Google Website Translator

Wednesday, August 27, 2008

Ford invests $2.4 billion

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2008 บริษัท Ford Motor ได้ประกาศแผนการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทฯ ในเม็กซิโก จำนวน 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อปรับโรงงานที่เมือง Cuautitlan รัฐเม็กซิโก ซึ่งเดิมผลิตรถบรรทุก F-series pickup ให้ปรับการผลิตภายในสองปี เพื่อผลิตรถนั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กรุ่น Ford Fiesta เพื่อการจำหน่ายทั่วตลาดอเมริกาเหนือ

การปรับปรุงการผลิตไปสู่รถขนาดเล็ก เป็นผลสืบเนื่องมาจากยอดขายรถบรรทุกที่ลดลงในระยะที่ผ่านมา ทำให้บริษัท Ford ขาดทุนจำนวน 15.3 พันล้านเหรียญฯ ในสองปีที่ผ่านมา

โครงการลงทุนดังกล่าว จะมีการจ้างเงินใหม่เพิ่มจำนวน 4,500 ตำแหน่ง ทั้งนี้ สหภาพแรงงานผู้ผลิตรถยนต์เม็กซิกัน ได้ตกลงลดค่าจ้างแรงงาน ให้มี 2 ระดับ โดยแรงงานใหม่ยินยอมรับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตรา 2 เหรียญต่อชั่วโมง อัตราค่าแรงโดยปกติของภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ มีอัตรา 4.5 เหรียญต่อชั่วโมง การตัดสินใจลดอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ มีผลเพิ่มความได้เปรียบด้านต้นทุนของเม็กซิโก ให้มีค่าแรงเทียบเท่ากับจีน ซึ่งเมื่อผู้ลงทุนพิจารณาประกอบกับ ปัจจัยด้านบวกของอุตสาหกรรมรถยนต์เม็กซิกัน เช่น ความใกล้ชิดกับตลาด และโครงสร้างของอุตสาหกรรมรองรับเพื่อการส่งออกที่สมบูรณ์แล้ว เป็นแรงจูงใจสำคัญ ที่สนับสนุนให้บริษัท Ford มีความมั่นใจที่จะขยายการลงทุนในเม็กซิโก

นอกจากนี้ บริษัท Ford จะร่วมลงทุนกับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน Getrag ที่รัฐ Guanajuato เพื่อสร้างโรงงาน transmission โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนเม็กซิกัน จะลงทุนจำนวน 600 ล้านเหรียญฯ

Wednesday, August 20, 2008

Mexico imports Chinese cars, FAW

บริษัทผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์สาธารณรัฐประชาชนจีน First Automobile Works (FAW) จะนำเข้ารถยนต์บุคคล จำนวน 10,000 คัน ในปี 2009 เป็นสองเท่าของจำนวนรถยนต์นำเข้าจากจีนในปี 2008

บริษัท FAW ได้ร่วมลงทุนกับบริษัท Elektra ของกลุ่ม Salinas เพื่อเปิดโรงงานการผลิตรถยนต์ยี่ห้อ FAW ที่รัฐ Michoacan เมื่อปลายปี 2007  การลงทุนร่วมเพื่อการผลิตภายในประเทศ เปิดทางให้บริษัท FAW สามารถนำเข้ารถยนต์จากประเทศจีน โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้ารถยนต์ที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 40

รถยนต์ยี่ห้อ FAW ที่ขายในตลาดเม็กซิโก มีอยู่ 8 รุ่น เป็นรถนั่งส่วนบุคคล ราคาระหว่าง 7,000-12,000 เหรียญฯ จัดจำหน่ายในเครือข่ายของร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน Elektra ซึ่งให้บริการด้านการเงินแก่ลูกค้ากลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ
หน้าเวปขายรถยนต์: Elektra-transportes.com

Source: The News, 08/20/08

Monday, August 18, 2008

Central American Free Trade Areas

สถานะความตกลงเขตการค้าเสรีของกลุ่มประเทศอเมริกากลาง

1) ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างเม็กซิโก และประเทศอเมริกากลาง
เป็นความตกลงเขตการค้าเสรีแรก ที่กลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้เริ่มเจรจาและลงนามเป็นผลสำเร็จ โดยประเทศคอสตาริกา ได้ลงนามเมื่อปี 1994 นิคารากัวได้ลงนามเมื่อปี 1997 และ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส และเอลซาวาดอร์ เมื่อปี 2000 เป็นความตกลงทวิภาคีทั้งหมด โดยแต่ละประเทศ มีการกำหนดรายการสินค้า ที่มีผลได้รับสิทธิ หรือที่ยกเว้นการได้รับสิทธิแยกออกไปแตกต่างกัน

2) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างสหรรัฐอเมริกา สาธารณรัฐดอมินิกัน และประเทศอเมริกากลาง (CAFTA-DR)
สหรัฐฯ ผลักดันการเจรจา CAFTA-DR และเร่งการอนุมัติของสภาสหรัฐฯ แบบ fast track เป็นผลให้ความตกลงดังกล่าวผ่านกระบวนการ ภายปีเดียว เมื่อปี 2003  ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว กับทุกประเทศในกลุ่มอเมริกากลาง ยกเว้น คอสตาริกา
ข้อมูล CAFTA จาก wola.org

3) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างปานามา และประเทศอเมริกากลาง
มีผลบังคับใช้กับ เอลซาวาดอร์ ฮอนดูรัส และ คอสตาริกา แต่อยู่ระหว่างเจรจากับประเทศกัวเตมาลา และนิคารากัว โดยมี PTA บังคับอยู่

4) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างสาธารณรัฐชิลี และประเทศอเมริกากลาง
มีผลบังคับใช้กับ เอลซาวาดอร์ และ คอสตาริกา ส่วนประเทศอื่นในอเมริกากลาง อยู่ระหว่างการเจรจา

5) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างแคนาดา และประเทศอเมริกากลาง
มีผลบังคับใช้เฉพาะกับคอสตาริกา โดยประเทศอื่นๆ อยู่ระหว่างการเจรจา
ข้อมูลความตกลงฯ จากรัฐบาลแคนาดา

6) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศอเมริกากลาง
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย George Bush ได้ประกาศนโยบาบว่าจะเจรราความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง เมื่อปี 2002 แต่ไม่ได้มีผลคืบหน้าตามความคาดหวัง ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้พยายามผลักดันให้เกิดกลุ่มการค้าเสรี (trade bloc) ภายใต้ Free Trade Area of the America (FTAA) ซึ่งจะรวมประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา 34 ประเทศให้เป็นตลาดเดียว แต่ได้รับการต่อต้านจากประเทศในอเมริกาใต้
White House news release, 2002

7) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างกลุ่มแคริเบียน (CARICOM) และประเทศอเมริกากลาง
ได้เริ่มการเจรจา เมื่อปี 2007 โดยกลุ่มประเทศ CARICOM ได้ลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีกับคอสตาริกา เมื่อปี 2002  ต่อมา ได้ขยายให้ประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอเมริกากลาง เร่มการเจรจาในระดับทวิภาคี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเขตการค้าเสรีระหว่าง CARICOM และอเมริกากลาง
ข่าวความตกลงฯ จาก acs-aec.org

8) ความตกลงเขตการค้าเสรี ระหว่างไต้หวัน และประเทศอเมริกากลาง
มีผลบังคับใช้กับประเทศกัวเตมาลา และนิคารากัว และได้ลงนามแล้วกับ เอลซาวาดอร์และฮอนดูรัส ข่าว bnet

9) ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างโคลัมเบีย และประเทศอเมริกากลาง
มีการลงนามแล้วกับ 3 ประเทศ ได้แก่ กัวเตมาลา เอซาวาดอร์ และฮอนดูรัส

10) ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป และประเทศอเมริกากลาง
เมื่อปี 1993 สหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้ลงนามในความตกลง Framework Cooperation Agreement โดยตั้งเป้าหมายให้มีเขตการค้าเสรีระหว่างสองภูมิภาค  และได้มีการเจรจาต่อเนื่องมาทุกปี จนได้มีการก่อตั้ง Ad hoc committee เมื่อต้นปี 2007 โดยคาดว่าจะมีการลงนามในความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างสองภูมิภาค ประมาณสิ้นปี 2008 ทั้งนี้ สหภาพยุโรป ได้ตั้งเงื่อนไขสำคัญว่า ประเทศกลุ่มอเมริกากลางต้องพัฒนาปรับปรุงระบบศุลกากรระหว่างประเทศในกลุ่ม ให้เป็น custom union
ข้อมูลเกี่ยวงกับความตกลงฯ จาก sice.oas.org

รายชื่อ Website ของกระทรวงเศรษฐกิจประเทศอเมริกากลาง ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับ FTA

ประเทศคอสตาริกา http://www.meic.go.cr/
ประเทศเอลซาวาดอร์ http://www.minec.gob.sv/
ประเทศกัวเตมาลา http://www.mineco.gob.gt/
ประเทศฮ้อนดูรัส http://www.sic.gob.hn/
ประเทศนิคารากัว http://www.mific.gob.nic/
ประเทศปานามา http://www.mef.gob.pa/

Central American Customs Union (UAC)

ความคืบหน้าการรวมกลุ่มศุลกากรอเมริกากลาง

กลุ่มประเทศอเมริกากลางได้ริเริ่ม การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี 1907 โดยการก่อตั้ง Central American Court of Justice ซึ่งถูกยุบลงเมื่อปี 1917 และต่อมาเมื่อปี 1962 ได้มีการก่อตั้ง องค์กรรัฐอเมริกากลาง (ODECA) แต่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศภายในกลุ่ม ทำให้ไม่มีความคืบหน้า จนกระทั่งปัญหาการเมืองภายในและระหว่างประเทศได้คลี่คลายลง และในปี 1991 ได้มีการก่อตั้ง Sistema para la Integración Centroamericana (SICA)

เมื่อเดือนตุลาคม ปี 1993 รัฐบาลกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้มีการลงนาม Protocol of Guatemala แสดงความผูกมัดผู้ร่วมลงนามในการรวมกลุ่มศุลกากร โดยประเทศกัวเตมาลา และเอลซาวาดอร์ กำหนดรูปแบบการปรับโครงสร้าง (framework agreement) ในปี 2000 ตามด้วย ประเทศนิการากัว ฮอนดูรัส และคอสตาริกา ในปี 2002

ในปี 2004 รัฐมนตรีเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ได้มีการประชุมสภาเศรษฐกิจร่วม และได้ลงนามความตกลง General Framework for the Negotiation of a Custom Union in Central America และได้มีการพมพ์ Manual for Customs Procedures ซึ่งประเทศ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซาวาดอร์ และนิคารากัว ได้เริ่มใช้เป็นแนวทางการดำเนินภาษี

ข้อกำหนดด้านศุลกากรดังกล่าวได้มีการปรับปรุงในปี 2006 และสำนักเลขาธิการเศรษฐกิจร่วมอเมริกากลาง (Sieca) ได้ประกาศว่า กลุ่มประเทศอเมริกากลางมีพิกัดภาษีร่วม (harmonized tariff) ถึงร้อยละ 96 แล้ว ทั้งนี้ การรวมเศรษฐกิจด้านศุลกากร มีเป้าหมายบรรลุเป็นเขตการค้าเสรีภายใน 10 ปีข้างหน้า

ความคืบหน้าของเขตศุลกากรร่วมที่เห็นได้ชัด ได้แก่
  • การรวมที่ทำการท่าศุลกากร โดยเจ้าหน้าศุลกากรมทั้งสองประเทศใช้สำนักงานร่วมกัน ที่ท่า Port Acajutla/Port Cutuco ที่ชายแดนเอลซาวาดอร์ และกัวเตมาลา ท่า Puerto Cortes ที่ชายแดนฮอนดูรัสและเอลซาวาดอร์ และท่า Penas Blancas ที่ชายแดนนิคารากัว เอลซาวาดอร์ และ กัวเตมาลา 
  • ประเทศกัวเตมาลา และคอสตาริกา มีการใช้ระบบอิเลคตรอนนิกส์ intelligent stamp สำหรับการติดตามสินค้านำเข้า ซึ่งในที่สุด ระบบ IT ของทุกประเทศอเมริกากลางต้องปรับใช้ระบบเดียวกัน
  • ระบบการเดินเอกสารศุลากากร (merchandizing clearance) ได้ลดลงจาก 2 วัน เป็น 15 นาที
ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้จัดลำดับ logistics performance index ให้กลุ่มประเทศอเมริกากลาง คือ ปานามาอันดับ 54 เอลซาวาดอร์ดันดับ 66 คอสตาริกาอันดับ 72 กัวเตมาลาอัดับ 75 ฮอนดูรัสอันดับ 80 และนิคารากัวอันดับ 122 จากอันดับทั้งหมด 150 ประเทศ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:

สำนักเลขาธิการเศรษฐกิจร่วมอเมริกากลาง (SIECA)
รายงานความคืบหน้า Central American Customs Union

Thursday, August 14, 2008

Corn, sugar: production and prices

ราคาผลผลิตข้าวโพดมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการคาดคะเนผลผลติสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง

USDA ได้ประกาศเพิ่มพยากรณ์ผลผลิตข้าวโพดสหรัฐฯ เป็น 155 bushels per acre ซึ่งเป็นตัวเลขผลผลิตที่ค่อนข้างสูง  เนื่องจากภาวะภัยธรรมชาติน้ำท่วมไม่ได้ส่งผลเสียหายต่อต้นข้าวโพดเท่าที่คาดไว้  จะส่งผลให้ราคาข้าวโพดไม่เพิ่มขึ้นตามที่ตลาดคาดคะเนไว้  ซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับผู้นำเข้าข้าวโพดของเม็กซิโก

ทั้งนี้ เม็กซิโกนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐฯ มากถึงร้อยละ 90 ของปริมาณที่บริโภคภายในประเทศ

ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา เม็กซิโกได้นำเข้าข้างโพดปริมาณ 4.4 ล้านตัน

ราคาข้าวโพดทรงตัวหรือต่ำลง จะมีผลช่วยลดแรงกดดันภาวะเงินเฟ้อที่เม็กซิโกพยายามควบคุมไว้ได้เล็กน้อย


ผลผลิตน้ำตาลของเม็กซิโกจะมีปริมาณลดลง

เม็กซิโกเป็นผู้ผลิตน้ำตาลอันดับ 6 ของโลก โดยมีพื้นที่การเพาะปลูกอ้อย 750,000 hectares มีแรงงานเกษตรสำหรับการเก็ยเกี่ยวอ้อย 175,000 คน และแรงงานในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำตาลอีก 275,000 คน

นาย Carlos Blackaller นายกสมาคมผู้เพาะปลูกอ้อยแห่งชาติ ของเม็กซิโก ได้ให้ข่าวว่า ผลผลิตน้ำตาลที่จะออกสู่ท้องตลาดในปีหน้า คาดว่าจะมีประมาณที่ลดลงร้อยละ 3 โดยมีผลผลิตจำนวน 5.35 ล้านตัน ลดจากจำนวนที่คาดคะเนไว้ก่อน 5.52 ล้านตัน เนื่องจากภาวะอากาศแล้ง และการลดการใช้ปู๋ยที่มีราคาสูงขึ้น ร้อยละ 46 โดยปัจจุบัน ปุ๋ยที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกอ้อยมีราคา 7,000 เปโซต่อตัน  ราคาน้ำตาลที่ขายในท้องตลาดปัจจุบัน 200 เปโซต่อถุง 50 กรัม จึงไม่คุ้มทุนต่อผู้เพาะปลูกอ้อย

ผู้ผลิตอ้อย มีความคาดหวัง ว่าจะเพิ่มผลผลิตในปีต่อไปได้ ทั้งนี้เพราะ รัฐบาลเม็กซิโกได้ประกาศนโยบายสนับสนุนการผลิต ethanol จากพืชที่มีกำลังการผลิตเกินความต้องการของตลาด เช่น อ้อย

รัฐบาลเม็กซิโกได้ประกาศเป้าหมายการผลิต ethanol ให้สามารถผลิตได้ปริมาณ 200 ล้านลิตร ในปี 2010

ราคาน้ำตาลโลกในตลาดซื้อขายธัญญพืช Liffe ที่ลอนดอน เพิ่มขึ้นร้อยละ 104 ปิดที่ราคา 394.10 เหรียญต่อตัน เนื่องจากผลผลิตทั่วโลกต่ำกว่าปีอื่น ๆ อันเป็นผลให้ปริมาณคงคลังน้ำตาลลดลง

Tuesday, August 12, 2008

Mexican taco franchise expands in China

El Fogoncito ร้านอาหารเม็กซิกันขาย Taco เครือข่ายแฟรไชส์ ได้ให้ข่าวเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมว่า จะเปิดร้าน สาขาที่ 2 ประเทศจีน ในย่านเจียงลูซึ่งใกล้ตลาดผ้าใหมในปักิ่ง โดยการลงทุนเพิ่มอีก 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นาย Carlos Roberts ประธานบริษัทฯ ได้ให้ความเห็นว่า งานโอสิมปิกในจีน จะมีผลกระตุ้นการขายอาหารในร้าน เนื่องจากนักท่องเที่ยวลาตินจะไปเที่ยวประเทศจีนมากขึ้น และแสวงหาอาหารที่คุ้นเคย นอกจากนี้แล้ว ผู้บริโภคจีนเริ่มคุ้นเคยกับ taco มากขึ้น จนกลายเป็นอาหารที่นิยม และในหนึ่งปีที่ได้เปิดกิจกรรม ได้มีลูกค้าประจำรายวัน ประมาณ 250 คนต่อวัน

ร้านอาหาร El Fogoncito ก่อตั้งในเม็กซิโกเมื่อ ปี 1968 และมีสาขา 8 แห่ง ในเม็กซิโก อีก 5 แห่งในอเมริกากลาง


รายงานข่าวจาก The News และมีบล็อกรายงานเกี่ยวกับอาหารในร้าน ใน jakeludington.com

Mexico's textile exports losing US market share to Vietnam/China

การส่งออกสิ่งทอเม็กซิโก เสียส่วนแบ่งการครองตลาดในสหรัฐฯ

เม็กซิโกเคยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งสำหรับสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม ในตลาดสหรัฐฯ เมื่อปี 2002 แต่จากปี 2003 เป็นต้นมา ประเทศเม็กซิโกได้เสียตำแหน่งดังกล่าวให้กับประเทศจีน เนื่องจากจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO และไม่ถูกจำกัดการส่งออกโดยระบบโควต้าเดิม

คณะกรรมาธิการการค้าต่างประเทศของสหรัฐฯ (US International Trade Commisssion) ได้รายงานตัวเลขสถิติการนำเข้าสิ่งทอของสหรัฐฯ สำหรับปี 2007 โดยรายงานว่า ตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มสหรัฐฯ เริ่มแสดงแนวโน้มที่ชัดเจน ในการหันไปหาการนำเข้าสิ่งทอ จากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น แทนที่จะนำเข้าจากแหล่งเดิม นั่นคือ จากประเทศเพื่อนบ้าน เม็กซิโก แคริเบียน และลาตินอเมริกา

ทั้งนี้ เม็กซิโกได้สูญเสียส่วนแบ่งการครองตลาด ลดลงเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.7 ในปี 2007 จากร้อยละ 6.6 ในปี 2006 เพราะไม่สามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศเอเชีในต้นทุนการผลิตสูง และค่าแรงงานสูง และได้สูญเสียตลาดอย่างเห็นได้ชัด ในรายการ knit and woven shirts and bottoms




การส่งออกสิ่งทอเวียดนาม

เวียดนามได้พิ่มสัดส่วนการครองตลาดสิ่งทอสหรัฐฯ เป็นร้อยละ 2.8 ใน ปี 2007 เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 2.0 ในปี 2006 เป็นผู้ส่งออกเครื่องนุ่มห่มและสิ่งทอเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ เป็นอันดับ 9 โดยผลักไต้หวันตกไปเป็นอันดับ 10

การส่งออกสิ่งทอเวียดนาม เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำมัน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอเวียดนามได้รับแรงผลักดันจากการยกเลิกโควต้า เมื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO ในปี 2007 และนักธุรกิจเวียดนามมีความคาดหวังว่า อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามจะสามารถแข็งขัยได้มากขึ้น เนื่องจากการขยายการลงทุนลักษณะ vertical integration โดยการเพิ่มการผลิตเส้นใยภายในประเทศ

