Google Website Translator

Friday, August 20, 2010

Opportunities for Thai Trade & Investment: Food Industries of Mexico

อุตสาหกรรมอาหารในเม็กซิโก

อุตสาหกรรมอาหารในเม็กซิโกประกอบด้วยภาคเกษตร การปลูกป่าไม้ ปศุสัตว์ การประมง การเลี้ยงผึ้ง การผลิตเครื่องดื่มและการบรรจุขวด ยาสูบ ของหวานและของว่าง ไบโอเทคโนโลยี และการบรรจุอาหารประเภทต่าง ๆ เม็กซิโกเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในหมวดสินค้าเกษตรเม็กซิโกเป็นผู้ส่งออกในระดับโลกที่สำคัญสำหรับการส่งออกมะเขือเทศ อโวคาโด มะนาว กาแฟออร์เกนนิค อโลเวรา แตงกวา และพริกหยวก ในหมวดเนื้อสัตว์เม็กซิโกเป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์อันดับ 8 ของโลก และในหมวดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอลเม็กซิโกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์การครอบครองเครื่องหมายการค้าของการผลิตเตคิล่าเพียงผู้เดียว ในรอบสิบปีที่ผ่านมา ภาคการผลิตอาหารของเม็กซิโกได้เติบโตในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 12 ต่อปี ในขณะเดียวกัน การนำเข้าอาหารได้เติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี

ตลาดสินค้าอาหารในเม็กซิโกโดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นตลาดที่มีการแตกย่อย (segmented) มาก แต่บริษัทใหญ่ ๆ ก็ยังสามารถครอบครองตลาดโดยการเน้นการผลิตสินค้าโดยเฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่าง เช่น กลุ่ม Bimbo ที่ควบคุมร้อยละ 80 ของตลาดขนมปัง ยอดขายปี 2532 6.5 พันล้านเหรียญ กลุ่ม LaLa ควบคุมร้อยละ 40 ของการขายผลิตภัณฑ์นมทั่วประเทศ ยอดขายปี 2548 มูลค่า 2.2 พันล้านเหรียญ บริษัท Kellogg ที่ควบคุมร้อยละ 51 ของตลาดธัญญพืช และกลุ่ม Gruma ที่ควบคุมตลาดด้านผลิตภัณฑ์ข้าวโพด ยอดขายในปี 2532 มูลค่า 5 หมื่นล้านเหรียญ

อาหารประเภทเนื้อสัตว์: เม็กซิโกเป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์อันดับ 8 ของโลก ในปี 2553 มีมูลค่าการส่งออกเนื้อสัตว์รวมประมาณ 468 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประเทศไทยส่งออกเนื้อสัตว์ในปี 2532 ได้ประมาณ 67 ล้านเหรียญฯ) ตลาดการส่งออกเนื้อสัตว์ที่ของสำคัญเม็กซิโกได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลี การเลี้ยงหมูและการผลิตเนื้อหมูและผลิตภัฑ์จากเนื้อหมูในประเทศเม็กซิโกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี คศ. 1970 เป็นต้นมา เนื่องจากได้เริ่มมีการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากิจกรรมในภาคการเลี้ยงหมูและการผลิตเนื้อหมู ความตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ได้มีผลส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงทางการตลาดในอุตสาหกรรมหมูของสหรัฐฯ และเม็กซิโกมากขึ้น ประเทศเม็กซิโกมีความสามารถผลิตเนื้อหมูได้ประมาณ 1 ล้านเมตริกตันต่อปี แต่ยังคงต้องมีการนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐฯ เนื่องจากมีปริมาณการการบริโภคประมาณ 1.5 ล้านเมตริกตันต่อปี

อาหารทะเล: กิจการการประมงของเม็กซิโกนับว่ามีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่ามวลรวมของรายได้ประชาชาติ (GDP) โดยคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.8 ของผลผลิตแห่งชาติเท่านั้น และคาดว่ามีแรงงานในภาคการประมงนี้ราว 268,727 คน จำนวนเรือประมง เรือประมงประมาณ 106,428 ลำ เม็กซิโกมีการจับสัตว์น้ำได้ราว 1.5 ล้านเมตริกตันต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการจับตามธรรมชาติ และร้อยละ 10 มาจากการเพาะเลี้ยง ในการจับจากธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นการจับมาจากมหาสุมทรฝั่งแปซิฟิกคิดเป็นร้อยละ 78 ซึ่งจะพบปลาซาร์ดีนชุกชุม เฉพาะในบริเวณ Gulf of California ที่เป็นอ่าวลึกเข้ามาในเม็กซิโกจะสามารถจับสัตว์น้ำได้ถึง 500,000 เมตริกตันต่อปีคิดเป็นร้อยละ 33 ของการจับสัตว์น้ำทั้งหมด โดยปลาที่จับได้ในบริเวณนี้ ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลา anchovetas และกุ้ง อนึ่งสำหรับทางฝั่งแอตแลนติกแถบอ่าวเม็กซิโกนั้นยากที่จะหาแหล่งจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ เนื่องจากติดปัญหาการแย่งพื้นที่กับบริษัทขุดเจาะน้ำมัน ทั้งนี้รัฐบาลพยายามสนับสนุนการเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยใช้พื้นที่ทางเหนือแถบมลรัฐ Tamaulipas ที่ติดกับรัฐ Texas

คนเม็กซิโกบริโภคอาหารสัตว์น้ำราว 10 - 14 กิโลกรัมต่อคนต่อปี โดยส่วนใหญ่จะนิยมบริโภคเนื้อวัว และหมูมากกว่าราว 39.4 กิโลกรัมต่อคนต่อปี อย่างไรก็ตามปลาที่คนเม็กซิกันนิยมบริโภคได้แก่ ปลาหมอเทศ (Tilapia) กุ้ง และปลาหมึก (Octopus) การนำเข้าสินค้าอาหารจากสัตว์น้ำของเม็กซิโกในปี 2552 มีมูลค่ารวม 91 ล้านเหรียญสหรัฐ และการส่งออกประมาณ 38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ผักและผลไม้: ประเทศเม็กซิโกเป็นผู้ผลิตสับปะรดสดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ในปริมาณ 540,000 ตันต่อปี ในพื้นที่การเพาะปลูก 10,500 เฮ็กเตอร์ต่อปี ในปี 2537 ได้มีการนำเข้าสับปะรดประมาณมากที่สุด 18, 320 ตัน แต่ได้ลดลงระหว่างปี 2539 ถึง 2543 ปริมาณนำเข้าระหว่าง 533-806 ตัน และได้เพิ่มขึ้นในปี 2543 เป็น 1,367 ตัน มูลค่าเกือบล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในระหว่างปี คศ. 1960-1980 รัฐบาลของเม็กซิโกได้พยายามส่งเสริมการขยายการปลูกผลไม้ในเชิงพาณิชย์หลากหลายชนิด เพื่อทดแทนการปลูกกาแฟที่มีราคาตกต่ำ โดยการรณรงค์การเพาะปลูกลิ้นจี่ maracuyá และ macademia พื้นที่การเพาะปลูกลิ้นจี่มีประมาณ 1.82 ล้านตารางเมตร ปัจจุบันเป็นการปลูกเพื่อการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เป็นสำคัญและมีแนวโน้มการเติบโตได้อีกมาก

การเลี้ยงผึ้ง: การเลี้ยงผึ้งในเม็กซิโกได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังตั้งแต่ปี คศ. 1986 เป็นต้นมา โดยในดังกล่าวสามารถผลิตน้ำผึ้งได้มากเป็นประวัติการณ์ประมาณ 75,000 ตัน ในปัจจุบันเม็กซิโกมีความสามรถผลิตน้ำผึ้งได้ประมาณ 25,000 ตันต่อปี เป็นผู้ผลิตอันดับ 5 ของโลก และส่งออกเป็นอันดับ 3 ในปี 2532 เม็กซิโกส่งออกน้ำผึ้งได้ประมาณ 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การเลี้ยงผึ้งนับว่าเป็นกิจกรรมด้านการเกษตรที่สำคัญเนื่องจากมีการจ้างงานได้ประมาณ 400,000 คน

โภคภัณฑ์สำคัญ: น้ำตาลและกาแฟ เม็กซิโกเป็นประเทศผู้ที่มีสิทธิส่งออกน้ำตาลไปยังสหรัฐฯ ที่ไม่มีข้อจำกัดด้านโควต้า และได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีนำเข้าตามข้อตกลงเขตการค้าเสรี NAFTA จึงเป็นแหล่งนำเข้าน้ำตาลสำคัญแหล่งหนึ่งสำหรับสหรัฐฯ เม็กซิโกมีความสามารถในการเพาะปลูกอ้อยเพื่อการผลิตน้ำตาลในปริมาณระหว่าง 60-70 ตันต่อเฮ็กเตอร์ ซึ่งจัดเป็นผู้มีสมรรถภาพในการผลิตน้ำตาลอันดับ 13 ของโลก และในปี 2552/3 จะมีผลผลิตน้ำตาลประมาณ 5.8 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับความต้องการของตลาดภายใน ที่มีการบริโภคน้ำตาลจากอ้อยประมาณ 5 ล้านตัน และความต้องการน้ำตาลสังเคราะห์อีก 800,000 ล้านตัน เม็กซิโกมีการส่งออกน้ำตาลประมาณ 400,000 ล้านตัน และนำเข้าน้ำตาลเพื่อป้อนอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกในโครงการ INMEX จำนวน 200,000 ล้านตัน อุตสาหกรรมน้ำตาลของเม็กซิโกมีการจ้างงานโดยตรงประมาณ 440,000 คน และสร้างานโดยทางอ้อมได้อีกประมาณ 2.5 ล้านคน แต่รายได้จากภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลมีสัดส่วนต่อรายประชาชาติเพียงร้อยละ 0.06

กาแฟ: ในปี 2552 เม็กซิโกส่งออกกาแฟ (รหัส HS 0901) โดยรวมมูลค่า 378.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 131,574 ตัน กว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนส่งออกทั้งหมดส่งออกไปยังสหรัฐฯ เป็นสำคัญ มูลค่า 243.3 ล้านเหรียญฯ รองลงมาได้แก่ การส่งออกไปยังประเทศเยอรมัน 32.2 ล้านเหรียญฯ เบลเยี่ยม 29.6 ล้านเหรียญ แคนาดา 13.5 ล้านเหรียญ และญีปุ่น 8.4 ล้านเหรียญฯ เป็นต้น

ตลาดเครื่องดื่มและการบรรจุขวด: ตลาดการขายเครื่องดื่มในเม็กซิโกเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และได้มีคาดคะเนว่าปริมาณการบริโภคน้ำขวดในเม็กซิโกในปี คศ. 2013 จะมีปริมาณ 67.5 พันล้านลิตร มูลค่าของตลาดประมาณ 50 ล้านเหรียญฯ เครื่องดื่มที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่ น้ำเปล่าบรรจุขวดและรองลงมาได้แก่เบียร์ ช่องทางการขายที่สำคัญได้แก่ ร้านขายปลีกเครื่องดื่มในลักษณะเป็น convenience store ที่มีกว่า 700,000 แห่งทั่วประเทศ และบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการครองครองตลาดดังกล่าวได้แก่ กลุ่ม FEMSA และกลุ่ม Modelo ซึ่งครองตลาดรวมกันได้ร้อยละ 90 ของตลาดเครื่องดื่มทั้งหมด

Wednesday, August 18, 2010

Central American online coffee auction

ผู้ผลิตกาแฟอเมริกากลางขายกาแฟผ่านระบบการประมูลในอินเตอร์เน็ต

กาแฟเป็นสินค้าโภคภัณฑ์พื้นฐานและพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย มีการเพาะปลูกกาแฟเพื่อการบริโภคและส่งออกในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก กว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตกาแฟของโลกมาจากประเทศบราซิล (22.5 ล้านกระสอบ) โคลัมเบีย (10.5 ล้านกระสอบ) อินโดนีเซีย (6.7 ล้านกระสอบ) และเวียดนาม (5.8 ล้านกระสอบ) ในขณะที่ประเทศเม็กซิโกผลิตได้ประมาณ 5 ล้านกระสอบ และประเทศในกลุ่มอเมริกากลางเป็นผู้ผลิตในอันดับ 10-15 ของโลก ในช่วง 12 เดือนถึงเดือน พค. 2553 ผลผลิตกาแฟของโลกมีปริมาณ 124 ล้านกระสอบ (60 กิโลกรัมต่อกระสอบ) ราคาขายเฉลี่ยในเดือน มิย. 2553 ที่ประมาณ 1.55 เหรียญต่อปอนด์

ภาพเปรียบผลผลิตกาแฟของโลก
แหล่งข้อมูล: worldmapper.org

การผลิตกาแฟในประเทศอเมริกากลาง

การประมูลซื้อ/ขายกาแฟผ่ายอินเตอร์เน็ต

การประมูลซื้อ/ขายกาแฟผ่ายอินเตอร์เน็ตได้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2542 สืบเนื่องมาจากโครงการ Gourmet ที่ได้รับการส่งเสริมโดยองค์กรกาแฟระหว่างประเทศ (ICO) ศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (ITC) และกองทุนสหประชาชาติเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ (UN Common Fund for Commodities) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมให้ประเทศผู้ผลิตกาแฟสามารถขายกาแฟได้ในราคาที่ดีขึ้น อันส่งผลให้เกิดการรวมตัวของผู้ชิมกาแฟ (cuppers) ผู้อบคั่วเมล็กกาแฟ (roasters) และผู้นำเข้ากาแฟจากสหรัฐฯ เพื่อทดสอบชิมคุณภาพของกาแฟและทำการประมูลซื้อกาแฟจากเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟที่มีคุณภาพสูงในประเทศบราซิลโดยตรงเป็นครั้งแรก เป็นพื้นฐานการเกิดองค์กรที่มีชื่อว่า Cup of Excellence ซึ่งได้พัฒนาเวปไซท์ขึ้นในปี 2546 เพื่อเอื้ออำนวยการประมูลซื้อขายกาแฟที่มีคุณภาพโดยตรงจากผู้ผลิต

ปัจจุบันการประมูลซื้อ/ขายกาแฟผ่ายอินเตอร์เน็ตที่ Cup of Excellence (COE) เป็นผู้ดำเนินการมีประเทศที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก 9 ประเทศอันได้แก่ โบลิเวีย บราซิล โคลัมเบีย คอสตาริกา เอลซาวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิคารากัว และระวันดา ผู้ที่มีความประสงค์ซื้อกาแฟคุณภาพสามารถแจ้งขอสมัครเป็นสมาชิกการประมูลผ่านเวปไซท์ http://www.cupofexcellence.org/ โดย COE ได้รวบรวมข้อมูลรายละเอียดของผลผลิตกาแฟของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในแต่ละปี โดยมีการจัดระดับคุณภาพโดยคณะกรรมการตัดสินคุณภาพกาแฟของ COE รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย และจะจัดส่งตัวอย่างเมล็ดกาแฟต่างๆ ที่อยู่ในบัญชีให้ผู้สนใจประมูลทำการชิม (cupping) ด้วยตัวเองเพื่อตัดสินใจว่าจะมีความสนใจจะประมูลซื้อกาแฟชุดไหน แล้ว COE จะประกาศวันประมูล และผู้ที่ประมูลราคาซื้อสูงสุดจะเป็นผู้ที่สามารถสั่งการนำเข้ากาแฟที่ได้รับชนะการประมูล การคัดซื้อกาแฟคุณภาพสูงในระบบดังกล่าวได้ช่วยส่งเสริมให้ผู้ผลิตกาแฟในประเทศกำลังพัฒนามีความสนใจพัฒนาและรักษาคุณภาพของกาแฟที่ผลิต ได้เป็นที่รู้จักในตลาดผู้ซื้อและได้รับราคาที่สูงกว่าราคากาแฟในตลาดโดยทั่วไป และในขณะเดียวกันได้ช่วยให้ผู้ซื้อกาแฟที่เน้นคุณภาพของกาแฟสามารถจัดหากาแฟคุณภาพสูงได้สะดวกขึ้น

ในปี 2553 ได้มีการประมูลกาแฟคุณภาพสูงของกลุ่มประะเทศอเมริกากลางที่เป็นสมาชิก COE ได้แก่ การประมูลกาแฟผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของประเทศกัวเตมาลา ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2533 โดยกาแฟที่ได้ชนะการประมูลได้แก่ กาแฟของไร่ El Ejerto ราคาขายได้ปอนด์ละ 22.10 เหรียญฯ การประมูลของ COE กัวเตมาลาขายกาแฟได้ทั้งหมด 34,980 กิโลกรัม มูลค่ารวม 712,234 เหรียญฯ ซึ่งคำณวนราคาเฉลี่ยได้ 8.92 เหรียญฯ ต่อปอนด์ การประมูลฯของประเทศเอลซาวาดอร์ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 กาแฟที่ได้รับชนะการประมูลได้แก่ กาแฟของไร่ Suiza ขายได้ในราคา 28 เหรียญฯต่อปอนด์ (ประมาณ 18 เท่าของราคาตลาดโลก) ยอดขายในการประมูลสำหรับเอลซาวาดอร์รวมทั้งหมด 718,838 กิโลกรัม การประมูลซื้อขายกาแฟโดยระบบอินเตอร์เน็ตของประเทศฮอนดูรัสจัดขึ้นเมื่อวัมที่ 7 กรกฏาคม 2553 ผู้ชนะคือไร่ Don Amado ขายได้ราคา 22.05 เหรียญฯ ต่อปอนด์ การประมูลกาแฟของประเทสนิคารากัวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2553 ผู้ชนะการประมูลได้แก่ไร่ El Esfuerza ขายให้กับกลุ่มผู้ซื้อจากประเทศญี่ปุ่น Maruyama Coffee for Mikatajuku Group ในราคา 35.65 เหรียญฯ ต่อปอนด์

ส่วนประเทศคอสตาริกาได้จัดการประมูลต่างหาก (Subasta Costa Rica) โดยสมาคมกาแฟคุณภาพสูงแห่งคอสตาริกา SCACR เมื่อวันที่ 11-19 พฤษภาคม 2553 เนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุนเพื่อเข้าร่วมประมูลในระบบออนไลน์ของ COE ผู้ที่ชนะการประมูลได้แก่ไร่ Las Palomas สามารถขายกาแฟได้ในราคา 281 เหรียญต่อ quintel (46 กิโลกรัม) SCARC ได้กล่าวว่า การประมูลซื้อขายกแฟผ่านระบบออนไลน์ของ COE ในปี 2552 ได้รับราคาประมูลที่ต่ำทำให้สมาคมฯ ซึ่งเป็นผู้จัดการประมูลขาดทุนในการจัด จึงต้องพยายามหาวิธีการประมูลที่มีต้นทุนต่ำลง จึงได้พัฒนาระบบการประมูลของตนเองขึ้นโดยจะสลับกับการประมูลภายในประเทศกับการประมูลระหว่างประเทศในแต่ละปีต่อไป

แหล่งข้อมูล:
http://www.coffeeresearch.org/coffee/mexicoca.htm
http://www.allbusiness.com/sales/internet-ebay/168694-1.html
http://www.ico.org/
http://www.centralamericadata.com/en/article/home/Guatemalan_Coffee_to_be_Auctioned_Online
http://www.coffeefair.com/coffee-facts-production.htm
http://www.scacr.com/en/who_we_are.php
http://www.allbusiness.com/manufacturing/food-manufacturing-food-coffee-tea/203473-1.html
http://coffeegeek.com/resources/pressreleases/scaajuly172004
http://www.fao.org/docrep/006/y5143e/y5143e0v.htm#TopOfPage

Monday, August 16, 2010

Guatemala imports shrimps due to shortages caused by tropical storm

กัวเตมาลาต้องนำเข้ากุ้ง การผลิตภายในประสบปัญหาภัยธรรมชาติ

พายุหมุนฤดูร้อน Agatha และการระเบิดของภูเขาไฟ Pacaya ได้ทำลายฟาร์มพาะเลี้ยงกุ้งในกัวเตมาลาไปประมาณร้อยละ 75 ของการผลิตกุ้งของกัวเตมาลา และคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหนึ่งปีกว่าการผลิตกุ้งภายในประเทศจะฟื้นตัวได้ในระดับเดิม ซึ่งในระหว่างนี้ คาดว่าจะต้องมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศประมาณ 5,000 ปอนด์ต่อวัน

พายุหมุน Agatha ที่พัดผ่านกลุ่มประเทศอเมริกากลางเมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2553 ได้มีผลเกิดน้ำท่วมและสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนและภาคเกษตรอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตในกัวเตมาลา 165 คน ในเอลซาวาดอร์ 13 คน และในนิคารากัว 1 คน ได้มีการประเมินผลเสียหายต่อภาคเกษตรในประเทศที่ได้รับผลกระทบคือ เกิดความเสียหายต่อการผลิตในกัวเตมาลา พืชส่งออกเสียหายประมาณ 4.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลเสียหายต่อการผลิตกาแฟประมาณ 29 ล้านเหรียญฯ ความเสียหายสำหรับภาคเกษตรในเอลซาวาดอร์มีมูลค่าประมาณ 68.8 ล้านเหรียญฯ และความเสียหายสำหรับภาคเกษตรในคอสตาริกาประมาณ 6.25 ล้านเหรียญฯ

สำหรับประเทศกัวเตมาลานั้น เกิดการะเบิดของภูเขาไฟ Pacaya (ห่างจากเมืองหลวง 45 กม.) ในวันที่ 27 พฤษภาคม ซึ่งทำให้มีขี้เถ้าจากการระเบิดภูเขาไฟตกไปในบ่อเพาะเลี้ยงกุ้ง และยังถูกกระหน่ำโดยพายุหมุนในวันต่อๆ มา มีผลทำลายผลผลิตไปประมาณร้อยละ 75 และคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีก 1 ปีกว่าจะฟื้นตัวได้ สภาผู้ส่งออกกัวเตมาลาได้คำณวนเงินตราต่างประเทศที่ศูนย์เสียเนื่องการการส่งออกที่ลดลงและการนำเข้าทดแทนว่ามีมูลค่าประมาณ 11.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผู้จัดการฝ่ายการซื้อขายของบริษัท Walmart de Centroamerica ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ผลของพายุ Agatha ทำให้การค้ากุ้งต้องเปลี่ยนไปสู่การนำเข้าเป็นเกือบร้อยละ 80 ของจำนวนที่ขายได้ มูลค่าประมาณ 5 ล้านลิบราต่อวัน

ประเทศกัวเตมาลามีการส่งออกสินค้าประมงประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีผู้ส่งออกสำคัญประมาณ 25 กว่าราย และมีสินค้าส่งออกประเภทประมงหลากหลายประเภทประมาณ 20,000 รายการ



แหล่งข่าว: http://www.sigloxxi.com/pulso.php?id=16356

Deep Sea Oil in Gulf of Mexico

แหล่งน้ำมันน้ำลึกในอ่าวเม็กซิโก

ภูมิหลังเกี่ยวกับการขุดเจาะน้ำมันในน้ำลึก

ในภาวะที่โอกาสการขุดค้นหาแหล่งน้ำมันใหม่เริ่มลดน้อยลง (peak oil) และราคาน้ำมันแพงขึ้นตั้งแต่ปี 2550-2551 เป็นต้นมา บริษัทสำรวจหาน้ำมันต่าง ๆ ทั่วโลกมีแรงจูงใจในการสำรวจขุดเจาะหาน้ำมันในทะเลน้ำลึกมากขึ้น ในปี 2552 ปริมาณน้ำมันสำรองของโลกเท่ากับ 1.342 พันพันล้านเบเรล โดยร้อยละ 10 ของปริมาณดังกล่าว หรือประมาณ 100 พันล้านเบเรลมาจากน้ำมุนที่ขุดได้จากแหล่งน้ำมันน้ำลึก

พื้นที่ ๆ มีศักยภาพสำหรับการขุดเจาะน้ำมันน้ำลึกอยู่ระหว่างพื้นที่อ่าวเม็กซิโก พื้นที่ทะเลแอ็ตแลนติกตามชายฝั่งทะเลของประเทศบราซิล และพื้นที่ทะเลฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกาตามชายฝั่งของประเทศไนจีเรีย แองโกลา ไอวารีโคสต์และมอริตาเนีย โดยพื้นที่อ่าวเม็กซิโกมีการพัฒนาสำรวจขุดเจาะมากที่สุด วารสาร Petroleum Economist ได้รายงานว่า เมื่อปี 2550 มีบ่อน้ำมันและแก๊ซที่ให้ผลผลิตในอ่าวเม็กซิโก 112 แห่ง ในฝั่งทะเลของบราซิล 18 แห่ง และในตามฝั่งทะเลของแอฟริกาอีก 18 แห่ง

มีการคาดคะเนว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่อาจจะมีอยู่ในแหล่งน้ำมันน้ำลึกในอ่าวเม็กซิโกมีปริมาณประมาณ 30-40 พันล้านบาเรล ส่วนปริมาณน้ำมันสำรองในแถบทะเลฝั่งบราซิลคาดว่าได้เพิ่มจาก 15 พันล้านเบเรล เป็น 30 พันล้านเบเรล และปริมาณแหล่งน้ำมันน้ำลึกในชายฝั่งแอฟริกาคาดว่ามีประมาณ 30 พันล้านเบเรล

สถบันเกี่ยวการบริหารแหล่งพลังงานในทะเลของสหรัฐฯ (BOEMRE) ได้รายงานว่า มีการเปิดบ่อขุดน้ำมันน้ำลึกใหม่ทั้งหมด 18 แห่งในปี 2551 โดย 5 แห่งเป็นการขุดเจาะในพื้นที่ ๆ ลึกกว่า 5,000 ฟุต

สภาพธรณีวิทยาเกี่ยวกับแหล่งน้ำมันน้ำลึกในอ่าวเม็กซิโก

นักธรณีวิทยาต่างๆ เล็งเห็นว่าอ่าวเม็กซิโกมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับการสะสมของซากสารอินทรีย์ต่าง ๆ อันมีผลให้เกิดแหล่งน้ำมันในทะเลน้ำลึกที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากกระบวนการทางธรรมชาติในอ่าวเม็กซิโกที่รับการถ่ายเทของสารอินทรีย์จากแม่น้ำ Mississippi ที่ใช้เวลามาเป็น 40 ล้านปี นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะของโครงสร้างของเนินหิน (anticlines) และแผ่นเกลือที่คลุมปิด (salt sheets dome caps) ที่ช่วยการกักขังน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าว

แหล่งน้ำมันในทะเลน้ำลึกพื้นที่อื่น ๆ เช่นที่บราซิลและทะเลฝั่งตะวันตกของแอฟริกา มีลักษณะเป็นทะเลเปิดที่มีการถ่ายเทของกระแสน้ำในพื้นที่ทะเลน้ำลึก จึงไม่มีการสะสมของสารอินทรีย์โบราณในลักษณะที่เกิดขึ้นในอ่าวเม็กซิโก นอกจากนี้แล้ว แม่น้ำ Mississippi เป็นระบบน้ำที่ทอดต่อลงต่อมาจากเทือกเขาร็อกกี้ และเทือกเขา Appalachians และมีการเชื่อมต่อมาจากแม่น้ำ Red River และพื้นที่ของแผ่นน้ำลึกในอ่าวเม็กซิโกมีเขตปิดกั้นการไหลเวียนของน้ำลึกจากหมาสมุทรแอทแลนติกโดยเกาะคูบา คาบสมุทรฟลอริด้าและยูคาตัน ที่ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในน้ำลึกน้อย ซากสารจุลินทรีย์ที่ไหลลงมาทับถมจึงมีการสลายตัวช้ามาก และเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดน้ำมันได้ดี น้ำมันและแก๊ซคือซากสารอินทรีย์ที่ตายแล้วแต่ไม่ได้สลายตัว (undecayed dead organism) ซึ่งเมื่อถูกทับถมลึกลงไปในพื้นที่ใต้น้ำทะเล ยิ่งลึกยิ่งสะสมความร้อนมากขึ้นจนสุกเป็นน้ำมัน แหล่งทะเลน้ำลึกที่อาจจะมีความอุดมสมบูรณ์ของการสะสมซากสารอินทรีย์โบราณที่มีศักยภาพสำหรับน้ำมันอีกแห่งหนึ่งอาจจะเป็นลุ่มแม่น้ำ Niger อีกแห่งเดียวเท่านั้น

