Google Website Translator

Wednesday, November 16, 2011

Apiculture: Honey exports from Mexico

การเลี้ยงผึ้งและการส่งออกน้ำผึ้งในเม็กซิโก

ประเทศเม็กซิโกมีความได้เปรียบในการผลิตน้ำผึ้งคุณภาพสูง เนื่องจากมีพันธุ์พืชที่ให้น้ำหวานเลี้ยงผึ้งหลากหลายชนิดถึง 40 กว่าประเภท นอกจากนี้แล้ว การเลี้ยงผึ้งเป็นธรรมเนียมที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยยุคอารยธรรมมายา และต่อมาได้รับการปรับปรุงพันธุ์ผึ้ง เมื่อชาวสเปนได้นำผึ้งจากยุโรปมาเสริมการผลิตน้ำผึ้งเป็นกิจกรรมด้านเกษตรอย่างจริงจัง

การเลี้ยงผึ้งในเม็กซิโกได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังโดยกระทรวงการเกษตรของเม็กซิโก ตั้งแต่ปี คศ. 1986 เป็นต้นมา โดยในช่วงการส่งเสริมเริ่มแรก ผู้เลี้ยงผึ้งเม็กซิกันสามารถผลิตน้ำผึ้งได้ประมาณ 75,000 ตัน ในปัจจุบันเม็กซิโกมีความสามรถผลิตน้ำผึ้งได้ประมาณ 50,000 ตันต่อปี เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำผึ้งเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจาก ยูเครน รัสเซีย สหรัฐฯ และอาร์เจนตินา และส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก เทียบได้ประมาณร้อยละ 6 ของปริมาณน้ำผึ้งส่งออกระหว่างประเทศ ในปี 2010 เม็กซิโกมีการส่งออกน้ำผึ้งมูลค่า 84.7 ล้านเหรียญสหรัฐ นับว่าเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของประเภทหนึ่งของเม็กซิโก ผู้นำเข้าน้ำผึ้งจากเม็กซิโกที่สำคัญที่สุด คือประเทศเยอรมัน ในปี 2010 เม็กซิโกได้ส่งออกน้ำผึ้งไปยังเยอรมันมูลค่า 45.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 54 ของมูลค่าการส่งออกน้ำผึ้งรวมของเม็กซิโก มีการคาดคะเนว่า การส่งออกน้ำผึ้นของเม็กซิโกในปี 2011 จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3-5



การเลี้ยงผึ้งในเม็กซิโก นับว่าเป็นกิจกรรมด้านการเกษตรที่สำคัญ เนื่องจากมีการจ้างงานและเสริมรายได้ให้แก่ชาวบ้านผู้มีรายได้ต่ำประมาณ 40,000 คน พื้นที่การเลี้ยงผึ้งในเม็กซิโกที่สำคัญอยู่ที่รัฐ Tamaulipas, Campeche, Yucatan, Jalisco, Chiapas, Veracruz, Oaxaca, Guerrero, Puebla, Quintana Roo และ Michoacan แหล่งผลิตน้ำผึ้งเพื่อการส่งออกที่สำคัญอยู่ที่รัฐยูคาตัน เนื่องจากมีองค์กรสหกรณ์ผู้เลี้ยงผึ้งที่เข้มแข็ง (Sociedad Apícola Maya) ที่ได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้ซื้อที่เยอรมันอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ปี 1976 เป็นต้นมา และในปี 2009 องค์กรดังกล่าวได้สร้างโรงงานบรรจุน้ำผึ้งใส่ขวดที่ทันสมัย มูลค่าการลงทุน 16 ล้านเปโซ ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานโดยกระทรวงเกษตรของเม็กซิโก และได้รับการยอมรับด้านคุณภาพจากสหภาพยุโรป

ค่าเฉลี่ยการบริโภคน้ำผึ้งต่อหัวของชาวเม็กซิกันในปัจจุบัน ได้เพิ่มขึ้นจาก 190 กรัมต่อหัวเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เป็น 320 กรัมต่อหัวในปี 2010 เนื่องจากได้มีการนำน้ำผึ้งมาใช้เป็นสารเติมความหวานในกระบวนการผลิตอาหาร เช่น ซีเรียล โยเกิต ขนมปัง ของหวาน รวมทั้งในสินค้าเครื่องสำอางค์

No comments: