Google Website Translator

Wednesday, April 7, 2010

FEMSA, Mexico's beer and soda bottler

บริษัท FEMSA ผู้บรรจุขวดน้ำหวานและเบียร์สำคัญของเม็กซิโก กำลังพิจารณาการซื้อกิจการบรรจุขวดในภูมิภาคอื่น

บริษัท FEMSA เม็กซิโก (Fomento Económico Mexicano, S.A. de C.V.) เป็นผู้บรรจุขวดน้ำหวานและน้ำดื่ม และผู้ผลิตเบียร์ที่สำคัญของเม็กซิโก โดยบริษัท FEMSA เป็น holding company ที่ได้พัฒนามาจากการขายเบียร์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2433 ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Monterray และมีรายได้ต่อปีรวม 12.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีธุรกิจสำคัญสามสาย อันได้แก่

  1. การผลิตเบียร์ ซึ่งมียีห้อ Tecate, Sol, Dos Equis, Indio และ Kloster ทั้งนี้ บริษัท FEMSA เป็นผู้ผลิตเบียร์อันดับสองของเม็กซิโกรองจากบริษัท Modelo ตลาดเบียร์ของเม็กซิโกเป็นตลาดที่ผู้ผลิตใหญ่สองรายนี้ยึดครองอยู่ร่วมกัน (duopoly) ร้อยละ 97
  2. ธุรกิจสำคัญสายที่สอง ได้แก่ การบรรจุและจำหน่ายน้ำอัดลมของยี่ห้อโคคาโคลา โดยบริษัท FEMSA เป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 53.7 ของบริษัท Coca Cola-FEMSA ซึ่งเป็นผู้บรรจุน้ำอัดลมที่สำคัญอันดับสองของโลกของยี่ห้อโคคาโคลา มีกิจการการบรรจุขวดใน 11 ประเทศ (เม็กซิโก อาร์เจนตินา บราซิล กัวเตมาลา โคลัมเบีย คอสตาริกา เอกัวดอร์ นิคารากัว ปานามา เปรู เวเนซูเอลา) และมีสัดส่วนในการจัดจำหน่ายเครื่องดื่มโคคาโคลาในอัตราร้อยละ 10 ของยอดขายโคคาโคลาทั่วโลก
  3. ธุรกิจสำคัญสายที่สาม ได้แก่ กิจการแฟรนไชส์ร้านคอนวีเนียนซ์ที่เน้นการจำหน่ายน้ำดื่มประเภทต่าง ๆ ยี่ห้อ OXXO มีเครื่อข่ายแฟรนไชส์ในเม็กซโกประมาณ 7,000 แห่ง ซึ่งมีอัตราการเปิดร้านใหม่วันละ 6 แห่ง การครองตลาดในสัดส่วนร้อยละ 50 ของภาคธุรกิจร้านคอนวีเนียนซ์ และมีการประเมินว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ของ OXXO จะมีการขยายตัวในอัตราร้อยละ 60 ในระยะ 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ร้าน OXXO เป็นตัวผลักดันยอดขายของเครื่องดื่มรูปแบบแอลกอฮอล์และไม่ผสมแอลกอฮอล์ ซึ่ง FEMSA เป็นเจ้าของกว่า 100 ยี่ห้อ ร้อยละ 41.5 ของรายได้ในร้านมาจากการขายเครื่องดื่ม และร้อยละ 12 ของยอดขายเบียร์ของ FEMSA มาจากการขายในร้าน OXXO นอกจากน้ำโซดาแล้ว FEMSA ยังเป็นผู้บรรจุและจัดจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวด โดยเม็กซิโกเป็นตลาดของน้ำดื่มบรรจุขวดอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ ทั้งนี้ ชาวเม็กซิกันมีการดื่มน้ำบรรจุขวดในปริมาณ 18,000 พันลิตรต่อปี หรือ 169 ลิตรต่อคนต่อปี
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 บริษัท FEMSA ได้แจ้งข่าวต่อสื่อมวลชน ว่าบริษัทฯ จะขายหน่วยการผลิตเบียร์ยี่ห้อ Tecate ในเม็กซิโก ซึ่งมีการประเมินมูลค่าทุนประมาณ 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแลกเป็นหุ้นส่วนร้อยละ 20 ในบริษัท Heinekens ของเนเธอร์แลนด์ อันจะมีผลให้บริษัท Heinekens มีฐานการขายมั่นคงมากขึ้นในทวีปอเมริกา และเพิ่มสัดส่วนการครองตลาดการขายเบียร์เป็นร้อยละ 9.2 ใกล้เคียงกับผู้ขายเบียร์อันดับสอบของโลก

นาย Carlos Salazar ผู้บริหารของบริษัท FEMSA ได้เปิดเผยว่า รายได้ที่สืบเนื่องมากจากการขายกิจการครั้งนี้ จะนำไปขยายธุรกิจด้านการบรรจุขวด โดยมีแผนงานจะซื้อโรงงานบรรจุขวดของโคคาโคลาในแคนาดา ที่มีมูลค่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยให้บริษัท FEMSA ลดต้นทุนการผลิตและสร้างความยืดหยุ่นในการกระจายสินค้าเพิ่ม นอกจากนี้แล้ว บริษัท ฯ มีความสนใจที่จะซื้อกิจการบรรจุขวดในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอื่นเช่น ที่เอควาดอร์ อาร์เจนตินา บราซิล และฟิลิปินส์ โดยในครึ่งปีหลังนี้ จะมีการส่งคณะดูงานเดินทางไปศึกษาโอกาสการซื้อกิจการเกี่ยวกับการบรรจุขวดและศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจำหน่ายเครื่องดื่มในภูมิภาคเอเชีย


แหล่งข้อมูล:
http://www.reuters.com/article/idUSN1624532820100217
http://www.femsa.com/en/
Euromonitor, "Heinekens acquisition of FEMSA increases its exposure to key Latin American markets"

Opportunities for Thai Trade & Investment: Sugar market in Central America

ภาวะตลาดสินค้าน้ำตาลในภูมิภาคอเมริกากลาง

1) การพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง

ประเทศนิคารากัวเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอเมริกากลางที่เริ่มการผลิตน้ำตาลในภูมิภาคอเมริกากลาง เป็นเวลามาร้อยปีตั้งแต่ปี 2423 (คศ. 1880) และการเพาะปลูกอ้อยและผลิตน้ำตาลในภูมิภาคอเมริการกลางได้ขยายตัวไปยังประเทศกัวเตมาลา คอสตาริกา เอลซาวาดอร์ และฮอนดูรัส อย่างรวดเร็วในระยะเวลา 10 ปีต่อมา ในช่วงระยะปี 2523-2533 การผลิตน้ำตาลในภูมิภาคอเมริกากลางได้ขยายตัวมากขึ้น โดยในปี 2538 กลุ่มประเทศอเมริกากลางมีผลผลิตน้ำตาลรวมประมาณ 3 ล้านตัน โดยมีสัดส่วนการบริโภคภายในประเทศประมาณร้อยละ 46 และส่งออกส่วนที่เหลือ

ตลาดน้ำตาลในกลุ่มประเทศอเมริกากลางเป็นตลาดที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาล โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนดโควต้าการผลิตรายปีให้กับโรงผลิตน้ำตาลแต่ละราย แต่การกระจายสินค้าเป็นความรับผิดชอบของโรงงานผู้ผลิตน้ำตาล ซึ่งเป็นรับทำการขายส่งไปยังตลาดย่อย ๆ ในปี 2537 โรงงานผู้ผลิตน้ำตาลได้เริ่มใช้ระบบการจ่ายเงินค่าปลูกอ้อยให้แก่ผู้ปลูก โดยจ่ายค่าการปลูกอ้อยตามคูณภาพของผลผลิตน้ำตาลที่ได้จากผลผลิตอ้อย ได้มีผลในการเพิ่มคุณภาพผลผลิตอ้อย และเพิ่มการผลิตน้ำตาลได้มากขึ้น

กลุ่มประเทศอเมริกากลางพึ่ง การส่งออกน้ำตาลภายใต้ระบบโควต้าสิทธิพิเศษ (TQR) ของสหรัฐฯ เป็นกลไกสำคัญสำหรับตลาดการส่งออกน้ำตาล

2) ประเทศกัวเตมาลา

ประเทศกัวเตมาลาผลิตน้ำตาลในปี 2552 ได้ 2.25 ล้านตัน เป็นผู้ผลิตน้ำตาลอันดับ 4 ในกลุ่มละตินอเมริกาทั้งหมด และส่งออกได้ประมาณ 1.5 ล้านตัน เป็นผู้ส่งออกอันดับ 4 ของโลก โดยมีการส่งออกน้ำตาลขาวมากขึ้น

ตลาดน้ำตาลขาวสำคัญของกัวเตมาลา ได้แก่ ประเทศชิลี จาไมกา ไฮติ และไต้หวัน ประเทศที่เป็นตลาดนำเข้าน้ำตาลดิบจากกัวเตมาลาได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา และเกาหลีใต้

มีพื้นที่การเพาะปลูกทั้งหมดประมาณ 220,000 เฮกเตอร์ เกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ ๆ ได้รับการส่งน้ำโดยระบบชลประทาน ใน 3 ปีที่ผ่านมาได้มีการขยายพื้นที่การผลิตอ้อยปีละประมาณ 4000 เฮกเตอร์ แต่ผลผลิตปี 2552 ได้ลดลงเนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย

การขนถ่ายน้ำตาลขึ้นเรือของกัวเตมาลามีความทันสมัยมาก มีความสามารถบรรทุกน้ำตาลได้ 200,000 ตันต่อชั่วโมง และมีโกดังเก็บน้ำตาลที่มีความจุมากที่สุดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง บรรจุได้ 365,000 ตัน ในปีที่ผ่านมาได้มีการเปิดท่าเรือใหม่ ที่เมือง Puerto Quetzal ซื่งมีความสามารถขนถ่ายน้ำตาลในรูปแบบกระสอบละ 50 กิโล เพื่อขนถ่ายลงเรือคอนเทเนอร์ ความสามารถในการขนถ่ายรวมของท่าเคตซัลเท่ากับ 66,000 ตัน

กัวเตมาลามีโรงน้ำตาล 14 แห่ง ร้อยละ 82 ตั้งอยู่ในพื้นที่ ๆ ใกล้กับท่าเรืองเคตซัล โดยมีระยะเส้นทางเดินรถเฉลี่ยไม่เกิน 65 กิโลเมตร มีความสามารถในการผลิตรวมประมาณ 130,000 ตันต่อวัน ในจำนวนนี้ มีอยู่ 5 โรงงานที่มีการผลิตเอลกอฮอล ความสามารถในการผลิตรวม 650,000 ลิตรต่อวัน เพื่อการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ประเทศอื่น ๆ ในอเมริกากลาง และเม็กซิโก โรงงานผลิตน้ำตาลอื่น ๆ กำลังพิจารณาการขยายการผลิตไปสู่การผลิตแอลกอฮอลและเอธานอล

อุตสาหกรรมน้ำตาลในกัวเตมาลาจ้างแรงงานโดยตรง 62,000 ตำแหน่ง โดยแจ้งแรงงานทางออ้มอีก 350,000 คน ซึ่งรวมชาวนาอ้อยประมาณ 33,000 คน ในปี 2551 ได้ให้ผลผลิตพลังงานเทียบเท่ากับ 298 เม็กาวัตต์ หรือร้อยละ 21 ของระบบพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศ

รัฐบาลกัวเตมาลาเป็นผู้ควบคุมการขายส่งน้ำตาล โดยมีองค์กรการค้าน้ำตาล COMETRO ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณสต็อกน้ำตาลสำรองภายในประเทศด้วย หน่วยงานสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ สภาน้ำตาล ASAZGUA และหน่วยงานวิจัยเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล CENGICAÑA ซึ่งให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ผู้เพาะปลูกและทำการผลิตน้ำตาล

การนำเข้าน้ำตาลเข้าประเทศกัวเตมาลาต้องเสียภาษีนำเข้า ร้อยละ 20 และปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพและอาหาร นั่นคือ ต้องมีการเติมใส่วิตามินเอในตัวน้ำตาลสำเร็จรูป และในปีการผลิต 2553 กระทรวงเศรษฐกิจกัวเตมาลาได้คาดว่าจะมีการขาดแคลนน้ำตาลประมาณ 50,000 ถึง 100,000 ตัน เนื่องจากผลผลิตไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย และจะมีปริมาณไม่เพียงพอกับการบริโภคภายใน

3) ประเทศฮอนดูรัส

ประเทศฮอนดูรัสมีพื้นที่การเพาะปลูกอ้อยประมาณ 51,000 เฮกเตอร์ และมีผลิผลิตน้ำตาลประมาณ 401,000 ตันในปี 2552 ในปีเดียวกันนั้น ได้มีการส่งออกน้ำตาลได้ 93,000 ตัน อุตสาหกรรมน้ำตาลในฮอนดูรัสจ้างแรงงานโดยตรง 25,000 ตำแหน่ง และช่วยเหลือแรงงานโดยทางอ้อมอีก 100,000 คน

โรงงานน้ำตาลในฮอนดูรัสมี 7 แห่ง รวมตัวเป็นสมาคมผู้ผลิตน้ำตาล (APAH) โรงงานผลิตน้ำตาลเป็นเจ้าของพื้นที่การเพาะปลูกอ้อยในสัดส่วนร้อยละ 50 โดยอีกร้อยละ 50 กระจายการถือครองไปตามผู้ผลิตอิสระ โรงน้ำตาลเหล่านี้ผลิตพลังงานใช้เอง และจำหน่ายพลังงานส่วนเกินให้แก่องค์กรไฟฟ้าของฮอนดูรัส รัฐบาลฮอนดูรัสไม่มีนโยบายที่ควบคุมหรือส่งเสริมการผลิตน้ำตาล คาดว่าผู้ผลิตได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินจากสหรัฐฯ ในการหาเงินทุนหมุนเวียน ชดเชยช่วงการผลิตไม่พอเพียงโดยสภาพอากาศ

4) ประเทศเอลซาวาดอร์ คอสตาริกา และเบลิซ

เอลซาวาดอร์เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง มีโรงผลิตน้ำตาล 10 แห่ง โดยมีโรงงานของรัฐ 4 แห่งและอีก 6 แห่งเป็นของเอกชน ทั้งนี้ รัฐบาลเอลซาวาดอร์กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการขายโรงน้ำตาลของรัฐที่มีอยู่ เอลซาวาดร์สามารถส่งออกน้ำตาลได้ประมาณ 300,000 ตันในสามปีที่ผ่านมา

ประเทศคอสตาริกาผลิตน้ำตาลได้ประมาณ 300,000 ตัน โดยการผลิตน้ำตาลได้รับการควบคุมการผลิตโดยองค์กร LAICA ได้เริ่มการส่งออกในปี 2552 เป็นการส่งออกผลผลิตเกือบทั้งหมด

เบลิซเป็นผู้ผลิตรายเล็กที่สุด ผลิตน้ำตาลได้ประมาณ 100,000 ตัน เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกในรูปแบบของ molasses ไปยังตลาดไฮติ เป็นสำคัญ นอกจากนั้น พึ่งการใช้โควต้าพิเศษจึงมีการส่งออกบ้างไปยังตลาดสหรัฐฯ แคนาดา เม็กซิโก และยุโรป มีโรงงานน้ำตาล 2 แห่ง คือ Belize Sugar Industry และ Tower Hill ต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง

ข้อคิดเห็น:

การมองภาวะตลาดของกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ต้องพิจารณาในลักษณะตลาดรวมกลุ่มทั้ง 6 ประเทศ ในภาคการผลิตและการส่งออกน้ำตาลนั้น กลุ่มประเทศอเมริกากลางมีศักยภาพพัฒนาเป็นผู้ผลิตน้ำตาลที่สำคัญ และมีศักยภาพเป็นผู้ผลิตเอธานอลในภูมิภาคที่สำคัญรองจากสหรัฐฯ และบราซิล เพราะสัดส่วนการส่งออกน้ำตาลมีมากกว่าความต้องการภายใน ไม่ได้เป็นการผลิตเพื่อป้อนตลาดภายในประเทศหรือกลุ่มเป็นสำคัญในลักษณะของตลาดน้ำตาลในเม็กซิโก การแสวงหาโอกาสร่วมทุนกับผู้ผลิตน้ำตาลในประเทศกลุ่มอเมริกากลางจึงน่าจะมีศักยภาพมากกว่าการร่วมลงทุนในตลาดเม็กซิโกหากเป็นการลงทุนเพื่อการส่งออกน้ำตาลหรือเอธานอลไปยังประเทศอื่น ๆ

รายซื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ส่งออก/นำเข้าน้ำตาลในภมิภาคอเมริกากลาง:

1. ASAZGUA (Azugar de Guatemala). Address: 5 av 5-55 zona 14, Edifico EuroPlaza Torre 3, Niveles 17 y 18.
Tel: (502) 2386-2000
Email: asazgua@azucar.com.gt
Website: http://www.azucar.com.gt/index.html

2. CENGICAÑA. Address: 5ª. Av. 5-55 zona 14, Europlaza, Torre 3, Nivel 18, Guatemala C. A,
Tel.: (502)2386-2201
Fax. (502)2386-2205
E-mail: cengicana@azucar.org
Website: http://www.cengicana.org/Portal/Home.aspx

3. Pantaleón. Address: Diagonal 6, 10-31 Zona 10, Centro Gerencial Las Margaritas, 01010 Guatemala, Guatemala
Tel. (502) 2 277-5100
Fax (502) 2 334-7238, 2 332-1192
Website: http://www.pantaleon.com/

4. Expogranel, S.A. Address: 5ª Avenida 5-55 zona 14, Europlaza World Business Center, Torre 3, nivel 18, Guatemala, Guatemala
Tel: (502) 2386-2000
Fax: (502) 2386-2051
Website: http://www.expogranel.com/index.php

5. Ingenio Palo Gordo, S.A. Address: 7 Avenida 12-23, Zona 9, Edif. Elisa, Nivel 2, 3H, Guatemala.
Tel: (502) 2334-1586, 2334-1184
Fax: (502) 2331-2568
Email: info@palogordo.com
Website: http://www.palogordo.com/

6. Centro Agro Industrial Guatemal, SA. Ingenio Madre Tierra. Address: MK 94.5, Carretera 9, Maztenago, Santa Lucia Cotz, Escuintla, Guatemala.
Website: http://www.madretierra.com.gt/index.html

7. APAH (Azugar de Honduras). Contact Tel: 239-4933 y 239-4934
Website: http://www.azucar.hn/

8. LAICA (Liga Aricola Industrial de la Caña de Azugar), Costa Rica. Contact Tel: (506) 2284-6039 / 2284-6032 Fax: (506) 2222-7973
Email: mercadeo@laica.co.cr
Website: http://www.laica.co.cr/

แหล่งข้อมูล:

“Sugar and Sweeteners Outlook” (pdf),  Economic Research Servicde, USDA
"Sugar Annual: Guatemala" (pdf), USDA Foreign Agricultural Service
"Sugar Annual: Honduras" (pdf), USDA Foreign Agricultural Service
Asociacionazucarera.com
www.sugaralliance.org
"Los Nuevos Sinsabores del Azucar", Martes Financiero