Google Website Translator

Tuesday, December 15, 2009

Guatemala opens oil concessions

ประเทศกัวเตมาลาเปิดประมูลสัญญาการสำรวจและผลิตน้ำมัน

รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่แห่งประเทศกัวเตมาลา นายคาร์ลอส มีนี (Carlos Meany) ได้ประกาศว่า เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันของกัวเตมาลา จะมีการเปิดประมูลให้ภาคเอกชนต่างชาติ ทำการขุดเจาะและผลิตน้ำมันและแก๊ซ ได้ 12 แห่ง โดยจะมีการประมูลกลุ่มละ 3 แหล่งในต้นปี 2553

ในปี 2552 บริษัท Petrolera del Istmo ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่ม MQuest International Inc ของอเมริกา เป็นผู้ยื่นขอประมูลเพียงผู้เดียว และได้ชนะการประมูลรับการขุดเจาะไปสามแหล่ง คือ Rubelsanto, Chinajá, Caribe และ Tierra Blanca ทั้งนี้แหล่งน้ำมัน Rubelsanto มีความสามารถผลิตได้วันละ 700 เบเรลต่อวัน เคยผลิตได้วันละ 3,000 เบเรลต่อวัน

ปัจจุบันประเทศกัวเตมาลามีความสามารถในการผลิตน้ำมันได้วันละ 14,500 เบเรลต่อวัน และมีการบริโภคน้ำมันวันละ 72,000 เบเรลต่อวัน ต้องการเพิ่มผลผลิตให้ได้วันละ 80,000 เบเรลต่อวัน การผลิตในปี 2552 ได้ลดลงจากปี 2551 ประมาณร้อยละ 3 ซึ่งได้ลดจากปี 2550 ร้อยละ 7 กัวเตมาลามีปริมาณน้ำมันสำรองที่ได้รับการสำรวจแล้ว 83 ล้านเบเรล และมีปริมาณแก๊ซสำรอง 109 พันล้านคูบิกฟุต

ประเทศที่ได้เดินทางไปดูภาวะการผลิตในกัวเตมาลาได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหรัฐเอมิริต อียิปต์ โคลัมเบีย และบราซิล

Mexico hedges oil exports at $57 per barell

เม็กซิโกใช้ตราสารการเงิน ประกันราคาขั้นต่ำน้ำมันส่งออกที่ 57 เหรียญสรหัฐฯต่อเเบเรล

เมื่อวันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2552 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเม็กซิโก ได้ประกาศว่า รัฐบาลเม็กซิโกได้ทำความตกลงกับสถาบันการเงินกลุ่มหนึ่ง เพื่อประกันราคาขั้นต่ำ (hedge) สำหรับน้ำมันส่งออกปี 2553 เป็นลักษณะให้สิทธิในการขายประเภท put option ในราคาขั้นต่ำเบเรลละ 57 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับปริมาณน้ำมันส่งออก 230 ล้านเบเรล หรือประมาณวันละ 630,000 เบเรล ซึ่งเป็นปริมาณน้อยกว่าปริมาณที่ได้รับการประกันในปี 2552 รวมร้อยล้านเบเรล และได้กำหนดราคาน้ำมันเเฉลี่ยสำหรับปี 2553 เพื่อการคำณวนรายได้จากภาษีน้ำมันเพื่องบประมาณปี 2553 เป็นเบเรลละ 59 เหรียญ

การใช้เครื่องมือทางการเงินดังกล่าว ได้ป้องกันรายได้จากการส่งออกน้ำมันของเม็กซิโกสำหรับปี 2552 ในภาวะที่ราคาน้ำมันโลกปั่นป่วน และได้สร้างรายได้จากตราสารทางการเงินดังกล่าวให้กับเม็กซิโกในปี 2552 มูลค่า 5.089 พันล้านเหรียญฯ เนื่องจากรัฐบาลได้ทำความตกลงประกันราคาน้ำมันส่งออกขั้นต่ำ กับธนาคาร Deutsche Bank, Barclays, Golman Sachs และ Morgan Stanley ปี 2552 ไว้ที่ เบเรลละ 70 เหรียญ ตามราคาน้ำมันที่ได้ถีบตัวสูงขึ้นในปี 2551 และเมื่อราคาน้ำมันโลกตกในต้นปี 2552 ถึงเบเรลละ 40 เหรียญ จึงเป็นผลให้เม็กซิโกได้รับค่าชดเชยความเสี่ยงจากธนาคารสี่แห่งดังกล่าวข้างต้น ในจำนวน 5.08 พันล้านเหรียญฯ เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา

การใช้ตราสารการเงินประกันราคาส่งออกน้ำมันของเม็กซิโก เป็นมาตราการประกันความเสี่ยงเพื่อป้องกันรายได้ของรัฐบาล และเป็นมาตรการที่แปลกสำหรับประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ทั้งนี้ มีประเทศผู้ส่งออกน้ำมันน้อยราย ที่พยายามคาดการณ์และกำหนดราคาน้ำมันส่งออกโดยประมาณ แต่เนื่องจากรายได้ของรัฐบาลเม็กซิโกมีสัดส่วนกว่าหนึ่งในสามที่มาจากภาษีที่เก็บจากการส่งออกน้ำมัน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเม็กซิโกจึงได้หันมาใช้มาตราการดังกล่าว ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จ

การประกาศใช้มาตรการดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบเล็กน้อยต่อตลาดการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า (oil futures market) เนื่องจากช่วงต่างที่ค่อนข้างมากระหว่างราคาขั้นต่ำที่สัญญาได้กำหนดกับราคาน้ำมันโลกในปัจจุบัน แต่ผลกระทบจริงอาจเกิดขึ้นประมาณปลายปี 2553 เมื่อถึงเวลาครบกำหนดของสัญญา

Thursday, December 10, 2009

Dubai World and Devaluation of Vietnamese Dong on Mexican economy

ประเมินผลกระทบของการเลื่อนกำหนดการจ่ายผลประโยชน์ของพันธบัตร Dubai World และการลดค่าเงินดองเวียดนาม ต่อเศรษฐกิจเม็กซิโก

1. ผลกระทบของ Dubai World

ตัวแทนของสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนต่างประเทศของเม็กซิโก (Promexico) ได้เดินทางไดเยือนรัฐดูไบเมื่อเดือนพฤศภาคม 2552 โดยได้รายงานว่า เม็กซิโกเป็นคู่ค้ากับดูไบอันดับที่ 64 โดยในปี 2551 มีมูลค่าการค้า 23 ล้านเหรียญสหรัฐอาหรัฐฯ และมีบริษัทเม็กซิกันที่มีกิจการในรัฐดูไบ 22 แห่ง หอการค้าดูไบได้เชิญชวนให้มีการเปิดเส้นทางการบินโดยตรงจากเม็กซิโกไปยังดูไบ

ต่อมาในเดือนตุลาคม 2552 รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิริต ได้เยือนเม็กซิโกอย่างเป็นทางการ และได้เข้าพบกับประธานาธิบดีแคเดรอนของเม็กซิโก โดยทั้งสองฝ่ายได้แสดงความสนใจที่จะขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการทุน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอาหรับฯ ได้เชิญชวนเม็กซิโกเข้าร่วมเป็นสมาชิก และร่วมการประชุม International Renewable Energy Authority (Irena) ในเดือนมกราคม 2553 นอกจากนี้แล้ว ได้ชักชวนให้เม็กซิโกสนับสนุนการใช้บริการท่าเรือของ Dubai World Port

ไม่ปรากฎข้อมูลว่า ภาคการเงินของเม็กซิโกได้ลงทุนในพันธบัตรของดูไบ จึงไม่เกิดผลกระบต่อภาคการเงินเม็กซิโกอย่างชัดเจน เพียงแค่ค่าเงินของเม็กซิโกและตลาดหลักทรัพย์ของเม็กซิโกได้อ่อนตัวลงเล็กน้อยในวันที่บริษัทดูไบเวิล์ดได้ประกาศข่าวขอยื่นระยะเวลาการจ่ายผลประโยชน์กองทุนออกไป หากดูไบเวิล์ดไม่สามารถเจรจาการผ่อนปรนหนี้ออกไปได้ใน 6 เดือนข้างหน้า อาจจะมีผลกระทบทางอ้อมในระยะยาวจากความอ่อนแอของระบบการเงินโลกโดยรวม โดยธนาคารต่างชาติที่มีเครือข่ายสำคัญในเม็กซิโก ซึ่งได้แก่ ธนาคาร HSBC ของอังกฤษซึ่งเป็นธนาคารอันดับ 5 ในสหรัฐอาหรับเอมิริต เป็นธนาคารที่มีสาขามากที่สุดในเม็กซิโก และธนาคาร Citigroup ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นธนาคารอันดับที่ 14 ของรัฐดูไบ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับธนาคาร Banamex ของเม็กซิโก อาจจะได้รับผลกระทบต่อการดำเนินการในทางอ้อมบ้าง แต่สาขาเม็กซิโกของธนาคารทั้งสองดังกล่าวเป็นสาขาที่เข้มแข็ง เนื่องจากสามารถระดมทุนและค่าบริการจากผู้ฝากเงินภายในประเทศได้ในอัตราที่สูงกว่าสาขาใหญ่ในสหรัฐฯ หรืออังกฤษ จึงคาดว่าผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเม็กซิโกมีน้อยมาก

2. ผลกระทบของการลดค่าเงินดองเวียดนาม

การลดค่าเงินดองจะมีผลส่งเสริมการส่งออกจากเวียดนามโดยทั่วไป เนื่องจากมีผลลดราคาสินค้าส่งออกของเวียดนาม สำหรับการส่งออกของเวียดนามไปยังเม็กซิโก ในปี 2551 มีมูลค่าการค้ารวม 683.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โดยมูลค่าการนำเข้าของเม็กซิโกจากเวียดนามเท่ากับ 614. 47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังเวียดนามเท่ากับ 68.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ตัวเลขการค้าบ่งชี้ว่า เม็กซิโกจะสามารถส่งออกไปยังเวียดนามได้มากขึ้นในปี 2552 โดยมูล่าการส่งออกจากเดือนมกราคมถึงสิงหาคมปีนี้ มีมูลค่า 80.85 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 59 ในขณะที่ยอดนำเข้าจากเวียดนามช่วง มค.- สค. เท่ากับ 376.14 ล้านเหรียญฯ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการนำเข้าปีก่อนเพียงเล็กน้อย

สินค้าที่เวียดนามส่งออกไปยังเม็กซิโกที่แข็งขันกับสินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ รองเท้า เสื้อผ้าประเภทถักทอ เฟอร์นิเจอร์ และของเด็กเล่น ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปยังเม็กซิโกมีมูลค่าเป็นสามเท่าของการส่งออกของเวียดนาม นั่นคือ มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเม็กซิโกในปี 2551 มีมูลค่ารวมเท่ากับ 2,343.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การนำเข้าของเม็กซิโกจากไทยเท่ากับ 2,214.69 ล้านเหรียญฯ และการส่งออกของเม็กซิโกไปยังประเทศไทยเท่ากับ 129.30 ล้านเหรียญฯ

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของเม็กซิโกที่ซบเซาในปี 2552 ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการ์ณการเงินของสหรัฐฯ คาดว่าการส่งออกของไทยไปยังเม็กซิโก อาจจะลดลงหรือมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย รวมทั้งการลดค่าเงินดอง อาจจะมีผลให้ผู้นำเข้าหันไปนำเข้าจากเวียดนามในหมวดสินค้าที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าของเม็กซิโกจากไทยสำหรับช่วง มค.- สค. ปี 2552 มีมูลค่า 1,174.26 ล้านเหรียญฯ และการส่งออกจากเม็กซิโกไปยังประเทศไทยในช่วงเดียวกันเท่ากับ 66.93 ล้านเหรียญฯ

Lazaro Cardenas Deep Seaport and the KSC International Intermodal Corridor

ท่าเรือ Lazaro Cardenas กับ KSC International Intermodal Corridor

ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส (Lazaro Cardenas) เป็นท่าเรือน้ำลึกฝั่งแปซิฟิก รูปแบบ multi-modal ที่รับบริการขนถ่ายคอนเทเนอร์ สินค้ากลุ่มแห้งและของเหลว (dry bulk and liquid cargo) จากภูมิภาคเอเชีย ที่มีระยะเดินทางที่ใกล้ที่สุดกับกรุงเม็กซิโกซิตี้ และมีเส้นทางรถไฟที่วิ่งออกจากจุดขนถ่ายในท่าเชื่อมโยงกับเมืองแคนซัสซิตี้ ภาคกลางของสหรัฐอเมริกา เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ได้รับพัฒนาเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ เพื่อรองรับการขนบรรทุกสินค้าที่เกินกำลัง ทดแทนท่าเรือเอกของเม็กซิโกซึ่งได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก Manzanillo รวทกระทั่งเพื่อทดแทนท่าเรือน้ำลึกอันสำคัญของสหรัฐฯ นั่นคือ ท่าเรือ Long Beach และท่าเรือ Los Angeles




เมื่อปี 2548 ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส มีความสามารถขนถ่ายสินค้าได้ 130,000 TEU แต่ได้รับการขยายความสามารถในการขนถ่ายปีละ 2.2 ล้าน TEU ปัจจุบันมีความสามารถรับคอนเทเนอร์ขนาด 12,500 TEU สินค้าที่ขนถ่ายออกจากท่าสามารถทำการขนส่งต่อโดยทางรถไฟและรถบรรทุก โดยการบริการเส้นทางรถไฟเป็นของบริษัท Kansas City Southern Railway ที่วิ่งผ่านภาคกลางของสหรัฐฯ ไปยังเมืองปลายทางฝั่งเหนือที่ชิคาโก และฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ ที่เมืองฮูสตัน

การพิจารณาความมั่นคงของประเทศ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การกระจายความเสี่ยง การส่งเสริมการค้าระดับภูมิภาคอเมริกาเหนือ และข้อจำกัดในการขยายพื้นที่ของท่าเรือน้ำลึกสำคัญๆ เดิมของสหรัฐฯ ล้วนเป็นปจจัยที่ผลักดันให้หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องการขนถ่ายสินค้า (logistics) ในสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก หันมาให้ความสนใจอย่างเร่งด่วน ต่อการพัฒนาศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้า (trade hubs) ท่าศุลกากรภายใน (inland ports) และเส้นทางขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศสายด่วน (trade corridors) ทั้งนี้ เส้นทางการขนถ่ายสินค้าทางรถไฟย่อมมีต้นทุนในการพัฒนาที่ได้เปรียบกว่าเส้นทางรถบรรทุก ฉะนั้นเส้นทางรถไฟที่เชื่อมการขนถ่ายจากเหนือลงใต้ หรือจากใต้ขึ้นทางเหนือ ที่มีระยะทางที่เป็นกลางระหว่างสองฝั่งทะเลแปซิฟิกและแอ๊ทแลนติก อย่างเส้นทางที่ได้รับการพัฒนาโดยผู้เดินรถไฟสาย Kansas City จึงได้รับความสนใจอย่างเป็นพิเศษ และท่าเรือต้นทางของเส้นทางดังกล่าว ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกลาซาโร คาร์เด็นนัส

ปัจจัยที่ได้กระตุ้นให้มีการพัฒนาเส้นทางขนส่งด่วนผ่านภาคกลางของทวีปอมเริกาได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี2538 เมื่อรัฐบาล เม็กซิโกได้เปิดเสรีกิจการท่าเรือ อนุญาติให้ต่างชาติสามารถลงทุนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ในการเป็นเจ้าของท่า และอนุมัติให้ต่างชาติร่วมลงทุนกับองค์การบริหารท่าของรัฐได้ถึงร้อยละ 49 จึงสามารถชักจูงการลงทุนได้หลายพันล้านเหรียญฯ โดยการลงทุนที่ใหญ่ที่สุด ได้รับการลงทุนจากบริษัท Hutchison Port Holding, Ltd. ของฮ่องกง ที่ได้วางแผนการพัฒนาท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส ระยะเวลา 20 ปี งบประมาณ 290 ล้านเหรียญฯ เพื่อขยายพื้นที่ท่าเทียบเรือให้มีความกว้าง 1,481 เมตร และขุดคลองความลึก18 เมตรเพื่อรับเรือคอนเทเนอร์ขนาดใหญ่ ขยายพื้นที่คลังสินค้าเป็น 102 เฮกเตอร์ ที่มีความสามารถเก็บคอนเทเนอร์นิ่ง (static capacity) ได้มากกว่า 70,000 TEU และความสามารถเวียนคอนเทเนอร์ (dynamic capacity) ได้ 2 ล้าน TEU สร้างงานใหม่ในท่า 2,900 คน

ต่อมาในปี 2540 รัฐบาลเม็กซิโกได้แปรสภาพสถานะขององค์การรถไฟแห่งชาติเม็กซิโก เปิดทางให้บริษัทรถไฟของหสรัฐฯ ลงทุนร่วมเพื่อการขนถ่ายสินค้าที่ขนส่งจากท่าเรือ ซึ่งเดิมขาดประสิทธิภาพ มีปัญหาการขนถ่ายล่าช้า โดยบริษัท Kansas City Southern เป็นผู้พัฒนาเส้นท่างที่สำคัญ เกิดการเชื่อมโยงระหว่างภาคกลางของสหรัฐฯ กับริมฝั่งทะเลแปซิฟิก เป็นเส้นทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าจากคอขวดการขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือฝั่งตะวันตก

ในปี 2545 เม็กซิโกได้เป็นเจ้าภาพการประชุมซัมมิทเอเป็ค และได้ริ่เริ่มโครงการ Trans-Pacific Multimodal Security System หรือ TPMSS ซึ่งส่งเสริมความร่วมด้านศุลกากร ความมั่นคง และโครงสร้างการขนถ่ายสินค้า เพื่อเอื้ออำนวยให้ supply chain สายลาซาโร คาร์เด็นนัส กับแคนซัสซิตี้

ในปัจจุบัน ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส มีเขตอุตสาหกรรมพิเศษปลอดภาษี มีโรงปั่นไฟฟ้าเฉพาะ โรงกลั่นน้ำเสีย อู่ซ่อมและทำลายซากเรือเก่า มีศูนย์กลางการตรวจ fitosanitary inspection facility สำหรับสินค้าเกษตรปริมาณสูง มีบริการห้องเย็นขนาดใหญ่สำหรับสินค้าสด โดยบริษัทผู้บริการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกแช่เย็น ได้แก่ บริษัท UTTSA ที่มีรถบรรทุกจำนวน 200 คันรับส่งสินค้าข้ามชายแดนถึงสหรัฐฯ มีศูนย์กลางการบริการศุลกากรที่ทันสมัยที่สุด สามารถผ่านขบวนการออกสินค้าในเพียงสามวันเทียบกับหกวันในท่าอื่น ๆ มีการขนถ่ายสินค้าน้ำหนักสูงเช่น ถ่านหิน และเหล็ก โดยท่าเรือน้ำลึกลาซาโร คาร์เด็นนัส มีลูกค้าสำคัญ คือบริษัท Mittal Steel มีการขนถ่ายของเหลว โดยมีลูกค้าสำคัญ อันได้แก่บริษัทพีเม็กซ์ นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นท่าเรือที่รับการขนถ่ายรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเม็กซิโก โดยในปีที่ผ่านมา มีบริษัท Faw ของจีนที่เป็นลูกค้ารายใหม่ ลูกค้าเดิมได้แก่ Chrysler, Ford, GM, Toyota, Isuzu, Mazda, Pontiac, Hino และ Subaru

เส้นทางเดินเรือที่มีบริการที่ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส สายสำคัญสามสาย ได้แก่ CP Ships, APL, Maersk Sealand บริษัทเดินเรือสายอื่น ๆ ที่ให้บริการที่ท่าเรือลาซาโร คาร์เด็นนัส รองลงมาได้แก่ APL, CCNI, Cosco, CSAV, Evergreen, Hapag Lloyd และ Hamburg Sud

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
Lazaro Cardenas Port Handbook ที่ issuu.com
http://www.puertolazarocardenas.com.mx/plc/
Kcsmartport.com
Kcssouthern.com

Tuesday, November 24, 2009

Mexico's sovereign rating lowered to 'BBB, stable outlook'

บริษัทจัดระดับเครดิต Fitch Ratings ได้ประกาศลดระดับอัตราวัดความเชื่อถือการจ่ายหนี้เงินตราต่างประเทศของเม็กซิด (Issuer Default Rating- IDR) ของเม็กซิโก เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2009 จากระดับ BBB+, negative ลดลงหนึ่งระดับเป็น BBB, stable ซึ่งเป็นระดับที่น่าเชื่อถืออยู่ (investment grade) หนึ่งระดับจากระดับควรลงทุนต่ำสุด โดยบริษัท Fitch ได้ชี้แจงว่า ระดับที่จัดใหม่ดังกล่าวสะท้อนความเป็นจริงของภาวะเศรษฐกิจของเม็กซิโกที่ต้องมีการปรับตัวในด้านโครงสร้างการบริหารเศรษฐกิจและการเงิน ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจของเม็กซิโกฟื้นตัว และมีความสามารถขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 4 จะได้รับการปรับคืนสู่อัตราความเชื่อถือเดิม

เม็กซิโกได้รับการปรับอัตราวัดความเชื่อถือใน 10 ปี ที่ผ่านมาดังนี้

                                      Rating               Outlook
  • 11 Apr. 2000          BB                  Positive
  • 3 May 2000            BB+                    -
  • 21 Sep 2000           BB+                Positive
  • 15 Jan 2000            BBB-              Stable
  • 7 Dec 2005             BBB               Stable
  • 29 Mar 2007           BBB               Positive
  • 19 Sep 2007            BBB+            Stable
  • 10 Nov 2008           BBB+             Negative
  • 23 Nov 2009           BBB               Stable

Thursday, November 19, 2009

Mexico and Panama sign Tax Agreement

เม็กซิโกและปานามาลงนามความตกลงยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน

รัฐบาลใหม่ของปานามาได้ลงนามความตกลงยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับเม็กซิโก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2009 โดยความตกลงดังกล่าวมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านภาษีระหว่างสองฝ่าย มีผลถอนประเทศปานามาออกจากบัญชีดำด้านภาษีของเม็กซิโก

นอกจากนี้แล้ว ได้เริ่มขอเจรจาความตกลงฯ กับเสปน อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ตามข้อเสนอและกรอบความตกลงฯ ขององค์กร OECD ซึ่งได้จัดลำดับให้ประเทศปานามาเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นเขตกำบังภาษี (tax haven) ทั้งนี้ ปานามาจะต้องเจรจาและลงนามในความตกลงการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน 12 ฉบับถึงจะได้รับการถอนชื่อออกจากบัญชีประเทศกำบังภาษีของ OECD ประเทศอื่น ๆ ที่มีความสนใจลงนามความตกลงกับปานามาได้แก่ เบลเยี่ยม และโปแลนด์

การที่ปานามาได้ลงนามความตกลงดังกล่าวกับเม็กซิโก เป็นขั้นตอนแรกสำหรับการเริ่มการเจรจาด้านการเงินการคลังอื่น ๆ กับเม็กซิโก และเป็นการปูทางไปสู่กระบวนการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างสองประเทศในอนาคต

เมื่อปี 2008 รัฐบาลเม็กซิโกได้ยกเว้นการขอวีซ่าสำหรับชาวปานามาที่ประสงค์จะเดินทางเข้าเม็กซิโกเพื่อเอื้ออำนวยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ

เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2009 บริษัทวิเคราะห์ฐานะการเงิน Standard & Poor's ได้ยกระดับของ credit rating ของปานาจัดให้อยู่ในระดับ investment grade BB+ (positive) ทั้งนี้รัฐบาลปานามาได้ออกพันธบัตรจำนวน 323 ล้านเหรียญเมื่อเดือนมีนาคม 2009 โดยเสนออัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 7.25 และในเดือนพฤศจิกายนได้ออกพันธบัตรอีก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

แหล่งข้อมูล:
http://www.centralamericadata.com/
http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20602085&sid=a_21VC5dqDfY

Tuesday, November 10, 2009

Mexico's wholesale food market (Centrales de Abasto)

ตลาดขายส่งสินค้าเกษตรและอาหารของเม็กซิโก




ตลาดขายส่งสินค้าเกษตรและอาหารของเม็กซิโก มีชื่อว่า Central de Abasto ได้เริ่มก่อตั้งเป็นครั้งแรกในปี 1983 โดยการส่งเสริมของรัฐบาลภายใต้แผนระบบอาหาร เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหาร ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะ 10 ปีแรก โดยปัจจุบันมีตลาดขายส่งสินค้าเกษตรและอาหารทั้งหมด 64 แห่งทั่วประเทศ ตลาดที่ใหญ่ที่สุดได้แก่ตลาดขายส่งในทางใต้ของกรุงเม็กซิโก ซึ่งมีพื้นที่เทียบเท่ากับสนามฟุตบอล 600 สนาม

มีการซื้อขายสินค้าเกษตรและอาหารประมาณ 25,000 ตันต่อวัน ที่ตอบสนองความต้องการด้านอาหารของประชากรของกรุงเม็กซิโกประมาณ 20 ล้านคน ตลาดดังกล่าว มีรถบรรทุกส่งอาหารจำนวน 55,000  คัน โดยมีเครือข่ายการจำหน่ายขนส่งอาหารไปป้อนตลาดของรัฐทั่วเมือง 317 แห่ง ไปยังตลาดขายส่งอื่น ๆ อีก 15 แห่ง ศูนย์จำหน่ายอาหารเอกชน 29 แห่ง ซุปเปอร์มาร์เก็ต 380 แห่ง ผู้แร่ขายตามท้องถนนเป็นพัน ๆ ราย และมีผู้ซื้อที่เดินทางไปทำการซื้อขายจำนวนประมาณ 300,000 คนต่อวัน  การบริการในพื้นที่ตลาดฯ มีบริการตำรวจเฉพาะ โรงกำจัดขยะเฉพาะ ธนาคารที่เปิดให้บริการที่นั่ง 17 สาขา สถานรับเลี้ยงเด็กสำหรับคนงานในตลาด และมีโกดังจำนวน 3,758 แห่ง ยอดขายต่อปีประมาณ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการจ้างงานประมาณ 70,000 คน

ตลาดขายส่งสินค้าเกษตรในกรุงเม็กซิโกนี้ เคยรับการขนถ่ายและจำหน่ายถึงร้อยละ 80 ของปริมาณอาหารที่ซื้อขายทั้งหมดทั่งประเทศ แต่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ยอดขายและความสำคัญในการขนถ่ายสินค้าเกษตรได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10 เนื่องจากการปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจ และการเข้าเป็นภาคีความตกลงเขตการค้าเสรี NAFTA  เป็นผลให้มีการแข่งขันจากภาคเอกชนที่เปิดเครือขายการขายอาหารในระดับใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะจากบริษัท Walmart ซึ่งได้ขยายสาขาขายปลีกจาก 200 แห่งในปี 2000 เป็ฯ 753 แห่งในปี 2008 นอกจากนี้แล้ว มีบริษัทขายสินค้าอาหารแบบ membership warehous เพิ่มขึ้น เช่น ห้าง COSTCO, SAM's, และ City Club เป็นต้น



แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม: 
http://www.ficeda.com.mx/
Centrales de Abasto de Mexico
A blog about the market
http://www.usatoday.com/news/world/2009-10-19-mexico-markets_N.htm
Mexico City celebrates wholesale market's success
FAO report on wholesale market
Agriculture, Food and Beverage Profile
http://www.labattfood.com/

Thursday, November 5, 2009

Mexican Tax Reform

การปรับโครงสร้างภาษีเม็กซิโก

โครงสร้างภาษีของเม็กซิโกได้รับการปรับปรุงโครงสร้างครั้งหลังสุดเมื่อปี คศ. 1986 และ 1988 สรุปโครงสร้างภาษีสำคัญคือ

ภาษีที่รัฐบาลกลางเป็นผู้จัดเก็บ (federal tax):
  1. ภาษีรายได้ ซี่งแบ่งประเภทย่อย เป็นภาษีรายได้บริษัท ร้อยละ 35 โดยภาษีขั้นต่ำสำหรับธุรกิจคือ asset tax ร้อยละ 2 ของมูลค่าทรัพย์สินบริษัท และรายได้ภาษีบุคคล (ISR) ร้อยละ 28
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (IVA) ร้อยละ 15 สำหรับการขายสินค้า บริการ โดยมีการยกเว้นภาษีดังกล่าวสำหรับอาหารและยาบางประเภท
  3. ภาษีนำเข้าและส่งออก
  4. การหักอัตราร้อยละ 1 ของเงินเดือน เพื่อสมทบเข้ากองทุนสังคมสงเคราห์และกองเทนเพื่อการซื้อบ้านอยู่อาศัย
  5. ภาษีสรรพสามิต สำหรับกิจกรรมการขุดเหมือนแร่ ภาษีบุหรี่ ภาษีสุรา ภาษีน้ำมัน ภาษีบริการโทรคมนาคม ภาษีรถยนต์ ฯลฯ
ภาษีที่จ่ายในท้องถิ่น หรือสำนักงานเทศบาล (local tax):
  1. ภาษีอสังหริมทรัพย์ (property tax)
  2. ภาษีเงินเดือนซึ่งนายจ้างเป็นผู้จ่าย  (salary tax)
  3. ภาษีการขายอสังหริมทรัพย์
การวิเคราะห์โครงสร้างภาษีในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาพบว่า รัฐบาลเม็กซิโกเป็นประเทศที่เก็บภาษีได้ต่ำสุดในประเทศสมาชิกกลุ่ม OECD โดยรัฐบาลเม็กซิโกเก็บภาษีได้ประมาณร้อยละ 10 ของผลผลิตประชาชาติในชช่วงระหว่างปี 1980-1990 และเก็บได้ประมาณร้อยละ 10-20 ระหว่างปี 1990-2007 ในขณะที่ประเทศ OECD โดยส่วนใหญ่เก็บภาษีได้ประมาณร้อยละ 30-40 ของ GDP

แม้กระทั่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศละตินอเมริกาด้วยกันแล้ว การเก็บภาษีของเม็กซิโกจัดว่าอยู่ในอันดับต่ำมาก ทั้งนี้ การวิเคราะห์ได้ให้เหตุผลว่า สืบเนื่องจากโครงสร้างการเก็บภาษีของเม็กซิโกที่ขาดประสิทธิภาพ มีขั้นตอนยุ่งยาก และมีข้อยกเว้นมากมาย ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงภาษีได้หลายช่องทาง รวมทั้งผู้เสียภาษีไม่เต็มใจจ่ายภาษีเนื่องจากมีทัศนคติว่ารัฐบาลมีการโกงกินมาก ฉะนั้น นรัฐบาลเม็กซิโกจึงมีความจำเป็นอย่างสูงที่ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี แก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษี และสร้างภาพพจน์ของรัฐบาลให้เกิดความเชื่อมั่นในการบริหารรายได้ของรัฐบาล

ปัญหาของรายได้รัฐบาลเม็กซิโกสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การพึ่งรายได้จากการผลิตและการส่งออกน้ำมัน  โดยปริมาณการผลิตน้ำมันของเม็กซิโกได้เริ่มลดลงอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่าน ๆ มาเนื่องจากบ่อน้ำมันสำคัญของเม็กซิโกได้ผ่านช่วงการผลิตสูงสุดแล้ว รวมทั้งโครงสร้างการเก็บภาษีน้ำมันไม่ได้เอื้ออำนวยให้นำกำไรจากการผลิตและส่งออกน้ำมันไปลงทุนสำรวจหาแหล่งน้ำมันใหม่เพิ่มเติม

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2007-2009 ผนวกกับการลดลงอย่างกระทันหันของการผลิตน้ำมันใน 2ปีที่ผ่านมา ได้สร้างแรงดันแก่รายได้ของรัฐบาลเม็กซิโกอย่างมาก อันเป็นผลให้องค์กรการเงิน (credit rating agencies) Moody และ Fitch ได้ประกาศว่าหากรัฐบาลเม็กซิโกไม่ปรับโครงสร้างภาษี หรือบริหารรายได้รายจ่ายของรัฐบาลให้มีสมดุลมากขึ้นอย่างเร่งด่วน การจัดอันดับความสามารถทางเศรษฐกิจของเม็กซิโก (sovereign rating) ซึ่งอยู่ในระดับไม่ดีนัก คือ BBB+, negative outlook จะต้องถูกลดลงอีก

มาตรการฉุกเฉินที่ประธานาธิบดีแคเดรอนได้ตัดสินใจอย่างฉับพลันเพื่อลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ได้แก่ การสั่งปิดหน่วยงานของรัฐบาล 3 หน่วยงาน อันได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว สำนักงานปฏิรูปการเกษตร และสำนักงานบริการประชาชน

ในการเปิดการพิจารณางบประมาณปี 2010 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552 ประธานาธิบดีแคลเดรอนได้เสนอแผนงานการปรับโครงสร้างภาษี โดยมีประเด็นสำคัญ คือ
  • แผนงานปรับโครงสร้างภาษีที่เสนอจะเพิ่มความสามารถในการเก็บภาษีได้อีกร้อยละ 2.5 ของผลผลิตประชาชาติ
  • เสนอการเก็บภาษีการบริโภค (consumer tax) ร้อยละ 2 และเพิ่มภาษีรายได้ขั้นต่ำสำหรับกิจการการค้า จากร้อยละ 16.5 โดยทยอยเพิ่มให้เป็นร้อยละ 17.5 ภายในปี 2553 และเก็บภาษีโทรคมนาคมร้อยละ 4
  • จะเพิ่มมาตรการลงโทษผู้ที่หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี โดยการหักภาษีร้อยละ 2 จากบัญชีเงินฝากของกิจการพ่อค้าขายปลีก
  • จะอนุมัติให้ Pemex ใช้รายได้จากการขายน้ำมันเพื่อใช้ในการลงทุนเพื่อการสำรวจขุดเจาะหาแหล่งน้ำมันเพิ่มเติม  
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2009 สภาของเม็กซิโกได้อนุมัติข้อเสนอของประธานาธิบดีแคเดรอนในระดับที่อ่อนกว่าข้อเสนอเดิม โดยได้อนุมัติให้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 1 แทนการเก็บภาษีใหม่ร้อยละ 2 อนุมัติการเก็บภาษีโทรคมนาคมเพียงร้อยละ 3 โดยไม่ให้เก็บจากบริการอินเตอร์เน็ต เพิ่มภาษีรายได้สำหรับผู้ที่รายได้มากกว่า 10,300 เปโซต่อเดือนจากร้อยละ 28 เป็นร้อยละ 30 และเพิ่มภาษีเบยร์จากร้อยละ 26.5 เป็นร้อยละ 25 รวมทั้งกำหนดราคาน้ำมันที่จะใช้ในการคำณวนงบประมาณปี 2010 ให้เท่ากับ 59 เหรียญต่อบาเรล และกำหนดงบประมาณขาดดุลร้อยละ 0.75 ของผลผลิตประชาชาติ

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2009 ปลัดกระทรวงการคลังเม็กซิโก ได้แถลงข่าวว่า รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับปี 2009 ได้ลดลงจากปี 2008 ร้อยละ 17.5 ซึ่งลดลงมากกว่ารายได้จากภาษีอื่น ๆ ที่ลดลงร้อยละ 10.8 ในช่วงเดียวกัน ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ลดน้อยลงดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการที่ รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มจากน้ำมันที่ลดลง

แหล่งข้อมล:
http://www.mexconnect.com/articles/6-taxes-in-mexico
http://www.maquilaportal.com/editorial/editorial479.htm
KPMG Tax Report 2007 (pfd)
Mexico: A Comprehensive Development Agenda, Guigale et al.
OECD Tax collection
Mexico’s Peso Falls for Fifth Day on Downgrade Concerns, Oil

Tuesday, October 27, 2009

InterAmerian Development Bank lends 2 Million for development in Panama

กลุ่มธุรกิจชื่อ The City of Knowledge ประเทศปานามา ได้ลงนามความตกลงกับธนาคาร InterAmerican Development Bank(MIF - IDB) เพื่อกู้เงินจำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อปรับปรุงบรรยาการการประกอบธุรกิจในประเทศปานามา โดยการกำหนดแผนงานเพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่

โครงการพัฒนาบรรยากาศการประกอบธุรกิจดังกล่าว มีปัจจัยสำคัญ คือ การฝึกบุคลลากร และการจ้างผู้เชี่ยวชาญใหม่ ในหมาวิทยาลัย วิทยาลัยธุรกิจ องค์กรธุรกิจและสหภาพแรงงาน เพื่อให้มีความสามารถในการวิเคราะห์โครงการลงทุนที่เหมะสม ( financiallly sustainable) และเพื่อพัฒนาให้สถาบันเหล่านี้ มีความสามารถในการเพาะบ่มธุรกิจใหม่ โดยการเชื่อมโยงสถาบันเหล่านี้กับสถาบันอื่น ๆ ในต่างประเทศที่มีประสบการณ์ในการเพาะบ่มธุรกิจหใหม่ รวมทั้งเพื่อให้มีช่องทางสำหรับตลาดการส่งออก การสร้างเครือข่ายผู้ลงทุน (angel investor) การจัดงานสัมนนาเพื่อระดมความคิดเห็น และจับคู่นักลงทุน การคิดวางกำหนดนโยบายที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ เพื่อคัดเลือกโครงการลงทุนที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงสุด การริเริ่มตลาดทุนทางเลือก และการจัดตั้งกองทุนทุนริเริ่ม (seed capital co-investment fund)

แหล่งข่าว:

Rice production in Central America: Approaching sustainability

การผลิตข้าวในประเทศอเมริกากลาง

ประเทศในกลุ่มอเมริกากลางมีความสามารถในการผลิตข้าวได้จำนวนน้อย (ประมาณ 496,000 ตันในปี 2006) และผลผลิตมักจะมีความผันผวนเนื่องจากภาวะอากาศ เช่น พายุฝน หรือภาวะอากาศแห้งแล้ง อีกทั้งภาวะคลาดโลกที่ราคาข้าวสูงขี้นในปีที่ผ่านมา ได้ผลักดันให้รัฐบาลของกลุ่มประเทศอเมริกากลางให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการผลิตข้าวในภูมิภาคอเมริกากลางให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในกลุ่ม

ประเทศปานามาและนิคารากัว เป็นประเทศผู้ผลิตข้าวมากที่สุดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง นั่นคือ ประมาณร้อยละ 70 ของการผลิตทั่วภูมิภาค และผู้ผลิตสำคัญรองลงมาได้แก่ ประเทศคอสตาริกา ประเทศปานามาสามารถผลิตข้าวได้ใกล้เคียงกับความต้องการภายในประเทศ แต่นิคารากัวยังขาดความสามารถในการผลิตอีกร้อยละ 40 เพื่อตออบสนองความต้องการภายใน

ปานามาประสบผลสำเร็จในการลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าว พร้อมกับได้มีมาตรการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต ที่สนับสนุนการขยายพื้นที่การเพาะปลูกในปีที่ผ่าน ๆ มา โดยมีการคาดว่าพื้นที่การเพาะปลูกจะคงตัวที่ประมาณ  75,000 เฮกเตอร์ เพื่อผลผลิตที่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ  ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตข้าวของจังหวัด Chiriqui ซึ่งเป็นพื้นที่การปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุด ได้รับทุนช่วยเหลือจำนวน 3 ล้านเหรียญฯ เพื่อการสร้างโรงสีและโกดังเก็บข้าวใหม่ ที่มีกำลังการสีข้าวได้ 200 quintals (ประมาณ 20 ตัน) ต่อชั่วโมง จะช่วยเหลือให้ชาวนามีอำนาจต่อรองด้านราคากับผู้ขายปลีกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ผลิตข้าว Chiriqui ได้แถลงข่าวเมื่อเดือนกันยายน 2009 ว่าไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้เต็มพื้นที่เป้าหมาย เป็นเหตุให้มีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศประมาณ 3-4 ล้าน quintals (3,000 ตัน)

ประเทศนิคารากัว มีพื้นที่การเพาะปลูกประมาณ 20,000-30,000 parcels ในปีที่ผ่าน ๆ มาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลใต้หวันเพื่อการพัฒนาพันธุ์ข้าว


ผลผลิตข้าวในคอสตาริกาในปี 2009 ได้รับผลกกระทบจากภาวะอากาศแห้งแล้งและรวมทั้งการไม่ปล่อยเงินกู้ให้แก่เกษตรกรเนื่องจากภาวะวิกฤตการณ์การเงิน ได้ส่งผลให้พื้นที่การเพาะปลูกในปี 2009 ลดลงร้อยละ 22 เป็นพื้นที่การเพาะปลูก 45,000 เฮกเตอร์ จากเดิมที่เคยปลูกได้ 54,000 เฮกเตอร์ ในปีก่อน ๆ ประเมินมูลค่าความเสียหายจากการสูญเสียผลผลิตประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหาร รัฐบาลคอสตาริกาจึ่งได้สั่งข้าวนำเข้าจากสหรัฐฯ เมือเดือนกันยายน 2009 จำนวน 45,000 ตัน และได้จองการสั่งซื้อในเดือนกุมภาพันธุ์ อีกจำนวน 10,000 ตัน

แหล่งข้อมูล:

Costa Rica Forced to Import Rice
10,000 more hectares of rice to be planted in Costa Rica
$3 Million for Rice Mill
Latin American Fund for Irrigated Rice

Thursday, October 8, 2009

10 Major Maritime Ports of Mexico

ท่าเรือที่สำคัญ 10 แห่งของเม็กซิโก

รัฐบาลกลางเม็กซิโกเป็นผู้บริหารการให้สัมปทานแก่ผู้ดำเนินการท่าเรือทั้งหมดทั่วประเทศที่มี 97 แห่ง โดยกระทรวงการคมนาคมและสื่อสารเม็กซิโกเป็นผู้บริหารท่าเรือเอง 16 แห่ง องค์กรท่าเรืออื่นๆ ได้แก่ FONATUR ซื่งบริหารท่าเรืออยู่ 2 แห่ง การบริหารท่าเรือในระดับรัฐท้องถิ่นมีอยู่ 5 แห่ง และมีท่าเรือหนึ่งท่าที่เป็นของเอกชนร้อยเปอร์เซนต์

ท่าเรือสำคัญ ที่สำคัญๆ ของเม็กซิโกได้แก่ ท่า Ensenada, Guaymas, Topolobampo, Mazatlán, Puerto Vallarta, Manzanillo, Lázaro Cárdenas, Salina Cruz, Puerto Chiapas, Coatzacoalcos, Dos Bocas, Progreso, Veracruz, Tuxpan, Tampico และท่า Altamira โดยความสำคัญของท่าเรือเหล่านี้ คือการมีระบบบริหาร (Integral Port Administrations) ที่ผสมงานบริหารระหว่างหน่วยงานระดับชาติ หน่วยงานของรัฐ และระหว่างองค์กรรัฐบาลและเอกชน


ท่าเรือ Ensenada

ตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโก ในรัฐ Baja California และห่างจากชายแดนสหรัฐฯ เพียง 110 กิโลเมตร โดยมีการเชื่อมโยงโดยถนนทางด่วนหลายสาย มีความสัมพันธ์กับท่าเรืออื่น ๆ 64 แห่ง ใน 28 ประเทศ  แหล่งการส่งออกและการนำเข้าสำคัญจากกลุ่มประเทศเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไต้หวัน ในกลุ่มละติน ได้แก่ คอสตาริกา ฮอนดูรัส ชีลี และยุโรป คือ ฝรั่งเศส อิตาลี และเสปน ประเทศแอฟริกา ได้แก่ มอร็อกโก และอัลจีเรีย

ท่าเรือดังกล่าว เป็นท่าที่เก่าแก่ และได้เริ่มให้บริการท่าตั้งแต่ปี 1877 ในปัจจันได้ขยายการให้บริการรวมถึงเขตอุตสาหกรรม โดยมีโรงงานตั้งอยู่จำนวน 1,400 แห่ง กิจกรรมของท่าฯ ได้แก่ การบริการขนถ่ายคอนเทเนอร์ การขนส่งแร่ และการออกสินค้าขนส่งปกติ การซ่อมเรือ การบริการแก่เรือประมง เรือ cruise และเรือย่อย ๆ ขอผู้ตกเป็ดเป็นกีฬา

ท่าเรือ Veracruz

เป็นท่าเรือในฝั่งตะวันออก ในอ่าวเม็กซิโก มีประวัติที่เก่าแก่เช่นกัน ได้เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 1864 มีพื้นที่ประมาณ 800 เฮกตาร์ มีสถานีเทียบท่าทั้งหมด 19 ท่า โดยมี 9 ท่าที่ให้บริการสำหรับคอนเทนเนอร์ ขนรถยนต์ ถ่ายสินค้าขนส่งเป็นของเหลว แร่ธาตุ และสินค้าเกษตร นอกจากนี้แล้ว มีท่าเฉพาะสำหรับการเทียบท่าของเรือท่องเที่ยว และท่าของบริษัทน้ำมัน PEMEX โดยเฉพาะ

สินค้าที่นำเข้าที่ท่า Vera Cruz โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้ในประเทศ และบางส่วนมีการส่งออกต่อไปยังสหรัฐฯ ยุโรป และ แอฟริกาต่อ

ท่าเรือ Tampico

เป็นท่าสำคัญรองลงมาในฝั่งอ่าวเม็กซิโก ริมปากแม่น้ำ Panuco และมีการเชื่อมโยงทางรถไฟและไฮเวย์กับเขตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ มีพื้นที่เทียบท่า 2,417 เมตร มีท่าเฉพาะที่ธุรกิจเอกชนเป็นเจ้าของเอง 6 แห่ง และนอกจากการขนถ่านคอนเทเนอร์ แร่ และสินค้าเกษตร เป็นท่าที่มีความเชี่ยวชาญในการรับขนถ่านแร่เหล็กโดยเฉพาะ โดยในปี 2008 ได้ทำการขนถ่ายแร่เหล็กปริมาร 335,000 ตัน

ท่าเรือ Progresso

อยู่บนชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก ก่อตั้งเมื่อปี 1811 และเป็นท่าสำคัญของรัฐทางตอนใต้ คือรัฐ Yucatan มีความสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมประมง และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะสำหรับเรือ cruise ที่นำนักท่องเที่ยวมาชมแห่ลโบราณคดีของอารยธรรมมายา มีการเชื่อมโยงทางรถไฟและไฮเวย์กับภาคกลางของเม็กซิโก

ท่าเรือ Coatzacoalcos และท่าเรือ Salina Cruz

ท่าเรือ Coatzacoalcos เป็นท่าเรือฝั่งอ่าวเม็กซิโก ที่เชื่อมกับท่า Santa Cruz ฝั่งแปซิฟิก ซึ่งท่าทั้งสองมีการเชื่อมโยงทางบก โดยเส้นทางไฮเวย์ และเส้นทางรถไฟ ที่มีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตรข้ามช่องแคบ Tehuantepec Ithmus ซึ่งเป็นเส้นทางการขนส่งสำคัญก่อนการสร้างคลองเดินเรือ Panama Canal

ท่าเรือ Coatzacoalcos มีพื้นที่บนบกและในน้ำสำหรับการบริการรวม 352 เฮกเตอร์ เป็นพื้นที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมนำมัน ปิโตรเคมีและการเกษตร สินค้าที่ขนส่งผ่านท่าฯ ได้แก่ สารซัลเฟอร์ และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ แร่ธาตุ ปุ๋ย และน้ำตาล นอกจากนี้แล้ว การขนส่งน้ำมันและปิโตรเคมี ในท่า Pajaritos ซึ่งอยู่ข้างเคียงเป็นกิจกรรมที่จ้างเรือบริการจากท่า Coatzacoalcos

ส่วนท่าเรือ Salina Cruz ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของรัฐ Oaxaca ฝั่งแปซิฟิก และให้บริการขนส่งสินค้าสำหรับรัฐทางตอนใต้ของเม็กซิโก เช่น รัฐ Oaxaca Chiapas Tabasco Campeche Quintana Roo Yucatan Puebla และ Vera Cruz 

ท่าเรือ Salina Cruz ยังเป็นเขตพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมน้ำมันฝั่งแปซิฟิก และเป็นที่ตั้งของฐานทัพทะเลอันสำคัญของเม็กซิโกอีกด้วย

ท่าเรือ Topolobampo

เป็นท่าอุตสาหกรรมและพาณิชย์ในรัฐ Sinaloa ทางเหนือฝั้งแปซิฟิก ให้บริการแก่อุตสาหกรรมเกษตรเป็นสำคัญ โดยเกีอบครึ่งของสินค้าที่ส่งออกนำเข้า ได้แก่ ข้าวโพด สินค้าอื่น ๆ ที่ส่งออกจากท่านี้ ได้สินค้าประมง สินค้าเกษตรอื่น ๆ และแร่ธาตุ ท่าดังกล่าวมีการเชื่อมโยงโดยเส้นทางรถไฟสำคัญของระบบ Ferrocariles Mexicanos และรถไฟฟสาย Pacific Route เป็นท่าสำคัญสำหรับการเชื่อมโยงกับประเทศในแถบเอเชีย

ท่าเรือ Mazatlán

เป็นท่าที่ได้เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 1828 อยู่ในรัฐ Sinaloa เช่นกับแต่อยู่บนช่วงปลายทางใต้ของคาบสมุทร Baja California ให้บริการแก่รัฐต่างๆ ในภาคเหนือของเม็กซิโก และมีความสำคัญสำหรับการประมง สินค้าเกษตรที่ไม่มีน้ำหนักมาก เช่น มะเขือเทศ ถั่งลันเตา chickpeas และปลาทูน่า ในพื้นที่รอบ ๆ ได้พัฒนาเป็นศุนย์การบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าทะเลที่สำคัญ และในปีหลังๆ ท่าดังกล่าวได้เริ่มมีความสำคัญในการส่งออกรถยนต์ที่ผลิตในรัฐใกล้เคียง

ท่าเรือ Mazatlan เป็นท่าที่มีความสำคัญสำหรับการท่องเที่ยว เพราะมีอ่าวธรรมชาติที่มีชายหาด และเป็นที่พักเรือสำหรับเรือครูซที่เดินทางจาก Los Angeles ไปยัง Panama

ท่าเรือ Puerto Vallarta

ตั้งอยู่ในอ่าว Banderas รัฐ Jalisco เป็นท่าที่ให้ความสำคัญกับการบริการแก่ภาคการท่องเที่ยว สามารถให้บริการแก่เรือครูซพร้อมกันได้ถึง 3 ลำ มีโครงสร้างที่รวมท่าที่ผู้คนเดินชมทะเลได้ มีสวนสาธารณะ และพาติโอสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ  ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการต้อนรับเรือครูซมีความสำคญต่อเม็กซิโก โดยในปี 2006 ท่า Puerto Vallarta ได้รับเรือครูซจำนวน 235 ลำ ผู้โดยสารห้าแสนกว่าคน จากเรือครูซทั้งหมด 2,901 ลำ และผู้โดยสารรวมถึง 6 ล้านคน ที่เทียบท่าในเม็กซิโกในปีนั้น

ท่าเรือ Manzanillo

ตั้งอยู่ในเขตรัฐ Colima เป็นท่าเรือทางอุตสาหกรรมและการพาณิชย์มี่สำคัญที่สุดของเม็กซิโก เพราะเป็นจุดที่เชื่อมโยงกับเขต industrial corridor ของเม็กซิโก เพื่อการส่งออกและนำเข้าไปยังประเทศสหรัฐฯ แคนาดา ประเทศต่าง ๆ ในอเมริกาใต้ และประเทศอื่น ๆ ที่ขนส่งสินค้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีเส้นทางการเชื่อมโยงทางรถไฟและไฮเวย์กับรัฐ Aguascaliente Jalisco Guanajuato Nuevo Leon Coahuila และกรุงเม็กซิโก

บริษัทและศูนย์กลางอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ของเม็กซิโกที่มีพื้นที่การผลิตใกล้เคียง ได้แก่ บริษัท Peña Colorado แหล่งผลิตแร่เหล็กที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และบริษัท Tecoman ผู้ผลิตปูนซีเม็นต์อันดับสองของประเทศ รวมทั้งบริษัทประมงผู้จับปลาทูนาหลายแห่ง

ท่า Manzanillo มีพื้นที่รวม 437 เฮกเตอร์ มีท่าเทียบฝั่งทั้งหมด 17 ท่า มีพื้นที่โกดังสินค้า 14 เฮกเตอร์ รวมทั้งมีรางรถไฟสำหรับบริการในท่า 13.5 กิโลเมตร และทางด่วนภายในพื้นที่ของท่ารวม 5.4 กิโลเมตร  มีบริษัทเดินเรือระหว่างประเทศที่เทียยท่าเป็นประจำจำนวน 26 บริษัทจากแหล่งการส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งหมด 74 แห่ง

แหล่งข้อมูล:

Guanajuato Inland Port

ท่าเรือศุลกากรบกภายในประเทศ ที่รัฐ Guanajuato

Inland port หรือบางครั้งเรียกว่า dry port เป็นพัฒนาการของท่าศุลกากรใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อกระจายภาระการเดินพิธีศุลกากรสำหรับตู้บรรจุสินค้าประเภท container จากท่าเรือตามชายฝั่งทะเลที่นับวันจะมีพื้นที่จำกัด และมีโครงสร้างที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินการด้านศุลกากร ไปยังเขตศุลกากรพื้นที่พิเศษภายในประเทศ

ประเทศเม็กซิโกได้ตื่นตัวในการพัฒนา inland port สืบเนื่องมาจากโครงการความร่วมมือกับสหรัฐฯ และแคนาดาในการพัฒนา North American Supercorridor Project

Guanajuato Inland Port ได้เปิดการบริการเมื่อปี 2008 มีพื้นที่รวมทั้งหมดกว่า 1,000 hectares โดยมีการวางระบบแบบ intermodal node นั่นคือการเชิ่อมระหว่างระบบการขนส่งทางอากาศ ทางถนนและทางรถไฟที่เชื่อมกับท่าเรือสำคัญ Manzanillo โดยมีบริการศุลกากรออกสินค้าจากตู้คอนเทนเนอร์จากต่างประเทศในเขต free zone พื้นที่ 144 hectares ซึ่งติดกับท่าอากาศยานระหว่างประเทศ Guanajuato International Airport และเชื่อมโยงกับเขตอุตสาหกรรมพิเศษพื้นที่ 1,235 acres นอกจากนี้แล้ว ในพื้นที่เดียวกันยังมีเขตบริหารด้าน logistics และเขตการศึกษาที่มีมหาวิทยาลัยรองรับการฝึกบริการบุคคลากรให้แก่บริษัทต่าง ๆ ในพื้นที่

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง:
http://en.wikipedia.org/wiki/Inland_port
http://en.wikipedia.org/wiki/Dry_port
http://www.nascocorridor.com/naipn/pages/cent_mex/pages/infrastructure.html
http://www.puertointerior.com.mx/english/main.html
http://www.guanajuato.gob.mx/gto/

Tuesday, October 6, 2009

Mexico's Railway system

ระบบรถไฟของเม็กซิโก

ภาพแสดงเส้นทางรถไฟของเม็กซิโก



ประวัตของระบบรถไฟในเม็กซิโก

ประเทศเม็กซิโกได้เริ่มการก่อสร้างวางระบบรางรถไฟเมื่อปี 1837 เส้นทางรถไฟสายที่ใหญ่ที่สุดของเม็กซิโก ได้แก่ Ferrocarriles Nacionales Mexicanos - FNM  ก่อตั้งเมื่อปี 1909 เป็นองค์กรของรัฐบาล และมีการให้สัมปทานแก่ธุรกิจเอกชนเพื่อการบริหารต่อในหลายช่วงเส้นทางและการบริการต่างๆ ในปี 1992 มีผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟระหว่างเมืองเพียงร้อยละ 2 ของผู้ที่ใช้การเดินทางโดยรวม นั่นคือผู้โดยสารจำนวน 15 ล้านคน โดยผู้ที่เดินทางโดยรถไฟจำนวนนี้ ใช้ตู้ผู้โดยสารจำนวน 800 ตู้ ต่อมาในปี 1993 องค์กรรถไฟของเม็กซิโกได้แปรสภาพส่วนบริการแก่ผู้โดยสารให้ภาคเอกชนรับดำเนินการทั้งหมด และเมื่อปี 1994 ระยะทางเดินของรางตถไฟทั้งหมดมีเท่ากับ 20,425 กิโลเมตร

FNM เป็นองค์กรที่ครอบครองและบริหารเส้นทางรถไฟประมาณร้อยละ 70 ของเม็กซิโกทั้งหมด และรับขนส่งบรรทุกสินค้าประมาณร้อยละ 80 ของสินค้าที่ขนถ่ายทางรถไฟ องค์กรรถไฟอื่นๆ รองลงมาซึ่งเป็นของรัฐเช่นกัน ได้แก่ Pacific Rail ซึ่งมีเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างเมือง Nogales และ Guadalajara สายสำคัญๆ อื่นๆ ได้แก่ เส้นทางจากเมือง Chihuahua ไปยังฝั่งแปซิฟิก เส้นทางจากรัฐ Sonora ไปยังรัฐ Baja California และสายตะวันออกเฉียงใต้ของ United Railroads

มีเส้นทางรถไฟที่ข้ามชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโกที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองชายแดนต่าง ๆ ในฝั่งเม็กซิโกกับเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ได้แก่ Ciudad Juárez, Laredo, Piedras Negras, Reynosa, Matamoros, Nogales, Naco และ Agua Prieta และในชายแดนตอนใต้ มีเส้นทางรถไฟที่วิ่งเข้าสู่ประเทศกัวเตมาลาเชื่อมเข้ากับระบบรถไฟข้างประเทศในหมู่ประเทศอเมริกากลาง

การบริหารระบบรถไฟของเม็กซิโกโดย FNM ขาดประสิทธิภาพอย่างร้ายแรงมาเป็นเวลาหลายปี โดยใน 1991 สภาพของหัวเครื่องจักรที่สามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี มีเพียงร้อยละ 68 ที่สามารถใช้การได้ และการบริการขนถ่ายสินค้าออกจากท่ารถไฟเป็นบริการที่ล่าช้ามาก โดยมีการส่งสินค้าตามกำหนดได้เพียงร้อย 20 ของสัญญาขนถ่าย จนเป็นเหตุให้ผู้รับบริการขนถ่ายสินค้าหันไปใช้การขนถ่ายโดยรถบรรทุกตามเส้นทางถนนแทน

ในปี 1992 FNM มีหัวเครื่องจักรแบบดีเซลทั้งหมด 1,575 เครื่อง ตู้ขนบรรทุกสิ้นค้า 42,240 ตู้ และมีรถบรรทุกสินค้าทางรางรถไฟที่เอกชนเป็นเจ้าของประมาณ 60,000 ตู้ ในปีเดียวกันนั้น FNM ได้ขนบรรทุกสินค้าทั้งหมด 49 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 12 ของการบรรุทกสินค้าทั้งหมด

ความล้มเหลวในการบริหาร FNM เป็นเหตุให้รัฐบาลเม็กซิโกเริ่มกระบวนการแปรสภาพการรถไฟฯ ขายส่วนธุรกิจต่าง ๆ ให้แก่ภาคเอกชนตั้งแต่ปี 2006 เพื่อปลดภาระหนี้ (liquidation) ปัจจุบันยังคงอยู่ระหว่างการขายส่วนบริการต่าง ๆ ออกไปอยู่

ในปี 1996 บริษัท Kansas City Southern (KCS) ได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Transportacion Maritima Mexicana (TMM) พัฒนาสัมปทานสาย Northeast Railroad ที่ข้ามชายแดนสหรัฐฯที่เมือง Laredo เชื่อมท่าเรือ Lázaro Cárdenas ฝั่งแปซิฟิก กับเมือง Monterrey และกรุงเม็กซิโกซิตี้

ในปี 1998 กลุ่ม Grupo Mexico ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่สำคัญของเม็กซิโกทีมีการลงทุนด้านเหมืองแร่เป็นสำคัญ ได้ร่วมลงทุนกับ Union Pacific Railroad โดยใช้ชื่อธุรกิจ Ferrocarril Mexicano (Ferromex) พัฒนาสัมปทานสาย Northwest Railroad ที่เชื่อมเส้นทางรถไฟระหว่างเมืองชายแดนสหรัฐฯ หลายแห่งกับท่าเรือ Manzanillo ฝั่งแปซิฟิกกับเมือง Guadalajara ถึงกรุงเม็กซิโกซิตี้

ในปี 2000 บริษัท Ferrosur เป็นผู้พัฒนาสัมปทานรถไฟสายใต้ระหว่างกรุงเม็กซิโกซิตีกับท่าเรือ Veracruz ฝั่งอ่าวเม็กซิโก แต่ต่อมาในปี 2005 Ferrosur ได้พยายามขายสัมปทานสายดังกล่าวให้แก่ Ferromex แต่ได้รับการคัดค้านจากกลุ่ม KCSM

เส้นทางรถไฟรอบๆ กรุงเม็กซิโก
บริษัท Ferrocarril y Terminal del Valle de México (Ferrovalle) เป็นผู้บริหารสัมปทานสายรถไฟขนส่งสินค้าสำคัญสามสายในเขตรอบเมืองเม็กซิโกซิตี้ ได้ก่อตั้งเมื่อปี 1998 โดยการแยกทรัพย์สินของ FNM มีผู้ถือหุ้นสามองค์กร ได้แก่ Ferromex, Ferrosur และ KCSM ระยะเส้นทางรวมประมาณ 844 กิโลเมตร มีการขนถ่ายรถตู้คอนเทเนอร์ประมาณ 2,400 คันต่อวัน

สายรถไฟสายย่อยๆ อื่นๆ ได้แก่
  • รถไฟสาย Linea Coahuila Durango (LFCD) มีเส้นทางรถไฟขนถ่ายสินค้าระยะทางประมาณ 1371กิโลเมตร ที่เชื่อมโยงระหว่างรัฐ Coahuila, Durango, Chihuahua และ Zacatecas
  • รถไฟสาย Carrizo Gorge de Mexico (Carrizo Gorge Railway subsidiary) มีการขนถ่ายผู้โดยสารข้ามชายแดนสหรัฐ-เม็กซิโก ที่เชื่อมโยงกับระบบรถไฟของเมือง San Diego โดยมีต้นทางฝั่งเม็กซิโกที่เมือง Tijuanaและส่งผู้โดยสารเข้าระบบสหรัฐฯ ที่เมือง Plaster City รัฐ California 
  • รถไฟสาย Ferrocarril Transistmico เป็นเส้นทางที่วิ่งระหว่างรัฐ Veracruz และรัฐ Oaxaca 
  • และรถไฟสาย Ferrocarriles Peninsulares del Noroeste (Carrizo Gorge Railway) ที่วิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับเส้นทางรถไฟผู้โดยสาร มี
  • สาย Ferrocarril Suburbano de la Zona Metropolitana de México  ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟโดยสารที่วิ่งออกไปนอกเมือง ระยะทาง 27 กิโลเมตร จากสถานี Buena Vista ในกรุงเม็กซิโกไปยังชานเมืองทางเหนือ สิ้นสุดเส้นทางที่เมือง Cuautitlan
  • สาย Chihuahua al Pacífico เป็นรถไฟท่องเที่ยวเพื่อชมผา Copper Canyon ในทางเหนือของเม็กซิโก เป็นเส้นทางระยะ 673 กิโลเมตร ซึ่งใช้ระยะเวลาการเดินทางประมาณ 16 ฃั่วโมง ผ่านอุโมง 86 แห่ง และข้ามสะพานรถไฟ 37 แห่ง มีจุดพักระหว่างทาง 15 แห่ง มีต้นทางทีเมืองชายฝั่งแปซิฟิก Los Mochis รัฐ Sinaloa ไปยังเมือง Chihuahua รัฐ Chihuahua
  • และสาย Tequila Express เป็นรถไฟสายท่องเที่ยวไปยังเมือง Guadalajara เพื่อชมการทำเหล้า tequila สุดสายที่โรงกลั่นเหล้าที่เมือง Amatitán

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง:
http://en.wikipedia.org/wiki/Rail_transport_in_Mexico

Tuesday, September 29, 2009

Switzerland, Mexico Sign Revised Double Tax Agreement

ประเทศสวิสเซอร์แลนด์แก้ไขความตกลงยกเว้นภาษีซ้อนกับเม็กซิโก
 
รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ได้ให้ข่าว เมื่อวันจันทร์ที่ 29 กันยายน 2009 ว่าได้ลงนามความตกลงของแก้ไขความตกลงภาษีซ้อนระหว่างสวิสเซอร์แลนด์และเม็กซิโก ในเรื่องภาษีรายได้ รวมทั้งได้มีข้อตกลงที่สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD เกี่ยวกับความช่วยเหลือในการบริหาและการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยประเทศเม็กซิโกเป็นประเทศที่ 7 ที่สวิสเซอร์แลนด์ได้ขอแก้ไขความตกลงการยกเว้นภาษีซ้อนให้สะท้อนมาตรฐานใหม่ดังกล่าว
 
ทั้งนี้ เงื่อนไขใหม่สำหรับการเก็บภาษี ได้แก่
  1. เงินปันผลของหุ้นส่วนที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 จะเก็บภาษีในประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้ถือหุ้น (ซึ่งเป็นการให้เปรียบแก่ผู้ถือหุ้นสิวส) และจะต้องลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย (withholding tax) เป็นร้อยละ 5 และ 10 แทน 
  2. นักลงทุนสวิสเซอร์แลนด์จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเปรียบเสมือนชาวเม็กซิกัน ในการรับจ่ายดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (license fees)
ประเทศเม็กซิโกมีความตกลงการยกเว้นภาษีซ้อนกับประเทศสำคัญๆ ได้แก่ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักรฯ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และอินเดีย

แหล่งข่าว:  NASDAQ, "Switzerland, Mexico Sign Revised Double Tax Agreement"

Wednesday, September 9, 2009

IV Round FTA China - Costa Rica in September

ความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างคอสตาริกาและจีน

ประเทศคอสตาริกาได้จัดตั้งกลุ่มทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศจีน และได้พบกันในรอบแรกเมื่อประธานาธิบดีจีนได้เยือนคอสตาริกาในเดือนมกรคม 2008 และการประชุมครั้งที่สองและสามได้พบกันที่กรุงปักกิ่ง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2008 และที่เมือง Puntarenas คอสตาริกา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2008 ตามลำดับ เป็นได้ให้มีการลงนาม MOU เพื่อเริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2008 โดยมีการเจรจารอบแรกที่คอสตาริกาเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2009 และรอบสองที่กรุงเซี่ยงไฮ้ในเดือนเมษายน 2009 และรอบที่สามที่เมือง San Jose ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2009 การเจรจรรอบทีสี่จะเกิดขิ้นในเดือนกันยายน 2009

ประเทศคอสตาริกาได้เสนอการเปิดเสรี ยกเว้นการเก็บภาษีประมาณร้อยละ 70 ของสินค้านำเข้าจากจีน ในขณะที่จีนต้องการให้คอสต้าริกาเพิ่มการเปิดตลาดให้เท่ากับปริมารที่ประเทศจีนเสนอ นั่นคือร้อยละ 95 โดยคอสตาริกาไม่ผ่อนปรนภาษีสำหรับสินค้าบางชนิดจากประเทศจีนที่อาจมีผลกระทบต่อตลาดภายในสูง ในขณะที่ประเทศจีนก็ไม่ยอมเปิดเสรีสินค้าที่คอสตาริกาสนใจจะส่งออกไปยังประเทศจีน อันได้แก่สินค้าเกษตรสำคัญของคอสตาริกา อันได้แก่ น้ำตาล เนื้อสัตว์ น้ำผลไม้ และกาแฟ ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเจรจา

ประเทศจีนมีความสนใจที่จะใช้คอสตาริกาเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังคู่ค้าที่มีเขตการค้าเสรีกับคอสตาริกา เช่น สหรัฐฯ เม็กซิโก และกลุ่มประเทศอเมริกากลางอื่น ๆ และมีความสนใจเกี่ยวกับการลงทุนในด้านปศุสัตว์และการท่องเที่ยวอีกด้วย ในขณะที่คอสตาริกาหวังว่าตลาดจีนซึ่งมีความสำคัญอยู่แล้ว อาจจะเปิดโอกาสการส่งออกไปยังประเทศในทวีปเอเชียอื่น ๆ อีกด้วย

มีนักธุรกิจคอสตาริกากลุ่มหนึ่งที่คิดว่า คอสตาริกาจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบในความตกลงดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าประเทศจีนหวังใช้ตำแหน่งของคอสตาริกาในเชิง geopolitics มากกว่าทางการค้า นอกจากนี้แล้ว คอสตาริกาได้รับความช่วยเหลือด้านความเชี่ยวชาญจากประเทศชิลีเกี่ยวกับวิธีการต่อรองการเจรจา โดยชิลีมีประสบการณ์การเจรจรความตกลงการค้ามาแล้วกว่า 50 ฉบับ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
กระทรวงการค้าต่างประเทศคอสตาริกา: COMEX
SICE (มีรายงานสรุปเจรจาในแต่ละรอบเป็นภาษาสเปน)
วารสารและหน้าเวป Central American Data, บทความ "IV Round FTA China - Costa Rica in September"

Tuesday, September 8, 2009

Trade Agreements of American States

สำนักงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ (Sistema de Información sobre Comercio Exterior-SICE) ขององค์กรรัฐอเมริกัน (Organizaion of American States-OAS) รายงานข้อมูลเกี่ยวกับความตกลงค้าที่ประเทศอเมริกาเหนือ-ใต้และกลาง ของทั้ง 35 ประเทศสมาชิกว่า มีพันธะกรณีไว้ สามารถแยกประเภทเป็น
  1. ความตกลงพหุภาคี (Multilateral Agreement: WTO) 1 ความตกลง
  2. สหภาพศุลกากร (Customs Union) 4 แห่ง
  3. ความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreements) 51 ฉบับ
  4. กรอบความตกลง (Framework Agrements) 5 แห่ง
  5. ความตกลงสิทธิพิเศษกึ่งรูปแบบ (Partial Preferential Agreements) 34 ฉบับ
ดังรายการและวันที่ลงนามต่อไปนี้

Customs Unions:
  • Andean Community
  • Caribbean Community (CARICOM)
  • Central American Common Market (CACM)
  • MERCOSUR
Free Trade Agreements:
  • Andean countries (Colombia, Ecuador, Venezuela) - MERCOSUR (ลงนามวันที่ 18 October 2004)
  • Bolivia - MERCOSUR (17 December 1996)
  • Bolivia - Mexico (10 September 1994)
  • Canada - Chile (05 December 1996)
  • Canada - Costa Rica (23 April 2001)
  • Canada - EFTA 26 (January 2008)
  • Canada - Israel (31 July 1996)
  • Canada - Peru (29 May 2008)
  • Canada - Mexico-United States (NAFTA) (17 December 1992)
  • CARICOM - Costa Rica (09 March 2004)
  • CARICOM - Dominican Republic (22 August 1998)
  • CARIFORUM - European Union 15 (October 2008)
  • Central America - Chile 18 (October 1999)
  • Central America-Dominican Republic (16 April 1998)
  • Central America - Dominican Republic - United States (DR-CAFTA) (05 August 2004)
  • Central America - Panama (06 March 2002)
  • Chile - Australia (30 July 2008)
  • Chile - China (18 November 2005)
  • Chile - Colombia (27 November 2006)
  • Chile - EFTA (26 June 2003)
  • Chile - EU (18 November 2002)
  • Chile - Japan (27 March 2007)
  • Chile - Korea (15 February 2003)
  • Chile - MERCOSUR (25 June 1996)
  • Chile - Mexico (17 April 1998)
  • Chile - New Zealand, Singapore and Brunei Darussalam (P4) (18 July 2005)
  • Chile - Peru (22 August 2006)
  • Chile - Panama (27 June 2006)
  • Chile - United States (06 June 2003)
  • Colombia - Mexico-Venezuela (Group of Three) (13 June 1994)
  • Costa Rica - Mexico (05 April 1994)
  • El Salvador - Taiwan (07 May 2007)
  • Guatemala - Taiwan (22 September 2005)
  • MERCOSUR - Peru (30 November 2005)
  • Mexico - EFTA (27 November 2000)
  • Mexico - EU (23 March 2000)
  • Mexico - Israel (10 April 2000)
  • Mexico - Japan (17 September 2004)
  • Mexico - Nicaragua (18 December 1997)
  • Mexico - Northern Triangle (29 June 2000)
  • Mexico - Uruguay (15 November 2003)
  • Panama - Singapore (01 March 2006)
  • Panama - Taiwan 21 (August 2003)
  • Peru - Singapore (29 May 2008)
  • Peru - United States (12 April 2006)
  • United States - Australia (18 May 2004)
  • United States - Bahrain (14 September 2004)
  • United States - Israel 22 April 1985
  • United States - Jordan (24 October 2000)
  • United States - Morocco (15 June 2004)
  • United States - Oman (19 January 2006)
  • United States - Singapore (06 May 2003)
Framework Agreements:
  • Andean Community - MERCOSUR (ACE56) (06 December 2002)
  • MERCOSUR - India (25 January 2004)
  • MERCOSUR - Mexico (ACE54) - framework agreement (05 July 2002)
  • MERCOSUR - Mexico (ACE55) - auto sector agreement (27 September 2002)
  • MERCOSUR - SACU Preferential trade agreement (16 December 2004)
Partial Preferential Agreements:
  • Argentina - Brazil (ACE No 14) (20 December 1990)
  • Argentina - Chile (02 August 1991)
  • Argentina - Mexico (ACE No 6) (28 November 1993)
  • Argentina - Paraguay (ACE No13) (06 November 1992)
  • Argentina - Uruguay (31 March 2003)
  • Bolivia - Chile (06 April 1993)
  • Brazil - Mexico (03 July 2002)
  • Brazil - Uruguay (30 September 1986)
  • CARICOM - Colombia (24 July 1994)
  • CARICOM - Venezuela (13 October 1992)
  • Chile - Colombia (06 December 1993)
  • Chile - Ecuador (20 December 1994)
  • Chile - Venezuela (02 April 1993)
  • Colombia - Costa Rica (02 March 1984)
  • Colombia - El Salvador (24 May 1984)
  • Colombia - Guatemala (01 March 1984)
  • Colombia - Honduras (30 May 1984)
  • Colombia - Mexico - Venezuela (ACE No 61)
  • Colombia - Nicaragua (AAP.AT25TM Nº 6) (02 March 1984)
  • Colombia - Panama (AAP.AT25TM Nº 29) (09 July 1993)
  • Costa Rica - Panama (08 June 1973)
  • Costa Rica - Venezuela (21 March 1986)
  • Dominican Republic - Panama (17 July 1985)
  • Ecuador - Paraguay (15 September 1994)
  • Ecuador - Uruguay (01 May 1994)
  • El Salvador - Venezuela (10 March 1986)
  • Guatemala - Venezuela (ACE No 23) (10 October 1985)
  • Guyana - Venezuela (27 October 1990)
  • Honduras - Panama (08 November 1973)
  • Honduras - Venezuela (20 February 1986)
  • Mexico - Panama (22 May 1985)
  • Mexico - Peru (29 January 1995)
  • Nicaragua -Venezuela (15 August 1985)
  • Trinidad and Tobago - Venezuela (04 August 1989)

Monday, September 7, 2009

Pre-Columbian Mesoamerica

ประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเมโซอเมริกา ยุคก่อนการค้นพบของโคลัมบัส


เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ข้าพเจ้าได้เริ่มเรียนหลักสูตรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศเม็กซิโก อันมีชื่อว่า Diplomada: 'Recorrrido por la Historia de Mexico" ของมหาวิทยาลัย UNAM

กลุ่มหน่วยกิตแรกซื่งมีระยะเวลาสองเดือน เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติอันเก่าแก่ในพื้นที่ซึ่งได้มีการตั้งชื่อว่า "mesoamerica" โดยอาจารย์ผู้ศึกษาชาติพันธุ์ นาย Paul Kirchhoff เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมากเสียจนอดใจไม่ได้ ต้องนำมาเขียนบันทึก เล่าสู่กันฟัง เผื่อมีเพื่อนคนไทยคนอื่น ๆ อาจมีความสนใจด้านนี้ด้วยกัน

ในขั้นแรก ต้องบอกเล่าให้ผู้ที่อาจสนใจว่า ประวัติศาสตร์เมโซอเมริกายุคก่อนคริสโตเฟอร์ คอลัมบัสค้นพบอมเริกา มีระยะเวลาตั้งแต่ประมาณห้าพันปีมาแล้ว จากปี 2500 ก่อนคริสตศักราชจนดึงช่วงการบุกเบิกอาณานิคมของอาณาจักรสเปนในศตวรรษที่ 16 โดยมีการแบ่งเป็นช่วงเวลาที่มีลักษณะต่างกันสามช่วงใหญ่ ได้แก่ Preclassic, Classic และ Post-Classic ซึ่งในแต่ละช่วงสามารถแยกย่อยเป็น Early/Middle/Late Preclassic หรือ บางครั้งเรียกว่า Early/Middle/Late Formative และอีกสองเวลาย่อย Early/Late Classic และ Early/Late Classic ตามที่แสดงไว้ในตารางตอนท้ายข้อความ

ยุคเมโซอเมริกาก่อนโคลัมบัสนี้ มีกลุ่มอารยธรรมเก่าแก่ที่น่าสนใจหลากหลายกลุ่ม ที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักมากที่สุดได้แก่ อารยธรรม Teotihuacan ซึ่งเป็นที่ตั้งของปิรามิตที่ใคร ๆ ที่อุตสาห์่บุกเดินทางมาถึงเม็กซิโกต้องไปสักการะ และกลุ่มอารยธรรม Olmec และ Maya ในชายฝั่งตะวันออกด้านอ่าวเม็กซิโกดินแดนของพายุเฮอริเคนซึ่งดุกว่าพายุใต้ฝุ่นแถบบ้านเรา

Thursday, September 3, 2009

Heineken sets up new headquarters in Panama

บริษัท Heineken ตั้งฐานการผลิตและสำนักงานภูมิภาคที่ปานามา

นาย Roberto Henríquez รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมประเทศปานามาได้ให้ข่าวว่า เงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนในประเทศปานามาได้มีผลชักจูงให้บริษัท Heineken ของประเทศเนเธอร์แลนต์ พิจารณาการสร้างโรงงานที่ปานามาเพื่อผลิตเบียร์สำหรับตลาดภูมิภาคอเมริกากลาง โดยจะเปิดสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคที่กรุงปานามาด้วย

ส่วนบริษัท Heineken ได้แจ้งข่าวว่า จะลงทุนเพิ่มร่วมกับบริษัท Florida Ice and Farm Co. ของประเทศคอสตาริกา เพื่อซื้อกิจการของกลุ่มผู้ผลิตเบียร์ Cervecerias Baru-Panama S.A. ซึ่งมีส่วนแบ่งการครองตลาดหนึ่งส่วนสี่ของตลาดปานามา มีกำลังการผลิตเท่ากับ 350,000 hectolitres จ้างงานประมาณ 650 คน ยี่ห้อที่วางขายได้แก่ Soberana, Panama และ Cristal โดยยอดขายประมาณ 26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ประเทศคอสตาริกา นิคารากัว และปานามามีประชากรรวมกันแล้วเท่ากับ 11.3 ล้านคน และมีค่าเฉลี่ยการดื่มเบียร์ประมาณ 28 ลิตรต่อหัว ซึ่งเท่ากับยอดขายประมาณ 3.2 ล้าน hectolitres ต่อปี

ข้อมูลเพิ่มเติม:
"Heineken will Set Up Base in Panama"
"Public offer in Panama"

Tuesday, September 1, 2009

Costa Rica opening up Telecom sector

คอสตาริกาเปิดเสรีภาคโทรคมนาคม

เมื่อเดือนมิถุนายน 2009 องค์กรโทรศัพท์แห่งคอสตาริกา SUTEL ได้ประกาศการรับจดทะเบียนบริษัทที่ประสงค์จะให้บริการอินเตอร์เน็ต VoIP และโครงสร้างโทรคมนาคมเพิ่มเติม ตามแผนการเปิดตลาดภาคโทรคมนาคมที่เป็นเงื่อนไขหนึ่งของความตกลงเขตการค้าเสรี CAFTA

บริการโทรคมนาคมในคอสตาริกาเดิมมีผู้ให้บริการเพียงผู้เดียว นั่นคือ องค์กรของรัฐ ICE (the Costa Rican Institute of Electricity)

บริษัทโทรคมนาคมต่างชาติมีความสนใจที่จะเจาะเข้าตลาดคอสตาริกาเนื่องจากประชากรของคอสตาริกาเป็นผู้ใช้โทรศัพท์มากตามจำนวนนาทีที่ใช้ เป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเท่านั้น บริษัทที่ได้เจาะเข้าตลาดโทรคมนาคมของคอสตาริกาโดยการจัดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารองรับไว้ล่วงหน้ามาสองสามปีแล้วได้แก่ บริษัทเม็กซิกัน America Movil และบริษัทของสเปน Telefonica ส่วนบริษัทอื่น ๆ ที่ได้ติดตามตลาดคอสตาริกาอย่างใกล้ชิดได้แก่ บริษัทอเมริกัน AT&T บริษัทอังกฤษ Digicel และบริษัทของประเทศจีน Huawei

ปัจจุบันมีบริษัท AMNET เพียงแห่งเดียวที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตรวมกับเคเบิ้ลทีวี โดยมีบริษัทอื่น ๆ ที่รอรับการอนุมัติจาก SUTEL ได้แก่ บริษัท CableTica บริษัท Costa Rican Internet Service Provider (CRISP) บริษัท Cablevision บริษัท Super Cable และบริษัท Radiográfica Costarricense (RASCA)

องค์กรการไฟฟ้าแห่งคอสตาริกาได้ทำการวิจัยตลาดเกี่ยวกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเมื่อเดือนมีนาคม ปี2009 พบว่า ร้อยละ 46 ของบ้านเรือนประมาณ 565,000 แห่งในคอสตาริกามีคอมพิวเตอร์ในบ้าน และร้อยละ 45 ของบ้านเรือนใช้บริการอินเตอร์เน็ตอยู่ เป็นตัวเลขที่ได้เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปี 2005 ที่พบว่ามีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพียงร้อยละ 22

SUTEL ได้ประกาศอนุมัติผู้ให้บริการใหม่ในขั้นแรกแก่หกบริษัท และต่อมาได้ประกาศเพิ่มอีก 13 บริษัท มีผู้เข้าคิวขอจดทะเบียนการให้บริการโทรคมนาคมด้านต่างๆ เป็นประมาณ 500 บริษัท โดยผู้ขอขึ้นทะเบียนประมาณ 300 บริษัทเป็นผู้ให้บริการขนาดเล็ก เช่น internet cafe และบริการ WiFi

ข้อมูลเพิ่มเติม:
Costa Rica: SUTEL completes integration
Costa Rica Enters CAFTA, Agrees To Open Telecom
Multinationals Set Eyes on Costa Rica Telecom Industry

Thursday, August 27, 2009

Litchi cultivation in Mexico

การเพาะปลูกลิ้นจี่ในประเทศเม็กซิโก

ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรพาณิชย์ของเม็กซิโก ASERCA ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเพาะปลูกลิ้นจี่ ร่วมกับศูนย์วิจัย CIESTAAM มหาวิทยาลัย Chapingo รัฐ Estado de Mexico สรุปใจความของรายงานได้ดังต่อไปนี้

(รายงานเป็นภาษาเสปนนิชรวมประมาณ 200 หน้า: www.aserca.gob.mx/sicsa/proafex/LITCHI_MEXICANO.pdf)

การเพาะปลูกลิ้นจี่ในระดับใหญ่เพื่อการค้าในประเทศเม็กซิโก ได้เริ่มต้นโดย ครอบครัว Redo de Culiacán ที่รัฐ Sinaloa ได้นำแม่พันธุ์มาจากประเทศจีน มาเป็นเวลานานประมาณร้อยปีแล้ว

ในระหว่างปี 1960-1980 รัฐบาลของเม็กซิโกได้พยายามส่งเสริมการขยายการปลูกผลไม้ในเชิงพาณิชย์หลากหลายชนิด โดยการรณรงค์ของสภาผลไม้แห่งชาติ (CONAFRUT) สถาบันวิจัยป่าไม้ เกษตร และปศุสัตว์ (INIFAP) สถาบันกาแฟแห่งเม็กซิโก (INMECAFE) และเกษตรกรอิสระ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากการขาดประสบการณ์ในการเพาะปลูก และขาดการส่งเสิรมทางการตลาดเพื่อให้ผลไม้ที่ได้รับการส่งเสริมใหม่ได้รับการยอมรับของผู้บริโภคท้องถิ่น

ปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้รัฐบาลเม็กซิโกหันมาส่งเสริมการปลูกผลไม้เชิงเกษตร โดยเฉพาะลิ้นจี่ ได้แก่การที่ราคากาแฟตกต่ำ และการวิจัยการเกษตรได้บ่งชี้ว่า ผลไม้ที่เหมาะแก่การปลูกทดแทนกาแฟได้แก่ maracuyá macademia และลิ้นจี่

มีการเก็บสถิติเกี่ยวกับพื้นที่การเพาะปลูกลิ้นจี่จากปี 1976 เป็นต้นมา โดยมีการบันทึกตัวเลขพี้นที่การเพาะปลูกลิ้นจี่ในปีนั้น ทั้งหมด 1.82 ล้านตารางเมตร ซึ่งพื้นที่ 1.8 ล้านตารางเมตรเป็นพื้นที่การเพาะปลูกลิ้นจี่ในรัฐ Sinaloa เพียงรัฐเดียว อีก 2 หมื่นตารางเมตรเป็นพื้นที่การเพาะปลูกในรัฐ Nayarit สถิติปี 1996 แสดงพื้นที่การเพาะปลูกลิ้นจี่จำนวน 102 ล้านตารางเมตร โดยเขตการเพาะปลูกได้ขยายไปสู่รัฐอี่น ๆ นอกเหนือจาก Sinaloa อันได้แก่ รัฐ San Luis Potosí, Nayarit, Puebla, Veracruz, Oaxaca, Baja California Sur, Coahuila, Campeche, Chiapas และ Hidalgo ทั้งนี้ การเก็บตัวเลขยอดขายของต้นอ่อนลิ้นจี่จากธุรกิจเพาะต้นอ่อนบ่งชี้ว่า เกษตรกรมีความสนใจขยายการเพาะปลูกลิ้นจี่มากพอสมควร

การบริโภคลิ้นจี่ภายในประเทศยังไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคโดยทั่วไป ผู้ซื้อผลไม้ในเม็กซิโกมีความเห็นว่า ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่แปลก (exotic) และมีราคาแพง เมื่อเทียบกับผลไม้พื้นเมืองหรือผลไม้ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ที่มีหลายหลายประเภทและราคาพอประมาณ

โครงสร้างการขนส่งจากผู้ผลิตลิ้นจี่ไปยังตลาดขายส่งผลไม้ตามภูมิภาคต่าง ๆ ยังขาดการพัฒนา และมีการแบ่งตลาดในระดับภูมิภาค โดยการเพาะปลูกในพื้นที่ San Luis Potosí เน้นการส่งขายในพื้นที่ใกลัเคียง โดยรัฐ Puebla, Veracruz และ Nayarit เน้นการส่งไปยังศูนย์ขายส่งผลไม้ CEDA ของกรุงเม็กซิโก ซึ่งเป็นศูนย์จำหน่ายขายส่งผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นแหล่งป้อนผลไม้ให้กับเครือข่ายห้างสรรพสินค้าสำคัญ ๆ เช่น Aurrera, Superama, Chedraui และ Gigante รวมทั้งการขายส่งให้กับร้านอาหารและโรงแรม ส่วนรัฐอื่น ๆ ส่งขายไปตามศูนย์จำหน่ายผลไม้ (Centrales de Abasto) ของรัฐต่าง ๆ

การเพาะปลูกลิ้นจี่ในเชิงเกษตรพาณิชย์ จึงมีโอกาสของการตลาดขึ้นอยู่กับการส่งออกเป็นหลัก โดยมีรัฐ Sinaloa และ Nayarit เน้นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ส่วนรัฐ Veracruz มุ่งส่งออกไปยังญี่ปุ่นและยุโรป ซึ่งใช้บริการโครงสร้างเพื่อการส่งออกผลไม้ที่มีอยู่ดั้งเดิมในพื้นที่เหล่านี้

การส่งออกลิ้นจี่ของเม็กซิโกยังขาดคุณภาพ และประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น การขาดการสนบสนุนทางการเงิน การขาดงบประมาณการรณรงค์การขาย หรือการเริ่มโครงการใหม่โดยขาดประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลต้น และความไม่คุ้นเคยเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูกที่จะให้ผลผลิตงอกงามเต็มที่ โดยรวมแล้ว

ทั้งเกษตรกรและผู้ส่งออกขาดการผสมผสานรวบรวมข้อมูลความรู้และประสบการณ์จากการเพาะปลูกผลไม้อื่น ๆ มาใช้ปรับปรุงการผลิตลิ้นจี่ รวมทั้งการขาดการพัฒนาการตลาดสำหรับผู้บริโภคภายในประเทศ
ผลไม้ที่สามารถขยายการผลิตในเชิงพาณิชย์อื่น ๆ มีโอกาสหลายประเภท แต่ไม่ได้รับการส่งเสริม ขาดความรู้ด้านเทคนิค ขาดการวิจัย และมีตลาดแคบ

ศูนย์ส่งเสริมเกษตรพาณิชย์เม็กซิโก ได้เสนอแนะว่าควรมีการตั้งองค์กรรวมสำหรับการส่งเสริมผลไม้ (Patronato de Frutas Exóticas) โดยใช้ลิ้นจี่เป็นผลไม้นำทาง เนื่องจากลิ้นจี่เป็นผลไม้ส่งออกที่มีผลตอบแทนในเชิงพาณิชย์สูง และควรส่งเสริมการเพาะปลูกผลไม้อื่น ๆ ที่มีพันธุ์ผลไม้ใกล้เคียง เช่น เงาะ ลำใย หรือ pulasan (เงาะขนสั้น) โดยควรจะมีเป้าหมายพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตได้คุณภาพดี และส่งขายได้ตลอดปี ลดความผันผวนของการผลิตตามฤดูกาล รวมทั้งความจำเป็นในการวิจัยค้นหาวิธีการเพิ่ม storage shelf life ทั้งนี้ รายงานดังกล่าว ได้บ่งชี้ว่าฤดูกาลผลิตลิ้นจี่ของเม็กซิโก มีความได้เปรียบในช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่การผลิตโลกไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดยุโรป

ปัญหาสำคัญของผลผลิตลิ้นจี่จากเม็กซิโกที่เป็นปัจจัยลดความแข่งขันด้านการขาย ได้แก่ การเสียคุณภาพเร็ว เปลือกดำง่าย ลูกเล็ก การเก็บเกี่ยวไม่ถูกเวลา การรักษาหลังเก็บเกี่ยวและการบรรจุยังขาดการพัฒนา

Thursday, August 6, 2009

Mexican silver jewelry

การผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับเงินในประเทศเม็กซิโก

แหล่งการผลิตดั้งเดิม

ประเทศเม็กซิโกเป็นแหล่งผลิตแร่เงินอันเก่าแก่ตั้งแต่ยุคสมัยของอารยธรรม Aztec และต่อมาราชอาณาจักรเสปนในยุคคริสศัตวรรษที่ 16 ได้พัฒนาการขุดเหมืองเงินในระดับอุตสาหกรรมและส่งออกเงินในจำนวนมากสืบมาถึงปัจจุบัน ทำให้เม็กซิโกเป็นผู้ผลิตเงินอันดับสองของโลกรองจากประเทศเปรู ปริมาณการผลิตประมาณ 104 ล้านเอานซ์ หรือประมาณร้อยละ 15 ของโลก ผู้ผลิตแร่เงินรายใหญ่ของเม็กซิโก ได้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมม Peñoles, Sombrerete และ Fresnillo เหมืองขุดเงินสำคัญ ๆ ตั้งอยู่ที่รัฐ Zacatecas เป็นส่วนใหญ่

คุณภาพที่ดี และดีไซน์หลากหลาย

คุณภาพของเครื่องประดับเงินของเม็กซิโกเป็นที่ขึ้นชื่อ และได้รับความไว้วางใจจากผู้ซื้ออย่างมาก โดยส่วนผสมของเงินมีตั้งแต่มาตรฐานของ sterling silver หรือ 925 ไปถึงส่วนผสมเงินที่สูงขึ้นและมีการประทับตราลัษณะ 940, 950, 958, 960, 970, 980 และ 990 เป็นต้น เป็นเงินที่รักษาความขาวได้ยาวนานกว่าเครื่องประดับเงินของไทย

การดีไซน์เครื่องประดับเงินของเม็กซิโกมีความเป็นเอกลักษณ์ ใช้ความคิดริเริ่ม ความหลากหลาย และความละเอียดอ่อน ที่เป็นที่ถูกใจกับรสนิยมทั้งอเมริกันและยุโรป โดยการฝึกวิชาชีพช่างออกแบบและช่างประดิษฐ์เครื่องประดับเงินสามารถหาได้ทั่วประเทศและเป็นที่นิยม นอกจากนี้แล้ว ยังมีช่างดีไซน์ที่ได้พัฒนา trademark ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางหลายคน เช่น ในระดับช่างเก่าแก่ (vintage silver masters) ได้แก่ William Spratling, Margot de Taxco, Antonio Pineda, Sigi Pineda, Hector Aguilar, Los Castillo, Victoria, Ana Brilante, Cony, Tono, Salvador Teran, Frederick Davis และ Los Ballesteros และช่างเครื่องประดับเงินสมัยใหม่ ที่มีร้านบูติก และแฟรนไชส์กว้างขวาง ได้แก่ Daniel Espinosa, TaneBerger, Bizarro และ Tanya Moss เป็นต้น

การตลาด

ศูนย์กลางการผลิตเงินเก่าแก่ตั้งอยู่ที่เมือง Taxco ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ที่มีสถาปัตยกรรมโบราณที่ขึ้นชื่อ และได้ขึ้นทะเบียนเป็น World Heritage Site ยังคงเป็นศูนย์กลางการค้าเงินที่สำคัญ มีร้านขายเครื่องประดับเงิน รายย่อยกว่าพันราย และมีการจัดเทศกาลเงินทุกปี ในวันอาทิตย์แรกของเดือนธันวาคม นอกจากเมือง Taxco แล้ว ยังได้มีศูนย์กลางการขายเงินที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ที่รัฐอื่น ๆ เช่น รัฐ Puebla Guanajato และ Chaipas สำหรับในเขตเม็กซิโกซิตี้ มีตลาดงานหัตถกรรมสำคัญ 2 แห่ง ที่มีการขายเงินให้แก่นักท่องเที่ยว คือ La Cuidadela และ Mercado Insurgentes Zona Rosa

การที่ประเทศเม็กซิโกเป็นผู้ผลิตแร่เงินรายใหญ่ ย่อมหมายความว่าผู้ผลิตเครื่องประดับเงินภายในประเทศเม็กซิโก มีความได้เปรียบด้านต้นทุนที่ต่ำกว่าผู้ผลิตเครื่องประดับประเทศอื่นๆ ที่ต้องนำเข้าเงินเพื่อทำการแปรรูป

