Google Website Translator

Monday, May 14, 2012

Country Profile: Nicaragua 2012

1. ข้อมูลทั่วไปของประเทศนิการากัว


นิการากัวเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในภูมิภาคอเมริกากลาง แต่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศฮอนดูรัส ทางใต้จรดประเทศคอสตาริกา ชายฝั่งตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนชายฝั่งตะวันออกจรดทะเลแคริบเบียน

1.2 ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐนิการากัว (ภาษาสเปน: República de Nicaragua)

1.3 เมืองหลวง กรุงมานากัว (Managua) มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน

1.4 ขนาดพื้นที่ 130,370 ตารางกิโลเมตร (ใกล้เคียงกับขนาดของประเทศกรีซ)

1.5 ประชากร 5.89 ล้านคน

1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ ทองคำ เงิน ทองแดง ทังเสตน ตะกั่ว สังกะสี ป่าไม้ และประมง

1.7 ประวัติศาสตร์ ได้ประกาศอิสระภาพจากสเปนในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1821 แต่ได้รับการยอมรับความเป็นเอกราชจากสเปนในวันที่ 25 กรกฏาคม ค.ศ. 1850

เชื้อชาติ เมสติโซ (ผิวขาวผสมอินเดียน) ร้อยละ 69 ผิวขาว ร้อยละ 17 ผิวดำร้อยละ 9 และอเมริกัน-อินเดียน ร้อยละ 5

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 58.5 คริสต์นิกายอื่นๆ ร้อยละ 24 และมีชาวพุทธอยู่ร้อยละ 0.1

ภาษา ภาษาทางการคือภาษาสเปน มีภาษาพื้นบ้านคือ Creole, Miskito, Sumo และ Rama

1.8 ระบอบการปกครอง

นิการากัวมีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐและผู้นำรัฐบาล นาย Daniel ORTEGA Saavedra ได้เข้ารับเลือกตั้งเป็นประธานาธบดีสมัยที่สองในวันที่ 6 พฤศจิกายนค.ศ.2011 วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ฝ่ายนิติบัญญัติมีสภาเดี่ยว ตำแหน่งผู้แทนสภา 92 ตำแหน่ง ระบบการเมืองเป็นระบบพรรคการเมืองหลายพรรค (multi-party) และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 จังหวัด (departamentos) กับ 2 เขตปกครองตนเอง

1.9 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ

มีเส้นทางถนนจำนวน 19,137 กิโลเมตร สนามบิน 143 แห่ง สนามบินระหว่างประเทศ คือ Augusto C. Sandino International Airport ที่กรุงมานากัว มีความสามารถรับผู้โดยสารได้ 1.1 ล้านคนต่อปี สายการบินสำคัญคือ สายการบิน Nicaragüense de Aviación (NICA) เส้นทางน้ำ 2,220 กิโลเมตร มีทะเลสาปใหญ่ 2 แห่ง คือ ทะเลสาปมานากัว และทะเลสาปนิการากัว มีท่าเรือทั้งหมด 7 แห่ง แต่ท่าเรือที่สำคัญคือท่าเรือ Bluefields ฝั่งทะเลแคริเบียน และท่าเรือ Corinto ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากนีแล้ว ยังมีระบบท่อส่งน้ำมันความยาว 54 กิโลเมตร

2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศนิการากัว

นิการากัวเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในภูมิภาคอเมริกากลาง มีอัตราการว่างงานและความยากจนสูง เนื่องจากตกอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการเป็นระยะเวลาร่วม 30 กว่าปีในช่วงปี 1960-1990 ตามด้วยปัญหาการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ในระยะต่อมา การเข้าร่วมเขตการค้าเสรีคาฟต้ากับสหรัฐในปี ค.ศ. 2006 ได้ช่วยกระตุ้นการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมบางกลุ่ม โดยเฉพาะสิ่งทอและเสื้อผ้า แต่รัฐบาลของประธานาธิบดี Ortega ซึ่งได้เข้าดำรงตำหน่งในปี 2007 มีความคิดเห็นโน้มเอียงไปทางฝ่ายซ้าย และมีความใกล้ชิดกับประธานาธิบดี Chavez ของประเทศเวเนซูเอลา ได้เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำและส่งเสริมการร่วมทุนกับรัฐวิสาหกิจจากเวเนซูเอลา ทำให้บรรยากาศการลงทุนเสื่อมสภาพลง ชาวนิการากัวได้ย้ายถิ่นฐานหนีปัญหาการเมืองและสภาวะความยากจนเป็นล้านคน นิการากัวจึงพึ่งการส่งเงินกลับจากแรงงานในต่างประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของผลผลิตแห่งชาติ ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญของนิการากัวคือภาระหนี้ระหว่างประเทศสูงซึ่งทำให้งบดุลขาดดุลมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2004 ได้รับความช่วยเหลือในการปรับลดหนี้และเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของ IMF นิการากัวได้เริ่มฟื้นฟูจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจนิการากัวได้ฟื้นฟูจากภาวะวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2009 อย่างรวดเร็วเกินความคาดหมายของนักวิเคราะห์ต่างๆ โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการขยายตัวของการส่งออก และการเพิ่มการบริโภคภายในประเทศเป็นสำคัญ ในปี 2011 นิการากัวได้รับเงินส่งกลับจากต่างประเทศมูลค่า 912 ล้านเหรียญฯ เทียบได้เป็นมูลค่าเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออกในปีเดียวกันนั้น เศรษฐกิจนิการากัวได้ขยายตัวในอัตราร้อยละ 4 ในปี 2011 ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) มีมูลค่า 7.08 พันล้านเหรียญสหรัฐ รายได้ต่อหัว (GDP per capita) 1,202 เหรียญฯ และอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 7.95

ร้อยละ 46 ของประชากรนิการากัวอยู่ในสภาวะความยากจนต่ำกว่าระดับมาตรฐาน (under national poverty line) และร้อยละ 16 ของประชากรฯ มีระดับรายได้ต่ำกว่า 1.25 เหรียญต่อวัน ประธานาธบดีออร์เทกาได้กำหนดแผนงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจที่เรียกว่า “21st Century Socialism” ซึ่งมีลักษณะการวางแผนเศรษฐกิจแบบผสมผสาน คล้ายกับแนวทางของประเทศเวเนซูเอลา โดยพรรค FSLN ได้เพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจ โดยการซื้อกิจกรรมด้านโรงแรม ปศุสัตว์ สถานีโทรทัศน์ ปั้มน้ำมัน ก่อสร้าง และการผลิตไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม นิการากัวยังคงต้องดำเนินนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาคิและการปรับปรุงเศรษฐกิจที่จำเป็น เนื่องจากยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขความช่วยเหลือด้านเงินเงินจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศอยู่

2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

นิการากัวมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในปลายปี ค.ศ. 2010 ประมาณ 1.58 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2011 ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1.799 พันล้านเหรียญฯ

2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศนิการากัว

ภาคบริการของนิการากัวมีความสำคัญในผลผลิตแห่งชาติเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.3 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 23.4 และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 20.3 สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ กาแฟ ฝ้ายและกล้วย ส่วนกิจกรรมด้านเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ การก่อสร้าง เหมืองแร่ ประมง การพาณิชย์ และการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวของนิการากัวได้เติบโตเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา โดยมีการขยายตัวในภาคดังกล่าวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ต่อปี จำนวนนักท่องเที่ยวที่เยือนนิการากัว ได้เพิ่มเป็นระดับ 1 ล้านคนเป็นครั้งแรกในปี 2010 รายได้จากการท่องเที่ยวในปีดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 360 ล้านเหรียญสหรัญ

2.4 ข้อมูลด้านการลงทุน

การลงทุนจากภาคเอกชนได้มีสภาพขึ้นลงกับสภาวะทางการเมือง ในปี ค.ศ. 1999 ได้มีเงินลงทุนจากต่างชาติเข้าประเทศนิการากัวมูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ได้ลดลงเป็นเพียง 100 ล้านเหรียญฯ ในปี 2001 การเร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศภายใต้โครงการปรับโครงสร้างของ IMF รวมกับการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2002 ได้ช่วยเพิ่มมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศเป็น 508 ล้านเหรียญฯ ในปี 2010 และในปี 2011 ได้มีเงินลงทุนจากต่างประเทศมูลค่าประมาณ 880.6 ล้านเหรียญฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคพลังงานและโทรคมนาคม

3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของนิการากัว
3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศนิการากัว

ในปี ค.ศ. 2011 นิการากัวมีมูลค่าการส่งออกรวม 2.28 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากการส่งออกในปี 2010 ร้อยละ 23.4 คู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 28 เวเนซูเอลา ร้อยละ 23 และแคนาดา ร้อยละ 11 สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ กาแฟ เนื้อวัว กุ้งและกุ้งกาม ยาสูบ น้ำตาล ทองคำ ถั่ว สิ่งทอและเสื้อผ้า

การนำเข้าในปี 2011 มีมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นร้อยละ 20 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 18.8 เวเนซูเอลา ร้อยละ 15.7 จีน ร้อยละ 9.2 คอสตาริกา ร้อยละ 8.5 และเม็กซิโก ร้อยละ 8 โดยมีสินค้านำเข้าสำคัญคือ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลิตภัตณ์เภสัช รถยนต์ พลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า ธัญพืช น้ำมันพืช และกระดาษ


3.2 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ

นิการากัวได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มศุลกากรอเมริกากลาง Central American Common Market-CACM เมื่อปี ค.ศ. 1960 และเป็นสมาชิกองค์การค้าโลกในปี ค.ศ. 1995 มีความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีกับสหรัฐฯ ภายใต้กรอบของกลุ่ม DR-CAFTA ตั้งแต่ปี 2004 มีความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มอเมริกากลางปานามาตั้งแต่ปี 2002 และได้เจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปสำเร็จในปี 2011 นิการากัวได้เข้าร่วมกลุ่มการรวมตัวทางเศรษฐกิจละตินอเมริกา ALADI ในปี 2011 นอกจากนี้แล้ว ยังอยู่ระหว่างการเจรจรเขตการค้าเสรีกับชิลี นิการากัวได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า GSP จากสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น โคลัมเบีย และแคนาดา

สำหรับในระดับทวิภาคี นิการากัวได้ลงนามในความตกลงการค้าเสรีกับเม็กซิโกในปี 1997 สาธารณรัฐโดมินิกันในปี 1998 และกับไต้หวันในปี 2006

เมื่อต้นปี ค.ศ. 2012 นิการากัวได้ลงนามความตกลงทวิภาคีเพื่อการส่งเสริมการลงทุนร่วมกันกับประเทศรัสเซีย โดยรัฐมนตรีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้านิการากัว นาย Orlando Solorzano ได้นำคณะตัวแทนภาครัฐและเอกชนระดับสูงไปยังรัสเซีย ระหว่างวันที่ 23-27 มกราคม ค.ศ. 2012 เพื่อนำเสนอโครงการลงทุนร่วมกับรัสเซีย มูลค่ารวม 600 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งออกของนิการากัว ทั้งนี้ ประเทศรัสเซียได้ลงทุนในนิการากัวในปี 2010 มูลค่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการลงทุนในภาคโทรคมนาคมสื่อสาร และภาคธุรกิจการเกษตร การส่งเสริมการลงทุนร่วมกันดังกล่าวจะส่งเสริมให้รัสเซียเป็นผู้ลงทุนสำคัยในอันดับหนึ่งในสิบของนิการากัว

4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างนิการากัวกับไทย

นิการากัวและไทยได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 โดยรัฐบาลไทย”โ็มอบหมายให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำนิการากัวอีกตำแหน่งหนึ่ง ในขณะที่นิการากัวได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตประจำญี่ปุ่น มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย และแต่งตั้งนายอาณัฐชัย รัตตกุล เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์นิการากัวประจำประเทศไทย เมื่อปี 1994

ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญระหว่างวันที่ 20-25 มีนาคม 2000 เป็นเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดยประธานาธิบดีของนิการากัว นาย Arnoldo Aleman Lacayo

4.2 มูลค่าการค้าของไทยกับนิการากัว

ในปี ค.ศ. 2011 การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับนิการากัวมีมูลค่ารวม 31.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ร้อยละ 1.89 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ปรียบดุลการค้ามูลค่า 28.27 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2011 ไทยได้ส่งออกไปยังนิการากัวเป็นมูลค่า 30.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2010 ร้อยละ 1.98 และนำเข้าจากนิการากัวเป็นมูลค่า 1.82 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ร้อยละ 493

การค้าระหว่างไทยกับนิคารากัว
มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปี
ดุลการค้า
ส่งออก
นำเข้า
ปริมาณการค้ารวม
2008
37.151
38.563
1.411
39.974
2009
17.542
17.742
0.206
17.948
2010
30.712
31.019
0.307
31.326
2011
28.27
30.10
1.82
31.92
                        แหล่งข้อมูลThailand Trading Report,  MOC.

4.3 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศนิการากัว และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากนิการากัว

สินค้าที่ไทยส่งออกไปนิการากัว คือ รถยนต์และชิ้นส่วน สินค้าอาหารทะเล สินค้ายาง เครื่องซักผ้า/อบผ้า เครื่องจักรและชิ้นส่วน เส้นด้าย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มอเตอร์ไซค์และชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์พลาสติก ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากนิการากัว ได้แก่ เนื้อ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรและชิ้นส่วน สินค้าสิ่งพิมพ์ และผลิตภัณฑ์บรรจุข้อมูลเสียงและภาพ

สินค้าส่งออก/นำเข้าสำคัญระหว่างไทยกับนิการากัว ค.ศ. 2011
มูลค่า: เหรียญสหรัฐ
อันดับ
รายการสินค้าส่งออก
มุลค่าส่งออก
รายการสินค้านำเข้า
มูลค่านำเข้า
1
Motor cars, parts, accessories
24,526,914
Edible meat
55,546
2
Prepared/preserved fish, crustaceans,
2,913,438
Garments
24,464
3
Rubber products
847,022
Rubber manufactures
335
4
Washing/dry clean machines, parts
329,391
Machinery, parts
56
5
Machinery & parts
111,294
Print matter
110
6
Yarn & man-made filaments
35,900
Data media for pictures, sound recordin
22
7
Tapioca products
9,942
Tobacco
n/a
8
Motorcycle, parts & access.
4,897
Paper Products
n/a
9
Plastic Products
1,046


                      แหล่งข้อมูลThailand Trading Report,  MOC.

4.4 สินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยสำหรับประเทศนิการากัวและลู่ทางการค้าและการลงทุน

มีโอกาสในการขยายปริมาณสินค้าที่ส่งออกเดิม ซึ่งได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอและสินค้าตกแต่งเสื้อผ้า สินค้าอาหารทะเล เครื่องซักผ้า/อบผ้า เคมีภัณฑ์ สินค้ายาง และชิ้นส่วนเครื่องจักร

บริษัทที่ทำการผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าไทยที่กำลังแสวงหาฐานการผลิตต้นทุนค่าแรงงานต่ำ อาจจะพิจารณาย้ายฐานการผลิตสิ่งทอในส่วนที่มีเป้าหมายการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ไปยังประเทศนิการากัว ทั้งนี้ ค่าแรงงานขั้นต่ำของนิการากัวมีมูลค่าประมาณ 1,392 คอร์โดบา หรือประมาณ 63 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ซึ่งเป็นค่าแรงงานที่ถูกที่สุดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง เทียบกับค่าแรงของฮอนดูรัสประมาณ 5,500 เล็มปิรี หรือ 291 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ค่าแรงงานในคอสตาริกา 217 เหรียญสหรัฐต่อเดือน และค่าแรงงานในเอลซัลวาดอร์ประมาณ 187 เหรียญต่อเดือน ค่าแรงงานในนิการากัวเป็นอัตราค่าแรงที่ต่ำกว่าค่าแรงของเวียดนามซึ่งเท่ากับ 72 เหรียญต่อเดือน


4.5 การท่องเที่ยวในนิการากัว

การท่องเที่ยวในนิการากัวได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2005 ได้มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวนิการากัวจำนวน 803,933 คน เพิ่มจากจำนวน 579,165 คนในปี 2002 ในปีเดียวกันนั้น นิการากัวได้มีรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่า 240 พันล้านเหรียญสหรัฐ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากสหรัฐฯ ยุโรป และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ในปี 2010 ได้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังนิการากัวประมาณ 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 8.7 และได้มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2011 จะมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปนิการากัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 หรือเป็นจำนวนรวม 1.1 ล้านคน นิการากัวมีจำนวนห้องพักรวมประมาณ 9,000 ห้อง อัตราการเข้าพัก ประมาณร้อยละ 80 และกลุ่มโรงแรมของเสปน NH Hoteles ได้แสดงความสนใจที่จะลงทุนสร้างโรงแรมห้องพักเพิ่มในนิการากัว

5. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/ รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าของประเทศนั้น
6.1 หน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุน:
       ProNicaragua
       Km 4 ½ Carretera a Masayu, Edificio Cesar, Managua, Nicaragua. C.A.
       Tel.: + (505) 2270-6400
       Fax: + (505) 2278-733
                       Website: info@pronicaragua.org
                6.2  หอการค้าแหน่งนิการากัว
                      CACONIC (Cámara de Comercio de Nicaragua)
                      Rotonda Güegüense 400 metros al Sur 20 varas al este,
                      Tel: +(505) 2268-3505, Fax: +(505) 2268-3600
      E-mail:comercio@caconic.org.ni , comunicacion@caconic.org.ni
                      Website: www.caconic.org.ni

6. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยงานส่งเสริมการค้าของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย
7.1 Embassy of Nicaragua
      Kowa Bldy 38, Rm 9034 - 12-24, Nishi - Azabu, Minato-Ku Tokyo 106, Japan
      Tel: 00813 - 34990400.  Fax: 00813 – 34993800
      E-mail: nicjapan@gol.com

ข่าวอ้างอิง

No comments: