Google Website Translator

Monday, May 17, 2010

Mexico Auto exports increase

เม็กซิโกส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้น

สำนักงานสถิติแห่งชาติเม็กซิโกได้รายงานว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของเม็กซิโกในช่วงเดือนเมษยน ปี 2553 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 มากกว่าอัตราร้อยละ 6 ที่สำนักงานสถิติได้คาดการณ์เอาไว้ ทั้งนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมของเม็กซิโกมีสัดส่วนร้อยละ 40 ของผลผลิตรวมแห่งชาติ

นอกจากนี้แล้ว ผลผลิตอุตสาหกรรมของเม็กซิโกได้เพิ่มขึ้นจาก ผลผลิตฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ร้อยละ 0.86 โดยผลผลิตสำคัญที่มีผลผลักดันการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอุตสาหกรรมดังกล่าว ได้แก่ผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ซึ่งได้แสดงอัตราส่วนการเพิ่มผลผลิตถึงร้อยละ 69.6 จำนวนรถยนต์เล็กที่ผลิตได้ในเดือนเมษายนเท่ากับ 170,277 คัน และมีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.7 หรือการส่งออกรถยนต์จำนวน 133,406 คัน ในเดือนเมษายน 2553 ในจำนวนการส่งออกดังกล่าว เป็นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ จำนวน 90,552 คัน

ข่าวอื่น ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถนยต์เม็กซิโก ได้แก่
  • สมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งเม็กซิโก ได้แถลงข่าวว่า บริษัท Volkswagen ได้จ้างคนงานใหม่เพื่อทำการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กรุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ ซึ่งจะนำออกสู่ตลาดในปลายปีนี้ โดยคาดว่าภายในสินปีนี้ Volkswagen จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25
  • บริษัท BMW ได้มีนโยบายเพิ่มการนำเข้าชิ้นส่วนประกอบและอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์จากเม็กซิโกเพิ่มขึ้น โดยในปี 2552 บริษัท BMW ได้มีการนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์จากเม็กซิโกมูลค่า 615 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าในปี 2553 จะนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถยนต์จากเม็กซิโกประมาณ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ร้อยละ 25 ของรถรุ่นใหม่ BMW X3 ซึ่งเริ่มการผลติในปี 2553 จะมีสัดส่วนแหล่งกำเนิด components มาจากเม็กซิโก
  • บริษัท Nissan จะผลิตรถนิสสันรุ่น Micra เพื่อตลาดสหรัฐฯ และละติน ในโรงงานของนิสสันในเม็กซิโก
  • บริษัท Ford ได้เริ่มการผลิต Ford Fiesta รุ่นใหม่ในโรงงานในรัฐ Cuatitlan ของเม็กซิโกแล้ว และรถรุ่นใหม่นี้ จะพร้อมออกตลาดในสหรัฐฯ และเม็กซิโก ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2553 โรงงานของ Ford ในรัฐ Cuatitlan ดังกล่าวได้เคยทำการผลิตรถพิกอับรุ่น F-Series แต่ได้รับการปรับปรุงลงทุนเพิ่ม เพื่อเปลี่ยนการผลิตเป็นรถรุ่นเล็กลง และได้จ้างงานใหม่จำนวน 2,000 ตำแหน่ง โดยตรงและอีก 6,000 ตำแหน่งโดยทางอ้อม

Monday, May 10, 2010

Mexican Inflation

ภาวะเงินเฟ้อในเม็กซิโก และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ต้นปี 2533

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อของประเทศสมาชิกฯ ว่า ได้มีอัตราเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเป็นร้อยละ 2.1 ในเดือนมีนาคม 2533 จากร้อยละ 1.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากภาวะราคาของพลังงานที่ได้ถีบตัวสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 11.3 แต่หากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหาร แสดงอัตราที่ได้ค่อย ๆ เริ่มลดลงตั้งแต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในเดือนสิงหาคม ปี 2552 ในอัตราร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นตัวแสดงได้ว่าภาวะเศรษฐกิจของโลกโดยรวมได้เริ่มการฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์การเงินปี 2551

