Google Website Translator

Wednesday, August 18, 2010

Central American online coffee auction

ผู้ผลิตกาแฟอเมริกากลางขายกาแฟผ่านระบบการประมูลในอินเตอร์เน็ต

กาแฟเป็นสินค้าโภคภัณฑ์พื้นฐานและพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย มีการเพาะปลูกกาแฟเพื่อการบริโภคและส่งออกในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก กว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตกาแฟของโลกมาจากประเทศบราซิล (22.5 ล้านกระสอบ) โคลัมเบีย (10.5 ล้านกระสอบ) อินโดนีเซีย (6.7 ล้านกระสอบ) และเวียดนาม (5.8 ล้านกระสอบ) ในขณะที่ประเทศเม็กซิโกผลิตได้ประมาณ 5 ล้านกระสอบ และประเทศในกลุ่มอเมริกากลางเป็นผู้ผลิตในอันดับ 10-15 ของโลก ในช่วง 12 เดือนถึงเดือน พค. 2553 ผลผลิตกาแฟของโลกมีปริมาณ 124 ล้านกระสอบ (60 กิโลกรัมต่อกระสอบ) ราคาขายเฉลี่ยในเดือน มิย. 2553 ที่ประมาณ 1.55 เหรียญต่อปอนด์

ภาพเปรียบผลผลิตกาแฟของโลก
แหล่งข้อมูล: worldmapper.org

การผลิตกาแฟในประเทศอเมริกากลาง

การประมูลซื้อ/ขายกาแฟผ่ายอินเตอร์เน็ต

การประมูลซื้อ/ขายกาแฟผ่ายอินเตอร์เน็ตได้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2542 สืบเนื่องมาจากโครงการ Gourmet ที่ได้รับการส่งเสริมโดยองค์กรกาแฟระหว่างประเทศ (ICO) ศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (ITC) และกองทุนสหประชาชาติเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ (UN Common Fund for Commodities) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมให้ประเทศผู้ผลิตกาแฟสามารถขายกาแฟได้ในราคาที่ดีขึ้น อันส่งผลให้เกิดการรวมตัวของผู้ชิมกาแฟ (cuppers) ผู้อบคั่วเมล็กกาแฟ (roasters) และผู้นำเข้ากาแฟจากสหรัฐฯ เพื่อทดสอบชิมคุณภาพของกาแฟและทำการประมูลซื้อกาแฟจากเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟที่มีคุณภาพสูงในประเทศบราซิลโดยตรงเป็นครั้งแรก เป็นพื้นฐานการเกิดองค์กรที่มีชื่อว่า Cup of Excellence ซึ่งได้พัฒนาเวปไซท์ขึ้นในปี 2546 เพื่อเอื้ออำนวยการประมูลซื้อขายกาแฟที่มีคุณภาพโดยตรงจากผู้ผลิต

ปัจจุบันการประมูลซื้อ/ขายกาแฟผ่ายอินเตอร์เน็ตที่ Cup of Excellence (COE) เป็นผู้ดำเนินการมีประเทศที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก 9 ประเทศอันได้แก่ โบลิเวีย บราซิล โคลัมเบีย คอสตาริกา เอลซาวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิคารากัว และระวันดา ผู้ที่มีความประสงค์ซื้อกาแฟคุณภาพสามารถแจ้งขอสมัครเป็นสมาชิกการประมูลผ่านเวปไซท์ http://www.cupofexcellence.org/ โดย COE ได้รวบรวมข้อมูลรายละเอียดของผลผลิตกาแฟของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในแต่ละปี โดยมีการจัดระดับคุณภาพโดยคณะกรรมการตัดสินคุณภาพกาแฟของ COE รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย และจะจัดส่งตัวอย่างเมล็ดกาแฟต่างๆ ที่อยู่ในบัญชีให้ผู้สนใจประมูลทำการชิม (cupping) ด้วยตัวเองเพื่อตัดสินใจว่าจะมีความสนใจจะประมูลซื้อกาแฟชุดไหน แล้ว COE จะประกาศวันประมูล และผู้ที่ประมูลราคาซื้อสูงสุดจะเป็นผู้ที่สามารถสั่งการนำเข้ากาแฟที่ได้รับชนะการประมูล การคัดซื้อกาแฟคุณภาพสูงในระบบดังกล่าวได้ช่วยส่งเสริมให้ผู้ผลิตกาแฟในประเทศกำลังพัฒนามีความสนใจพัฒนาและรักษาคุณภาพของกาแฟที่ผลิต ได้เป็นที่รู้จักในตลาดผู้ซื้อและได้รับราคาที่สูงกว่าราคากาแฟในตลาดโดยทั่วไป และในขณะเดียวกันได้ช่วยให้ผู้ซื้อกาแฟที่เน้นคุณภาพของกาแฟสามารถจัดหากาแฟคุณภาพสูงได้สะดวกขึ้น

ในปี 2553 ได้มีการประมูลกาแฟคุณภาพสูงของกลุ่มประะเทศอเมริกากลางที่เป็นสมาชิก COE ได้แก่ การประมูลกาแฟผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของประเทศกัวเตมาลา ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2533 โดยกาแฟที่ได้ชนะการประมูลได้แก่ กาแฟของไร่ El Ejerto ราคาขายได้ปอนด์ละ 22.10 เหรียญฯ การประมูลของ COE กัวเตมาลาขายกาแฟได้ทั้งหมด 34,980 กิโลกรัม มูลค่ารวม 712,234 เหรียญฯ ซึ่งคำณวนราคาเฉลี่ยได้ 8.92 เหรียญฯ ต่อปอนด์ การประมูลฯของประเทศเอลซาวาดอร์ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 กาแฟที่ได้รับชนะการประมูลได้แก่ กาแฟของไร่ Suiza ขายได้ในราคา 28 เหรียญฯต่อปอนด์ (ประมาณ 18 เท่าของราคาตลาดโลก) ยอดขายในการประมูลสำหรับเอลซาวาดอร์รวมทั้งหมด 718,838 กิโลกรัม การประมูลซื้อขายกาแฟโดยระบบอินเตอร์เน็ตของประเทศฮอนดูรัสจัดขึ้นเมื่อวัมที่ 7 กรกฏาคม 2553 ผู้ชนะคือไร่ Don Amado ขายได้ราคา 22.05 เหรียญฯ ต่อปอนด์ การประมูลกาแฟของประเทสนิคารากัวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2553 ผู้ชนะการประมูลได้แก่ไร่ El Esfuerza ขายให้กับกลุ่มผู้ซื้อจากประเทศญี่ปุ่น Maruyama Coffee for Mikatajuku Group ในราคา 35.65 เหรียญฯ ต่อปอนด์

ส่วนประเทศคอสตาริกาได้จัดการประมูลต่างหาก (Subasta Costa Rica) โดยสมาคมกาแฟคุณภาพสูงแห่งคอสตาริกา SCACR เมื่อวันที่ 11-19 พฤษภาคม 2553 เนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุนเพื่อเข้าร่วมประมูลในระบบออนไลน์ของ COE ผู้ที่ชนะการประมูลได้แก่ไร่ Las Palomas สามารถขายกาแฟได้ในราคา 281 เหรียญต่อ quintel (46 กิโลกรัม) SCARC ได้กล่าวว่า การประมูลซื้อขายกแฟผ่านระบบออนไลน์ของ COE ในปี 2552 ได้รับราคาประมูลที่ต่ำทำให้สมาคมฯ ซึ่งเป็นผู้จัดการประมูลขาดทุนในการจัด จึงต้องพยายามหาวิธีการประมูลที่มีต้นทุนต่ำลง จึงได้พัฒนาระบบการประมูลของตนเองขึ้นโดยจะสลับกับการประมูลภายในประเทศกับการประมูลระหว่างประเทศในแต่ละปีต่อไป

แหล่งข้อมูล:
http://www.coffeeresearch.org/coffee/mexicoca.htm
http://www.allbusiness.com/sales/internet-ebay/168694-1.html
http://www.ico.org/
http://www.centralamericadata.com/en/article/home/Guatemalan_Coffee_to_be_Auctioned_Online
http://www.coffeefair.com/coffee-facts-production.htm
http://www.scacr.com/en/who_we_are.php
http://www.allbusiness.com/manufacturing/food-manufacturing-food-coffee-tea/203473-1.html
http://coffeegeek.com/resources/pressreleases/scaajuly172004
http://www.fao.org/docrep/006/y5143e/y5143e0v.htm#TopOfPage

No comments: