Google Website Translator

Monday, September 20, 2010

Mexicana Restructuring

สายการบิน Mexicana ปรับโครงสร้างการเงิน

บริษัท Mexicana de Aviación เป็นสายการบินที่สำคัญของเม็กซิโก เป็นสายการบินที่มีประวัติยาวนานอันดับสามของโลก ก่อตั้งเมื่อปี 2464 ในขั้นเริ่มต้นเป็นสัมปทานเส้นทางการบินภายในประเทศให้กับรัฐบาลเม็กซิโก ขยายเป็นสายการบินภายในและระหว่างประเทศ เคยประสบปัญหาทางเงินสำคัญในปี 2511 และได้คลี่คลายปัญหาโดยการร่วมลงทุนของบริษัท Pan Am และในปี 2538 เมื่อประเทศเม็กซิโกประสบวิกฤตการณ์การเงิน ซึ่งมีผลลดค่าเงินเปโซอย่างรุนแรง รัฐบาลเม็กซิโกได้เข้ายึดกิจการการบินปรับบริษัทฯ เป็นองค์กรของรัฐ (nationalized) โดยรวมกับสายการบิน Aeromexico และต่อมาได้แปรสภาพกลับเป็นธุรกิจเอกชนในปี 2548 โดยมีการร่วมทุนจากกลุ่มลงทุน Grupo Posadas ซึ่งเป็นธุรกิจด้านโรงแรมมีเครือข่ายโรงแรมสำคัญคือกลุ่มเครือข่าย Fiesta Americana ได้เข้าร่วมถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 30

ในปัจจุบันสายการบิน Mexicana มีเครื่องบินทั้งหมด 119 ลำและมีเส้นทางการบินทั้งหมด 65 สาย สายสำคัญคือการส่งผู้โดยสารไปยังสหรัฐฯ เป็นหลัก นอกจากนี้แล้วยังมีเส้นทางการบินไปยังแคนาดา กลุ่มประเทศอเมริกากลาง แคริเบี่ยน ประเทศต่าง ๆ ในอเมริกาใต้ และยุโรป สายการบิน Mexicana ได้เข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตรสายการบิน Star Alliance ในปี 2543 แต่เปลี่ยนไปร่วมเครือข่าย Oneworld Alliance ในปี 2552 แทน คาดว่า Mexicana จะมียอดการขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 12 ล้านคนในปี 2553 คู่แข่งสำคัญคือสายการบิน Aeromexico ที่เป็นสายการบินภายในประเทศที่ครองตลาดภายในประเทศของเม็กซิโก รวมทั้งสายการบินต้นทุนต่ำใหม่สองบริษัท คือ Volaris และ Interjet ที่เริ่มการบินเมื่อปี 2548 และได้แย่งตลาดของ Mexicana ไปได้ถึงร้อยละ 10 ในปี 2552 Mexicana มีสัดส่วนการครองตลาดร้อยละ 22 ลดลงจากร้อยละ 32 ในปี 2548

Mexicana เริ่มประสบปัญหาทางการเงินตั้งแต่ปลายปี 2551 เมื่อวิกฤตการณ์การเงินของสหรัฐฯ ได้มีผลลดจำนวนผู้เดินทางลง และต่อมาในต้นปี 2552 การระบาดไข้หวัด N1H1 ทำให้มีผู้โดยสารเดินทางมางเม็กซิโกน้อยมากเป็นระยะเวลา 2-3 เดือน ทำให้รายได้ในปีนั้นลดลงไปเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ในปีที่มีการบินโดยปกติ ผนวกกับภาวะราคาน้ำมันที่แพงขึ้นในปีเดียวกัน ทำให้ Mexicana แบกภาระการขาดทุนติดต่อกันมา 2 ปี ภาระหนี้ในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 796 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2553 Mexicana ได้พยายามที่จะขายพันธบัตรตราสารหนี้มูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาในเดือนกรกฏาคม 2553 ได้มีข่าวว่า บริษัท Mexicana อาจจะต้องแจ้งภาวะการขอป้องกันภายใต้ภาวะล้มละลายต่อศาลแพ่งเม็กซิโก และเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 Air Canada ซึ่งได้เป็นผู้จ้างเช่าเครื่องบินและเส้นทางการบินจาก Montreal และ Calgary ได้สั่งระงับการบินและยึดเครื่องบิน 2 ลำที่ Mexicana ใช้อยู่ และได้เรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับภาวะการเงินของ Mexicana ในวันที่ 2 สิงหาคม Mexican ได้ประกาศระงับเส้นทางการบินระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกหลายเส้นทาง เช่นระหว่าง L.A. ถึง Puerto Vallarta Guadalajara และ Mexico City ซึ่งสำหรับ Mexico City เป็นการลดเที่ยวบินจาก 6 เที่ยวเป็น 4 เที่ยวแทน นอกจากนี้แล้ว ในวันที่ 30 กรกฏาคม องค์กรบริหารการบินของสหรัฐฯ Federal Aviation Administration ได้ลดการจัดระดับความปลอดภัยของสายการบินจากเม็กซิโก โดยให้เหตุผลว่ามีการขาดคุณสมบัติบางประการของสายการบินเม็กซิกัน ทั้งของ Mexicana และ Aeromexico ซึ่งมีผลในทางปฏิบัติห้ามไม่ให้สายการบินของเม็กซิโกขยายบริการในสหรัฐฯ รวมทั้งไม่สามารถใช้ code sharing กับสายการบินของสหรัฐฯ

สหภาพแรงงานของสายการบิน Mexicana ซึ่งมีสมาชิกเป็นนักบินและผู้ให้บริการบนเครื่องประมาณ 1,500 คน ได้ยืนยันว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ ได้ขอเจรจากับสหภาพฯ เพื่อขอลดค่าจ้างและสิทธิต่าง ๆรวมทั้งการการตัดจำนวนลูกจ้างประมาณ 500 คน โดยมีข้อเสนอการแลกถือหุ้นหนี้ของบริษัทฯ และมีกำหนดต้องสิ้นสุดการเจรจากับสหภาพฯ ในวันที่ 9 สิงหาคม การลดต้นทุนค่าแรงเป็นปัจจัยสำคัญของการปรับโครงสร้างการเงินของบริษัทฯ แต่ปรากฏว่ สหภาพฯ ไม่ยอมรับข้อเสนอของบริษัทฯ Mexicana จึงได้ยื่นขอการคุ้มครองเพื่อการดำเนินการกิจการในภาวะวิกฤตการณ์การเงินที่ได้รับการป้องกันจากเจ้าหนี้และเพื่อเปิดทางให้มีการปรัโครงสร้างทาง ทั้งในสหรัฐฯ ภายใต้กฎหมายแพ่งสหรัฐฯ Chapter 15 และในเม็กซิโกภายใต้กฎหมาย Ley de Concursos Mercantiles (LCM) เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2553

กฏหมายล้มละลายของเม็กซิโก (LCM) ได้มีการแก้ไขในปี 2550 เพื่อช่วยให้บริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงินสามารถขอการป้องกันจากเจ้าหนี้ในช่วงการปรับโครงสร้างทางการเงิน โดยศาลของเม็กซิโกจะดำเนินการพิจารณาอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่กี่เดือน หากผู้ร้องขอมีการกำหนดแผนการปรับโครงสร้างทางการเงินที่ได้เจรจากับเจ้าหนี้ล่วงหน้าไว้แล้ว และได้มีบริษัทเม็กซิกันหลายแห่งที่ได้ขอสถานะภายใต้กฎหมายดังกล่าว รายที่ใหญ่ที่สุดคือเครือซุปเปอร์มาร์เก็ต Comercial Mexicana ที่ได้มีปัญหาหนี้มูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สืบเนื่องมาจากทำสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้าที่ไม่ได้คาดการณ์ถึงการลดค่าเงินเปโซประมาณร้อยละ 25 ในปี 2552

ในวันที่ 4 สิงหาคม 2553 ธนาคาร Banorte ซึ่งเป็นธนาคารอันดับสามของเม็กซิโก ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งของบริษัท Mexicana ได้แถลงข่าวว่า Mexicana มีภาระหนี้กับธนาคาร Banorte ในจำนวน 156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบเท่ากับร้อยละ 0.3 ของทรัพย์สินรวมของธนาคารฯ และคาดว่าปัญหาการเงินของ Mexicana จะไม่มีกระทบต่อการดำเนินการของ Banorte ซึ่งกำลังฟื้นตัวได้จากภาวะเศรษฐกิจซบเซาของสองปีที่ผ่านมา

แหล่งข่าวและข้อมูลเพิ่มเติม:
http://www.mexicana.com/
http://en.wikipedia.org/wiki/Mexicana_de_Aviaci%C3%B3n
http://www.businessweek.com/news/2010-08-02/mexicana-seeks-to-resolve-critical-financial-ills.html
http://www.reuters.com/article/idUSN2924804520100730
http://www.reuters.com/article/idUSN0316490620100203
http://blog.seattlepi.com/worldairlinenews/archives/216857.asp

1 comment:

VNuriya said...

In a context of virtually nonexistent regulatory authorities, the worst-case scenario is becoming a reality in air fares with the demise of Mexicana Airlines and its low-cost units, Click and Link. Ticket prices have soared by between 40% and 100%, in detriment of air travel, according to industry experts, travel agents and tour operators.

Prior to Mexicana’s bankruptcy, the nation’s commercial aviation industry had a daily supply of 31,000 seats, which were cut by 14,000 when Mexicana was grounded. For rivals like Aeroméxico, Interjet, Volaris, Viva Aerobús and Aeromar, it has been a boon since they’ve added 24 new routes, 18 of which originate in Mexico City. (El Economista-Focus on Mexico-Oct.4, 2010.)