Google Website Translator

Friday, March 25, 2011

Country Profile: El Salvador 2011

ข้อมูลเศรษฐกิจเอลซัลวาดอร์

เอลซัลวาดอร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัวเตมาลา และมีชายแดนฝั่งตะวันออกติดกับฮอนดูรัส ทางด้านตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 21,041 ตารางกิโลเมตร เกือบเท่ากับขนาดพื้นที่ของประเทศอิสราเอล แต่ขนาดของเศรษฐกิจของเอลซัลวาดอร์มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในภูมิภาคอเมริกากลาง และมีรายได้ต่อหัวในระดับประมาณสองส่วนสามของรายได้ต่อหัวของประเทศคอสตาริกาและปานามา หรือสองเท่าของรายได้ต่อหัวของประเทศนิคารากัว


1.2 ชื่อเป็นทางการ  สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ (ภาษาสเปน:República de El Salvador)
1.3 เมืองหลวง  กรุงซันซัลวาดอร์ (San Salvador)
1.4 ขนาดพื้นที่  21,041 ตารางกิโลเมตร
1.5 ประชากร  6 ล้านคน (2010)
1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ  พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้ดิน น้ำมัน และพื้นที่เพาะปลูก
1.7 ประวัติศาสตร์

ประเทศเอลซัลวาดอร์ได้รับประกาศอิสรภาพจากสเปนในปี ค.ศ. 1821 และจากสหรัฐอเมริกากลางในปี ค.ศ. 1839  เชื้อชาติ แบ่งเป็นเมสติโซ (เชื้อสายผสมสเปน-พื้นเมือง) ร้อยละ 90 ผิวขาวร้อยละ 9 อเมรินเดียนร้อยละ 1 ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 57 นิกายโปรแตสแตน์ ร้อยละ 21 ภาษา ภาษาสเปน

1.8 ระบอบการปกครอง

เอลซัลวาดอร์มีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และได้รับเอกราชจากประเทศสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1821 ประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ได้แก่ นาย Mauricio FUNES Cartagena มีวาระการดำรงตำแหน่งเทอมละ 5 ปี พรรคการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ พรรค FMLN ที่มีสมาชิกสภาจำนวน 35 คน และพรรค ARENA สมาชิกสภา 32 คน โดยรัฐสภาที่นั่งตัวแทนรวม 84 ที่นั่ง มีการเลือกสมาชิกรัฐสภาใหม่ทุก 3 ปี

เอลซัลวาดอร์มีปัญหาความมั่งคงทางการเมืองเป็นระยะเวลานานมาก โดยได้มีสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อเป็นเวลา 12 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1980-1992 เป็นการสู้รบระหว่างอำนาจฝ่ายขวาที่เป็นรัฐบาลมาแต่ดั้งเดิมซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯ กับตัวแทนกลุ่มฝ่ายซ้ายต่าง ๆ ซึ่งต่อมาได้รวมตัวกันเป็นพรรค FMLN สงครามกลางเมืองดังกล่าวได้ยุติลงโดยความตกลงยุติสงครามระหว่างสองฝ่าย ที่มีการลงนามยุติสงครามในวิหาร Chapultapec ในเม็กซิโก

1.9 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ

มีเส้นทางถนนจำนวน 10,886 กิโลเมตร ทางรถไฟจำนวน 283 กิโลเมตร แม่น้ำสำคัญได้แก่ แม่น้ำ Lempa ซึ่งใช้เดินเรือขนาดเล็กได้ แม่น้ำเล็มป้ามีต้นกำเนิดในประเทศกัวเตมาลา และไหลผ่านประเทศเอลซัลวาดอร์ออกไปสู่มหาสมุทรแอ็ทแลนติกทางฮอนดูรัส ความยาวรวมทั้งสิ้น 442 กิโลเมตร เอลซัลวาดอร์มีสนามบินรวม 65 แห่ง โดยมีสนามบินระหว่างประเทศชื่อ Cuscatlan International Airport (รับผู้โดยสารได้ประมาณ 2 ล้านคน) อยู่ที่กรุง San Salvador สายการบินแห่งชาติ คือ สายการบิน TACA และมีท่าเรือที่สำคัญฝั่งแปซิฟิกฝั่งเดียวที่ท่าเรือ Acajutla และท่า Puerto Cutuco

2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศเอลซัลวาดอร์

การขยายตัวของเศรษฐกิจเอลซัลวาดอร์ในสองสามปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 3 ต่อปี ในปี ค.ศ. 2009 เศรษฐกิจประเทศเอลซัลวาดอร์ได้หดตัวลงประมาณร้อยละ 3 แต่ได้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปี ค.ศ. 2011 จะมีฟื้นตัวและมีโอกาสขยายตัวได้ในอัตราระหว่างร้อยละ 2-3 รายได้ที่สำคัญของเอลซัลวาดอร์มาจากการรับโอนเงินจากต่างประเทศ ซึ่งมีความสำคัญเท่ากับรายได้จากการส่งออกของประเทศ โดยประมาณหนึ่งในสามคนของประชากรในประเทศเอลซาวาดอร์พึ่งพารายได้จากเงินโอนจากญาติๆ ในต่างประเทศโดยส่วนใหญ่จากสหรัฐฯ เงินโอนจากต่างประเทศของเอลซัลวาดอร์มีมูลค่าระหว่าง 3-4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เป็นมูลค่าเงินส่งกลับที่สูงกว่ามูลค่าเงินโอนกลับของประเทศในกลุ่มละตินอเมริกากลางอื่น ๆ

สรุปข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจ

2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

เอลซัลวาดอร์มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณ 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ เอลซัลวาดอร์ได้ปรับใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสกุลประจำประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001

2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศคอสตาริกา

ภาคบริการมีสัดส่วนความสำคัญในผลผลิตแห่งชาติร้อยละ 59.9 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 29.1 และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 11

2.4 ข้อมูลด้านการลงทุนในประเทศ

ในปี ค.ศ. 2009 การลงทุนโดยภาครัฐมีมูลค่ารวม 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีการลงทุนในต่างประเทศมูลค่า 333 พันล้านเหรียญฯ รัฐบาลใหม่ของประเทศเอลซัลวาดอร์มีแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจหลายแผนงานที่เน้นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ในนามกองทุนเพื่อศตวรรษใหม่ (Fomilenio) โดยในขั้นแรกจะมีการพิจารณาออกกฏหมายใหม่เพื่อกำหนดให้รัฐบาลสามารถร่วมทุนกับภาคเอกชนในลักษณะ Public Private Partnership โดยโครงการแรกที่จะได้รับการพัฒนาในรูปแบบดังกล่าว ได้แก่ การพัฒนาท่าเรือ La Unión ซึ่งจะทดแทนท่าเรือ Acajutla และจะมีความสามารถรับสินค้าได้เป็นสองเท่าของท่าเรือเก่า ทั้งนี้ รัฐบาลเอลซัลวาดอร์กำลังแสวงหาผู้ร่วมทุนเพื่อการบริหารท่าเรือใหม่ดังกล่าว

นอกจากนี้แล้ว โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้แล้ว ล้วนแต่ต้องการร่วมลงทุนจากภาคเอกชนหรือต่างชาติ ได้แก่ การผลิตไฟฟ้า การประปา และการขยายเส้นทางเดินรถ และการขนส่ง ในปีงบประมาณ 2011 ได้มีการจัดสรรงบประมาณจำนวน 79 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อการยกระดับการบริหารบริการน้ำประปา โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนร่วมมือการพัฒนาของประเทศสเปน (AECI) ในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 2011 จะมีการเปิดประมูลเพื่อรับการออกแบบโครงการบริหารสาธารณูปโภคสำหรับเขตเมืองหลวงในกรุงซันซัลวาดอร์ โดยโครงการดังกล่าวจะได้รับเงินช่วยเหลือจากธนาคาร Inter-American Development Bank นอกจากนี้แล้ว กองทุนเพื่อการรักษาถนน (Fovial) จะทำการลงทุนเพื่อปรับปรุงถนนเส้นทางรวมทั้งสิ้น 6,544 กิโลเมตร