สำหรับประเทศเม็กซิโกนั้น ได้แสดงอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงสุดในบรรดาสมาชิก OECD ในอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3.6 เป็นอันดับสูงสุดที่สี่ รองจากประเทศไอซแลนด์ร้อยละ 7.5 ตุรกีร้อยละ 6.5 ฮังการีร้อยละ 5.6 และโปแลนด์ร้อยละ 3.7 โดยอัตราเงินเฟ้อของเม็กซิโกได้มีสาเหตุสำคัญจากราคาพลังงานและอาหารที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ

ธนาคารกลางแห่งเม็กซิโกได้รายงานว่า ดัชนีราคาสินค้าบริโภคในเดือนมีนาคม 2553 ได้ถีบตัวสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 7 เดือนก่อนหน้านั้น เป็นอัตราร้อยละ 5.06 ซึ่งอาจจะมีผลเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางเม็กซิโก ต้องประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นในไตรมาสต่อไป  ราคาสินค้าบริโภคในเม็กซิโกได้มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 16 รวมทั้งการเพิ่มภาษีรายได้ และการกำหนดราคาพลังงานที่เพิ่มเมื่อเดือนมกราคม 2553 รัฐบาลเม็กซิโกมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการเหล่านี้ เนื่องจากภาวะวิกฤตการณ์การเงิน และการผลิตน้ำมันที่น้อยลง ทำให้รัฐบาลขาดแคลนรายได้ และมีผลให้ต้องตัดงบประมาณเมื่อปีที่ผ่านมา

นักวิเคราะห์จากธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างรัฐอเมริกัน (Inter-American Development Bank) ได้ให้ความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจของเม็กซิโกได้แสดงตัวว่า เริ่มการฟื้นตัวอย่างค่อนข้างชัดเจน และเศรษฐกิจเม็กซิโกในปี 2553 จะมีการขยายตัวในอัตราร้อยละ 3 ถึง 3.5 และการขยายตัวในอัตราดังกล่าว ย่อมพยากรณ์ได้ว่า จะต้องใช้เวลาอีกสองปี กว่าผลผลิตแห่งชาติของเม็กซิโก จะฟื้นตัวคืนได้ในระดับเท่าเทียมกับที่เคยผลิตได้ในปี 2550 ทั้งนี้เศรษฐกิจของเม็กซิโก จะฟื้นตัวในอัตราที่ช้ากว่าประเทศในภูมิภาคละตินอเมริกาอื่น ๆ เนื่องจากมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจการค้า ที่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากที่สุด

เมื่อเดือนเมษายน 2552  ดัชนีราคาของเม็กซิโกได้แสดงอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 4.95  ผลักดันให้ประธานาธิบดีแคเดรอนของเม็กซิโก ประกาศมาตรการชั่วคราว      เพื่อควบคุมราคาสินค้าอาหารเป็นครั้งแรกในรอบ10 ปีทีผ่านมา โดยกำหนดราคาสินค้าอาหารทั้งหมด  50 รายการ และนอกจากนี้แล้ว ยังได้ประกาศมาตรการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอาหาร 4 รายการ อันได้แก่ ข้าโพด ข้าวสาลี sorghum และนมผง เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารจำเป็น

เม็กซิโกเคยประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อสูงเกินการควบคุมในช่วงระหว่างปี คศ. 1980-1990 (ร้อยละ 159 ในปีคศ. 1987) เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจหดตัวถึงร้อยละ 7 ไม่สามารถชำระหนี้ระหว่างประเทศ และการลดค่าเงินเปโซ เป็นเหตุให้ต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และสหรัฐฯ ด้วยประสบการวิกฤตการณ์การเงินครั้งนั้น ผู้บริหารของเม็กซิโก มีความระมัดระวังในการบริหารงบประมาณของรัฐบาลมากขึ้น และได้นำมาตรการการเงินมาใช้เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ

ปัญหาราคาสินค้าอาหารของเม็กซิโก เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับภาวะเงินเฟ้อของเม็กซิโก และการที่เม็กซิโกมีนโยบายทางเศรษฐกิจ ที่สนับสนุนการค้าเสรีลักษณะ neoliberal ที่สนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น การเข้าร่วมเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ และแคนาดา เป็นเหตุให้ภาคเกษตรไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร และโดยที่เม็กซิโกมีจำนวนประชากรสูง ผลิตภัณต์สินค้าเกษตรจึงไม่เพียงพอกับความต้องการภายใน โดยเฉพาะข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต tortilla ซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเม็กซิกันโดยเฉพาะในกล่มผู้มีรายได้น้อย นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลเม็กซิโก ไม่มีโครงการการสะสมธัญพืชหรืออาหารจำเป็น เมื่อเกิดการขาดแคลน จึงต้องพึ่งใช้กลไกทางตลาดแก้ไขปัญหา ในช่วงที่เกิดภาวะขาดแคลนอาหารชั่วคราวในปี 2552 กลุ่มองค์กรเอกชนบางกลุ่มได้กล่าวหาว่า ได้มีการเก็งกำไรเกิดขึนในระหว่างพ่อค้าข้าวโพดและพ่อค้า tortilla และมีกลุ่มธุรกิจด้านการเกษตรใหญ่ ๆ ซึ่งมีโครงสร้างในทางตลาดค่อนข้างเป็นการผูกขาด ได้รวมตัวกันตกลงราคากันเอง เพื่อเอาเปรียบผู้บริโภคจากภาวะขาดแคลน

มาตรการการควบคุมราคาสินค้า จึงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่เหมาะสม และอาจจะสร้างแรงกดดันให้ภาวเงินเฟ้อสูงขึ้นได้ในระยะยาวต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม:

Biofuel in Brazil, Mexico and Central America

ช่องทางตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพผสมเอธานอลจากน้ำตาลในบราซิล เม็กซิโก และอเมริกากลาง

- การผลิตเอธานอลในประเทศบราซิล

ประเทศบราซิล และสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตเอธานอลสำคัญของโลก โดยการผลิตเอธานอลของสองประเทศนี้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 90 ของการผลิตโลก โดยในปี 2552 บราซิลมีผลผลิตเอธานอลปริมาณ 24.9 พันล้านลิตร เทียบเท่ากับร้อยละ 34 ของปริมาณเอธานอลที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งหมดทั่วโลก และเป็นผู้ส่งออกเอธานอลสำหรับเชื้อเพลิงอันดับหนึ่งของโลก บราซิลส่งออกเพียงร้อยละ 20 ของผลผลิตทั้งหมด แต่การส่งออกเอธานอลของบราซิลมีสัดส่วนในตลาดโลกประมาณร้อยละ 60 เเละในปี 2550 การส่งออก เอธานอลของบราซิลเท่ากับ 1.4 พันล้านเหรียญฯ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

ประเทศอเมริกากลางบางประเทศนำเข้าเอธานอลจากบราซิลเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ เนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ความตกลง Caribbean Basin  Initiative ซึ่งยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสำหรับเอธานอลที่นำเข้าจากประเทศอเมริกากลางและแคริเบียน ในปี 2550 สหรัฐฯ ได้นำเข้าเอธานอลภายใต้ระบบโควต้าดังกล่าว ปริมาณ 245 ล้านแกลอน

ประเทศบราซิลใช้พื้นที่เพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดเพื่อการผลิตอ้อย เท่ากับพื้นที่ 3.6 ล้านเฮกเตอร์ ประมาณครึ่งหนึ่งของผลผลิตอ้อย เป็นวัตถุดิบป้อนเข้าอุตสาหกรรมเอธานอล และกำลังการผลิตเอธานอลจากอ้อยเท่ากับ 7,500 ลิตรต่อเฮ็กเตอร์ ซึ่งมีความแข่งขัน เป็นสองเท่าของผลผลิต การใช้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดในสหรัฐอเมเริกา ซึ่งมีผลผลิตเท่ากับ 3,000 ลิตรต่อเฮ็กเตอร์

ประเทศบราซิลเป็นผู้บุกเบิกในการพัฒนาการใช้เอธานาอลเป็นเชื้อเพลิง โดยได้ริเริ่มมาตราการสนับสนุนการผลิตเอธานอลจากอ้อย ตั้งแต่ช่วงปี 2513 โดยในขั้นแรก ได้มีการบังคับการใช้ส่วนผสมเอธานอลในน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 20-25 อันเป็นผลบังคับให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในบราซิล ต้องทำการดัดแปลงเปลี่ยนแปลงระบบเครื่องยนต์ในรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก โดยในสิ้นปี 2551 มีรถยนต์ที่ให้เชื้อเพลิงผสมวิ่งในท้องถนนเท่ากับ 9.35 ล้านคัน และมอเตอร์ไซค์ที่ใช้เชื้อเพลิงผสมอีก 183,300 คัน ปัจจุบันได้มีการคลี่คลายมาตรการอุดหนุนและสนับสนุนโดยตรง และใช้มาตรการสนับสนุนทางอ้อมแทน เช่น การลดหย่อนภาษี สำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงผสมเอธานอล การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับการก่อสร้างโรงกลั่น และการตั้งศูนย์การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตน้ำตาลจากอ้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเอธนอลจากน้ำตาล เป็นต้น ในปัจจุบันรถยนต์ทุกคันในประเทศบราซิลใช้เชื้อเพลิงผสมทั้งหมด ได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ โดยมีรถที่ได้เชื้อจากเอธานอลเกีอบร้อยเปอร์เซ็นต์และไม่มีส่วนผสมน้ำมันเลยเรียกว่าเครื่องยนต์ E100 ส่วนรถยนต์ประเภท E85 ที่ใช้ส่วนผสมเอธานอล 15 เปอร์เซ็นต์ เริ่มเป็นที่นิยมแพร่กระจายไปถึงตลาดรถยนต์ในทวีปยุโรป

อุตสาหกรรมเอธานอลจากน้ำตาลของบราซิล  มีประสิทธิภาพมากกว่า การผลิตเอธานอลจากข้าวโพดของสหรัฐฯ ต้นทุนการผลิตเอธานอลต่อลิตรของบราซิลเท่ากับ 22 เซ็นต์เมื่อเทียบกับ 30 เซ็นต์ของสหรัฐฯ ซึ่งแพงกว่าร้อยละ 30

- สหรัฐฯ ผู้บริโภคเอธานอลอันดับหนึ่งของโลก

สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตเอธานอลสำหรับเชื้อเพลิงอันดับหนึ่งของโลก โดยในปี 2552 มีผลผลิตปริมาณ 10.75 พันล้านแกลอน เที่ยบเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 55 ของการผลิตเอธานอลเชื้อเพลิงของโลก แต่ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ เป็นผู้บริโภคเอธานอลมากที่สุดในโลกเช่นกัน มีการใช้เอธานอลผสมเชื้อเพลิงในตลาดพลังงานของสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 3 ส่วนใหญ่เป็นเอธานอลที่ผลิตมาจากข้าวโพด เมื่อต้นปี 2553 สหรัฐฯ มีกำลังการผลิตเอธานอลเท่ากับ 14.46 พันล้านแกลอน มีการเปิดโรงงานผลิตใหม่ 16 แห่ง โดยดโรงงานใหม่เหล่านี้ มีกำลังการผลิตเพิ่มรวม 1.4 พันล้านแกลอน อันมีผลให้ปัจจุบันมีโรงงานผลิตเอธานอลในสหรัฐฯ เท่ากับ 189 โรงงานกระจายพื้นที่ใน 29 รัฐ องค์กรพลังงาน EIA คาดว่า ความต้องการบริโภคเอธานอลเชื้อเพลิงจะขยายไปถึง 11.2 พันล้านแกลอนภายในปี 2555

สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าเอธานอล 54 เซ็นต์ต่อแกลอน

- แผนการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในภูมิภาคละตินอเมริกา

ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาใต้และกลางหลายประเทศ ได้ริเริ่ม หรือกำลังวางแผนการผลิตพลังงานชีวภาพแห่งชาติประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ประเทศอาร์เจรตินา คอสตาริกา โคลัมเบีย เอลซาวาดอร์ ฮอนดูรัส จาไมคา เม็กซิโก นิคารากัว ปารากวัย เปรู อุรุกวัย และเวเนซูเอลา เป็นต้น

ประเทศโคลัมเบีย ถือว่าเป็นประเทศ ที่มีแผนงานเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพที่ก้าวหน้าที่สุด หลังจากประเทศบราซิล โคลัมเบียได้กำหนดบังคับให้ใช้ส่วนผสมเอธานอลในน้ำมันในอัตราร้อยละ 10 เมื่อปี 2548 และมีเป้าหมายที่จะบรรลุอัตราส่วนผสมร้อยละ 25 ในปี 2553 ส่วนน้ำมันดีเซลทั้งหมดต้องใช้ส่วนผสมเอธานอลร้อยละ 5 ในบางภูมิภาคตั้งแต่ปี 2551

ประเทศเม็กซิโก ได้กำหนดแผนงานการเพิ่มการผลิตเอธานอลจากอ้อยตั้งแต่ปี 2550 โดยได้ออกกฏหมายการส่งเสริมการใช้เอธานอลผสมน้ำมัน   โดยมีเป้าหมายบังคับการใช้ส่วนผสมเอธานอลในน้ำมันในอัตราร้อยละ 10  ในปี 2555 ในเมืองใหญ่สำคัญ ๆ อันได้แก่ Guadalajara, Monterrey และ Mexico City ซึ่งต้องพัฒนาความสามารถในการผลิตเอธานอลได้ 412,000 คิวบิกเมตรต่อปี รัฐบาลเม็กซิโกได้สนับสนุนโครงการลงทุนทดลองการผลิตเอธานอลจากอ้อยในรัฐ Vera Cruz, Oaxaca, Puebla, Morelos, San Luis Potosi, Jalisco, Michoacan, Colima และ Nayarit

ประเทศกัวเตมาลา ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลสำคัญในภูมิภาคละตินฯ ได้ออกกฏหมายเพื่อการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับพลังงานทดแทน เพื่อการยกเว้นภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเครื่องจักรที่นำเข้าเพื่อการผลิตพลังงานทดแทน และยกเว้นการเสียภาษีรายได้ 10 ปี สำหรับผู้ลงทุนด้านพลังงานทดแทน ทั้งนี้ กัวเตาลามุ่งหวัง ที่จะเป็นผู้ส่งออกเอธานอลสำคัญของภูมิภาคอเมริกากลาง

ประเทศฮอนดูรัส ได้ส่งเสริมให้มีการเพิ่มการผลิตน้ำตาลเพื่อป้อนโรงงานผลิตเอธานอล 2 แห่งที่มีอยู่

ประเทสคอสตาริกาได้กำหนดเป้าหมาย การทดแทนการนำเข้าน้ำมันให้ได้ร้อยละ 7 โดยการเพิ่มการใช้เอธานอลผสม

ประเทศเอลซาวาดอร์ ใช้สิทธิพิเศษเพื่อทำการผลิตเอธานอลเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในปริมาณ 1.3 ล้านแกลอนต่อปี