Google Website Translator

Thursday, January 27, 2011

Country Profile: Mexico 2011

ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าเม็กซิโก
 

ประเทศสหรัฐเม็กซิโกตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนตอนใต้ของประเทศติดกับประเทศสาธารณรัฐกัวเตมาลา และประเทศเบลิซ พื้นที่ของประเทศขนาบไปด้วยภูเขาทั้ง 2 ด้านโดยฝั่งตะวันตกมีเทือกเขา Sierra Madre Occidental และฝั่งตะวันออกมีเทือกเขา Sierra Madre Oriental ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบสูงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ของเนื้อที่ประเทศ ลักษณะพื้นที่ประเทศแบ่งได้เป็นดังนี้ เหมาะแก่การเพาะปลูก ร้อยละ 20 เป็นทุ่งหญ้าเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 38 เป็นป่าไม้ ร้อยบะ 28 และพื้นที่ที่เหลือเป็นที่อยู่อาศัย ความยาวของประเทศจากเหนือจรดใต้ราว 1,875 ไมล์

1.2 ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐเม็กซิโก (ภาษาสเปน: Estados Unidos Mexicanos)

1.3 เมืองหลวง  กรุงเม็กซิโกซิตี้ (Mexico City)

1.4 ขนาดพื้นที่ 1.9 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลก

1.5 ประชากร 108 ล้านคน

1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ ปิโตรเลียม เงิน ทองแดง ทองคำ ตะกั่ว สังกะสี ก๊าซธรรมชาติ และป่าไม้

1.7 ประวัติศาสตร์

ประเทศเม็กซิโกแต่เดิมปกครองโดยชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ มาเป็นเวลาพันปี เช่น ชนเผ่า Maya ที่มีอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และต่อมามีชนเผ่า Aztec ซึ่งมีความรุ่งเรืองอยู่ทางตอนกลางของประเทศเม็กซิโก

ในปี ค.ศ. 1521 เม็กซิโกถูกยึดครองโดยราชอารณาจักรสเปนในช่วงการแสวงหาอาณานิคม และเรียกอาณานิคมนี้ว่า New Spain ราชอารณาจักรสเปนได้ปกครองเม็กซิโกเป็นเวลายาวนานถึง 300 ปี จนประชาชนได้เริ่มลุกขึ้นต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1810 จนได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1821 หลังจากได้รับเอกราชแล้ว เม็กซิโกก็เริ่มทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา เพื่อแย่งชิงดินแดนเป็นระยะๆ และได้เสียดินแดนจำนวนมากให้กับสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี ค.ศ. 1861 เม็กซิโกประสบภาวะหนี้สิน จึงประกาศพักชำระหนี้ ทำให้ฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศเจ้าหนี้ ไม่พอใจและส่งกองทหารเข้ามายึดครองเม็กซิโก และแต่งตั้งให้ Archduke Ferdinand Maximillian of Hapsburg เป็นจักรพรรดิปกครองเม็กซิโก จนกระทั่งปี ค.ศ. 1867 เม็กซิโกจึงได้รับเอกราชคืนจากฝรั่งเศส หลังจากนั้น มีการปฏิวัติเกิดขึ้นบ่อยครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจ จนสามารถจัดให้มีการเลืองตั้งอย่างเป็นระบอบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน

1.8 เชื้อชาติ

ประชากรเชื้อสายเมสติโซ (ซึ่งเป็นเชื้อสายเลือดผสมอินเดียนแดงและสเปน) ราวร้อยละ 60 คนอินเดียนแดงร้อยบะ 30 คนขาวร้อยละ 6 และที่เหลือเป็นชาวเอเชียและแอฟริกา

1.9  ศาสนา

โรมันคาทอลิก ร้อยละ 89 และโปรเตสแตนท์ ร้อยละ 6 โดยเม็กซิโกได้รับอิทธิพลทางศาสนาจากสเปน อย่างไรก็ตามความเชื่อโบราณก็ยังฝั่งรากอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีของคนเม็กซิกัน

1.10 ภาษา

คนเม็กซิโกมีภาษาท้องถิ่นที่ใช้หลายภาษาราว 60 ภาษา แต่มีภาษาทางราชการเป็นภาษาสเปน

1.11 ระบอบการปกครอง

ประเทศเม็กซิโกมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ โดยแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 31 มลรัฐ และ 1 เขตปกครอง มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุก 6 ปี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายเฟลิเป คัลเดรอน ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2006 ฝ่ายนิติบัญญัติมีวุฒิสภา 128 คน และสภาผู้แทนราษฎร 500 ที่นั่ง ผู้ว่าราชการของแต่ละมลรัฐได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในมลรัฐนั้น ๆ มีพรรคการเมืองสำคัญ ๆ  3 พรรค คือ PAN PRD และ PRI

1.11 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ

เม็กซิโกมีชายแดนติดกับประเทศสหรัฐอเมริกายาว 3,152 กิโลเมตร มีแม่น้ำสำคัญคือ Rio Lerma ลักษณะของประเทศจากตอนเหนือจรดใต้มีระยะทางห่างไกล ทำให้เม็กซิโกต้องการระบบขนส่งต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเดินทางและขนถ่ายสินค้าทั้งทางรถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน และเรือ

ระบบถนนมีเส้นทางรวม 366,095 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟมี 17,516 กิโลเมตร และเส้นทางน้ำ 2,900 กิโลเมตร

ท่าเรือที่สำคัญสองฝั่งมหาสมุทนแอ็ทแลนติดและแปซิฟิก ได้แก่ ท่าเรือ Altamira, Coatzacoalcos, Lazaro Cardenas, Manzanillo, Salina Cruz และ Veracruz กองเรือเดินทะเลมี 60 ลำ

มีสนามบินทั่วประเทศรวม 250 แห่ง สนามบินระหว่างประเทศคือ Benito Juarez Internationl Airport ที่กรุงเม็กซิโก สายการบินของประเทศที่สำคัญ 2 สาย คือ Aeromexico และ Mexicana

นอกจากนี้แล้ว มีระบบท่อส่งแก๊ซ 22,705 กิโลเมตร ท่อส่งแก๊ซเหลว 1,875 กิโลเมตร ท่อส่งน้ำมันดิบ 8,688 กิโลเมตร ท่อส่งผสมผสานอีก 228 กิโลเมตร และท่อส่งน้ำมันที่กลั่นแล้ว 6,520 กิโลเมตร

2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศเม็กซิโก

ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจเม็กซิโก

ประเทศเม็กซิโกเป็นสมาชิกกลุ่มเศรษฐกิจ OECD และเป็นเศรษฐกิจอันอับที่ 13 ของโลก โดยมีผลผลิตแห่งชาติรวม 1,549 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 5 เท่าของผลผลิตรวมของไทย) และรายได้ต่อหัวสูงสุดในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา แต่เศรษฐกิจของประเทศเม็กซิโกพึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เป็นสำคัญนั่นคือ ร้อยละ 90 ของการส่งออก ถึงแม้ว่าโครงสร้างของเศรษฐกิจเม็กซิโกจะพัฒนาพื้นฐานให้เข้มแข็งขึ้นหลังจากวิกฤตการณ์การเงินของเม็กซิโกช่วงปี คศ. 1994-5 พื้นฐานเศรษฐกิจของเม็กซิโกยังคงมีจุดอ่อนหลายประการอันได้แก่
  • การพึ่งพาการส่งออกน้ำมันดิบเป็นรายได้สำคัญของงบประมาณแผ่นดิน ความผันผวนของราคาน้ำมันจึงมีผลทำให้รัฐบาลเม็กซิโกประเมินรายได้และงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผิดพลาดไปในปีที่ผ่านๆ มา
  • แหล่งรายได้เงินตราต่างประเทศอันดับสองของเม็กซิโก ได้แก่ เงินส่งกลับจากต่างประเทศจากแรงงานที่ไปทำงานในสหรัฐฯ ซึ่งได้ลดลงในปริมาณมากเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซบเซา
  •  ค่าเงินของเม็กซิโกยังคงมีความอ่อนไหวต่อภาวะตลาดอย่างสูง ถึงแม้ว่าจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศในปริมาณที่เพียงพอ อันเป็นผลให้ค่าเงินเปโซมีมูลค่าลดลงเกือบหนึ่งส่วนสามของมูลค่าเดิม โดยในช่วงปลายปีคศ. 2008 อัตราแลกเปลี่ยนตกจากที่เคยแลกได้ 11-12 เปโซต่อเหรียญฯ เป็น 15 เปโซต่อเหรียญฯ
  •  การระบาดไข้หวัดหมู N1H1 ในช่วงเดือนเมษายน คศ. 2009 มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและได้ทำให้เสียรายได้ไปประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

ในปี 2010 เม็กซิโกมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวน 116.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ

2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศ

สัดส่วน GDP ของเม็กซิโกมาจากภาคการบริโภค ร้อยละ 26.5 ภาคธุรกิจบริการ ร้อยละ 20 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 17.8 ภาคการเงินและประกันภัย ร้อยละ 12.8 ภาคการขนส่ง ร้อยละ 10.3 ภาคการก่อสร้าง ร้อยละ 5.4 ภาคการเกษตรร้อยละ 3.8 และภาคเหมืองแร่ ร้อยละ 1.4

2.4 ข้อมูลด้านการลงทุนในประเทศ

การลงทุนจากต่างประเทศในเม็กซิโกเม็กซิโกระหว่างช่วงปี คศ. 1999-2009 ได้มีความผันผวนขึ้นๆ ลงๆ โดยเม็กซิโกประสบภาวะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ 2 ช่วงในระยะเวลาดังกล่าว ปี คศ. 2001 และ 2007 เป็นปีที่ได้รับการลงทุนมากที่สุดในมูลค่าเกือบ 3 หมื่นล้าน และ 2.7 หมื่นล้านเหรียญตามลำดับ ส่วนปีที่ได้รับการลงทุนต่ำสุด นั่นคือน้อยกว่าปีละ 2 หมื่นล้านเหรียญ คือปี คศ. 1999, 2000, 2003, 2006 และ 2009

การลงทุนจากต่างประเทศส่วนใหญ่ ประมาณ 86.78 % เป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคบริการการเงิน และการค้า และมีแหล่งการลงทุนมาจากสหรัฐประมาณ 57.5% และจากสหภาพยุโรป 34.1% (สเปนและเนเธอร์แลนด์)
ประเทศเม็กซิโกมีโครงการส่งเสริมการลงทุนแยกเป็น 2 โครงการ ได้แก่

1) โครงการ Maquila เพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อการส่งออก โดยหากผู้ลงทุนผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกคิดเป็นเพียง 10% ของผลผลิตของโรงงานก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ โดยเมื่อเข้าโครงการแล้วผู้ลงทุนไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และเครื่องจักรเหมือนเป็น Bonded warehouse

2)โครงการ PROSEC เป็นการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรม 22 สาขาเพื่อให้เม็กซิโกสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ โดยโรงงานสามารถนำเข้าวัตถุดิบในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราภาษีนำเข้าปกติได้จำนวนกว่า 16,000 รายการ

ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เม็กซิโกได้พยายามส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศทั้งโดยการเปิดเสรีทางการค้า การลงนามความตกลงด้านภาษีซ้อน และการปกป้องด้านการลงทุนกับต่างประเทศ ซึ่งเม็กซิโกได้เปิดให้มีการลงทุนโดยเสรีในเกือบทุกแขนง ยกเว้นบางอุตสาหกรรม และบางธุรกิจบริการที่เป็นสมบัติของรัฐ อาทิ
  • กิจการที่สงวนไว้สำหรับรัฐบาล อาทิ การขุดเจาะน้ำมัน ปิโตรเคมี ไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ บริการไปรษณีย์ การควบคุมท่าเรือและท่าอากาศยาน
  • กิจการที่จำกัดสำหรับคนเม็กซิกันเท่านั้น อาทิ การขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลัง บริการการเดินทางท่องเที่ยว บริการโทรทัศน์ วิทยุ และบริการธนาคารเพื่อการพัฒนา กิจการที่จำกัดสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติไม่เกินร้อยละ 49 อาทิ การบินภายในประเทศ บริการแท็กซี่ การประกัน โกดังสินค้า การเช่าซื้ด การผลิตอาวุธ การพิมพ์หนังสือพิมพ์ ประมง ท่าเรือ บริการเดินเรือ การศึกษาเอกชน การก่อสร้างท่อส่งน้ำมัน
  • ในด้านการถือครองที่ดิน ชาวต่างชาติมีสิทธิในการถือครองที่ดินได้ ยกเว้นไว้เฉพาะพื้นที่ในรัศมี 100 กม. จากพรมแดน และรัศมี 50 กม. จากพื้นที่ที่ติดกับชายทะเล จะไม่อนุญาตให้ต่างชาติถือครอง
3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของเม็กซิโก
3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศเม็กซิโก

ประเทศเม็กซิโกได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตกต่ำหลายครั้งในปี คศ. 1980 ปี 1994 และปี 2008 ทั้งนี้เนื่องจากการพึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบ และการส่งออกไปยังสหรัฐฯเป็นตลาดสำคัญเพียงตลาดเดียว ทำให้เม็กซิโกต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายมาเปิดประเทศมากขึ้น เพื่อหาเงินตราจากต่างประเทศ โดยกำหนดนโยบายเปิดประเทศหลายแบบ ซึ่งได้แก่ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ GATT ในปี 1986 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อาทิ การขนส่ง การคมนาคม ฯลฯ และการทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ 12 ฉบับครอบคลุม 43 ประเทศ ได้แก่  เขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ (NAFTA) เขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป  เขตการค้าเสรีกับกลุ่ม EFTA เขตการค้าเสรีกับกลุ่ม North Triangle (กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส) และความตกลงเขตการค้าทวิภาคีกับประเทศชิลี เวเนซูเอล่า อุรุกวัย โคลัมเบีย คอสตาริก้า โบลิเวีย นิการากัว อิสลาเอล และญี่ปุ่น

นอกจากนี้แล้ว เม็กซิโกยังเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศอีกหลายกลุ่ม เช่น WTO , APEC, OECD และ FTAA เป็นต้น

3.2 สินค้าส่งออก/สินค้านำเข้าหลักของประเทศเม็กซิโก

สินค้าส่งออกหลักของเม็กซิโก ได้แก่ เครื่องไฟฟ้า (รหัส HS 85) โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ร้อยละ 90.8 การส่งออกรถยนต์ (รหัส HS 87) ไปยังสหรัฐฯ ร้อยละ 86.2 เยอร์มันร้อยละ 4.3 แคนาดาร้อยละ 2.9 โคลัมเบียและบราซิล ส่งออกเครื่องจักรไปยังสหรัฐฯ จีน เยอรมัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และการส่งออกเชื้อเพลังและแร่ไปยัง สหรัฐฯ สเปน อารูบา แคนาดา และอินเดีย การส่งออกเลนซ์ประกอบแว่นสายตา จากสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ
สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ เครื่องไฟฟ้า จากสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย เครื่องจักรจากสหรัฐฯ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ จีน และเยอรมัน สินค้าพลาสติกจากสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น แคนาดา และเกาหลีใต้ นำเข้ารถยนต์จากสหรัฐ ญี่ปุ่น บราซิล เยอรมัน และแคนาดา และนำเข้าเชื้อเพลังและแร่จากสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ อาร์เจนติน่า อิตาลี่ และออสเตรเลีย

3.3 ประเทศคู่ค้าสำคัญด้านการนำเข้า/ส่งออก
 การส่งออกของเม็กซิโก (มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐ)

การนำเข้าของเม็กซิโก (มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                                           แหล่งข้อมูล: World Trade Atlas
3.4 นโยบาย/มาตรการทางการค้า ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี

เม็กซิโกเก็บภาษีรายได้บุคคลหัก ณ ที่ จ่าย ร้อยละ 35 ภาษีกำไรธุรกิจ ร้อยละ 35 หรือ ภาษีทรัพย์สิน ร้อยละ 2 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 16 สำหรับภาษีการนำเข้ามีแตกต่างไปหลายอัตรา ต้องทำการตรวจสอบภาษีนำเข้าเป็นรายสินค้าเฉพาะกับกระทรวงเศรษฐกิจของเม็กซิโก

ตลาดเม็กซิโกถือเป็นตลาดใหม่สำหรับประเทศไทย ในช่วง ม.ค. – พ.ย. 2550 ที่ผ่านมาการขยายตัวการส่งออกของไทยมายังตลาดเม็กซิโกสูงขึ้น 40% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามประเทศเม็กซิโกนับว่าเป็นประเทศที่มีมาตรการกีดกันการนำเข้าที่มิใช่ภาษีที่ค่อนข้างมาก ก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่ผู้ส่งออกและผู้นำเข้า

ที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโกได้รับเรื่องร้องเรียนเป็นระยะจากผู้นำเข้าเม็กซิโกและผู้ส่งออกไทยในกรณีที่สินค้าส่งไปถึงท่าเรือเม็กซิโกแล้วไม่สามารถผ่านพิธีการศุลกากรในหลายกรณี อาทิ เอกสารไม่ครบถ้วน ไม่มีเอกสารสำคัญประกอบการนำเข้า ข้อมูลในเอกสารไม่ถูกต้องตรงตามประเภทสินค้า สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้นำเข้าต้องจ่ายค่าโกดังสินค้าเพิ่มเติม และบางครั้งต้องส่งสินค้ากลับไปยังประเทศไทย ซึ่งเป็นผลเสียหายต่อผู้ส่งออกไทย และเป็นผลในด้านลบต่อผู้นำเข้าไม่กล้าจะนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยอีก แนวทางที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาที่น่าจะทำได้ดีที่สุดคือการให้ความรู้แก่ผู้ส่งออกให้มีความเข้าใจในระบบและระเบียบการนำเข้าของเม็กซิโกในเบื้องต้น และคอยเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบของเม็กซิโก โดยสอบถามจากผู้นำเข้า และสามารถสอบถามจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโกที่จะช่วยแนะนำได้อีกทางหนึ่ง

การใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศเม็กซิโกซึ่งสามารถแยกได้เป็น 12 มาตรการมาเพื่อทราบ ได้แก่

- มาตรการการจดทะเบียนผู้นำเข้าสินค้า (Padron de Importadores)
- มาตรการด้านมาตรฐานสินค้า
- มาตรการด้านสุขอนามัย
- มาตรการแหล่งกำเนิดสินค้า
- มาตรการสินค้าห้ามนำเข้า
- มาตรการสินค้าควบคุม
- มาตรการโควต้านำเข้า
- มาตรการด้านเอกสารการนำเข้า
- มาตรการราคาประเมินสินค้าขั้นต่ำ
- มาตรการการนำเข้าตัวอย่างสินค้า
- มาตรการป้ายสลากสินค้า
- มาตรการขั้นตอนการผ่านพิธีการศุลกากร

3.5 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ

เม็กซิโกมีการทำความตกลงการค้าเสรีจำนวน 12 ฉบับครอบคลุม 43 ประเทศ ได้แก่ ความตกลงเขตการค้าเสรีเป็นกลุ่ม คือ เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA), เขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป, เขตการค้าเสรีกับกลุ่ม EFTA (ไอซแลนด์ ลีค์เต็นสไรน์ นอร์เวย์และสวิสเซอร์แลนด์), กลุ่ม North Triangle (กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส) ความตกลงเขตการค้าเสรีรายประเทศ มีประเทศชิลี เวเนซูเอล่า โคลัมเบีย คอสตาริก้า โบลีเวีย นิการากัว อิสลาเอล อุรุกวัย และญี่ปุ่น ขณะนี้อยุ่ระหว่างการเจรจาเขตการค้าเสรีกับประเทศเปรู แต่โดยหลักการแล้วในปัจจุบันกระทรวงเศรษฐกิจของเม็กซิโกได้แจ้งท่าที ไม่ประสงค์จะเจราจาความตกลงเขตการค้าเสรีเพิ่มเติมไปมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย

ไทยและเม็กซิโกมีมูลค่าการค้าระหว่างกันในปี 2553 มูลค่า 1,366 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 45 โดยการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 967 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนาเข้า 399 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับเม็กซิโกมูลค่า 568 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

4.2 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศเม็กซิโก และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากประเทศเม็กซิโก

ในปี 2553 การส่งออกจากไทยไปยังเม็กซิโกมีมูลค่า 967 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 32.74 สินค้าส่งออกสาคัญของไทยไปยังเม็กซิโก ได้แก่ เครื่องคิดเลข, หม้อแปลงไฟฟ้าและชิ้นส่วน, รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, แผงวงจรอีเล็กตรอนนิกส์, อุปกรณ์ไฟฟ้า , แผงควบคุมการเดินไฟ, เสื้อผ้าสาเร็จรูป, ผลิตภัณฑ์ยาง, หัวเทียนสำหรับรถยนต์, วิทยุและโทรทัศน์

ในปี 2553 ไทยนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกมูลค่า 398.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากจากปี 2552 ร้อยละ 87.58 สินค้านำเข้าที่สาคัญ ได้แก่ , เครื่องไฟฟ้าและส่วนประกอบ, เครื่องประดับอัญมณี รวมทั้งเงินและทองคำแท่ง, รถยนต์และชิ้นส่วนฯ, เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์, เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน, คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน, ไดโอดและหม้อแปลง, ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง, แว่นตาและกระจกแว่นตา
การส่งออก/นำเข้าจากเม็กซิโก

สินค้าส่งออก/นำเข้าที่สำคัญระหว่างไทยกับเม็กซิโก ปี 2553 (มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                                              แหล่งข้อมูล: Thai Trading Report, MOC

4.3 สินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยสำหรับประเทศเม็กซิโก

สินค้า/บริการที่มีศักยภาพ ได้แก่ สินค้าอาหาร มีประเทศคู่แข่งคือ สหรัฐฯ ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ คุ่แข่งคือสหรัฐฯ และยุโรป เฟอร์นิเจอร์ มีคู่แข่งจากอินโดนีเซีย อินเดีย สหรัฐฯ และยุโรป สินค้ากี๊ฟท์และของเด็กเล่น และเครื่องเขียน มีการแข่งขันจากประเทศจีน อุปกรณ์การแพทย์ คู่แข่งคือ สหรัฐฯ และยุโรป
เครื่องประดับ คุ่แข่งคือ อิตาลีและอินเดีย สินค้าพลาซสติก คู่แข่งคือ สหรัฐฯ สินค้าอาหาร และสินค้าสำหรับธุรกิจสปา คู่แข่งคือ สหรัฐฯ และยุโรป

4.4 ข้อตกลง/ความร่วมมือทางการค้ากับประเทศไทย
  1. ความตกลงร่วมมือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภานักธุรกิจเม็กซิโก (Mexican Business Council) ปี ค.ศ. 1990
  2. ความตกลงยกเลิกการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการปี ค.ศ. 199
  3. ความตกลงร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัย Colima ปี ค.ศ. 2003
  4. ความตกลงร่วมมือการวัฒนธรรมและการศึกษาปี ค.ศ. 2003
  5. ข้อตกลง Agreed Minutes of Meeting between the Minister of Economy of Mexico and the Minister of Commerce of Thailand เพื่อจัดตั้งคณะทำงานพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ ปี ค.ศ. 2002
  6. ข้อตกลง Agreement of Cooperation between the Mexican Business Council for Foreign Trade, Investment and Technology (COMCE) and the Federation of Thai Industries (FTI) เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วมมือทางธุรกิจ ปี ค.ศ. 2003
  7. ข้อตกลงระหว่างหอการค้าเมืองมอนเตอร์เร่ CAINTRA-The Federation of Thai Industries, 27 พย. 2010
4.5 ปัญหา/อุปสรรค/ประเด็นทางการค้าและการลงทุนกับไทย
  • กฏระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าในเม็กซิโกมีความซับซ้อนมาก
  • การติดฉลากสินค้านำเข้าเป็นภาษาสเปน
  • การใช้ภาษาสเปนในการติดต่อสื่อสาร
  • ขาดความตกลงคุ้มครองการลงทุนและความตกลงยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน
  • แจ้งข้อมูลให้แก่ผู้ส่งออก จัดสมมนาอบรม
  • แจ้งข้อมูลให้แก่ผู้ส่งออก จัดสมมนาอบรม
  • การใช้ล่าม ส่งเสริมการเรียนภาษาสเปนในสถานบันการศึกษาไทย
  • การแลกเปลี่ยนการเยือนและเจรจาในระดับสูงเพื่อเร่งการทำความตกลงฯ
4.6 ลู่ทางการค้าและการลงทุน

 ปัจจุบันโรงงานในโครงการ Maquiladora ในเม็กซิโกมีราว 2,800 – 3,000โรงงาน สามารถก่อให้เกิดการจ้างแรงงานถึง 1.4 ล้านคน โดยในปี ค.ศ. 2006 เม็กซิโกสามารถส่งออกสินค้าจากโรงงานภายในโครงการ Maquiladora รวมกันเป็นมูลค่า 111.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการนำเข้าสินค้ากึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในโครงการฯ เป็นมูลค่า 87.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อคำนวณส่วนต่างที่เกิดขึ้นราว 24 พันล้านเหรียญสหรัฐถือเป็นมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ตกอยู่ในประเทศเม็กซิโก

โรงงานในโครงการ Maquiladora มีที่ตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณชายแดนทางตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกติดกับประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ได้แก่ ในมลรัฐ Baja California ติดกับมลรัฐแคลิฟรอเนียมี 898 โรงงาน, มลรัฐ Chihuahua ติดกับมลรัฐเท็กซัลมี 395 โรงงาน, มลรัฐ Sonora ติดกับมลรัฐอาริโซน่ามี 213 โรงงาน ฯลฯ ทั้งนี้ตัวอย่างอุตสาหกรรมใน
โครงการ Maquiladora ที่ก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก ได้แก่

- อุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 590 โรงงานมีการจ้างงาน 254,900 คน
- อุตสาหกรรมยานยนต์มีจำนวน 313 โรงงานมีการจ้างงาน 268,000 คน
- อุตสาหกรรมสิ่งทอมีจำนวน 461 โรงงานมีการจ้างงาน 158,300 คน
- อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์มีจำนวน 301 โรงงานมีการจ้างงาน 57,000 คน
- อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีจำนวน 184 โรงงานมีการจ้างงาน 37,000 คน

นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ในโครงการ Maquiladora ของเม็กซิโกที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีในอนาคต อาทิ Aerospace, Software, Metal mechanics, Medical Supplies, Pharmaceutical, Information Technology, Machinery and Equipment repair และ Call Center เป็นต้น

4.7 จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างไทยและเม็กซิโก

ภาคการท่องเที่ยวของเม็กซิโก เป็นภาคที่นำเข้ารายได้ต่างประเทศเป็นอันดับสามของประเทศรองจากน้ำมันและเงินส่งกลับจากต่างประเทศ และเป็นภาคการผลิตที่มีส่วนแบ่งเป็นร้อยละ 8 ของผลผลิตรวมประชาชาติ จำนวนนักท่องเที่ยวต่อปีประมาณ 20 ล้านคน โดยมีอัตราขยายตัวประมาณปีละ 3 เปอร์เซ็นต์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว อันดับ 10 ของโลก

รัฐบาลของเม็กซิโกได้เริ่มแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ เมื่อปี 1973 โดยการแต่งตั้งกองทุน FONATUR (http://www.fonatur.gob.mx/) ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะรัฐวิสาหกิจ ที่ได้มีบทบาทในการพัฒนาเขตท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ของเม็กซิโก เช่น ฝั่งชายทะเล Cancún, Los Cabos, Ixtapa, Loreto และอ่าว Huatulco ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงกับ FONATUR โดยองค์กรดังกล่าวสามารถจัดหาแหล่งลงทุนให้กับนักลงทุนในต้นทุนต่ำที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลเม็กซิโก

นอกจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในภาคการท่องเที่ยวเม็กซิโกได้แก่ บริษัทการบินภายในประเทศสำคัญสองบริษัท คือ Mexicana และ Aeroméxico และบริษัทผู้ที่ครอบครองเครือข่ายโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในเม็กซิโก อันได้แก่ Grupo Posadas ซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนเม็กซิกันที่มีเครือโรงแรมที่มีชื่อว่า Fiesta Americana และกลุ่ม Sol Meliá ของประเทศสเปน ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศสเปนเป็นผู้ลงทุนสำคัญในภาคการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาทั้งหมด เป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯ เท่านั้น

ภาคการท่องเที่ยวของประเทศเม็กซิโก จึ่งเป็นภาคที่น่าสนใจสำหรับการขยายความร่วมมือ และการลงทุน เนื่องจากเป็นภาคที่ได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ และหน่วยงานที่เป็นตัวกลางเอื้ออำนวยความสะดวกในการลงทุนดังกล่าวข้างต้น โดยมีศักยภาพเป็นสะพานเชื่อมไปยังตลาดการท่องเที่ยวของสเปนและกลุ่มละตินอเมริกาทั้งหมด

จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างเม็กซิโกและไทยไม่ได้เป็นจำนวนมากนัก เนื่องจากความห่างไกลจากกันและราคาค่าตั๋วเครื่องบินที่แพง

5. บริษัทที่ติดต่อการค้าระหว่างไทยและเม็กซิโกในปี 2554
  • บริษัทเม็กซิโกที่นำเข้าจากไทย: Kume (อาหาร), Liverpool (อาหารและเสื้อผ้า), Palacio (เสื้อผ้า), Walmex (อาหารและของใช้ในบ้าน), Rodatex (เครื่องพิมพ์ขวดพลาสติด)
  • บริษัทไทยส่งออกไปเม็กซิโก: Lenso (กรอบล้อแม็กซ์), Asian Tao (ผ้าเช็ดเงิน), Thai Nippon Rubber (ถุงยางอานามัย)
  • บริษัทที่สนใจเปิดตลาดในเม็กซิโก: Osothspa (เครื่องดื่ม M-100) , Bitwise (เครื่องปรับอากาศ), เบียร์สิงห์
6. การวิเคราะห์แนวโน้ม

คาดว่าเศรษฐกิจปี 2555 จะพื้นตัวและเดิบโตได้ในระหว่างร้อยละ 4-5 ภาวะเงินเฟ้ออาจจะสร้างปัญหาในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ติดตามดูการขยายความสัมพันธ์การค้ากับยุโรป จีน และอเมริกาใต้ จะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอีกต่อไปภายใต้แผนงานพัฒนาของประธานาธิบดีคัลเดรอ ความสามารถใช้จ่ายในระดับผู้บริโภคจะไม่เดิบโตเร็วนัก อุตสาหกรรมสปาและการบริการการแพทย์เป็นภาคที่น่าสนใจ

7. SWOT Analysis

Strength: เป็นภาคความตกลงเขตการค้าเสรีภูมิภาคอเมริกาเหนือ
เป็นตลาดที่ใหญ่ประชากรร้อยกว่าล้านคน
มีทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบในปริมาณมากและหลากหลายประเภท Weakness
พึ่งรายได้จากการส่งออกน้ำมันมากเกินไป
ภาคการผลิตกระจุกตัวในบางกลุ่มอุตสาหกรรม
บริษัมใหญ่ๆคุมตลาด ขาดการแข่งขัน

Opportunities:  สินค้าอาหาร ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ กี๊ฟท์ ของเด็กเล่น สินค้าสำหรับธุรกิจสปา สินค้าพลาดสิตก เครื่องประดับ คุรุถัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์

Threat:  ระบบเศรษฐกิจผูกพันกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯมากเกินไป
สงครามปราบปรามยาเสพติด ทำให้มีความปลอดภัยต่ำ
การกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมอย่างสูง ตลาดจึงขาดการเชื่อมโยงที่ดี
กฎระเบียบมีความสลับซับซ้อนมาก

8. กิจกรรมส่งเสริมการส่งออก ณ ประเทศเม็กซิโกปี 2554
  • โครงการส่งเสริมการขายและเผยแพร่อาหารไทยร่วมกับ Chain Store ของเม็กซิโก
  • โครงการคณะผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ/คณะผู้แทนการค้าจากสคต.ในภูมิภาคลาตินเยือนไทย
  • โครงการคณะผู้บริหารเดินทางเยือนภูมิภาคลาตินอเมริกา
  • โครงการจัดสัมมนา Thailand - Mexico Business Partnership กับสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเม็กซิโก ภายใต้โครงการ Team Thailand ซึ่งได้กำหนดจัดในระหว่างวันที่ ๒ - ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ กรุงเม็กซิโกและเมืองมอนเทอเร ประเทศเม็กซิโก
  • การจัดบูทส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทย ที่งานแสดงสินค้า Pescamar, Jewelry, PAACE Automechanika, Airconditioning Expo
9. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/ รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าของประเทศนั้น
1. Secretaria de Economia (กระทรวงเศรษฐกิจ)
Alfonso Reyes No. 30 Col. Hipódromo Condesa C.P. 06140, Delegación Cuauhtémoc, México, D.F. Tel: 01 800 410 2000, 5729 9100
http://www.economia.gob.mx/swb/en/economia
2. ProMexico (องค์การส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ)
Camino a Santa Teresa No. 1679, Col. Jardines del Pedregal, Del. Álvaro Obregón, CP 01900, México D.F., T. 5447 7000, 01800 EXPORTE (397 6783)
http://www.promexico.gob.mx/wb/Promexico/idiomas/_lang/en
3. SRE (กระทรวงการต่างประเทสเม้กซิโก)
Ave. Juárez #20, Col. Centro, CP 06010, Cuauhtémoc, Phone: (55) 3686 - 5100 www.sre.gob.mx
4. Secretaria de Turismo (กระทรวงการท่องเที่ยว)
Av. Presidente Masaryk 172 Col. Bosques de Chapultepec Del. Miguel Hidalgo D.F. C.P 09000
Tel. 3002 6300
http://www.sectur.gob.mx/en/secturing/
10. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยงานส่งเสริมการค้าของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย
1. Thai Wah Tower I
21/60-62 South Sathorn Road, Piso 20
Sathorn, Bangkok 10120
TAILANDIA
Tels.:+66 (2) 285-09-95 y 285-08-15 al 18
Fax: +66 (2) 285-06-67
2. Francisco Bautista Plancarte, Business Representative
Trade and Investment Commissioner
152, Beach Rd, #06-05/06 Gateway East
Singapore 189721
francisco.bautista@promexico.gob.mx
Phone:(00 65) 6297-2052
Fax: 6297-1721

Wednesday, January 19, 2011

Medical tourism in Mexico and Central America

การท่องเที่ยวเพื่อรับบริการทางการแพทย์ในเม็กซิโกและอเมริกากลาง

การท่องเที่ยวเพื่อรับบริการทางการแพทย์ (medical tourism) เป็นภาคธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีประมาณ 50 ประเทศที่ได้ประกาศส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อบริการทางการแพทย์ เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป้าหมายสำคัญ

สมาคมการท่องเที่ยวเพื่อบริการการแพทย์แห่งสหรัฐฯ (Medical Tourism Association) ได้ร่วมมือทำรายงานการศึกษาธุรกิจดังกล่าวกับบริษัทที่ปรึกษา Deloitte และได้รายงานว่า มีผู้ที่เดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคละตินอเมริกาเพื่อรับบริการทางการแพทย์ ในปี คศ. 2007 มีจำนวนประมาณ 9 ล้านคน โดยขนาดของตลาดโลกการท่องเที่ยวเพื่อการแพทย์มีมูลค่าประมาณ 60 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี คศ. 2008 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าประมาณ 100 พันล้านเหรียญฯ ในปี คศ. 2010

ผู้ที่เดินทางไปรับบริการทางการแพทย์ในต่างประเทศจากสหรัฐฯ มีประมาณ 750,000 คน ในปี คศ. 2007 โดยบริษัทดีลอยท์คาดการณ์ว่า ผู้ที่เดินทางไปแสวงหาบริการทางการแพทย์ในต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณเป็นหลายล้านคนภายในปี คศ. 2010 เนื่องจากภาวะค่าบริการทางการแพทย์ในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ปีละ 8 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีค่าครองชีพ) และประชากรสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่ไม่เข้าร่วมรับบริการประกันสุขภาพ จึงต้องแสวงหาค่าบริการที่ถูกกว่า โดยบริการทางการแพทย์ในต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับจะมีต้นทุนต่ำกว่าประมาณร้อยละ 30-40 ของค่าบริการฯ ในสหรัฐฯ ทั้งนี้ บริการทางการแพทย์ในต่างประเทศที่เป็นที่นิยม ได้แก่ การผ่าตัดศัลยกรรมพลาสติก ทันตกรรม การเปลี่ยนข้อหัวเข่า การผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น

ประชาชนของสหรัฐฯ นิยมเดินทางข้ามชายแดนไปรับบริการการแพทย์ในประเทศเม็กซิโกอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเพื่อการทำฟัน ซึ่งถูกกว่าเป็นหนึ่งในห้าของค่าทำฟันในสหรัฐฯ หรือการซื้อยาโดยใบสั่งแพทย์ซึ่งมีราคาครึ่งหนึ่งของราคาในสหรัฐฯ เมืองชายแดนที่มีบริการการแพทย์พื้นฐานสำหรับชาวอเมริกันในรัฐทางตอนใต้ของสหรัฐฯ ได้แก่ เมือง Tijuana เมือง Mexicali และเมือง Laredo สำหรับการบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูง จะอยู่ในกรุงเม็กซิโก เมืองกัวดาราฮาร่า และมอนเตอเรย์

โรงพยาบาลในเม็กซิโกที่ได้รับการรับรองโดยองค์กรรับรองมาตรฐานการแพทย์ของสหรัฐฯ (JCI) ได้แก่ American British Cowdray Medical Center IAP ซึ่งมีสาขา อยู่ 2 แห่งในกรุงเม็กซิโก โรงพยาบาล Christus Muguerza Alta Especialidad เมื่อง Monterrey โรงพยาบาล Clinica Cumbres เมือง Chihuahua โรงพยาบาล CIMA ซึ่งมีสาขา อยู่ 2 แห่งคือเมือง Hermosillo รัฐโซโนรา และที่รัฐมอนเตอเรย์ โรงพยาบาล Mexico Americano เมือง Guadalajara รัฐ Jalisco โรงพยาบาล San Jose Tec de Monterrey และกลุ่ม OCA ในเมือง Monterrey รัฐ Nuevo Leon

เปรียบเทียบค่าบริการการแพทย์ในสหรัฐฯ กับเม็กซิโก


นอกจากเม็กซิโกแล้ว ประเทศกลุ่มอเมริกากลางซึ่งมีทำเลที่ตั้งใกล้ชิดกับสหรัฐฯ อีกทั้งยังมีประชากรส่วนหนึ่งของทั้งสองประเทศที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยในทั้งสองแห่ง กำลังรณรงค์ปรับปรุงและส่งเสริมบริการทางการแพทย์สำหรับนักท่องเที่ยวอย่างเข้มแข็ง โดยประเทศคอสตาริกาเป็นผู้นำตลาดในกลุ่มนี้ มีสถาบันที่ได้รับการรับรองบริการการแพทย์โดยองค์กรฯ ในสหรัฐฯ (JCI) รวม 3 แห่ง คือ โรงพยาบาล CIMA คลีนิค Biblica และโรงพยาบาล La Catolica

ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอเมริกากลาง เช่น กัวเตมาลา ได้ตั้งเป้าหมายเพื่อรับนักท่องเที่ยวเพื่อการแพทย์ในปี คศ. 2012 จำนวน 5,000 ราย โดยคาดคะเนว่า นักท่องเที่ยวเพื่อการแพทย์จำนวนนี้ จะทำรายได้ให้กับประเทศกัวเตมาลาได้ 464 ล้านคินตัล ประเทศนิคารากัว มีโรงพยาบาลทีได้รับการรับรองโดย JCI หนึ่งแห่ง ได้แก่ Hospital Metropolitano และโรงพยาบาล Vivian Pellas

นอกจากนี้แล้ว ประเทศคูบายังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการแพทย์ที่มีประวัติการให้บริการสำหรับคนไข้ในภูมิภาคละตินอเมริกามาเป็นเวลา 40 กว่าปี มีราคาค่าบริการการแพทย์ที่ถูกกว่าค่าบริการในสหรัฐฯ กว่าครึ่งราคา มีบริการรักษาโรคมะเร็ง การผ่าตัดตา และการรักษาการติดยา เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญที่ประเทศอเมริกากลางคาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้รองรับนักท่องเที่ยวทางการแพทย์ได้มากขึ้น ได้แก่ การขอการรับรองมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์โดยสถาบันผุ้ให้การรับรองในสหรัฐฯ ในประเทศคอสตาริกา ได้มีคลินิคที่ให้บริการการแพทย์แก่ชาวต่างชาติที่ได้รับการรับรองจาก Aaaasf (American Association for Accreditation of Ambulatory Surgery Facilities) 3 แห่งคือ คลินค Unibe ที่ให้บริการผ่าตัด คลินิค Sonrisa para Todos ที่ให้บริการทันตกรรม และคลินิค Pino ที่เน้นให้บริการด้านศัลยกรรมตกแต่ง ทั้งนี้ ได้มีการคาดว่าคลินิคทั้งสามแห่งนี้ ให้บริการทางการแพทย์แก่ต่างชาติราว ๆ 25,000 คน และคาดว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเพื่อรับบริการทางการแพทย์ ใช้จ่ายประมาณ 400-500 เหรียญฯ ต่อคนต่อวัน ซึ่งเป็น 4-5 เท่าของนักท่องเที่ยวธรรมดา

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

http://www.deloitte.com/assets/Dcom-UnitedStates/Local%20Assets/Documents/us_chs_MedicalTourismStudy(3).pdf
http://www.prensalibre.com/economia/Turismo-salud-genera-expectativas_0_348565150.html
http://wvw.nacion.com/ln_ee/2009/octubre/02/economia2109776.html
http://www.health-tourism.com/medical-tourism/industry-certifications/
http://www.centralamericadata.com/en/article/home/Guatemala_Commits_to_US_Medical_Tourism
http://en.wikipedia.org/wiki/International_healthcare_accreditation
http://en.wikipedia.org/wiki/Medical_tourism
http://www.medicaltourismassociation.com/en/about-the-mta.html
http://www.aaaasf.org/

Wednesday, January 5, 2011

Mexico Competitiveness ranks 66th in World Economic Forum Global Competitiveness

ขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของเม็กซิโก

รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ (Global Competitiveness Report) ของ World Economic Forum ปี คศ. 2010 ได้จัดอันดับคะแนนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจให้กับเม็กซิโกเท่ากับ 4.19 จัดเป็นอันดับที่ 66 จากประเทศที่ได้รับการจัดคะแนนความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศทั้งหมด 139 ประเทศ (ประเทศไทยได้รับคะแนน 4.51 เป็นอันดับที่ 38)

ปัจจัยในเชิงบวกสำหรับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจของเม็กซิโกได้แก่ ขนาดของตลาดที่ใหญ่ (อันดับที่ 12) ความเข้มแข็งของภาคเอกชน (อันดับที่ 67 สำหรับความช่ำชองทางธุรกิจ และอันดับที่ 78 สำหรับนวัตกรรม) ความช่ำชองในการพัฒนาการรวมกลุ่มวิสาหกิจ (well-developed clusters) จัดเป็นอันดับที่ 50 และสำหรับการดำเนินธุรกิจตามกระบวนการสร้างมูลค่า (value chain) จัดเป็นอันดับที่ 49

คะแนนขีดความสามารถในการแข่งขันของเม็กซิโกไม่ได้พัฒนาขึ้นจากเมื่อสองปีก่อน ซึ่งมีผลทำให้อันดับความแข่งขันฯ ร่วงลงไปถึง 6 ตำแหน่ง แสดงให้เห็นว่า หากไม่มีการพัฒนาปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันอย่างสม่ำเสมอย่อมมีผลทำให้มีความแข่งขันลดน้อยลง

เศรษฐกิจของเม็กซิโกได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ ในปี คศ. 2008 มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคละตินอเมริกา เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจของเม็กซิโกมีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ทั้งในด้านการเงินการธนาคาร การค้า และการรับเงินโอนจากแรงงานในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์กเศรษฐกิจครั้งนี้ไม่ร้ายแรงท่ากับครั้งปี คศ. 1994 เนื่องจากรัฐบาลเม็กซิกันได้บริหารความมั่นคงด้านเศรษฐกิจมหาภาคได้ดีกว่าครั้งก่อน (จัดอันดับการบริหารภาคเศรษฐกิจมหาภาคเป็นที่ 28) โดยได้ดำเนินการแผนงานกระตุ้นเศรษฐกิจได้ผลดี ผลผลิตมวลรวมประชาชาติหดตัวลงเพียงร้อยละ 6.5 ในปี คศ. 2009 แต่ได้ฟื้นตัวขึ้นได้ในอัตราร้อยละ 4.2 ในปี คศ. 2010

ถึงแม้ว่า เม็กซิโกจะได้ดำเนินการมาตรการเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพความสามรถในการแข่งขันโดยทั่วไปแล้วยังคงมีปัจจัยด้านตลาดและโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีความยืดหยุ่น และไม่ตอบสนองต่อมาตรการปรับปรุงในระยะยาว (rigid market factors and structural impediments for growth over the long term) ยกตัวอย่างเช่น
  • การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งได้รับคะแนนความแข่งขันเท่ากับ 3.75 จัดเป็นอันดับที่ 75
  • ความมั่นคงเชื่อถือได้และคุณภาพบริการของสถาบันต่าง ๆ อยู่ในอันดับต่ำที่ 106
  • ปัญหาด้านความปลอดภัยที่ได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากสงครามการปราบปรามยาเสพติด ทำให้อันดับความมั่นคงลดลง 9 ตำแหน่งเป็นที่ 134
  • ปัจจัยด้านแรงงาน ซึ่งได้ถูกจัดอันดับเป็นที่ 103 เนื่องจากมีกฏระเบียบที่เคร่งครัดสลับซับซ้อนที่ควบคุมกาาจ้างงาน การเก็บภาษีเงินเดือนและเงินสมทบด้านสังคมสูง และมีความยืดหยุ่นสำหรับการเลิกจ้างน้อย ทั้งนี้ เม็กซิโก ได้ถูกจัดอันดับด้านความแข่งขันในการใช้แรงงาน เป็นอันดับที่ 122 จาก 137 ประเทศ
  • การศึกษาและการฝึกฝน ได้ถูกจับอันดับเป็นที่ 79 เนื่องจากนักธุรกิจต่าง ๆ มีความเห็นว่า ประเทศเม็กซิโกไม่สามารถผลิตแรงงานที่มีคุณภาพได้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะด้านนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร
  • การปรับตัวด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้ถูกจัดอันดับเป็นที่ 89

The Global Competitiveness Report 2010-2011