รัฐบาลของเอลซาวาดอร์มีแผนงานส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยจะส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยว การเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายสินค้าและลอจิสติกสำหรับภูมิภาคอเมริกากลาง โดยได้มีการเปิดเสรีรับการลงทุนจากภาคเอกชนและต่างชาติในภาคการสื่อสาร การบริการไฟฟ้า การเงิน และภาคกองทุนบำนาญ

3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของเอลซัลวาดอร์
3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศเอลซัลวาดอร์

ในปี ค.ศ. 2009 เอลซัลวาดอร์ได้ขาดดุลการค้าเป็นมูลค่า 321 ล้านเหรียญ โดยมูลค่าการส่งออกรวมในปี ค.ศ. 2009 มีมูลค่า 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้า 6.7 พันล้านเหรียญฯ ประเทศคู่ค้าที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ ประเทศสหรัฐฯ สัดส่วนความสำคัญทางการค้าร้อยละ 43.9 รองลงมาได้แก่ ประเทศกัวเตมาลา สัดส่วนร้อยละ13.9 ฮอนดูรัส ร้อยละ13.2 และประเทศนิคารากัว ร้อยละ 5.7 ส่วนแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 29.8 เม็กซิโก ร้อยละ 10.3 กัวเตมาลา ร้อยละ 9.7 จีน ร้อยละ 4.5 และฮอนดูรัส ร้อยละ 4.4

3.2 ประเทศคู่ค้าสำคัญด้านการนำเข้า/ส่งออก

ในปี ค.ศ. 2010 เอลซัลวาดอร์มีมูลค่าการส่งออกรวม 4.377 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากการส่งออกในปี 2009 ร้อยละ 15 คู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 43.8 กัวเตมาลา ร้อยละ 13.9 ฮอนดูรัส ร้อยละ 13.2 และนิคารากัว ร้อยละ 5.7 สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ กาแฟ น้ำตาล เสื้อผ้าและสิ่งทอ ทองคำ เอธอนอล สารเคมี ไฟฟ้า เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก

การนำเข้าในปี 2010 มีมูลค่า 7.98 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นร้อยละ 10 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 29.8 เม็กซิโก ร้อยละ 10.3 กัวเตมาลา ร้อยละ 9.7 จีน ร้อยละ 4.5 และฮอนดูรัส ร้อยละ 4.4สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค สินค้าทุน เชื้อเพลิง น้ำมัน อาหาร และไฟฟ้า

3.3 นโยบาย/มาตรการทางการค้า ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี

เอลซัลวาดอร์เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 13 สำหรับค่าเฉลี่ยอัตราภาษีนำเข้า MFN มีอัตราร้อยละ 6.3 โดยทั่วไป สำหรับสินค้าเกษตรมีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 12.9 ไม่มีการห้ามการนำเข้า แต่ยังคงมีข้อกำหนดใบอนุญาติการนำเข้าสำหรับสินค้าที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นอัตราต่อความมั่นคง สุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อม มีการควบคุมการนำเข้าน้ำตาลเป็นพิศษเพื่อป้อมกันผู้ผลิตภายในประเทศ และมีการส่งเสริมการส่งออกโดยการคืนภาษีร้อยละ 6 ของมูลค่า f.o.b รวมทั้งการให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ สำหรับการผลิตในเขตการค้าเสรี (free trade zone)

3.4 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ

เอลซัลวาดอร์เข้าร่วมเป็นภาคีองค์การค้าโลกในปี ค.ศ. 1995 เป็นสมาชิกความตกลงด้านศุลกากรในกลุ่มตลาดกลางอเมริกากลาง (CACM) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 และมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีในระดับพหุภาคีภายใต้กรอบของความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ (CAFTA) ซึ่งเอลซัลวาดอร์เป็นประเทศในกลุ่มอเมริกากลางประเทศแรกที่ให้สัตยาบันสำหรับความตกลงดังกล่าวเมื่อปี ค.ศ. 2006 ความตกลงเขตการค้าเสรีคาฟต้าได้ส่งเสริมให้เอลซัลวาดอร์เพิ่มการส่งออกสินค้าด้านอาหารแปรรูป น้ำตาล เอธานอล ไปยังสหรัฐฯ รวมทั้งได้มีผลกระตุ้นการลงทุนในภาคการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป นอกจากคาฟต้า ซึ่งรวมเขตการค้าเสรีกับสาธารณรัฐโดมินิกันแล้ว เอลซัลวาดอร์ยังมีความตกลงเขตการค้าเสรี North Triangle (กับโคลัมเบีย ปี 2007 และเม็กซิโก ปี 2000) ความตกลงเขตการค้าเสรีกลุ่มอเมริกากลางกับชีลี (1999) และกับปานามา (2002)

ในระดับทวิภาคี เอลซัลวาดอร์มีความตกลงการค้าเสรีกับไต้หวัน (2007) อีกทั้งกำลังทำการเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับแคนาดา และสหภาพยุโรป นอกจากนี้แล้ว มีความตกลงให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศ เวเนซูเอล่า (1986) โคลัมเบีย (1984) และปานามา (1970)

4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย

ไทยและเอลซัลวาดอร์สถาปนาความสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 1987 โดยเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเม็กซานติอาโกเป็นเอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์อีกตำแหน่งหนึ่ง และนาย Ricardo Moran Ferracuti เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำ สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์

4.2 มูลค่าการค้าของไทยกับเอลซัลวาดอร์

ในปี ค.ศ. 2010 การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับเอลซัลวาดอร์มีมูลค่ารวม 39.642 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 107 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ปรียบดุลการค้า 36.705 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกไปยังเอลซัลวาดอร์ในปี 2010 มูลค่า 38.175 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 เทียบเท่ากับร้อยละ 157 การนำเข้าจากเอลซัลวาดอร์ในปี 2010 มีมูลค่า 1.467 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2009 ร้อยละ 66

4.3 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศเอลซัลวาดอร์ และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากเอลซัลวาดอร์

สินค้าที่ไทยส่งออกไปเอลซัลวาดอร์ คือ รถยนต์และรถบรรทุก แผ่นเหล็ก เส้นยาง และรองเท้า ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเอลซัลวาดอร์ อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารสัตว์ ชิ้นส่วนรถยนต์ สินค้าสำหรับการบรรจุ และเศษเหล็กเศษอลูมิเนียม

4.4 สินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยสำหรับประเทศเอลซัลวาดอร์

รถยนต์และชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สินค้าพลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง

4.5 การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวของเอลซัลวาดอร์ได้เติบโกอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ในปี คศ. 2010 การท่องเที่ยวมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 4.6 ของรายได้ประชาติ และได้มีการขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.5 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเอลซัลวาดอร์ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.97 เป็น 1.27 ล้านคนจาก 1.15 ล้านคนในปี 2009

การแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยงระหว่างไทยกับเอลซาดอร์แทบจะไม่มี เนื่องจากประเทศเอลซาวาดอร์ยังเป็นที่รู้จักน้อย ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดในคนไทย อีกทั้งการเดิงทางไปยังประเทศเอลซาวาดอร์ต้องต่อเครื่องบินหลายต่อ

5. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/ รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าของประเทศนั้น

5.1. กระทรวงการต่างประเทศ (Ministerio de Relaciones Exteriores de El Salvador)
Calle El Pedregal, Blvd. Cancillería. Ciudad Merliot, Antiguo Cuscatlan, El Salvadorใ
Tel: PBX (503) 2231 1000 (503) 2231 1309 (503) 2231 1383
Email: consulta_comunicaciones@rree.gob.sv
Websiste: http://www.rree.gob.sv/

5.2. กระทรวงเศรษฐกิจ (Ministerio de Economia)
Alameda Juan Pablo II y Calle Guadalupe, Edificio C, Plan Maestro, esquina opuesta a PuertoBus, Centro de Gob., San Salvador.
Teléfono (PBX): (503) 2231-5600
E-mail:info@minec.gob.sv
Website: http://www.minec.gob.sv/

5.3 หอการค้าแห่งเอลซัลวาดอร์
Tel: (503) 2231 - 3000
Fax: (503) 2271 - 4461
Email: camara@camarasal.com
Website: http://www.camarasal.com/

No comments: