค้ากลุ่มแห้งและของเหลว (dry bulk and liquid cargo) จากภูมิภาคเอเชีย ที่มีระยะเดินทางที่ใกล้ที่สุดกับกรุงเม็กซิโกซิตี้ และมีเส้นทางรถไฟที่วิ่งออกจากจุดขนถ่ายในท่าเชื่อมโยงกับเมืองแคนซัสซิตี้ ภาคกลางของสหรัฐอเมริกา เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ได้รับพัฒนาเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ เพื่อรองรับการขนบรรทุกสินค้าที่เกินกำลัง ทดแทนท่าเรือเอกของเม็กซิโกซึ่งได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก Manzanillo รวทกระทั่งเพื่อทดแทนท่าเรือน้ำลึกอันสำคัญของสหรัฐฯ นั่นคือ ท่าเรือ Long Beach และท่าเรือ Los Angeles




เมื่อปี 2548 ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส มีความสามารถขนถ่ายสินค้าได้ 130,000 TEU แต่ได้รับการขยายความสามารถในการขนถ่ายปีละ 2.2 ล้าน TEU ปัจจุบันมีความสามารถรับคอนเทเนอร์ขนาด 12,500 TEU สินค้าที่ขนถ่ายออกจากท่าสามารถทำการขนส่งต่อโดยทางรถไฟและรถบรรทุก โดยการบริการเส้นทางรถไฟเป็นของบริษัท Kansas City Southern Railway ที่วิ่งผ่านภาคกลางของสหรัฐฯ ไปยังเมืองปลายทางฝั่งเหนือที่ชิคาโก และฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ ที่เมืองฮูสตัน

การพิจารณาความมั่นคงของประเทศ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การกระจายความเสี่ยง การส่งเสริมการค้าระดับภูมิภาคอเมริกาเหนือ และข้อจำกัดในการขยายพื้นที่ของท่าเรือน้ำลึกสำคัญๆ เดิมของสหรัฐฯ ล้วนเป็นปจจัยที่ผลักดันให้หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องการขนถ่ายสินค้า (logistics) ในสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก หันมาให้ความสนใจอย่างเร่งด่วน ต่อการพัฒนาศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า (trade hubs) ท่าศุลกากรภายใน (inland ports) และเส้นทางขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศสายด่วน (trade corridors) ทั้งนี้ เส้นทางการขนถ่ายสินค้าทางรถไฟย่อมมีต้นทุนในการพัฒนาที่ได้เปรียบกว่าเส้นทางรถบรรทุก ฉะนั้นเส้นทางรถไฟที่เชื่อมการขนถ่ายจากเหนือลงใต้ หรือจากใต้ขึ้นทางเหนือ ที่มีระยะทางที่เป็นกลางระหว่างสองฝั่งทะเลแปซิฟิกและแอ๊ทแลนติก อย่างเส้นทางที่ได้รับการพัฒนาโดยผู้เดินรถไฟสาย Kansas City จึงได้รับความสนใจอย่างเป็นพิเศษ และท่าเรือต้นทางของเส้นทางดังกล่าว ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกลาซาโร คาร์เด็นนัส

ปัจจัยที่ได้กระตุ้นให้มีการพัฒนาเส้นทางขนส่งด่วนผ่านภาคกลางของทวีปอมเริกาได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี2538 เมื่อรัฐบาล เม็กซิโกได้เปิดเสรีกิจการท่าเรือ อนุญาติให้ต่างชาติสามารถลงทุนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ในการเป็นเจ้าของท่า และอนุมัติให้ต่างชาติร่วมลงทุนกับองค์การบริหารท่าของรัฐได้ถึงร้อยละ 49 จึงสามารถชักจูงการลงทุนได้หลายพันล้านเหรียญฯ โดยการลงทุนที่ใหญ่ที่สุด ได้รับการลงทุนจากบริษัท Hutchison Port Holding, Ltd. ของฮ่องกง ที่ได้วางแผนการพัฒนาท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส ระยะเวลา 20 ปี งบประมาณ 290 ล้านเหรียญฯ เพื่อขยายพื้นที่ท่าเทียบเรือให้มีความกว้าง 1,481 เมตร และขุดคลองความลึก18 เมตรเพื่อรับเรือคอนเทเนอร์ขนาดใหญ่ ขยายพื้นที่คลังสินค้าเป็น 102 เฮกเตอร์ ที่มีความสามารถเก็บคอนเทเนอร์นิ่ง (static capacity) ได้มากกว่า 70,000 TEU และความสามารถเวียนคอนเทเนอร์ (dynamic capacity) ได้ 2 ล้าน TEU สร้างงานใหม่ในท่า 2,900 คน

ต่อมาในปี 2540 รัฐบาลเม็กซิโกได้แปรสภาพสถานะขององค์การรถไฟแห่งชาติเม็กซิโก เปิดทางให้บริษัทรถไฟของหสรัฐฯ ลงทุนร่วมเพื่อการขนถ่ายสินค้าที่ขนส่งจากท่าเรือ ซึ่งเดิมขาดประสิทธิภาพ มีปัญหาการขนถ่ายล่าช้า โดยบริษัท Kansas City Southern เป็นผู้พัฒนาเส้นท่างที่สำคัญ เกิดการเชื่อมโยงระหว่างภาคกลางของสหรัฐฯ กับริมฝั่งทะเลแปซิฟิก เป็นเส้นทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าจากคอขวดการขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือฝั่งตะวันตก

ในปี 2545 เม็กซิโกได้เป็นเจ้าภาพการประชุมซัมมิทเอเป็ค และได้ริ่เริ่มโครงการ Trans-Pacific Multimodal Security System หรือ TPMSS ซึ่งส่งเสริมความร่วมด้านศุลกากร ความมั่นคง และโครงสร้างการขนถ่ายสินค้า เพื่อเอื้ออำนวยให้ supply chain สายลาซาโร คาร์เด็นนัส กับแคนซัสซิตี้

ในปัจจุบัน ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส มีเขตอุตสาหกรรมพิเศษปลอดภาษี มีโรงปั่นไฟฟ้าเฉพาะ โรงกลั่นน้ำเสีย อู่ซ่อมและทำลายซากเรือเก่า มีศูนย์กลางการตรวจ fitosanitary inspection facility สำหรับสินค้าเกษตรปริมาณสูง มีบริการห้องเย็นขนาดใหญ่สำหรับสินค้าสด โดยบริษัทผู้บริการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกแช่เย็น ได้แก่ บริษัท UTTSA ที่มีรถบรรทุกจำนวน 200 คันรับส่งสินค้าข้ามชายแดนถึงสหรัฐฯ มีศูนย์กลางการบริการศุลกากรที่ทันสมัยที่สุด สามารถผ่านขบวนการออกสินค้าในเพียงสามวันเทียบกับหกวันในท่าอื่น ๆ มีการขนถ่ายสินค้าน้ำหนักสูงเช่น ถ่านหิน และเหล็ก โดยท่าเรือน้ำลึกลาซาโร คาร์เด็นนัส มีลูกค้าสำคัญ คือบริษัท Mittal Steel มีการขนถ่ายของเหลว โดยมีลูกค้าสำคัญ อันได้แก่บริษัทพีเม็กซ์ นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นท่าเรือที่รับการขนถ่ายรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเม็กซิโก โดยในปีที่ผ่านมา มีบริษัท Faw ของจีนที่เป็นลูกค้ารายใหม่ ลูกค้าเดิมได้แก่ Chrysler, Ford, GM, Toyota, Isuzu, Mazda, Pontiac, Hino และ Subaru

เส้นทางเดินเรือที่มีบริการที่ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส สายสำคัญสามสาย ได้แก่ CP Ships, APL, Maersk Sealand บริษัทเดินเรือสายอื่น ๆ ที่ให้บริการที่ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส รองลงมาได้แก่ APL, CCNI, Cosco, CSAV, Evergreen, Hapag Lloyd และ Hamburg Sud

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
Lazaro Cardenas Port Handbook ที่ issuu.com
http://www.puertolazarocardenas.com.mx/plc/
Kcsmartport.com
Kcssouthern.com