การส่งออกสิ่งทอจีน

สำหรับประเทศจีน ได้เพิ่มสัดส่วนการครองตลาดในสหรัฐฯ เป็นร้อยละ 40 จากร้อยละ 35.7

เมื่อต้นปี 2008 ผู้ส่งออกจีน มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐฯ เนื่องจากการสั่งซื้อจากสหรัฐฯ ลดลง และมีผลทำให้โรงงานสิ่งทอจีนหลายแห่งต้องหยุดพักการผลิต อันเป็นผลให้รัฐบาลจีนประกาศมาตรการคืนภาษีให้แก่ส่งออกสิ่งทอ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

แหล่งข่าว: The News, 12/08/08.
USITC report: The Year in Trade 2007

Wednesday, August 6, 2008

Salmonella found in Mexican Serrano

ผู้ตรวจอาหารสหรัฐฯ ค้นพบเชื้อ Salmonella ในแปลงเพาะปลูกพริก Serrano ในเม็กซิโก

เมื่อเดือนเมษายน 2008 ได้มีผู้ล้มป่วยด้วยการติดเชื้อ Salmonella Saintpaul ในสหรัฐฯ จำนวน 1,319 คน และมีผู้เสียชีวิตบางราย ที่อาจมีผลสืบเนื่องจากการติดเชื้อดังกล่าว องค์กรควบคุมมาตรฐานอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้ออกประกาศเตือนผู้บริโภคให้ระวังการรับประทานมะเขือเทศสด เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้การว่า ได้รับประทานมะเขือเทศสด แต่เมื่อได้มีการสำรวจตรวจสอบแปลงเพาะปลูกมะเขือเทศ ทั่วสหรัฐฯ และในแปลงของผู้ส่งออกรายใหญ่ของเม็กซิโก ปรากฏว่าไม่พบเชื้อดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นแปลงในสหรัฐฯ หรือเม็กซิโก หลังจากการค้นหา เป็นเวลานานถึง 2 เดือน จนแระทั่งเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2008 ผู้ตรวจอาหารสหรัฐฯ ได้ประกาศว่า ค้นพบเชื้อดังกล่าวข้างต้น ในแหล่งน้ำและในพื้นดินของแปลงเพาะปลูกพริก serrano ในรัฐ Tamaulipas ที่ติดกับชายแดนสหรัฐฯ ซึ่งเป็นของผู้ส่งออกพริกผ่านรัฐ Nuevo Leon รายหนึ่ง ตัวแทนของกระทรวงเกษตรของเม็กซิโกได้ประท้วงเกี่ยวกับวิธีการเก็บตัวอย่างน้ำและดินว่า ไม่ถูกต้องตามวิธีวิทยาศาตร์

การประกาศเตือนผู้บริโภคเกี่ยวกับมะเขือเทศ ได้มีผลเสียหายต่อผู้ค้าขายและผลิตมะเขือเทศทั้งในสหรัฐฯ และเม็กซิโก โดยมีการประเมินค่าเสียหายประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ผู้ส่งออกมะเขือเทศของเม็กซิโกได้ร้องเรียนว่า มีค่าเสียรวมประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพราะต้องโละทิ้งผลผลิตมะเขือนเทศทั้งฤดู เพราะได้มีการงดการสั่งซื้อจากเม็กซิโกอันเป็นผลของคำประกาศที่ผิดของรัฐบาลสหรัฐฯ

รัฐบาลสหรัฐฯ ได้รับคำประท้วงเกี่ยวกับวิธีการค้นหาแหล่งการติดเชื้อ และการประกาศไม่ให้ประชาชนบริโภคมะเขือเทศซึ่ง ในที่สุดไม่ได้เป็นต้นตอของเชื้อ ว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่มีประสิทธิภาพและได้สร้างความเสียหายต่อการค้ามะเขือเทศอย่างมากมาย โดยคาดว่าจะมีการฟ้องร้องเรียกคืนค่าเสียหายต่อไป และคาดว่า จะมีการปรับปรุงโครงสร้างการค้าหาแหล่งการติดเชื้อจากอาหาร ซึ่งคงจะมีผลกระทบต่อผู้ส่งออกอาหารสดจากประเทศต่าง ๆ ที่ประสงค์จะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ทั้งนี้ สามารถติตตาม ผลการพิจารณาเกี่ยวกับเชื้อ salmonella จากเม็กซิโกได้ ที่ http://www.cdc.gov/salmonella/saintpaul/ และ http://www.fda.gov/oc/opacom/hottopics/tomatoes.html