Google Website Translator

Wednesday, March 21, 2012

Flower market of Mexico

ข้อมูลตลาดสินค้าไม้ตัดดอกในประเทศเม็กซิโก

1. รหัสสินค้าสินค้าไม้ตัดดอก

HS 0603 ไม้ตัดดอก

2. ภาวะตลาดสินค้าไม้ตัดดอกในประเทศเม็กซิโก

ภูมิอากาศลักษณะเขตร้อนของประเทศเม็กซิโก เป็นปัจจัยที่สร้างตลาดสำหรับไม้ตัดดอกภายในประเทศเม็กซิโกมาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคก่อนราชอาณาจักรสเปน โดยตลาดน้ำ Xochimilco ในชานเมืองกรุงเม็กซิโก ที่เป็นแหล่งการเพาะปลูกและค้าขายพันธุ์ไม้ของวัฒนธรรมแอสเต็ก ยังคงเป็นศูนย์กลางของตลาดดอกไม้ในกรุงเม็กซิโกภายหลังเวลาหลายร้อยปี ในปัจจุบันไม้ตัดดอกที่นิยมขายในตลาดเม็กซิโกโดยทั่วไปอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกคาร์เนชั่น ดอกทานตะวัน เบญจมาศ ต้นดอกเจราเนียมและต้นคริสมาส/พอยเซตเทีย เป็นต้น

2.1 การบริโภคสินค้าไม้ตัดดอกในประเทศเม็กซิโก

ชาวเม็กซิกันนิยมการซื้อดอกไม้ตามเทศกาลสำคัญๆ ตลอดปี โดยเทศกาลที่มีการซื้อดอกไม้มากที่สุดได้แก่ การซื้อดอกดาวเรืองสำหรับวันระลึกผู้ล่วงลับ หรือ Dia de los Muertos ในวันที่ 2 พฤศจิกายน การซื้อดอกกุหลาบในวันวาเล็นไทน์ ดอกลีลี่ ทิวลิป ดอกกุหลาบและอื่นๆ ในวันแม่ วันเกิด วันครบรอบแต่งงาน และงานศพ ฯลฯ

แนวโน้มของตลาดการบริโภคไม้ตัดดอกได้ขยายจากความนิยมไม้ตัดดอกดั้งเดิม ไปสู่ไม้ตัดดอกจากต่างประเทศ เช่น ทิวลิป เจอเบรา และลิลี่ เนื่องจากกำลังการซื้อของผู้บริโภคที่ได้เพิ่มขึ้นในช่วงหลัง เมื่อหกปีที่ผ่านมาตลาดไม้ตัดดอกของเม็กซิโกมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ในปลายปี 2011 ได้มีมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

2.2 การผลิตสินค้าไม้ตัดดอกในประเทศเม็กซิโก

สมาคมผู้ผลิตพันธุ์ไม้แห่งเม็กซิโก (AMHPAC) ได้รายงานว่า พื้นที่การเพาะปลูกไม้ประดับในเม็กซิโกมีประมาณ 22,000 เฮกตาร์ ผลผลิตปริมาณ 83,000 ตัน โดยประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่การเพาะปลูกดังกล่าวจะรวมตัวในพื้นที่ส่วนกลางของรัฐเม็กซิโก ร้อยละ 80 ของผลผลิตดังกล่าวจะเข้าสู่ช่องทางสำหรับตลาดภายในประเทศผ่านตลาดกลาง Central de Abasto ในปี 2011 รัฐบาลของเม็กซิโกได้เปิดศูนย์กลางสำหรับต้นไม้และดอกไม้ประดับใหม่ที่ El Mercado de Flores y Plantas ที่ San Antonio la Isla แหล่งการผลิตและส่งออกไม้ประดับอีกส่วนหนึ่งจะอยู่ที่รัฐบาฮาแคลิฟอร์เนียในภาคเหนือของเม็กซิโกตามชายแดนสหรัฐ ในปีที่ผ่านมารัฐบาฮาแคลิฟอร์เนียได้ส่งออกไม้ตัดดอกไปยังสหรัฐฯ เป็นมูลค่าประมาณ 8 ล้านเหรียญสหรัฐ

การผลิตไม้ตัดดอกและไม้ประดับของเม็กซิโกยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก เมื่อเทียบกับผู้ส่งออกไม้ตัดดอกและไม้ประดับสำคัญของภูมิภาคละตินอเมริกา นั่นคือ ประเทศโคลัมเบีย (การส่งออกไม้ตัดดอกปี 2011 มูลค่า 1.2 พันล้านเหรียญฯ) และเอควาดอร์ (การส่งออกไม้ตัดดอกปี 2011 มูลค่า 678 ล้านเหรียญฯ) แหล่งนำเข้าไม้ตัดดอกที่สำคัญได้แก่สหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าของตลาดประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ข้อเสียเปรียบของผู้เพาะปลูกไม้ตัดดอกเม็กซิกัน คือการขาดการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสำหรับการเก็บรักษาและบรรจุห่อดอกไม้เพื่อการรักษาคุณภาพของดอกไม้เพื่อการส่งออก

2.3 การส่งออกสินค้าไม้ตัดดอกในประเทศเม็กซิโก


เม็กซิโกมีการส่งออกสินค้าไม้ตัดดอก (รหัส HS 0603) ในปี 2010 มูลค่า 24.6 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปี 2009 ร้อยละ 2.65 โดยมีการส่งออกกุหลาบเป็นสำคัญ ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ในสัดส่วนร้อยละ 95.8 ของมูลค่าการส่งออกรวม รองลงมาได้แก่ การส่งออกไปยังแคนาดา สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 2

2.4 การนำเข้าสินค้าไม้ตัดดอกในประเทศเม็กซิโก

เม็กซิโกมีการนำเข้าไม้ตัดดอก (รหัส HS 0603) ในปี 2010 มูลค่า 2 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปี 2009 ร้อยละ 13.6 โดยมีมูลค่าการนำเข้ากล้วยไม้ที่มีความสำคัญพอประมาณ ในสัดส่วนร้อยละ 46 ของการนำเข้าในหมวดนี้ แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในสัดส่วนร้อยละ 83 ของมูลค่าการนำเข้ารวม

3. ช่องทางการตลาดสำหรับสินค้าไม้ตัดดอกในประเทศเม็กซิโก

แนวโน้มของตลาดไม้ตัดดอกโลกได้เปลี่ยนไปสู่ความนิยมดอกไม้จากแหล่งใหม่ๆ เช่น กล้วยไม้ ดอก Bird of Paradise และดอกหน้าวัว ซึ่งประเทศไทยมีดอกไม้ประเภทดังกล่าวที่ผู้บริโภคชาวเม็กซิกันในระดับตลาดบนกำลังถามหา ไทยจึงมีโอกาสการเจาะตลาดดังกล่าว ถึงแม้ว่าประเทศเม็กซิโกจะมีการผลิตกล้วยไม้ได้หลายพันธุ์ แต่ความสามารถของผู้ผลิตท้องถิ่นในการวางตลาดสินค้าดังกล่าวยังไม่มีความแข่งขัน กล้วยไม้ของไทยซึ่งผลิตได้ในปริมาณที่มากกว่า ความหลากหลายของพันธุ์ สีสัน และราคาย่อมเยาว์ จึงน่าจะมีโอกาสทางตลาดที่ดี ประเด็นในการเจาะตลาดที่สำคัญคือการติดต่อตัวแทนจำหน่ายที่มีความสามารถในวางสินค้าในตลาดได้อย่างทั่วถึง

4. เงื่อนไขและกฏระเบียบการค้าสินค้าไม้ตัดดอกในประเทศเม็กซิโก

4.1 มาตรฐานสินค้า ภาษีนำเข้า

กฏระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าไม้ตัดดอกและไม้ประดับในเม็กซิโก ถูกกำหนดภายใต้ NOM-009 FITO ประกาศเมื่อปี 1995 ได้กำหนดไว้ว่า การนำเข้าไม้ตัดดอกและไม้ประดับทุกประเภทจะต้องมีมาตรฐานที่ถูกต้องตามกฎควบคุมสินค้าดังกล่าวในประเทศต้นกำเนิดสินค้า และจะต้องมีใบรับรองมาตรฐานสุขอาณามัยพืชสากล ที่บ่งบอกแหล่งผลิตและรับรองว่าปลอดโรคหรือแมลงสำหรับประเภทไม้ประดับนั้นๆ ตามแหล่งนั้นๆ สินค้าดังกล่าวไม่สามารถเป็นสินค้าส่งออกต่อจากประเทศอื่น ต้องนำเข้าจากประเทศต้นกำเนิดสินค้าเท่านั้น

ท่าเรือนำเข้าที่ได้รับอนุมัติให้เป็นแหล่งรับสินค้านำเข้าที่เป็นไม้ตัดดอกและไม้ประดับ ได้แก่ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศกรุงเม็กซิโก ท่าอากาศยานเมืองกัวดาลาฮารา ติฮัวนา เตคาเต เมหิคาลี บาฮาแคลิฟอร์เนีย โนกาเลส์ โซนอรา ฮัวเรส์ ชิวาวา อาคูนา เพียดรัสเนกรัส และโคว์วิลลา

4.2 ภาษีการนำเข้า

ภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าหมวดรหัส 0603 ร้อยละ 20 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 16

5. ผู้นำเข้าไม้ตัดดอกและไม้ประดับในเม็กซิโก

1.-BUENAVISTA FLORAL, S.A DE C.V
Ms. Rosario Rosas Garcia, Purchasing manager
Address: Autop. Tenango-Ixtapan de laSal Km. 29.5
Villa Guerrero, Mexico 51760
www.bvfloral.com.mx
Tel.: (52) 714 1 46 06 83
Fax: (52) 714 1 46 03 11

2.-MARTIN CUBRERO, S.A DE C.V
Ms. Caludia Cedillo, Purchasing manager
Address: 10 de Abril #44, Col. Gabriel Tepepa
Cuautla, Morelos 62742
www.martincubero.com.mx
Tel.: (52) 735 308 19 30 Ext. 33, 34
Fax: (52) 735 352 70 04

3.-TIENDAS CHAPUR, S.A DE C.V
Ms. Adriana Cortes, Purchasing manager
Address: Calle 63 # 747x54 y 56 Col. Centro
Merida, Yucatán 97000
Tel.: (52) 999 928 30 22 ext. 2403, 2412

6. งานแสดงสินค้าสำหรับไม้ตัดดอกและไม้ประดับในเม็กซิโก
1. ExpoFlor at Villa Guerrero, Mexico
Last edition: January 2011
Next Edition: January 2013
Location: Villa Guerrero, State of Mexico

2. Flowers and orchids Expo
Last Edition: December 2011
Next Edition: December 2012
Location: Merida, Yucatan


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Monday, March 12, 2012

Panama and Honduras rice import 2012

ประเทศปานามาและฮอนดูรัสต้องการนำเข้าข้าว

ปานามา นักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวงการข้าวในประเทศปานามาและฮอนดูรัสได้คาดคะเนว่า ทั้งสองประเทศดังกล่าวมีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวในปี 2012 เนื่องจากสต็อคข้าวที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ 

นาย Oscar McKay รองผู้อำนวยการสถาบันการตลาดภาคเกษตร (Institute of Agricultural Marketing -IMA) ประเทศปานามา ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว Prensa.com ว่า ข้าวคงคลังของปานามาที่มีอยู่ 2.7 แสนตัน เป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับความต้องการบริโภคภายในประเทศได้ถึงเดือนมิถุนายน 2012 และเนื่องจากผลผลิตข้าวภายในประเทศปานามาไม่เพียงพอกับความต้องการรวมประจำปี จึงคาดว่าจะต้องมีการอนุมัติโควต้าการนำเข้าข้าวในปริมาณประมาณ 1.5 แสนตันใกล้เคัยงกับปริมาณโควต้าที่ได้อนุมัติการนำเข้าในปี 2010 ทั้งนี้ในปี 2009 ปานามาได้นำเข้าข้าวเพื่อชดเชยผลผลิตที่ไม่เพียงพอในปริมาณ 2 แสนตัน 

ต้นทุนการผลิตข้าวสำหรับชาวเกษตรกรปานามาได้เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 20 โดยต้นทุนการเพาะปลูกข้าวสำหรับพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6 ไร่กับ 1 งาน) มีมูลค่าประมาณ 2,050 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับราคาขายข้าวเพียว 20.25 เหีรยญฯ ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ในปี 2010 ได้มีการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่รวม 64,400 เฮกตาร์ โดยมีผลผลิต 1.2 ล้านบูเชล์ แต่ในปี 2011 ได้มีการเพาะปลูกลดลงเหลือเพียง 57,456 เฮกตาร์ รวมทั้งผลผลิตที่ลดลงเนื่องจากฝนตกหนักกว่าปกติ จึงคาดว่าข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดภายในปี 2011 จะมีปริมาณรวมประมาณ 5.6 ล้านบูเชล์ ในขณะที่การบริโภคข้าวของปานมามีประมาณ 7.5 ล้านบูเชล์ 

ปริมาณการบริโภคข้าวโดยเฉลี่ยของชาวปานามาต่อหัวเท่ากับ 70 กิโลกรัมต่อคน ปานามีมีประชากรรวม 3 ล้านคน 


ฮอนดูรัส สำหรับประเทศฮอนดูรัส กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าฮอนดูรัสได้ประเมินผลผลิตข้าวเปลือกสิ้นปี 2011 ปริมาณ 91,500 ตัน โดยราคาข้าวภายในประเทศฮอนดูรัสมีราคาประมาณ 18.36 เหรียญสหรัฐต่อคินตัล ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20 เหรียญต่อคินตัลภายในสองปีข้างหน้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าฮอนดูรัสคาดว่า ความต้องการบริโภคข้าวภายปีประเทศฮอนดูรัสสำหรับปี 2012 จะมีความต้องการประมาณ 3 แสนตัน และ กำลังพิจารณาโควต้าการนำเข้าข้าวเปลือกปริมาณหนึ่งแสนตัน โดยจะเป็นการนำเข้าภายใช้สิทธิพิเศษของความตกลง DR-CAFTA 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการการนำเข้าข้าวปานามา
1. Mr. Humberto Bermudez
National Director of Food Imports Regulations
Tel: (507) 522-0003
Fax: (507) 522-0014
Email: hbermudez@aupsa.gob.pa
Ministry of Agricultural Development, MIDA

2. Dr. Cesar Maure
Executive Director of Agricultural Quarantine
Tel: (507) 232-5340
Fax: (507) 507-0877
Email: cmaure@mida.gob.pa

3. Mr. Abraham Ducreux
Chief of Food Protection Department
Ministry of Health, MINSA
Tel: (507) 512-9180
Fax: (507) 512-9114
Email: aducreux@minsa.gob.pa



4. National Authority of Customs
P.O. Box 0819-07729
Panama, Panama
Tel: (507) 506-6407
Fax: (507) 506-6240
Contact: Dr. Gloria Moreno de Lopez, Director
E-Mail: Maritza.delopez@ana.gob.pa
Website: www.aduanas.gob.pa

5. สมาคมโรงสีข้าวปานามา
Asociación Nacional de Molineros
Ave. Ricardo J. Alfaro, Century Tower, Tercer Piso, Office # 321
Website: http://www.analmo.org/
Tel: 236-2106 Fax :279-1909