Google Website Translator

Monday, July 30, 2012

Catfish market in Mexico

แนวโน้มตลาดปลาดุกในเม็กซิโก (Pangasius Hypophthalamus)

เนื้อปลาดุกแช่เย็น (Pangasius Hypophthalamus) เป็นอาหารประเภทปลาชนิดใหม่สำหรับผู้บริโภคในสหรัฐฯ ยุโรป และภูมิภาคลาตินอเมริกา ได้มีการพัฒนาการผลิตและตลาดการส่งออกอย่างรวดเร็วในระยะเวลาประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา และในปัจจุบัมีระดับการผลิตและการส่งออกที่แข่งขันกับเนื้อปลานิลแช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง และปลาแซลมอนแช่เย็น ปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของตลาดเนื้อปลาดุกแช่เย็นอย่างรวดเร็วคือ ความได้เปรียบทั้งในด้านราคาและรสชาติ

ผู้ที่พัฒนาการผลิตเนื้อปลาดุกแช่เย็นที่เร็วที่สุด ได้แก่ประเทศเวียดนาม จนกระทั่งในช่วงปี ค.ศ. 2003 สหรัฐฯ ได้เริ่มการรณรงค์ต่อต้านเนื้อปลาดุกแช่เย็นนำเข้าจากเวียดนาม อันเป็นผลให้ผู้ส่งออกปลาดุกไม่สามารถใช้ชื่อสินค้าปลาดุกที่นำเข้าว่าเป็น Catfish ปลาดุกนำเข้าจากภูมิภาคเอเชียและแหล่งอื่นๆ จึงเป็นที่รู้จักกันในชื่อปลา Panga/Basa-Sutchi/Sawai ส่วนในประเทศเม็กซิโกเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในชื่อปลา Bagre de canal


การผลิตและตลาดการส่งออก-นำเข้าเนื้อปลาดุกแช่แข็ง

เวียดนามมีความสามารถผลิตปลาดุกได้ปีละกว่า 1 ล้านตัน ที่สามารถแปลงเป็นเนื้อปลาดุกแช่เย็น (fillets) ในสัดส่วนหนึ่งส่วนสามของน้ำหนักปลาทั้งตัว ในปี 2011 ได้เวียดนามได้ส่งออกเนื้อปลาดุกแช่เย็นประมาณ 380,000 ตัน มูลค่าการส่งออก 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

เวียดนามมีกำลังการแปรรูปปลาดุกเพาะเลี้ยงเป็นเนื้อปลาดุกแช่เย็นได้ 3,500 ตันต่อวัน มีโรงงานแปรรูปเนื้อปลาแช่เย็นในระดับอุตสาหกรรม 405 แห่ง โดยมี 80 แห่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเพื่อการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป และอีก 30 แห่งที่ได้รับการรับรองเพื่อการส่งออกไปยังรัสเซีย ในจำนวนโรงงานดังกล่าว ร้อยละ 16 มีระดับการผลิตที่ได้รับการับรองมาตรฐานระบบ ISO

ตลาดการส่งออกเนื้อปลาดุกแช่เย็นได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จากปี 2008 ต่อมาจนถึง 2011 ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินในสหภาพยุโรป ราคาปลาดุกที่ตกต่ำในปี 2008 ได้ส่งผลให้ผู้เพาะเลี้ยงปลาดุกในเวียดนามไม่สามารถระดมทุนเพื่อการเพาะเลี้ยงในปี 2009 สร้างแรงกดดันให้ราคาถีบตัวขึ้นในปี 2009 (ราคาขายของเนื้อปลาดุกแช่เย็นในยุโรปในปีนั้น มีราคา 2.65 เหรียญต่อกิโล)

ตลาดที่สำคัญที่สุดสำหรับเนื้อปลาดุกแช่เย็นคือ กลุ่มประเทศยุโรป สหรัฐฯ และรัสเซีย โดยในปี 2011 ยุโรปได้นำเข้าเนื้อปลาน้ำจืดแช่เย็นในปริมาณ 209,000 ตัน โดยร้อยละ 90 ของเนื้อปลาน้ำจืดแช่เย็นที่นำเข้าในปีนั้น เป็นเนื้อปลาดุกแช่เย็น ส่วนสหรัฐฯ ได้นำเข้าเนื้อปลาดุกแช่เย็นประมาณ 92,000 ตัน เป็นปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 59 จากปี 2010

เนื้อปลาดุกแช่เย็นเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง มีตลาดนำเข้ากว่า 100 ประเทศ ในช่วงหลังนี้ การส่งออกเนื้อปลาดุกแช่เย็นไปยังกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเม็กซิโกเป็นผู้นำเข้าเนื้อปลาดุกแช่เย็นอันดับ 5 ของโลก ตามด้วยประเทศโคลัมเบีย บราซิล และคอสตาริกา ทั้งนี้ ในปี ค.ศ. 2011 เม็กซิโกได้นำเข้าปลาดุกแช่เย็นเป็นปริมาณ 73,117 ตัน มูลค่า 227 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โอกาสการพัฒนาและปัญหาอุปสรรคของตลาดเนื้อปลาดุกแช่แข็ง

การขยายตัวของตลาดเนื้อปลาดุกเแช่เย็นในประเทศลาติอเมริกา ได้มีแรงผลักดันให้หน่วยงานด้านประมงของประเทศเหล่านี้ เริ่มเพ่งเล็งการควบคุมการนำเข้า รวมทั้งพิจารณาการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงภายในประเทศเพื่อส่งเสริมภาคประมงน้ำจืด และเพื่อหารายได้จากการส่งออก จากการศึกษาของหน่วยงานต่างๆ ของกลุ่มประเทศเหล่านี้ ได้มีการเสนอมาตรการ 3 อย่างเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดปลาดุกแช่เย็นนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนี้

· อนุมัติให้มีการนำเข้าจนกว่าจะเห็นแนวโน้มของความต้องการสินค้า หรือขนาดของตลาดที่คงที่ (เป็นมาตรการที่เหมาะสมสำหรับช่วงการนำเข้าแรกเริ่ม)

· ดำเนินนโยบายป้องกันตลาดภายใน โดยการกำหนดภาษีนำเข้า หรือมาตรฐานสุขอานามัยอาหาร หรือการสร้างภาพพจน์ในทางลบต่อสินค้านำเข้าดังกล่าว (เป็นมาตรการที่เริ่มใช้เมื่อการนำเข้ามีปริมาณสูง และเริ่มบีบตลาดสินค้าอาหารทะเลอื่นๆ และมีผลกระทบต่อชาวประมงของประเทศผู้นำเข้า)

· แข่งขันโดยการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงภายในประเทศ (เป็นมาตรการที่มีโอกาสสร้างรายได้จากการส่งออกสำหรับประเทศที่ภูมิอากาศและแหล่งน้ำที่เหมะสม)

กรณีย์การกีดกันการนำเข้าเนื้อปลาดุกแช่เย็นจากเวียดนามในสหรัฐฯ เป็นตัวอย่างการรณรงค์กีดกันสินค้าที่ได้รับการวิจารณ์อย่างสูง และเวียดนามได้โต้ตอบกลับโดยการประท้วงทั้งข้อกล่าวหาของ WWF และ การสอบสวนการทุ่มตลาดในสหรัฐฯ ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ได้มีการกีดกันการนำเข้าเนื้อปลาดุกแช่เย็นได้แก่ ประเทศบราซิล ที่อ้างเหตุผลเพื่อปกป้องชาวประมงภายในประเทศ และเม็กซิโก ซึ่งได้ห้ามการนำเข้าจาดเวียดนามและจีน โดยอ้างเหตุด้านสุขอานามัยเนื่องจากเป็นสินค้าที่สามารถมีการติดเชื้ออหิวาฯ นอกจากนี้แล้ว ประเทศอียิปต์ รัสเซีย อิตาลี และสเปน ต่างก็ได้อ้างเหตุผลด้านสุขอานามัยเพื่อยุติการนำเข้าเป็นช่วงๆ ซึ่งได้มีผลต่อทัศนคติของผู้บริโภคลดความต้องการของสินค้านี้อย่างเห็นได้ชัดเจน

สถิติการนำเข้าปลาดุกในเม็กซิโกปี 2009-2011

กระทรวงเกษตรและประมงเม็กซิโก (CONAPESCA) ได้จัดพันธุ์ปลาดุกเป็นปลาประเภทเลี้ยงเพื่อความสวยงาม (ornamental) และไม่จัดเป็นพันธุ์ที่อนุญาติให้มีการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารได้ แต่มีภาคเอกชนที่สนใจที่จะพัฒนาธุรกิจด้านนี้ หน่วยงานราชการของเม็กซิโกจึงกำลังพิจารณาระเบียบมาตรฐานการนำเข้า รวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งนี้ เมื่อเดือนกรกฏาคม 2011 สำนักงานสถิติแห่งชาติเม็กซิโกได้เปลี่ยนรหัส HS code ของปลาดุกนำเข้าจาก HS 03042999 เป็น HS 03046201 โดยสินค้าเนื้อปลาดุกแช่เย็นดังกล่าว มีการจัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 20


Source: World Trade Atlas


รายชื่อผู้นำเข้าปลาดุกในเม็กซิโก

1.-COMERCIALIZADORA MEXICO AMERICANA, S.A DE C.V
NUEVA WAL-MART DE MEXICO S. DE R.L, BODEGA AURRERA, SUPERAMA, SAM’S, VIP’S, WAL-MART SUPERCENTER
Mr. Carlos Enrique Ortega, Imports Sub-manager
Address: Av. De la Luz 34, Parque Industrial LaLuz, Cuauytitlan Izcalli, Mexico 54380
Tel: (52) (55) 5899 1200 Ext. 1260
Fax: (52) (55) 58991242

2.- TIENDAS SORIANA, S.A DE C.V
Mr. Rene Sánchez Franch, Department Sub-Director
Address: Alejandro de Rodas 3102-A, Col. Cumbres 8° sector, Monterrey N.L
Tel: (52) (81) 83299000 Ext. 8764
Fax: (52) (81) 83299161

3.-EMPACADORA DEL GOLFO DE MEXICO, S.A DE C.V
Ms. Alejandra Espinosa Gama, Purchasing Manager
Address: Framboyanes 1393, Col. Bruno Pagliali, Veracruz  91697
Tel: (52) (229) 9810614, 98111798 Ext. 105
Fax: (52) (229) 9395858

4.- GRUPO MARITIMO INDUSTRIAL, S.A DE C.V (GRUPO MAR)
Mr. Juan Garcia Figueiras, Import and Export Manager
Address: Central Oriente 5, Parque industrial Fundeport, Manzanillo, Colima 22219
jfigueiras@grupomar.com
Tel: (52) (314)3311420 Ext. 141

5.-TIENDAS COMERCIAL MEXICANA, S.A DE C.V
BODEGA COMERCIAL MEXICANA, MEGA COMERCIAL MEXICANA
TIENDAS SUMMESA
Mr Arsenio Iruretagoyena Bravo, Fish and Shellfishes Purchasing Manager
Address: Vallejo 980, Fracc. Industrial Vallejo, Mexico DF 02300
Tel: (52) (55) 52709770, 52709769
Fax: (52) (55) 52709732

6.-TIENDAS CHEDRAUI, S.A DE C.V
Mr. Anton Martinez Garcia, Purchasing Manager
Address: Constituyentes 1150, Edif. 3, PA
Col. Lomas Altas, Mexico DF 11950
Tel: (52) (55) 11038000 Ext. 8112, 11038017
Fax: (52) (55)11038000 Ext. 8069

7.-COMERCIALIZADORA DE IMPORTACIONES Y EXPORTACIONES TERRESTRES, S.A DE C.V
Mr. Enrique Burgos, President
Address: Providencia 1142, Col. Del Valle, Mexico, D.F 03100
eburgos@prodigy.net.mx
Tel.: +52 (55) 56 41 55 98
Fax: +52 (55) 56 76 80 38

8.-MARINDUSTRIAS, S.A DE C.V
MARISTMO, S.A DE C.V
MARFRIGO, S.A DE C.V
MARITIMA INDUSTRIAL PESQUERA, S.A DE C.V
Ms.  Juan Carlos de los Santos Manzo, Purchasing Manager
Address: Central Oriente 5
Parque Industrial F. Ramirez Fondepot, Manzanillo Colima 28219
Tel: (52) (314) 3311420, 3365055 Ext. 116
Tel: (52) (314) 3365993

Monday, July 23, 2012

Cup Noodle Market in Mexico

ตลาดบะหมี่แห้งสำเร็จรูปในเม็กซิโก


การวิเคราะห์ตลาดอาหารในเม็กซิโกโดยวารสาร Dia Siete ได้รายงานว่า ในปี ค.ศ. 2003 เม็กซิโกเป็นผู้บริโภคหนึ่งในสิบส่วนของผลผลิตบะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยในโลก หรือประมาณ 4 ล้านถ้วย (Maruchen) ต่อวัน หรือร้อยละ 15 ของผลผลิตบะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยของบริษัท Maruchen ซึ่งเป็นยี่ห้อบะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยยอดนิยมในเม็กซิโก บะหมี่สำเร็จรูปประเภทด้วยยี่ห้อมารุจันมีส่วนแบ่งการครองตลาดในเม็กซิโกเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ผู้ผลิตบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้ออื่นๆ ที่แข่งขันกับมา


สำนักงานปกป้องสิทธิผู้บริโภคแห่งเม็กซิโก (PROFECO) ได้รายงานการสำรวจตลาดบะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยว่า ร้อยละ 92 ของผู้ร่วมการสำรวจได้เลือกยี่ห้อ Maruchen เป็นบะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยที่ดีที่สุด โดยผู้ร่วมการสำรวจได้ให้เหตุผลการเลือกรับประทานบะหมี่สำเร็จรูปโดยทั่วไป เพราะว่าเป็นอาหารที่มีราคาถูก และมีรสชาติที่ถูกใจ 

สถิติอื่นๆ ที่รายงานการสำรวจตลาดบะหมี่สำเร็จรูปในเม็กซิโกแจ้ง ได้แก่
  • ในปี 2008 ผู้บริโภคเม็กซิโก ได้บริโภคบะหมี่สำเร็จรูปเทียบเท่ากับร้อยละ 97 ของยอดผู้บริโภคสินค้าดังกล่าวในภูมิภาคลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นการบริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากปี 2007 
  • ตลาดบะหมี่สำเร็จรูปในเม็กซิโกปี 2009-2011 มีมูลค่า 1.9-2.4-3.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ 
  • ยอดขายบะหมี่สำเร็จรูปในเม็กซิโกได้ขยายตัวในสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 46.4 ต่อปีในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา 
  • บะหมี่สำเร็จรูปมารุจันมียอดขาย 1.3 ล้านถ้วยในเม็กซิโก 
  • บะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยในเม็กซิโก มีราคาประมาณ 6.00 เปโซต่อถ้วยในปี 2012 เป็นราคาที่ได้ปรับตัวสูงขึ้น 53 สตางค์จากปี 2011 ซึ่งมีราคา 5.20 เปโซต่อถ้วย 
ปัจจัยที่สำคัญสำหรับตลาดบะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยในเม็กซิโก

ราคาที่ย่อมเยาของบะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยซึ่งเป็นอาหารสำเร็จในตัวมื้อหนึ่ง เป็นปัจจัยที่ดึงดูดใจผู้บริโภคชาวเม็กซิกันมากที่สุด ในขณะที่โครงสร้างการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง โดยการขนส่งจัดจำหน่ายบะหมี่สำเร็จรูปประเภทด้วย มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับกับการจัดส่งน้ำอัดลมโคคาโคล่า ที่เจาะเข้าไปถึงหมู่บ้านที่ห่างไกลที่สุดได้อย่างเป็นระบบ 

นักศึกษาและผู้ทำงานออฟฟิสเป็นผู้ที่นิยมรับประทานบะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยมากที่สุด เนื่องจากเป็นผู้ที่เดินทางออกจากบ้านในเวลาที่เช้ามาก และต้องการอาหารที่รับประทานได้อย่างรวดเร็ว โดยยอดขายของบะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยจะมีปริมาณขายที่สูงที่สุดในช่วงเวลาเที่ยงวัน 

ผู้บริโภคชาวเม็กซิกัน โดยเฉพาะผู้บริโภคเพศหญิง มีความเห็นว่า บะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วย เป็นอาหารที่มั่นใจในความสะอาดได้ดีกว่า ทาโก้ที่เป็นอาหารแบบเร่งรีบที่นิยมของชาวเม็กซิกัน 

บะหมี่สำเร็จรูปประเภทถ้วยยี่ห้อมารุจัน เป็นสินค้าที่ผลิตในสหรัฐฯ และนำเข้ามาในเม็กซิโก ในขณะที่ยี่ห้อ Nissin และ La Moderna เป็นสินค้าที่ผลิตในเม็กซิโก ในปี 2011 เม็กซิโกได้นำเข้าอาหารประเภทซุปจากสหรัฐฯ เป็นอันดับแรก มูลค่ารวม 151 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 92 อันดับสองจากกัวเตมาลา ในสัดส่วนร้อยละ 6.8 อันดับสามจากเกาหลีใต้ สัดส่วนร้อยละ 0.4 และจากไทยเป็นอันดับที่ 8 ในสัดส่วนร้อยละ 0.08 มูลค่า 0.32 ล้านเหรียญฯ




ปริมาณการขายอาหารประเภทบะหมี่สำเร็จรูป ในเม็กซิโก ค.ศ. 2010

Type of Instant Noodles
Quantity in 1000 MT
Value: Million Pesos
Cups/Bowls Instant Noodles
118.81
9,270.41
Pouch Instant Noodles
0.30
12
Total Instant Noodles
119.11
9,282.82
Source: Euromonitor

บริษัทผู้จำหน่ายอาหารประเภทบะหมี่สำเร็จรูป ในเม็กซิโก ค.ศ. 2009
Company Name
Market Share (%)
Toyo Suisan Kaisha Ltd.
74.55
Nissin Foods USA Company Inc.
7.52
Fabrica de Pastas Alimenticias La Moderna SA de CV
6.34
Industrias Productos Alimenticias SA (IPAL)
4.77
                               Source: Euromonitor

Wednesday, July 18, 2012

Effect of Euro crisis on Mexico

ผลกระทบของวิกฤตการณ์ยูโรในเม็กซิโก

นาย Augustin Carstens ผู้ว่าแบงค์ชาติแห่งเม็กซิโก ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจเม็กซิโก โดยกล่าวถึงผลกระทบของสถานการณ์การเงินของสหภาพยุโรป ว่าเศรษฐกิจของเม็กซิโกยังได้รับผลกระทบไม่มากนัก และจะคงรักษาภาวะเศรษฐกิจที่ดีต่อไปได้ หากสถานการณ์การเงินของยุโรปไม่ถดถอยจนเกิดเหตุการณ์วิกฤต 2 ประการที่จะส่งผลกระทบต่อเม็กซิโก อันได้แก่ 


1. ภาวะหนี้ของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปมีภาวะที่รุนแรงมากขึ้นจนสภาพคล่องทางการเงินของภูมิภาคยุโรปอยู่ในขั้นวิกฤต ปริมาณเงินทุนไหลเวียนจากยุโรปไปสู่ตลาดเกิดใหม่น้อยลง 



2. สภาวะของยุโรปเกิดผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของเม็กซิโก 


ปัจจัยที่ช่วยต้านทานวิกฤการณ์การเงินของเงินยูโรสำหรับเม็กซิโก ได้แก่
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ รวมทั้งความสามารถเบิกเครดิตฉุกเฉิน ที่มีกับองค์กรการเงินระหว่างประเทศ เป็นมูลค่ารวม 200 พันล้านเหรยีญสหรัฐฯ 
  • อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่ควบคุมในอัตราร้อยละ 3 
  • ดุลบัญชีด้านต่างประเทศที่มีสภาพสมดุล
  • โครงสร้างระบบการเงินที่มีความมั่นคง และได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี 
  • ภาวะการผลิตในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2012 ที่แสดงการขยายตัวที่ดี ถึงแม้ว่าจะแสดงการชลอตัวลงเล็กน้อยในตอนท้ายไตรมาสฯ 
  • ภาวะการผลิตที่สอดคล้องกับภาวะส่งออกที่ยังคงอยู่ในระดับปกติ 
  • ภาคธนาคารของเม็กซิโกมีเงินทุนเพียงพอ และภาวะหนี้สินยังคงอยู่ในสภาวะที่มั่นคง ผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้น อาจจะมาจากระบบการเงินไม่ใช่การส่งออก เนื่องจากธนาคารของเม็กซิโกหลายแห่ง มีความสัมพันธ์กับธนาคาร BBVA Bancomer และธนาคารSantander ของสเปน 
ผลกระทบต่อการส่งออก

สภาความมั่งคงของระบบการเงิน (CESF) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อประเมินสถานการณ์การเงินของเม็กซิโกอย่างสม่ำเสมอภายหลังวิกฤตการณ์การเงินปี 1997 และสำนักงานสถิติแห่งชาติของเม็กซิโก (INEGI) ได้รายงานว่า การส่งออกของเม็กซิโกไปยังสหภาพยุโรปในไตรมาสแรกปีนี้ มีสัดส่วนร้อยละ 6.7 โดยมีเพียงร้อยละ 2 ที่เป็นการส่งออกไปยังประเทศที่มีปัญหาการเงินกลุ่ม PIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน) ในขณะที่การส่งออกโดยส่วนใหญ่ของเม็กซิโกเป็นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 77.2 นอกจากนี้แล้ว เม็กซิโกมีการส่งออกไปยังแหล่งอื่นๆ อันได้แก่ ภูมิภาคละตินอเมริกาและแคริเบียน ร้อยละ 11.1 ประเทศในทวีปเอเชีย ร้อยละ 4.5 กลุ่มประเทศโอเซียเนีย ร้อยละ 0.3 ประเทศในทวีปแอฟริกา ร้อยละ 0.1 และกลุ่มประเทศอาหรับร้อยละ 0.1 

การส่งออกของเม็กซิโกไปสหภาพยุโรปจึงเป็นสัดส่วนที่ไม่สำคัญมาก และการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับการไหลเวียนของแหล่งเงินทุนภายในประเทศ ล้วนปัจจัยที่ปกป้องเศรษฐกิจของเม็กซิโกจากสถานการณ์การเงินของยุโรป และเป็นตัวชี้ไปในทางบวกสำหรับเศรษฐกิจของเม็กซิโก 

สภา CESF ได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์การเงินของยุโรป แต่ก็เป็นส่วนที่จำกัดในส่วนผลกระทบที่อาจจะมีต่อภาวะเศรษฐกิจของโลกโดยรวม และในกรณีย์ที่จะเกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงินในยุโรป ไม่มีข้อกังวลในผลกระทบต่อการส่งออกเม็กซิโกโดยตรง 

ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว 

สำหรับผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวนั้น ก็ยังไม่ปรากฎผลกระทบในทางลบ เนื่องจากค่าเงินของเม็กซิโกที่อ่อนตัวกว่าค่าเงินยูโร เป็นปัจจัยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวจากยุโรป ยังคงพิจารณาการเดินทางมาท่องเที่ยวในเม็กซิโกได้อยู่ เม็กซิโกรับนักท่องเที่ยวจากยุโรปในสัดส่วนร้อยละ 15 ในขณะที่รับนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 60 จากลาตินอเมริการ้อยละ 15 และจากเอเชียร้อยละ 5 ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจากยุโรปมักจะมีความนิยมท่องเที่ยวในพื้นที่ฝั่งทะเลแคริเบียน หาดทรายฝั่งRiviera Maya และกรุงเม็กซิโก 

ผลกระทบต่อภาวะการลงทุน 

ภาวะวิกฤตการณ์ในยุโรป จะเป็นปัจจัยชักจูงให้นักธุรกิจยุโรป ย้ายถิ่นฐานมาที่เม็กซิโกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศสเปน ในปัจจุบันมีบริษัทจากสเปนที่ดำเนินการลงทุนในเม็กซิโก มีจำนวน ประมาณ 4,000 บริษัท 

ร้อยละ 37 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเม็กซิโก มีแหล่งเงินทุนมาจากสหภาพยุโรป เยอรมันเป็นผู้ลงทุนสำคัญ และได้เปิดโรงงานผลิตรถยนต์ใหม่ของยีห้อโวล์สวาเก็น ในปี 2011 

มูลค่าการลงทุนในปี 2011 มีมูลค่ารวม 19,439.8 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2010 เป็นการลงทุน ในภาคการผลิตร้อยละ 44.1 ด้านบริการการเงินและประกันร้อยละ 18 ภาคการค้าร้อยละ 9.5 ภาคก่อสร้างร้อยละ 6.4 ภาคข้อมูลสารสนเทศและสื่อสาร ร้อยะล 5.7 และภาคอื่นๆ ร้อยละ 16.3 

ส่วนแหล่งเงินทุนโดยตรงระหว่างประเทศในปี 2011 มีมาจากสหรัฐฯ ร้อยละ 55 จากสเปนร้อยละ 15 จากเนเธอร์แลนด์ร้อยละ 6.7 สิวสเซอร์แลนด์ร้อยละ 6.3 แคนาดาร้อยละ 3.4 ญี่ปุ่นร้อยละ 3.4 และประเทศอื่นๆ ร้อยละ 10