ลักษณะธรณีวิทยาอีกอีกประเด็นหนึ่งของอ่าวเม็กซิโกที่มีผลต่อการสำรวจขุดเจาะน้ำมัน คือการทับถมของดินโคลนในสภาพที่มีออกซิเจนน้อย เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแก๊ซ ซึ่งมักจะเพิ่มโอกาสการเกิดระเปิดได้มากขึ้น

เหตุการณ์บ่อน้ำมัน Deepwater Horizon ระเบิดและผลกระทบของการรั่วไหลของน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก

บ่อน้ำมันน้ำลึก Deepwater Horizon ที่บริษัทสำรวจน้ำมัน British Petroleum ได้ทำการขุดเจาะในอ่าวเม็กซิโกและเกิดการระเบิดและรั่วไหลน้ำมันในทะเลตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมานั้น เป็นบ่อที่ขุดเจาะน้ำมันทะเลน้ำลึกที่ลึกที่สุดในประวัติการณ์ อยู่ในระดับ 13,016 ฟุตลึกลงไปจากพื้นทะเลซึ่งอยู่ในระดับความลึก 5,000 ฟุตใต้ผิวน้ำ

การรั่วไหลของน้ำมันจากบ่อ Deepwater Horizon ได้มีอัตราการรั่วไหลเฉลี่ยประมาณ 35,000 ถึง 60,000 เบเรลต่อวัน ครอบคลุมพื้นที่ 6,500 ตารางกิโลเมตร นับเป็นการรั่วไหลน้ำมันที่สร้างมลภาวะในทะเลครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติการณ์ และเป็นเหตุให้สหรัฐฯ ต้องพิจารณาทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการสำรวจหาแหล่งน้ำมันในน้ำลึก ในขั้นแรกได้มีการระงบการขุดเจาะใหม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน และได้มีการตรวจสอบสภาพความปลอดภัยของบ่อขุดที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้งหมด โดยที่หลายบ่อต้องปิดระงับการทำงานไปเนื่องจากพบว่ามีความปกพร่องด้านความปลอดภัย บริษัท BP ได้คาดการณ์ว่าค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการรั่วไหลของน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกทั้งหมดจะมีมูลค่ารวมประมาณ 3.12 พันลานเหรียญสหรัฐฯ

สำหรับประเทศเม็กซิโกซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างการสำรวจขุดเจาะน้ำมัน เพื่อหาแหล่งน้ำมันเพิ่มเติมโดยเฉพาะจากทะเลน้ำลึก ก็ต้องพิจารณาทบทวนนโยบาบดังกล่างทั้งหมดใหม่ โดยในระยะสั้นได้มีการถอนบ่อขุดที่ตั้งใจะเปิดดำเนินการในพื้นน้ำสหรัฐ ต้องถูกระงับไปและได้ลากกลับมาใช้ในชายฝั่งเวราครูซแทน

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2010/07/12/AR2010071204239.html
http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2010/05/08/AR2010050803429_2.html?nav=emailpage&sid=ST2010050800010
http://en.wikipedia.org/wiki/Deepwater_Horizon_oil_spill
http://www.wikinvest.com/concept/Deepwater_Oil_Exploration
http://www.gomr.mms.gov/homepg/offshore/deepwtr.html Deepwater information BOEMR
http://www.wired.com/cars/energy/magazine/15-09/mf_jackrig?currentPage=all