ผู้ผลิตเครื่องประดับเงินในเม็กซิโกไม่ได้รับการสนับสนุนโดยเฉพาะแต่อย่างใดจากรัฐบาลของเม็กซิโก นอกเหนือไปจากการส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อมโดยทั่วไป การขายเครื่องประดับเงินเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงโดยผู้ขายมีตั้งแต่ การหาบเร่การขายตามงานเทศกาล การเปิดร้านเครื่องประดับตามเมืองต่างๆ การรวมกลุ่มร้านตามตลาดหัตถกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยม การออกงานนิทรรศการ และการขายออนไลน์

งานแสดงเครื่องประดับระดับระหว่างประเทศที่ใหญี่ที่สุดในเม็กซิโก ซึ่งเป็นแหล่งการพบปะระหว่างผู้ส่งออกและผู้นำเข้า มีทั้งการขายปลีกและขายส่ง เป็นงานแสดงสินค้าเครื่องประดับที่จัดขึ้นโดยกลุ่มหอการค้าเครื่องประดับรัฐ Jalisco ซื่อ Joya จัดขึ้นทุก ๆ เดือนตุลาคมที่เมือง Guadalajara

แหล่งข้อมูล:
http://www.silverinstitute.org/
http://www.camaradejoyeria.com.mx/
http://www.mineweb.net/mineweb/view/mineweb/en/page34?oid=18829&sn=Detail
http://hubpages.com/hub/Antique-and-Vintage-Mexican-Silver
http://www.silverhuntress.com/links.html

Honduran political crisis halts investment in tourism sector

วิกฤตการณ์ทางการเมืองประเทศฮอนดูรัส

วิกฤตการณ์ทางการเมืองของประเทศฮอนดูรัส ที่เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมืองในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และอาจเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นในความมั่นคงของการเจริญเติบโดทางเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ทั้งนี้ การปะทะกำลังกันระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนนาย Zelaya กับฝ่ายที่คัดค้าน อาจจะขยายเป็นสงครามกลางเมืองได้อย่างง่ายดายและย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องเลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

รัฐบาลของนาย Zelaya เดิมมีกำหนดจะหมดวาระในเดือนตุลาคม 2009 แต่นาย Zeleya ได้พยายามที่จะให้มีการลงประชามติเพี่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อต่ออายุการดำรงตำแหน่งประธานาธบิดี ซึ่งศาลสูงของประเทศได้ลงมติว่า ขัดกับรัฐธรรมนูญ และเมื่อนาย Zelaya ได้ยืนยันให้มีประชามติ กลุ่มผู้นำทางทหารของฮอนดูรัสจึงบุกทำเนียบจับส่งประธานาธิบดี Munuel Zelaya ออกนอกประเทศและได้สั่งห้ามไม่ให้เดินทางกลับประเทศ

ประเทศต่างๆ ได้ประนามว่า การกระทำดังกล่าว เป็นเสมือนการรัฐประหาร และนาย Zelaya ควรได้กลับประเทศฮอนดูรัสเพื่อดำรงตำแหน่งให้ครบวาระ องค์กรสหประชาชาติได้ลงประชามติเมื่อวันอังคาร ที่ 30 มิถุนายน ประนามการปฏิบัติดังกล่าว และต่อมานาย Zelaya ได้เดินทางไปเยี่ยมประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ เพื่อขอการสนับสนุนฐานะของตน ประเทศที่ได้แสดงการประท้วงอย่างชัดเจนได้แก่ สหรัฐฯ ซึ่งได้ยกเลิกความช่วยเหลือทางทหาร และประเทศสเปนและฝรั่งเศส ซึ่ได้ถอนทูตออกจากประเทศฮอนดูรัส

ประธานาธิบดีของคอสต้าริกา นาย Óscar Arias ได้พยายามไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างสองฝ่าย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และการประชุมผู้นำ Tuxtla Summit ของสามประเทศ เม็กซิโก คอสต้าริกา และกัวเตมาลา ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนให้นาย Zelaya ได้กลับประเทศ

วิกฤตการณ์ทางการเมืองดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนด้านการท่องเที่ยวในฮอนดูรัสโดยทันที เป็นเหตุให้เงินลงทุนในภาคนี้หยุดชะงัก มีการถอนทุน โดยนักธุรกิจต่างกลัวว่าจะมีการลดค่าเงิน แต่ก็มีกลุ่มนักธุรกิจที่แสดงท่าทีสนับสนุนรัฐบาลที่ได้แต่งตั้งขึ้นชั่วคราว ว่าเป็นการป้องกันอิสระภาพของประเทศ โดยกล่าวว่ากลุ่มธุรกิจต่าง ๆ สามารถทน การ sanction จากต่างประเทศได้ถึง 3-4 เดือน ให้ถึงวาะการเลือกตั้งใหม่ในเดือนตุลาคม

Costa Rican Economy shows signs of recovery

เศรษฐกิจคอสต้าริกา แสดงแนวโน้มผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกลดลง

เมื่อสิ้นเดือนกรกฏาคมนี้ สภาหอการค้าอเมริกันแห่งประเทศคอสต้าริกา ได้จัดการสัมมนาเรื่องภาวะเศรษฐกิจของคอสต้าริกา โดยธนาคารแห่งชาติของคอสต้าริกา ได้รายงานว่า เศรษฐกิจของคอสต้าริกาเริ่มแสดงภาวะฟื้นฟูจากผลกระทบของวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก โดยผลผลิตชาติได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเดือนกรกฏาคม และภาวะเงินเฟ้อได้ลดลง ถึงแม้ว่าภาวะของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะยังคงซบเซาอยู่

ปัจจัยที่จะช่วยให้เศรษฐกิจคอสต้าริกาดีขึ้นในปีนี้ ได้แก่

  • การเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกรคม ของความตกลง The Dominican Republic-Central America Free-Trade Agreement (DR-CAFTA) ซึ่งมีเงื่อนไขการเปิดเสรีภาคการสื่อสารและภาคอุตสาหกรรมการประกัน จะเป็นแรงชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศ
  • แผนการกระต้นเศรษฐกิจ Plan Escudo ที่ได้เริ่มเมื่อเดือนมิถุนายน รวมทั้งมาตรการประกันสังคมที่ได้เริ่มใหม่
  • และโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาเมืองท่า Limón ซึ่งได้รับเงินลงทุนจำนวน $80 ล้านเหรียญฯ จะช่วยกระตุ้นการก่อสร้างต่อเนื่องและย่อมมีผลในการสร้างงานเพิ่มในระยะ 2-3 เดือนข้างหน้า
ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของคอสต้าริกาอยู่ในภาวะสมดล โดยมีเงินสำรองระหว่างประเทศ $170 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังมีความตกลงstand-by arrangement กับ IMF เพื่อถอนเงินฉุกเฉินเพื่อหนุนเงินทุนสำรองได้จำนวน 375 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การฟื้นฟูของเศรษฐกิจภายในปีนี้ จะส่งผลต่อการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ในเดือนกุมภาพันธุ์ 2010 โดยมีแนวโน้มว่าพรรค Partido Liberación Nacional –PLN ของประธานาธบดี Óscar Arias จะได้เข้ามาเป็นรัฐบาลอีก และคาดว่าภายหลังการเลือกตั้งในปีหน้า จะมีการผลักดันการปรับโครงสร้างภาษีการเงินเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจต่อไป

Thursday, July 16, 2009

CEMEX seeks to extend bank debt

ภาวะตลาดปูนซีเมนต์ในเม็กซิโก และ สถานะหนี้ของบริษัท Cemex

หอการค้าซีเมนต์แห่งเม็กซิโก CANACEM (Camara Nacional del Cemento) รายงานภาวะการผลิตปูนซีเมนต์ในปี 2008 ว่า ได้มีปริมาณการผลิตเท่ากับ 37.1 ล้านตัน โดยการบริโภคภายในประเทศสำหรับปีเดียวกันเท่ากับ 35.1 ล้านตัน เทียบเท่ากับปริมาณการใช้ปูนประชากร 329 กิโลกรัมต่อคน

ตลาดผู้ใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเม็กซิโกสามารถแบ่งได้ตามกลุ่มผู้ใช้ ได้แก่ ภาครัฐบาล ร้อยละ 9.8 การก่อสร้างอย่างเป็นรูปแบบ ร้อยละ 9.9 ผู้ใช้สำหรับทำการก่อสร้างเอง ร้อยละ 3.7 บริษัททำการแปรรูป ร้อยละ 9.9 และบริษัทผู้ผลิตคอนกรีต ร้อยละ 20.1

บริษัท Cemex เป็นผู้ผลิตรายปูนรายใหญ่ที่สุดของเม็กซิโก มีโรงงานผลิตปูน 15 แห่ง กำลังการผลิต 27.2 ล้านตันต่อปี มีโรงงานผลิตคอนกรีต 211 แห่ง ศูนย์การจำหน่าย 67 แห่ง และท่าขนส่งทางทะเล 8 แห่ง

ผู้ผลิตอันดับสองของประเทศได้แก่ บริษัท Holcim Apasco ซึ่งบริิษัท Holcim ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ผู้ผลิตปูนอันดับสองของโลกได้เข้าซื้อกิจการของ Apasco ที่เป็นผู้ผลิตปูนเม็กซิกันที่เริ่มการผลิตที่รัฐเม็กซิโกเมื่อปี 1928 มีโรงงาน 6 แห่ง เน้นรัฐทางชายฝั่งตะวันออกของเม็กซิโก มีกำลังการผลิต 10.3 ตันต่อปี โรงงานการผลิตคอรกรีต 8 แห่ง ศูนย์การจำหน่าย 23 แห่ง ท่าขนส่งทางทะเล 2 แห่ง และมีศูนย์การวิจัยพัฒนาปูนแห่งหนึ่ง

บริษัท ผู้ผลิตปูนรายย่อยอื่น ๆ ได้แก่

  • บริษัท Cementos Moctezuma มีโรงงาน 2 แห่งที่รัฐ San Luis Potosi และ Morelos ก่อตั้งเมื่อปี 1943 มีกำลังการผลิตปูน 2.5 ล้านตัน และความสามารถในการผลิตคอนกรีต 500,000 คูบิกเมตร
  • บริษัท GCC Cemento มีโรงงาน 3 แห่งอยู่ที่รัฐ Chihuahua มีกำลังการผลิตปูน 3.3 ล้านตัน
  • บริษัท Lafarge Cementos โรงงานทั้ง 2 แห่งอยู่รัฐ Hidalgo
  • กลุ่มสหกรณ์ Corperativa La Cruz Azul มีโรงงาน 2 แห่ง ที่รัฐ Hidalgo
  • และบริษัท Cementos y Concretos มีโรงงาน 2 แห่ง ที่รัฐ Puebla และ Aguascalientes
สภาหอการค้าซีเมนต์แห่งเม็กซิโก ได้กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า อุตสาหกรรมซีเมนต์ในเม็กซิโกเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในประเทศ มีการแข่งขันในระดับสูง การผลิตเทียบเท่าได้กับระดับของประเทศพัฒนาแล้วอย่างเช่น สหรัฐฯ เยอรมัน อิตาลี และ ญีปุ่น โดยเม็กซิโกเป็นผู้ผลิตและการบริโภคซีเนนต์ในระดับ 15 ประเทศต้น ๆ ของโลก

ภาวะการผลิตการจำหน่ายซีเมนต์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในระยะสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในภาคเหนือของเม็กซิโก ซึ่งมีการก่อสร้างสาธารณูปโภค โรงพยาบาล โรงงาน โกดัง ศูนย์การค้า และการเคหะ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะได้รับการกระตุ้นจากเขตการค้าเสรี NAFTA ในขณะที่ภาคกลางที่มีโครงสร้างพื้นฐานพัฒนาเต็มที่แล้ว และภาคใต้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจล้าช้ากว่าภาคอื่น ๆ

สถานะหนี้ของบริษัท Cemex

การซื้อบริษัท Rinker ของออสเตรเลียเมื่อต้นปี 2008 ได้สร้างภาระหนี้ให้กับ Cemex จำนวน 15 พันล้านเหรียญ ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกหดตัวเนื่องจากวิกฤตการณ์อสังหริมทรัพย์ของสหรัฐฯ บวกกับการลดค่าเงินเปโซ การระบาดของไข้หวัด N1H1 ในกลางปี ยอดขายที่ลดลงในตลาดส่งออกหลัก ๆ อันได้แก่ สหรัฐฯ สเปน และอังกฤษ รวมทั้งการที่ประธานาธิบดี Chavez ได้ยึดโรงงานผลิตปูนของ Cemex ที่เวเนซูเอลา ล้วนแต่กระทบต่อยอดขายและรายได้ของ Cemex เป็นเหตุให้ผลกำไรในไตรมาสที่สองของปี 2009 ตกต่ำกว่าช่วงเดียวกับของปีก่อนถึงร้อยละ 63

บริษัท Cemex ได้พยายามลดภาระหนี้หลายทาง เช่น การขายส่วนหนึ่งของกิจการในประเทศออสเตรเลียให้กับบริษัท Holcim มูลค่า 1.6 พันล้านเหรียญฯ พยายามขายพันธบัตรมูลค่ารวม 500 ล้านเหรียญฯ เมื่อเดือนมีนาคม แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในที่สุดได้เริ่มการเจรจากับธนาคารเจ้าหนี้ เพื่อยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้คืนจากกำหนดเดิมในปี 2011 ออกไปถึงปี 2014

แหล่งข้อมูล:

CANACEM (Camara Nacional del Cemento)
Cemex
Wall Street Journal, "Cemex seeks to extend bank debt"
Reuters, "Cemex to post weak 2nd quarter results"