Google Website Translator

Wednesday, November 12, 2008

Remittances jump on weak peso

มูลค่าเงินส่งกลับของคนงานเม็กซิกันในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเนื่องจากค่าเงินเปโซลดลง

ปรากฏการณ์เงินโอนกลันที่สูงที่สุดในโลก
ปรากฎการณ์คนงานเม็กซิกันข้ามชายแดนไปหางานในสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สืบเนื่องจากการที่เม็กซิโกและสหรัฐฯ มีชายแดนร่วมกันประมาณ 3,360 กิโลเมตร สหรัฐอเมริกามีคนต่างด้าวที่มีถิ่นฐานเดิมจากเม็กซิโกเป็นกลุ่มคนต่างด้าวในสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดประมารณ 6 ล้านคน และมีแรงงานที่ไม่มีเอกสารอย่างเป็นทางการอีกประมาณ 6 ล้านคน

มูลค่าเงินโอนกลับประมาณสองหมื่นล้านเหรียญฯ ต่อปี
ประเทศเม็กซิโกเป็นประเทศที่รับเงินโอนกลับจากแรงงานในต่างประเทศมากที่สุดในโลกมาเป็นเวลาหลายปี โดยในปี 2001 เริ่มมีเงินโอนกลับจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2003 มีเงินโอนกลับจากแรงงานเม็กซิกันในสหรัฐฯ 18.1 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2004 เงินโอนกลับจำนวน 24.7 พันล้านเหรียญฯ และในปี 2007 จำนวน 23.97 พันล้านเหรียญฯ

เงินโอนกลับจากต่างประเทศดังกล่าวเป็นรายได้ในเงินตราต่างประเทศที่สำคัญเป็นอันดับสองหรือสามของประเทศเม็กซิโก รองจากรายได้จากการส่งออกน้ำมัน และมูลค่ารวมของการส่งออกโดยภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก (maquiladora) ทั้งหมด และมากกว่าเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าประเทศในแต่ละปี

เงินโอนกลับช่วยพยุงเศรษฐกิจโดยย้อมทางวัฏจักรธุรกิจ
ความสำคัญของเงินโอนกลับจากแรงงานเม็กซิกันในสหรัฐฯ เป็นเอกลักษณ์พิเศษของเศรษฐกิจเม็กซิโก และได้มีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบ ข้อดีข้อเสียของเงินโอนกลับดังกล่าว โดยหน่วยงานของรัฐบาลเม็กซิกันและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง สรุปใจความสำคัญได้ว่า เงินโอนกลับดังกล่าวได้มีส่วนช่วยเหลือ เป็นตัวพยุงเศรษฐกิจของเม็กซิโกที่สำคัญ โดยเงินโอนกลับมักจะมีความเคลื่อนไหวที่สวนทางกับวัฏจักรธุรกิจ นั่นคือ เมื่อกิจกรรมธุรกิจลดลงการส่งเงินกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลในท้องถิ่นของรัฐที่รองรับเงินโอนกลับจำนวนมาก โดยเฉพาะรัฐที่มีรายได้ต่ำจากภาคใต้ของเม็กซิโก ได้เริ่มนโยบายส่งเสริมให้เงินโอนกลับช่วยเพิ่มการพัฒนาการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หรือการก่อตั้งธุรกิจขนาดย่อมในระดับท้องถิ่น โดยรัฐเหล่านี้มีแผนการให้เงินสมทบเงินทุนเป็นสองเท่าของจำนวนเงินโอนกลับที่นำไปลงทุนในกิจกรรมดังกล่าว

วิกฤตการณ์การเงินในสหรัฐฯ ปี 2008
ธนาคารชาติเม็กซิโก ได้เริ่มจับตาดูความเคลื่อนไหวของเงินโอนกลับจากแรงงานในสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดตั้งแต่ปลายปี 2007 เมื่อมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยและเริ่มมีแนวโน้มการส่งคนงานเม็กซิกันกลับมากขึ้น (โดยเฉพาะจากภาคก่อสร้างซึ่งเป็นภาคที่จ้างแรงงานเม็กซิกันมากที่สุด และเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ sub-prime morgage มากที่สุด)

ในเดือนสิงหาคม 2008 ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าเงินของเม็กซิโกแข็งตัวที่สุด ในอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 9 เปโซต่อเหรียญฯ ธนาคารกลางเม็กซิโกเริ่มวิตกกังวลว่าแนวโน้มการโอนเงินกลับจะลดลงมาก โดยในเดือนสิงหาคม 2008 เงินโอนกับได้แสดงมูลค่าลดลงร้อยลุ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 12 ปี

อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคม 2008 ตัวเลขมูลค่าเงินโอนกลับเริ่มแสดงผลในทางบวกเนื่องจากค่าเงินเปโซที่อ่อนตัวลงประมาณร้อยละ 20 โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ประมาณ 13 เปโซต่อเหรียญฯ เป็นผลให้ธนาคาร BBVA Bancomer แจ้งมูลค่าเงินโอนกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 58 เมื่อเที่ยบกับเดือนก่อน ธนาคารกลางเม็กซิโกได้เปิดเผยว่าตัวเลขเงินโอนกลับจากสหรัฐฯ ในช่วงเดือนตุลาคม 2008 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 เมื่อเที่ยบกับเดือนตุลาคมปี 2007 และการวิจัยจากธนาคารในเมือง San Diego ได้รายงานว่าคนงานเม็กซิกันได้ส่งเงินกลับมากขึ้นเป็นสามเท่าตัว ปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมการโอนกลับมากขึ้นได้แก่การลดลงของค่าธรรมเนียมการโอนเงินกลับ

ข่าวอ้างอิง: The News. 29/11/08
หน้าเวิปที่เกี่ยวข้อง:
http://www.remittances.eu/
Federal Bank of Dallas report on Mexican remittances
Morgan Stanley's report: "The end of Abundant remittances?"
http://www.migrationinformation.org/
"Survery of Mexican Migrants", www.pewhispanic.org/files/reports/42.pdf
"Migration Facts", www.migrationpolicy.org/pubs/FS19_MexicanRemittancesEnglish_091207.pdf
Word Bank's www.siteresources.worldbank.org/.../US-Mexico_Remittance_Corridor_WP.pdf

1 comment:

VNuriya said...

Forbes, Dec. 22:
"On the other side of the border look for a large drop in remittances from Mexicans living in the U.S. For 2008 they will be down roughly 10% to $21.6 billion. In 2009, predicts Roberto Newell, chief executive of the Mexican Institute of Competitiveness, total remittances may be off by as much as 25% from last year. Of the 11 million Mexicans in the U.S., 60% of them send money home. Perhaps as many as 150,000 will be unemployed by June, says Manuel Orozco, an analyst at the Inter-American Dialogue in Washington. Many more have already been forced out of high-paying construction jobs into jobs paying a lot less. After interviewing migrants, Orozco concludes that 3% to 7% of them will go home next year."