Google Website Translator

Monday, April 30, 2012

Mexico's Pet Food Imports Procedures

ขั้นตอนการนำเข้าอาหารสัตว์ในเม็กซิโก 

เม็กซิโกไม่ยอมรับการนำเข้าอาหารสัตว์จากไทยโดยตรง เนื่องจากกระทรวงเกษตร-ปศุสัตว์และการประมงเม็กซิโก (SAGARPA) ถือว่า มาตรฐานการตรวจสอบสุขภาพสัตว์ (zoo sanitary code) ระหว่างไทยและเม็กซิโกแตกต่างกัน หรือยังได้รับการรับรองมาตรฐานร่วมกัน และโดยที่การควบคุมเกี่ยวกับการนำเข้าสัตว์-สารเคมี-สารชีวภาพ-ยา และผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับการเลี้ยงสัตว์ อยู่ภายใต้กฎระเบียบมาตรฐานสุขภาพสัตว์ในเม็กซิโก ฉะนั้น การค้การผลิตและการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ สารเคมี-สารชีวภาพ หรือยาที่ใช้กับสัตว์ รวมทั้งการนำเข้าสัตว์เป็นของไทยไปยังเม็กซิโก จึงไม่สามารถทำการส่งออกจากไทยไปยังเม็กซิโกได้โดยตรง แต่จะต้องทำการนำเข้าผ่านสหรัฐอเมริกา โดยสินค้า/สัตว์ดังกล่าว จะต้องมีเอกสารรับรองสุขภาพสัตว์ที่ถูกต้องจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ การส่งออกอาหารสัตว์จากไทยผ่านสหรัฐฯ จะได้รับการตีฉลากที่ถูกต้องตามมาตรฐานอาหารสัตว์ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับสำหรับเม็กซิโก 


ข้อกำหนดมาตรฐานสุขภาพสัตว์ของเม็กซิโก อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานมาตรฐานและสุขอนามัยอาหารสัตว์ (SENASICA) ของกระทรวงเกษตร-ปศุสัตว์และการประมงเม็กซิโก (SAGARPA) ได้แจ้งแนวทางเกี่ยวกับการนำอาหารสัตว์เข้าเม็กซิโกผ่านสหรัฐฯ ดังนี้ 
  1. ผู้นำเข้าต้องแสดงใบรับรองมาตรฐานสุขอนามัยอาหารสัตว์ของประเทศต้นกำเนิดสินค้า ที่แจ้งชื่อที่อยู่ของผู้ส่งออกและชื่อผู้นำเข้าสินค้า ผู้ส่งออกจะต้องแนบเอกสารที่รับรองว่าสินค้าอาหารสัตว์นำเข้านั้น ไม่มีส่วนประกอบโปรตีนสัตว์เคี่ยวเอื้อง (ruminant) หรือส่วนประกอบของสัตว์เคี่ยวเอื้องใดๆ ทั้งนี้ เม็กซิโกห้ามการนำเข้าเนื้อสัตว์หรือส่วนประกอบของสัตว์เคี่ยวเอื้องทุกอย่าง หากสินค้าอาหารสัตว์นำเข้ามีส่วนประกอบของเนื้อไก่ ต้องมีการรับรองว่าส่วนประกอบเนื้อไก่ดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการความร้อนขั้นต่ำ 115 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 30 นาที และต้องรับรองว่า สินค้าอาหารสัตว์ที่นำเข้านั้นๆ ไม่ได้สัมผัสกับสัตว์หรือสินค้าที่ติดเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายใดๆ 
  2. ผู้นำเข้าจะต้องมีตัวอย่างสินค้าให้หน่วยงานของเม็กซิโกสามารถทำการตรวจสอบคุณภาพได้ 
  3. เมื่อหน่วยงานตรวจสอบของเม็กซิโกได้แจ้งผลการตรวจสินค้าผ่านแล้ว ผู้นำเข้าจะต้องขอหมายเลขทะเบียนอนุมัติการนำเข้าสินค้า ที่ระบุวันที่ได้รับอนุมัติสินค้ากับ SENASICA/SAGARPA 
  4. ผู้นำเข้าจะต้องขอจดทะเบียนกิจการเป็นผู้นำเข้าอาหารสัตว์ กับกองทะเบียน DSCP-SENASICA 
  5. ในกรณีย์ที่อาหารสัตว์นำเข้ามีส่วนประกอบของไขมันของสัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) ผู้นำเข้าต้องแสดงสำเนาใบแจ้งการตรวจคุณภาพจากหน่วยงานอิสระที่รับรองว่ามีส่วนเจือปนไขมันของสัตว์เคี้ยวเอื้องน้อยกว่าร้อยละ 0.15 
  6. เอกสารประกอบอื่น ๆ ได้แก่ 

  • ใบรับรอง zoo sanitary certificate ที่แจ้งข้อกำหนดทางเทคนิคที่ระบุ ส่วนประกอบและสัดส่วนส่วนของประกอบ ข้อแจกแจงเกี่ยวกับกระบวนการผลิต และคำอธิบายรูปแบบของสินค้า 
  • ใบรับรองว่าสินค้าอาหารสัตว์ดังกล่าว ได้รับอนุมัติการจำหน่ายอย่างถูกต้องตามกฏหหมายในประเทศต้นกำเนิด 
  • เอกสารจากผู้ส่งออก แจ้งแหล่งต้นกำเนิดสินค้า ประเทศนำปลายทางนำเข้า หมายเลขสินค้าและวันที่ผลิต วันบรรจุสินค้า วันหมดอายุสินค้า หรือวันที่แนะนำการบริโภค 
หน่วยงานมาตรฐานและสุขอนามัยอาหารสัตว์ (SENASICA) ของกระทรวงเกษตร-ปศุสัตว์และการประมงเม็กซิโก (SAGARPA) มีระบบการตรวจสอบเอกสารออนไลน์ สำหรับสุขอนามัยสัตว์และการนำเข้าที่เรียกว่า Módulo de Consulta de Requisitos Zoosanitarios para la importación หรือ MRCRZI ซึ่งเป็นระบบที่ผู้นำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ การนำเข้าสัตว์ อาหารสัตว์ สามารถตรวจสอบผ่านอินเตอร์เน็ตได้ด้วยตัวเองว่า ต้องเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ประกอบสำหรับใบอนุญาติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำเข้าอาหารสัตว์จากไทยผ่านสหรัฐฯ คือ 098-14-85-THA-USA และกฏระเบียบที่ใช้ควบคุมเรื่องสุขภาพอาหารโดยทั่วไป ได้แก่ NOM-012-ZOO-1993 


เป็นข้อสังเกตได้ว่า ระบบมาตรฐานสุขภาพสัตว์โดยรวมของเม็กซิโก ซึ่งควบคุมสินค้าหลากหลายประเภท มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อเป็นมาตรฐานที่ควบคุมการดำเนินการของผู้เลี้ยงสัตว์ ผู้ผลิตสารเคมีสารชีวภาพและยา รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ในเม็กซิโก เพื่อการควบคุมป้องกันการระบาด หรือการติดเชื้อของโรคสัตว์อันตรายเป็นสำคัญ และการควบคุมการนำเข้าอาหารสัตว์เป็นประเด็นที่แยกการควบคุมออกมาให้อยู่ภายใต้หน่วยงาน SENASICA ทั้งนี้ เม็กซิโกมีการนำเข้าอาหารสัตว์ (รหัสสินค้า 2309) ในปี 2010 มูลค่ารวม 244.76 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยร้อยละ 78 เป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 181 ล้านเหรียญฯ แหล่งนำเข้าอาหารสัตว์รองลงมาได้แก่ ฝรั่งเศส (ร้อยละ 11) จีน (ร้อยละ 4) และอังกฤษ (ร้อยละ 3) 



ส่วนการส่งออกอาหารสัตว์ของไทยในปี 2010 มีมูลค่า 802 ล้านเหรียญฯ ตลาดส่งออกอาหารสัตว์ที่สำคัญของไทยได้แก่ ญี่ปุ่นมูลค่า 250 ล้านเหรียญฯ และสหรัฐฯ มูลค่า 103 ล้านเหรียญฯ ในปีนั้น

Thursday, April 12, 2012

Rice market in Mexico, Cuba and Central America 2012

รายงานสถานการณ์ข้าวในเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง ค.ศ. 2012

1. ภูมิหลังเกี่ยวกับข้อกำหนดสุขอนามัยพืชที่ควบคุมการนำเข้าข้าวไทยในเม็กซิโก และอเมริกากลาง

ข้าวไทยประสบปัญหาการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยพืชควบคุมการนำเข้า ในเม็กซิโกและอเมริกากลาง ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นสมาชิกขององค์กรสุขอนามัยเกษตรกรรม OIRSA (Organismo Internacional Regional de Sanidad Agropecuaria) ซึ่งได้แจ้งภัยของโรคพืชต่างๆ สำหรับข้าวจากภูมิภาคเอชียตะวันเฉียงใต้ โดยเฉพาะโรคด้วงข้าวประเภท Khapra Beetle (Trogoderma Khapra) ซึ่งได้ค้นพบจากผลการตรวข้าวที่ส่งออกจากเวียดนาม จึงได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกองค์กรฯ ห้ามนำเข้าข้าวจากภูมิภาคเอชียตะวันเฉียงใต้ ต่อมาถึงแม้ว่าองค์กร OIRSA ได้พิจารณาทบทวนผลการศึกษาสภาวะของโรงด้วงในเวียดนามใหม่ และได้แจ้งว่าโรคดังกล่าวไม่เป็นภัยจากข้าวที่นำเข้าจากภูมิภาคเอชียตะวันเฉียงใต้แล้วก็ตาม ประเทศเหล่านี้ยังคงรักษากฏระเบียบด้านสุขอนามัยพืชที่ห้ามการนำเข้าข้าวจากภูมิภาคเอชียตะวันเฉียงใต้ จนกระทั่งปี ค.ศ. 2006 เม็กซิโกได้ปรับเปลี่ยนกฏระเบียบสุขอนามัยพืช NOM-028-FITO-1995 อนุมัติการนำเข้าข้าวที่สีแล้วจากไทย โดยกำหนดให้มีการรมควันโดยสารเคมี Methyl Bromide สองรอบก่อนการส่งออก พร้อมกับให้มีการรับรองการรมควัน โดยหน่วยงานผู้ตรวจสอบสุขอนามัยพืชประเทศต้นกำเนิดสินค้า และกำหนดท่าเรือรับสินค้าขาเข้า ซึ่งจะทำการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบสุขอนามัยพืชสำหรับข้าวที่นำเข้าอีกรอบหนึ่ง โดยสงวนสิทธิ์การทำลายสินค้านำเข้า หากพบว่าข้าวที่นำเข้าไม่มีคุณสมบัติด้านสุขอนามัยพืชที่ครบตามข้อกำหนด 

อีกประเทศหนึ่งในกลุ่มดังกล่าว ที่ได้ปรับเปลี่ยนข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืช สำหรับการนำเข้าข้าวจากไทย ได้แก่ ประเทศปานามา ซึ่งได้เปลี่ยนกฏระเบียบฯ ในปี ค.ศ. 2008 (AUPSA - 432 – 2007) โดยยกเลิกการห้ามนำเข้าข้าวจากไทย และมีข้อกำหนดใหม่ให้ผู้นำเข้าข้าวจากไทยต้องแจ้งเกี่ยวกับนำเข้าข้าวจากไทยภายใน 48 ชั่วโมงเมื่อสินค้าถึงท่าเรือนำเข้า โดยสินค้าข้าวที่นำเข้าดังกล่าว จะต้องมีเอกสารรับรองด้านสุขอนามัยจากประเทศต้นกำเนิด รับรองว่าสินค้าข้าวดังกล่าว ปลอดโรค 4 ประเภทที่ต้องห้ามในปานามา คือ Cadra Cautella, Corcyra Cephalonica, Oryzaephilus Sp., Chilo Sp., และ Trogoderma Granarium และให้สินค้าข้าวที่นำเข้ามีตรารับรอง “การปฏิบัติทางเกษตรกรรมและการผลิตที่ดี” (Good Agricultural Practice - GAP) มีการบรรจุห่อสินค้าที่ในลักษณะที่ครบข้อมูล การปิดผนึกสินค้าเป็นไปในลักษณะที่ไม่สามารถดัดแปลงเปลี่ยนสินค้า โดยมีการปิดผนึกโดังสินค้าให้สามารถทำการเปิดผนึกได้โดยหน่วยงานตรวจสอบสินค้าปานามาเท่านั้น และโกดังหรือคอนแทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง 

2. การบริโภคข้าวและแนวโน้มการนำเข้าข้าวไทยในเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง 

หากพิจารณาค่าเฉลี่ยการบริโภคข้าวต่อหัวของประชากรเม็กซิโก คิวบา และกลุ่มประเทศอเมริกากลางในประวัติศาสตร์แล้ว จะพบว่า ปริมาณการบริโภคข้าวในภูมิภาคดังกล่าว มีปริมาณน้อย กว่าค่าเฉลี่ยการบริโภคข้าวต่อหัวระหว่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณประมาณ 61 กิโลกัรมต่อหัวต่อปี (ยกเว้นคิวบา ซึ่งมีอัตราการบริโภคข้าวต่อหัวสูงที่สุด 78.7 กิโลกรัมต่อหัวต่อปี) จึงดูเหมือนจะมีโอกาสสำหรับการนำเข้าข้าวจากไทยน้อย แต่หากพิจารณาสถิติการนำเข้าข้าวเปรียบเทียบทั่วโลกขององค์การอาหารโลกในปี ค.ศ. 2009 พบว่า เม็กซิโกและกลุ่มประเทศอเมริกากลางเป็นผู้นำเข้าข้าวที่จัดอยู่ในอันดับผู้นำเข้าข้าวสำคัญยี่สิบประเทศของโลก ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากสภาวะสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของการเพาะปลูกข้าวภายในประเทศในภูมิภาคดังกล่าว

RANK
COUNTRY
QUANTITY (TONNES)
VALUE (1000 $)
UNIT VALUE ($/TON)
1
Mexico
739209
288316
390
2
Honduras
126118
46001
365
3
Costa Rica
110065
41194
374
4
Nicaragua
101524
42248
416
5
Brazil
82146
24813
302
6
Guatemala
72730
27931
384
7
Saudi Arabia
72301
69946
967
8
El Salvador
67890
26702
393
18
Panama
17344
6385
368
19
Cuba
12621
7726
612

Consumption per capita in Central America (Kg.)

Country
2002
2003
2004
2005
2006
2007
Costa Rica
54.96
55.12
55.29
55.47
54.45
51.48
El Salvador
13.25
13.81
14.36
14.10
14.20
12.50
Guatemala
6.81
5.59
6.40
6.59
6.79
6.44
Honduras
14.45
14.41
14.09
14.57
14.39
14.33
Mexico
6.87
7.01
7.15
7.24
7.33
7.20
Nicaragua
51.55
54.88
58.07
56.50
56.85
55.08
Panama
60.38
59.94
59.49
59.10
58.39
57.09
Cuba
77.48
86.50
96.46
73.91
70.26
78.79
Source: USDA, FAO 2007

ประเทศเม็กซิโกได้มีการนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา ในปี ค.ศ. 2011 เม็กซิโกได้นำเข้าข้าวจากไทยปริมาณ 204,628 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2010 ในสัดส่วนร้อยละ 8.7 

ประเทศคิวบาได้มีการนำเข้าข้าวจากไทยจากปี ค.ศ. 1998 ในปริมาณที่มากกว่าการนำเข้าข้าวจากไทยของประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลางอื่นๆ แต่ปริมาณการนำเข้าไม่ค่อยจะสม่ำเสมอ ในปี 2006 คิวบาได้นำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณ 26,250,000 กิโลกรัม โดยไม่มีการนำเข้าในสามปีต่อมา จนกระทั่งปี 2010 ได้มีการนำเข้าปริมาณ 500,000 กิโลกรัม คิวบาไม่มีข้อกำหนดการห้ามนำเข้าข้าวจากไทย ยกเว้นข้อกำหนดการนำเข้าผ่านองค์การการนำเข้าของรัฐบาลคิวบา ซึ่งมักจะขอเครคิตระยะยาว 1 ปี การนำเข้าข้าวไทยของคิวบาในอดีตได้จัดทำผ่านตัวแทนรายที่สาม ไม่ได้เป็นการนำเข้าโดยตรงจากไทย ทำให้คิวบามีอำนาจต่อรองจำกัด รัฐบาลของคิวบาจึงมีท่าทีเปิดต่อการติดต่อนำเข้าผ่านผู้ส่งออกโดยตรงจากไทย ที่มีสำนักงานตัวแทนในภูมิภาคละตินอเมริกาเพื่อความสะดวกในการติดต่อในเรื่องเวลาและภาษา

นอกจากนี้แล้ว กรมการส่งออกไทยมีรายงานการนำเข้าข้าวของปานามาจากไทยในปี ค.ศ. 2008 ในปริมาณ 42,232 กิโลกัรม และสถิติการนำเข้าของประเทศฮอนดูรัสและนิคารากัวได้แสดงการนำเข้าข้าวจากไทยในปริมาณหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีข้อกำหนดด้านสุขอนามัยที่ห้ามการนำเข้าข้าวจากไทยจากปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา

Mexico Rice imports From Thailand (2001 – 2011)
Kilograms
HS
Description
2001
2002
2003
2004
2005
2006
2007
2008
2009
2010
2011
100620
Brown,Husked
-
-
-
-
21,500
21,500
-
-
-
-
-
100630
Semi/Wholly Milled
79,672
22,000
64,000
40,500
150,230
143,340
82,456
242,844
117,844
222,357
204,628
100640
Broken



-
-
-
-
172,750
-
-
-
Source: Secretariat of Economy, Mexico

Cuba Rice imports from Thailand (1998 – 2010)
Kilograms
HS
Description
1998
1999
2000
2004
2006
2010
  100630
 Semi/Wholly Milled                                
 146,525,000
 10,325,000
 47,035
 14,250,000
 26,250,000
 500,000
Source: Thai Customs Department

Note: In the years not shown, the import quantity is equal to zero


Central America Rice imports from Thailand 1997 – 2011
Kilograms
COUNTRY
HS CODE
YEAR
1997 - 2007
2008
2009
2010
2011
TOTAL
COSTA RICA
10.06.30
0
0
0
0
0
0
EL SALVADOR
10.06.30
0
0
0
0
0
0
GUATEMALA
10.06.30
0
0
0
0
0
0
HONDURAS
10.06.30
0
2356
0
0
406
2762
NICARAGUA
10.06.30
0
0
1
117
0
118
SOURCE: SIE (Sistema Estadìstico de Centroamérica) / Central America Statistic System
SIECA (Secretarìa de Integración Económica Centroamericana) / Secretariat of Central American Economic Integration

3. ภาษีการนำเข้าข้าวในเม็กซิโกและอเมริกากลาง

เม็กซิโกไม่มีการเก็บภาษีสำหรับการนำเข้าข้าว ยกเว้นข้าวแดง ที่เก็บภาษีร้อยละ 10 ส่วนประเทศอื่นๆ ในอเมริกากลาง มักจะมีการประกาศโควตาการนำเข้าข้าวพิเศษรายปี สำหรับการนำเข้าข้าวโดยการยกเว้นภาษี เพื่อตอบสนองความต้องการข้าวฉุกเฉิน ในกรณีที่ผลผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ แต่โดยทั่วไปแล้ว กำหนดภาษีการนำเข้าข้าวไว้ในอัตราต่าง ๆ ที่ค่อนข้างสูง ดังตารางต่อไปนี้

Central America Rice Import Duty
COUNTRY
HS CODE
IMPORT DUTY %
HS CODE
IMPORT DUTY %
HS CODE
IMPORT DUTY %
HS CODE
IMPORT DUTY %
HS CODE
IMPORT DUTY %
COSTA RICA
10.06.10.10
0
10.06.10.90
35
10.06.20.00
35
10.06.30.10
0
10.06.30.90
35
EL SALVADOR
10.06.10.10
0
10.06.10.90
40
10.06.20.00
40
10.06.30.10
40
10.06.30.90
40
GUATEMALA
10.06.10.10
23.7
10.06.10.90
23.7
10.06.20.00
23.7
10.06.30.10
23.7
10.06.30.90
23.7
HONDURAS
10.06.10.10
0
10.06.10.90
45
10.06.20.00
45
10.06.30.10
45
10.06.30.90
45
NICARAGUA
10.06.10.10
0
10.06.10.90
45
10.06.20.00
60
10.06.30.10
60
10.06.30.90
60
PANAMA
10.06.10.10
0
10.06.10.90
90
10.06.20.10
15
10.06.30.10
15
10.06.30.90
90
SOURCE: SIECA (Secretarìa de Integración Económica Centroamericana) / Secretariat of Central American Economic Integration
PANAMA Data from Panama National Customs Authority

4. สถานการณ์ข้าวปี 2012 ของปานามาและฮอนดูรัส

นักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวงการข้าวในประเทศปานามาและฮอนดูรัสได้คาดคะเนว่า ทั้งสองประเทศดังกล่าวมีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวในปี 2012 เนื่องจากสต็อคข้าวที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ 

นาย Oscar McKay รองผู้อำนวยการสถาบันการตลาดภาคเกษตร (Institute of Agricultural Marketing -IMA) ประเทศปานามา ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว Prensa.com ว่า ข้าวคงคลังของปานามาที่มีอยู่ 2.7 แสนตัน เป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับความต้องการบริโภคภายในประเทศได้ถึงเดือนมิถุนายน 2012 และเนื่องจากผลผลิตข้าวภายในประเทศปานามาไม่เพียงพอกับความต้องการรวมประจำปี จึงคาดว่าจะต้องมีการอนุมัติโควต้าการนำเข้าข้าวในปริมาณประมาณ 1.5 แสนตันใกล้เคัยงกับปริมาณโควต้าที่ได้อนุมัติการนำเข้าในปี 2010 ทั้งนี้ในปี 2009 ปานามาได้นำเข้าข้าวเพื่อชดเชยผลผลิตที่ไม่เพียงพอในปริมาณ 2 แสนตัน 

ต้นทุนการผลิตข้าวสำหรับชาวเกษตรกรปานามาได้เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 20 โดยต้นทุนการเพาะปลูกข้าวสำหรับพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6 ไร่กับ 1 งาน) มีมูลค่าประมาณ 2,050 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับราคาขายข้าวเพียว 20.25 เหีรยญฯ ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ในปี 2010 ได้มีการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่รวม 64,400 เฮกตาร์ โดยมีผลผลิต 1.2 ล้านบูเชล์ แต่ในปี 2011 ได้มีการเพาะปลูกลดลงเหลือเพียง 57,456 เฮกตาร์ รวมทั้งผลผลิตที่ลดลงเนื่องจากฝนตกหนักกว่าปกติ จึงคาดว่าข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดภายในปี 2011 จะมีปริมาณรวมประมาณ 5.6 ล้านบูเชล์ ในขณะที่การบริโภคข้าวของปานมามีประมาณ 7.5 ล้านบูเชล์ 

ปานามามีมีประชากรรวม 3 ล้านคน และปริมาณการบริโภคข้าวโดยเฉลี่ยของชาวปานามาต่อหัวในปัจจุบันเท่ากับ 70 กิโลกรัมต่อคน 

สำหรับประเทศฮอนดูรัส กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าฮอนดูรัสได้ประเมินผลผลิตข้าวเปลือกสิ้นปี 2011 ปริมาณ 91,500 ตัน โดยราคาข้าวภายในประเทศฮอนดูรัสมีราคาประมาณ 18.36 เหรียญสหรัฐต่อคินตัล ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20 เหรียญต่อคินตัลภายในสองปีข้างหน้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าฮอนดูรัสคาดว่า ความต้องการบริโภคข้าวภายปีประเทศฮอนดูรัสสำหรับปี 2012 จะมีความต้องการประมาณ 3 แสนตัน และ กำลังพิจารณาโควต้าการนำเข้าข้าวเปลือกปริมาณหนึ่งแสนตัน โดยจะเป็นการนำเข้าภายใช้สิทธิพิเศษของความตกลง DR-CAFTA 

5. ข้อสังเกตเกี่ยวโอกาสการนำเข้าข้าวไทยสำหรับเม็กซิโกและอเมริกากลาง 

ข้าวเป็นสินค้าอาหารหลักที่มีความสำคัญในระดับที่แตกต่างกัน สำหรับผู้บริโภคในเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง โดยเม็กซิโกและกัวเตมาลามีค่าเฉลี่ยการบริโภคข้าวต่อหัวที่ต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศดังกล่าว เนื่องจากอาหารหลักของสองประเทศดังกล่าว คือตอร์ติยาที่ทำจากข้าวโพด แต่อย่างไรก็ตาม โดยที่ประชากรชาวเม็กซิกันมีจำนวนมากและผู้ผลิตข้าวภายในของเม็กซิโกมีความแข่งขันในการผลิตข้าวที่ต่ำ จึงมีความต้องการนำข้าวที่สูง แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นสำคัญ เนื่องจากราคาข้าวอเมริกันที่ถูก และข้าวอเมริกันมีลักษณะที่เหมาะสมกับวิธีการทำอาหารของชาวเม็กซิกัน ในขณะที่ข้าวไทยมีราคาสูงกว่ามาก และยังไม่เป็นรู้จักนิยมอย่างกว้าวขวาง ผู้ผลิตข้าวที่เป็นผู้แข่งขันสำคัญอีกรายหนึ่งในภูมิภาคดังกล่าวได้แก่ ประเทศโคลัมเบีย แต่ข้าวของโคลัมเบียเป็นข้าวลักษณะอเมริกัน และยังสู้ราคาของข้าวอเมริกันไม่ได้ 

หากผู้ส่งออกข้าวไทยมีแผนงานการตลาดที่รณรงค์เรื่องคุณสมบัติ และความสามารถในการส่งออกของข้าวไทย ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นสำหรับผู้บริโภคในภูมิภาคดังกล่าว และพัฒนาความแข่งขันในด้านต้นทุนลอจิสติกมากขึ้น จะมีโอกาสการขยายตลาดในภูมิภาคดังกล่าวสำหรับข้าวที่นำเข้าจากไทยได้มากขึ้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มการนำเข้าข้าวมากขึ้นในระยะปานกลาง 

ประเด็นที่ผู้ส่งออกข้าวไทยควรพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ความสำคัญในการปฏิบัตตามข้อกำหนดอนามัยพืชอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการถูกสั่งทำลายสินค้า หรือความล่าช้าในการผ่านศุลกากรที่ท่าเรือนำเข้า รวมทั้งการคำณวนคาดการณ์ค่าใช้จ่ายค่าภาษี หรือการตรวจสอบข้อกำหนดและช่วงระยะเวลาของโควต้าการนำเข้าพิเศษ ผู้ส่งออกข้าวไทยควรให้ความระมัดระวังในการคัดเลือกผู้นำเข้าในพื้นที่ ให้เป็นผู้ที่มีความเข้าใจมีประสบการณ์ที่เชียวชาญเกี่ยวกับกฏระเบียบสุขอนามัย และการปฏิบัติด้านศุลกากรของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้