Google Website Translator

Tuesday, September 29, 2009

Switzerland, Mexico Sign Revised Double Tax Agreement

ประเทศสวิสเซอร์แลนด์แก้ไขความตกลงยกเว้นภาษีซ้อนกับเม็กซิโก
 
รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ได้ให้ข่าว เมื่อวันจันทร์ที่ 29 กันยายน 2009 ว่าได้ลงนามความตกลงของแก้ไขความตกลงภาษีซ้อนระหว่างสวิสเซอร์แลนด์และเม็กซิโก ในเรื่องภาษีรายได้ รวมทั้งได้มีข้อตกลงที่สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD เกี่ยวกับความช่วยเหลือในการบริหาและการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยประเทศเม็กซิโกเป็นประเทศที่ 7 ที่สวิสเซอร์แลนด์ได้ขอแก้ไขความตกลงการยกเว้นภาษีซ้อนให้สะท้อนมาตรฐานใหม่ดังกล่าว
 
ทั้งนี้ เงื่อนไขใหม่สำหรับการเก็บภาษี ได้แก่
  1. เงินปันผลของหุ้นส่วนที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 จะเก็บภาษีในประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้ถือหุ้น (ซึ่งเป็นการให้เปรียบแก่ผู้ถือหุ้นสิวส) และจะต้องลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย (withholding tax) เป็นร้อยละ 5 และ 10 แทน 
  2. นักลงทุนสวิสเซอร์แลนด์จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเปรียบเสมือนชาวเม็กซิกัน ในการรับจ่ายดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (license fees)
ประเทศเม็กซิโกมีความตกลงการยกเว้นภาษีซ้อนกับประเทศสำคัญๆ ได้แก่ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักรฯ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และอินเดีย

แหล่งข่าว:  NASDAQ, "Switzerland, Mexico Sign Revised Double Tax Agreement"

Wednesday, September 9, 2009

IV Round FTA China - Costa Rica in September

ความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างคอสตาริกาและจีน

ประเทศคอสตาริกาได้จัดตั้งกลุ่มทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศจีน และได้พบกันในรอบแรกเมื่อประธานาธิบดีจีนได้เยือนคอสตาริกาในเดือนมกรคม 2008 และการประชุมครั้งที่สองและสามได้พบกันที่กรุงปักกิ่ง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2008 และที่เมือง Puntarenas คอสตาริกา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2008 ตามลำดับ เป็นได้ให้มีการลงนาม MOU เพื่อเริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2008 โดยมีการเจรจารอบแรกที่คอสตาริกาเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2009 และรอบสองที่กรุงเซี่ยงไฮ้ในเดือนเมษายน 2009 และรอบที่สามที่เมือง San Jose ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2009 การเจรจรรอบทีสี่จะเกิดขิ้นในเดือนกันยายน 2009

ประเทศคอสตาริกาได้เสนอการเปิดเสรี ยกเว้นการเก็บภาษีประมาณร้อยละ 70 ของสินค้านำเข้าจากจีน ในขณะที่จีนต้องการให้คอสต้าริกาเพิ่มการเปิดตลาดให้เท่ากับปริมารที่ประเทศจีนเสนอ นั่นคือร้อยละ 95 โดยคอสตาริกาไม่ผ่อนปรนภาษีสำหรับสินค้าบางชนิดจากประเทศจีนที่อาจมีผลกระทบต่อตลาดภายในสูง ในขณะที่ประเทศจีนก็ไม่ยอมเปิดเสรีสินค้าที่คอสตาริกาสนใจจะส่งออกไปยังประเทศจีน อันได้แก่สินค้าเกษตรสำคัญของคอสตาริกา อันได้แก่ น้ำตาล เนื้อสัตว์ น้ำผลไม้ และกาแฟ ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเจรจา

ประเทศจีนมีความสนใจที่จะใช้คอสตาริกาเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังคู่ค้าที่มีเขตการค้าเสรีกับคอสตาริกา เช่น สหรัฐฯ เม็กซิโก และกลุ่มประเทศอเมริกากลางอื่น ๆ และมีความสนใจเกี่ยวกับการลงทุนในด้านปศุสัตว์และการท่องเที่ยวอีกด้วย ในขณะที่คอสตาริกาหวังว่าตลาดจีนซึ่งมีความสำคัญอยู่แล้ว อาจจะเปิดโอกาสการส่งออกไปยังประเทศในทวีปเอเชียอื่น ๆ อีกด้วย

มีนักธุรกิจคอสตาริกากลุ่มหนึ่งที่คิดว่า คอสตาริกาจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบในความตกลงดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าประเทศจีนหวังใช้ตำแหน่งของคอสตาริกาในเชิง geopolitics มากกว่าทางการค้า นอกจากนี้แล้ว คอสตาริกาได้รับความช่วยเหลือด้านความเชี่ยวชาญจากประเทศชิลีเกี่ยวกับวิธีการต่อรองการเจรจา โดยชิลีมีประสบการณ์การเจรจรความตกลงการค้ามาแล้วกว่า 50 ฉบับ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
กระทรวงการค้าต่างประเทศคอสตาริกา: COMEX
SICE (มีรายงานสรุปเจรจาในแต่ละรอบเป็นภาษาสเปน)
วารสารและหน้าเวป Central American Data, บทความ "IV Round FTA China - Costa Rica in September"

Tuesday, September 8, 2009

Trade Agreements of American States

สำนักงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ (Sistema de Información sobre Comercio Exterior-SICE) ขององค์กรรัฐอเมริกัน (Organizaion of American States-OAS) รายงานข้อมูลเกี่ยวกับความตกลงค้าที่ประเทศอเมริกาเหนือ-ใต้และกลาง ของทั้ง 35 ประเทศสมาชิกว่า มีพันธะกรณีไว้ สามารถแยกประเภทเป็น
  1. ความตกลงพหุภาคี (Multilateral Agreement: WTO) 1 ความตกลง
  2. สหภาพศุลกากร (Customs Union) 4 แห่ง
  3. ความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreements) 51 ฉบับ
  4. กรอบความตกลง (Framework Agrements) 5 แห่ง
  5. ความตกลงสิทธิพิเศษกึ่งรูปแบบ (Partial Preferential Agreements) 34 ฉบับ
ดังรายการและวันที่ลงนามต่อไปนี้

Customs Unions:
  • Andean Community
  • Caribbean Community (CARICOM)
  • Central American Common Market (CACM)
  • MERCOSUR
Free Trade Agreements:
  • Andean countries (Colombia, Ecuador, Venezuela) - MERCOSUR (ลงนามวันที่ 18 October 2004)
  • Bolivia - MERCOSUR (17 December 1996)
  • Bolivia - Mexico (10 September 1994)
  • Canada - Chile (05 December 1996)
  • Canada - Costa Rica (23 April 2001)
  • Canada - EFTA 26 (January 2008)
  • Canada - Israel (31 July 1996)
  • Canada - Peru (29 May 2008)
  • Canada - Mexico-United States (NAFTA) (17 December 1992)
  • CARICOM - Costa Rica (09 March 2004)
  • CARICOM - Dominican Republic (22 August 1998)
  • CARIFORUM - European Union 15 (October 2008)
  • Central America - Chile 18 (October 1999)
  • Central America-Dominican Republic (16 April 1998)
  • Central America - Dominican Republic - United States (DR-CAFTA) (05 August 2004)
  • Central America - Panama (06 March 2002)
  • Chile - Australia (30 July 2008)
  • Chile - China (18 November 2005)
  • Chile - Colombia (27 November 2006)
  • Chile - EFTA (26 June 2003)
  • Chile - EU (18 November 2002)
  • Chile - Japan (27 March 2007)
  • Chile - Korea (15 February 2003)
  • Chile - MERCOSUR (25 June 1996)
  • Chile - Mexico (17 April 1998)
  • Chile - New Zealand, Singapore and Brunei Darussalam (P4) (18 July 2005)
  • Chile - Peru (22 August 2006)
  • Chile - Panama (27 June 2006)
  • Chile - United States (06 June 2003)
  • Colombia - Mexico-Venezuela (Group of Three) (13 June 1994)
  • Costa Rica - Mexico (05 April 1994)
  • El Salvador - Taiwan (07 May 2007)
  • Guatemala - Taiwan (22 September 2005)
  • MERCOSUR - Peru (30 November 2005)
  • Mexico - EFTA (27 November 2000)
  • Mexico - EU (23 March 2000)
  • Mexico - Israel (10 April 2000)
  • Mexico - Japan (17 September 2004)
  • Mexico - Nicaragua (18 December 1997)
  • Mexico - Northern Triangle (29 June 2000)
  • Mexico - Uruguay (15 November 2003)
  • Panama - Singapore (01 March 2006)
  • Panama - Taiwan 21 (August 2003)
  • Peru - Singapore (29 May 2008)
  • Peru - United States (12 April 2006)
  • United States - Australia (18 May 2004)
  • United States - Bahrain (14 September 2004)
  • United States - Israel 22 April 1985
  • United States - Jordan (24 October 2000)
  • United States - Morocco (15 June 2004)
  • United States - Oman (19 January 2006)
  • United States - Singapore (06 May 2003)
Framework Agreements:
  • Andean Community - MERCOSUR (ACE56) (06 December 2002)
  • MERCOSUR - India (25 January 2004)
  • MERCOSUR - Mexico (ACE54) - framework agreement (05 July 2002)
  • MERCOSUR - Mexico (ACE55) - auto sector agreement (27 September 2002)
  • MERCOSUR - SACU Preferential trade agreement (16 December 2004)
Partial Preferential Agreements:
  • Argentina - Brazil (ACE No 14) (20 December 1990)
  • Argentina - Chile (02 August 1991)
  • Argentina - Mexico (ACE No 6) (28 November 1993)
  • Argentina - Paraguay (ACE No13) (06 November 1992)
  • Argentina - Uruguay (31 March 2003)
  • Bolivia - Chile (06 April 1993)
  • Brazil - Mexico (03 July 2002)
  • Brazil - Uruguay (30 September 1986)
  • CARICOM - Colombia (24 July 1994)
  • CARICOM - Venezuela (13 October 1992)
  • Chile - Colombia (06 December 1993)
  • Chile - Ecuador (20 December 1994)
  • Chile - Venezuela (02 April 1993)
  • Colombia - Costa Rica (02 March 1984)
  • Colombia - El Salvador (24 May 1984)
  • Colombia - Guatemala (01 March 1984)
  • Colombia - Honduras (30 May 1984)
  • Colombia - Mexico - Venezuela (ACE No 61)
  • Colombia - Nicaragua (AAP.AT25TM Nº 6) (02 March 1984)
  • Colombia - Panama (AAP.AT25TM Nº 29) (09 July 1993)
  • Costa Rica - Panama (08 June 1973)
  • Costa Rica - Venezuela (21 March 1986)
  • Dominican Republic - Panama (17 July 1985)
  • Ecuador - Paraguay (15 September 1994)
  • Ecuador - Uruguay (01 May 1994)
  • El Salvador - Venezuela (10 March 1986)
  • Guatemala - Venezuela (ACE No 23) (10 October 1985)
  • Guyana - Venezuela (27 October 1990)
  • Honduras - Panama (08 November 1973)
  • Honduras - Venezuela (20 February 1986)
  • Mexico - Panama (22 May 1985)
  • Mexico - Peru (29 January 1995)
  • Nicaragua -Venezuela (15 August 1985)
  • Trinidad and Tobago - Venezuela (04 August 1989)

Monday, September 7, 2009

Pre-Columbian Mesoamerica

ประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเมโซอเมริกา ยุคก่อนการค้นพบของโคลัมบัส


เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ข้าพเจ้าได้เริ่มเรียนหลักสูตรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศเม็กซิโก อันมีชื่อว่า Diplomada: 'Recorrrido por la Historia de Mexico" ของมหาวิทยาลัย UNAM

กลุ่มหน่วยกิตแรกซื่งมีระยะเวลาสองเดือน เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติอันเก่าแก่ในพื้นที่ซึ่งได้มีการตั้งชื่อว่า "mesoamerica" โดยอาจารย์ผู้ศึกษาชาติพันธุ์ นาย Paul Kirchhoff เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมากเสียจนอดใจไม่ได้ ต้องนำมาเขียนบันทึก เล่าสู่กันฟัง เผื่อมีเพื่อนคนไทยคนอื่น ๆ อาจมีความสนใจด้านนี้ด้วยกัน

ในขั้นแรก ต้องบอกเล่าให้ผู้ที่อาจสนใจว่า ประวัติศาสตร์เมโซอเมริกายุคก่อนคริสโตเฟอร์ คอลัมบัสค้นพบอมเริกา มีระยะเวลาตั้งแต่ประมาณห้าพันปีมาแล้ว จากปี 2500 ก่อนคริสตศักราชจนดึงช่วงการบุกเบิกอาณานิคมของอาณาจักรสเปนในศตวรรษที่ 16 โดยมีการแบ่งเป็นช่วงเวลาที่มีลักษณะต่างกันสามช่วงใหญ่ ได้แก่ Preclassic, Classic และ Post-Classic ซึ่งในแต่ละช่วงสามารถแยกย่อยเป็น Early/Middle/Late Preclassic หรือ บางครั้งเรียกว่า Early/Middle/Late Formative และอีกสองเวลาย่อย Early/Late Classic และ Early/Late Classic ตามที่แสดงไว้ในตารางตอนท้ายข้อความ

ยุคเมโซอเมริกาก่อนโคลัมบัสนี้ มีกลุ่มอารยธรรมเก่าแก่ที่น่าสนใจหลากหลายกลุ่ม ที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักมากที่สุดได้แก่ อารยธรรม Teotihuacan ซึ่งเป็นที่ตั้งของปิรามิตที่ใคร ๆ ที่อุตสาห์่บุกเดินทางมาถึงเม็กซิโกต้องไปสักการะ และกลุ่มอารยธรรม Olmec และ Maya ในชายฝั่งตะวันออกด้านอ่าวเม็กซิโกดินแดนของพายุเฮอริเคนซึ่งดุกว่าพายุใต้ฝุ่นแถบบ้านเรา

Thursday, September 3, 2009

Heineken sets up new headquarters in Panama

บริษัท Heineken ตั้งฐานการผลิตและสำนักงานภูมิภาคที่ปานามา

นาย Roberto Henríquez รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมประเทศปานามาได้ให้ข่าวว่า เงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนในประเทศปานามาได้มีผลชักจูงให้บริษัท Heineken ของประเทศเนเธอร์แลนต์ พิจารณาการสร้างโรงงานที่ปานามาเพื่อผลิตเบียร์สำหรับตลาดภูมิภาคอเมริกากลาง โดยจะเปิดสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคที่กรุงปานามาด้วย

ส่วนบริษัท Heineken ได้แจ้งข่าวว่า จะลงทุนเพิ่มร่วมกับบริษัท Florida Ice and Farm Co. ของประเทศคอสตาริกา เพื่อซื้อกิจการของกลุ่มผู้ผลิตเบียร์ Cervecerias Baru-Panama S.A. ซึ่งมีส่วนแบ่งการครองตลาดหนึ่งส่วนสี่ของตลาดปานามา มีกำลังการผลิตเท่ากับ 350,000 hectolitres จ้างงานประมาณ 650 คน ยี่ห้อที่วางขายได้แก่ Soberana, Panama และ Cristal โดยยอดขายประมาณ 26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ประเทศคอสตาริกา นิคารากัว และปานามามีประชากรรวมกันแล้วเท่ากับ 11.3 ล้านคน และมีค่าเฉลี่ยการดื่มเบียร์ประมาณ 28 ลิตรต่อหัว ซึ่งเท่ากับยอดขายประมาณ 3.2 ล้าน hectolitres ต่อปี

ข้อมูลเพิ่มเติม:
"Heineken will Set Up Base in Panama"
"Public offer in Panama"

Tuesday, September 1, 2009

Costa Rica opening up Telecom sector

คอสตาริกาเปิดเสรีภาคโทรคมนาคม

เมื่อเดือนมิถุนายน 2009 องค์กรโทรศัพท์แห่งคอสตาริกา SUTEL ได้ประกาศการรับจดทะเบียนบริษัทที่ประสงค์จะให้บริการอินเตอร์เน็ต VoIP และโครงสร้างโทรคมนาคมเพิ่มเติม ตามแผนการเปิดตลาดภาคโทรคมนาคมที่เป็นเงื่อนไขหนึ่งของความตกลงเขตการค้าเสรี CAFTA

บริการโทรคมนาคมในคอสตาริกาเดิมมีผู้ให้บริการเพียงผู้เดียว นั่นคือ องค์กรของรัฐ ICE (the Costa Rican Institute of Electricity)

บริษัทโทรคมนาคมต่างชาติมีความสนใจที่จะเจาะเข้าตลาดคอสตาริกาเนื่องจากประชากรของคอสตาริกาเป็นผู้ใช้โทรศัพท์มากตามจำนวนนาทีที่ใช้ เป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเท่านั้น บริษัทที่ได้เจาะเข้าตลาดโทรคมนาคมของคอสตาริกาโดยการจัดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารองรับไว้ล่วงหน้ามาสองสามปีแล้วได้แก่ บริษัทเม็กซิกัน America Movil และบริษัทของสเปน Telefonica ส่วนบริษัทอื่น ๆ ที่ได้ติดตามตลาดคอสตาริกาอย่างใกล้ชิดได้แก่ บริษัทอเมริกัน AT&T บริษัทอังกฤษ Digicel และบริษัทของประเทศจีน Huawei

ปัจจุบันมีบริษัท AMNET เพียงแห่งเดียวที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตรวมกับเคเบิ้ลทีวี โดยมีบริษัทอื่น ๆ ที่รอรับการอนุมัติจาก SUTEL ได้แก่ บริษัท CableTica บริษัท Costa Rican Internet Service Provider (CRISP) บริษัท Cablevision บริษัท Super Cable และบริษัท Radiográfica Costarricense (RASCA)

องค์กรการไฟฟ้าแห่งคอสตาริกาได้ทำการวิจัยตลาดเกี่ยวกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเมื่อเดือนมีนาคม ปี2009 พบว่า ร้อยละ 46 ของบ้านเรือนประมาณ 565,000 แห่งในคอสตาริกามีคอมพิวเตอร์ในบ้าน และร้อยละ 45 ของบ้านเรือนใช้บริการอินเตอร์เน็ตอยู่ เป็นตัวเลขที่ได้เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปี 2005 ที่พบว่ามีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพียงร้อยละ 22

SUTEL ได้ประกาศอนุมัติผู้ให้บริการใหม่ในขั้นแรกแก่หกบริษัท และต่อมาได้ประกาศเพิ่มอีก 13 บริษัท มีผู้เข้าคิวขอจดทะเบียนการให้บริการโทรคมนาคมด้านต่างๆ เป็นประมาณ 500 บริษัท โดยผู้ขอขึ้นทะเบียนประมาณ 300 บริษัทเป็นผู้ให้บริการขนาดเล็ก เช่น internet cafe และบริการ WiFi

ข้อมูลเพิ่มเติม:
Costa Rica: SUTEL completes integration
Costa Rica Enters CAFTA, Agrees To Open Telecom
Multinationals Set Eyes on Costa Rica Telecom Industry